ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากการลงทุนด้านอุตสาหกรรมของภาคเอกชน มีระบบธนาคารและสถาบันการเงินที่เกื้อหนุนในการลงทุนของเอกชนทำให้ญี่ปุ่นมีความเจริญทางด้านเทคโนโลยี ด้านอุตสาหกรรม และมีประสิทธิภาพในการผลิตสูง ช่วยให้ประชาชนชาวญี่ปุ่นมีงานทำ มีคุณภาพชีวิตที่ดีและรายได้เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้การจับจ่ายใช้สอยเครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องประดับบ้าน เครื่องประดับกายสูงขึ้นด้วย ดังนั้นจะเห็นว่าตลาดประเทศญี่ปุ่นเป็นแหล่งสำคัญที่น่าจะทำธุรกิจส่งออก เพราะนอกจากจะเป็นตลาดที่ประชาชนในประเทศมีกำลังซื้อสูงแล้ว ยังเป็นตลาดที่สามารถขายสินค้าได้ในราคาสูงด้วย แต่สินค้านั้นจะต้องได้มาตรฐานและมีคุณภาพดี ด้านการติดต่อการค้าของไทยกับประเทศญี่ปุ่น โดยภาพรวมแล้วไทยนำเข้าสินค้าจากประเทศญี่ปุ่นมากเป็น 3 เท่าของสินค้าไทยที่ส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น และมีนักลงทุนชาวญี่ปุ่นเข้ามาร่วมลงทุนในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก คิดเป็นร้อยละ 45 ของยอดการลงทุนของชาวต่างประเทศทั้งหมดในประเทศไทย นอกจากนั้นญี่ปุ่นยังให้ความช่วยเหลือทางเทคโนโลยีโดยผ่านทางโครงการให้ความช่วยเหลือการพัฒนา การส่งผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาการใช้เครื่องมือ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือด้านทุนฝึกอบรม ฯลฯ จึงนับได้ว่าไทยและญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ทางด้านธุรกิจการค้าที่ดีในระดับหนึ่ง สำหรับตลาดสินค้าหัตถกรรมในประเทศญี่ปุ่นนั้น จัดได้ว่าเป็นแหล่งนำเข้าที่มีศักยภาพ เนื่องจากประชาชนมีกำลังซื้อสูง แม้ในช่วงปี 2540-2542 ญี่ป่นประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้อุปสงค์ภายในประเทศลดลงบ้าง แต่ในปี 2543 เศรษฐกิจของญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่ดีขึ้น เนื่องจากรัฐบาลได้ดำเนินนโยบายทางด้านเศรษฐกิจซึ่งคาดว่าอุปสงค์รวมภายในประเทศจะเพิ่มขึ้น ประกอบกับค่าเงินเยนค่อนข้างแข็ง ทำให้การนำเข้าสินค้าต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างไรก็ดีการส่งออกสินค้าไปยังตลาดญี่ปุ่นมิใช่เรื่องง่าย เนื่องจากเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูงโดยเฉพาะประเทศในแถบเอเซียด้วยกัน เช่น จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย อินเดีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม เป็นต้น ดังนั้นสินค้าส่งออกต้องมีรูปแบบคุณภาพมาตรฐานสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นการเข้าใจลักษณะพื้นฐานทางสัมคม ศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนประวัติศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่น จึงเป็นมูลสำคัญที่จะทำให้การผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการของตลาดได้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าแรงงานในประเทศญี่ปุ่นมีอัตราสูงมาก การนำเข้าสินค้าหัตถกรรมจากประเทศอื่นๆ จึงเป็นทางเลือกหนึ่งของการดำเนินธุรกิจการค้าของผู้นำเข้าญี่ปุ่น หากผู้ประกอบการของไทยสามารถส่งออกผลิตภัณฑ์หัตถกรรมไปยังตลาดญี่ปุ่นได้ ถือว่าได้รับความสำเร็จทางการค้าในระดับหนึ่ง เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นตลาดที่ค่อนข้างมั่นคง การติดต่อธุรกิจมีความต่อเนื่อง ดังนั้นสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมเห็นว่า การศึกษารูปแบบและข้อมูลต่างๆ ของผลิตภัณฑ์หัตถกรรมในตลาดญี่ปุ่น จึงมีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ผู้สนใจ และผู้เกี่ยวข้อง ที่จะนำไปประกอบการพิจารณาดำเนินการค้าและส่งเสริมศักยภาพการส่งออกสินค้าหัตถกรรมในตลาดญี่ปุ่นต่อไป
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาวิจัยแนวโน้มความต้องการของตลาดญี่ปุ่นต่อสินค้าหัตถกรรม
2. เพื่อศึกษาวิจัยประเภทและรูปแบบหัตถกรรม รวมทั้งคุณภาพที่ตลาดญี่ปุ่นต้องการ
3. เพื่อศึกษาวิจัยระบบและโครงสร้างตลาดหัตถกรรมในประเทศญี่ปุ่น
4. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของตลาดสินค้าหัตถกรรมในประเทศญี่ปุ่น
5. เพื่อศึกษาลู่ทางส่งเสริมการขยายตลาดหัตถกรรมไทยในประเทศญี่ปุ่น
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ทราบแนวโน้มความต้องการของตลาดญี่ปุ่นต่อสินค้าหัตถกรรมเพื่อใช้เป็นแนวทางหลักในการพัฒนาคุณภาพ รูปแบบ และปริมาณการผลิตของผู้ประกอบการหัตถกรรมไทย ให้ตรงตามความต้องการของตลาดญี่ปุ่น 2. ทราบข้อมูลข้อเท็จจริงความต้องการด้านคุณภาพ และรูปแบบหัตถกรรมประเภทต่าง ๆ โดยละเอียดเพื่อพัฒนาการผลิตหัตถกรรมของไทยให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาดญี่ปุ่น 3. ทราบระบบและโครงสร้างตลาดหัตถกรรมในประเทศญี่ปุ่นเพื่อเป็นข้อมูลและแนวทางในการติดต่อการค้าระหว่างไทยและญี่ปุ่น
4. ทราบปัญหาและอุปสรรค การส่งเสริมค้าหัตถกรรมไปจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เพื่อร่วมกันแก้ไขเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายการขยายตลาดหัตถกรรมในประเทศญี่ปุ่น
5. ประเทศไทยสามารถขยายตลาดหัตถกรรมในประเทศญี่ปุ่นได้กว้างขวางขึ้น เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นเป็นตลาดที่เหมาะสมและถูกช่องทาง จะทำให้การส่งออกหัตถกรรมไทยประเภทต่าง ๆ ไปสู่ตลาดญี่ปุ่นมีปริมาณและมูลค่าส่งขึ้นซึ่งจะเป็นผลดีต่อการจ้างงานในอุตสาหกรรมหัตถกรรมไทย และจะมีส่วนช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยให้มีเสถียรภาพมั่นคงขึ้น
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาวิจัยแนวโน้มความต้องการของตลาดญี่ปุ่นต่อสินค้าหัตถกรรม
2. เพื่อศึกษาวิจัยประเภทและรูปแบบหัตถกรรม รวมทั้งคุณภาพที่ตลาดญี่ปุ่นต้องการ
3. เพื่อศึกษาวิจัยระบบและโครงสร้างตลาดหัตถกรรมในประเทศญี่ปุ่น
4. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของตลาดสินค้าหัตถกรรมในประเทศญี่ปุ่น
5. เพื่อศึกษาลู่ทางส่งเสริมการขยายตลาดหัตถกรรมไทยในประเทศญี่ปุ่น
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ทราบแนวโน้มความต้องการของตลาดญี่ปุ่นต่อสินค้าหัตถกรรมเพื่อใช้เป็นแนวทางหลักในการพัฒนาคุณภาพ รูปแบบ และปริมาณการผลิตของผู้ประกอบการหัตถกรรมไทย ให้ตรงตามความต้องการของตลาดญี่ปุ่น 2. ทราบข้อมูลข้อเท็จจริงความต้องการด้านคุณภาพ และรูปแบบหัตถกรรมประเภทต่าง ๆ โดยละเอียดเพื่อพัฒนาการผลิตหัตถกรรมของไทยให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาดญี่ปุ่น 3. ทราบระบบและโครงสร้างตลาดหัตถกรรมในประเทศญี่ปุ่นเพื่อเป็นข้อมูลและแนวทางในการติดต่อการค้าระหว่างไทยและญี่ปุ่น
4. ทราบปัญหาและอุปสรรค การส่งเสริมค้าหัตถกรรมไปจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เพื่อร่วมกันแก้ไขเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายการขยายตลาดหัตถกรรมในประเทศญี่ปุ่น
5. ประเทศไทยสามารถขยายตลาดหัตถกรรมในประเทศญี่ปุ่นได้กว้างขวางขึ้น เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นเป็นตลาดที่เหมาะสมและถูกช่องทาง จะทำให้การส่งออกหัตถกรรมไทยประเภทต่าง ๆ ไปสู่ตลาดญี่ปุ่นมีปริมาณและมูลค่าส่งขึ้นซึ่งจะเป็นผลดีต่อการจ้างงานในอุตสาหกรรมหัตถกรรมไทย และจะมีส่วนช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยให้มีเสถียรภาพมั่นคงขึ้น
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-