กรุงเทพ--16 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ท่านประธานที่เคารพ
ท่านเลขาธิการสหประชาชาติ
ท่านประธานสมัชชาใหญ่
ท่านผู้นำทั้งหลาย
รัฐมนตรีทุกท่าน
ท่านผู้แทนที่มีเกียรติ
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ข้าพเจ้ารู้สึกชื่นชมแนวคิดของประธานาธิบดีลูลาเกี่ยวกับระเบียบภูมิศาสตร์ทางการค้าแบบใหม่ และความร่วมมือในกลุ่มประเทศใต้นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศของไทยก็สะท้อนความเปลี่ยนแปลงของภูมิศาสตร์เศรษฐกิจระหว่างประเทศเช่นกัน ตั้งแต่สงครามเย็นสิ้นสุดลง การให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาจากประเทศพัฒนาแล้วก็ลดลงมาโดยตลอด อย่างน้อยจนกระทั่งเริ่มสงครามต่อต้านการก่อการร้ายเริ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน นโยบายการค้าของประเทศพัฒนาแล้วก็ตอบสนองน้อยลงต่อความจำเป็นของประเทศกำลังพัฒนา แนวโน้มดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าประเทศกลุ่มใต้คงจะต้องพึ่งพาตนเองและกันและกันมากขึ้นกว่าแต่ก่อน
นี่คือเหตุผลที่แนวคิดเรื่อง การพึ่งพาตนเอง ได้กลายเป็นหนึ่งในสองหลักการของนโยบายรัฐบาลของข้าพเจ้า ตั้งแต่ข้าพเจ้าได้เข้าดำรงตำแหน่ง รัฐบาลไทยได้ใช้นโยบายเศรษฐกิจแบบ Dual Track ซึ่งมุ่งเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจรากหญ้า พร้อมกับเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศและพลวัตรด้านภายนอก
สำหรับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจรากหญ้า การพึ่งพาตนเองเป็นปัจจัยหลักในการลดวัฒนธรรมการพึ่งพาที่สั่งสมมาชั่วหลายทศวรรษ ในด้านนี้ รัฐบาลของข้าพเจ้าได้รับแรงบันดาลใจจากปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ซึ่งมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประชาชนในระดับรากหญ้า โดยอาศัยทรัพยากรที่มีอยู่และการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในเชิงปฏิบัติ
เครื่องมือที่ดีที่สุดที่จะทำให้การพึ่งพาตนเองได้ผลคือความรู้ ประเทศไทยกำลังพยายามสร้างสังคมแห่งความรู้ เพื่อที่ประชาชนในระดับรากหญ้าจะได้เข้าถึงไม่เพียงแหล่งเงินทุนแต่ยังเข้าถึงความรู้ที่จะช่วยให้พวกเขาใช้เงินทุนเหล่านั้นให้เป็นประโยชน์ ในการนี้ เราได้ริเริ่มโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ อาทิ โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อลดความยากจน และศูนย์โทรคมนาคมหมู่บ้าน (Community Telecenters) ซึ่งมีโทรศัพท์ โทรสารและอินเตอร์เน็ตสำหรับชุมชนในชนบท
ตัวอย่างเหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนของความพยายามของไทยที่จะเพิ่มพูนความสามารถของผู้ด้อยโอกาสในสังคมในการทานกระแสโลกาภิวัตน์หรือแม้แต่ใช้ประโยชน์จากมัน
นอกจากการพึ่งพาตนเองแล้ว หลักการสำคัญอีกประการหนึ่งของนโยบายเศรษฐกิจไทย คือ ความเป็นหุ้นส่วนความเป็นหุ้นส่วน หมายถึง การที่พวกเรา — ประเทศกำลังพัฒนา — ควรลดการคาดหวังจากประเทศพัฒนาแล้ว ข้าพเจ้าไม่ได้หมายความว่า เราจะลดความสัมพันธ์กับประเทศพัฒนาแล้ว แต่หมายถึงเพียงว่า เราควรคาดหวังจากพวกเขาน้อยลง ในขณะเดียวกัน เราจำเป็นต้องหันมาร่วมมือกับประเทศกำลังพัฒนาด้วยกันมากขึ้น สิ่งแรกที่เราต้องทำคือการเสริมสร้างการปฏิสัมพันธ์กับพวกเขาในแง่นี้ ไทยมองว่ามิติแรกของความเป็นหุ้นส่วนคือการร่วมมือระหว่างประเทศใต้ด้วยกัน ซึ่งเราได้พยายามกระทำอยู่ในกรอบต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เอง เรามีกรอบความร่วมมือหลายกรอบ รวมทั้งอาเซียนและกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) เพื่อช่วยลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ และเสริมสร้างความมั่นใจในแผ่นดินใหญ่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรากำลังร่วมมือกับกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม โดยผ่านกรอบความร่วมมือใหม่ที่เรียกว่า ACMECS ด้วยเป้าประสงค์ที่จะใช้ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของอนุภูมิภาคในการก่อให้เกิดโครงการที่นำไปปฏิบัติได้จริงและตอบสนองต่อความต้องการจริงๆ ACMECS คาดว่าจะช่วยให้การรวมตัวทางเศรษฐกิจลุ่มลึกยิ่งขึ้นโดยการทำให้เกิดการค้าและการลงทุนระหว่างภูมิภาคมากขึ้นในอีกระดับหนึ่ง เรากำลังร่วมมือกับมิตรประเทศทั่วเอเชียในกรอบการหารือความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue - ACD) ซึ่งริเริ่มโดยไทยเพื่อนำภูมิภาคหลากหลายของทวีปเอเชียเข้ามาด้วยกันเพื่อสำรวจว่าเราจะร่วมมือเพื่อประโยชน์ร่วมกันได้อย่างไรบ้าง เช่นโดยการสร้างตลาดพันธบัตรเอเชียขึ้นมา การทดลองเช่นนี้ยังไม่เคยทำมาก่อน แต่จากสภาวการณ์ที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้คร่าวๆ ข้างต้น ดูเหมือนว่าได้จังหวะเวลาที่เหมาะแล้ว
แม้ว่าเราจำเป็นต้องจริงจังกับความร่วมมือระหว่างประเทศใต้มากขึ้น เราก็ยังต้องรักษาความสัมพันธ์เหนือ-ใต้ให้ราบรื่นมั่นคง มิติที่สองของความเป็นหุ้นส่วนจึงได้แก่ความร่วมมือระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา ดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวตอนเปิดประชุม วิธีที่ดีที่สุดที่แต่ละประเทศจะทำได้เพื่อให้เกิดการค้าที่เสรีและยุติธรรมคือโดยการเข้าไปมีบทบาทอย่างเต็มที่ในการเจรจาการค้าพหุภาคีภายใต้ WTO การเจรจาอาจจะยากและทำให้เสียกำลังใจ แต่ผลลัพธ์จากการเจรจาจะยุติธรรมที่สุดที่ประชาคมระหว่างประเทศสามารถกระทำได้ภายใต้ข้อจำกัดที่มีอยู่ ในขณะเดียวกัน เราจำเป็นต้องทำให้มั่นใจได้ว่ากรอบการค้าเสรีทวิภาคีหรือระดับภูมิภาคใดๆ ที่เราเจรจาจะต้องสอดคล้องกับและส่งผลดีต่อ WTO ในการประชุมเอเปคซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพเมื่อปีที่แล้ว ประเด็นนี้ได้สะท้อนจากสมาชิกหลายเขตเศรษฐกิจ ข้าพเจ้าจึงเชื่อว่าควรกล่าวย้ำอีกครั้ง
มิติที่สามของความเป็นหุ้นส่วนคือความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนากับองค์กรระหว่างประเทศ ซึ่งจำเป็นโดยที่ประเทศกำลังพัฒนามีข้อจำกัดและมีแรงกดดันที่พวกเขาจะต้องทำให้เศรษฐกิจของตนสอดคล้องกับโลก ข้อจำกัดด้านทรัพยากร ไม่ว่าจะด้านการเงิน วิชาการ หรือมนุษย์ ทำให้ประเทศกำลังพัฒนามีความยากลำบากในปฏิบัติตามพันธกิจด้านการค้าและการเงินระหว่างประเทศภายในเวลาที่กำหนดไว้ ประเทศกำลังพัฒนาเช่นไทยได้รับประโยชน์จากโครงการเสริมสร้างขีดความสามารถและกรอบความช่วยเหลือวิชาการจากหน่วยงานของสหประชาชาติเช่นอังค์ถัดและสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนาซึ่งได้ช่วยบรรเทาปัญหา ตอบสนองความต้องการและเสนอทางเลือกด้านนโยบายสำหรับประเทศกำลังพัฒนา
ท่านประธานาธิบดี ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย
ท่านผู้แทนที่เคารพ ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
สิ่งที่เราจะเป็นในวันพรุ่งนี้ขึ้นอยู่กับทางเลือกของเราในวันนี้ ทางเลือกด้านนโยบายอาจจะแตกต่างไปตามประเทศและวาระเวลา โดยขึ้นอยู่กับสภาวการณ์ของแต่ละประเทศ สิ่งที่ดีสำหรับประเทศหนึ่งอาจไม่ดีสำหรับประเทศอื่นในสถานการณ์เดียวกันก็เป็นได้ ข้าพเจ้าเชื่อว่าประเทศกำลังพัฒนาแต่ละประเทศต้องประเมินจุดอ่อนจุดแข็งของตน และใช้สิ่งที่พบนั้นมาช่วยวางแนวทางที่เหมาะสมสำหรับตน ด้วยเหตุนี้จึงสำคัญที่สุดที่จะต้องพัฒนาความเข้มแข็งของตนเอง โดยอาศัยการศึกษา การประกอบการด้านธุรกิจ ความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย และสถาบันที่เข้มแข็ง เพื่อรับมือกับความท้าทายใดๆ ก็ตามที่โลกาภิวัตน์อาจก่อขึ้นมา จากการเป็นหุ้นส่วน ความเข้มแข็งที่เราสร้างขึ้นมาโดยการช่วยเหลือตัวเองจะสามารถนำไปรวมและแบ่งปันให้กับทั้งประเทศที่กำลังพัฒนาและที่พัฒนาแล้ว ข้าพเจ้าเชื่อว่า การระมัดระวังเรื่องโลกาภิวัตน์เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว แต่เราก็ไม่ควรหวาดระแวงมันจนไม่รับทราบโอกาสจากโลกาภิวัตน์ หากเราดำเนินนโยบายที่สะท้อนถึงจุดแข็งจุดอ่อนของตัวเองและของระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ขอบคุณ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ท่านประธานที่เคารพ
ท่านเลขาธิการสหประชาชาติ
ท่านประธานสมัชชาใหญ่
ท่านผู้นำทั้งหลาย
รัฐมนตรีทุกท่าน
ท่านผู้แทนที่มีเกียรติ
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ข้าพเจ้ารู้สึกชื่นชมแนวคิดของประธานาธิบดีลูลาเกี่ยวกับระเบียบภูมิศาสตร์ทางการค้าแบบใหม่ และความร่วมมือในกลุ่มประเทศใต้นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศของไทยก็สะท้อนความเปลี่ยนแปลงของภูมิศาสตร์เศรษฐกิจระหว่างประเทศเช่นกัน ตั้งแต่สงครามเย็นสิ้นสุดลง การให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาจากประเทศพัฒนาแล้วก็ลดลงมาโดยตลอด อย่างน้อยจนกระทั่งเริ่มสงครามต่อต้านการก่อการร้ายเริ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน นโยบายการค้าของประเทศพัฒนาแล้วก็ตอบสนองน้อยลงต่อความจำเป็นของประเทศกำลังพัฒนา แนวโน้มดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าประเทศกลุ่มใต้คงจะต้องพึ่งพาตนเองและกันและกันมากขึ้นกว่าแต่ก่อน
นี่คือเหตุผลที่แนวคิดเรื่อง การพึ่งพาตนเอง ได้กลายเป็นหนึ่งในสองหลักการของนโยบายรัฐบาลของข้าพเจ้า ตั้งแต่ข้าพเจ้าได้เข้าดำรงตำแหน่ง รัฐบาลไทยได้ใช้นโยบายเศรษฐกิจแบบ Dual Track ซึ่งมุ่งเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจรากหญ้า พร้อมกับเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศและพลวัตรด้านภายนอก
สำหรับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจรากหญ้า การพึ่งพาตนเองเป็นปัจจัยหลักในการลดวัฒนธรรมการพึ่งพาที่สั่งสมมาชั่วหลายทศวรรษ ในด้านนี้ รัฐบาลของข้าพเจ้าได้รับแรงบันดาลใจจากปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ซึ่งมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประชาชนในระดับรากหญ้า โดยอาศัยทรัพยากรที่มีอยู่และการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในเชิงปฏิบัติ
เครื่องมือที่ดีที่สุดที่จะทำให้การพึ่งพาตนเองได้ผลคือความรู้ ประเทศไทยกำลังพยายามสร้างสังคมแห่งความรู้ เพื่อที่ประชาชนในระดับรากหญ้าจะได้เข้าถึงไม่เพียงแหล่งเงินทุนแต่ยังเข้าถึงความรู้ที่จะช่วยให้พวกเขาใช้เงินทุนเหล่านั้นให้เป็นประโยชน์ ในการนี้ เราได้ริเริ่มโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ อาทิ โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อลดความยากจน และศูนย์โทรคมนาคมหมู่บ้าน (Community Telecenters) ซึ่งมีโทรศัพท์ โทรสารและอินเตอร์เน็ตสำหรับชุมชนในชนบท
ตัวอย่างเหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนของความพยายามของไทยที่จะเพิ่มพูนความสามารถของผู้ด้อยโอกาสในสังคมในการทานกระแสโลกาภิวัตน์หรือแม้แต่ใช้ประโยชน์จากมัน
นอกจากการพึ่งพาตนเองแล้ว หลักการสำคัญอีกประการหนึ่งของนโยบายเศรษฐกิจไทย คือ ความเป็นหุ้นส่วนความเป็นหุ้นส่วน หมายถึง การที่พวกเรา — ประเทศกำลังพัฒนา — ควรลดการคาดหวังจากประเทศพัฒนาแล้ว ข้าพเจ้าไม่ได้หมายความว่า เราจะลดความสัมพันธ์กับประเทศพัฒนาแล้ว แต่หมายถึงเพียงว่า เราควรคาดหวังจากพวกเขาน้อยลง ในขณะเดียวกัน เราจำเป็นต้องหันมาร่วมมือกับประเทศกำลังพัฒนาด้วยกันมากขึ้น สิ่งแรกที่เราต้องทำคือการเสริมสร้างการปฏิสัมพันธ์กับพวกเขาในแง่นี้ ไทยมองว่ามิติแรกของความเป็นหุ้นส่วนคือการร่วมมือระหว่างประเทศใต้ด้วยกัน ซึ่งเราได้พยายามกระทำอยู่ในกรอบต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เอง เรามีกรอบความร่วมมือหลายกรอบ รวมทั้งอาเซียนและกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) เพื่อช่วยลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ และเสริมสร้างความมั่นใจในแผ่นดินใหญ่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรากำลังร่วมมือกับกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม โดยผ่านกรอบความร่วมมือใหม่ที่เรียกว่า ACMECS ด้วยเป้าประสงค์ที่จะใช้ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของอนุภูมิภาคในการก่อให้เกิดโครงการที่นำไปปฏิบัติได้จริงและตอบสนองต่อความต้องการจริงๆ ACMECS คาดว่าจะช่วยให้การรวมตัวทางเศรษฐกิจลุ่มลึกยิ่งขึ้นโดยการทำให้เกิดการค้าและการลงทุนระหว่างภูมิภาคมากขึ้นในอีกระดับหนึ่ง เรากำลังร่วมมือกับมิตรประเทศทั่วเอเชียในกรอบการหารือความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue - ACD) ซึ่งริเริ่มโดยไทยเพื่อนำภูมิภาคหลากหลายของทวีปเอเชียเข้ามาด้วยกันเพื่อสำรวจว่าเราจะร่วมมือเพื่อประโยชน์ร่วมกันได้อย่างไรบ้าง เช่นโดยการสร้างตลาดพันธบัตรเอเชียขึ้นมา การทดลองเช่นนี้ยังไม่เคยทำมาก่อน แต่จากสภาวการณ์ที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้คร่าวๆ ข้างต้น ดูเหมือนว่าได้จังหวะเวลาที่เหมาะแล้ว
แม้ว่าเราจำเป็นต้องจริงจังกับความร่วมมือระหว่างประเทศใต้มากขึ้น เราก็ยังต้องรักษาความสัมพันธ์เหนือ-ใต้ให้ราบรื่นมั่นคง มิติที่สองของความเป็นหุ้นส่วนจึงได้แก่ความร่วมมือระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา ดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวตอนเปิดประชุม วิธีที่ดีที่สุดที่แต่ละประเทศจะทำได้เพื่อให้เกิดการค้าที่เสรีและยุติธรรมคือโดยการเข้าไปมีบทบาทอย่างเต็มที่ในการเจรจาการค้าพหุภาคีภายใต้ WTO การเจรจาอาจจะยากและทำให้เสียกำลังใจ แต่ผลลัพธ์จากการเจรจาจะยุติธรรมที่สุดที่ประชาคมระหว่างประเทศสามารถกระทำได้ภายใต้ข้อจำกัดที่มีอยู่ ในขณะเดียวกัน เราจำเป็นต้องทำให้มั่นใจได้ว่ากรอบการค้าเสรีทวิภาคีหรือระดับภูมิภาคใดๆ ที่เราเจรจาจะต้องสอดคล้องกับและส่งผลดีต่อ WTO ในการประชุมเอเปคซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพเมื่อปีที่แล้ว ประเด็นนี้ได้สะท้อนจากสมาชิกหลายเขตเศรษฐกิจ ข้าพเจ้าจึงเชื่อว่าควรกล่าวย้ำอีกครั้ง
มิติที่สามของความเป็นหุ้นส่วนคือความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนากับองค์กรระหว่างประเทศ ซึ่งจำเป็นโดยที่ประเทศกำลังพัฒนามีข้อจำกัดและมีแรงกดดันที่พวกเขาจะต้องทำให้เศรษฐกิจของตนสอดคล้องกับโลก ข้อจำกัดด้านทรัพยากร ไม่ว่าจะด้านการเงิน วิชาการ หรือมนุษย์ ทำให้ประเทศกำลังพัฒนามีความยากลำบากในปฏิบัติตามพันธกิจด้านการค้าและการเงินระหว่างประเทศภายในเวลาที่กำหนดไว้ ประเทศกำลังพัฒนาเช่นไทยได้รับประโยชน์จากโครงการเสริมสร้างขีดความสามารถและกรอบความช่วยเหลือวิชาการจากหน่วยงานของสหประชาชาติเช่นอังค์ถัดและสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนาซึ่งได้ช่วยบรรเทาปัญหา ตอบสนองความต้องการและเสนอทางเลือกด้านนโยบายสำหรับประเทศกำลังพัฒนา
ท่านประธานาธิบดี ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย
ท่านผู้แทนที่เคารพ ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
สิ่งที่เราจะเป็นในวันพรุ่งนี้ขึ้นอยู่กับทางเลือกของเราในวันนี้ ทางเลือกด้านนโยบายอาจจะแตกต่างไปตามประเทศและวาระเวลา โดยขึ้นอยู่กับสภาวการณ์ของแต่ละประเทศ สิ่งที่ดีสำหรับประเทศหนึ่งอาจไม่ดีสำหรับประเทศอื่นในสถานการณ์เดียวกันก็เป็นได้ ข้าพเจ้าเชื่อว่าประเทศกำลังพัฒนาแต่ละประเทศต้องประเมินจุดอ่อนจุดแข็งของตน และใช้สิ่งที่พบนั้นมาช่วยวางแนวทางที่เหมาะสมสำหรับตน ด้วยเหตุนี้จึงสำคัญที่สุดที่จะต้องพัฒนาความเข้มแข็งของตนเอง โดยอาศัยการศึกษา การประกอบการด้านธุรกิจ ความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย และสถาบันที่เข้มแข็ง เพื่อรับมือกับความท้าทายใดๆ ก็ตามที่โลกาภิวัตน์อาจก่อขึ้นมา จากการเป็นหุ้นส่วน ความเข้มแข็งที่เราสร้างขึ้นมาโดยการช่วยเหลือตัวเองจะสามารถนำไปรวมและแบ่งปันให้กับทั้งประเทศที่กำลังพัฒนาและที่พัฒนาแล้ว ข้าพเจ้าเชื่อว่า การระมัดระวังเรื่องโลกาภิวัตน์เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว แต่เราก็ไม่ควรหวาดระแวงมันจนไม่รับทราบโอกาสจากโลกาภิวัตน์ หากเราดำเนินนโยบายที่สะท้อนถึงจุดแข็งจุดอ่อนของตัวเองและของระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ขอบคุณ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-