การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๒ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๑๖ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๘ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๓.๓๓ นาฬิกา โดยมีนายโภคิน พลกุล ประธาน สภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม เมื่อครบองค์ประชุม ได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
๑. กระทู้ถาม (ไม่มี)
๒. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ที่วุฒิสภาได้ลงมติตั้งกรรมาธิการ
ร่วมกันฝ่ายวุฒิสภา เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๖ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่..) พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่..) พ.ศ. ….
๓. ร่างพระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ….
๔. ร่างพระราชบัญญัติมาตราฐานการปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ พ.ศ. ….
๕. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่..) พ.ศ. ….
๖. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. ….
ที่ประชุมรับทราบ
๓. รับรองรายงานการประชุม (ไม่มี)
๔. เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
ร่างพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะ
กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว นายสิน กุมภะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย ในฐานะประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ขอนำเสนอผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด (ฉบับที่.. )พ.ศ. ….ตามที่ที่ประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรได้ลงมติรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้น ๑ คณะ กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วันนั้น บัดนี้พิจารณาเสร็จแล้ว โดยร่างฯ ฉบับนี้ไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมและไม่มี ผู้ขอแปรญัตติ
ชื่อร่างฯ ไม่มีการแก้ไข
คำปรารภ ไม่มีการแก้ไข
มาตรา ๑ มาตรา ๒ และมาตรา ๓ ไม่มีการแก้ไข
จากนั้นก็มีการลงมติเห็นชอบในวาระ ๓ ดังนี้ เห็นชอบ ๒๐๕ เสียง
จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องต่างๆ ตามระเบียบวาระต่อไปดังนี้
เรื่องด่วน
๑. ร่างพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของกรมทางหลวง
กระทรวงคมนาคมในส่วนที่เกี่ยวกับทางหลวงพิเศษและทางยกระดับอุตราภิมุข บางช่วง
ไปเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. …. ซึ่งคณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
๒. ร่างพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของกรมทางหลวง
กระทรวงคมนาคมในส่วนที่เกี่ยวกับทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๗ บางช่วงไปเป็นของ
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. …. ซึ่งคณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
ซึ่งที่ประชุมมีความเห็นตรงกันว่า ให้พิจารณารวมทั้ง ๒ ร่างฯ พร้อมกัน เพราะมีความคล้ายคลึงกัน พล.อ.ชัยอนันต์ เจริญศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม อภิปรายถึงหลักการและเหตุผลของทั้ง ๒ ร่างฯ ดังนี้
หลักการ โอนอำนาจ หน้าที่ ทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ หน้าที่ ข้าราชการ ลูกจ้าง และกิจการบริหารของกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคมในส่วนที่เกี่ยวกับทางหลวงพิเศษและทางยกระดับอุตราภิมุข บางช่วงไปเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
เหตุผล โดยที่ทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ สาย กรุงเทพฯ - บ้านฉาง ตอนกรุงเทพฯ ถึงทางแยกต่างระดับบางพระ ระหว่างช่วงกิโลเมตรที่ ๐ - กิโลเมตรที่ ๗๘ รวมทางแยกไปบรรจบทางหลวงหมายเลข ๓๔ ระหว่างกิโลเมตรที่ ๐ - กิโลเมตรที่ ๒ ทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ สายวงแหวนรอบนอกตอนบางประอินทร์ - บางพลี ระหว่างกิโลเมตรที่ ๐ - กิโลเมตรที่ ๖๕+ และทางยกระดับอุตราภิมุข ซึ่งกรมทางหลวงดำเนินการก่อสร้างและบริหารกิจการในลักษณะที่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม ค่าผ่านทาง ซึ่งมีลักษณะซ้ำซ้อนกับการทางพิเศษ หากโอนทรัพย์สินหรือกิจการดังกล่าวให้การทางพิเศษฯ เป็นผู้บริหารจัดการย่อมจะเกิดประโยชน์ประสิทธิภาพและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ยิ่งขึ้น
สมาชิกฯ บางส่วนอภิปรายเห็นด้วยในทั้ง ๒ ร่างฯ ดังนี้ คือ เห็นว่าเป็นผลดี เพราะ หลักการถูกต้องและเหมาะสม เนื่องจากในปัจจุบันปัญหาการจราจรนับวันยิ่งจะรุนแรงมากขึ้น จึงเป็น การดีที่เชื่อมต่อระบบทางหลวงที่จัดเก็บค่าผ่านทางให้อยู่ภายใต้การบริหารเดียวกัน การที่มีหลายหน่วยงานดูแลนั้นจะเป็นอุปสรรคในการบริการประชาชนจึงเห็นว่าการโอนร่างฯ ทั้ง ๒ ที่มีพันธกิจ และ
ภารกิจเหมือนกันจะเป็นประโยชน์อย่างมาก เช่นในร่างฯ ฉบับแรก มาตรา ๔ บรรดาหนี้สิน ข้อผูกพันที่เกิดขึ้นก่อนพระราชบัญญัติฯนี้ใช้บังคับนั้นไม่ให้โอน มาตรา ๔ (๒) ในกรณีที่เป็นคู่ความกันอยู่ก็ให้เป็น คู่ความเดิม งบประมาณนั้นก็ให้เป็นของแต่ละหน่วยงานตามเดิมไม่ให้โอนไป ส่วนใน (๔) และ (๕) นั้น ที่ดินก็ยังเป็นที่ดินของกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคมอยู่ แต่การทางพิเศษฯ มีสิทธิใช้ที่ดินที่เป็นที่ตั้งอาคารและศูนย์ก็ยังคงเป็นที่ดินของราชพัสดุอยู่ การที่จะโอนหน่วยงานของส่วนราชการให้เป็นของ รัฐวิสาหกิจก็เป็นของส่วนราชการของรัฐบาลทั้งสิ้น
สมาชิกฯบางส่วนอภิปรายไม่เห็นด้วยกับทั้ง ๒ ร่างฯ เพราะการทางพิเศษฯ ไม่ได้สร้าง ไม่ได้เช่า ไม่ได้ลงทุนใดๆ เลย แต่มีสิทธิที่จะเก็บผลประโยชน์ และร่างฯ ทั้ง ๒ นี้จะเป็นการนำสมบัติของชาติออกมาขาย ค่าเวนคืน คดีต่าง ๆ ที่ยังค้างอยู่ และถนนที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จนั้น กรมทางหลวงจะต้องดูแลต่อไป และกรมทางหลวงก็ใช้งบประมาณแผ่นดินที่นำมาจากภาษีของประชาชนมาสร้างถนนต่าง ๆ แต่สิทธิประโยชน์และรายได้ต่าง ๆ ก็จะโอนไปให้การทางพิเศษฯ ที่เป็นรัฐวิสาหกิจ และสมาชิกฯเป็นห่วงว่ามีนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยจะนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายในปี ๒๕๔๙ ซึ่งสมาชิกฯ เห็นว่า เป็นการนำประโยชน์ของประชาชนทั้งประเทศขายไปเป็นของกลุ่มทุนหรือเอกชนเพียงบางกลุ่มเท่านั้น ซึ่งอาจจะเป็นต่างชาติด้วย และถ้าไม่โอนอำนาจหน้าที่ตามร่างฯ ทั้ง ๒ นี้ ไปให้การทางพิเศษนั้นอีก ๑๐ ปี ประชาชนมีโอกาสจะได้ใช้ทางมอเตอร์เวย์ และได้ใช้ทางด่วนอุตราภิมุขฟรี นี่คือสิทธิและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ และสิทธิประโยชน์ของข้าราชการที่จะโอนไปนั้นให้ได้รับ เงินเดือน รวมทั้งสิทธิประโยชน์ต่างๆ เท่าที่เคยได้รับอยู่ หรือถ้าไม่ไปก็ไม่มีทางเลือก มีแต่ออกจากทางราชการ เพราะราชการยุบตำแหน่งทางราชการ โดยการเลิกจ้างโดยไม่ถือว่าเป็นความผิดและได้รับบำเหน็จตามระเบียบของกระทรวงการคลัง
พล.อ.ชัยอนันต์ เจริญศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม อภิปรายถึงภาระหน้าที่ของกรมทางหลวงในการจัดการบริการทางหลวงให้กับประชาชนในการสัญจรไปมา การคมนาคม การขนส่งสินค้าของกระทรวงคมนาคมโดยกรมทางหลวง ซึ่งเส้นทางที่กรมทางหลวง ให้การรับผิดชอบมีประมาณ ๕๓,๐๐๐ กิโลเมตร สำหรับทางหลวงของกรมทางหลวง มี ๓ ชนิด คือ ๑. ทางหลวงระหว่างจังหวัด ๒. ทางหลวงพิเศษ และ ๓. ทางหลวงยกระดับ ซึ่ง ๒ ชนิดหลังนั้นจะทำการโอนอำนาจและกิจการให้กับการทางพิเศษฯ งบประมาณในการสร้างทางหลวงนั้นไม่ได้รับมากนัก แต่งบฯ ในการซ่อมแซม และบำรุงรักษามีจำนวนสูง ซึ่งถ้าโอนทางหลวงตามร่างฯ ทั้ง ๒ นั้นไปให้การทางพิเศษฯ ก็จะทำให้ลดภาระหน้าที่ของกรมทางหลวง เพื่อไปมุ่งเน้นในการพัฒนาเส้นทางระหว่างจังหวัดต่าง ๆ มากขึ้น แม้จะโอนทางฯ ไปแล้วนั้น การทางพิเศษฯ ก็ยังอยู่ในการดูแลของกระทรวงคมนาคม ดังนั้นการจัดเก็บค่าผ่านทางคงเป็นไปตามเดิม และการโอนครั้งนี้ไม่ผิดวัตถุประสงค์ของการเวนคืน เพราะโอนอำนาจในการบริหารงานและสิ่งก่อสร้าง แต่ที่ดินยังเป็นของกรมทางหลวงอยู่ในเรื่อง
ข้าราชการของกรมทางหลวง ซึ่งมีอยู่จำนวนไม่มากนั้นก็จะยังเป็นข้าราชการของกรมทางหลวงต่อไปตามเดิม ส่วนลูกจ้างชั่วคราวนั้นจะได้รับค่าตอบแทนมากกว่าเดิม ซึ่งข้าราชการมีสิทธิที่จะเลือกว่าจะไปอยู่กับการทางพิเศษฯ หรือไม่ ยกเว้นลูกจ้างชั่วคราว ต่อข้อถามที่ว่า รายได้จากการเก็บค่าผ่านทางนั้นก็จะอยู่ที่กระทรวงการคลังไม่ได้โอนไปให้การทางพิเศษฯ จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติรับหลักการในวาระ ที่ ๑ แห่งร่างพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ในส่วนที่เกี่ยวกับทางหลวงพิเศษและทางยกระดับอุตราภิมุขบางช่วง ไปเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. …. ด้วยคะแนน ๒๘๕ เสียง ไม่รับหลักการ ๔๑ เสียง งดออกเสียง ๓ เสียง และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ ๓๕ คน และร่างพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ในส่วนที่เกี่ยวกับทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๗ บางช่วงไปเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. …. ด้วยคะแนน ๒๗๖ เสียง ไม่รับหลักการ ๓๕ เสียง งดออกเสียง ๑ เสียง และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ ๓๕ คน
๓. ร่างพระราชบัญญัติสวนป่า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๒ ฉบับขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ ร่างพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ และนายนพดล พลเสน เป็นผู้เสนอ และร่างพระราชบัญญัติสวนป่า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งนายวุฒิพงศ์ ฉายแสง กับคณะ เป็นผู้เสนอ
นายยงยุทธ ติยะไพรัช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี พรรคชาติไทย และ
นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทรา พรรคไทยรักไทย ได้แถลงหลักการและเหตุผลการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ ดังนี้
หลักการ
๑. กำหนดให้สวนป่าหมายถึงที่ดินที่ได้ขึ้นทะเบียนเพื่อทำการปลูกและบำรุงรักษา
ต้นไม้ที่เป็นไม้หวงห้ามตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้และไม้อื่น ๆ ทั่วไป
๒. กำหนดที่ดินที่อนุญาตให้ถางป่าตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้เฉพาะ เพื่อทำการ
สวนป่า สามารถขึ้นทะเบียนเป็นสวนป่า แต่พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องตรวจสอบที่ดินดังกล่าวก่อนขึ้น
ทะเบียนเป็นสวนป่า
๓. การยกเว้นค่าภาคหลวง ค่าบำรุงป่า ค่าธรรมเนียม ตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวน
แห่งชาติ รวมทั้งค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ สำหรับไม้ที่ได้มาจากการทำสวนป่า
๔. การเก็บค่า ซึ่งเป็นการเก็บหา หรือการค้าที่มีไว้ในครอบครองหรือนำเคลื่อนที่ ซึ่ง
บรรดาของป่าเฉพาะถ่านไม้ เปลือกไม้ ยางไม้ หน่อไม้ หวาย ครั่ง รวงผึ้ง น้ำผึ้ง ขี้ผึ้ง กล้วยไม้ และเห็ดในสวนป่า จะสามารถทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ และได้รับการยกเว้นค่าบำรุงป่าตามกฎหมาย แต่ในการค้ามีไว้ครอบครองหรือนำเคลื่อนที่ ผู้ทำสวนป่าต้องทำหนังสือและรับรองบัญชีแสดงรายการของป่าเหล่านี้กำกับไว้
๕. กำหนดโทษผู้ทำสวนป่าที่ทำหนังสือรับรองหรือบัญชีแสดงรายการตามมาตรา
๑๔ ทวิ อันเป็นเท็จ
เหตุผล เนื่องจากปัจจุบันการทำสวนป่าตามพระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ นั้น มีจำกัดเฉพาะที่เป็นไม้หวงห้ามตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้เท่านั้น และที่ดินที่มีใบอนุญาตให้ถางป่า ตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้เฉพาะ เพื่อการทำสวนป่าซึ่งไม่สามารถนำมาขึ้นทะเบียนเป็นสวนป่าได้ จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อให้การทำสวนป่าครอบคลุมถึงไม้ทุกประเภทและให้สามารถนำที่ดินที่มีใบอนุญาตให้ถางป่าตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้เฉพาะเพื่อการทำสวนป่า นำมาขึ้นทะเบียนเป็นสวนป่าได้ รวมทั้งจะได้มีการยกเว้นค่าภาคหลวง ค่าบำรุงป่า ค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ สำหรับไม้ที่ได้นำมาจากสวนป่าด้วย เพื่อเป็นการส่งเสริมจูงใจและสร้างสวนป่าให้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้จะมีการยกเว้น การเก็บ หา ค้า ซึ่งมีไว้ในครอบครองหรือนำเคลื่อนที่บรรดาของป่าตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้และกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ โดยเฉพาะถ่านไม้ เปลือกไม้ ยางไม้ หน่อไม้ หวาย ครั่ง รวงผึ้ง น้ำผึ้ง ขี้ผึ้ง กล้วยไม้ และเห็ด ในสวนป่า สามารถจะกระทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ที่ไม่ต้องเสียค่าภาคหลวงและ ค่าบำรุงป่า
โดยสมาชิกได้อภิปรายสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว และตั้งข้อสังเกต ให้กรรมาธิการวิสามัญศึกษาถึงการที่รัฐบาลเสียประโยชน์จากการไม่สามารถเก็บค่าภาคหลวง ค่าบำรุงป่า และค่าธรรมเนียมป่า รวมทั้งขอให้ลดการปลูกป่าภาครัฐลง โดยเฉพาะป่าชายเลน เพราะเมื่อกฎหมายฉบับนี้บังคับใช้ป่าภาคเอกชนก็จะเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนขอให้รัฐบาลส่งเสริมให้มีการค้นคว้าวิจัยไม้แต่ละประเภท โดยเฉพาะไม้ที่จะนำไปใช้ในการก่อสร้าง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ไม้ และควรหาวิธีการป้องกันการทุจริตในการแสวงหาผลประโยชน์จากป่า นอกจากนี้ควรส่งเสริมให้ทำสวนป่าโดยปลูกป่าไม้ชนิดดีที่เหมาะสมกับที่ดินในพื้นที่นั้น ๆ ด้วย
นายยงยุทธ ติยะไพรัช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม อภิปรายตอบข้อซักถามของสมาชิกว่าการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติสวนป่านั้นเป็นเพียงวิธีหนึ่งในการแก้ไขปัญหาป่าไม้เท่านั้น โดยเฉพาะในเรื่องของพื้นที่ป่าต่าง ๆ ที่ยังเกิดปัญหาอยู่มาก เช่น พื้นที่ที่มีความทับซ้อนกันในหลายหน่วยงาน และเรื่องของกฎหมายป่าไม้ ซึ่งทางรัฐบาลได้
เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนและให้ราชการกับประชาชนมีสิทธิเท่าเทียมกันด้วย ซึ่งพระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นพระราชบัญญัติที่เสริมสร้างศักยภาพของประชาชนในการช่วยฟื้นฟูและใช้ป่าไม้ ป่าเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยจะเป็นการทดแทนการตัดไม้ในป่าหรือเขต ต้นน้ำลำธารต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นการเปลี่ยนแนวคิดในการปลูกป่า โดยได้มอบหมายให้องค์การบริหารส่วนตำบลและประชาชนดำเนินการปลูกป่า ฟื้นฟูต้นน้ำ ซึ่งรัฐบาลจะเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณต่าง ๆ สำหรับเรื่องของเขตที่ดินหรือ ส.ป.ก. นั้น จากการตรวจสอบพบว่ายังมีหลายพื้นที่ที่มีความทับซ้อนกับพื้นที่ควรจะออกเป็นโฉนด และพื้นที่ที่ควรจะเป็นเขตป่าไม้หรืออุทยาน ซึ่งคาดว่าขณะนี้จะมีพื้นที่ประมาณ ๓๐ ล้านไร่ หรือ ๒๕๔ อำเภอ ที่จะต้องมีการปรับปรุงแก้ไข โดยจะมอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศเพิกถอนเขต ส.ป.ก. ที่ไม่ควรจะเป็น ส.ป.ก. และให้คงไว้ซึ่ง ส.ป.ก. ที่ควรจะเป็น ส.ป.ก. ทั้งนี้รัฐบาลได้เร่งดำเนินการใกล้จะเสร็จแล้ว รวมทั้งจะดำเนินการสร้างนิคมหัตถกรรมในพื้นที่ล่อแหลมต่อการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า เพื่อเป็นการสร้างอาชีพให้กับประชาชนและเป็นผลดีต่อ การท่องเที่ยวด้วย จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติรับหลักการในวาระที่ ๑ แห่งร่างพระราชบัญญัติสวนป่า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ด้วยคะแนน ๒๙๓ เสียง และมีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญจำนวน ๓๕ คน กำหนดแปรญัตติภายใน ๗ วัน โดยยึดตามร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลัก
ปิดประชุมเวลา ๑๘.๓๐ นาฬิกา
-----------------------------------------
๑. กระทู้ถาม (ไม่มี)
๒. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ที่วุฒิสภาได้ลงมติตั้งกรรมาธิการ
ร่วมกันฝ่ายวุฒิสภา เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๖ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่..) พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่..) พ.ศ. ….
๓. ร่างพระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ….
๔. ร่างพระราชบัญญัติมาตราฐานการปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ พ.ศ. ….
๕. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่..) พ.ศ. ….
๖. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. ….
ที่ประชุมรับทราบ
๓. รับรองรายงานการประชุม (ไม่มี)
๔. เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
ร่างพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะ
กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว นายสิน กุมภะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย ในฐานะประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ขอนำเสนอผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด (ฉบับที่.. )พ.ศ. ….ตามที่ที่ประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรได้ลงมติรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้น ๑ คณะ กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วันนั้น บัดนี้พิจารณาเสร็จแล้ว โดยร่างฯ ฉบับนี้ไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมและไม่มี ผู้ขอแปรญัตติ
ชื่อร่างฯ ไม่มีการแก้ไข
คำปรารภ ไม่มีการแก้ไข
มาตรา ๑ มาตรา ๒ และมาตรา ๓ ไม่มีการแก้ไข
จากนั้นก็มีการลงมติเห็นชอบในวาระ ๓ ดังนี้ เห็นชอบ ๒๐๕ เสียง
จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องต่างๆ ตามระเบียบวาระต่อไปดังนี้
เรื่องด่วน
๑. ร่างพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของกรมทางหลวง
กระทรวงคมนาคมในส่วนที่เกี่ยวกับทางหลวงพิเศษและทางยกระดับอุตราภิมุข บางช่วง
ไปเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. …. ซึ่งคณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
๒. ร่างพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของกรมทางหลวง
กระทรวงคมนาคมในส่วนที่เกี่ยวกับทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๗ บางช่วงไปเป็นของ
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. …. ซึ่งคณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
ซึ่งที่ประชุมมีความเห็นตรงกันว่า ให้พิจารณารวมทั้ง ๒ ร่างฯ พร้อมกัน เพราะมีความคล้ายคลึงกัน พล.อ.ชัยอนันต์ เจริญศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม อภิปรายถึงหลักการและเหตุผลของทั้ง ๒ ร่างฯ ดังนี้
หลักการ โอนอำนาจ หน้าที่ ทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ หน้าที่ ข้าราชการ ลูกจ้าง และกิจการบริหารของกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคมในส่วนที่เกี่ยวกับทางหลวงพิเศษและทางยกระดับอุตราภิมุข บางช่วงไปเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
เหตุผล โดยที่ทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ สาย กรุงเทพฯ - บ้านฉาง ตอนกรุงเทพฯ ถึงทางแยกต่างระดับบางพระ ระหว่างช่วงกิโลเมตรที่ ๐ - กิโลเมตรที่ ๗๘ รวมทางแยกไปบรรจบทางหลวงหมายเลข ๓๔ ระหว่างกิโลเมตรที่ ๐ - กิโลเมตรที่ ๒ ทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ สายวงแหวนรอบนอกตอนบางประอินทร์ - บางพลี ระหว่างกิโลเมตรที่ ๐ - กิโลเมตรที่ ๖๕+ และทางยกระดับอุตราภิมุข ซึ่งกรมทางหลวงดำเนินการก่อสร้างและบริหารกิจการในลักษณะที่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม ค่าผ่านทาง ซึ่งมีลักษณะซ้ำซ้อนกับการทางพิเศษ หากโอนทรัพย์สินหรือกิจการดังกล่าวให้การทางพิเศษฯ เป็นผู้บริหารจัดการย่อมจะเกิดประโยชน์ประสิทธิภาพและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ยิ่งขึ้น
สมาชิกฯ บางส่วนอภิปรายเห็นด้วยในทั้ง ๒ ร่างฯ ดังนี้ คือ เห็นว่าเป็นผลดี เพราะ หลักการถูกต้องและเหมาะสม เนื่องจากในปัจจุบันปัญหาการจราจรนับวันยิ่งจะรุนแรงมากขึ้น จึงเป็น การดีที่เชื่อมต่อระบบทางหลวงที่จัดเก็บค่าผ่านทางให้อยู่ภายใต้การบริหารเดียวกัน การที่มีหลายหน่วยงานดูแลนั้นจะเป็นอุปสรรคในการบริการประชาชนจึงเห็นว่าการโอนร่างฯ ทั้ง ๒ ที่มีพันธกิจ และ
ภารกิจเหมือนกันจะเป็นประโยชน์อย่างมาก เช่นในร่างฯ ฉบับแรก มาตรา ๔ บรรดาหนี้สิน ข้อผูกพันที่เกิดขึ้นก่อนพระราชบัญญัติฯนี้ใช้บังคับนั้นไม่ให้โอน มาตรา ๔ (๒) ในกรณีที่เป็นคู่ความกันอยู่ก็ให้เป็น คู่ความเดิม งบประมาณนั้นก็ให้เป็นของแต่ละหน่วยงานตามเดิมไม่ให้โอนไป ส่วนใน (๔) และ (๕) นั้น ที่ดินก็ยังเป็นที่ดินของกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคมอยู่ แต่การทางพิเศษฯ มีสิทธิใช้ที่ดินที่เป็นที่ตั้งอาคารและศูนย์ก็ยังคงเป็นที่ดินของราชพัสดุอยู่ การที่จะโอนหน่วยงานของส่วนราชการให้เป็นของ รัฐวิสาหกิจก็เป็นของส่วนราชการของรัฐบาลทั้งสิ้น
สมาชิกฯบางส่วนอภิปรายไม่เห็นด้วยกับทั้ง ๒ ร่างฯ เพราะการทางพิเศษฯ ไม่ได้สร้าง ไม่ได้เช่า ไม่ได้ลงทุนใดๆ เลย แต่มีสิทธิที่จะเก็บผลประโยชน์ และร่างฯ ทั้ง ๒ นี้จะเป็นการนำสมบัติของชาติออกมาขาย ค่าเวนคืน คดีต่าง ๆ ที่ยังค้างอยู่ และถนนที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จนั้น กรมทางหลวงจะต้องดูแลต่อไป และกรมทางหลวงก็ใช้งบประมาณแผ่นดินที่นำมาจากภาษีของประชาชนมาสร้างถนนต่าง ๆ แต่สิทธิประโยชน์และรายได้ต่าง ๆ ก็จะโอนไปให้การทางพิเศษฯ ที่เป็นรัฐวิสาหกิจ และสมาชิกฯเป็นห่วงว่ามีนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยจะนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายในปี ๒๕๔๙ ซึ่งสมาชิกฯ เห็นว่า เป็นการนำประโยชน์ของประชาชนทั้งประเทศขายไปเป็นของกลุ่มทุนหรือเอกชนเพียงบางกลุ่มเท่านั้น ซึ่งอาจจะเป็นต่างชาติด้วย และถ้าไม่โอนอำนาจหน้าที่ตามร่างฯ ทั้ง ๒ นี้ ไปให้การทางพิเศษนั้นอีก ๑๐ ปี ประชาชนมีโอกาสจะได้ใช้ทางมอเตอร์เวย์ และได้ใช้ทางด่วนอุตราภิมุขฟรี นี่คือสิทธิและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ และสิทธิประโยชน์ของข้าราชการที่จะโอนไปนั้นให้ได้รับ เงินเดือน รวมทั้งสิทธิประโยชน์ต่างๆ เท่าที่เคยได้รับอยู่ หรือถ้าไม่ไปก็ไม่มีทางเลือก มีแต่ออกจากทางราชการ เพราะราชการยุบตำแหน่งทางราชการ โดยการเลิกจ้างโดยไม่ถือว่าเป็นความผิดและได้รับบำเหน็จตามระเบียบของกระทรวงการคลัง
พล.อ.ชัยอนันต์ เจริญศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม อภิปรายถึงภาระหน้าที่ของกรมทางหลวงในการจัดการบริการทางหลวงให้กับประชาชนในการสัญจรไปมา การคมนาคม การขนส่งสินค้าของกระทรวงคมนาคมโดยกรมทางหลวง ซึ่งเส้นทางที่กรมทางหลวง ให้การรับผิดชอบมีประมาณ ๕๓,๐๐๐ กิโลเมตร สำหรับทางหลวงของกรมทางหลวง มี ๓ ชนิด คือ ๑. ทางหลวงระหว่างจังหวัด ๒. ทางหลวงพิเศษ และ ๓. ทางหลวงยกระดับ ซึ่ง ๒ ชนิดหลังนั้นจะทำการโอนอำนาจและกิจการให้กับการทางพิเศษฯ งบประมาณในการสร้างทางหลวงนั้นไม่ได้รับมากนัก แต่งบฯ ในการซ่อมแซม และบำรุงรักษามีจำนวนสูง ซึ่งถ้าโอนทางหลวงตามร่างฯ ทั้ง ๒ นั้นไปให้การทางพิเศษฯ ก็จะทำให้ลดภาระหน้าที่ของกรมทางหลวง เพื่อไปมุ่งเน้นในการพัฒนาเส้นทางระหว่างจังหวัดต่าง ๆ มากขึ้น แม้จะโอนทางฯ ไปแล้วนั้น การทางพิเศษฯ ก็ยังอยู่ในการดูแลของกระทรวงคมนาคม ดังนั้นการจัดเก็บค่าผ่านทางคงเป็นไปตามเดิม และการโอนครั้งนี้ไม่ผิดวัตถุประสงค์ของการเวนคืน เพราะโอนอำนาจในการบริหารงานและสิ่งก่อสร้าง แต่ที่ดินยังเป็นของกรมทางหลวงอยู่ในเรื่อง
ข้าราชการของกรมทางหลวง ซึ่งมีอยู่จำนวนไม่มากนั้นก็จะยังเป็นข้าราชการของกรมทางหลวงต่อไปตามเดิม ส่วนลูกจ้างชั่วคราวนั้นจะได้รับค่าตอบแทนมากกว่าเดิม ซึ่งข้าราชการมีสิทธิที่จะเลือกว่าจะไปอยู่กับการทางพิเศษฯ หรือไม่ ยกเว้นลูกจ้างชั่วคราว ต่อข้อถามที่ว่า รายได้จากการเก็บค่าผ่านทางนั้นก็จะอยู่ที่กระทรวงการคลังไม่ได้โอนไปให้การทางพิเศษฯ จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติรับหลักการในวาระ ที่ ๑ แห่งร่างพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ในส่วนที่เกี่ยวกับทางหลวงพิเศษและทางยกระดับอุตราภิมุขบางช่วง ไปเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. …. ด้วยคะแนน ๒๘๕ เสียง ไม่รับหลักการ ๔๑ เสียง งดออกเสียง ๓ เสียง และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ ๓๕ คน และร่างพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ในส่วนที่เกี่ยวกับทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๗ บางช่วงไปเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. …. ด้วยคะแนน ๒๗๖ เสียง ไม่รับหลักการ ๓๕ เสียง งดออกเสียง ๑ เสียง และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ ๓๕ คน
๓. ร่างพระราชบัญญัติสวนป่า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๒ ฉบับขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ ร่างพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ และนายนพดล พลเสน เป็นผู้เสนอ และร่างพระราชบัญญัติสวนป่า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งนายวุฒิพงศ์ ฉายแสง กับคณะ เป็นผู้เสนอ
นายยงยุทธ ติยะไพรัช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี พรรคชาติไทย และ
นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทรา พรรคไทยรักไทย ได้แถลงหลักการและเหตุผลการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ ดังนี้
หลักการ
๑. กำหนดให้สวนป่าหมายถึงที่ดินที่ได้ขึ้นทะเบียนเพื่อทำการปลูกและบำรุงรักษา
ต้นไม้ที่เป็นไม้หวงห้ามตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้และไม้อื่น ๆ ทั่วไป
๒. กำหนดที่ดินที่อนุญาตให้ถางป่าตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้เฉพาะ เพื่อทำการ
สวนป่า สามารถขึ้นทะเบียนเป็นสวนป่า แต่พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องตรวจสอบที่ดินดังกล่าวก่อนขึ้น
ทะเบียนเป็นสวนป่า
๓. การยกเว้นค่าภาคหลวง ค่าบำรุงป่า ค่าธรรมเนียม ตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวน
แห่งชาติ รวมทั้งค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ สำหรับไม้ที่ได้มาจากการทำสวนป่า
๔. การเก็บค่า ซึ่งเป็นการเก็บหา หรือการค้าที่มีไว้ในครอบครองหรือนำเคลื่อนที่ ซึ่ง
บรรดาของป่าเฉพาะถ่านไม้ เปลือกไม้ ยางไม้ หน่อไม้ หวาย ครั่ง รวงผึ้ง น้ำผึ้ง ขี้ผึ้ง กล้วยไม้ และเห็ดในสวนป่า จะสามารถทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ และได้รับการยกเว้นค่าบำรุงป่าตามกฎหมาย แต่ในการค้ามีไว้ครอบครองหรือนำเคลื่อนที่ ผู้ทำสวนป่าต้องทำหนังสือและรับรองบัญชีแสดงรายการของป่าเหล่านี้กำกับไว้
๕. กำหนดโทษผู้ทำสวนป่าที่ทำหนังสือรับรองหรือบัญชีแสดงรายการตามมาตรา
๑๔ ทวิ อันเป็นเท็จ
เหตุผล เนื่องจากปัจจุบันการทำสวนป่าตามพระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ นั้น มีจำกัดเฉพาะที่เป็นไม้หวงห้ามตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้เท่านั้น และที่ดินที่มีใบอนุญาตให้ถางป่า ตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้เฉพาะ เพื่อการทำสวนป่าซึ่งไม่สามารถนำมาขึ้นทะเบียนเป็นสวนป่าได้ จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อให้การทำสวนป่าครอบคลุมถึงไม้ทุกประเภทและให้สามารถนำที่ดินที่มีใบอนุญาตให้ถางป่าตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้เฉพาะเพื่อการทำสวนป่า นำมาขึ้นทะเบียนเป็นสวนป่าได้ รวมทั้งจะได้มีการยกเว้นค่าภาคหลวง ค่าบำรุงป่า ค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ สำหรับไม้ที่ได้นำมาจากสวนป่าด้วย เพื่อเป็นการส่งเสริมจูงใจและสร้างสวนป่าให้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้จะมีการยกเว้น การเก็บ หา ค้า ซึ่งมีไว้ในครอบครองหรือนำเคลื่อนที่บรรดาของป่าตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้และกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ โดยเฉพาะถ่านไม้ เปลือกไม้ ยางไม้ หน่อไม้ หวาย ครั่ง รวงผึ้ง น้ำผึ้ง ขี้ผึ้ง กล้วยไม้ และเห็ด ในสวนป่า สามารถจะกระทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ที่ไม่ต้องเสียค่าภาคหลวงและ ค่าบำรุงป่า
โดยสมาชิกได้อภิปรายสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว และตั้งข้อสังเกต ให้กรรมาธิการวิสามัญศึกษาถึงการที่รัฐบาลเสียประโยชน์จากการไม่สามารถเก็บค่าภาคหลวง ค่าบำรุงป่า และค่าธรรมเนียมป่า รวมทั้งขอให้ลดการปลูกป่าภาครัฐลง โดยเฉพาะป่าชายเลน เพราะเมื่อกฎหมายฉบับนี้บังคับใช้ป่าภาคเอกชนก็จะเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนขอให้รัฐบาลส่งเสริมให้มีการค้นคว้าวิจัยไม้แต่ละประเภท โดยเฉพาะไม้ที่จะนำไปใช้ในการก่อสร้าง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ไม้ และควรหาวิธีการป้องกันการทุจริตในการแสวงหาผลประโยชน์จากป่า นอกจากนี้ควรส่งเสริมให้ทำสวนป่าโดยปลูกป่าไม้ชนิดดีที่เหมาะสมกับที่ดินในพื้นที่นั้น ๆ ด้วย
นายยงยุทธ ติยะไพรัช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม อภิปรายตอบข้อซักถามของสมาชิกว่าการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติสวนป่านั้นเป็นเพียงวิธีหนึ่งในการแก้ไขปัญหาป่าไม้เท่านั้น โดยเฉพาะในเรื่องของพื้นที่ป่าต่าง ๆ ที่ยังเกิดปัญหาอยู่มาก เช่น พื้นที่ที่มีความทับซ้อนกันในหลายหน่วยงาน และเรื่องของกฎหมายป่าไม้ ซึ่งทางรัฐบาลได้
เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนและให้ราชการกับประชาชนมีสิทธิเท่าเทียมกันด้วย ซึ่งพระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นพระราชบัญญัติที่เสริมสร้างศักยภาพของประชาชนในการช่วยฟื้นฟูและใช้ป่าไม้ ป่าเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยจะเป็นการทดแทนการตัดไม้ในป่าหรือเขต ต้นน้ำลำธารต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นการเปลี่ยนแนวคิดในการปลูกป่า โดยได้มอบหมายให้องค์การบริหารส่วนตำบลและประชาชนดำเนินการปลูกป่า ฟื้นฟูต้นน้ำ ซึ่งรัฐบาลจะเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณต่าง ๆ สำหรับเรื่องของเขตที่ดินหรือ ส.ป.ก. นั้น จากการตรวจสอบพบว่ายังมีหลายพื้นที่ที่มีความทับซ้อนกับพื้นที่ควรจะออกเป็นโฉนด และพื้นที่ที่ควรจะเป็นเขตป่าไม้หรืออุทยาน ซึ่งคาดว่าขณะนี้จะมีพื้นที่ประมาณ ๓๐ ล้านไร่ หรือ ๒๕๔ อำเภอ ที่จะต้องมีการปรับปรุงแก้ไข โดยจะมอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศเพิกถอนเขต ส.ป.ก. ที่ไม่ควรจะเป็น ส.ป.ก. และให้คงไว้ซึ่ง ส.ป.ก. ที่ควรจะเป็น ส.ป.ก. ทั้งนี้รัฐบาลได้เร่งดำเนินการใกล้จะเสร็จแล้ว รวมทั้งจะดำเนินการสร้างนิคมหัตถกรรมในพื้นที่ล่อแหลมต่อการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า เพื่อเป็นการสร้างอาชีพให้กับประชาชนและเป็นผลดีต่อ การท่องเที่ยวด้วย จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติรับหลักการในวาระที่ ๑ แห่งร่างพระราชบัญญัติสวนป่า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ด้วยคะแนน ๒๙๓ เสียง และมีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญจำนวน ๓๕ คน กำหนดแปรญัตติภายใน ๗ วัน โดยยึดตามร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลัก
ปิดประชุมเวลา ๑๘.๓๐ นาฬิกา
-----------------------------------------