สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็น "บ้านพี่เมืองน้อง" ของประเทศไทยมาช้านาน มีดินแดนติดต่อกับไทยถึง 11 จังหวัด โดยมีลำน้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติ ชาวไทย-ลาวทั้ง 2 ฝั่งโขงต่างถ่ายทอดและเชื่อมโยงวัฒนธรรมระหว่างกันไม่ว่าจะเป็นด้านภาษา ดนตรี ประเพณีและความเชื่อ จนวิถีชีวิตของผู้คนทั้ง 2 ฝั่งโขงมีความละม้ายคล้ายคลึงกันเสมือนพี่และน้อง
ในส่วนของความสัมพันธ์ในระดับรัฐบาล ไทยได้ให้ความช่วยเหลือต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจในการลดภาษีสินค้าเกษตรและสินค้าสำคัญของลาวจำนวน 49 รายการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ช่วยเหลือด้านวิชาการในการร่วมทุนสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าในลาว และไทยได้ร่วมพัฒนาด้านการคมนาคมขนส่งในลาว เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าเข้าสู่ตลาดต่างๆ ของลาว นอกจากนั้นความสัมพันธ์ในระดับราชวงศ์ ไทยได้ให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษาและเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อพัฒนาความรู้และความสามารถให้แก่เยาวชนลาว
ดังนั้น แม้ว่าไทย-ลาวจะแตกต่างกันด้วยระบอบการปกครอง แต่ความสัมพันธ์อันดีดังกล่าวได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ได้ส่งผลให้เกิดความเชื่อใจ ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน รวมทั้งความยืดหยุ่นต่อกันในการช่วยเสริมสร้างโอกาสทางการค้าให้แก่ไทย โดยเฉพาะการค้าบริเวณชายแดนของประเทศทั้งสอง
ไทยเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของลาว โดยไทยมีส่วนแบ่งการตลาดการค้าในลาวมากเป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากสินค้าไทยมีคุณภาพดี และมีรูปแบบสินค้าสอดคล้องตรงกับความต้องการของตลาดลาว รวมทั้งมีการให้บริการที่รวดเร็วและการซื้อขายที่ให้เครดิตระยะเวลานาน ซึ่งในปี พ.ศ. 2539 ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดการค้าในลาวถึงร้อยละ 45 รองลงมาคือ ญี่ปุ่น เวียดนาม จีน และสิงคโปร์ ทั้งนี้ประเทศคู่แข่งการค้าของไทยข้างต้นมีความได้เปรียบในการพัฒนาเทคนิคและความหลากหลายของรูปแบบสินค้า เพราะมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่สูงกว่า รวมทั้งมีการผลิตสินค้าที่มีต้นทุนต่ำกว่า เนื่องจากมีการลอกเลียนแบบสินค้าและการมีค่าแรงที่ถูกกว่าการค้าชายแดนไทย-ลาว มีมูลค่าการค้าไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ามาโดยตลอด ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกของการค้าชายแดนไทย-ลาว ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามีมูลค่าไม่แตกต่างกันมากนัก โดยมีมูลค่าการส่งออกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 - 2546 เท่ากับ17,656.2 ล้านบาท, 16,233.1 ล้านบาท และ 17,452.9 ล้านบาท ตามลำดับ
การค้าบริเวณชายแดนระหว่างไทยและลาวดำเนินได้หลายแนวทาง กล่าวคือ ด่านศุลกากร โดยผ่านพิธีการด้านศุลกากรที่มีการจัดตั้งด่านในจังหวัดเชียงราย อุบลราชธานี เลย หนองคาย นครพนม น่าน อุตรดิตถ์ พะเยาและมุกดาหาร ด้านจุดผ่อนปรน โดยอนุญาตให้ชาวไทย-ลาวเดินทางผ่านเข้าออกเพื่อการค้าโดยกำหนดประเภทของสินค้า มูลค่าสินค้า และระยะเวลาปฏิบัติการของบริเวณจุดผ่อนปรนในจังหวัดเชียงราย, อุบลราชธานี, เลย, หนองคาย, น่าน, พะเยาและอุตรดิตถ์ และด้านจุดผ่านแดนชั่วคราว โดยกำหนดระยะเวลาการซื้อขายของบริเวณจุดผ่านแดนในจังหวัดนครพนม
โอกาสทางการค้าชายแดนของไทยยังมีความเป็นไปได้อีกมาก เนื่องจากสินค้าออกของไทยยังเป็นที่ต้องการของตลาดลาว สินค้าที่สำคัญๆ ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภค เช่น เสื้อผ้า อาหารประจำวัน น้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส ยาและอุปกรณ์การแพทย์และเครื่องกีฬา รวมทั้งสินค้าวัสดุก่อสร้างและเครื่องใช้-ไฟฟ้า และสินค้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ ในอนาคตสินค้าที่จะเป็นที่ต้องการของตลาดลาว ได้แก่ สินค้าฟุ่มเฟือย เช่น รถยนต์ สุรา และบุหรี่ เป็นต้น
ส่วนลู่ทางการลงทุนในลาวนับได้ว่ายังมีศักยภาพในการลงทุนหลายด้าน กล่าวคือ การผลิต-สินค้าเพื่อการบริโภคภายในประเทศและเพื่อการส่งออกในอนาคต ทั้งนี้เนื่องจากลาวยังอุดมไปด้วยวัตถุดิบ พื้นที่ด้านการเกษตรและการปศุสัตว์มีอยู่จำนวนมาก การลงทุนด้านอุตสาหกรรมเบา เช่น อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ในครัวเรือน ซึ่งสินค้าแปรรูปการเกษตรและสินค้าเครื่องใช้ในครัวเรือนยังเป็นที่ต้องการของตลาดลาว นอกจากนั้นโครงการผลิตพลังงานไฟฟ้ายังมีอีกหลายโครงการที่ลาวต้องการผู้ร่วมลงทุน รวมทั้งการร่วมลงทุนในโครงการพัฒนาเส้นทางคมนาคมในลาวหลายเส้นทางเพื่อรองรับการขยายตัวด้านการค้าในภูมิภาค
แม้ว่าลาวเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการทำการค้าและการลงทุน แต่ผู้ส่งออกไทยต้องตระหนักถึงอุปสรรคอันเนื่องมาจากความเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา กล่าวคือ ทรัพยากรบุคคลของลาวส่วนใหญ่ยังด้อยการศึกษา เป็นแรงงานที่ไร้ฝีมือและมีรายได้ต่ำ จึงขาดอำนาจในการซื้อ ดังนั้นราคาของสินค้าไทยที่จับลูกค้าระดับล่างไม่ควรสูงกว่าสินค้าจากจีนและเวียดนาม ส่วนราคาสินค้าคุณภาพระดับปานกลางไม่ควรสูงกว่าสินค้าจากสิงคโปร์และมาเลเซีย นอกจากนั้นโครงสร้างพื้นฐานในประเทศยังพัฒนาไม่ทั่วถึง ระบบสาธารณูปโภค เช่น น้ำประปามีราคาสูง และการขนส่งภายในประเทศต้องใช้เวลานานสินค้าเกิดการเสียหาย ดังนั้นเพื่อเป็นการลดต้นทุนสินค้าและการเสียหายของสินค้า ผู้ส่งออกไทยควรมีการจัดระบบช่องทางการจัดจำหน่าย กล่าวคือการขนส่งสินค้าไปยังลาวควรอาศัยผู้นำเข้ารายใหญ่ๆ ของลาวเป็นผู้กระจายสินค้าไปยังผู้ค้าส่ง-ปลีกตามตลาดต่างๆ ของลาว เพื่อให้สินค้ากระจายเข้าสู่ตลาดลาวได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว
นอกจากนั้นนโยบายของรัฐบาลลาวและนโยบายของแต่ละแขวงไม่สอดคล้องกันในทางปฏิบัติ แม้บางครั้งผู้ส่งออกได้รับอนุญาตจากระดับส่วนกลาง แต่ไม่ได้รับการยอมรับจากระดับแขวง และลาวมีนโยบายการลดภาวะเงินเฟ้อภายในประเทศ ทำให้มีการจำกัดโควต้าสินค้าที่นำเข้า รวมทั้งมาตรการที่ใช้ภาษีเพื่อควบคุมการนำเข้าทางอ้อม ถึงแม้ว่าลาวจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกของการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ก็ตาม
ดังนั้น ลู่ทางการค้าไทย-ลาวจะสดใสและมีศักยภาพต่อการพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศคู่ค้าทั้งสองได้นั้น นอกเหนือจากบทบาทของภาครัฐบาลในการเจรจาทำความตกลงเพื่อกำหนดเป็นเกณฑ์มาตรฐานในการทำการค้าและการลงทุนร่วมกันแล้ว ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนไทยต้องตระหนักถึง "การช่วยเหลือที่อยู่บนพื้นฐานของความจริงใจ" ไม่หวังกอบโกยผลประโยชน์จากความมั่งคั่งในทรัพยากรธรรมชาติและไม่เอาเปรียบจากความเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา ทั้งนี้เพราะหากคู่ค้าฝ่ายหนึ่งอ่อนแอย่อมส่งผลกระทบต่ออีกฝ่ายหนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
ในส่วนของความสัมพันธ์ในระดับรัฐบาล ไทยได้ให้ความช่วยเหลือต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจในการลดภาษีสินค้าเกษตรและสินค้าสำคัญของลาวจำนวน 49 รายการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ช่วยเหลือด้านวิชาการในการร่วมทุนสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าในลาว และไทยได้ร่วมพัฒนาด้านการคมนาคมขนส่งในลาว เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าเข้าสู่ตลาดต่างๆ ของลาว นอกจากนั้นความสัมพันธ์ในระดับราชวงศ์ ไทยได้ให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษาและเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อพัฒนาความรู้และความสามารถให้แก่เยาวชนลาว
ดังนั้น แม้ว่าไทย-ลาวจะแตกต่างกันด้วยระบอบการปกครอง แต่ความสัมพันธ์อันดีดังกล่าวได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ได้ส่งผลให้เกิดความเชื่อใจ ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน รวมทั้งความยืดหยุ่นต่อกันในการช่วยเสริมสร้างโอกาสทางการค้าให้แก่ไทย โดยเฉพาะการค้าบริเวณชายแดนของประเทศทั้งสอง
ไทยเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของลาว โดยไทยมีส่วนแบ่งการตลาดการค้าในลาวมากเป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากสินค้าไทยมีคุณภาพดี และมีรูปแบบสินค้าสอดคล้องตรงกับความต้องการของตลาดลาว รวมทั้งมีการให้บริการที่รวดเร็วและการซื้อขายที่ให้เครดิตระยะเวลานาน ซึ่งในปี พ.ศ. 2539 ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดการค้าในลาวถึงร้อยละ 45 รองลงมาคือ ญี่ปุ่น เวียดนาม จีน และสิงคโปร์ ทั้งนี้ประเทศคู่แข่งการค้าของไทยข้างต้นมีความได้เปรียบในการพัฒนาเทคนิคและความหลากหลายของรูปแบบสินค้า เพราะมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่สูงกว่า รวมทั้งมีการผลิตสินค้าที่มีต้นทุนต่ำกว่า เนื่องจากมีการลอกเลียนแบบสินค้าและการมีค่าแรงที่ถูกกว่าการค้าชายแดนไทย-ลาว มีมูลค่าการค้าไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ามาโดยตลอด ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกของการค้าชายแดนไทย-ลาว ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามีมูลค่าไม่แตกต่างกันมากนัก โดยมีมูลค่าการส่งออกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 - 2546 เท่ากับ17,656.2 ล้านบาท, 16,233.1 ล้านบาท และ 17,452.9 ล้านบาท ตามลำดับ
การค้าบริเวณชายแดนระหว่างไทยและลาวดำเนินได้หลายแนวทาง กล่าวคือ ด่านศุลกากร โดยผ่านพิธีการด้านศุลกากรที่มีการจัดตั้งด่านในจังหวัดเชียงราย อุบลราชธานี เลย หนองคาย นครพนม น่าน อุตรดิตถ์ พะเยาและมุกดาหาร ด้านจุดผ่อนปรน โดยอนุญาตให้ชาวไทย-ลาวเดินทางผ่านเข้าออกเพื่อการค้าโดยกำหนดประเภทของสินค้า มูลค่าสินค้า และระยะเวลาปฏิบัติการของบริเวณจุดผ่อนปรนในจังหวัดเชียงราย, อุบลราชธานี, เลย, หนองคาย, น่าน, พะเยาและอุตรดิตถ์ และด้านจุดผ่านแดนชั่วคราว โดยกำหนดระยะเวลาการซื้อขายของบริเวณจุดผ่านแดนในจังหวัดนครพนม
โอกาสทางการค้าชายแดนของไทยยังมีความเป็นไปได้อีกมาก เนื่องจากสินค้าออกของไทยยังเป็นที่ต้องการของตลาดลาว สินค้าที่สำคัญๆ ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภค เช่น เสื้อผ้า อาหารประจำวัน น้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส ยาและอุปกรณ์การแพทย์และเครื่องกีฬา รวมทั้งสินค้าวัสดุก่อสร้างและเครื่องใช้-ไฟฟ้า และสินค้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ ในอนาคตสินค้าที่จะเป็นที่ต้องการของตลาดลาว ได้แก่ สินค้าฟุ่มเฟือย เช่น รถยนต์ สุรา และบุหรี่ เป็นต้น
ส่วนลู่ทางการลงทุนในลาวนับได้ว่ายังมีศักยภาพในการลงทุนหลายด้าน กล่าวคือ การผลิต-สินค้าเพื่อการบริโภคภายในประเทศและเพื่อการส่งออกในอนาคต ทั้งนี้เนื่องจากลาวยังอุดมไปด้วยวัตถุดิบ พื้นที่ด้านการเกษตรและการปศุสัตว์มีอยู่จำนวนมาก การลงทุนด้านอุตสาหกรรมเบา เช่น อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ในครัวเรือน ซึ่งสินค้าแปรรูปการเกษตรและสินค้าเครื่องใช้ในครัวเรือนยังเป็นที่ต้องการของตลาดลาว นอกจากนั้นโครงการผลิตพลังงานไฟฟ้ายังมีอีกหลายโครงการที่ลาวต้องการผู้ร่วมลงทุน รวมทั้งการร่วมลงทุนในโครงการพัฒนาเส้นทางคมนาคมในลาวหลายเส้นทางเพื่อรองรับการขยายตัวด้านการค้าในภูมิภาค
แม้ว่าลาวเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการทำการค้าและการลงทุน แต่ผู้ส่งออกไทยต้องตระหนักถึงอุปสรรคอันเนื่องมาจากความเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา กล่าวคือ ทรัพยากรบุคคลของลาวส่วนใหญ่ยังด้อยการศึกษา เป็นแรงงานที่ไร้ฝีมือและมีรายได้ต่ำ จึงขาดอำนาจในการซื้อ ดังนั้นราคาของสินค้าไทยที่จับลูกค้าระดับล่างไม่ควรสูงกว่าสินค้าจากจีนและเวียดนาม ส่วนราคาสินค้าคุณภาพระดับปานกลางไม่ควรสูงกว่าสินค้าจากสิงคโปร์และมาเลเซีย นอกจากนั้นโครงสร้างพื้นฐานในประเทศยังพัฒนาไม่ทั่วถึง ระบบสาธารณูปโภค เช่น น้ำประปามีราคาสูง และการขนส่งภายในประเทศต้องใช้เวลานานสินค้าเกิดการเสียหาย ดังนั้นเพื่อเป็นการลดต้นทุนสินค้าและการเสียหายของสินค้า ผู้ส่งออกไทยควรมีการจัดระบบช่องทางการจัดจำหน่าย กล่าวคือการขนส่งสินค้าไปยังลาวควรอาศัยผู้นำเข้ารายใหญ่ๆ ของลาวเป็นผู้กระจายสินค้าไปยังผู้ค้าส่ง-ปลีกตามตลาดต่างๆ ของลาว เพื่อให้สินค้ากระจายเข้าสู่ตลาดลาวได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว
นอกจากนั้นนโยบายของรัฐบาลลาวและนโยบายของแต่ละแขวงไม่สอดคล้องกันในทางปฏิบัติ แม้บางครั้งผู้ส่งออกได้รับอนุญาตจากระดับส่วนกลาง แต่ไม่ได้รับการยอมรับจากระดับแขวง และลาวมีนโยบายการลดภาวะเงินเฟ้อภายในประเทศ ทำให้มีการจำกัดโควต้าสินค้าที่นำเข้า รวมทั้งมาตรการที่ใช้ภาษีเพื่อควบคุมการนำเข้าทางอ้อม ถึงแม้ว่าลาวจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกของการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ก็ตาม
ดังนั้น ลู่ทางการค้าไทย-ลาวจะสดใสและมีศักยภาพต่อการพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศคู่ค้าทั้งสองได้นั้น นอกเหนือจากบทบาทของภาครัฐบาลในการเจรจาทำความตกลงเพื่อกำหนดเป็นเกณฑ์มาตรฐานในการทำการค้าและการลงทุนร่วมกันแล้ว ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนไทยต้องตระหนักถึง "การช่วยเหลือที่อยู่บนพื้นฐานของความจริงใจ" ไม่หวังกอบโกยผลประโยชน์จากความมั่งคั่งในทรัพยากรธรรมชาติและไม่เอาเปรียบจากความเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา ทั้งนี้เพราะหากคู่ค้าฝ่ายหนึ่งอ่อนแอย่อมส่งผลกระทบต่ออีกฝ่ายหนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-