กรุงเทพ--14 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
รัฐบาลไทยและรัฐบาลออสเตรเลียจะร่วมกับ UNAIDS เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีภูมิภาค เอเชียและแปซิฟิกว่าด้วยเรื่องโรคเอดส์ ครั้งที่ 2 (The 2nd Asia-Pacific Ministerial Meeting on HIV/AIDS: APMM 2) ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2547 ณ กระทรวงการต่างประเทศ โดยเป็นกิจกรรมควบของการประชุม XV International AIDS Conference ระหว่างวันที่ 11-16 กรกฎาคม 2547
การประชุมฯ ซึ่งมี ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นาย Alexander Downer รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้าออสเตรเลีย และนาย Peter Piot ผู้อำนวยการบริหารโครงการร่วมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยโรคเอดส์ (UNAIDS) เป็นประธานร่วม จะเป็นการสานต่อการหารือในการประชุมรัฐมนตรีภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกว่าด้วยโรคเอดส์ ครั้งที่ 1 (APMM 1) ซึ่งมีขึ้นเมื่อวันที่ 9-10 ตุลาคม 2544 ณ นครเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลียหัวข้อของการประชุมฯ คือ “การจัดให้ทุกคนสามารถเข้าถึงยาและการรักษา: ความรับผิดชอบทางการเมือง” (Access for All: Political Accountability) โดยเป็นการขยายผลจากการประชุม APMM 1 โดยคำนึงถึงหัวข้อของการประชุม XV International AIDS Conference ซึ่งเป็นเรื่องของการเข้าถึงยาและการรักษาสำหรับทุกฝ่าย
เป้าหมายของการประชุมฯ ได้แก่
- เป็นการย้ำพันธกรณีทางการเมืองของนานาประเทศจากการประชุมสมัยพิเศษของสมัชชาสหประชาชาติว่าด้วยโรคเอดส์ เมื่อปี 2544
- เพื่อเพิ่มความพยายามระดับชาติและระดับภูมิภาคในการต่อต้านการระบาดของโรคเอดส์ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก
- เป็นโอกาสให้บรรดารัฐมนตรี ได้หารือเกี่ยวกับความคืบหน้าและปัญหาอุปสรรคซึ่งได้เกิดขึ้นนับตั้งแต่การประชุม ครั้งที่ 1 ณ นครเมลเบิร์น เมื่อตุลาคม 2544
- เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ใหม่ๆ และหารือถึงโอกาสสำหรับการเพิ่มความร่วมมือ เพื่อแก้ไขปัญหาโรคเอดส์
- เพื่อตอบสนองต่อการดำเนินการในกรอบการประชุม Leadership Programme ซึ่งจัดขึ้นในช่วงInternational AIDS Conference
โดยที่การประชุมฯ จะมีขึ้นก่อน International AIDS Conference เพียง 1 วัน จึงจะเป็นโอกาสที่ดี ที่จะย้ำบทบาทสำคัญของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกในการต่อสู้โรคเอดส์ โดยหนึ่งในสี่ของผู้ติดเชื้อใหม่ มาจากในภูมิภาค รวมทั้งช่วยกระตุ้นให้นานาประเทศมีความมุ่งมั่นทางการเมืองในอันที่จะต่อสู้โรคเอดส์ ในระดับโลก และกำหนดแนวทางความร่วมมือในระดับชาติและภูมิภาค
การหารือจะเน้นการระดมทรัพยากร การเตรียมพร้อมทางด้านนโยบายและกรอบกฎหมาย และการมีส่วนร่วมของชุมชน ทั้งนี้ คาดว่าประเด็นการเข้าถึงยาเพื่อป้องกันและรักษาโรคเอดส์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไทยให้ ความสำคัญ และต้องการได้รับการสนับสนุนทางการเงินและทางสังคม น่าจะได้รับความสนใจเป็นพิเศษ โดยการประชุมฯ จะเป็นโอกาสที่ดีที่ไทยจะได้ชี้แนะถึงความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาเอดส์ โดยเฉพาะการจัดทำโครงการป้องกันและให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากโรคเอดส์ และแสดงความพร้อมที่จะแลกเปลี่ยน ประสบการณ์และให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศในภูมิภาค
ในช่วงสุดท้ายของการประชุมฯ บรรดารัฐมนตรีจะพิจารณารับรองเอกสารถ้อยแถลงร่วมระดับรัฐมนตรี ที่จะระบุถึงความเข้าใจและข้อสรุปหลักๆ จากการหารือ และกำหนดสาขาที่จะเน้นการทำงานในอนาคต
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
รัฐบาลไทยและรัฐบาลออสเตรเลียจะร่วมกับ UNAIDS เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีภูมิภาค เอเชียและแปซิฟิกว่าด้วยเรื่องโรคเอดส์ ครั้งที่ 2 (The 2nd Asia-Pacific Ministerial Meeting on HIV/AIDS: APMM 2) ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2547 ณ กระทรวงการต่างประเทศ โดยเป็นกิจกรรมควบของการประชุม XV International AIDS Conference ระหว่างวันที่ 11-16 กรกฎาคม 2547
การประชุมฯ ซึ่งมี ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นาย Alexander Downer รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้าออสเตรเลีย และนาย Peter Piot ผู้อำนวยการบริหารโครงการร่วมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยโรคเอดส์ (UNAIDS) เป็นประธานร่วม จะเป็นการสานต่อการหารือในการประชุมรัฐมนตรีภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกว่าด้วยโรคเอดส์ ครั้งที่ 1 (APMM 1) ซึ่งมีขึ้นเมื่อวันที่ 9-10 ตุลาคม 2544 ณ นครเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลียหัวข้อของการประชุมฯ คือ “การจัดให้ทุกคนสามารถเข้าถึงยาและการรักษา: ความรับผิดชอบทางการเมือง” (Access for All: Political Accountability) โดยเป็นการขยายผลจากการประชุม APMM 1 โดยคำนึงถึงหัวข้อของการประชุม XV International AIDS Conference ซึ่งเป็นเรื่องของการเข้าถึงยาและการรักษาสำหรับทุกฝ่าย
เป้าหมายของการประชุมฯ ได้แก่
- เป็นการย้ำพันธกรณีทางการเมืองของนานาประเทศจากการประชุมสมัยพิเศษของสมัชชาสหประชาชาติว่าด้วยโรคเอดส์ เมื่อปี 2544
- เพื่อเพิ่มความพยายามระดับชาติและระดับภูมิภาคในการต่อต้านการระบาดของโรคเอดส์ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก
- เป็นโอกาสให้บรรดารัฐมนตรี ได้หารือเกี่ยวกับความคืบหน้าและปัญหาอุปสรรคซึ่งได้เกิดขึ้นนับตั้งแต่การประชุม ครั้งที่ 1 ณ นครเมลเบิร์น เมื่อตุลาคม 2544
- เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ใหม่ๆ และหารือถึงโอกาสสำหรับการเพิ่มความร่วมมือ เพื่อแก้ไขปัญหาโรคเอดส์
- เพื่อตอบสนองต่อการดำเนินการในกรอบการประชุม Leadership Programme ซึ่งจัดขึ้นในช่วงInternational AIDS Conference
โดยที่การประชุมฯ จะมีขึ้นก่อน International AIDS Conference เพียง 1 วัน จึงจะเป็นโอกาสที่ดี ที่จะย้ำบทบาทสำคัญของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกในการต่อสู้โรคเอดส์ โดยหนึ่งในสี่ของผู้ติดเชื้อใหม่ มาจากในภูมิภาค รวมทั้งช่วยกระตุ้นให้นานาประเทศมีความมุ่งมั่นทางการเมืองในอันที่จะต่อสู้โรคเอดส์ ในระดับโลก และกำหนดแนวทางความร่วมมือในระดับชาติและภูมิภาค
การหารือจะเน้นการระดมทรัพยากร การเตรียมพร้อมทางด้านนโยบายและกรอบกฎหมาย และการมีส่วนร่วมของชุมชน ทั้งนี้ คาดว่าประเด็นการเข้าถึงยาเพื่อป้องกันและรักษาโรคเอดส์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไทยให้ ความสำคัญ และต้องการได้รับการสนับสนุนทางการเงินและทางสังคม น่าจะได้รับความสนใจเป็นพิเศษ โดยการประชุมฯ จะเป็นโอกาสที่ดีที่ไทยจะได้ชี้แนะถึงความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาเอดส์ โดยเฉพาะการจัดทำโครงการป้องกันและให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากโรคเอดส์ และแสดงความพร้อมที่จะแลกเปลี่ยน ประสบการณ์และให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศในภูมิภาค
ในช่วงสุดท้ายของการประชุมฯ บรรดารัฐมนตรีจะพิจารณารับรองเอกสารถ้อยแถลงร่วมระดับรัฐมนตรี ที่จะระบุถึงความเข้าใจและข้อสรุปหลักๆ จากการหารือ และกำหนดสาขาที่จะเน้นการทำงานในอนาคต
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-