แท็ก
อุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและการค้าโลกเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่จำเป็นในการใช้ชีวิต และเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศกำลังพัฒนา ส่วนประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ก็มีอุตสาหกรรมสิ่งทอภายในประเทศกันทั้งนั้น สำหรับประเทศไทยถือได้ว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจอย่างมากซึ่งสามารถทำรายได้เข้าประเทศปีละหลายหมื่นล้านบาท และมีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ เช่น อุตสาห-กรรมซิป กระดุม การฟอกย้อม เป็นต้น
การส่งออกสินค้าสิ่งทอไทยที่ผ่านมาได้มีการจัดสรรโควตาสำหรับการส่งออกตามความตกลงสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มมาตั้งแต่ปี 2538 เรียกว่าโควตาสิ่งทอไทย ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างประเทศไทยกับประเทศผู้นำเข้าสิ่งทอ 17 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และสหภาพยุโรป 15 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย เบลเยี่ยม กรีซ อิตาลี เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก เยอรมัน เดนมาร์ก สเปน ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ โปรตุเกส และสวีเดน เพื่อเป็นการจำกัดการส่งออกสินค้าสิ่งทอไทยไปยัง 17 ประเทศดังกล่าว โดยโควตาของแต่ละประเทศนั้นจะจำกัดการส่งออกสิ่งทอแตกต่างกันไปในรายละเอียดทั้งรายการสินค้าและปริมาณการนำเข้า เช่น กลุ่มสหภาพยุโรปมีการควบคุมโควตานำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจากไทย จำนวน 13 รายการ แบ่งเป็นเครื่องนุ่งห่ม 7 รายการ และสิ่งทอ (เส้นด้ายและผ้าผืน) จำนวน 6 รายการ โดยมีผู้รับผิดชอบในการจัดสรรโควตาสิ่งทอของไทยได้แก่ กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ทั้งนี้ตามความตกลงสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม(Agreement on Textile and Clothing) ขององค์การค้าโลก(WTO) ให้ประเทศสมาชิก WTO ที่เป็นผู้นำเข้าสินค้าสิ่งทอ ต้องยกเลิกระบบใช้โควตาจำกัดการนำเข้าสินค้าสิ่งทอ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นไป ซึ่งก็หมายถึงการเปิดตลาดให้มีการนำเข้าสินค้าสิ่งทอได้อย่างเสรี โดยการเปิดเสรีการค้าสิ่งทอในระดับโลกนี้ได้ดำเนินมาอย่างเป็นขั้นตอนตั้งแต่ความตกลงสิ่งทอมีผลบังคับใช้ในปี 2538 เป็นต้นมา ดังนั้นการเปิดเสรีการค้าสิ่งทอจึงเป็นเรื่องใหญ่สำหรับทั้งประเทศผู้นำเข้าและส่งออก เนื่องจากทั้งสองฝ่ายต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยประเทศผู้นำเข้าต้องเลิกการจำกัดโควตาการนำเข้าซึ่งจะทำให้สินค้านำเข้าสามารถเข้ามาแข่งขันกับสินค้าที่ผลิตในประเทศได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าจากประเทศจีน ซึ่งมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง เนื่องจากค่าจ้างแรงงานต่อหัวมีระดับต่ำมากแต่มีผลผลิตสูง ทำให้สินค้าราคาถูกกว่าประเทศอื่นๆ สามารถเข้ามาตีตลาดทั่วโลกได้มากขึ้นกว่าเดิม และนอกจากนี้ผลรายงานการศึกษาประเมินความเปลี่ยนแปลงหลังจากการยกเลิกโควตาสิ่งทอในปี 2548 และความสามารถในการแข่งขันของประเทศผู้ส่งออกสิ่งทอเข้าตลาดสหรัฐฯของคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ว่าเมื่อมีการยกเลิกระบบโควตาสิ่งทอแล้ว บริษัทผู้นำเข้าสินค้าสิ่งทอของสหรัฐฯ ส่วนใหญ่จะเลือกจีนเป็นแหล่งนำเข้า เพราะจีนสามารถที่จะผลิตสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าได้เกือบทุกประเภทและทุกระดับคุณภาพในราคาต่ำกว่า และนอกจากนี้จีนยังผลิตผ้าผืนและวัสดุหลายชนิดที่ใช้ในการผลิตเสื้อผ้าและสิ่งทอซึ่งเป็นที่ยอมรับของผู้นำเข้าสหรัฐอีกด้วย
แต่อย่างไรก็ตามในระยะยาวขีดความสามารถในการแข่งขันของจีนอาจจะลดลงเมื่อความเติบโตทางเศรษฐกิจกระตุ้นความต้องการชื้อสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าภายในประเทศ ทำให้ความต้องการใช้แรงงานและเงินทุนในอุตสาหกรรมเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งไม่อาจคาดการณ์ได้แน่ชัดว่าจีนจะขยายการส่งออกได้มากหรือน้อยเพียงใดหลังจากการยกเลิกโควตา เพราะมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการที่สหรัฐฯและประเทศผู้นำเข้าอื่นๆ ที่เป็นสมาชิกองค์การค้าโลก( WTO) จะใช้มาตรการต่างๆ ป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภายในได้ในรูปของการเก็บภาษีต่อต้านการทุ่มตลาด(Anti Dumping: AD) ภาษีตอบโต้การอุดหนุนของรัฐบาล(Countervailing Duty: CVD) และมาตรการคุ้มกัน(Safeguards) โดยการเก็บภาษีนำเข้าให้สูงขึ้นหรือห้ามนำเข้า หรือกำหนดโควตาเพื่อจำกัดการนำเข้าชั่วคราวหากผลการไต่สวนมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศจริง
ในกรณีของประเทศไทยนั้น คณะกรรมาธิการสหรัฐได้ประเมินว่าการนำเข้าสิ่งทอและเสื้อผ้าจากไทยจะลดลงภายหลังจากการยกเลิกโควตาสิ่งทอ ซึ่งไทยต้องปรัปเปลี่ยนมาเป็นผู้ผลิตเสื้อผ้าที่ต้องใช้ฝีมือในการตัดเย็บที่ซับซ้อนหรือใช้ความประณีตเป็นพิเศษมากยิ่งขึ้น เนื่องจากสิ่งทอและเสื้อผ้าไทยมีจุดเด่นในเรื่องของแรงงานที่มีฝีมือสูง แต่ค่าจ้างแรงงานก็สูงซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะไทยขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือในอุตสาหกรรมนี้ อย่างไรก็ตามการยกเลิกระบบโควตาสิ่งทอ รวมทั้งไทยได้มีการจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี(FTA) กับประเทศอื่นๆ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น และเปรู นั้นถือได้ว่าเป็นโอกาสที่ดีสำหรับการขยายตลาดสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยให้มากขึ้น เนื่องจากกลุ่มสินค้าเครื่องนุ่งห่มของไทยพร้อมที่จะเป็นสินค้านำร่องลดภาษีเป็นศูนย์เปอร์เซ็นต์ในเอฟทีเอที่ไทยทำกับ 5 ประเทศดังกล่าว เพราะอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยมีศักยภาพและมีความพร้อมแข่งขันในระบบฟรีโควตาอยู่แล้ว รวมทั้งมีความได้เปรียบมากกว่า
ดังนั้นเพื่อเตรียมพร้อมกับการเปิดเสรีการค้าสิ่งทอของโลกซึ่งหลือเวลาไม่ถึง 10 เดือน ทางรัฐบาลได้เริ่มวางแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยเพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพให้ได้มาตรฐานมากขึ้น และเพิ่มโอกาสในการแข่งขันทั้งในตลาดระดับกลางและระดับบนผ่านโครงการต่างๆ เช่น โครงการสร้างตราสินค้าไทย โครงการยกระดับประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางแฟชั่นของภูมิภาคภายในปี 2548 และตั้งเป้าหมายให้ไทยติดอันดับเมืองแฟชั่นของโลกภายในปี 2555 เป็นต้น
ส่วนผู้ประกอบการของไทยซึ่งส่วนใหญ่เป็นเอสเอ็มอีต้องเร่งปรับตัวให้อยู่รอดในท่ามกลางการแข่งขันที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น ต้องพยายามสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า และสร้างความได้เปรียบในเรื่องการบริการให้ได้ ตลอดจนพยายามปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เช่น การเพิ่มความรวดเร็วในการผลิต การแสวงหาตลาดใหม่ๆ หรือผลิตสิ่งทอเพื่อสนองตลาดเฉพาะ (Niche Market) การพัฒนาวัสดุใหม่ๆ ทีใช้ในการผลิต และนอกจากนี้ผู้ส่งออกไทยต้องให้ความสำคัญกับการส่งมอบสินค้าโดยการใช้การขนส่งสินค้าด่วนทางอากาศ เพื่อตอบสนองพฤติกรรมการสั่งซื้อสินค้าแฟชั่นที่ต้องคำนึงถึงความรวดเร็วและตรงเวลา เป็นต้น
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
การส่งออกสินค้าสิ่งทอไทยที่ผ่านมาได้มีการจัดสรรโควตาสำหรับการส่งออกตามความตกลงสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มมาตั้งแต่ปี 2538 เรียกว่าโควตาสิ่งทอไทย ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างประเทศไทยกับประเทศผู้นำเข้าสิ่งทอ 17 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และสหภาพยุโรป 15 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย เบลเยี่ยม กรีซ อิตาลี เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก เยอรมัน เดนมาร์ก สเปน ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ โปรตุเกส และสวีเดน เพื่อเป็นการจำกัดการส่งออกสินค้าสิ่งทอไทยไปยัง 17 ประเทศดังกล่าว โดยโควตาของแต่ละประเทศนั้นจะจำกัดการส่งออกสิ่งทอแตกต่างกันไปในรายละเอียดทั้งรายการสินค้าและปริมาณการนำเข้า เช่น กลุ่มสหภาพยุโรปมีการควบคุมโควตานำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจากไทย จำนวน 13 รายการ แบ่งเป็นเครื่องนุ่งห่ม 7 รายการ และสิ่งทอ (เส้นด้ายและผ้าผืน) จำนวน 6 รายการ โดยมีผู้รับผิดชอบในการจัดสรรโควตาสิ่งทอของไทยได้แก่ กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ทั้งนี้ตามความตกลงสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม(Agreement on Textile and Clothing) ขององค์การค้าโลก(WTO) ให้ประเทศสมาชิก WTO ที่เป็นผู้นำเข้าสินค้าสิ่งทอ ต้องยกเลิกระบบใช้โควตาจำกัดการนำเข้าสินค้าสิ่งทอ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นไป ซึ่งก็หมายถึงการเปิดตลาดให้มีการนำเข้าสินค้าสิ่งทอได้อย่างเสรี โดยการเปิดเสรีการค้าสิ่งทอในระดับโลกนี้ได้ดำเนินมาอย่างเป็นขั้นตอนตั้งแต่ความตกลงสิ่งทอมีผลบังคับใช้ในปี 2538 เป็นต้นมา ดังนั้นการเปิดเสรีการค้าสิ่งทอจึงเป็นเรื่องใหญ่สำหรับทั้งประเทศผู้นำเข้าและส่งออก เนื่องจากทั้งสองฝ่ายต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยประเทศผู้นำเข้าต้องเลิกการจำกัดโควตาการนำเข้าซึ่งจะทำให้สินค้านำเข้าสามารถเข้ามาแข่งขันกับสินค้าที่ผลิตในประเทศได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าจากประเทศจีน ซึ่งมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง เนื่องจากค่าจ้างแรงงานต่อหัวมีระดับต่ำมากแต่มีผลผลิตสูง ทำให้สินค้าราคาถูกกว่าประเทศอื่นๆ สามารถเข้ามาตีตลาดทั่วโลกได้มากขึ้นกว่าเดิม และนอกจากนี้ผลรายงานการศึกษาประเมินความเปลี่ยนแปลงหลังจากการยกเลิกโควตาสิ่งทอในปี 2548 และความสามารถในการแข่งขันของประเทศผู้ส่งออกสิ่งทอเข้าตลาดสหรัฐฯของคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ว่าเมื่อมีการยกเลิกระบบโควตาสิ่งทอแล้ว บริษัทผู้นำเข้าสินค้าสิ่งทอของสหรัฐฯ ส่วนใหญ่จะเลือกจีนเป็นแหล่งนำเข้า เพราะจีนสามารถที่จะผลิตสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าได้เกือบทุกประเภทและทุกระดับคุณภาพในราคาต่ำกว่า และนอกจากนี้จีนยังผลิตผ้าผืนและวัสดุหลายชนิดที่ใช้ในการผลิตเสื้อผ้าและสิ่งทอซึ่งเป็นที่ยอมรับของผู้นำเข้าสหรัฐอีกด้วย
แต่อย่างไรก็ตามในระยะยาวขีดความสามารถในการแข่งขันของจีนอาจจะลดลงเมื่อความเติบโตทางเศรษฐกิจกระตุ้นความต้องการชื้อสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าภายในประเทศ ทำให้ความต้องการใช้แรงงานและเงินทุนในอุตสาหกรรมเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งไม่อาจคาดการณ์ได้แน่ชัดว่าจีนจะขยายการส่งออกได้มากหรือน้อยเพียงใดหลังจากการยกเลิกโควตา เพราะมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการที่สหรัฐฯและประเทศผู้นำเข้าอื่นๆ ที่เป็นสมาชิกองค์การค้าโลก( WTO) จะใช้มาตรการต่างๆ ป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภายในได้ในรูปของการเก็บภาษีต่อต้านการทุ่มตลาด(Anti Dumping: AD) ภาษีตอบโต้การอุดหนุนของรัฐบาล(Countervailing Duty: CVD) และมาตรการคุ้มกัน(Safeguards) โดยการเก็บภาษีนำเข้าให้สูงขึ้นหรือห้ามนำเข้า หรือกำหนดโควตาเพื่อจำกัดการนำเข้าชั่วคราวหากผลการไต่สวนมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศจริง
ในกรณีของประเทศไทยนั้น คณะกรรมาธิการสหรัฐได้ประเมินว่าการนำเข้าสิ่งทอและเสื้อผ้าจากไทยจะลดลงภายหลังจากการยกเลิกโควตาสิ่งทอ ซึ่งไทยต้องปรัปเปลี่ยนมาเป็นผู้ผลิตเสื้อผ้าที่ต้องใช้ฝีมือในการตัดเย็บที่ซับซ้อนหรือใช้ความประณีตเป็นพิเศษมากยิ่งขึ้น เนื่องจากสิ่งทอและเสื้อผ้าไทยมีจุดเด่นในเรื่องของแรงงานที่มีฝีมือสูง แต่ค่าจ้างแรงงานก็สูงซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะไทยขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือในอุตสาหกรรมนี้ อย่างไรก็ตามการยกเลิกระบบโควตาสิ่งทอ รวมทั้งไทยได้มีการจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี(FTA) กับประเทศอื่นๆ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น และเปรู นั้นถือได้ว่าเป็นโอกาสที่ดีสำหรับการขยายตลาดสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยให้มากขึ้น เนื่องจากกลุ่มสินค้าเครื่องนุ่งห่มของไทยพร้อมที่จะเป็นสินค้านำร่องลดภาษีเป็นศูนย์เปอร์เซ็นต์ในเอฟทีเอที่ไทยทำกับ 5 ประเทศดังกล่าว เพราะอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยมีศักยภาพและมีความพร้อมแข่งขันในระบบฟรีโควตาอยู่แล้ว รวมทั้งมีความได้เปรียบมากกว่า
ดังนั้นเพื่อเตรียมพร้อมกับการเปิดเสรีการค้าสิ่งทอของโลกซึ่งหลือเวลาไม่ถึง 10 เดือน ทางรัฐบาลได้เริ่มวางแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยเพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพให้ได้มาตรฐานมากขึ้น และเพิ่มโอกาสในการแข่งขันทั้งในตลาดระดับกลางและระดับบนผ่านโครงการต่างๆ เช่น โครงการสร้างตราสินค้าไทย โครงการยกระดับประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางแฟชั่นของภูมิภาคภายในปี 2548 และตั้งเป้าหมายให้ไทยติดอันดับเมืองแฟชั่นของโลกภายในปี 2555 เป็นต้น
ส่วนผู้ประกอบการของไทยซึ่งส่วนใหญ่เป็นเอสเอ็มอีต้องเร่งปรับตัวให้อยู่รอดในท่ามกลางการแข่งขันที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น ต้องพยายามสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า และสร้างความได้เปรียบในเรื่องการบริการให้ได้ ตลอดจนพยายามปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เช่น การเพิ่มความรวดเร็วในการผลิต การแสวงหาตลาดใหม่ๆ หรือผลิตสิ่งทอเพื่อสนองตลาดเฉพาะ (Niche Market) การพัฒนาวัสดุใหม่ๆ ทีใช้ในการผลิต และนอกจากนี้ผู้ส่งออกไทยต้องให้ความสำคัญกับการส่งมอบสินค้าโดยการใช้การขนส่งสินค้าด่วนทางอากาศ เพื่อตอบสนองพฤติกรรมการสั่งซื้อสินค้าแฟชั่นที่ต้องคำนึงถึงความรวดเร็วและตรงเวลา เป็นต้น
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-