นายกฤษฎา อุทยานิน ผู้อำนวยการสำนักนโยบายระบบการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันอังคารที่ 8 มิถุนายน 2547 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 พ.ศ. ... ดังกล่าว มีสาระสำคัญในการแก้ไขปรับปรุงพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 ในประเด็นดังต่อไปนี้
1) ขยายวัตถุประสงค์เพื่อให้บริษัทบริหารสินทรัพย์สามารถรับจ้างบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่มิได้รับโอนมาที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ได้
2) ขยายขอบเขตของสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ เพื่อให้รวมถึงสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่เคยเป็นของสถาบันการเงินซึ่งรวมถึงทรัพย์สินรอการขายด้วย
3) เพิ่มอำนาจธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องการเข้าตรวจสอบบริษัทบริหารสินทรัพย์ การกำหนดรูปแบบงบการเงิน และการสั่งการให้บริษัทบริหารสินทรัพย์แก้ไขฐานะและการดำเนินงานได้ตามระดับความรุนแรงของปัญหา
4) เพิ่มบทกำหนดโทษให้ชัดเจนขึ้น รวมทั้งการตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ
กระทรวงการคลังคาดว่า เมื่อมีการตราพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว ออกเป็นกฎหมายบังคับใช้แล้ว จะทำให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่มีศักยภาพสามารถรับจ้างบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพได้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในระบบการเงินของประเทศ รวมถึงการจัดการทรัพย์สินที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมบังคับคดีด้วย นอกจากนี้ ได้มีการปรับปรุงระบบการกำกับดูแลบริษัทบริหารสินทรัพย์ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นไปในคราวเดียวกันด้วย
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 46/2547 9 มิถุนายน 2547--
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 พ.ศ. ... ดังกล่าว มีสาระสำคัญในการแก้ไขปรับปรุงพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 ในประเด็นดังต่อไปนี้
1) ขยายวัตถุประสงค์เพื่อให้บริษัทบริหารสินทรัพย์สามารถรับจ้างบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่มิได้รับโอนมาที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ได้
2) ขยายขอบเขตของสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ เพื่อให้รวมถึงสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่เคยเป็นของสถาบันการเงินซึ่งรวมถึงทรัพย์สินรอการขายด้วย
3) เพิ่มอำนาจธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องการเข้าตรวจสอบบริษัทบริหารสินทรัพย์ การกำหนดรูปแบบงบการเงิน และการสั่งการให้บริษัทบริหารสินทรัพย์แก้ไขฐานะและการดำเนินงานได้ตามระดับความรุนแรงของปัญหา
4) เพิ่มบทกำหนดโทษให้ชัดเจนขึ้น รวมทั้งการตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ
กระทรวงการคลังคาดว่า เมื่อมีการตราพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว ออกเป็นกฎหมายบังคับใช้แล้ว จะทำให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่มีศักยภาพสามารถรับจ้างบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพได้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในระบบการเงินของประเทศ รวมถึงการจัดการทรัพย์สินที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมบังคับคดีด้วย นอกจากนี้ ได้มีการปรับปรุงระบบการกำกับดูแลบริษัทบริหารสินทรัพย์ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นไปในคราวเดียวกันด้วย
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 46/2547 9 มิถุนายน 2547--