ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ประกาศผลการตรวจสอบฐานะสถาบันการเงินส่วนใหญ่อยู่ในระดับพอใช้ รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า
สายตรวจสอบสถาบันการเงิน ธปท. ได้รายงานผลการตรวจสอบสถาบันการเงิน ประจำปี 46 จำนวน 61 แห่ง เป็นธนาคารพาณิชย์ไทย 11 แห่ง
สาขาธนาคารต่างประเทศ 9 แห่ง บริษัทเงินทุน 16 แห่ง บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ 5 แห่ง สถาบันเฉพาะกิจ 20 แห่ง โดยการตรวจสอบของ ธปท.
แบ่งเป็น 5 ด้าน คือ ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงด้านตลาด ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง และความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ
สำหรับสถาบันเฉพาะกิจ ธปท.เน้นการตรวจสอบด้านการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ โดยพบว่าสถาบันการเงินส่วนใหญ่ได้รับการจัดระดับโดยรวมอยู่
ในระดับพอใช้ และมีสถาบันการเงินที่อยู่ในระดับต่ำกว่าพอใช้ ซึ่ง ธปท.สั่งการให้แก้ไขฐานะและสามารถกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ ในส่วนของการ
ตรวจสอบการแก้ไขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์ของสถาบันการเงินในปี 46 พบว่าแม้ตัวเลขจะลดลงเล็กน้อย
แต่ก็ถือว่าเป็นไปตามเป้าหมาย (โลกวันนี้, ข่าวสด, บ้านเมือง, ผู้จัดการรายวัน)
2. ผลประกอบการของ ธปท. ณ สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค.46 มีผลกำไรสุทธิลดลงร้อยละ 58 เป็นผลจากการแข็งค่าของค่าเงินบาท
รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ผลประกอบการของ ธปท. ณ สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค.46 มีผลกำไรสุทธิทั้งสิ้น 4,996
ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนจำนวน 6,896 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 58 จากปีก่อนที่อยู่ที่จำนวน 11,893 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม แม้ผลกำไร
สุทธิของ ธปท.จะลดลง แต่ ธปท.ก็มีผลกำไรติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี ทำให้มีผลกำไรสะสมทั้งปีจำนวนทั้งสิ้น 27,307 ล้านบาท มีรายได้รวมทั้งสิ้น
20,790 ล้านบาท ลดลงจำนวน 8,656 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 29.4 จากปีก่อนที่อยู่ที่จำนวน 29,446 ล้านบาท สำหรับค่าใช้จ่ายของ
ธปท.ในปี 46 มีทั้งสิ้น 15,793 ล้านบาท ลดลงจำนวน 1,759 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 10 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ ธปท.มีค่าใช้จ่าย
รวมทั้งสิ้น 17,522 ล้านบาท สำหรับการลดลงของกำไรสุทธิของ ธปท.นั้น เป็นผลจากการตีราคามูลค่าสินทรัพย์และดอกเบี้ยรับที่ลดลง เนื่องจาก
ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับปี 45 (เดลินิวส์, กรุงเทพธุรกิจ)
3. ผลประกอบการของตลาดหลักทรัพย์ใหม่ในไตรมาสแรกปี 47 มีกำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.50 ประธานศูนย์ระดมทุนและตลาดหลักทรัพย์
ใหม่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า บริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (MAI) จำนวน 11 บริษัท จาก
12 บริษัท ได้นำส่งงบการเงินไตรมาสแรกปี 47 ปรากฏว่า บจ. มีกำไรรวมทั้งสิ้น 94.53 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนร้อยละ
30.50 ทั้งนี้ บจ.ใน MAI เป็นบริษัทที่มีอัตราการขยายตัวทางธุรกิจสูง บางบริษัทมีการขยายตัวอย่างก้าวกระโดด เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่มี
ปัจจัยพื้นฐานดี (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
4. จำนวนผู้ว่างงานของไทยในเดือน เม.ย.47 มีจำนวน 9.9 แสนคน โดยกรุงเทพฯ มีอัตราการว่างงานสูงสุดที่ร้อยละ 3.6 สำนัก
งานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร หรือสำรวจแรงงานประจำเดือน เม.ย.47 ว่า จำนวนประชากรรวมทั่ว
ประเทศมีทั้งสิ้น 65.11 ล้านคน เป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงานประมาณ 35.60 ล้านคน ประกอบด้วยผู้มีงานทำ 33.87 ล้านคน ผู้ว่างงานมีจำนวน
9.9 แสนคน ผู้รอฤดูกาล 7.4 แสนคน ส่วนผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงานมีประมาณ 13.73 ล้านคน และผู้มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ประมาณ 15.78 ล้านคน
อย่างไรก็ตาม จากจำนวนผู้ว่างงาน 9.9 แสนคนดังกล่าว พบว่าเป็นผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อนถึง 3.2 แสนคน ทั้งนี้ จากจำนวนผู้มีงานทำ
ทั้งสิ้น 33.87 ล้านคนนั้น เป็นผู้ทำงานในภาคเกษตรกรรมประมาณ 11.16 ล้านคน นอกภาคเกษตรกรรมประมาณ 22.71 ล้านคน เมื่อเปรียบเทียบ
กับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนพบว่า ผู้มีงานทำเพิ่มขึ้นประมาณ 6.4 แสนคน โดยนอกภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น 1.64 ล้านคน แต่ภาคเกษตรกรรม
ลดลง 1 ล้านคน และเมื่อพิจารณารายภาคพบว่า กรุงเทพฯ มีอัตราการว่างงานสูงสุดคือ ร้อยละ 3.6 รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ร้อยละ 3.4 ภาคเหนือร้อยละ 3 ภาคใต้ร้อยละ 2.1 และภาคกลางร้อยละ 1.6 (บ้านเมือง)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ. ลดลงอยู่ที่ระดับ —19 รายงานจากนิวยอร์ค เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.47 สำนักข่าว ABC และ
Money Magazine ของ สรอ. เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ. ประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 6 มิ.ย.47 ลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์
ที่ 3 อยู่ที่ระดับ —19 จากระดับ —18 ในสัปดาห์ก่อน เนื่องจากตัวเลขการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นมากในเดือน พ.ค.47 ไม่สามารถหักล้างกับราคา
น้ำมันและอาหารที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ รัฐบาลได้รายงานเมื่อสัปดาห์ก่อนว่ามีการจ้างงานใหม่นอกภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น 947,000 อัตรา นับตั้งแต่
เดือน มี.ค.47 เป็นการจ้างงานเพิ่มขึ้นสูงสุดในช่วง 3 เดือน ในรอบระยะเวลา 4 ปี อย่างไรก็ตาม ราคาเฉลี่ยน้ำมันที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 35
และราคานมเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 ในปีนี้ ทำให้ผู้บริโภครู้สึกกังวลอยู่บ้าง (รอยเตอร์)
2. คาดว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปีของสรอ. อาจจะสูงถึงร้อยละ 6.7 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 47
Freddie Mac คาดว่าประมาณปลายปีนี้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปีของสรอ. อาจจะสูงถึงร้อยละ 6.7 เนื่องจาก ธ.กลาง สรอ.
อาจจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้นในปลายเดือนมิ.ย. นี้ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองดังกล่าวเฉลี่ยรายปี (ปรับฤดูกาลแล้ว)
อยู่ที่ระดับร้อยละ 6.3 ในปีนี้ จากที่ได้คาดไว้ก่อนหน้านี้ในเดือนพ.ค. ว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 6.1 ทั้งนี้สัญญานการขยายตัวอย่างรวดเร็วของ
เศรษฐกิจสรอ. และแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น จากระดับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ทำให้มีโอกาสที่คณะกรรมการนโยบายการเงินสรอ.จะปรับเพิ่ม
อัตราดอกเบี้ยนโยบายจากปัจจุบันที่ระดับร้อยละ 1.0 เป็นร้อยละ 1.25 เนื่องจากเศรษฐกิจสรอ.ส่งสัญญานการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ และ
จากที่คาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะสูงขึ้นทำให้ Freddie Mac ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้สินเชื่อจำนองที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของสรอ. ปรับลดคาดการณ์ยอดขาย
บ้านและการให้สินเขื่อสำหรับปี 47 ลงแม้ว่ายอดดังกล่าวจะยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าในอดีตที่ผ่านมาก็ตาม โดยคาดว่ายอดจำหน่ายบ้านในปีนี้จะมี
จำนวนทั้งสิ้น 7.25 ล้านหลัง ซึ่งยังเป็นสถิติที่สูง แต่ยังต่ำกว่าที่คาดไว้เมื่อเดือนที่แล้วว่าจะมียอดการจำหน่าย 7.29 ล้านหลัง สำหรับเงินกู้ยืม
ใหม่คาดว่าจะมีจำนวน 2.2 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ.ในปีนี้ เนื่องจากการกู้เพื่อการ refinance ลดลง และต่ำกว่าที่ได้คาดไว้เดิมเมื่อเดือนพ.ค.
ที่ระดับ 2.4 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตาม Freddie Mac ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์บางส่วนและยอมรับว่าอุปสงค์สำหรับที่อยู่อาศัยยังคง
ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งโดยคาดว่ายอดการสร้างบ้านใหม่ในปีนี้อาจจะสูงถึง 1.86 ล้านหลังจาก 1.85 ล้านหลังเมื่อปีที่แล้ว (รอยเตอร์)
3. ตัวเลขการว่างงานของเยอรมนีเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 รายงานจากเบอร์ลิน เยอรมนี เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.47 สนง.
แรงงานกลางของเยอรมนี เปิดเผยว่าตัวเลขการว่างงานของเยอรมนีที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วในเดือน พ.ค.47 เพิ่มขึ้น 9,000 อัตรา
อยู่ที่ระดับ 4.374 ล้านอัตรา เป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 แต่ต่ำกว่าโพลล์สำรวจนักเศรษฐศาสตร์ที่จัดทำโดยรอยเตอร์ที่คาดการณ์ว่า
ตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มขึ้น 15,000 อัตรา จากเดือน เม.ย.47 และเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค.47 ทำให้อัตราการว่าง
งานที่ปรับตัวเลขแล้วไม่เปลี่ยนแปลงอยู่ที่ร้อยละ 10.5 ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงดังกล่าวทำให้นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าตลาดแรงงานของ
เยอรมนีจะเริ่มกลับเข้าสู่ระดับที่มีเสถียรภาพในระยะเวลาอันใกล้นี้หลังจากมีแนวโน้มลดลงมาตลอดช่วง 3 ปีที่ผ่านมา แต่บางคนให้ความเห็นว่า
แม้สถานการณ์จะไม่เลวร้ายเหมือนที่คาดการณ์ไว้ แต่ก็ยังไม่มีการปรับตัวที่ดีขึ้นเช่นกัน ส่วนอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจยังไม่เข้มแข็งมากพอที่จะ
ส่งผลต่อการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน ในขณะที่ข้อมูลการจ้างงานเดือน มี.ค.47 แสดงบัญชีเงินเดือนที่ปรับแล้วลดลง 33,000 อัตรา เป็นการลด
ลงต่อเดือนมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค.46 อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อมูลในทางบวกอยู่บ้าง โดยตำแหน่งงานว่างที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วในเดือน
พ.ค.47 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือน (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตอุตสาหกรรมของเยอรมนีเพิ่มขึ้นแต่ยังคงมีการว่างงาน รายงานจากเบอร์ลินเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 47 รมว.เศรษฐกิจและ
แรงงานเยอรมนีเปิดเผยว่า ในเดือนพ.ค. 47 ผลผลิตอุตสาหกรรมของเยอรมนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 จากเดือนก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9
จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ขณะที่ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ 28 คนของรอยเตอร์คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนพ.ค. จะขยายตัวระหว่าง
ร้อยละ 0.1 — 2.0 หรือเฉลี่ยที่ร้อยละ 1.0 ส่วนนักเศรษฐศาสตร์จาก Morgan Stanley แสดงความเห็นว่าการขยายตัวอย่างน่าประหลาดใจ
ของเศรษฐกิจเยอรมนีในไตรมาสแรกส่งผลให้แนวโน้มในไตรมาสที่ 2 สดใส และเป็นสัญญานที่เด่นชัดว่าเศรษฐกิจเยอรมนีอยู่ในภาวะฟื้นตัวอย่าง
แท้จริง อย่างไรก็ตามปัญหาการว่างงานในเดือนพ.ค. สูงถึง 4.374 ล้านคน (ตัวเลขที่ปรับแล้ว) เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 9,000 คน เพิ่มขึ้น
อย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจในประเทศยังคงอ่อนแอ แม้ว่าจะประสบความสำเร็จในอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออก
ก็ตาม ก.แรงงานเห็นว่าเศรษฐกิจเยอรมนียังคงอ่อนแออยู่จึงยังไม่มีการว่าจ้างงานใหม่ ดังนั้นการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมการผลิตจึงมิได้สะท้อน
ถึงตลาดแรงงาน แต่โดยภาพรวมคาดว่าตลาดแรงงานกำลังฟื้นตัวและจะมีเสถียรภาพได้ในช่วงฤดูร้อนนี้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 9/6/47 8/6/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.562 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.3655/40.6542 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 611.46/15.99 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,450/7,550 7,500/7,600 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 33.34 34.16 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 18.19*/14.59 18.19*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 8 มิ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.ประกาศผลการตรวจสอบฐานะสถาบันการเงินส่วนใหญ่อยู่ในระดับพอใช้ รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า
สายตรวจสอบสถาบันการเงิน ธปท. ได้รายงานผลการตรวจสอบสถาบันการเงิน ประจำปี 46 จำนวน 61 แห่ง เป็นธนาคารพาณิชย์ไทย 11 แห่ง
สาขาธนาคารต่างประเทศ 9 แห่ง บริษัทเงินทุน 16 แห่ง บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ 5 แห่ง สถาบันเฉพาะกิจ 20 แห่ง โดยการตรวจสอบของ ธปท.
แบ่งเป็น 5 ด้าน คือ ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงด้านตลาด ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง และความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ
สำหรับสถาบันเฉพาะกิจ ธปท.เน้นการตรวจสอบด้านการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ โดยพบว่าสถาบันการเงินส่วนใหญ่ได้รับการจัดระดับโดยรวมอยู่
ในระดับพอใช้ และมีสถาบันการเงินที่อยู่ในระดับต่ำกว่าพอใช้ ซึ่ง ธปท.สั่งการให้แก้ไขฐานะและสามารถกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ ในส่วนของการ
ตรวจสอบการแก้ไขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์ของสถาบันการเงินในปี 46 พบว่าแม้ตัวเลขจะลดลงเล็กน้อย
แต่ก็ถือว่าเป็นไปตามเป้าหมาย (โลกวันนี้, ข่าวสด, บ้านเมือง, ผู้จัดการรายวัน)
2. ผลประกอบการของ ธปท. ณ สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค.46 มีผลกำไรสุทธิลดลงร้อยละ 58 เป็นผลจากการแข็งค่าของค่าเงินบาท
รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ผลประกอบการของ ธปท. ณ สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค.46 มีผลกำไรสุทธิทั้งสิ้น 4,996
ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนจำนวน 6,896 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 58 จากปีก่อนที่อยู่ที่จำนวน 11,893 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม แม้ผลกำไร
สุทธิของ ธปท.จะลดลง แต่ ธปท.ก็มีผลกำไรติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี ทำให้มีผลกำไรสะสมทั้งปีจำนวนทั้งสิ้น 27,307 ล้านบาท มีรายได้รวมทั้งสิ้น
20,790 ล้านบาท ลดลงจำนวน 8,656 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 29.4 จากปีก่อนที่อยู่ที่จำนวน 29,446 ล้านบาท สำหรับค่าใช้จ่ายของ
ธปท.ในปี 46 มีทั้งสิ้น 15,793 ล้านบาท ลดลงจำนวน 1,759 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 10 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ ธปท.มีค่าใช้จ่าย
รวมทั้งสิ้น 17,522 ล้านบาท สำหรับการลดลงของกำไรสุทธิของ ธปท.นั้น เป็นผลจากการตีราคามูลค่าสินทรัพย์และดอกเบี้ยรับที่ลดลง เนื่องจาก
ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับปี 45 (เดลินิวส์, กรุงเทพธุรกิจ)
3. ผลประกอบการของตลาดหลักทรัพย์ใหม่ในไตรมาสแรกปี 47 มีกำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.50 ประธานศูนย์ระดมทุนและตลาดหลักทรัพย์
ใหม่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า บริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (MAI) จำนวน 11 บริษัท จาก
12 บริษัท ได้นำส่งงบการเงินไตรมาสแรกปี 47 ปรากฏว่า บจ. มีกำไรรวมทั้งสิ้น 94.53 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนร้อยละ
30.50 ทั้งนี้ บจ.ใน MAI เป็นบริษัทที่มีอัตราการขยายตัวทางธุรกิจสูง บางบริษัทมีการขยายตัวอย่างก้าวกระโดด เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่มี
ปัจจัยพื้นฐานดี (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
4. จำนวนผู้ว่างงานของไทยในเดือน เม.ย.47 มีจำนวน 9.9 แสนคน โดยกรุงเทพฯ มีอัตราการว่างงานสูงสุดที่ร้อยละ 3.6 สำนัก
งานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร หรือสำรวจแรงงานประจำเดือน เม.ย.47 ว่า จำนวนประชากรรวมทั่ว
ประเทศมีทั้งสิ้น 65.11 ล้านคน เป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงานประมาณ 35.60 ล้านคน ประกอบด้วยผู้มีงานทำ 33.87 ล้านคน ผู้ว่างงานมีจำนวน
9.9 แสนคน ผู้รอฤดูกาล 7.4 แสนคน ส่วนผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงานมีประมาณ 13.73 ล้านคน และผู้มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ประมาณ 15.78 ล้านคน
อย่างไรก็ตาม จากจำนวนผู้ว่างงาน 9.9 แสนคนดังกล่าว พบว่าเป็นผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อนถึง 3.2 แสนคน ทั้งนี้ จากจำนวนผู้มีงานทำ
ทั้งสิ้น 33.87 ล้านคนนั้น เป็นผู้ทำงานในภาคเกษตรกรรมประมาณ 11.16 ล้านคน นอกภาคเกษตรกรรมประมาณ 22.71 ล้านคน เมื่อเปรียบเทียบ
กับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนพบว่า ผู้มีงานทำเพิ่มขึ้นประมาณ 6.4 แสนคน โดยนอกภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น 1.64 ล้านคน แต่ภาคเกษตรกรรม
ลดลง 1 ล้านคน และเมื่อพิจารณารายภาคพบว่า กรุงเทพฯ มีอัตราการว่างงานสูงสุดคือ ร้อยละ 3.6 รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ร้อยละ 3.4 ภาคเหนือร้อยละ 3 ภาคใต้ร้อยละ 2.1 และภาคกลางร้อยละ 1.6 (บ้านเมือง)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ. ลดลงอยู่ที่ระดับ —19 รายงานจากนิวยอร์ค เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.47 สำนักข่าว ABC และ
Money Magazine ของ สรอ. เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ. ประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 6 มิ.ย.47 ลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์
ที่ 3 อยู่ที่ระดับ —19 จากระดับ —18 ในสัปดาห์ก่อน เนื่องจากตัวเลขการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นมากในเดือน พ.ค.47 ไม่สามารถหักล้างกับราคา
น้ำมันและอาหารที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ รัฐบาลได้รายงานเมื่อสัปดาห์ก่อนว่ามีการจ้างงานใหม่นอกภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น 947,000 อัตรา นับตั้งแต่
เดือน มี.ค.47 เป็นการจ้างงานเพิ่มขึ้นสูงสุดในช่วง 3 เดือน ในรอบระยะเวลา 4 ปี อย่างไรก็ตาม ราคาเฉลี่ยน้ำมันที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 35
และราคานมเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 ในปีนี้ ทำให้ผู้บริโภครู้สึกกังวลอยู่บ้าง (รอยเตอร์)
2. คาดว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปีของสรอ. อาจจะสูงถึงร้อยละ 6.7 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 47
Freddie Mac คาดว่าประมาณปลายปีนี้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปีของสรอ. อาจจะสูงถึงร้อยละ 6.7 เนื่องจาก ธ.กลาง สรอ.
อาจจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้นในปลายเดือนมิ.ย. นี้ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองดังกล่าวเฉลี่ยรายปี (ปรับฤดูกาลแล้ว)
อยู่ที่ระดับร้อยละ 6.3 ในปีนี้ จากที่ได้คาดไว้ก่อนหน้านี้ในเดือนพ.ค. ว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 6.1 ทั้งนี้สัญญานการขยายตัวอย่างรวดเร็วของ
เศรษฐกิจสรอ. และแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น จากระดับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ทำให้มีโอกาสที่คณะกรรมการนโยบายการเงินสรอ.จะปรับเพิ่ม
อัตราดอกเบี้ยนโยบายจากปัจจุบันที่ระดับร้อยละ 1.0 เป็นร้อยละ 1.25 เนื่องจากเศรษฐกิจสรอ.ส่งสัญญานการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ และ
จากที่คาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะสูงขึ้นทำให้ Freddie Mac ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้สินเชื่อจำนองที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของสรอ. ปรับลดคาดการณ์ยอดขาย
บ้านและการให้สินเขื่อสำหรับปี 47 ลงแม้ว่ายอดดังกล่าวจะยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าในอดีตที่ผ่านมาก็ตาม โดยคาดว่ายอดจำหน่ายบ้านในปีนี้จะมี
จำนวนทั้งสิ้น 7.25 ล้านหลัง ซึ่งยังเป็นสถิติที่สูง แต่ยังต่ำกว่าที่คาดไว้เมื่อเดือนที่แล้วว่าจะมียอดการจำหน่าย 7.29 ล้านหลัง สำหรับเงินกู้ยืม
ใหม่คาดว่าจะมีจำนวน 2.2 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ.ในปีนี้ เนื่องจากการกู้เพื่อการ refinance ลดลง และต่ำกว่าที่ได้คาดไว้เดิมเมื่อเดือนพ.ค.
ที่ระดับ 2.4 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตาม Freddie Mac ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์บางส่วนและยอมรับว่าอุปสงค์สำหรับที่อยู่อาศัยยังคง
ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งโดยคาดว่ายอดการสร้างบ้านใหม่ในปีนี้อาจจะสูงถึง 1.86 ล้านหลังจาก 1.85 ล้านหลังเมื่อปีที่แล้ว (รอยเตอร์)
3. ตัวเลขการว่างงานของเยอรมนีเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 รายงานจากเบอร์ลิน เยอรมนี เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.47 สนง.
แรงงานกลางของเยอรมนี เปิดเผยว่าตัวเลขการว่างงานของเยอรมนีที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วในเดือน พ.ค.47 เพิ่มขึ้น 9,000 อัตรา
อยู่ที่ระดับ 4.374 ล้านอัตรา เป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 แต่ต่ำกว่าโพลล์สำรวจนักเศรษฐศาสตร์ที่จัดทำโดยรอยเตอร์ที่คาดการณ์ว่า
ตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มขึ้น 15,000 อัตรา จากเดือน เม.ย.47 และเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค.47 ทำให้อัตราการว่าง
งานที่ปรับตัวเลขแล้วไม่เปลี่ยนแปลงอยู่ที่ร้อยละ 10.5 ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงดังกล่าวทำให้นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าตลาดแรงงานของ
เยอรมนีจะเริ่มกลับเข้าสู่ระดับที่มีเสถียรภาพในระยะเวลาอันใกล้นี้หลังจากมีแนวโน้มลดลงมาตลอดช่วง 3 ปีที่ผ่านมา แต่บางคนให้ความเห็นว่า
แม้สถานการณ์จะไม่เลวร้ายเหมือนที่คาดการณ์ไว้ แต่ก็ยังไม่มีการปรับตัวที่ดีขึ้นเช่นกัน ส่วนอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจยังไม่เข้มแข็งมากพอที่จะ
ส่งผลต่อการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน ในขณะที่ข้อมูลการจ้างงานเดือน มี.ค.47 แสดงบัญชีเงินเดือนที่ปรับแล้วลดลง 33,000 อัตรา เป็นการลด
ลงต่อเดือนมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค.46 อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อมูลในทางบวกอยู่บ้าง โดยตำแหน่งงานว่างที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วในเดือน
พ.ค.47 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือน (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตอุตสาหกรรมของเยอรมนีเพิ่มขึ้นแต่ยังคงมีการว่างงาน รายงานจากเบอร์ลินเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 47 รมว.เศรษฐกิจและ
แรงงานเยอรมนีเปิดเผยว่า ในเดือนพ.ค. 47 ผลผลิตอุตสาหกรรมของเยอรมนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 จากเดือนก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9
จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ขณะที่ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ 28 คนของรอยเตอร์คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนพ.ค. จะขยายตัวระหว่าง
ร้อยละ 0.1 — 2.0 หรือเฉลี่ยที่ร้อยละ 1.0 ส่วนนักเศรษฐศาสตร์จาก Morgan Stanley แสดงความเห็นว่าการขยายตัวอย่างน่าประหลาดใจ
ของเศรษฐกิจเยอรมนีในไตรมาสแรกส่งผลให้แนวโน้มในไตรมาสที่ 2 สดใส และเป็นสัญญานที่เด่นชัดว่าเศรษฐกิจเยอรมนีอยู่ในภาวะฟื้นตัวอย่าง
แท้จริง อย่างไรก็ตามปัญหาการว่างงานในเดือนพ.ค. สูงถึง 4.374 ล้านคน (ตัวเลขที่ปรับแล้ว) เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 9,000 คน เพิ่มขึ้น
อย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจในประเทศยังคงอ่อนแอ แม้ว่าจะประสบความสำเร็จในอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออก
ก็ตาม ก.แรงงานเห็นว่าเศรษฐกิจเยอรมนียังคงอ่อนแออยู่จึงยังไม่มีการว่าจ้างงานใหม่ ดังนั้นการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมการผลิตจึงมิได้สะท้อน
ถึงตลาดแรงงาน แต่โดยภาพรวมคาดว่าตลาดแรงงานกำลังฟื้นตัวและจะมีเสถียรภาพได้ในช่วงฤดูร้อนนี้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 9/6/47 8/6/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.562 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.3655/40.6542 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 611.46/15.99 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,450/7,550 7,500/7,600 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 33.34 34.16 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 18.19*/14.59 18.19*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 8 มิ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-