สุกร
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ภาวะการซื้อขายสุกรในสัปดาห์นี้ค่อนข้างชะลอตัว ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงทุกพื้นที่ เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคอ่อนตัวลง เพราะเป็นช่วงเปิดภาคการศึกษา ประกอบกับผู้เลี้ยงได้ระบายสุกรออกเพราะกลัวราคาจะตกไปมากกว่านี้ แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือปรับตัวลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 48.48 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 49.32 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.70 โดย
แยกเป็นรายภาค ดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 47.47 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 47.26 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 48.74 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 52.11 บาท ส่วนราคา ลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 700 บาท (บวกลบ 46บาท) ลดลงจากตัวละ 800 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 12.50
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 45.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.20 และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไก่เนื้อ
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงในบางพื้นที่ โดยเฉพาะภาคกลางซึ่งเป็นแหล่งเลี้ยงใหญ่ผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น ส่งผลให้ราคาปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ความต้องการบริโภคชะลอตัว เนื่องจากผู้บริโภคหันไปบริโภคสินค้าอื่นที่มีราคาถูกกว่า
การจ่ายเงินชดเชยพันธุ์สัตว์ปีกให้กับเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคไข้หวัดนก ในรอบแรกจะจ่ายในวันที่ 16 มิย. 47 นี้ และรอบที่ 2 ในวันที่ 22 มิย. 47 โดยจะจ่ายชดเชยค่าพันธุ์ไก่ไข่ เป็ดไข่ และห่าน ตัวละ 100 บาท ไก่เนื้อ ตัวละ 25 บาท ไก่พื้นเมือง ตัวละ 50 บาท เป็ดเนื้อ ตัวละ 60 บาท และไก่งวง ตัวละ 250 บาท
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 31.85 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.23 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.18 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้คือ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 37.97 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 28.37 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 29.87 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 34.40 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 8.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 35.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่ไก่
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงในบางพื้นที่ โดยเฉพาะภาคกลางซึ่งเป็นแหล่งเลี้ยงใหญ่ ราคายังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะช่วงนี้มีผลไม้ตามฤดูกาลออกสู่ตลาดปริมาณมากและมีราคาถูก ทำให้การบริโภคขนมหวานที่ผลิตจากไข่มีปริมาณลดลง แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือปรับตัวลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 230 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 235 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.13 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 247 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 245 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 224 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 232 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.อยู่ที่ตัวละ 27.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 260 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
1. ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 250 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 248 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.81 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 239 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 267 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 234 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 259 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 315 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 50.08 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 38.62 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 56.90 บาท ภาคใต้กิโลกรัมละ 48.98 บาท และภาคกลาง ไม่มีรายงานราคา
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.28 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 39.14 บาท สำหรับภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 22 ประจำวันที่ 7-13 มิถุนายน 2547--
-พห-
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ภาวะการซื้อขายสุกรในสัปดาห์นี้ค่อนข้างชะลอตัว ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงทุกพื้นที่ เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคอ่อนตัวลง เพราะเป็นช่วงเปิดภาคการศึกษา ประกอบกับผู้เลี้ยงได้ระบายสุกรออกเพราะกลัวราคาจะตกไปมากกว่านี้ แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือปรับตัวลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 48.48 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 49.32 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.70 โดย
แยกเป็นรายภาค ดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 47.47 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 47.26 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 48.74 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 52.11 บาท ส่วนราคา ลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 700 บาท (บวกลบ 46บาท) ลดลงจากตัวละ 800 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 12.50
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 45.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.20 และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไก่เนื้อ
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงในบางพื้นที่ โดยเฉพาะภาคกลางซึ่งเป็นแหล่งเลี้ยงใหญ่ผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น ส่งผลให้ราคาปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ความต้องการบริโภคชะลอตัว เนื่องจากผู้บริโภคหันไปบริโภคสินค้าอื่นที่มีราคาถูกกว่า
การจ่ายเงินชดเชยพันธุ์สัตว์ปีกให้กับเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคไข้หวัดนก ในรอบแรกจะจ่ายในวันที่ 16 มิย. 47 นี้ และรอบที่ 2 ในวันที่ 22 มิย. 47 โดยจะจ่ายชดเชยค่าพันธุ์ไก่ไข่ เป็ดไข่ และห่าน ตัวละ 100 บาท ไก่เนื้อ ตัวละ 25 บาท ไก่พื้นเมือง ตัวละ 50 บาท เป็ดเนื้อ ตัวละ 60 บาท และไก่งวง ตัวละ 250 บาท
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 31.85 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.23 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.18 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้คือ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 37.97 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 28.37 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 29.87 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 34.40 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 8.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 35.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่ไก่
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงในบางพื้นที่ โดยเฉพาะภาคกลางซึ่งเป็นแหล่งเลี้ยงใหญ่ ราคายังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะช่วงนี้มีผลไม้ตามฤดูกาลออกสู่ตลาดปริมาณมากและมีราคาถูก ทำให้การบริโภคขนมหวานที่ผลิตจากไข่มีปริมาณลดลง แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือปรับตัวลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 230 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 235 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.13 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 247 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 245 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 224 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 232 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.อยู่ที่ตัวละ 27.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 260 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
1. ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 250 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 248 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.81 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 239 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 267 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 234 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 259 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 315 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 50.08 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 38.62 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 56.90 บาท ภาคใต้กิโลกรัมละ 48.98 บาท และภาคกลาง ไม่มีรายงานราคา
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.28 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 39.14 บาท สำหรับภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 22 ประจำวันที่ 7-13 มิถุนายน 2547--
-พห-