รู้จักมาเลเซีย
“…มาเลเซีย ใกล้ๆ แค่นี้…” หลายคนคงคุ้นเคยกับสโลแกนโฆษณาชักชวนให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไปในมาเลเซีย อีกหนึ่งประเทศเพื่อนบ้านของไทยที่มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจในอาเซียนอันดับสองรองจากสิงคโปร์ เนื่องจากบทบาทที่โดดเด่นของผู้นำมาเลเซียที่มีแนวนโยบายบริหารประเทศเน้นชาตินิยมแต่ไม่รุนแรง สนับสนุนให้ชาวมาเลย์มีสิทธิในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารประเทศทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และมีเป้าหมายในการสร้างประเทศให้มีความยืดหยุ่น คงทน และมีความสามารถในการแข่งขัน โดยมุ่งที่จะพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี พ.ศ. 2563 (Vision 2020)
การค้าและการลงทุนระหว่างไทย-มาเลเซีย
มาเลเซียเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย แม้ว่ามูลค่าการค้าจะไม่สูงมากนักนับตั้งแต่หลังวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี พ.ศ.2540 แต่มูลค่าการค้าได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ ในปี พ.ศ.2544 มูลค่าการค้าจำนวน 257,674.50 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 278,020.30 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2545 และ 348,152.30 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2546 โดยไทยเป็นฝ่ายขาดดุล และเนื่องจากไทยมีอาณาเขตติดกับมาเลเซียทั้งทางบกในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย คือ สงขลา นราธิวาส ยะลา สตูล และปัตตานี ซึ่งการคมนาคมและการขนส่งทำได้โดยทางรถยนต์ และทางทะเลโดยมีท่าเรือที่สามารถเดินเรือติดต่อกันได้ทางทะเลในอ่าวไทย การค้าชายแดนจึงมีสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าทั้งสอง กล่าวคือ ในปี พ.ศ.2545 มีมูลค่า 86,643.04 ล้านบาท และในปี พ.ศ. 2546 มูลค่าการค้าเพิ่มเป็น 132,968.10 ล้านบาท โดยประเทศไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้าทั้งนี้รายการสินค้าส่งออกทางชายแดนไทย-มาเลเซียที่สำคัญในช่วงปี พ.ศ. 2545-2546 ได้แก่ สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร ยางและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรที่ไม่ใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ สินค้ากสิกรรมปลา และสัตว์น้ำ เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเลคทรอนิกส์ และส่วนประกอบ ไม้ ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ พลาสติก และผลิตภัณฑ์ ยานพาหนะ และ อุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน และของใช้ประจำวัน
ภาวะการแข่งขันการค้าชายแดนและข้อได้เปรียบของไทย
ประเทศคู่ค้าของมาเลเซียที่จัดเป็นคู่แข่งของไทยได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และเยอรมัน ซึ่งนับเป็นประเทศคู่แข่งที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูงโดยเฉพาะญี่ปุ่น เนื่องจากมีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-มาเลเซีย ที่ได้พัฒนาแน่นแฟ้นอย่างใกล้ชิดมาจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากต่างมีผลประโยชน์ทางด้านความมั่นคงที่ต้องพึ่งพาระหว่างกัน มีการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งระดับราชวงศ์ ภาครัฐและภาคเอกชน ความสัมพันธ์อันดีดังกล่าวสร้างความเชื่อใจซึ่งกันและกัน อันเป็นความได้เปรียบในทางการค้าให้แก่ไทย นอกจากนั้น ข้อตกลงและโครงการต่างๆ ที่แสดงถึงความร่วมมือทางเศรษฐกิจและความมั่คงอย่างยั่งยืนระหว่างกัน อาทิ การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน โครงการพัฒนาเศรษฐกิจ 3 ฝ่าย อินโดนีเซีย-ไทย-มาเลเซีย (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle) เพื่อพัฒนาการค้าและการลงทุนของ 3 ประเทศ รวมทั้งโครงการสร้างถนนเชื่อมต่อไทย-มาเลเซีย ระหว่าง สตูล-เปอร์ลิส รวมทั้งไทยได้ขยายเวลาการเปิดด่านเข้า-ออก ทั้ง 3 ด่าน คือ ด่านสะเดา - สุไหงโกลก ด่านปาดังเบซาร์ และด่านเบตง ส่งผลให้การคมนาคมและการขนส่งสะดวกและรวดเร็วขึ้น นอกจากนั้น ข้อตกลงที่อนุญาตให้คนสัญชาติอีกประเทศหนึ่งใช้ใบผ่านแดน (Border Pass) ซึ่งออกให้โดยหน่วยปกครองในท้องถิ่นของแต่ละประเทศ เดินทางผ่านพรมแดนระหว่างกันโดยไม่ต้องใช้หนังสือเดินทาง ส่งผลให้การค้าชายแดนดำเนินระหว่างไทย-มาเลเซียไปอย่างคล่องตัวและสามารถเพิ่มมูลค่าการค้าชายแดนให้สูงขึ้นถึงร้อยละ 70
ปัญหาและอุปสรรคการค้าชายแดนระหว่างไทย-มาเลเซีย
ถึงแม้ว่าการค้าชายแดนระหว่างไทยและมาเลเซียจะดำเนินไปด้วยความเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน แต่ว่านโยบายและมาตรการหลายประการของมาเลเซียได้ส่งผลกระทบจนเกิดเป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการค้าชายแดนของประเทศทั้งสอง กล่าวคือ การกีดกันทางการค้า มาเลเซียกำหนดให้องค์การข้าวแห่งชาติ (Burmas) เป็นผู้นำเข้าข้าวในรูปแบบรัฐต่อรัฐ ส่งผลให้ราคาจำหน่ายข้าวในมาเลเซียมีราคาสูงและก่อให้เกิดการลักลอบนำเข้าข้าวบริเวณชายแดน นอกจากนั้นองค์กรพัฒนาการประมงแห่งมาเลเซีย ได้ขึ้นค่าธรรมเนียมสำหรับการตรวจสอบสินค้าสัตว์น้ำนำเข้ามาเลเซียจากเดิมอีก 5 เท่า รวมทั้งมาเลเซียได้เรียกเก็บภาษีสินค้าประเภทผัก ผลไม้สดในอัตราที่สูง รวมทั้งการตั้งเงื่อนไขด้านสุขอนามัยเพื่อกีดกันการนำเข้าผลไม้จากไทย การขนส่งสินค้า มาเลเซียไม่อนุญาตให้รถบรรทุกสินค้าของไทย เข้าไปส่งสินค้าในมาเลเซีย โดยอ้างมาตรฐานของรถบรรทุกไทยไม่เป็นสากล รวมทั้งการกำหนดเงื่อนไขให้รถยนต์ที่ผ่านเข้า-ออกมาเลเซีย จะต้องใช้คนมาเลย์และต้องจดทะเบียนและทำประกันภัยในมาเลเซีย ส่งผลให้เกิดการเน่าเสียของสินค้าและความล่าช้าในการขนส่ง
การแก้ไขปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวจะสามารถลุล่วงไปได้ ต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากภาครัฐ และภาคเอกชนจากทั้งสองประเทศ โดยการเจรจาเพื่อหาข้อตกลงซึ่งต้องสอดคล้องกับพันธกรณีของ AFTAและ WTO ทั้งด้านการคมนาคม ขนส่ง การเก็บภาษี และการปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศโดยอยู่บนพื้นฐานของความจริงใจและจริงจังอันจะเป็นปัจจัยเกื้อหนุนต่อการพัฒนาลู่ทางการค้าชายแดนระหว่างไทยและมาเลเซียต่อไป
ลู่ทางของ SME ต่อธุรกิจชายแดนไทย-มาเลย์
ผู้ประกอบการ SME ของไทยที่สนใจทำธุรกิจชายแดนกับมาเลเซีย นอกจากการศึกษาเพื่อเรียนรู้ และทำความรู้จักกับประเทศคู่ค้าทั้งด้านวัฒนธรรม ภาษา กฎหมาย นโยบายด้านเศรษฐกิจและสังคมของมาเลเซีย ผู้ประกอบการ SME ยังต้องศึกษาถึงรายได้และอำนาจการซื้อของชาวมาเลย์ รวมทั้งพัฒนาการจัดการด้านการผลิต เพื่อการลดต้นทุนและพัฒนาคุณภาพของสินค้าให้มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากประเทศคู่แข่งขัน โดยใช้การวิจัยและพัฒนา (R&D) ทั้งนี้เพื่อสร้างความเชื่อมั่น การยอมรับ และความสามารถในการสนองตอบให้ตรงกับรสนิยมและความต้องการของชาวมาเลย์…เพื่อนบ้านของไทยที่อยู่ใกล้ๆ แค่นี้
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
“…มาเลเซีย ใกล้ๆ แค่นี้…” หลายคนคงคุ้นเคยกับสโลแกนโฆษณาชักชวนให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไปในมาเลเซีย อีกหนึ่งประเทศเพื่อนบ้านของไทยที่มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจในอาเซียนอันดับสองรองจากสิงคโปร์ เนื่องจากบทบาทที่โดดเด่นของผู้นำมาเลเซียที่มีแนวนโยบายบริหารประเทศเน้นชาตินิยมแต่ไม่รุนแรง สนับสนุนให้ชาวมาเลย์มีสิทธิในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารประเทศทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และมีเป้าหมายในการสร้างประเทศให้มีความยืดหยุ่น คงทน และมีความสามารถในการแข่งขัน โดยมุ่งที่จะพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี พ.ศ. 2563 (Vision 2020)
การค้าและการลงทุนระหว่างไทย-มาเลเซีย
มาเลเซียเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย แม้ว่ามูลค่าการค้าจะไม่สูงมากนักนับตั้งแต่หลังวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี พ.ศ.2540 แต่มูลค่าการค้าได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ ในปี พ.ศ.2544 มูลค่าการค้าจำนวน 257,674.50 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 278,020.30 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2545 และ 348,152.30 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2546 โดยไทยเป็นฝ่ายขาดดุล และเนื่องจากไทยมีอาณาเขตติดกับมาเลเซียทั้งทางบกในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย คือ สงขลา นราธิวาส ยะลา สตูล และปัตตานี ซึ่งการคมนาคมและการขนส่งทำได้โดยทางรถยนต์ และทางทะเลโดยมีท่าเรือที่สามารถเดินเรือติดต่อกันได้ทางทะเลในอ่าวไทย การค้าชายแดนจึงมีสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าทั้งสอง กล่าวคือ ในปี พ.ศ.2545 มีมูลค่า 86,643.04 ล้านบาท และในปี พ.ศ. 2546 มูลค่าการค้าเพิ่มเป็น 132,968.10 ล้านบาท โดยประเทศไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้าทั้งนี้รายการสินค้าส่งออกทางชายแดนไทย-มาเลเซียที่สำคัญในช่วงปี พ.ศ. 2545-2546 ได้แก่ สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร ยางและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรที่ไม่ใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ สินค้ากสิกรรมปลา และสัตว์น้ำ เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเลคทรอนิกส์ และส่วนประกอบ ไม้ ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ พลาสติก และผลิตภัณฑ์ ยานพาหนะ และ อุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน และของใช้ประจำวัน
ภาวะการแข่งขันการค้าชายแดนและข้อได้เปรียบของไทย
ประเทศคู่ค้าของมาเลเซียที่จัดเป็นคู่แข่งของไทยได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และเยอรมัน ซึ่งนับเป็นประเทศคู่แข่งที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูงโดยเฉพาะญี่ปุ่น เนื่องจากมีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-มาเลเซีย ที่ได้พัฒนาแน่นแฟ้นอย่างใกล้ชิดมาจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากต่างมีผลประโยชน์ทางด้านความมั่นคงที่ต้องพึ่งพาระหว่างกัน มีการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งระดับราชวงศ์ ภาครัฐและภาคเอกชน ความสัมพันธ์อันดีดังกล่าวสร้างความเชื่อใจซึ่งกันและกัน อันเป็นความได้เปรียบในทางการค้าให้แก่ไทย นอกจากนั้น ข้อตกลงและโครงการต่างๆ ที่แสดงถึงความร่วมมือทางเศรษฐกิจและความมั่คงอย่างยั่งยืนระหว่างกัน อาทิ การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน โครงการพัฒนาเศรษฐกิจ 3 ฝ่าย อินโดนีเซีย-ไทย-มาเลเซีย (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle) เพื่อพัฒนาการค้าและการลงทุนของ 3 ประเทศ รวมทั้งโครงการสร้างถนนเชื่อมต่อไทย-มาเลเซีย ระหว่าง สตูล-เปอร์ลิส รวมทั้งไทยได้ขยายเวลาการเปิดด่านเข้า-ออก ทั้ง 3 ด่าน คือ ด่านสะเดา - สุไหงโกลก ด่านปาดังเบซาร์ และด่านเบตง ส่งผลให้การคมนาคมและการขนส่งสะดวกและรวดเร็วขึ้น นอกจากนั้น ข้อตกลงที่อนุญาตให้คนสัญชาติอีกประเทศหนึ่งใช้ใบผ่านแดน (Border Pass) ซึ่งออกให้โดยหน่วยปกครองในท้องถิ่นของแต่ละประเทศ เดินทางผ่านพรมแดนระหว่างกันโดยไม่ต้องใช้หนังสือเดินทาง ส่งผลให้การค้าชายแดนดำเนินระหว่างไทย-มาเลเซียไปอย่างคล่องตัวและสามารถเพิ่มมูลค่าการค้าชายแดนให้สูงขึ้นถึงร้อยละ 70
ปัญหาและอุปสรรคการค้าชายแดนระหว่างไทย-มาเลเซีย
ถึงแม้ว่าการค้าชายแดนระหว่างไทยและมาเลเซียจะดำเนินไปด้วยความเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน แต่ว่านโยบายและมาตรการหลายประการของมาเลเซียได้ส่งผลกระทบจนเกิดเป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการค้าชายแดนของประเทศทั้งสอง กล่าวคือ การกีดกันทางการค้า มาเลเซียกำหนดให้องค์การข้าวแห่งชาติ (Burmas) เป็นผู้นำเข้าข้าวในรูปแบบรัฐต่อรัฐ ส่งผลให้ราคาจำหน่ายข้าวในมาเลเซียมีราคาสูงและก่อให้เกิดการลักลอบนำเข้าข้าวบริเวณชายแดน นอกจากนั้นองค์กรพัฒนาการประมงแห่งมาเลเซีย ได้ขึ้นค่าธรรมเนียมสำหรับการตรวจสอบสินค้าสัตว์น้ำนำเข้ามาเลเซียจากเดิมอีก 5 เท่า รวมทั้งมาเลเซียได้เรียกเก็บภาษีสินค้าประเภทผัก ผลไม้สดในอัตราที่สูง รวมทั้งการตั้งเงื่อนไขด้านสุขอนามัยเพื่อกีดกันการนำเข้าผลไม้จากไทย การขนส่งสินค้า มาเลเซียไม่อนุญาตให้รถบรรทุกสินค้าของไทย เข้าไปส่งสินค้าในมาเลเซีย โดยอ้างมาตรฐานของรถบรรทุกไทยไม่เป็นสากล รวมทั้งการกำหนดเงื่อนไขให้รถยนต์ที่ผ่านเข้า-ออกมาเลเซีย จะต้องใช้คนมาเลย์และต้องจดทะเบียนและทำประกันภัยในมาเลเซีย ส่งผลให้เกิดการเน่าเสียของสินค้าและความล่าช้าในการขนส่ง
การแก้ไขปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวจะสามารถลุล่วงไปได้ ต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากภาครัฐ และภาคเอกชนจากทั้งสองประเทศ โดยการเจรจาเพื่อหาข้อตกลงซึ่งต้องสอดคล้องกับพันธกรณีของ AFTAและ WTO ทั้งด้านการคมนาคม ขนส่ง การเก็บภาษี และการปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศโดยอยู่บนพื้นฐานของความจริงใจและจริงจังอันจะเป็นปัจจัยเกื้อหนุนต่อการพัฒนาลู่ทางการค้าชายแดนระหว่างไทยและมาเลเซียต่อไป
ลู่ทางของ SME ต่อธุรกิจชายแดนไทย-มาเลย์
ผู้ประกอบการ SME ของไทยที่สนใจทำธุรกิจชายแดนกับมาเลเซีย นอกจากการศึกษาเพื่อเรียนรู้ และทำความรู้จักกับประเทศคู่ค้าทั้งด้านวัฒนธรรม ภาษา กฎหมาย นโยบายด้านเศรษฐกิจและสังคมของมาเลเซีย ผู้ประกอบการ SME ยังต้องศึกษาถึงรายได้และอำนาจการซื้อของชาวมาเลย์ รวมทั้งพัฒนาการจัดการด้านการผลิต เพื่อการลดต้นทุนและพัฒนาคุณภาพของสินค้าให้มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากประเทศคู่แข่งขัน โดยใช้การวิจัยและพัฒนา (R&D) ทั้งนี้เพื่อสร้างความเชื่อมั่น การยอมรับ และความสามารถในการสนองตอบให้ตรงกับรสนิยมและความต้องการของชาวมาเลย์…เพื่อนบ้านของไทยที่อยู่ใกล้ๆ แค่นี้
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-