ธปท.ตรึงดอกเบี้ยอุ้ม ศก.

ข่าวเศรษฐกิจ Friday June 11, 2004 14:38 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

        ผวาปัญหาน้ำมันแพงทำเดี้ยง กนง.สั่งจับตาอย่างใกล้ชิด
บอร์ดนโยบายการเงินอั้นดอกเบี้ยอาร์พีต่ออีกยก หวังใช้เป็นแรงผลักดันให้เศรษฐกิจขยาย ตัวต่อ ยอมรับราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่น่าไว้ใจ รวมทั้งเงินเฟ้อที่ส่อแววเร่ง ตัวสูงอาจสร้างปัญหาในอนาคต พร้อมระบุหากเฟดปรับขึ้นดอกเบี้ยส่งผลเงินทุนไหลออก มากอาจทบทวนนโยบายดอกเบี้ย
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศ ไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) เมื่อวันที่ 9 มิถุ นายน 2547 มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (ตลาดซื้อคืนพันธบัตรหรืออาร์พีประเภท 14 วัน) ไว้ที่ระดับ 1.25% ต่อไป เนื่องจากที่ประชุมเห็นว่าภาวะเศรษฐกิจของประเทศในขณะ นี้ยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ถึงแม้ว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 จะชะลอตัวมาอยู่ที่ 6.5% แต่เป็นผลกระทบจากไข้หวัดนกและภัยแล้งที่มีต่อ ภาคเกษตร ในขณะที่นอกภาคเกษตรยังมีการขยายตัว
นอกจากนี้คณะกรรมการยังมีความมั่นใจว่าปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น ในระยะที่ผ่านมา อาทิ ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัว 18.8% ในช่วง 4 เดือนแรกของ ปี 2547 จะเข้มแข็งพอที่จะช่วยให้เศรษฐกิจสามารถรองรับผลกระทบต่างๆ ได้ ซึ่งจะทำให้ เศรษฐกิจสามารถรองรับผลกระทบต่างๆ ได้ ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจสามารถขยายตัวได้อย่าง ต่อเนื่อง
สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราเงินเฟ้อต่ำ ฐานะ ด้านต่างๆ อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่คณะกรรมการแสดงความห่วงใย ก็คือ ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นความไม่แน่นอน ที่สำคัญที่ต้องจับตามองต่อไป ส่วนทางด้านนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่างประเทศ คณะกรรมการประเมินว่ามีโอกาสที่จะปรับ ตัวสูงขึ้น แต่อัตราดอกเบี้ยในตลาดตราสารหนี้ในประเทศได้มีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนดัง กล่าวไปในระดับหนึ่งแล้ว
คณะกรรมการเห็นว่าถึงแม้อัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันจะอยู่ในระดับต่ำ แต่มีแนวโน้ม เร่งตัวขึ้น จึงควรติดตามปัจจัยที่สร้างแรงกดดันต่อเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด และในสภาว การณ์ปัจจุบันนโยบายการเงินที่อยู่ยังเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศต่อไปอีกระยะ หนึ่ง ดังนั้นที่ประชุมจึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 1.25% อีกต่อไป
"ที่ประชุมได้พิจารณาในประเด็นราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น เพราะส่งผลต่อเศรษฐ กิจทั่วโลกไม่เฉพาะประเทศไทยแห่งเดียว และจะคอยจับตาดูว่าจะกระทบต่อเศรษฐกิจใน ประเทศมากน้อยแค่ไหนในเดือนกรกฎาคม 2547 สำหรับการติดตามเรื่องการปรับขึ้นของ อัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) นั้น บอร์ดยังไม่ได้ดำเนินการอะไรเพิ่มเติม เพราะการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในประเทศขึ้นกับปัจจัยเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นสำคัญ แต่หากดอกเบี้ยต่างประเทศสูงขึ้นจนสร้างแรงกดดันให้เงินทุนไหลออก ธปท.ก็จะพิจารณา ปรับดอกเบี้ยขึ้นในช่วงต่อไป" นายบัณฑิตกล่าว
ในส่วนหนี้ภาคครัวเรือนนั้น เศรษฐกิจที่ขยายตัวในปัจจุบันสร้างแรงกดดันทำให้เริ่ม เห็นเงินเฟ้อสูงขึ้น แต่ไม่ได้ชัดเจนในผลของราคาสินทรัพย์ เช่น อสังหาริมทรัพย์ ซึ่งข้อมูล ล่าสุดในช่วงสิ้นปี 2546 มันมีการเร่งตัวขึ้นมา และลดลงในช่วงที่รัฐบาลหยุดใช้มาตรการ กระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไป ซึ่งในตอนนี้เริ่มที่จะขยับขึ้นมาอีกแต่ไม่สูงมาก ธปท.กำลัง จับตาดูอยู่ โดยเฉพาะการชำระหนี้ภาคครัวเรือนในภาวะที่ดอกเบี้ยในประเทศอาจมีการ เปลี่ยนแปลง
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) หนึ่งในฐานะกรรมการกนง. กล่าวว่า หากพิจารณาจากภาวะสภาพ คล่องในระบบปัจจุบันยังไม่มีเหตุผลที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่ทิศทางดอกเบี้ย ขึ้นกับหลายปัจจัยทั้งเรื่องสภาพคล่อง อัตราเงินเฟ้อ และความเคลื่อนไหวของประเทศอื่น เช่น สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศใหญ่ หากมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดก็จะมีผล ต่อไทยด้วย
"อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำก็มีส่วนช่วยกระตุ้นด้านการบริโภคและการลงทุน หากสัมพันธ์กับ ภาวะเงินเฟ้อ ก็ไม่มีปัญหา ส่วนกรณีที่ นายอลัน กรีนสแปน ประธานเฟด ระบุว่า ดอกเบี้ยเฟด มีแนวโน้มจะปรับขึ้นนั้น เป็นเพียงการส่งสัญญาณเตือนเท่านั้น" เลขาฯสภาพัฒน์กล่าว
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (66) 2282-6171-9 แฟกซ์ (66) 2280-0775
-พห-

แท็ก ธปท.   เฟด  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ