กรุงเทพ--14 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2547 ดร. สรจักร เกษมสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวทางโทรศัพท์ทางไกลจากกรุงบูดาเปสต์ เกี่ยวกับผลการเยือนปาปัวนิกินีของผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างปรเทศ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2547 มีสาระสำคัญดังนี้
1. รัฐบาลปาปัวนิวกินีได้ให้ความสำคัญกับประเทศไทยอย่างมาก และมีความยินดี อย่างยิ่งที่ ดร. สรจักรฯ ได้เดินทางมาเยือน ทั้งนี้ ไทยไม่เคยมีผู้แทนระดับรัฐบาลเยือนปาปัวนิวกินีในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยการเยือนครั้งหลังสุดเมื่อปี 2537 เป็นการเยือนของนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในสมัยนั้น และนับจากนั้นเป็นต้นมาก็ไม่มีผู้แทนระดับการเมืองของไทยเยือนปาปัวนิวกินีเลย ในขณะที่ผู้นำปาปัวนิวกินีได้เดินทางมาเยือนประเทศไทยในช่วงของการประชุมผู้นำ เอเปค เมื่อเดือนตุลาคม 2546
2. เหตุผลสำคัญในการเยือนครั้งนี้ก็คือ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีความประสงค์ที่จะเยือนปาปัวนิวกินีตั้งแต่เดือนมีนาคม 2546 แต่ปรากฏว่าได้เกิดเหตุการณ์สงครามอิรักขึ้นส่งผลให้นายกรัฐมนตรีไม่สามารถเดินทางเยือนปาปัวนิวกินีได้ และในเวลาต่อมาก็ยังไม่สามารถหาโอกาสใหม่ในการเยือนปาปัวนิวกินี ซึ่งทางปาปัวนิวกินีก็มีความประสงค์ที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศไทยให้ใกล้ชิดมากขึ้น ในการนี้ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จึงได้มอบหมายผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศให้เดินทางไปเยือนปาปัวนิวกินีเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น รวมทั้งได้นำภาคเอกชนจากสมาคมประมงนอกน่านน้ำไปด้วย เพราะปาปัวนิวกินีมีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์มากที่ไทยอาจจะไปลงทุนได้ โดยเฉพาะในด้านประมง
3. ในระหว่างการเยือน ดร. สรจักรฯ ได้เข้าพบ Sir Michael Somare นายกรัฐมนตรีของปาปัวนิวกินี เป็นเวลาประมาณ 45 นาที โดยนายกรัฐมนตรีปาปัวนิวกินีได้ให้การต้อนรับอย่างดี และได้มีการหารือและเห็นพ้องร่วมกันในหลายเรื่อง โดยเฉพาะการติดตามผลการหารือระหว่างผู้นำของทั้งสองประเทศในระหว่างการเยือนไทยของนายกรัฐมนตรีปาปัวนิวกินีในช่วงการประชุมผู้นำเอเปคเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ซึ่ง ดร. สรจักรฯ ได้ยืนยันความตั้งใจของไทยที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ปาปัวนิกินีใน การฝึกอบรม 3 ด้าน ได้แก่ การปลูกข้าว การลาดตระเวณชายแดน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมถึงการที่ปาปัวนิวกินีประสงค์ให้ประเทศไทยไปลงทุนในปาปัวนิวกินีให้มากขึ้นไม่ว่าจะเป็นด้านประมง ป่าไม้ น้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติก็ตาม ในวันเดียวกันยังได้พบหารือกับ Sir Rabbie Namaliu รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของปาปัวนิวกินี และกับนาย Mark Maipakai รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของปาปัวนิวกินี รวมทั้งนาย Ben Semri รัฐมนตรีว่าการกระทรวงประมงของปาปัวนิวกินีด้วย โดยปาปัวนิวกินีสนใจมากที่จะให้ไทยเข้าไปมีบทบาทในด้านประมงในปาปัวนิวกินี
4. ในการหารือข้างต้น ดร. สรจักรฯ ได้ขอให้ปาปัวนิวกินีเร่งรัดการเจรจาทำความตกลง 4 ฉบับที่ยังคั่งค้างอยู่ ได้แก่ ความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน ความตกลงว่าด้วยระบบการค้าแบบหักบัญชี ความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน และความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทาง วิชาการ ซึ่งฝ่ายปาปัวนิกินีได้ตอบรับที่จะเร่งรัดการเจรจาให้แล้วเสร็จโดยเร็ว รวมทั้งได้เชิญปาปัวนิวกินีให้ส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกว่าด้วยเรื่องโรคเอดส์ ครั้งที่ 2 ที่ประเทศไทย ซึ่งปาปัวนิวกินีได้ยืนยันที่จะเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวด้วย
5. ผลการเยือนโดยสรุปจะเห็นได้ว่าปาปัวนิวกินีมีความสนใจให้ไทยเข้าไปมีบทบาท มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ ดร. สรจักรฯ ได้แจ้งให้ปาปัวนิวกินีทราบถึงหลักเศรษฐกิจแบบพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งปาปัวนิวกินีได้แสดงความสนใจเป็นอย่างมาก และต้องการที่จะส่งเจ้าหน้าที่มาศึกษาดูงานในประเทศไทย รวมทั้งได้แจ้งให้ทราบถึงนโยบายของนายกรัฐมนตรีที่ได้ดำเนิน การไปทั้งในเรื่องของ OTOP การช่วยพยุงเศรษฐกิจรากหญ้าให้ดีขึ้น ปาปัวนิวกินีก็ยิ่งมีความสนใจ อย่างมากที่จะมาดูงานในประเทศไทย อีกประเด็นหนึ่งที่มีการหารือกันก็คือ การที่ไทยจะเข้าไปเป็นประเทศคู่เจรจาของ PIF (Pacific Islands Forum) ซึ่งปาปัวนิวกินีเป็นสมาชิกอยู่ด้วย ซึ่งขณะนี้ไทยกำลังสมัครเข้าขอเป็นประเทศคู่เจรจาของ Forum นี้ โดยปาปัวนิวกินีแสดงความยินดีและจะสนับสนุนไทยอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะเมื่อได้ทราบว่าไทยเป็นประเทศที่มีประสบการณ์ทั้งภายในประเทศและการดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ ปาปัานิวกินียังได้แสดงความยินดีที่จะสนับสนุนการสมัครของไทยเพื่อเลือกตั้งในตำแหน่งสมาชิก ECOSOC สำหรับวาระ 2005-2007 ด้วย
6. การเยือนครั้งนี้ถือได้ว่าประสบผลสำเร็จอย่างดีมากในสองด้าน กล่าวคือ ในด้านไทยเองนั้นไทยสามารถเข้าไปเปิดตลาดได้เพิ่มมากขึ้น ทั้งในส่วนของการเข้าไปใช้น่านน้ำของปาปัวนิวกินีในด้านการประมง รวมทั้งการเข้าไปลงทุนในด้านก๊าซธรรมชาติ ในขณะเดียวกันทางปาปัวนิวกินีก็มีโอกาสที่จะมาศึกษาขบวนการพัฒนาระดับรากหญ้าของประเทศไทย 7. ในโอกาสเดียวกันนี้ คณะนักธุรกิจจากสมาคมประมงนอกน่านน้ำไทยได้เข้าฟังการบรรยายสรุปจาก National Fisheries Authority ของปาปัวนิวกินี และได้รับแจ้งว่าปาปัวนิกินีมีความสนใจที่จะร่วมมือกับไทยในการทำประมงเบ็ดราวปลาทูน่า การเพาะเลี้ยงกุ้ง และการลงทุนทำโรงงานปลากระป๋องทูน่า ทั้งนี้ รัฐบาลของทั้งสองฝ่ายจะต้องจัดทำความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางประมงก่อน ที่จะมีความร่วมมือในด้านดังกล่าวระหว่างกันได้ ซึ่งสมาคมประมงนอกน่านน้ำไทยจะประสานงานกับกระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2547 ดร. สรจักร เกษมสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวทางโทรศัพท์ทางไกลจากกรุงบูดาเปสต์ เกี่ยวกับผลการเยือนปาปัวนิกินีของผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างปรเทศ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2547 มีสาระสำคัญดังนี้
1. รัฐบาลปาปัวนิวกินีได้ให้ความสำคัญกับประเทศไทยอย่างมาก และมีความยินดี อย่างยิ่งที่ ดร. สรจักรฯ ได้เดินทางมาเยือน ทั้งนี้ ไทยไม่เคยมีผู้แทนระดับรัฐบาลเยือนปาปัวนิวกินีในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยการเยือนครั้งหลังสุดเมื่อปี 2537 เป็นการเยือนของนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในสมัยนั้น และนับจากนั้นเป็นต้นมาก็ไม่มีผู้แทนระดับการเมืองของไทยเยือนปาปัวนิวกินีเลย ในขณะที่ผู้นำปาปัวนิวกินีได้เดินทางมาเยือนประเทศไทยในช่วงของการประชุมผู้นำ เอเปค เมื่อเดือนตุลาคม 2546
2. เหตุผลสำคัญในการเยือนครั้งนี้ก็คือ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีความประสงค์ที่จะเยือนปาปัวนิวกินีตั้งแต่เดือนมีนาคม 2546 แต่ปรากฏว่าได้เกิดเหตุการณ์สงครามอิรักขึ้นส่งผลให้นายกรัฐมนตรีไม่สามารถเดินทางเยือนปาปัวนิวกินีได้ และในเวลาต่อมาก็ยังไม่สามารถหาโอกาสใหม่ในการเยือนปาปัวนิวกินี ซึ่งทางปาปัวนิวกินีก็มีความประสงค์ที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศไทยให้ใกล้ชิดมากขึ้น ในการนี้ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จึงได้มอบหมายผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศให้เดินทางไปเยือนปาปัวนิวกินีเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น รวมทั้งได้นำภาคเอกชนจากสมาคมประมงนอกน่านน้ำไปด้วย เพราะปาปัวนิวกินีมีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์มากที่ไทยอาจจะไปลงทุนได้ โดยเฉพาะในด้านประมง
3. ในระหว่างการเยือน ดร. สรจักรฯ ได้เข้าพบ Sir Michael Somare นายกรัฐมนตรีของปาปัวนิวกินี เป็นเวลาประมาณ 45 นาที โดยนายกรัฐมนตรีปาปัวนิวกินีได้ให้การต้อนรับอย่างดี และได้มีการหารือและเห็นพ้องร่วมกันในหลายเรื่อง โดยเฉพาะการติดตามผลการหารือระหว่างผู้นำของทั้งสองประเทศในระหว่างการเยือนไทยของนายกรัฐมนตรีปาปัวนิวกินีในช่วงการประชุมผู้นำเอเปคเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ซึ่ง ดร. สรจักรฯ ได้ยืนยันความตั้งใจของไทยที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ปาปัวนิกินีใน การฝึกอบรม 3 ด้าน ได้แก่ การปลูกข้าว การลาดตระเวณชายแดน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมถึงการที่ปาปัวนิวกินีประสงค์ให้ประเทศไทยไปลงทุนในปาปัวนิวกินีให้มากขึ้นไม่ว่าจะเป็นด้านประมง ป่าไม้ น้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติก็ตาม ในวันเดียวกันยังได้พบหารือกับ Sir Rabbie Namaliu รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของปาปัวนิวกินี และกับนาย Mark Maipakai รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของปาปัวนิวกินี รวมทั้งนาย Ben Semri รัฐมนตรีว่าการกระทรวงประมงของปาปัวนิวกินีด้วย โดยปาปัวนิวกินีสนใจมากที่จะให้ไทยเข้าไปมีบทบาทในด้านประมงในปาปัวนิวกินี
4. ในการหารือข้างต้น ดร. สรจักรฯ ได้ขอให้ปาปัวนิวกินีเร่งรัดการเจรจาทำความตกลง 4 ฉบับที่ยังคั่งค้างอยู่ ได้แก่ ความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน ความตกลงว่าด้วยระบบการค้าแบบหักบัญชี ความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน และความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทาง วิชาการ ซึ่งฝ่ายปาปัวนิกินีได้ตอบรับที่จะเร่งรัดการเจรจาให้แล้วเสร็จโดยเร็ว รวมทั้งได้เชิญปาปัวนิวกินีให้ส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกว่าด้วยเรื่องโรคเอดส์ ครั้งที่ 2 ที่ประเทศไทย ซึ่งปาปัวนิวกินีได้ยืนยันที่จะเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวด้วย
5. ผลการเยือนโดยสรุปจะเห็นได้ว่าปาปัวนิวกินีมีความสนใจให้ไทยเข้าไปมีบทบาท มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ ดร. สรจักรฯ ได้แจ้งให้ปาปัวนิวกินีทราบถึงหลักเศรษฐกิจแบบพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งปาปัวนิวกินีได้แสดงความสนใจเป็นอย่างมาก และต้องการที่จะส่งเจ้าหน้าที่มาศึกษาดูงานในประเทศไทย รวมทั้งได้แจ้งให้ทราบถึงนโยบายของนายกรัฐมนตรีที่ได้ดำเนิน การไปทั้งในเรื่องของ OTOP การช่วยพยุงเศรษฐกิจรากหญ้าให้ดีขึ้น ปาปัวนิวกินีก็ยิ่งมีความสนใจ อย่างมากที่จะมาดูงานในประเทศไทย อีกประเด็นหนึ่งที่มีการหารือกันก็คือ การที่ไทยจะเข้าไปเป็นประเทศคู่เจรจาของ PIF (Pacific Islands Forum) ซึ่งปาปัวนิวกินีเป็นสมาชิกอยู่ด้วย ซึ่งขณะนี้ไทยกำลังสมัครเข้าขอเป็นประเทศคู่เจรจาของ Forum นี้ โดยปาปัวนิวกินีแสดงความยินดีและจะสนับสนุนไทยอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะเมื่อได้ทราบว่าไทยเป็นประเทศที่มีประสบการณ์ทั้งภายในประเทศและการดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ ปาปัานิวกินียังได้แสดงความยินดีที่จะสนับสนุนการสมัครของไทยเพื่อเลือกตั้งในตำแหน่งสมาชิก ECOSOC สำหรับวาระ 2005-2007 ด้วย
6. การเยือนครั้งนี้ถือได้ว่าประสบผลสำเร็จอย่างดีมากในสองด้าน กล่าวคือ ในด้านไทยเองนั้นไทยสามารถเข้าไปเปิดตลาดได้เพิ่มมากขึ้น ทั้งในส่วนของการเข้าไปใช้น่านน้ำของปาปัวนิวกินีในด้านการประมง รวมทั้งการเข้าไปลงทุนในด้านก๊าซธรรมชาติ ในขณะเดียวกันทางปาปัวนิวกินีก็มีโอกาสที่จะมาศึกษาขบวนการพัฒนาระดับรากหญ้าของประเทศไทย 7. ในโอกาสเดียวกันนี้ คณะนักธุรกิจจากสมาคมประมงนอกน่านน้ำไทยได้เข้าฟังการบรรยายสรุปจาก National Fisheries Authority ของปาปัวนิวกินี และได้รับแจ้งว่าปาปัวนิกินีมีความสนใจที่จะร่วมมือกับไทยในการทำประมงเบ็ดราวปลาทูน่า การเพาะเลี้ยงกุ้ง และการลงทุนทำโรงงานปลากระป๋องทูน่า ทั้งนี้ รัฐบาลของทั้งสองฝ่ายจะต้องจัดทำความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางประมงก่อน ที่จะมีความร่วมมือในด้านดังกล่าวระหว่างกันได้ ซึ่งสมาคมประมงนอกน่านน้ำไทยจะประสานงานกับกระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-