ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ภาครัฐและเอกชนร่วมวางแผนพัฒนาตลาดทุนและเศรษฐกิจไทยระยะยาว นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รมว.คลัง กล่าวในการประชุม
เชิงปฏิบัติการ Top Executives’ Networking Forum 2004 : A Road to Borderless Cooperation เมื่อวันที่ 11-13 มิ.ย.47
ที่ จ.เพชรบุรี ว่า อนาคตตลาดทุนไทยจะต้องเชื่อมโยงกับตลาดทุนในภูมิภาค โดยเป็นการเชื่อมโยงหลายด้าน ทั้งระบบหลังการซื้อขาย การจด
ทะเบียน และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยตลาดทุนไทย สิงคโปร์ และมาเลเซีย จะมีการเชื่อมโยงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
ซึ่งจะเห็นผลในอีก 5-6 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ จะต้องสร้างศักยภาพทางด้านการแข่งขันของประเทศให้มีความยั่งยืน ซึ่งทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันพัฒนา
โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ 50 แห่ง (SET50) ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ในตลาดถึงร้อยละ 60 ทางด้าน นายกิตติรัตน์ ณ ระยอง
กก.ผจก.ตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวว่า ตลาดทุนไทยอยู่ในขั้นเตรียมพร้อมไปสู่การเป็นตลาดทุนที่สมบูรณ์ โดยกำลังก้าวไปสู่ตลาดตราสารอนุพันธ์ และ
หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องก็ได้ส่งเสริมและพัฒนาความรู้บุคลากรที่เกี่ยวข้อง (โพสต์ทูเดย์)
2. ธปท. ยังไม่มีความจำเป็นต้องออกมาตรการดูดซับสภาพคล่อง นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่การสายเสถียรภาพสถาบันการเงิน
ธปท. เปิดเผยถึงสภาพคล่องที่ล้นในระบบสถาบันการเงินว่า ธปท. ยังไม่มีความจำเป็นต้องออกมาตรการเพื่อดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินที่มีอยู่ เนื่อง
จากเป็นสภาพคล่องที่สะสมมาตั้งแต่หลังช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 40 ทั้งนี้ สภาพคล่องในระบบ ธ.พาณิชย์ส่วนเกินที่เป็นตัวเลขจริงมีเพียง
460,000-500,000 ล้านบาท แต่หากคิดจากสินทรัพย์ทุกอย่างที่ตีเป็นสภาพคล่องด้วยแต่ไม่รวมสินเชื่อจะมีจำนวน 840,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม
สภาพคล่องในปัจจุบันได้ลดลงบ้างแล้ว โดยจะเห็นได้จากอัตราการขยายตัวของสินเชื่อเริ่มมีมากกว่าการขยายตัวของเงินฝาก โดยตัวเลขการปล่อย
สินเชื่อของ ธ.พาณิชย์ล่าสุดขยายตัวในระดับร้อยละ 5 เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวดีอย่างต่อเนื่อง จึงช่วยลดสภาพคล่องที่ล้นลงได้ในระดับ
หนึ่ง แต่จะเป็นการลดแบบค่อยเป็นค่อยไป สำหรับอัตราดอกเบี้ยของ ธ.พาณิชย์จะมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นเพียงใดนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพคล่องที่มีอยู่
สูง แต่มีปัจจัยหลายประการที่เป็นแรงกระตุ้นให้ปรับอัตราดอกเบี้ย เช่น ธ.พาณิชย์เองต้องการขยายฐานสินเชื่อหรือไม่ ภาวะการณ์ลงทุนมีมากหรือไม่
รวมทั้งภาวะตลาดด้วย เนื่องจากปัจจุบันภาคเอกชนมีช่องทางในการเลือกระดมทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งการจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือไม่นั้นจะต้องมีการประเมิน
ภาพที่ชัดเจนอีกครั้งในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 21 มิ.ย.ที่จะถึงนี้ (ผู้จัดการรายวัน)
3. ธปท. จัดสัมมนา “ผลกระทบของแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินไทย” เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ธปท. ร่วมกับชมรมธนาคารภาคตะวัน
ออกเฉียงเหนือ จัดสัมมนาเรื่อง “ผลกระทบของแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินไทย” โดยเชิญผู้บริหารระดับสูง ธ.พาณิชย์ร่วมอภิปรายในประเด็นดัง
กล่าว ซึ่งผู้บริหาร ธ.พาณิชย์ส่วนใหญ่เห็นด้วยตามเจตนารมย์ของแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินไทยตามที่ ก.คลัง และ ธปท. ต้องการนำมาใช้เป็น
เครื่องมือจัดระบบสถาบันการเงินให้มีประสิทธิภาพและเสถียรภาพ มีการแข่งขันของผู้ให้บริการ กระจายบริการทางการเงินสู่ประชาชนทั้งประเทศ
อย่างทั่วถึง และจัดระบบสถาบันการเงินไทยในกรอบระยะเวลาที่เหมาะสม ในขณะที่ผู้บริหาร ธ.พาณิชย์บางคนให้ความเห็นว่า แผนพัฒนาฯ ค่อน
ข้างสมบูรณ์ แต่มีข้อเสียอยู่บ้างคือ เนื้อหาของแผนไม่มีการพูดถึงตลาดทุนและตลาดประกันภัย ซึ่งเป็นกองทุนระยะยาว ควรปรับตลาดทั้งสองเข้าไว้
ภายในแผนพัฒนาฯ ด้วย ส่วนบางคนกล่าวว่าแผนพัฒนาฯ ยังมีความละเอียด ความครอบคลุมและลึกซึ้งไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในส่วนของขั้นตอน
การศึกษาจัดทำแผนนั้นได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาต่างประเทศมาจัดทำ มีความชำนาญด้านการเปรียบเทียบระหว่างประเทศ แต่เรื่องภายในประเทศ
บริษัทที่ปรึกษาต่างประเทศชำนาญน้อยกว่า และต้องศึกษาข้อมูลให้มากขึ้นครอบคลุมทั้งประเทศถึงพื้นที่ชนบทไม่เฉพาะกรุงเทพฯ และปริมณฑล จะทำ
ให้แผนพัฒนาฯ มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน ธ.พาณิชย์เพื่อรายย่อยซึ่งเป็นสถาบันการเงินรายใหม่ระบุไว้ในแผนนั้นยังไม่ชัดเจนหลายด้าน ทั้ง
องค์ประกอบ บทบาทว่าจะวางไว้ในส่วนไหน เป็น ธ.พาณิชย์หรือธนาคารของภาครัฐ หรือสถาบันการเงินภาคประชาชน สำหรับประเด็นการปรับ
ตัวของสถาบันการเงินไทยรองรับการแข่งขันตามกระแสโลกาภิวัฒน์ที่เรียกร้องให้ไทยเปิดเสรีทางการเงินตามแผนพัฒนาฯ ตามกรอบองค์การการค้า
โลก โดยเฉพาะการปฏิบัติตามข้อตกลงด้านการเงินกับหลายประเทศที่ต้องการให้ไทยเปิดเสรีการเงินนั้น ไม่ต้องการเห็นการเปิดเสรีการเงินตาม
กรอบการเจรจาทวิภาคีล้ำหน้าพุหภาคี และการเจรจาเปิดเสรีการเงินระหว่างไทยกับประเทศมหาอำนาจนั้น ควรเอาผลประโยชน์ของประเทศเป็น
ตัวตั้ง (ผู้จัดการรายวัน)
4. การจัดตั้งหน่วยข่าวกรองทางเศรษฐกิจของไทยอาจกระทบต่อการส่งออก นายจักรมณฑ์ ผาสุกวณิช เลขาธิการ สนง. คณะกรรมการ
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าเรื่องการจัดตั้งหน่วยข่าวกรองทางเศรษฐกิจของไทยว่า สศช. อยู่ระหว่างการ
หาหน่วยงานเพื่อรับผิดชอบงานและศึกษาโครงสร้างโดยละเอียด ควบคู่กับการทำความเข้าใจ หาแนวทาง และวิเคราะห์ทั้งระบบ เนื่องจากเป็น
เรื่องที่มีผลกระทบต่อโอกาสในการดำเนินธุรกิจและความมั่นคงของเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งปัญหาเบื้องต้นคือการขาดบุคลากรภาคสนามใน
ต่างประเทศ จึงอยากจะเสนอให้เอกอัครราชทูตไทยในแต่ละประเทศมีบทบาท มีอำนาจในการนำเสนอข่าวกรองด้านเศรษฐกิจให้มากขึ้น เพราะ
เป็นคนในพื้นที่น่าจะได้ข่าวที่ดี อย่างไรก็ตาม การมีหน่วยข่าวกรองเศรษฐกิจอาจมีผลกระทบต่อการส่งออกของไทยและนำไปสู่การล็อบบี้ การกีดกัน
สินค้าไทย ตลอดจนการขึ้นอัตราภาษีด้วย (มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าแถลงการณ์ของกรีนสแปนต่อรัฐสภาของ สรอ.จะยืนยันการขยายตัวทางเศรษฐกิจและภาวะเงินเฟ้อ รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ
13 มิ.ย.47 ประธาน ธ.กลางของ สรอ.นายอลัน กรีนสแปนมีหมายกำหนดการที่จะแถลงการณ์ต่อคณะกรรมาธิการด้านการธนาคารของวุฒิสภา สรอ.
ในวันที่ 15 มิ.ย.47 ที่จะถึงนี้ ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวกำลังพิจารณาให้กรีนสแปนซึ่งปัจจุบันมีอายุ 78 ปีแล้ว ดำรงตำแหน่งประธาน ธ.กลาง สรอ.
ต่อไปอีกเป็นสมัยที่ 5 ซึ่งคาดว่าจะเป็นสมัยสุดท้าย และตลาดเงินกำลังจับตาดูแถลงการณ์ของกรีนสแปนอย่างใกล้ชิดว่าจะบอกนัยว่าจะมีการขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยในอนาคตมากน้อยเพียงใด ซึ่งเป็นที่คาดกันว่า ธ.กลาง สรอ.จะประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงหลังการประชุม ธ.กลางในวันที่ 29 — 30
มิ.ย.47 นี้ จากระดับร้อยละ 1.0 ซึ่งต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 01 โดยจะเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี และคาดว่าจะมีการขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยตามมาอีกหลายครั้งในปีนี้ โดยอาจเหมือนตอนปี 37 ที่มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากระดับร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 6 ในปีเดียวกัน ซึ่งเจ้าหน้าที่
ระดับสูงของ ธ.กลาง สรอ. ยืนยันว่าจะไม่เห็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วเช่นในปี 37 (รอยเตอร์)
2. รมว.คลังเยอรมนีคาดว่ายอดขาดดุล งปม.ของเยอรมนีจะลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 47 เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ระดับต่ำกว่า
ร้อยละ 3 ตามข้อตกลงของอียู รายงานจากเบอร์ลินเมื่อ 12 มิ.ย.47 นิตยสารข่าวประจำสัปดาห์ชื่อ Der Spiegel เปิดเผยว่า รมว.คลัง
เยอรมนี (Hans Eichel) คาดการณ์ว่า ยอดขาดดุล งปม.ของเยอรมนีในปี 47 จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.5 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) และ
คาดว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่องต่อไปที่ระดับร้อยละ 3 ร้อยละ 2 ร้อยละ 1.5 และร้อยละ 1 ในปี 48, 49, 50 และ 51 ตามลำดับ ทั้งนี้ Der
Spiegel ได้อ้างถึงเอกสารที่จะเผยแพร่แผนการเงินของคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์หน้า ซึ่งโฆษก ก.คลังกล่าวว่า รมว.คลังเยอรมนีได้ส่งสัญญาณเกี่ยว
กับเป้าหมายในการจัดการให้ยอดขาดดุล งปม.ของเยอรมนีอยู่ที่ระดับต่ำกว่าร้อยละ 3 ในปี 48 เพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลงว่าด้วยเสถียรภาพและ
การเติบโตของอียู ที่กำหนดว่าประเทศสมาชิกไม่ควรปล่อยให้ยอดขาดดุล งปม.เกินกว่าร้อยละ 3 ของจีดีพี ซึ่งที่ผ่านมาเยอรมนีไม่สามารถปฏิบัติตาม
กฎการขาดดุล งปม.ของอียูได้เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน อนึ่ง จากการเปิดเผยข้อมูลของรอยเตอร์เมื่อวันพฤหัสบดีที่แล้ว ทำให้ เยอรมนี อิตาลี
โปแลนด์ และกรีซ กำลังหาทางแก้ไขร่างข้อตกลงของอียูในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรักษาการขาดดุล งปม. ณ ระดับปัจจุบัน ที่อาจสร้างความยาก
ลำบากให้กับสมาชิก (รอยเตอร์)
3. กรรมาธิการการค้ายุโรปร้องขอให้สมาชิกดำเนินการเจรจากันทางการค้าเพื่อหลีกเลี่ยงความล้มเหลวในการเจรจาการค้าโลก
รายงานจากเบอร์ลินเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 47 นสพ. Handelsblatt รายงานว่า นาย Pascal Lamy กรรมาธิการการค้ายุโรปได้ร้องขอให้คู่
เจรจาทางการค้าดำเนินการเจรจากันในเดือนที่กำลังจะมาถึงเพื่อหลีกเลี่ยงความล้มเหลวในการเจรจาการค้าโลก ทั้งนี้นาย Lamy ยืนยันให้ว่าให้
มีการประสานกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก สรอ. แคนาดา และออสเตรเลียในการบรรลุกรอบเป้าหมายในการเจรจาในเรื่องการให้การสนับสนุน
สินค้าทางการเกษตรในปลายเดือนก.ค. นี้ นอกจากนั้นยังได้ร้องขอให้ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ ให้หลักประกันในการเปิดตลาดเสรีโดยไม่จำกัด
ปริมาณ แก่ประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกด้วย และเห็นว่าหากการเจรจาไม่คืบหน้าหรือไม่ประสบผลสำเร็จในช่วงปลายฤดูร้อนนี้อาจจะต้องทำการ
เจรจากันในช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นช่วงที่มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสรอ. และเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมาธิการยุโรปใหม่ และหาก
การเจรจาประสบความล้มเหลวจะกระทบต่อรอบการเจรจาการค้าโลก ซึ่งผลสรุปในการเจรจาทางการค้าโลกรอบโดฮายากที่จะประสบความสำเร็จ
ในปี 48 ตามแผนที่ได้กำหนดไว้ ที่ผ่านมาการเจรจาทางการค้าโลกเริ่มที่โดฮาในปี 44 และไม่ประสบความสำเร็จ ต่อจากนั้นได้มีการประชุมกันอีก
ที่แคนคูนแม็กซิโกเมื่อก.ย.ปีที่แล้ว โดยจุดที่สำคัญและยากยิ่งในการเจรจาคือการที่สรอ.และสหภาพยุโรปให้การสนับสนุนสินค้าทางการเกษตรเป็น
จำนวนมาก ซึ่งผู้ผลิตสินค้าทางการเกษตรต้องการให้ประเทศทั้งสองยกเลิกการให้การสนับสนุนดังกล่าว (รอยเตอร์)
4. รัฐบาลจีนมีเป้าหมายพยายามให้เศรษฐกิจจีนลดความร้อนแรงลง รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 13 มิ.ย.47 นายกรัฐมนตรีจีน (Mr. Wen
Jiabao) เปิดเผยว่า รัฐบาลจีนมีเป้าหมายพยายามให้เศรษฐกิจจีนซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลกลดความร้อนแรงลง โดยรัฐบาลจีน
พยายามควบคุมการขยายตัวด้านการลงทุนที่เติบโตอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปีก่อน อันก่อให้เกิดความวิตกกังวลว่า อาจจะทำให้ภาคเศรษฐกิจของจีนขยาย
ตัวร้อนแรงเกินไป ซึ่งเป็นแรงกดดันต่อเนื่องไปยังด้านอุปทานและภาวะเงินเฟ้อให้สูงขึ้น ทั้งนี้ โครงการใช้จ่ายของภาครัฐ เช่น ถนน และโรงงาน
พลังงานไฟฟ้าที่วางแผนไว้ รัฐบาลจีนก็ชะลอโครงการลงจำนวนมากในปีนี้ เพื่อให้เศรษฐกิจของจีนลดความร้อนแรงลงอย่างแท้จริง นอกจากนี้ สำนัก
ข่าวซินหัวยังอ้างอิงถึงคำกล่าวของ นรม.จีนว่า การขยายตัวด้านการลงทุนที่ร้อนแรงเกินไป ได้ถูกลดทอนลงแล้วโดยปริมาณเงินหมุนเวียน และ
ปริมาณสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นอย่างมากก็ได้ชะลอตัวลงเช่นกัน สำหรับราคาของผลผลิตเริ่มลดลงและไม่มั่นคงเช่นแต่ก่อน หรืออาจกล่าวได้ว่า ปัจจัยที่ไม่
ค่อยมั่นคงต่อระบบเศรษฐกิจของจีนกำลังขยายกว้างออกไป ส่งผลให้การใช้เพื่อการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรของจีนในเดือน พ.ค.47 เพิ่มขึ้นเพียง
ร้อยละ 18.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัวลงจากเดือน เม.ย.ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 34.7 และเดือน มี.ค.ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 43.5 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 14/6/47 11/6/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.685 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.4788/40.7617 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 613.13/11.01 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,400/7,500 7,350/7,450 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 33.37 34.25 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 18.19*/14.59 18.19*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 8 มิ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ภาครัฐและเอกชนร่วมวางแผนพัฒนาตลาดทุนและเศรษฐกิจไทยระยะยาว นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รมว.คลัง กล่าวในการประชุม
เชิงปฏิบัติการ Top Executives’ Networking Forum 2004 : A Road to Borderless Cooperation เมื่อวันที่ 11-13 มิ.ย.47
ที่ จ.เพชรบุรี ว่า อนาคตตลาดทุนไทยจะต้องเชื่อมโยงกับตลาดทุนในภูมิภาค โดยเป็นการเชื่อมโยงหลายด้าน ทั้งระบบหลังการซื้อขาย การจด
ทะเบียน และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยตลาดทุนไทย สิงคโปร์ และมาเลเซีย จะมีการเชื่อมโยงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
ซึ่งจะเห็นผลในอีก 5-6 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ จะต้องสร้างศักยภาพทางด้านการแข่งขันของประเทศให้มีความยั่งยืน ซึ่งทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันพัฒนา
โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ 50 แห่ง (SET50) ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ในตลาดถึงร้อยละ 60 ทางด้าน นายกิตติรัตน์ ณ ระยอง
กก.ผจก.ตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวว่า ตลาดทุนไทยอยู่ในขั้นเตรียมพร้อมไปสู่การเป็นตลาดทุนที่สมบูรณ์ โดยกำลังก้าวไปสู่ตลาดตราสารอนุพันธ์ และ
หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องก็ได้ส่งเสริมและพัฒนาความรู้บุคลากรที่เกี่ยวข้อง (โพสต์ทูเดย์)
2. ธปท. ยังไม่มีความจำเป็นต้องออกมาตรการดูดซับสภาพคล่อง นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่การสายเสถียรภาพสถาบันการเงิน
ธปท. เปิดเผยถึงสภาพคล่องที่ล้นในระบบสถาบันการเงินว่า ธปท. ยังไม่มีความจำเป็นต้องออกมาตรการเพื่อดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินที่มีอยู่ เนื่อง
จากเป็นสภาพคล่องที่สะสมมาตั้งแต่หลังช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 40 ทั้งนี้ สภาพคล่องในระบบ ธ.พาณิชย์ส่วนเกินที่เป็นตัวเลขจริงมีเพียง
460,000-500,000 ล้านบาท แต่หากคิดจากสินทรัพย์ทุกอย่างที่ตีเป็นสภาพคล่องด้วยแต่ไม่รวมสินเชื่อจะมีจำนวน 840,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม
สภาพคล่องในปัจจุบันได้ลดลงบ้างแล้ว โดยจะเห็นได้จากอัตราการขยายตัวของสินเชื่อเริ่มมีมากกว่าการขยายตัวของเงินฝาก โดยตัวเลขการปล่อย
สินเชื่อของ ธ.พาณิชย์ล่าสุดขยายตัวในระดับร้อยละ 5 เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวดีอย่างต่อเนื่อง จึงช่วยลดสภาพคล่องที่ล้นลงได้ในระดับ
หนึ่ง แต่จะเป็นการลดแบบค่อยเป็นค่อยไป สำหรับอัตราดอกเบี้ยของ ธ.พาณิชย์จะมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นเพียงใดนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพคล่องที่มีอยู่
สูง แต่มีปัจจัยหลายประการที่เป็นแรงกระตุ้นให้ปรับอัตราดอกเบี้ย เช่น ธ.พาณิชย์เองต้องการขยายฐานสินเชื่อหรือไม่ ภาวะการณ์ลงทุนมีมากหรือไม่
รวมทั้งภาวะตลาดด้วย เนื่องจากปัจจุบันภาคเอกชนมีช่องทางในการเลือกระดมทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งการจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือไม่นั้นจะต้องมีการประเมิน
ภาพที่ชัดเจนอีกครั้งในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 21 มิ.ย.ที่จะถึงนี้ (ผู้จัดการรายวัน)
3. ธปท. จัดสัมมนา “ผลกระทบของแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินไทย” เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ธปท. ร่วมกับชมรมธนาคารภาคตะวัน
ออกเฉียงเหนือ จัดสัมมนาเรื่อง “ผลกระทบของแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินไทย” โดยเชิญผู้บริหารระดับสูง ธ.พาณิชย์ร่วมอภิปรายในประเด็นดัง
กล่าว ซึ่งผู้บริหาร ธ.พาณิชย์ส่วนใหญ่เห็นด้วยตามเจตนารมย์ของแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินไทยตามที่ ก.คลัง และ ธปท. ต้องการนำมาใช้เป็น
เครื่องมือจัดระบบสถาบันการเงินให้มีประสิทธิภาพและเสถียรภาพ มีการแข่งขันของผู้ให้บริการ กระจายบริการทางการเงินสู่ประชาชนทั้งประเทศ
อย่างทั่วถึง และจัดระบบสถาบันการเงินไทยในกรอบระยะเวลาที่เหมาะสม ในขณะที่ผู้บริหาร ธ.พาณิชย์บางคนให้ความเห็นว่า แผนพัฒนาฯ ค่อน
ข้างสมบูรณ์ แต่มีข้อเสียอยู่บ้างคือ เนื้อหาของแผนไม่มีการพูดถึงตลาดทุนและตลาดประกันภัย ซึ่งเป็นกองทุนระยะยาว ควรปรับตลาดทั้งสองเข้าไว้
ภายในแผนพัฒนาฯ ด้วย ส่วนบางคนกล่าวว่าแผนพัฒนาฯ ยังมีความละเอียด ความครอบคลุมและลึกซึ้งไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในส่วนของขั้นตอน
การศึกษาจัดทำแผนนั้นได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาต่างประเทศมาจัดทำ มีความชำนาญด้านการเปรียบเทียบระหว่างประเทศ แต่เรื่องภายในประเทศ
บริษัทที่ปรึกษาต่างประเทศชำนาญน้อยกว่า และต้องศึกษาข้อมูลให้มากขึ้นครอบคลุมทั้งประเทศถึงพื้นที่ชนบทไม่เฉพาะกรุงเทพฯ และปริมณฑล จะทำ
ให้แผนพัฒนาฯ มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน ธ.พาณิชย์เพื่อรายย่อยซึ่งเป็นสถาบันการเงินรายใหม่ระบุไว้ในแผนนั้นยังไม่ชัดเจนหลายด้าน ทั้ง
องค์ประกอบ บทบาทว่าจะวางไว้ในส่วนไหน เป็น ธ.พาณิชย์หรือธนาคารของภาครัฐ หรือสถาบันการเงินภาคประชาชน สำหรับประเด็นการปรับ
ตัวของสถาบันการเงินไทยรองรับการแข่งขันตามกระแสโลกาภิวัฒน์ที่เรียกร้องให้ไทยเปิดเสรีทางการเงินตามแผนพัฒนาฯ ตามกรอบองค์การการค้า
โลก โดยเฉพาะการปฏิบัติตามข้อตกลงด้านการเงินกับหลายประเทศที่ต้องการให้ไทยเปิดเสรีการเงินนั้น ไม่ต้องการเห็นการเปิดเสรีการเงินตาม
กรอบการเจรจาทวิภาคีล้ำหน้าพุหภาคี และการเจรจาเปิดเสรีการเงินระหว่างไทยกับประเทศมหาอำนาจนั้น ควรเอาผลประโยชน์ของประเทศเป็น
ตัวตั้ง (ผู้จัดการรายวัน)
4. การจัดตั้งหน่วยข่าวกรองทางเศรษฐกิจของไทยอาจกระทบต่อการส่งออก นายจักรมณฑ์ ผาสุกวณิช เลขาธิการ สนง. คณะกรรมการ
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าเรื่องการจัดตั้งหน่วยข่าวกรองทางเศรษฐกิจของไทยว่า สศช. อยู่ระหว่างการ
หาหน่วยงานเพื่อรับผิดชอบงานและศึกษาโครงสร้างโดยละเอียด ควบคู่กับการทำความเข้าใจ หาแนวทาง และวิเคราะห์ทั้งระบบ เนื่องจากเป็น
เรื่องที่มีผลกระทบต่อโอกาสในการดำเนินธุรกิจและความมั่นคงของเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งปัญหาเบื้องต้นคือการขาดบุคลากรภาคสนามใน
ต่างประเทศ จึงอยากจะเสนอให้เอกอัครราชทูตไทยในแต่ละประเทศมีบทบาท มีอำนาจในการนำเสนอข่าวกรองด้านเศรษฐกิจให้มากขึ้น เพราะ
เป็นคนในพื้นที่น่าจะได้ข่าวที่ดี อย่างไรก็ตาม การมีหน่วยข่าวกรองเศรษฐกิจอาจมีผลกระทบต่อการส่งออกของไทยและนำไปสู่การล็อบบี้ การกีดกัน
สินค้าไทย ตลอดจนการขึ้นอัตราภาษีด้วย (มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าแถลงการณ์ของกรีนสแปนต่อรัฐสภาของ สรอ.จะยืนยันการขยายตัวทางเศรษฐกิจและภาวะเงินเฟ้อ รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ
13 มิ.ย.47 ประธาน ธ.กลางของ สรอ.นายอลัน กรีนสแปนมีหมายกำหนดการที่จะแถลงการณ์ต่อคณะกรรมาธิการด้านการธนาคารของวุฒิสภา สรอ.
ในวันที่ 15 มิ.ย.47 ที่จะถึงนี้ ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวกำลังพิจารณาให้กรีนสแปนซึ่งปัจจุบันมีอายุ 78 ปีแล้ว ดำรงตำแหน่งประธาน ธ.กลาง สรอ.
ต่อไปอีกเป็นสมัยที่ 5 ซึ่งคาดว่าจะเป็นสมัยสุดท้าย และตลาดเงินกำลังจับตาดูแถลงการณ์ของกรีนสแปนอย่างใกล้ชิดว่าจะบอกนัยว่าจะมีการขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยในอนาคตมากน้อยเพียงใด ซึ่งเป็นที่คาดกันว่า ธ.กลาง สรอ.จะประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงหลังการประชุม ธ.กลางในวันที่ 29 — 30
มิ.ย.47 นี้ จากระดับร้อยละ 1.0 ซึ่งต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 01 โดยจะเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี และคาดว่าจะมีการขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยตามมาอีกหลายครั้งในปีนี้ โดยอาจเหมือนตอนปี 37 ที่มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากระดับร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 6 ในปีเดียวกัน ซึ่งเจ้าหน้าที่
ระดับสูงของ ธ.กลาง สรอ. ยืนยันว่าจะไม่เห็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วเช่นในปี 37 (รอยเตอร์)
2. รมว.คลังเยอรมนีคาดว่ายอดขาดดุล งปม.ของเยอรมนีจะลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 47 เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ระดับต่ำกว่า
ร้อยละ 3 ตามข้อตกลงของอียู รายงานจากเบอร์ลินเมื่อ 12 มิ.ย.47 นิตยสารข่าวประจำสัปดาห์ชื่อ Der Spiegel เปิดเผยว่า รมว.คลัง
เยอรมนี (Hans Eichel) คาดการณ์ว่า ยอดขาดดุล งปม.ของเยอรมนีในปี 47 จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.5 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) และ
คาดว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่องต่อไปที่ระดับร้อยละ 3 ร้อยละ 2 ร้อยละ 1.5 และร้อยละ 1 ในปี 48, 49, 50 และ 51 ตามลำดับ ทั้งนี้ Der
Spiegel ได้อ้างถึงเอกสารที่จะเผยแพร่แผนการเงินของคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์หน้า ซึ่งโฆษก ก.คลังกล่าวว่า รมว.คลังเยอรมนีได้ส่งสัญญาณเกี่ยว
กับเป้าหมายในการจัดการให้ยอดขาดดุล งปม.ของเยอรมนีอยู่ที่ระดับต่ำกว่าร้อยละ 3 ในปี 48 เพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลงว่าด้วยเสถียรภาพและ
การเติบโตของอียู ที่กำหนดว่าประเทศสมาชิกไม่ควรปล่อยให้ยอดขาดดุล งปม.เกินกว่าร้อยละ 3 ของจีดีพี ซึ่งที่ผ่านมาเยอรมนีไม่สามารถปฏิบัติตาม
กฎการขาดดุล งปม.ของอียูได้เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน อนึ่ง จากการเปิดเผยข้อมูลของรอยเตอร์เมื่อวันพฤหัสบดีที่แล้ว ทำให้ เยอรมนี อิตาลี
โปแลนด์ และกรีซ กำลังหาทางแก้ไขร่างข้อตกลงของอียูในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรักษาการขาดดุล งปม. ณ ระดับปัจจุบัน ที่อาจสร้างความยาก
ลำบากให้กับสมาชิก (รอยเตอร์)
3. กรรมาธิการการค้ายุโรปร้องขอให้สมาชิกดำเนินการเจรจากันทางการค้าเพื่อหลีกเลี่ยงความล้มเหลวในการเจรจาการค้าโลก
รายงานจากเบอร์ลินเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 47 นสพ. Handelsblatt รายงานว่า นาย Pascal Lamy กรรมาธิการการค้ายุโรปได้ร้องขอให้คู่
เจรจาทางการค้าดำเนินการเจรจากันในเดือนที่กำลังจะมาถึงเพื่อหลีกเลี่ยงความล้มเหลวในการเจรจาการค้าโลก ทั้งนี้นาย Lamy ยืนยันให้ว่าให้
มีการประสานกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก สรอ. แคนาดา และออสเตรเลียในการบรรลุกรอบเป้าหมายในการเจรจาในเรื่องการให้การสนับสนุน
สินค้าทางการเกษตรในปลายเดือนก.ค. นี้ นอกจากนั้นยังได้ร้องขอให้ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ ให้หลักประกันในการเปิดตลาดเสรีโดยไม่จำกัด
ปริมาณ แก่ประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกด้วย และเห็นว่าหากการเจรจาไม่คืบหน้าหรือไม่ประสบผลสำเร็จในช่วงปลายฤดูร้อนนี้อาจจะต้องทำการ
เจรจากันในช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นช่วงที่มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสรอ. และเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมาธิการยุโรปใหม่ และหาก
การเจรจาประสบความล้มเหลวจะกระทบต่อรอบการเจรจาการค้าโลก ซึ่งผลสรุปในการเจรจาทางการค้าโลกรอบโดฮายากที่จะประสบความสำเร็จ
ในปี 48 ตามแผนที่ได้กำหนดไว้ ที่ผ่านมาการเจรจาทางการค้าโลกเริ่มที่โดฮาในปี 44 และไม่ประสบความสำเร็จ ต่อจากนั้นได้มีการประชุมกันอีก
ที่แคนคูนแม็กซิโกเมื่อก.ย.ปีที่แล้ว โดยจุดที่สำคัญและยากยิ่งในการเจรจาคือการที่สรอ.และสหภาพยุโรปให้การสนับสนุนสินค้าทางการเกษตรเป็น
จำนวนมาก ซึ่งผู้ผลิตสินค้าทางการเกษตรต้องการให้ประเทศทั้งสองยกเลิกการให้การสนับสนุนดังกล่าว (รอยเตอร์)
4. รัฐบาลจีนมีเป้าหมายพยายามให้เศรษฐกิจจีนลดความร้อนแรงลง รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 13 มิ.ย.47 นายกรัฐมนตรีจีน (Mr. Wen
Jiabao) เปิดเผยว่า รัฐบาลจีนมีเป้าหมายพยายามให้เศรษฐกิจจีนซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลกลดความร้อนแรงลง โดยรัฐบาลจีน
พยายามควบคุมการขยายตัวด้านการลงทุนที่เติบโตอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปีก่อน อันก่อให้เกิดความวิตกกังวลว่า อาจจะทำให้ภาคเศรษฐกิจของจีนขยาย
ตัวร้อนแรงเกินไป ซึ่งเป็นแรงกดดันต่อเนื่องไปยังด้านอุปทานและภาวะเงินเฟ้อให้สูงขึ้น ทั้งนี้ โครงการใช้จ่ายของภาครัฐ เช่น ถนน และโรงงาน
พลังงานไฟฟ้าที่วางแผนไว้ รัฐบาลจีนก็ชะลอโครงการลงจำนวนมากในปีนี้ เพื่อให้เศรษฐกิจของจีนลดความร้อนแรงลงอย่างแท้จริง นอกจากนี้ สำนัก
ข่าวซินหัวยังอ้างอิงถึงคำกล่าวของ นรม.จีนว่า การขยายตัวด้านการลงทุนที่ร้อนแรงเกินไป ได้ถูกลดทอนลงแล้วโดยปริมาณเงินหมุนเวียน และ
ปริมาณสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นอย่างมากก็ได้ชะลอตัวลงเช่นกัน สำหรับราคาของผลผลิตเริ่มลดลงและไม่มั่นคงเช่นแต่ก่อน หรืออาจกล่าวได้ว่า ปัจจัยที่ไม่
ค่อยมั่นคงต่อระบบเศรษฐกิจของจีนกำลังขยายกว้างออกไป ส่งผลให้การใช้เพื่อการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรของจีนในเดือน พ.ค.47 เพิ่มขึ้นเพียง
ร้อยละ 18.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัวลงจากเดือน เม.ย.ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 34.7 และเดือน มี.ค.ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 43.5 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 14/6/47 11/6/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.685 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.4788/40.7617 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 613.13/11.01 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,400/7,500 7,350/7,450 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 33.37 34.25 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 18.19*/14.59 18.19*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 8 มิ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-