ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตทั้งระบบในไตรมาสแรกปี 47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.22 รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยว่า ตัวเลขบัตรเครดิตล่าสุด ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการรายงานตัวเลขบัตรเครดิตของบริษัทสินเชื่อที่ไม่ใช่สถาบันการเงินอยู่ที่จำนวน 7,359,906
บัตร เป็นบัตรของ ธพ. 3,307,604 บัตร แบ่งเป็น ธพ.ไทย 2,434,467 บัตร และ ธพ.ต่างประเทศ 873,137 บัตร และเป็นยอดบัตรเครดิต
ของบริษัทสินเชื่อที่ไม่ใช่สถาบันการเงินจำนวน 4,052,302 บัตร โดยในไตรมาสที่ 1 มียอดการใช้จ่ายผ่านบัตรทั้งในและต่างประเทศ 120,071.16
ล้านบาท เทียบกับสิ้นปี 46 ที่อยู่ที่ 96,662.68 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.22 เป็นการใช้จ่ายซื้อสินค้าจำนวน 95,648.08 ล้านบาท และเบิก
เงินสดจำนวน 24,423.08 ล้านบาท ส่วนยอดคงค้างของสินเชื่อบัตรเครดิตยังอยู่ในระดับสูง โดยในไตรมาสแรกยอดสินเชื่อคงค้างของสินเชื่อบัตร
เครดิตทั้งระบบอยู่ที่ 97,119.87 ล้านบาท เป็นหนี้ของบัตร ธพ.ไทย 37,700.43 ล้านบาท สินเชื่อบัตรเครดิตของ ธพ.ต่างประเทศ 19,818.26
ล้านบาท และเป็นสินเชื่อของบริษัทสินเชื่อที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน 39,601.18 ล้านบาท (ข่าวสด, กรุงเทพธุรกิจ)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน พ.ค.47 ทุกรายการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 และเป็นครั้งแรกที่ที่ต่ำกว่าระดับ 100
คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม.หอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือน พ.ค.47 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคทุก
รายการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมัน และสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้
เป็นสำคัญ รวมทั้งมีปัจจัยลบอื่น ๆ ได้แก่ ดัชนีตลาดหุ้นที่ปรับตัวลดลง และเงินบาทที่อ่อนค่าลง ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมลดลง
ต่ำกว่าระดับ 100 เป็นครั้งแรกในรอบ 9 เดือน นับตั้งแต่เดือน ก.ย.46 โดยดัชนีอยู่ที่ระดับ 99.9 ลดลงจากเดือน เม.ย.ที่ดัชนีอยู่ที่ 101.6 ดัชนี
ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวมปรับตัวลดลงต่ำกว่า 100 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 นับตั้งแต่เดือน ก.พ.47 โดยดัชนีอยู่ที่ระดับ 95 ปรับ
ตัวลดลงจากเดือน เม.ย.ที่ดัชนีอยู่ที่ระดับ 96.1 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 112.5 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 9 เดือน นับตั้งแต่เดือน
ก.ย.46 และปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 114.3 ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน พ.ค.47 อยู่ที่ 102.5 ลดลงจาก
เดือนก่อนที่ดัชนีอยู่ที่ 104 (ข่าวสด, บ้านเมือง, กรุงเทพธุรกิจ, มติชน)
3. สรรพากรจัดเก็บภาษีในเดือน พ.ค.47 สูงกว่าประมาณการร้อยละ 35.25 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนเกือบร้อยละ 50
รองอธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ผลการจัดเก็บภาษีอากรในเดือน พ.ค.47 ว่า สามารถจัดเก็บภาษีได้ 141,421 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ
36,855 ล้านบาท หรือร้อยละ 35.25 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจัดเก็บเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 49.16 โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการจัดเก็บ
ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมและภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก สำหรับผลการจัดเก็บภาษีช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 47 (ต.ค.46-พ.ค.47)
จัดเก็บได้รวมทั้งสิ้น 490,010 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 107,430 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.51 และสูงกว่าประมาณการ 105,999 ล้านบาท
หรือคิดเป็นร้อยละ 27.04 (กรุงเทพธุรกิจ, ไทยรัฐ)
4. สศช.เตรียมความพร้อมหน่วยงานรัฐทั้ง 19 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดทำ GPP เอง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การจัดทำผลิตภัณฑ์จังหวัด (GPP) เพื่อสนับสนุนการบริหารราชการจังหวัด
แบบบูรณาการ” โดยมีหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 19 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดย สศช.ให้ความรู้เชิงวิชาการเตรียมความ
พร้อมหน่วยภาครัฐทั้ง 19 จังหวัด จัดทำ GPP เอง เพื่อลดขั้นตอนความล่าช้าในการประกาศตัวเลข รวมทั้งตรงกับศักยภาพและความต้องการ
ท้องถิ่น ทั้งนี้ สถิติ GPP เป็นส่วนหนึ่งของรายได้ประชาชาติ เป็นบัญชีเศรษฐกิจที่อยู่ภายใต้ระบบบัญชีประชาชาติของประเทศ จัดทำขึ้นเพื่อแสดง
ขนาดของรายได้ประชาชาติที่จำแนกออกเป็นระดับจังหวัด แสดงให้เห็นโครงสร้างเศรษฐกิจและแนวโน้มการเติบโต ดังนั้น ข้อมูล GPP จึงมีความ
สำคัญต่อการวางแผนและการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจในระดับพื้นที่อย่างมาก (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ธ.กลางอังกฤษปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% อยู่ที่ระดับ 4.5% รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.47 ธ.กลางอังกฤษ
ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อวันที่ 10 มิ.ย.47 อีกร้อยละ 0.25 อยู่ที่ระดับร้อยละ 4.5 โดยกล่าวว่าจำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยเนื่องจากมีแรง
กดดันด้านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอันเป็นผลจากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนักวิเคราะห์กล่าวว่านับเป็นการยกเลิกการใช้นโยบายการเงินแบบ
ค่อยเป็นค่อยไปเพื่อตอบสนองต่อแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อและเริ่มเดินหน้าเข้าสู่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง การขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้นับเป็น
ครั้งที่ 4 ตั้งแต่เดือน พ.ย.46 โดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในครั้งก่อน ๆ มีการปรับขึ้นครั้งละร้อยละ 0.25 เช่นกัน อนึ่ง รอยเตอร์ได้มีการจัดทำ
โพลล์ทันทีหลังจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยนักเศรษฐศาสตร์ 26 คน จาก 32 คน คาดการณ์ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25
ในเดือน ส.ค.47 ในขณะที่ตลาดซื้อขายสินค้าล่วงหน้าได้มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงถึงเกือบร้อยละ 5.5 ภายในสิ้นปีนี้ (รอยเตอร์)
2. เศรษฐกิจในเขตยูโรฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากราคาน้ำมัน รายงานจากแฟรงเฟิร์ต เยอรมนี เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.47
ธ.กลางสหภาพยุโรป พยากรณ์ว่า เศรษฐกิจของประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรจะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในอีกหลายไตรมาสและนำไปสู่การขยายตัวเพิ่มขึ้นและ
เจริญรุ่งเรืองจนถึงปีหน้า แต่ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอาจเพิ่มแรงกดดันต่อดัชนีราคาผู้บริโภคในระยะสั้นและอาจทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงเกินระดับร้อยละ2
ในปีนี้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ภาพรวมของราคาสินค้าทั้งหมดสำหรับปีหน้ายังคงดีอยู่ โดยราคาสินค้านำ
เข้าและค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มขึ้นในระดับพอเหมาะจะช่วยทำให้อัตราเงินเฟ้อผู้บริโภคกลับเข้าสู่ระดับต่ำกว่าร้อยละ 2 ในปี 48 ซึ่ง ธ.กลางอียูต้อง
การรักษาระดับอัตราเงินเฟ้อให้ต่ำกว่าแต่ใกล้เคียงกับระดับร้อยละ 2 ทั้งนี้ ธ.กลางอียูยังคงไม่แน่ใจว่าเศรษฐกิจโลกจะยังฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งต่อ
เนื่องหรือไม่ ซึ่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจะทำให้ความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้นและจะช่วยสนับสนุนการส่งออกสินค้าในเขตยูโร ในขณะที่การบริโภค
และความเชื่อมั่นของภาคเอกชนยังคงมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงมากกว่าที่คาดไว้ อย่างไรก็ตาม ถ้าราคาน้ำมันและวัตถุดิบยังคงอยู่ในระดับสูง
ต่อไปก็จะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างแน่นอน (รอยเตอร์)
2. การลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจจีนมีความหวังเพิ่มขึ้นว่าจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป รายงานจากปักกิ่งเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 47
การที่ผลผลิตโรงงานของจีน สินทรัพย์คงที่ การลงทุน และ ปริมาณเงินหมุนเวียน ในเดือนพ.ค. ของจีนขยายตัวต่ำสุดในรอบปี แสดงให้เห็นว่า
นโยบายของรัฐบาลจีนทีต้องการลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจเริ่มประสบผลแล้ว โดยผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 จาก
ช่วงเดียวกันปีก่อนต่ำกว่าที่คาดไว้ และต่ำสุดในรอบ 7 เดือน และน้อยกว่าที่เคยขยายตัวร้อยละ 19.1 ในเดือนก่อน การค่อยๆลดลงของการขยาย
ตัวทางเศรษฐกิจจีนทำให้ไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากนักเนื่องจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมการผลิตจะมีผล
กระทบจากข้อจำกัดด้านพลังงาน นอกจากนั้น ประสิทธิภาพการผลิตส่วนเกินยังเพิ่มความกังวลให้กับรัฐบาลจีนหากการที่เศรษฐกิจขยายตัวอย่างมาก
อาจจะต้องเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นและการลงทุนที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วอาจจะกลับสู่ช่วงตกต่ำ รัฐบาลจีนได้พยายามลดความร้อนแรงทาง
เศรษฐกิจด้วยการควบคุมโครงการลงทุน และสั่งให้ธพ.ต้องสำรองเงินทุนเพิ่มขึ้นเพื่อลดการให้กู้ยืม มาตรการดังกล่าวอาจจะประสบผลโดยเห็นได้
จากเงินเฟ้อที่ไม่นับรวมราคาอาหารในเดือนพ.ค.ชะลอลงที่ระดับร้อยละ 0.5 ลดลงจากร้อยละ 0.1จากเดือนก่อนและเมื่อเทียบต่อปีเงินเฟ้อใน
เดือนเม.ย. อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.8 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.0 ในเดือนมี.ค. ตัวเลขล่าสุดอาจจะลดความกดดันในเรื่องการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
นโยบายของรัฐบาลจีนเป็นครั้งแรกในรอบเกือบศตวรรษ โดยธ.กลางจีนกล่าวว่าอาจจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงหากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมากกว่า
ร้อยละ 5.0 ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยระยะ 1 ปีของจีนอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.31 เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสำนักงานสถิติแห่งชาติจีนเห็นว่าหากแนวโน้ม
ยังคงเป็นเช่นนี้แสดงว่าเป้าหมายนโยบายเศรษฐกิจมหภาคของจีนบรรลุผล (รอยเตอร์)
มาเลเซียยังคงยืนอัตราดอกเบี้ยที่ระดับเดิมเพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่
10 มิ.ย. 47 ว่า จากการที่ สรอ. ซึ่งมีระบบเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกมีความหวาดวิตกเกี่ยวกับปัญหาเงินเฟ้อ อันอาจทำให้ต้องมีการปรับอัตรา
ดอกเบี้ยนั้น ปัญหานี้ส่งผลถึงประเทศต่าง ๆ ให้ต้องหันมาให้ความสนใจกับอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยของประเทศตน รวมทั้งมาเลเซียด้วย
ซึ่งในกรณีนี้ ผวก. ธ. กลางมาเลเซียกล่าวยืนยันว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศไว้ที่ระดับเดิม ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ของประเทศ ในขณะที่มองว่าอัตราเงินเฟ้อของประเทศก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำมากด้วย โดยในไตรมาสแรกของปีนี้มาเลเซียมีอัตราการเติบโตทาง
เศรษฐกิจที่ระดับร้อยละ 7.6 ซึ่งนับเป็นอัตราเร่งตัวที่สุดในรอบ 4 ปี โดยได้รับแรงสนับสนุนจากนโยบายการเงินของประเทศ รวมทั้งการฟื้นตัว
ของเศรษฐกิจโลก (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 11/6/47 10/6/47 30/1/2490 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.64 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.4398/40.7339 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 612.21/13.81 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,350/7,450 7,350/7,450 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 34.25 33.85 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 18.19*/14.59 18.19*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 8 มิ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตทั้งระบบในไตรมาสแรกปี 47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.22 รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยว่า ตัวเลขบัตรเครดิตล่าสุด ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการรายงานตัวเลขบัตรเครดิตของบริษัทสินเชื่อที่ไม่ใช่สถาบันการเงินอยู่ที่จำนวน 7,359,906
บัตร เป็นบัตรของ ธพ. 3,307,604 บัตร แบ่งเป็น ธพ.ไทย 2,434,467 บัตร และ ธพ.ต่างประเทศ 873,137 บัตร และเป็นยอดบัตรเครดิต
ของบริษัทสินเชื่อที่ไม่ใช่สถาบันการเงินจำนวน 4,052,302 บัตร โดยในไตรมาสที่ 1 มียอดการใช้จ่ายผ่านบัตรทั้งในและต่างประเทศ 120,071.16
ล้านบาท เทียบกับสิ้นปี 46 ที่อยู่ที่ 96,662.68 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.22 เป็นการใช้จ่ายซื้อสินค้าจำนวน 95,648.08 ล้านบาท และเบิก
เงินสดจำนวน 24,423.08 ล้านบาท ส่วนยอดคงค้างของสินเชื่อบัตรเครดิตยังอยู่ในระดับสูง โดยในไตรมาสแรกยอดสินเชื่อคงค้างของสินเชื่อบัตร
เครดิตทั้งระบบอยู่ที่ 97,119.87 ล้านบาท เป็นหนี้ของบัตร ธพ.ไทย 37,700.43 ล้านบาท สินเชื่อบัตรเครดิตของ ธพ.ต่างประเทศ 19,818.26
ล้านบาท และเป็นสินเชื่อของบริษัทสินเชื่อที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน 39,601.18 ล้านบาท (ข่าวสด, กรุงเทพธุรกิจ)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน พ.ค.47 ทุกรายการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 และเป็นครั้งแรกที่ที่ต่ำกว่าระดับ 100
คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม.หอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือน พ.ค.47 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคทุก
รายการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมัน และสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้
เป็นสำคัญ รวมทั้งมีปัจจัยลบอื่น ๆ ได้แก่ ดัชนีตลาดหุ้นที่ปรับตัวลดลง และเงินบาทที่อ่อนค่าลง ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมลดลง
ต่ำกว่าระดับ 100 เป็นครั้งแรกในรอบ 9 เดือน นับตั้งแต่เดือน ก.ย.46 โดยดัชนีอยู่ที่ระดับ 99.9 ลดลงจากเดือน เม.ย.ที่ดัชนีอยู่ที่ 101.6 ดัชนี
ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวมปรับตัวลดลงต่ำกว่า 100 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 นับตั้งแต่เดือน ก.พ.47 โดยดัชนีอยู่ที่ระดับ 95 ปรับ
ตัวลดลงจากเดือน เม.ย.ที่ดัชนีอยู่ที่ระดับ 96.1 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 112.5 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 9 เดือน นับตั้งแต่เดือน
ก.ย.46 และปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 114.3 ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน พ.ค.47 อยู่ที่ 102.5 ลดลงจาก
เดือนก่อนที่ดัชนีอยู่ที่ 104 (ข่าวสด, บ้านเมือง, กรุงเทพธุรกิจ, มติชน)
3. สรรพากรจัดเก็บภาษีในเดือน พ.ค.47 สูงกว่าประมาณการร้อยละ 35.25 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนเกือบร้อยละ 50
รองอธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ผลการจัดเก็บภาษีอากรในเดือน พ.ค.47 ว่า สามารถจัดเก็บภาษีได้ 141,421 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ
36,855 ล้านบาท หรือร้อยละ 35.25 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจัดเก็บเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 49.16 โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการจัดเก็บ
ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมและภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก สำหรับผลการจัดเก็บภาษีช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 47 (ต.ค.46-พ.ค.47)
จัดเก็บได้รวมทั้งสิ้น 490,010 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 107,430 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.51 และสูงกว่าประมาณการ 105,999 ล้านบาท
หรือคิดเป็นร้อยละ 27.04 (กรุงเทพธุรกิจ, ไทยรัฐ)
4. สศช.เตรียมความพร้อมหน่วยงานรัฐทั้ง 19 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดทำ GPP เอง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การจัดทำผลิตภัณฑ์จังหวัด (GPP) เพื่อสนับสนุนการบริหารราชการจังหวัด
แบบบูรณาการ” โดยมีหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 19 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดย สศช.ให้ความรู้เชิงวิชาการเตรียมความ
พร้อมหน่วยภาครัฐทั้ง 19 จังหวัด จัดทำ GPP เอง เพื่อลดขั้นตอนความล่าช้าในการประกาศตัวเลข รวมทั้งตรงกับศักยภาพและความต้องการ
ท้องถิ่น ทั้งนี้ สถิติ GPP เป็นส่วนหนึ่งของรายได้ประชาชาติ เป็นบัญชีเศรษฐกิจที่อยู่ภายใต้ระบบบัญชีประชาชาติของประเทศ จัดทำขึ้นเพื่อแสดง
ขนาดของรายได้ประชาชาติที่จำแนกออกเป็นระดับจังหวัด แสดงให้เห็นโครงสร้างเศรษฐกิจและแนวโน้มการเติบโต ดังนั้น ข้อมูล GPP จึงมีความ
สำคัญต่อการวางแผนและการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจในระดับพื้นที่อย่างมาก (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ธ.กลางอังกฤษปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% อยู่ที่ระดับ 4.5% รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.47 ธ.กลางอังกฤษ
ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อวันที่ 10 มิ.ย.47 อีกร้อยละ 0.25 อยู่ที่ระดับร้อยละ 4.5 โดยกล่าวว่าจำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยเนื่องจากมีแรง
กดดันด้านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอันเป็นผลจากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนักวิเคราะห์กล่าวว่านับเป็นการยกเลิกการใช้นโยบายการเงินแบบ
ค่อยเป็นค่อยไปเพื่อตอบสนองต่อแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อและเริ่มเดินหน้าเข้าสู่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง การขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้นับเป็น
ครั้งที่ 4 ตั้งแต่เดือน พ.ย.46 โดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในครั้งก่อน ๆ มีการปรับขึ้นครั้งละร้อยละ 0.25 เช่นกัน อนึ่ง รอยเตอร์ได้มีการจัดทำ
โพลล์ทันทีหลังจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยนักเศรษฐศาสตร์ 26 คน จาก 32 คน คาดการณ์ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25
ในเดือน ส.ค.47 ในขณะที่ตลาดซื้อขายสินค้าล่วงหน้าได้มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงถึงเกือบร้อยละ 5.5 ภายในสิ้นปีนี้ (รอยเตอร์)
2. เศรษฐกิจในเขตยูโรฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากราคาน้ำมัน รายงานจากแฟรงเฟิร์ต เยอรมนี เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.47
ธ.กลางสหภาพยุโรป พยากรณ์ว่า เศรษฐกิจของประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรจะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในอีกหลายไตรมาสและนำไปสู่การขยายตัวเพิ่มขึ้นและ
เจริญรุ่งเรืองจนถึงปีหน้า แต่ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอาจเพิ่มแรงกดดันต่อดัชนีราคาผู้บริโภคในระยะสั้นและอาจทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงเกินระดับร้อยละ2
ในปีนี้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ภาพรวมของราคาสินค้าทั้งหมดสำหรับปีหน้ายังคงดีอยู่ โดยราคาสินค้านำ
เข้าและค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มขึ้นในระดับพอเหมาะจะช่วยทำให้อัตราเงินเฟ้อผู้บริโภคกลับเข้าสู่ระดับต่ำกว่าร้อยละ 2 ในปี 48 ซึ่ง ธ.กลางอียูต้อง
การรักษาระดับอัตราเงินเฟ้อให้ต่ำกว่าแต่ใกล้เคียงกับระดับร้อยละ 2 ทั้งนี้ ธ.กลางอียูยังคงไม่แน่ใจว่าเศรษฐกิจโลกจะยังฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งต่อ
เนื่องหรือไม่ ซึ่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจะทำให้ความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้นและจะช่วยสนับสนุนการส่งออกสินค้าในเขตยูโร ในขณะที่การบริโภค
และความเชื่อมั่นของภาคเอกชนยังคงมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงมากกว่าที่คาดไว้ อย่างไรก็ตาม ถ้าราคาน้ำมันและวัตถุดิบยังคงอยู่ในระดับสูง
ต่อไปก็จะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างแน่นอน (รอยเตอร์)
2. การลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจจีนมีความหวังเพิ่มขึ้นว่าจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป รายงานจากปักกิ่งเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 47
การที่ผลผลิตโรงงานของจีน สินทรัพย์คงที่ การลงทุน และ ปริมาณเงินหมุนเวียน ในเดือนพ.ค. ของจีนขยายตัวต่ำสุดในรอบปี แสดงให้เห็นว่า
นโยบายของรัฐบาลจีนทีต้องการลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจเริ่มประสบผลแล้ว โดยผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 จาก
ช่วงเดียวกันปีก่อนต่ำกว่าที่คาดไว้ และต่ำสุดในรอบ 7 เดือน และน้อยกว่าที่เคยขยายตัวร้อยละ 19.1 ในเดือนก่อน การค่อยๆลดลงของการขยาย
ตัวทางเศรษฐกิจจีนทำให้ไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากนักเนื่องจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมการผลิตจะมีผล
กระทบจากข้อจำกัดด้านพลังงาน นอกจากนั้น ประสิทธิภาพการผลิตส่วนเกินยังเพิ่มความกังวลให้กับรัฐบาลจีนหากการที่เศรษฐกิจขยายตัวอย่างมาก
อาจจะต้องเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นและการลงทุนที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วอาจจะกลับสู่ช่วงตกต่ำ รัฐบาลจีนได้พยายามลดความร้อนแรงทาง
เศรษฐกิจด้วยการควบคุมโครงการลงทุน และสั่งให้ธพ.ต้องสำรองเงินทุนเพิ่มขึ้นเพื่อลดการให้กู้ยืม มาตรการดังกล่าวอาจจะประสบผลโดยเห็นได้
จากเงินเฟ้อที่ไม่นับรวมราคาอาหารในเดือนพ.ค.ชะลอลงที่ระดับร้อยละ 0.5 ลดลงจากร้อยละ 0.1จากเดือนก่อนและเมื่อเทียบต่อปีเงินเฟ้อใน
เดือนเม.ย. อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.8 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.0 ในเดือนมี.ค. ตัวเลขล่าสุดอาจจะลดความกดดันในเรื่องการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
นโยบายของรัฐบาลจีนเป็นครั้งแรกในรอบเกือบศตวรรษ โดยธ.กลางจีนกล่าวว่าอาจจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงหากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมากกว่า
ร้อยละ 5.0 ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยระยะ 1 ปีของจีนอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.31 เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสำนักงานสถิติแห่งชาติจีนเห็นว่าหากแนวโน้ม
ยังคงเป็นเช่นนี้แสดงว่าเป้าหมายนโยบายเศรษฐกิจมหภาคของจีนบรรลุผล (รอยเตอร์)
มาเลเซียยังคงยืนอัตราดอกเบี้ยที่ระดับเดิมเพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่
10 มิ.ย. 47 ว่า จากการที่ สรอ. ซึ่งมีระบบเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกมีความหวาดวิตกเกี่ยวกับปัญหาเงินเฟ้อ อันอาจทำให้ต้องมีการปรับอัตรา
ดอกเบี้ยนั้น ปัญหานี้ส่งผลถึงประเทศต่าง ๆ ให้ต้องหันมาให้ความสนใจกับอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยของประเทศตน รวมทั้งมาเลเซียด้วย
ซึ่งในกรณีนี้ ผวก. ธ. กลางมาเลเซียกล่าวยืนยันว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศไว้ที่ระดับเดิม ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ของประเทศ ในขณะที่มองว่าอัตราเงินเฟ้อของประเทศก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำมากด้วย โดยในไตรมาสแรกของปีนี้มาเลเซียมีอัตราการเติบโตทาง
เศรษฐกิจที่ระดับร้อยละ 7.6 ซึ่งนับเป็นอัตราเร่งตัวที่สุดในรอบ 4 ปี โดยได้รับแรงสนับสนุนจากนโยบายการเงินของประเทศ รวมทั้งการฟื้นตัว
ของเศรษฐกิจโลก (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 11/6/47 10/6/47 30/1/2490 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.64 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.4398/40.7339 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 612.21/13.81 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,350/7,450 7,350/7,450 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 34.25 33.85 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 18.19*/14.59 18.19*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 8 มิ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-