นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ เสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงถึงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันนี้ ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มในระยะต่อไป เพื่อกำหนดแนวนโยบายการเงินที่เหมาะสม โดยมีประเด็นที่สำคัญ ดังนี้
คณะกรรมการฯ มีความเห็นว่าภาวะเศรษฐกิจของประเทศในขณะนี้ยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ถึงแม้ว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 จะชะลอมาอยู่ที่ร้อยละ 6.5 แต่เป็นผลกระทบจากไข้หวัดนกและภัยแล้งที่มีต่อภาคเกษตร ในขณะที่นอกภาคเกษตรยังมีการขยายตัวในเกณฑ์สูง
คณะกรรมการฯ มีความมั่นใจว่าปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นในระยะที่ผ่านมา อาทิ ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวถึงร้อยละ 18.8 ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2547 จะเข้มแข็งพอที่จะช่วยให้เศรษฐกิจสามารถรองรับผลกระทบต่างๆ ได้ ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราเงินเฟ้อต่ำ ฐานะด้านต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ประเด็นที่คณะกรรมการฯ ห่วงใย คือ ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นความไม่แน่นอนที่สำคัญที่ต้องจับตามองต่อไป
ในด้านนโยบายอัตราดอกเบี้ยของต่างประเทศ คณะกรรมการฯ ประเมินว่ามีโอกาสที่จะปรับตัวสูงขึ้น
แต่อัตราดอกเบี้ยในตลาดตราสารหนี้ในประเทศได้มีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไปในระดับหนึ่งแล้ว
คณะกรรมการฯ เห็นว่าถึงแม้อัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันจะอยู่ในระดับต่ำ แต่มีแนวโน้มเร่งตัวขึ้น จึงควรจะติดตามปัจจัยที่สร้างแรงกดดันทางด้านเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด และในสภาวการณ์ปัจจุบัน นโยบายการเงินที่เป็นอยู่ยังเหมาะสมต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศต่อไปอีกระยะหนึ่ง จึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน ไว้ที่ร้อยละ 1.25 ต่อปี
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
คณะกรรมการฯ มีความเห็นว่าภาวะเศรษฐกิจของประเทศในขณะนี้ยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ถึงแม้ว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 จะชะลอมาอยู่ที่ร้อยละ 6.5 แต่เป็นผลกระทบจากไข้หวัดนกและภัยแล้งที่มีต่อภาคเกษตร ในขณะที่นอกภาคเกษตรยังมีการขยายตัวในเกณฑ์สูง
คณะกรรมการฯ มีความมั่นใจว่าปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นในระยะที่ผ่านมา อาทิ ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวถึงร้อยละ 18.8 ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2547 จะเข้มแข็งพอที่จะช่วยให้เศรษฐกิจสามารถรองรับผลกระทบต่างๆ ได้ ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราเงินเฟ้อต่ำ ฐานะด้านต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ประเด็นที่คณะกรรมการฯ ห่วงใย คือ ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นความไม่แน่นอนที่สำคัญที่ต้องจับตามองต่อไป
ในด้านนโยบายอัตราดอกเบี้ยของต่างประเทศ คณะกรรมการฯ ประเมินว่ามีโอกาสที่จะปรับตัวสูงขึ้น
แต่อัตราดอกเบี้ยในตลาดตราสารหนี้ในประเทศได้มีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไปในระดับหนึ่งแล้ว
คณะกรรมการฯ เห็นว่าถึงแม้อัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันจะอยู่ในระดับต่ำ แต่มีแนวโน้มเร่งตัวขึ้น จึงควรจะติดตามปัจจัยที่สร้างแรงกดดันทางด้านเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด และในสภาวการณ์ปัจจุบัน นโยบายการเงินที่เป็นอยู่ยังเหมาะสมต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศต่อไปอีกระยะหนึ่ง จึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน ไว้ที่ร้อยละ 1.25 ต่อปี
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-