สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร แคนาดา และออสเตรเลียเป็นประเทศผู้นำเข้าเฟอร์นิเจอร์รายสำคัญของโลกและเป็นตลาดส่งออกเฟอร์นิเจอร์สำคัญของไทย แต่ละปีไทยส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไปประเทศเหล่านี้รวมกันกว่า 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 80 ของมูลค่าส่งออกเฟอร์นิเจอร์ทั้งหมดของไทย เป็นที่คาดว่าการนำเข้าเฟอร์นิเจอร์ของทั้ง 5 ประเทศจะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ นอกจากนี้ การที่ค่าแรงของประเทศเหล่านี้อยู่ในระดับสูงจนไม่เหมาะกับการผลิตเฟอร์นิเจอร์จึงเป็นโอกาสของไทยในการขยายการส่งออกไปยังตลาดข้างต้น ซึ่งผู้ส่งออกไทยควรศึกษาระเบียบการนำเข้าของประเทศเหล่านี้เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นก่อนการส่งออก มีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้
1. อัตราภาษีนำเข้า
-----------------------|-------------------------------------------------------------------
ประเทศ | อัตราภาษีนำเข้าที่เรียกเก็บจากไทย (ร้อยละ)
-----------------------|--------------------------------------------------------------------
สหรัฐอเมริกา | 0
| ยกเว้นหมวดที่นอน หมอน ฟูก เสียภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 0-12.8
----------------------|--------------------------------------------------------------------
ญี่ปุ่น | 0
| ยกเว้นเฟอร์นิเจอร์หนัง เสียภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 3.8-4.3
-----------------------|-------------------------------------------------------------------
สหราชอาณาจักร | 0-5.6
-----------------------|-------------------------------------------------------------------
แคนาดา | 0-6
-----------------------|-------------------------------------------------------------------
ออสเตรเลีย | 0-5
-----------------------|-------------------------------------------------------------------
2. ระเบียบการนำเข้าที่ไม่ใช่ภาษี
กฎระเบียบด้านความปลอดภัย แต่ละประเทศกำหนดกฎระเบียบที่แตกต่างกัน ดังนี้
- สหรัฐอเมริกา กำหนดปริมาณสารตะกั่วเจือปนในสีหรือสารเคมีที่ใช้เคลือบเฟอร์นิเจอร์เด็กไม่เกินร้อยละ 0.06 และกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยของเตียงเด็ก (bunk bed) อาทิ ความแข็งแรงของเตียง ความกว้างของช่องต่างๆ ของเตียง เป็นต้น
- สหรัฐอเมริกาและ EU ซึ่งรวมถึงสหราชอาณาจักร กำหนดห้ามใช้สารกลุ่ม Arsenic (สารหนู) ซึ่งใช้เคลือบเพื่อป้องกันการผุกร่อนของเนื้อไม้และป้องกันแมลงทำลายไม้ เนื่องจากเกรงว่าจะก่อให้เกิดอันตรายต่อคนและสัตว์จากการสัมผัส
- สหราชอาณาจักร กำหนดให้วัสดุที่ใช้ประกอบหรือใช้หุ้มเฟอร์นิเจอร์อย่างถาวรต้องได้รับการตรวจสอบด้านการติดไฟ และติดฉลากรับรองเมื่อผ่านการตรวจสอบแล้ว (ยกเว้นเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากหวาย ซึ่งไม่รวมเบาะรองนั่งและพนักพิงหลัง เฟอร์นิเจอร์สำหรับใช้ในงานสวน และร่มกันแดดที่ใช้ประกอบกับชุดเฟอร์นิเจอร์ใช้ในงานสวน) รวมถึงกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยของเตียงเด็ก
- ญี่ปุ่น กำหนดให้เตียงเด็กต้องผ่านการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยและติดฉลาก PS Mark เพื่อรับรองความปลอดภัยตาม Consumer Products Safety Law
- แคนาดา กำหนดปริมาณสารตะกั่วเจือปนในสีหรือสารเคมีที่ใช้เคลือบเฟอร์นิเจอร์เด็กไม่เกินร้อยละ 0.5
- ออสเตรเลีย กำหนดให้เฟอร์นิเจอร์นำเข้าที่ทำจากไม้หรือหวายต้องผ่านการรมควันเพื่อกำจัดโรคพืชและแมลง ณ ด่านศุลกากรของออสเตรเลียก่อน
- ฉลากสินค้า ข้อความสำคัญที่ประเทศผู้นำเข้าส่วนใหญ่กำหนดให้มีบนฉลากสินค้า ได้แก่ ชื่อและรายละเอียดของผู้ผลิต ขนาดของเฟอร์นิเจอร์ วัสดุที่ใช้ประกอบหรือใช้หุ้มเฟอร์นิเจอร์ และข้อควรระวังในการใช้
- ฉลากอื่นๆ ที่ติดโดยสมัครใจ อาทิ SG Mark ซึ่งเป็นฉลากรับรองความปลอดภัยระหว่างการใช้สินค้าของญี่ปุ่น และ Hang Tag ซึ่งเป็นฉลากรับรองมาตรฐานสำหรับเฟอร์นิเจอร์บุนวมของแคนาดา เป็นต้น ปัจจุบันฉลากเหล่านี้ยังไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก เนื่องจากผู้ผลิตไม่ต้องการรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นอันเป็นผลจากการติดฉลาก ขณะที่ผู้บริโภคซึ่งเห็นความสำคัญของฉลากเหล่านี้ยังมีอยู่ในวงจำกัด
- กฎระเบียบที่คาดว่าจะมีการบังคับใช้ในอนาคตอันใกล้ อาทิ มาตรฐานการติดไฟของวัสดุที่ใช้ประกอบหรือใช้หุ้มเฟอร์นิเจอร์บุ (โซฟา) ของสหรัฐอเมริกา และฉลาก Eco-Label ของ EU ซึ่งแสดงว่าเฟอร์นิเจอร์มีขั้นตอนการผลิตที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
นอกเหนือจากระเบียบการนำเข้าเฟอร์นิเจอร์ของแต่ละประเทศดังกล่าวแล้ว ผู้ผลิตและผู้ส่งออกควรให้ความสำคัญและศึกษาระเบียบการนำเข้าในแต่ละรัฐของสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียซึ่งอาจมีระดับของความเข้มงวดและมีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างไปจากระเบียบการนำเข้าข้างต้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดอุปสรรคในการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไปตลาดดังกล่าว
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มิถุนายน 2547--
-พห-
1. อัตราภาษีนำเข้า
-----------------------|-------------------------------------------------------------------
ประเทศ | อัตราภาษีนำเข้าที่เรียกเก็บจากไทย (ร้อยละ)
-----------------------|--------------------------------------------------------------------
สหรัฐอเมริกา | 0
| ยกเว้นหมวดที่นอน หมอน ฟูก เสียภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 0-12.8
----------------------|--------------------------------------------------------------------
ญี่ปุ่น | 0
| ยกเว้นเฟอร์นิเจอร์หนัง เสียภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 3.8-4.3
-----------------------|-------------------------------------------------------------------
สหราชอาณาจักร | 0-5.6
-----------------------|-------------------------------------------------------------------
แคนาดา | 0-6
-----------------------|-------------------------------------------------------------------
ออสเตรเลีย | 0-5
-----------------------|-------------------------------------------------------------------
2. ระเบียบการนำเข้าที่ไม่ใช่ภาษี
กฎระเบียบด้านความปลอดภัย แต่ละประเทศกำหนดกฎระเบียบที่แตกต่างกัน ดังนี้
- สหรัฐอเมริกา กำหนดปริมาณสารตะกั่วเจือปนในสีหรือสารเคมีที่ใช้เคลือบเฟอร์นิเจอร์เด็กไม่เกินร้อยละ 0.06 และกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยของเตียงเด็ก (bunk bed) อาทิ ความแข็งแรงของเตียง ความกว้างของช่องต่างๆ ของเตียง เป็นต้น
- สหรัฐอเมริกาและ EU ซึ่งรวมถึงสหราชอาณาจักร กำหนดห้ามใช้สารกลุ่ม Arsenic (สารหนู) ซึ่งใช้เคลือบเพื่อป้องกันการผุกร่อนของเนื้อไม้และป้องกันแมลงทำลายไม้ เนื่องจากเกรงว่าจะก่อให้เกิดอันตรายต่อคนและสัตว์จากการสัมผัส
- สหราชอาณาจักร กำหนดให้วัสดุที่ใช้ประกอบหรือใช้หุ้มเฟอร์นิเจอร์อย่างถาวรต้องได้รับการตรวจสอบด้านการติดไฟ และติดฉลากรับรองเมื่อผ่านการตรวจสอบแล้ว (ยกเว้นเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากหวาย ซึ่งไม่รวมเบาะรองนั่งและพนักพิงหลัง เฟอร์นิเจอร์สำหรับใช้ในงานสวน และร่มกันแดดที่ใช้ประกอบกับชุดเฟอร์นิเจอร์ใช้ในงานสวน) รวมถึงกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยของเตียงเด็ก
- ญี่ปุ่น กำหนดให้เตียงเด็กต้องผ่านการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยและติดฉลาก PS Mark เพื่อรับรองความปลอดภัยตาม Consumer Products Safety Law
- แคนาดา กำหนดปริมาณสารตะกั่วเจือปนในสีหรือสารเคมีที่ใช้เคลือบเฟอร์นิเจอร์เด็กไม่เกินร้อยละ 0.5
- ออสเตรเลีย กำหนดให้เฟอร์นิเจอร์นำเข้าที่ทำจากไม้หรือหวายต้องผ่านการรมควันเพื่อกำจัดโรคพืชและแมลง ณ ด่านศุลกากรของออสเตรเลียก่อน
- ฉลากสินค้า ข้อความสำคัญที่ประเทศผู้นำเข้าส่วนใหญ่กำหนดให้มีบนฉลากสินค้า ได้แก่ ชื่อและรายละเอียดของผู้ผลิต ขนาดของเฟอร์นิเจอร์ วัสดุที่ใช้ประกอบหรือใช้หุ้มเฟอร์นิเจอร์ และข้อควรระวังในการใช้
- ฉลากอื่นๆ ที่ติดโดยสมัครใจ อาทิ SG Mark ซึ่งเป็นฉลากรับรองความปลอดภัยระหว่างการใช้สินค้าของญี่ปุ่น และ Hang Tag ซึ่งเป็นฉลากรับรองมาตรฐานสำหรับเฟอร์นิเจอร์บุนวมของแคนาดา เป็นต้น ปัจจุบันฉลากเหล่านี้ยังไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก เนื่องจากผู้ผลิตไม่ต้องการรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นอันเป็นผลจากการติดฉลาก ขณะที่ผู้บริโภคซึ่งเห็นความสำคัญของฉลากเหล่านี้ยังมีอยู่ในวงจำกัด
- กฎระเบียบที่คาดว่าจะมีการบังคับใช้ในอนาคตอันใกล้ อาทิ มาตรฐานการติดไฟของวัสดุที่ใช้ประกอบหรือใช้หุ้มเฟอร์นิเจอร์บุ (โซฟา) ของสหรัฐอเมริกา และฉลาก Eco-Label ของ EU ซึ่งแสดงว่าเฟอร์นิเจอร์มีขั้นตอนการผลิตที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
นอกเหนือจากระเบียบการนำเข้าเฟอร์นิเจอร์ของแต่ละประเทศดังกล่าวแล้ว ผู้ผลิตและผู้ส่งออกควรให้ความสำคัญและศึกษาระเบียบการนำเข้าในแต่ละรัฐของสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียซึ่งอาจมีระดับของความเข้มงวดและมีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างไปจากระเบียบการนำเข้าข้างต้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดอุปสรรคในการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไปตลาดดังกล่าว
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มิถุนายน 2547--
-พห-