สศอ.เผยภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสแรก ของปี 2547 ฝ่าวิกฤติไข้หวัดนกและปัญหาภาคใต้ฉลุยเติบโตร้อยละ 4.21 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2546 อัตราการใช้กำลังการผลิต อุตสาหกรรมยานยนต์-ปูนซีเมนต์-เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์นำโด่ง รับความต้องการตลาดโต ขณะที่แนวโน้มไตรมาส2 ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่ปัจจัยเสี่ยงราคาน้ำมันขยับสูง แนะต้องเร่งส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ทั้งแก็สโซฮอล์ ก๊าซธรรมชาติ
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ.ได้สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (GDP ของภาคอุตสาหกรรม) ช่วงไตรมาสที่1 ปี 2547 พบว่า มีการขยายตัวในเกณฑ์ที่ดีมาก แม้ต้องเผชิญกับปัญหาไข้หวัดนก และความไม่สงบในภาคใต้ โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 4.21 และร้อยละ 9.28 ขณะที่ ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 1.04 และร้อยละ 10.26 ตามลำดับ
ส่วน อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 8.4 โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ ซึ่งบริษัทผู้ผลิตยานยนต์ ใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น 100% รวมถึง อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ และเมื่อพิจารณาตัวเลขการส่งออก มูลค่าการส่งออกได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 19.07 โดยมีสินค้าที่ติดอันดับต้นๆได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
อย่างไรก็ตาม จากผลการสำรวจพบว่า กลุ่มอุตสาหกรรมยาและอุตสาหกรรมรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนังกำลังเผชิญปัญหาภาวะการผลิตและจำหน่ายลดลงในส่วนของอุตสาหกรรมยา ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมไตรมาสแรกปี 2547 มีประมาณ 5,822.7 ตัน ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.8โดยยาทุกประเภทมีการผลิตลดลงอย่างมาก ขณะที่ การส่งออก ช่วงไตรมาสแรก มีมูลค่า 1,098.6 ล้านบาท ลดลง จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและไตรมาสก่อนร้อยละ 6.3 และ 4.6 ตามลำดับ สาเหตุหลักมาจาก ความต้องการของตลาดโลกลดลง โดยเฉพาะสินค้าในหมวดแวดดิ้ง ผ้ากอซ ผ้านพันแผล และสำลี รวมถึง มีการแข่งขันด้านราคากันสูง และไทยต้องสั่งนำเข้ายาจากต่างประเทศที่มีราคาแพง เพราะเรายังไม่สามารถผลิตเองได้
ด้าน อุตสาหกรรมรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง ไทยประสบปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบและต้องพึ่งพาการนำเข้า โดยหนังดิบและหนังฟอก การผลิตช่วงไตรมาสที่1 ของปี 2547 เทียบกับไตรมาส 4 ของปี 2546 ปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ -11.8 อีกทั้ง แนวโน้มการนำเข้ากลับเพิ่มขึ้นในทุกรายการ ส่วนใหญ่นำเข้ามาจากประเทศผู้นำสินค้าแฟชั่นแบรนด์เนม เช่น อิตาลี ฝรั่งเศส และจีน ซึ่งเป็นสินค้าราคาถูก และได้ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตไทยเป็นอย่างมาก โดยภาครัฐได้ร่วมกับภาคเอกชนหามาตรการกำหนดการนำเข้า เพื่อป้องกันสินค้าคุณภาพต่ำไหลทะลักเข้ามาในประเทศ ด้วยการส่งเสริมการใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศ
นอกจากนี้ สศอ. ได้ประเมินแนวโน้มภาวะอุตสาหกรรมช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2547 พบว่า แม้ภาวะอุตสาหกรรมโดยรวมยังมีแนวโน้มในการส่งออกที่กระเตื้องขึ้น แต่ต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงต่อการเติบโตที่สำคัญ คือ ภาวะราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 28.10 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในปี 2546 มาเป็น38เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในเดือนพฤษภาคม2547 คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.23 และยังคงมีแนวโน้มที่จะยังคงอยู่ในอัตราที่สูงตลอดปี ทำให้ผู้ผลิตในภาคอุตสาหกรรมต้องแบกรับต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะ ในส่วนของวัตถุดิบที่ต้องนำเข้า อย่างไรก็ตาม สศอ. ได้เร่งศึกษาถึงผลกระทบในปัญหาดังกล่าว ในเบื้องต้นเล็งเห็นว่า ควรส่งเสริมให้ใช้เชื้อเพลิงที่ผลิตได้ในประเทศ ได้แก่ แก็สโซฮอล์ รวมถึง สนับสนุนการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ แนวโน้มภาวะอุตสาหกรรมช่วงไตรมาสที่ 2 คาดว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และปิโตรเคมี ยังคงเป็นอุตสาหกรรมที่โดดเด่น โดยในกลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วนประกอบ จะยังรักษาระดับการเติบโตไว้ได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะสภาวการณ์อัตราดอกเบี้ยต่ำ และการแข่งขันของค่ายรถยนต์ต่างๆ ล้วนเป็นปัจจัยบวกสนับสนุนกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศ ขณะที่ กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยังคงได้รับอานิสงค์จากการขยายตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะ กลุ่มสินค้าเครื่องปรับอากาศในสภาพที่อากาศร้อน ทำให้มีแนวโน้มที่ดีต่อเนื่องต่อไป โดยในปี 2547 คาดว่าจะเติบโตสูงขึ้นอีกประมาณร้อยละ 10 ทั้งนี้ ช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 46.5 ในขณะที่ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 3.9
ส่วน อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีปริมาณผลิตรวม 19.25 ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.16 และ 10.44 ตามลำดับ ซึ่งเกิดจากการขยายตัวของเศรษฐกิจภาคการก่อสร้าง อันเป็นผลมาจากนโยบายกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ โดยอัตราใช้กำลังการผลิตปูนซีเมนต์ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 คิดเป็นร้อยละ 63.90 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.61 และ 13.90 ตามลำดับ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ.ได้สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (GDP ของภาคอุตสาหกรรม) ช่วงไตรมาสที่1 ปี 2547 พบว่า มีการขยายตัวในเกณฑ์ที่ดีมาก แม้ต้องเผชิญกับปัญหาไข้หวัดนก และความไม่สงบในภาคใต้ โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 4.21 และร้อยละ 9.28 ขณะที่ ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 1.04 และร้อยละ 10.26 ตามลำดับ
ส่วน อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 8.4 โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ ซึ่งบริษัทผู้ผลิตยานยนต์ ใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น 100% รวมถึง อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ และเมื่อพิจารณาตัวเลขการส่งออก มูลค่าการส่งออกได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 19.07 โดยมีสินค้าที่ติดอันดับต้นๆได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
อย่างไรก็ตาม จากผลการสำรวจพบว่า กลุ่มอุตสาหกรรมยาและอุตสาหกรรมรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนังกำลังเผชิญปัญหาภาวะการผลิตและจำหน่ายลดลงในส่วนของอุตสาหกรรมยา ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมไตรมาสแรกปี 2547 มีประมาณ 5,822.7 ตัน ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.8โดยยาทุกประเภทมีการผลิตลดลงอย่างมาก ขณะที่ การส่งออก ช่วงไตรมาสแรก มีมูลค่า 1,098.6 ล้านบาท ลดลง จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและไตรมาสก่อนร้อยละ 6.3 และ 4.6 ตามลำดับ สาเหตุหลักมาจาก ความต้องการของตลาดโลกลดลง โดยเฉพาะสินค้าในหมวดแวดดิ้ง ผ้ากอซ ผ้านพันแผล และสำลี รวมถึง มีการแข่งขันด้านราคากันสูง และไทยต้องสั่งนำเข้ายาจากต่างประเทศที่มีราคาแพง เพราะเรายังไม่สามารถผลิตเองได้
ด้าน อุตสาหกรรมรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง ไทยประสบปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบและต้องพึ่งพาการนำเข้า โดยหนังดิบและหนังฟอก การผลิตช่วงไตรมาสที่1 ของปี 2547 เทียบกับไตรมาส 4 ของปี 2546 ปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ -11.8 อีกทั้ง แนวโน้มการนำเข้ากลับเพิ่มขึ้นในทุกรายการ ส่วนใหญ่นำเข้ามาจากประเทศผู้นำสินค้าแฟชั่นแบรนด์เนม เช่น อิตาลี ฝรั่งเศส และจีน ซึ่งเป็นสินค้าราคาถูก และได้ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตไทยเป็นอย่างมาก โดยภาครัฐได้ร่วมกับภาคเอกชนหามาตรการกำหนดการนำเข้า เพื่อป้องกันสินค้าคุณภาพต่ำไหลทะลักเข้ามาในประเทศ ด้วยการส่งเสริมการใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศ
นอกจากนี้ สศอ. ได้ประเมินแนวโน้มภาวะอุตสาหกรรมช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2547 พบว่า แม้ภาวะอุตสาหกรรมโดยรวมยังมีแนวโน้มในการส่งออกที่กระเตื้องขึ้น แต่ต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงต่อการเติบโตที่สำคัญ คือ ภาวะราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 28.10 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในปี 2546 มาเป็น38เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในเดือนพฤษภาคม2547 คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.23 และยังคงมีแนวโน้มที่จะยังคงอยู่ในอัตราที่สูงตลอดปี ทำให้ผู้ผลิตในภาคอุตสาหกรรมต้องแบกรับต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะ ในส่วนของวัตถุดิบที่ต้องนำเข้า อย่างไรก็ตาม สศอ. ได้เร่งศึกษาถึงผลกระทบในปัญหาดังกล่าว ในเบื้องต้นเล็งเห็นว่า ควรส่งเสริมให้ใช้เชื้อเพลิงที่ผลิตได้ในประเทศ ได้แก่ แก็สโซฮอล์ รวมถึง สนับสนุนการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ แนวโน้มภาวะอุตสาหกรรมช่วงไตรมาสที่ 2 คาดว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และปิโตรเคมี ยังคงเป็นอุตสาหกรรมที่โดดเด่น โดยในกลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วนประกอบ จะยังรักษาระดับการเติบโตไว้ได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะสภาวการณ์อัตราดอกเบี้ยต่ำ และการแข่งขันของค่ายรถยนต์ต่างๆ ล้วนเป็นปัจจัยบวกสนับสนุนกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศ ขณะที่ กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยังคงได้รับอานิสงค์จากการขยายตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะ กลุ่มสินค้าเครื่องปรับอากาศในสภาพที่อากาศร้อน ทำให้มีแนวโน้มที่ดีต่อเนื่องต่อไป โดยในปี 2547 คาดว่าจะเติบโตสูงขึ้นอีกประมาณร้อยละ 10 ทั้งนี้ ช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 46.5 ในขณะที่ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 3.9
ส่วน อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 มีปริมาณผลิตรวม 19.25 ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.16 และ 10.44 ตามลำดับ ซึ่งเกิดจากการขยายตัวของเศรษฐกิจภาคการก่อสร้าง อันเป็นผลมาจากนโยบายกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ โดยอัตราใช้กำลังการผลิตปูนซีเมนต์ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 คิดเป็นร้อยละ 63.90 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.61 และ 13.90 ตามลำดับ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-