แท็ก
กระทรวงอุตสาหกรรม
กระทรวงอุตสาหกรรมเร่งพัฒนาการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต หวังกระตุ้นผู้ประกอบการหันพัฒนาศักยภาพกระบวนการผลิตสินค้า หลังศึกษาพบจุดอ่อนภาคอุตสาหกรรมไทยเสียเปรียบด้านเทคโนโลยี-บุคลากร พร้อมชู 5 อุตสาหกรรมนำร่อง 5 โรงงาน ตั้งทีมผู้เชี่ยวชาญให้ความรู้ครบวงจร มั่นใจโครงการช่วยลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงได้
นายมนู เลียวไพโรจน์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ร่วมกับสถาบันไทย-เยอรมันในการจัดทำโครงการศึกษาการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต เพื่อศึกษากระบวนการผลิตและเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมรายสาขา ทำให้ทราบถึงปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนากระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
“จากผลการศึกษาการนำเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตนั้น พบว่า สามารถลดระยะเวลาการผลิตลงได้ ทำให้ลดต้นทุนการผลิต และการส่งมอบรวดเร็วขึ้นกว่าเดิม ดังนั้น การนำเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้จะช่วยสร้างผลประโยชน์ได้เป็นมูลค่ามหาศาล ซึ่งแน่นอนผลกระทบจะเกิดขึ้นต่อผู้ประกอบการโดยตรงและส่งผลต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศด้วย”นายมนู กล่าว
ด้าน นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กล่าวว่า ภายใต้การดำเนินการดังกล่าว สศอ.ได้คัดเลือก 5 อุตสาหกรรมนำร่อง ได้แก่ อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ รองเท้าแฟชั่น เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา แปรรูปผลิตผลทางการเกษตรและบรรจุภัณฑ์ อันเป็น 5 อุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีเป็นสำคัญในการพัฒนาภาคการผลิต ซึ่งได้รับความร่วมมือจากโรงงานที่สนใจเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 53 โรงงาน โดยเบื้องต้นได้คัดเลือกโรงงานต้นแบบเพื่อใช้ในโครงการศึกษาครอบคลุมทั้ง 5 อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมละ 1 โรงงานในการจัดส่งทีมผู้เชี่ยวชาญเข้าไปศึกษาวิเคราะห์ข้อบกพร่อง ตลอดจนแนะนำการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในกระบวนการผลิต คาดว่า โครงการจะเสร็จสมบูรณ์ช่วงต้นเดือนกรกฎาคมนี้
จากการศึกษาวิเคราะห์ จัดทำนโยบายและแผนในการพัฒนาอุตสาหกรรมทั้งมหภาคและรายสาขา พบว่า อุตสาหกรรมเกือบทุกประเภทมีจุดอ่อนในการพัฒนาเทคโนโลยีและบุคลากร โดยเฉพาะบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน ดังนั้น หากมีการศึกษาการใช้เทคโนโลยีของอุตสาหกรรมแต่ละสาขาให้มีความชัดเจน และสามารถประยุกต์เทคโนโลยีมาใช้เพื่อทดแทนกันได้ จะทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง และเพิ่มทักษะแรงงานได้ในอีกทางหนึ่ง
สำหรับการศึกษาโครงการดังกล่าวสศอ.ได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ในการให้ข้อมูลในเบื้องต้น เช่น กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และผู้ประกอบการใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรม เป็นต้น นอกจากนี้ มีการศึกษาและจัดเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามจาก 53 โรงงาน ซึ่งเป็นโรงงานที่ตั้งอยู่ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
ทั้งนี้ การพัฒนากระบวนการผลิต และเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมทั้ง 5 สาขานั้น แตกต่างกันไปตามประเภทและจุดอ่อนของแต่ละอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ จะมุ่งเน้นที่การพัฒนาเทคโนโลยีของแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก เนื่องจาก มีปริมาณการใช้งานในอุตสาหกรรมแม่พิมพ์สูง ทั้งนี้ กระบวนการผลิตแม่พิมพ์แต่ละครั้ง จำเป็นต้องให้มีความเที่ยงตรงสูงตามมาตรฐานความต้องการของลูกค้า ซึ่งผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ส่วนใหญ่กำลังประสบปัญหาเรื่องนี้ อีกทั้ง การส่งมอบสินค้าไม่ตรงตามระยะเวลาที่กำหนด
ส่วนอุตสาหกรรมรองเท้าแฟชั่น ปัจจุบัน พบว่า อุปสรรคสำคัญอยู่ที่การออกแบบ ซึ่งมีความซับซ้อนในการผลิตและใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ขณะที่ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ในโครงการศึกษาได้ให้ความสำคัญกับเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา เนื่องจาก มีวัตถุดิบอยู่เป็นจำนวนมากในประเทศไทย ด้าน อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ โครงการได้มีการแนะนำผู้ประกอบการให้เพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ สำหรับของเหลวในภาชนะที่เป็นขวด เนื่องจาก เป็นส่วนสนับสนุนอุตสาหกรรมอื่นๆในวงกว้าง สำหรับ อุตสาหกรรมแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักรที่ใช้แปรรูปแป้งมันสำปะหลัง เนื่องจาก มีมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์สูง สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศมูลค่ามหาศาล นอกจากนี้ได้ศึกษาการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ออกแบบเครื่องจักรผ่านคอมพิวเตอร์ [Computer Aided Engineering
] [CAE
] ซึ่งวิธีการนี้มีข้อดีที่ ไม่ต้องเสียค่าวัสดุ หากเกิดความผิดพลาดระหว่างการทดลองผลิต อีกทั้ง การจำลองเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต สามารถทดลองปฏิบัติงานจริงและคำนวณระยะเวลาในการผลิตได้
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นายมนู เลียวไพโรจน์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ร่วมกับสถาบันไทย-เยอรมันในการจัดทำโครงการศึกษาการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต เพื่อศึกษากระบวนการผลิตและเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมรายสาขา ทำให้ทราบถึงปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนากระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
“จากผลการศึกษาการนำเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตนั้น พบว่า สามารถลดระยะเวลาการผลิตลงได้ ทำให้ลดต้นทุนการผลิต และการส่งมอบรวดเร็วขึ้นกว่าเดิม ดังนั้น การนำเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้จะช่วยสร้างผลประโยชน์ได้เป็นมูลค่ามหาศาล ซึ่งแน่นอนผลกระทบจะเกิดขึ้นต่อผู้ประกอบการโดยตรงและส่งผลต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศด้วย”นายมนู กล่าว
ด้าน นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กล่าวว่า ภายใต้การดำเนินการดังกล่าว สศอ.ได้คัดเลือก 5 อุตสาหกรรมนำร่อง ได้แก่ อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ รองเท้าแฟชั่น เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา แปรรูปผลิตผลทางการเกษตรและบรรจุภัณฑ์ อันเป็น 5 อุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีเป็นสำคัญในการพัฒนาภาคการผลิต ซึ่งได้รับความร่วมมือจากโรงงานที่สนใจเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 53 โรงงาน โดยเบื้องต้นได้คัดเลือกโรงงานต้นแบบเพื่อใช้ในโครงการศึกษาครอบคลุมทั้ง 5 อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมละ 1 โรงงานในการจัดส่งทีมผู้เชี่ยวชาญเข้าไปศึกษาวิเคราะห์ข้อบกพร่อง ตลอดจนแนะนำการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในกระบวนการผลิต คาดว่า โครงการจะเสร็จสมบูรณ์ช่วงต้นเดือนกรกฎาคมนี้
จากการศึกษาวิเคราะห์ จัดทำนโยบายและแผนในการพัฒนาอุตสาหกรรมทั้งมหภาคและรายสาขา พบว่า อุตสาหกรรมเกือบทุกประเภทมีจุดอ่อนในการพัฒนาเทคโนโลยีและบุคลากร โดยเฉพาะบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน ดังนั้น หากมีการศึกษาการใช้เทคโนโลยีของอุตสาหกรรมแต่ละสาขาให้มีความชัดเจน และสามารถประยุกต์เทคโนโลยีมาใช้เพื่อทดแทนกันได้ จะทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง และเพิ่มทักษะแรงงานได้ในอีกทางหนึ่ง
สำหรับการศึกษาโครงการดังกล่าวสศอ.ได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ในการให้ข้อมูลในเบื้องต้น เช่น กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และผู้ประกอบการใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรม เป็นต้น นอกจากนี้ มีการศึกษาและจัดเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามจาก 53 โรงงาน ซึ่งเป็นโรงงานที่ตั้งอยู่ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
ทั้งนี้ การพัฒนากระบวนการผลิต และเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมทั้ง 5 สาขานั้น แตกต่างกันไปตามประเภทและจุดอ่อนของแต่ละอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ จะมุ่งเน้นที่การพัฒนาเทคโนโลยีของแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก เนื่องจาก มีปริมาณการใช้งานในอุตสาหกรรมแม่พิมพ์สูง ทั้งนี้ กระบวนการผลิตแม่พิมพ์แต่ละครั้ง จำเป็นต้องให้มีความเที่ยงตรงสูงตามมาตรฐานความต้องการของลูกค้า ซึ่งผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ส่วนใหญ่กำลังประสบปัญหาเรื่องนี้ อีกทั้ง การส่งมอบสินค้าไม่ตรงตามระยะเวลาที่กำหนด
ส่วนอุตสาหกรรมรองเท้าแฟชั่น ปัจจุบัน พบว่า อุปสรรคสำคัญอยู่ที่การออกแบบ ซึ่งมีความซับซ้อนในการผลิตและใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ขณะที่ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ในโครงการศึกษาได้ให้ความสำคัญกับเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา เนื่องจาก มีวัตถุดิบอยู่เป็นจำนวนมากในประเทศไทย ด้าน อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ โครงการได้มีการแนะนำผู้ประกอบการให้เพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ สำหรับของเหลวในภาชนะที่เป็นขวด เนื่องจาก เป็นส่วนสนับสนุนอุตสาหกรรมอื่นๆในวงกว้าง สำหรับ อุตสาหกรรมแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักรที่ใช้แปรรูปแป้งมันสำปะหลัง เนื่องจาก มีมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์สูง สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศมูลค่ามหาศาล นอกจากนี้ได้ศึกษาการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ออกแบบเครื่องจักรผ่านคอมพิวเตอร์ [Computer Aided Engineering
] [CAE
] ซึ่งวิธีการนี้มีข้อดีที่ ไม่ต้องเสียค่าวัสดุ หากเกิดความผิดพลาดระหว่างการทดลองผลิต อีกทั้ง การจำลองเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต สามารถทดลองปฏิบัติงานจริงและคำนวณระยะเวลาในการผลิตได้
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-