ความเห็นและข้อเสนอแนะ
เกี่ยวกับแนวทางการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในส่วนภูมิภาค
1. ความเป็นมา และการดำเนินงานของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
คณะทำงานการบริการและการท่องเที่ยว สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้มี
แนวคิดในการศึกษาสภาพปัญหาของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ทั้ง 4 ภูมิภาคของประเทศไทย เพื่อนำมา
ประมวลและสังเคราะห์ จัดทำเป็นข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ตลอดจนหา
แนวทางในการบริหารจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในส่วนภูมิภาคให้เกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น โดยใน
ขั้นตอนของการดำเนินงาน คณะทำงานการบริการและการท่องเที่ยว ได้จัดประชุมสัมมนา เพื่อรับฟัง
ความเห็นและรับทราบสภาพปัญหาของภาคบริการและการท่องเที่ยว ในระดับภูมิภาค ทั้ง 4 ภาคๆ
ละ 1 ครั้ง โดยเป็นการประชุมสัมมนาร่วมระหว่างคณะทำงานฯ กับองค์กรเครือข่ายในพื้นที่ ที่เป็น
ตัวแทนของผู้เกี่ยวข้องในภาคบริการและการท่องเที่ยวสาขาต่างๆ ในภูมิภาค ซึ่งจะเป็นประโยชน์
ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และนำเสนอต่อรัฐบาลต่อไป
2. สรุปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพปัญหาและข้อเสนอแนะ จากการสัมมนาใน 4 ภูมิภาค
ของคณะทำงานการบริการและการท่องเที่ยว
ผลจากการจัดสัมมนาทั้ง 4 ภูมิภาคของประเทศ สามารถสรุปสภาพปัญหาโดยรวมของ
อุตสาหกรรมท่องเที่ยวในส่วนภูมิภาค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม
ท่องเที่ยวพอสังเขปได้ดังนี้ (รายละเอียดตามเอกสารแนบ)
สรุปสภาพปัญหาโดยรวมจากการสัมมนา
1. แผนและงบประมาณการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่บางจังหวัด ยังไม่ชัดเจน
ขาดความต่อเนื่องและครบวงจรในทุกมิติของการพัฒนา โดยเฉพาะความพร้อมด้านสาธารณูปโภค
สาธารณูปการของแหล่งท่องเที่ยว
2. คนในท้องถิ่นส่วนใหญ่ได้รับการพัฒนาความรู้ และมีความเข้าใจในเรื่องอุตสาหกรรม
การท่องเที่ยวค่อนข้างน้อย ไม่ทั่วถึง และไม่เพียงพอต่อการตอบสนองด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว
3. การประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งไม่น่าสนใจ และดึงดูดนักท่องเที่ยวเท่าที่ควร
โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ
4. การฟื้นฟู การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมประเพณีของ
ท้องถิ่น ยังไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร
5. การมีส่วนร่วม และการประสานงานในการแก้ไขปัญหาด้านการท่องเที่ยวจากหน่วยงาน
เกี่ยวข้อง ทั้งส่วนท้องถิ่น ส่วนราชการ ภาคเอกชน และประชาชน ยังมีน้อย และไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร
6. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และการบังคับใช้กฎหมายไม่ส่งเสริมและอำนวย
ประโยชน์ต่อการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว
ข้อเสนอแนะจากการสัมมนา
1. ในแต่ละจังหวัดควรดำเนินการจัดทำแผนและจัดสรรงบประมาณรองรับการพัฒนาการ
ท่องเที่ยว ตามศักยภาพพื้นที่
2. ในแต่ละจังหวัดควรมีการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับ
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่
3. ในแต่ละจังหวัดควรส่งเสริมการจัดทำระบบสารสนเทศและสื่อต่างๆ หรือประชาสัมพันธ์
การท่องเที่ยวอย่างจริงจัง
4. ในแต่ละจังหวัดควรมีความชัดแจนในแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้มีความยั่งยืน
มีการดูแลรักษา ฟื้นฟู และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ตลอดจนอนุรักษ์วัฒนธรรม
ประเพณีอย่างจริงจังโดยให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีและ
มีประสิทธิภาพ
5. ในแต่ละจังหวัดควรตั้งหน่วยงานประสานการปฏิบัติงานส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เป็นระบบ
โดยให้ส่วนท้องถิ่น ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน และภาคประชาชน มีส่วนร่วมอย่างจริงจัง
6. ควรทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวให้สอดคล้อง และอำนวยประโยชน์
ต่อธุรกิจ ท่องเที่ยว อย่างมีประสิทธิผล
3. ความเห็นและข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์เกี่ยวกับแนวทางการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ในส่วนภูมิภาคของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจากการประมวล สังเคราะห์สภาพปัญหาและ
ข้อเสนอแนะจากการสัมมนาในภูมิภาค สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเห็นควรมีนโยบายให้แต่ละ
จังหวัดเร่งดำเนินการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบและเบ็ดเสร็จ ตามแนวทางการจัดการ
อุตสาหกรรมท่องเที่ยวในเชิงยุทธศาสตร์ ดังนี้
1. ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการการท่องเที่ยวจังหวัดขึ้น โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดแบบ
บูรณาการ เป็นประธาน และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกมิติของการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ทั้ง
ระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่น ทั้งภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน และเครือข่ายประชาชน ร่วมเป็น
กรรมการ และให้ศูนย์การท่องเที่ยว กีฬา และนันทนาการจังหวัด ร่วมกับสำนักงานการท่องเที่ยว
แห่งประเทศไทย (ถ้ามี) เป็นฝ่ายเลขานุการ โดยให้มีหน้าที่ควบคุม ดูแล ติดตามและประสาน
ความร่วมมือในการจัดทำแผนพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดในภาพรวม พร้อมทั้งการ
แปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ ทั้งนี้การจัดทำแผนพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดควรให้
สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ สอดคล้องกับแผนพัฒนาประเทศและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด รวมทั้ง
นำข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่างๆ อาทิ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และงานวิจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
มาพิจารณาร่วมด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการทำงานอย่างมีเอกภาพ เป็นประโยชน์ต่อประเทศโดยรวม
ต่อท้องถิ่น และต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2. การดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด
ที่อยู่ภายใต้อำนาจการสั่งการของผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ ต้องดำเนินการให้อยู่ภายใต้แผน
และกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ได้จัดทำไว้แล้ว (ตามข้อ 1)
3. การดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นอิสระ และใช้เงินในการพัฒนาการ
ท่องเที่ยวจากรายได้ของตนเอง อาทิ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหาร
ส่วนตำบล ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการไม่สามารถสั่งการได้โดยตรง ให้มีการดำเนินการให้
ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการท่องเที่ยวทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เป็น
ที่ปรึกษา พร้อมทั้งขอความร่วมมือให้การพัฒนาการท่องเที่ยวเป็นไปตามแผนและกรอบยุทธศาสตร์ดังกล่าว
ข้างต้นด้วย รวมทั้งช่วยสนับสนุนความรู้และข้อมูลทางด้านเทคนิคที่จำเป็น ทั้งนี้เพื่อให้การส่งเสริมการ
ท่องเที่ยวเป็นไปอย่างมีเอกภาพ มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลที่ดีต่อไป
ภาคผนวก
สรุปผลจากการสัมมนารับฟังปัญหา และข้อเสนอแนะการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวใน 4 ภูมิภาค
ในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม 2546 - เดือนมีนาคม 2547 ของคณะทำงานการบริการและการท่องเที่ยว
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ตารางสรุปผลจากการสัมมนารับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะ 4 ภูมิภาค ช่วงเดือนพฤษภาคม 2546 — มีนาคม 2547
ปัญหา ข้อเสนอแนะ
ภาคเหนือ 1. ได้รับการสนับสนุน และความร่วมมือ 1. จัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว โดยระดม
จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการ ความร่วมมือ ทั้งภาครัฐ เอกชนและท้องถิ่น
พัฒนาการท่องเที่ยวน้อย 2. สร้างความรู้ความเข้าใจ การท่องเที่ยว
2. คนในท้องถิ่นได้รับความรู้ ความเข้าใจ แบบ homestay แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ
เรื่องการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการ โดยเฉพาะ ชุมชนและ นักท่องเที่ยว
ท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ และการท่องเที่ยว 3. พัฒนาการท่องเที่ยวแบบ homestay ให้ได้
แบบ Homestay ยังไม่ถูกต้อง และ มาตรฐาน จัดทำทะเบียนแหล่งท่องเที่ยวแบบ
ไม่เพียงพอ homestay และสร้างภาพลักษณ์(brand image)
3. การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว อาทิ ป้ายบอก ของการท่องเที่ยวแบบ homestayให้เป็นที่รู้จัก
ทางห้องน้ำ ที่จอดรถ ภูมิทัศน์ รวมทั้งการดูแล 4. ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวให้โดดเด่น น่าสนใจ
ฟื้นฟู อนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ และแหล่ง และหลากหลาย โดยเฉพาะการท่องเที่ยว
ท่องเที่ยว ยังไม่ได้มาตรฐาน และ เชิงวัฒนธรรม
ไม่เพียงพอ 5. สร้างความมั่นใจให้นักท่องเที่ยวในเรื่อง
4. การดูแลอนุรักษ์ หวงแหนศิลปะประเพณี ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
วัฒนธรรมพื้นถิ่น ซึ่งเป็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยว 6. ส่งเสริมให้คนในพื้นที่ทำหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์
เท่าที่ควร ยังมีน้อย ท้องถิ่น เพื่อสร้างรายได้และดูแลหวงแหน
5. บุคลากรในด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะ ทรัพยากรในท้องถิ่นของตนเองโดยออกใบอนุญาต
มัคคุเทศก์ท้องถิ่น ที่มีความรู้ในวัฒนธรรม ในลักษณะระบุพื้นที่ในการประกอบอาชีพ
พื้นถิ่นอย่างลึกซึ้ง ยังมีน้อย
6. การประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่
โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ที่ยัง
ไม่เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว ยังมีน้อย
และไม่น่าสนใจ
ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ 1. คนในท้องถิ่นได้รับความรู้ ข้อมูลแหล่ง 1. พัฒนาบุคลากรทางการท่องเที่ยว รวมทั้ง
ท่องเที่ยวในท้องถิ่นของตนน้อย บุคลากรด้าน ส่งเสริมความรอบรู้ ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวไม่เพียงพอ และระดับท้องถิ่น ในท้องถิ่นให้คนในพื้นที่ทราบอย่างลึกซึ้ง
มีประสบการณ์การบริหารจัดการน้อย รวมทั้ง โดยเฉพาะข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์
ได้รับความร่วมมือจากคนในท้องถิ่นน้อย 2. เพิ่มการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวใน
2. ผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่นไม่โดดเด่น สินค้ายัง ท้องถิ่นและส่งเสริมการจัดทำระบบ
ไม่ได้มาตรฐานการผลิตยังไม่แน่นอนสม่ำเสมอ สารสนเทศของภาค
ราคาไม่แน่นอน 3. พัฒนาผลผลิต/ผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น
3. แผนพัฒนาการท่องเที่ยวยังไม่ชัดเจน ต่อเนื่อง ให้ได้มาตรฐาน ในเชิงพาณิชย์
และเชื่อมโยงกันทั้งภูมิภาค 4. ส่งเสริมภาคเอกชนเปิดเส้นทางจัด
4. ความล้มเหลวในการผลักดันโครงการศูนย์ ทัวร์ภายในประเทศและเชื่อมโยง
การบินภาคอีสาน ประเทศเพื่อนบ้าน แบบเครื่องบิน
5. การประชาสัมพันธ์ยังไม่เพียงพอ และยังไม่น่า เช่าเหมาลำให้เป็นที่รู้จักก่อนพัฒนา
สนใจพอ รวมทั้งงานประเพณีที่สำคัญของจังหวัด เป็นศูนย์การบินในภาคอีสาน
ไม่สามารถกำหนดวันได้แน่นอนทำให้ไม่สามารถ 5. ควรเชื่อมโยงเครือข่ายการท่องเที่ยวโ
วางแผนประชาสัมพันธ์แก่นักท่องเที่ยวได้ โดยใช้จ.นครราชสีมาเป็นศูนย์กลางทั้ง
6. ภาพลักษณ์ของพื้นที่ไม่ดี ยังติดภาพของความ การคมนาคม ข้อมูล และการ ประชาสัมพันธ์
แห้งแล้ง กันดาร ยากจน และไม่มีระเบียบ หรือเป็นเมือง แม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยว
7. แหล่งท่องเที่ยวแต่ละแห่งอยู่ไกลกันมาก ทำให้ 6. ส่งเสริมการลงทุนด้านการท่องเที่ยว
เสียเวลาเดินทาง และนักท่องเที่ยวเบื่อ ในภูมิภาคขึ้น
7. เพิ่มการท่องเที่ยวแบบ MICE และสร้าง
ศูนย์ประชุมภาค
8. จัดแสดงประวัติ อารยธรรม ความเป็นมา
ของภูมิภาค อาทิ อารยธรรมขอม แหล่ง
บ้านเชียง แหล่งไดโนเสาร์โดยเฉพาะช้าง
ไดโนเสาร์ (จ.นครราชสีมา) เพื่อ
ดึงดูดนักท่องเที่ยว
ภาคกลางและภาคตะวันออก 1. การมีส่วนร่วมและการประสานงานในการ 1. จัดทำแผนบริหารจัดการพื้นที่ให้มีความต่อเนื่อง
แก้ไขปัญหาทั้งในท้องถิ่น ส่วนราชการ ครบถ้วนในทุกมิติของการพัฒนาการท่องเที่ยว
ภาค เอกชน ยังมีน้อย 2. ส่งเสริมการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูล
2. แผนการพัฒนาส่งเสริมการท่องเที่ยวไม่มี การท่องเที่ยวในทุกด้าน
ความต่อเนื่อง และไม่ครอบคลุมครบวงจร 3. ควรมีการเพิ่มเติมและแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับ
ในทุกๆ ด้าน ธุรกิจการท่องเที่ยวให้ทันสมัยและเหมาะสม
3. ผู้นำในพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว มีความรู้ 4. ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรทางการท่องเที่ยว
ความสามารถด้านการบริหารจัดการการ โดยเฉพาะผู้นำท้องถิ่น และชุมชน
ท่องเที่ยวน้อย 5. ส่งเสริมความเข้มแข็งของท้องถิ่น ให้ร่วมกัน
4. การเก็บค่าเข้าเขตอุทยานแห่งชาติในพื้นที่ แก้ไขปัญหาโดยใช้ภูมิปัญหาท้องถิ่น รวมทั้ง
ไม่เหมาะสม ประสานความร่วมมือระหว่างท้องถิ่นและภาครัฐ
5. การประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ 6. นำจุดเด่นในพื้นที่มาเป็นจุดขาย และส่งเสริม
ไม่น่าสนใจ งานหัตถกรรมพื้นถิ่น
6. ระบบสาธารณูปโภค ระบบขนส่งมวลชน 7. สร้างและพัฒนาความหลากหลายของอาชีพ/รายได้
และป้ายบอกทางยังไม่ทั่วถึง และไม่เพียงพอ 8. กำหนดลูกค้าเป้าหมายของตนเอง และพัฒนาการ
7. การท่องเที่ยวประเภทเกาะ ซึ่งพื้นที่มีจำกัด การท่องเที่ยวให้สอดรับกับเป้าหมาย
จะพบปัญหาของการบุกรุกพื้นที่สาธารณะ
และปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม
8. การเก็บค่าธรรมเนียมธุรกิจโรงแรมขัดต่อ
นโยบายภาครัฐที่มีการส่งเสริมการท่องเที่ยว
ภาคใต้ 1. คนในท้องถิ่นได้รับความรู้ ความเข้าใจ 1. จัดทำแผนพัฒนาจุดเด่นทางการท่องเที่ยว
ในเรื่องอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไม่ โดยทำการศึกษาก่อนว่าจะทำการท่องเที่ยว
เพียงพอ และจำกัดในวงแคบ ไปในด้านใด ลักษณะใด
2. แผนการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่ 2. เพิ่มการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในทุกด้าน
ไม่ต่อเนื่องและไม่ชัดเจน ทั้งภายในจังหวัด และจังหวัดใกล้เคียง
3. การสนับสนุนการสำรวจแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ 3. เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
ตลอดจนการเร่งรัดพัฒนา และฟื้นฟูอย่าง อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และพัฒนา
จริงจัง ตามหลักวิชาการมีน้อย บุคลากรทางการท่องเที่ยว
4. การประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวไม่น่าสนใจ 4. ควรมีการสนับสนุนให้มีการส่งเสริมการลงทุน
ไม่ดึงดูดใจ เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวจากภาคเอกชน
5. การส่งเสริมทางด้านกีฬา ซึ่งเป็นปัจจัยที่ 5. ส่งเสริมการพัฒนาทางด้านกีฬาเพื่อ
สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่มได้ ดึงดูดนักท่องเที่ยว
ยังมีน้อย
6. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำและ
เสนอของบประมาณขาดการวิเคราะห์และ
ประเมินโครงการการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
อย่างถูกต้องจริงจัง
ที่มา: สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
www.nesac.or.th, โทร.02-612-9222 ต่อ 118, 119 โทรสาร.02-612-6918-9