ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ออกหลักเกณฑ์มาตรการใหม่ในการตั้งสำรองของ ธพ. นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยว่า ธปท.ได้เสนอร่างประกาศหลักเกณฑ์มาตรการใหม่ในการตั้งสำรองหนี้ให้ ก.คลังพิจารณาอนุมัติแล้ว ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในครึ่งหลังปี 47
โดยเริ่มจากงวดบัญชีที่ 2 ของปีนี้ ซึ่ง ธปท.จะให้ ธพ.ทั้งระบบใช้เกณฑ์การตั้งสำรองหนี้ตามระยะเวลา โดยจะลดสัดส่วนหลักประกันลงตามระยะ
เวลาของหนี้ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ ธพ.เร่งแก้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ได้อีกทางหนึ่ง ทั้งนี้ สรุปยอดหนี้เอ็นพีแอลครั้งล่าสุด ณ
สิ้นเดือน เม.ย.47 มีจำนวน 617,598 ล.บาท หรือคิดเป็น 11.94% ของสินเชื่อรวม แบ่งเป็นเอ็นพีแอลของ ธพ.รัฐ 6.50% หรือ 95,901
ล.บาท และเอ็นพีแอลของทั้ง ธพ.ไทยและต่างประเทศ 12.11% หรือ 594,618 ล.บาท (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
2. ไอเอ็มเอฟเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยสามารถขยายตัวได้ในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า นาย Alessandro Zanello หัวหน้าฝ่ายภาคพื้น
เอเชีย-แปซิฟิก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เปิดเผยว่า หลังจากได้หารือร่วมกับ ก.คลังเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศ
ไทย พบว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 47 ไม่ดีเท่าที่ควร แต่มั่นใจว่าในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 6.5 ซึ่งถือ
เป็นอัตราที่เหมาะสม และที่ผ่านมาการดำเนินนโยบายของรัฐบาลในการฟื้นฟูเศรษฐกิจเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง จนทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างเห็น
ได้ชัด ทั้งเรื่องการส่งออก การลงทุนของภาครัฐ และการใช้จ่ายภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม ไอเอ็มเอฟเสนอแนะว่า ประเทศไทยควรติดตาม
ปัญหาเงินเฟ้อที่อาจปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเป็นวัฏจักรของทุกประเทศที่หลังจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมักจะมีปัญหาเรื่องเงินเฟ้อตามมา นอกจากนั้น
ควรระวังเรื่องการพิจารณาลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ให้เหมาะสมกับภาระหนี้สินของประเทศ รวมทั้งควรปรับปรุงปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
(เอ็นพีแอล) สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ในส่วนของปัจจัยภายนอกและภายใน ปัญหาการก่อการร้ายและความไม่แน่นอนของ
เศรษฐกิจโลก ปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ส่วนปัจจัยภายใน ได้แก่ ปัญหาความไม่สงบใน
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความมั่นใจของนักลงทุนและนักท่องเที่ยวซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโต (โลกวันนี้,
กรุงเทพธุรกิจ)
3. มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ต่ำสุดในรอบ 1 ปี ภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ณ วันที่ 15 มิ.ย.47
บรรยากาศการลงทุนโดยรวมซบเซาต่อเนื่อง โดยดัชนีแกว่งตัวในกรอบแคบๆ สลับทั้งแดนบวกและแดนลบ และปิดตลาดที่ 613.76 จุด ลดลง 0.24
จุด คิดเป็นมูลค่าการซื้อขายรวม 9,480.99 ล.บาท ซึ่งเป็นมูลค่าการซื้อขายต่ำสุดในรอบ 1 ปี นับจากวันที่ 16 มิ.ย.46 ที่มีมูลค่า 8,570.92
ล.บาท ทั้งนี้ กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ซบเซาเนื่องจากเป็นช่วงเทศกาล
ฟุตบอลยูโร ทำให้นักลงทุนชะลอการลงทุน อย่างไรก็ตาม ถือว่าตลาดหุ้นในขณะนี้อยู่ในภาวะนิ่ง หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีปัจจัยลบเข้ามากระทบอย่าง
ต่อเนื่อง ทั้งเรื่องแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ธ.กลาง สรอ. การปรับขึ้นราคาน้ำมัน และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน (กรุงเทพธุรกิจ)
4. กรมสรรพสามิตจัดเก็บภาษีได้สูงกว่าประมาณร้อยละ 14.39 ในเดือน พ.ค.47 รองอธิบดีกลุ่มภารกิจด้านจัดเก็บภาษี กรมสรรพสามิต
เปิดเผยผลการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตในเดือน พ.ค.47 ว่า กรมฯสามารถจัดเก็บภาษีได้รวมทั้งสิ้น 22,839.16 ล.บาท สูงกว่าประมาณการร้อยละ
14.39 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.29 โดยภาษีที่จัดเก็บได้มากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน จัดเก็บได้สูง
กว่าประมาณการร้อยละ 4.06 ภาษีรถยนต์ จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการร้อยละ 28.29 และภาษียาสูบ จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการร้อยละ 18.32
ทั้งนี้ จากการที่ตลาดอุตสาหกรรมยานยนต์มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ทำให้ยอดขายรถยนต์และปริมาณการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การจัดเก็บภาษีรถยนต์และ
ภาษีน้ำมันเพิ่มขึ้น (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. การสูญเสียงานกว่า 3 ล้านตำแหน่งในภาคอุตสาหกรรมของ สรอ.มีสาเหตุมาจากการส่งออกลดลง รายงานจากนิวยอร์ค เมื่อ
15 มิ.ย.47 รองประธานสมาคมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมของ สรอ. กล่าวว่าสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดการสูญเสียงานกว่า 3 ล้านตำแหน่ง
ในภาคอุตสาหกรรมของ สรอ.มาจากการส่งออกลดลง นอกจากนี้การลงทุนที่ลดลง การนำเข้าที่เพิ่มขึ้นและประสิทธิภาพในการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นก็มี
ส่วนทำให้เกิดการสูญเสียตำแหน่งงานซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 43 และเมื่อนับถึงปี 46 ตำแหน่งงานในภาคอุตสาหกรรมของ สรอ. ลดลงไปแล้วกว่า 3
ล้านตำแหน่ง ในช่วงเวลาดังกล่าว การขาดดุลการค้าของ สรอ.ในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 90 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยเป็นผลจากการส่งออก
ลดลง 70 พันล้านดอลลาร์ สรอ.และการนำเข้าเพิ่มขึ้น 20 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
2. ดัชนีราคาผู้บริโภคของ สรอ.ในเดือน พ.ค.47 เพิ่มสูงขึ้น รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 15 มิ.ย.47 กรมแรงงานของ สรอ.ราย
งานตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคของ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในเดือน พ.ค.47 เพิ่มขึ้นสูงสุดต่อเดือนนับตั้งแต่เดือน ม.ค.44 และเกินกว่าที่ตลาด
คาดไว้ล่วงหน้าว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.4 ในขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคหลัก (Core inflation) ซึ่งไม่นับรวมราคาอาหารและพลังงานเพิ่ม
ขึ้นเล็กน้อยเพียงร้อยละ 0.2 โดยในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาดัชนีราคาผู้บริโภคหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 นักเศรษฐศาสตร์จึงคาดว่า ธ.กลาง สรอ.
จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นจากระดับร้อยละ 1.0 ซึ่งต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 01 ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 29 ถึง 30 มิ.ย.47
นี้ (รอยเตอร์)
3. ยอดขายของร้านค้าปลีกใน สรอ. ขยายตัวในอัตราที่ลดลง รายงานจากนิวยอร์ค เมื่อ 15 มิ.ย.47 Redbook Research ซึ่ง
เป็นบริษัทวิจัยอิสระ รายงานผลสำรวจยอดขายของร้านค้าปลีกทั่ว สรอ.ประมาณ 9,000 ร้านว่ายอดขายนับถึงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 12 มิ.ย.47
เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับปีก่อน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ซึ่งคาดว่าเป็นผลจากการที่วันพ่อในปีนี้ตกในวันที่ช้ากว่าวัน
พ่อในปีก่อน 1 สัปดาห์ ซึ่งทำให้ยอดขายในวันพ่อล่าช้าออกไปด้วย โดยยอดขายอาหารและเครื่องใช้ในบ้านเพิ่มขึ้น ในขณะที่ยอดขายเสื้อผ้าผู้ชาย
ไม่ดีเท่าที่ควร (รอยเตอร์)
4. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ. ลดลงอยู่ที่ระดับ —20 รายงานจากนิวยอร์ค เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.47 สำนักข่าว ABC และ
Money Magazine ของ สรอ. เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ. ประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 มิ.ย.47 ลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์
ที่ 4 อยู่ที่ระดับ —20 จากระดับ —19 ในสัปดาห์ก่อน การลดลงของดัชนีความเชื่อมั่นดังกล่าวเกิดขึ้นพร้อมกับที่มีสัญญานการเพิ่มขึ้นของภาวะเงินเฟ้อ
ด้วยเช่นกัน โดยเมื่อวันอังคารที่ผ่านมารายงานของรัฐบาลแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานและอาหารในเดือน พ.ค.47 ที่ส่งผลให้ดัชนี
ราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 3 ปี สาเหตุดังกล่าวทำให้ผู้บริโภคเริ่มระมัดระวังและให้ความสนใจต่อการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและน้ำมันที่อาจ
ส่งผลต่อฐานะการเงินของตนเอง ส่วนผลในเชิงบวกก็มีเช่นกันโดยสัดส่วนฐานะการเงินส่วนบุคคลในดัชนีลดลงอย่างมากในสัปดาห์ที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ
ร้อยละ 52 ทางด้านสัดส่วนบรรยากาศการซื้อของดัชนีซึ่งมีปฏิกิริยาอ่อนไหวที่สุดต่อการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันทรงตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 34 ในขณะที่
การจัดอันดับเชิงบวกของเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 อยู่ที่ระดับร้อยละ 34 (รอยเตอร์)
5. ดัชนีราคาผู้บริโภคของอังกฤษในเดือน พ.ค.47 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 13 เดือน รายงานจากลอนดอน เมื่อ 15 มิ.ย.47 สำนักงาน
สถิติอังกฤษ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของอังกฤษในเดือน พ.ค.47 เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 13 เดือน (เม.ย.46) ที่ระดับร้อยละ 1.5
จากร้อยละ 1.2 ในเดือนก่อน ทั้งนี้ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ผู้ว่าการ ธ.กลางอังกฤษกล่าวว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งอาจจะผลักดันให้
อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นในอนาคต โดยอาจสูงเกินระดับที่ ธ.กลางและรัฐบาลกำหนดไว้ที่ร้อยละ 2 รวมทั้งอาจทำให้เกิดความเสี่ยงเกี่ยวกับราคาบ้านใน
อังกฤษที่อาจมีแนวโน้มลดลงได้ อย่างไรก็ตาม จากตัวเลขภาวะเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นยังคงเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องเฝ้าติดตามเนื่องจากระดับราคา
น้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่นักวิเคราะห์บางรายคาดการณ์ว่า ความกดดันด้านเงินเฟ้ออาจจะเริ่มผ่อนคลายมากกว่าที่จะเพิ่มสูงขึ้น
เนื่องจากระดับราคาน้ำมันเริ่มลดต่ำลง . (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 16/6/47 15/6/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.982 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.7994/41.0875 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 613.76/9.48 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,450/7,550 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 33.63 33.91 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 18.19*/14.59 18.19*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 8 มิ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.ออกหลักเกณฑ์มาตรการใหม่ในการตั้งสำรองของ ธพ. นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยว่า ธปท.ได้เสนอร่างประกาศหลักเกณฑ์มาตรการใหม่ในการตั้งสำรองหนี้ให้ ก.คลังพิจารณาอนุมัติแล้ว ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในครึ่งหลังปี 47
โดยเริ่มจากงวดบัญชีที่ 2 ของปีนี้ ซึ่ง ธปท.จะให้ ธพ.ทั้งระบบใช้เกณฑ์การตั้งสำรองหนี้ตามระยะเวลา โดยจะลดสัดส่วนหลักประกันลงตามระยะ
เวลาของหนี้ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ ธพ.เร่งแก้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ได้อีกทางหนึ่ง ทั้งนี้ สรุปยอดหนี้เอ็นพีแอลครั้งล่าสุด ณ
สิ้นเดือน เม.ย.47 มีจำนวน 617,598 ล.บาท หรือคิดเป็น 11.94% ของสินเชื่อรวม แบ่งเป็นเอ็นพีแอลของ ธพ.รัฐ 6.50% หรือ 95,901
ล.บาท และเอ็นพีแอลของทั้ง ธพ.ไทยและต่างประเทศ 12.11% หรือ 594,618 ล.บาท (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
2. ไอเอ็มเอฟเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยสามารถขยายตัวได้ในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า นาย Alessandro Zanello หัวหน้าฝ่ายภาคพื้น
เอเชีย-แปซิฟิก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เปิดเผยว่า หลังจากได้หารือร่วมกับ ก.คลังเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศ
ไทย พบว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 47 ไม่ดีเท่าที่ควร แต่มั่นใจว่าในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 6.5 ซึ่งถือ
เป็นอัตราที่เหมาะสม และที่ผ่านมาการดำเนินนโยบายของรัฐบาลในการฟื้นฟูเศรษฐกิจเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง จนทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างเห็น
ได้ชัด ทั้งเรื่องการส่งออก การลงทุนของภาครัฐ และการใช้จ่ายภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม ไอเอ็มเอฟเสนอแนะว่า ประเทศไทยควรติดตาม
ปัญหาเงินเฟ้อที่อาจปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเป็นวัฏจักรของทุกประเทศที่หลังจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมักจะมีปัญหาเรื่องเงินเฟ้อตามมา นอกจากนั้น
ควรระวังเรื่องการพิจารณาลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ให้เหมาะสมกับภาระหนี้สินของประเทศ รวมทั้งควรปรับปรุงปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
(เอ็นพีแอล) สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ในส่วนของปัจจัยภายนอกและภายใน ปัญหาการก่อการร้ายและความไม่แน่นอนของ
เศรษฐกิจโลก ปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ส่วนปัจจัยภายใน ได้แก่ ปัญหาความไม่สงบใน
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความมั่นใจของนักลงทุนและนักท่องเที่ยวซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโต (โลกวันนี้,
กรุงเทพธุรกิจ)
3. มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ต่ำสุดในรอบ 1 ปี ภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ณ วันที่ 15 มิ.ย.47
บรรยากาศการลงทุนโดยรวมซบเซาต่อเนื่อง โดยดัชนีแกว่งตัวในกรอบแคบๆ สลับทั้งแดนบวกและแดนลบ และปิดตลาดที่ 613.76 จุด ลดลง 0.24
จุด คิดเป็นมูลค่าการซื้อขายรวม 9,480.99 ล.บาท ซึ่งเป็นมูลค่าการซื้อขายต่ำสุดในรอบ 1 ปี นับจากวันที่ 16 มิ.ย.46 ที่มีมูลค่า 8,570.92
ล.บาท ทั้งนี้ กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ซบเซาเนื่องจากเป็นช่วงเทศกาล
ฟุตบอลยูโร ทำให้นักลงทุนชะลอการลงทุน อย่างไรก็ตาม ถือว่าตลาดหุ้นในขณะนี้อยู่ในภาวะนิ่ง หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีปัจจัยลบเข้ามากระทบอย่าง
ต่อเนื่อง ทั้งเรื่องแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ธ.กลาง สรอ. การปรับขึ้นราคาน้ำมัน และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน (กรุงเทพธุรกิจ)
4. กรมสรรพสามิตจัดเก็บภาษีได้สูงกว่าประมาณร้อยละ 14.39 ในเดือน พ.ค.47 รองอธิบดีกลุ่มภารกิจด้านจัดเก็บภาษี กรมสรรพสามิต
เปิดเผยผลการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตในเดือน พ.ค.47 ว่า กรมฯสามารถจัดเก็บภาษีได้รวมทั้งสิ้น 22,839.16 ล.บาท สูงกว่าประมาณการร้อยละ
14.39 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.29 โดยภาษีที่จัดเก็บได้มากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน จัดเก็บได้สูง
กว่าประมาณการร้อยละ 4.06 ภาษีรถยนต์ จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการร้อยละ 28.29 และภาษียาสูบ จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการร้อยละ 18.32
ทั้งนี้ จากการที่ตลาดอุตสาหกรรมยานยนต์มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ทำให้ยอดขายรถยนต์และปริมาณการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การจัดเก็บภาษีรถยนต์และ
ภาษีน้ำมันเพิ่มขึ้น (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. การสูญเสียงานกว่า 3 ล้านตำแหน่งในภาคอุตสาหกรรมของ สรอ.มีสาเหตุมาจากการส่งออกลดลง รายงานจากนิวยอร์ค เมื่อ
15 มิ.ย.47 รองประธานสมาคมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมของ สรอ. กล่าวว่าสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดการสูญเสียงานกว่า 3 ล้านตำแหน่ง
ในภาคอุตสาหกรรมของ สรอ.มาจากการส่งออกลดลง นอกจากนี้การลงทุนที่ลดลง การนำเข้าที่เพิ่มขึ้นและประสิทธิภาพในการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นก็มี
ส่วนทำให้เกิดการสูญเสียตำแหน่งงานซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 43 และเมื่อนับถึงปี 46 ตำแหน่งงานในภาคอุตสาหกรรมของ สรอ. ลดลงไปแล้วกว่า 3
ล้านตำแหน่ง ในช่วงเวลาดังกล่าว การขาดดุลการค้าของ สรอ.ในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 90 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยเป็นผลจากการส่งออก
ลดลง 70 พันล้านดอลลาร์ สรอ.และการนำเข้าเพิ่มขึ้น 20 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
2. ดัชนีราคาผู้บริโภคของ สรอ.ในเดือน พ.ค.47 เพิ่มสูงขึ้น รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 15 มิ.ย.47 กรมแรงงานของ สรอ.ราย
งานตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคของ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในเดือน พ.ค.47 เพิ่มขึ้นสูงสุดต่อเดือนนับตั้งแต่เดือน ม.ค.44 และเกินกว่าที่ตลาด
คาดไว้ล่วงหน้าว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.4 ในขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคหลัก (Core inflation) ซึ่งไม่นับรวมราคาอาหารและพลังงานเพิ่ม
ขึ้นเล็กน้อยเพียงร้อยละ 0.2 โดยในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาดัชนีราคาผู้บริโภคหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 นักเศรษฐศาสตร์จึงคาดว่า ธ.กลาง สรอ.
จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นจากระดับร้อยละ 1.0 ซึ่งต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 01 ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 29 ถึง 30 มิ.ย.47
นี้ (รอยเตอร์)
3. ยอดขายของร้านค้าปลีกใน สรอ. ขยายตัวในอัตราที่ลดลง รายงานจากนิวยอร์ค เมื่อ 15 มิ.ย.47 Redbook Research ซึ่ง
เป็นบริษัทวิจัยอิสระ รายงานผลสำรวจยอดขายของร้านค้าปลีกทั่ว สรอ.ประมาณ 9,000 ร้านว่ายอดขายนับถึงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 12 มิ.ย.47
เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับปีก่อน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ซึ่งคาดว่าเป็นผลจากการที่วันพ่อในปีนี้ตกในวันที่ช้ากว่าวัน
พ่อในปีก่อน 1 สัปดาห์ ซึ่งทำให้ยอดขายในวันพ่อล่าช้าออกไปด้วย โดยยอดขายอาหารและเครื่องใช้ในบ้านเพิ่มขึ้น ในขณะที่ยอดขายเสื้อผ้าผู้ชาย
ไม่ดีเท่าที่ควร (รอยเตอร์)
4. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ. ลดลงอยู่ที่ระดับ —20 รายงานจากนิวยอร์ค เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.47 สำนักข่าว ABC และ
Money Magazine ของ สรอ. เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ. ประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 มิ.ย.47 ลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์
ที่ 4 อยู่ที่ระดับ —20 จากระดับ —19 ในสัปดาห์ก่อน การลดลงของดัชนีความเชื่อมั่นดังกล่าวเกิดขึ้นพร้อมกับที่มีสัญญานการเพิ่มขึ้นของภาวะเงินเฟ้อ
ด้วยเช่นกัน โดยเมื่อวันอังคารที่ผ่านมารายงานของรัฐบาลแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานและอาหารในเดือน พ.ค.47 ที่ส่งผลให้ดัชนี
ราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 3 ปี สาเหตุดังกล่าวทำให้ผู้บริโภคเริ่มระมัดระวังและให้ความสนใจต่อการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและน้ำมันที่อาจ
ส่งผลต่อฐานะการเงินของตนเอง ส่วนผลในเชิงบวกก็มีเช่นกันโดยสัดส่วนฐานะการเงินส่วนบุคคลในดัชนีลดลงอย่างมากในสัปดาห์ที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ
ร้อยละ 52 ทางด้านสัดส่วนบรรยากาศการซื้อของดัชนีซึ่งมีปฏิกิริยาอ่อนไหวที่สุดต่อการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันทรงตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 34 ในขณะที่
การจัดอันดับเชิงบวกของเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 อยู่ที่ระดับร้อยละ 34 (รอยเตอร์)
5. ดัชนีราคาผู้บริโภคของอังกฤษในเดือน พ.ค.47 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 13 เดือน รายงานจากลอนดอน เมื่อ 15 มิ.ย.47 สำนักงาน
สถิติอังกฤษ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของอังกฤษในเดือน พ.ค.47 เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 13 เดือน (เม.ย.46) ที่ระดับร้อยละ 1.5
จากร้อยละ 1.2 ในเดือนก่อน ทั้งนี้ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ผู้ว่าการ ธ.กลางอังกฤษกล่าวว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งอาจจะผลักดันให้
อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นในอนาคต โดยอาจสูงเกินระดับที่ ธ.กลางและรัฐบาลกำหนดไว้ที่ร้อยละ 2 รวมทั้งอาจทำให้เกิดความเสี่ยงเกี่ยวกับราคาบ้านใน
อังกฤษที่อาจมีแนวโน้มลดลงได้ อย่างไรก็ตาม จากตัวเลขภาวะเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นยังคงเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องเฝ้าติดตามเนื่องจากระดับราคา
น้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่นักวิเคราะห์บางรายคาดการณ์ว่า ความกดดันด้านเงินเฟ้ออาจจะเริ่มผ่อนคลายมากกว่าที่จะเพิ่มสูงขึ้น
เนื่องจากระดับราคาน้ำมันเริ่มลดต่ำลง . (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 16/6/47 15/6/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.982 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.7994/41.0875 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 613.76/9.48 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,450/7,550 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 33.63 33.91 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 18.19*/14.59 18.19*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 8 มิ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-