กรุงเทพ--21 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ด้วยเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2547 องค์การสหประชาชาติได้ร่วมเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนไทยทั้งในเมืองและชนบทด้วยความวิริยะอุตสาหะ จนทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล Habitat Scroll of Honour (Special Citation) จากองค์การสหประชาชาติ โดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี สาธารณรัฐ เคนยาร่วมกับโครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Settlements Pregramme: UN-Habitat) จัดงานเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขึ้นที่สำนักงาน สหประชาชาติ กรุงไนโรบี ในรูปแบบทั้งนิทรรศการประมวลพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาชีวิต และโครงการตามพระราชดำริ การบรรยายทางวิชาการและงานเลี้ยงรับรอง โดยมีผู้แทนสำนักงาน สหประชาชาติประจำกรุงไนโรบี คณะทูตานุทูตต่างประเทศ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลเคนยา และภาคเอกชนเข้าร่วมงานถึง 390 คน ในการนี้ ได้รับเกียรติจากรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลชุดปัจจุบันของเคนยา อาทิ นาย Najib M. Balala รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกีฬา วัฒนธรรม และสังคม และ นาย Petkay S.M. Miriti รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของเคนยาเข้าร่วมงาน ในครั้งนี้ด้วย รวมทั้ง ได้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของเคนยาเข้าร่วมงานด้วยอีกจำนวนหนึ่ง
กระทรวงการต่างประเทศได้เชิญ ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เดินทางมาบรรยายพิเศษพระราชกรณียกิจและโครงการพระราชดำริที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการพัฒนาทรัพยากรน้ำหัวข้อ "His Majesty King Bhumibol Adulyadej of Thailand and Sustainable Water Resource Management" ให้ผู้เข้าร่วมงานเป็นกรณีพิเศษด้วย โดยมีนางแอนนา คาจูมูโล ทิไบจูคา ของเลขาธิการใหญ่สหประชาชาติและผู้อำนวยการบริหาร UN-Habitat ชาวแทนซาเนีย นาย Shafqat Kakakhel รองผู้อำนวยการบริหารโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme - UNEP) และเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี ร่วมบรรยายเทิดพระเกียรติ โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ได้กล่าวบรรยายเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจและโครงการพระราชดำริ
การพัฒนาทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน การกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในการเพาะปลูกรวมทั้งเพื่อการอุปโภคและบริโภค โครงการบำบัดน้ำเสีย โดยวิธีธรรมชาติ ซึ่งมีความเหมาะสมอย่างมากที่จะนำมาใช้กับประเทศกำลังพัฒนาเพราะเป็นวิธีธรรมชาติและมีค่าใช้จ่ายที่ถูกมาก นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงทฤษฎีใหม่ (New Theory) เพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมทั้งได้กล่าวถึงการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (Royal Development Study Centre) เพื่อเป็นศูนย์บริการแบบ ครบวงจรสำหรับเกษตรกรและผู้ที่สนใจโดยทั่วไป รวมทั้งชาวต่างประเทศที่สนใจจะเดินทางไปศึกษา ดูงานที่ศูนย์เหล่านี้ และภายหลังจากการบรรยายได้มีผู้สนใจขอรับแผ่น CD ที่ใช้ในการบรรยายของ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล หลายราย รวมทั้งขอรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการพระราชดำริ อาทิ กระทรวงทรัพยากรน้ำของเคนยา Japan International Cooperation Agency (JICA) สถานเอกอัคร- ราชทูตเบลเยียม สถานเอกอัครราชทูตเยอรมนี African Institute for Capacity Development (AICAD) กงสุลกิตติมศักดิ์คอโมโรสประจำเคนยา Geonomics Research and Analytical Serviced Ltd. รวมทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเคนยาบางคน เป็นต้น
องค์การสหประชาชาติได้ประกาศทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล Habitat Scroll of Honour (Special Citation) แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสวันตั้งถิ่นฐานโลก (World Habitat Day) เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2546 ซึ่งเป็นรางวัลเกียรติยศสูงสุดที่องค์การสหประชาชาติมอบเป็นเกียรติแก่บุคคลที่มีผลงานดีเด่นด้านการตั้งถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏบัติพระราชกรณียกิจในการจัดการปรับปรุงทรัพยากรน้ำในประเทศไททยได้อย่างโดดเด่น อาทิ การควบคุมมลพิษในลำคลองในกรุงเทพฯ การบำบัดน้ำเสียในบึงมักกะสัน โครงการพัฒนาลุ่มน้ำ ป่าสัก และโครงการป้องกันอุทกภัยในภาคใต้ สอดคล้องกับการที่ UN - Habitat ได้กำหนดให้ปี 2546 เป็นปีแห่งน้ำและสุขอนามัยสำหรับเมือง (Water and Sanitation for Cities) นางแอนนา คาจูมูโล ทิไบจูคา ได้รับพระราชทานพระบรมราชวโรกาสเดินทางไปเข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล หัวหิน เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2547 ทรงนับเป็นบุคคลที่ 5 ของโลกที่องค์การสหประชาชาติได้เคยมอบรางวัลให้
ด้านนางแอนนา คาจูมูโล ทิไบจูคา ผู้อำนวยการบริหาร UN-Habitat ยอมรับว่าพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรื่องการพัฒนาจัดการทรัพยากรน้ำในประเทศไทยสามารถเป็นแบบอย่างให้กับการพัฒนาในภารกิจของ UN-Habitat ที่ดำเนินการอยู่ในหลายประเทศได้ โดยเฉพาะในเคนยาและแอริฟา ที่มีลักษณะปัญหาคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะการพัฒนาแหล่งน้ำสะอาดเพื่อการบริโภคและการเพาะปลูก นอกจากนี้ยังได้แสดงความสนใจร่วมมือกับประเทศไทยดำเนิน โครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัยให้กับประชาชน และจะศึกษารูปแบบโครงการพระราชดำริเพื่อนำไป ปรับใช้กับโครงการพัฒนาทะเลสาบวิคตอเรียของแอฟริกา นอกจากนี้ยังคาดหวังให้ไทยเป็นหุ้นส่วน ในการพัฒนาและขอให้นโยบายที่ไทยประกาศให้ปีนี้เป็นปีแห่งแอฟริกาประสบความสำเร็จและมี ความร่วมมือระหว่างกันมากยิ่งขึ้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ด้วยเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2547 องค์การสหประชาชาติได้ร่วมเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนไทยทั้งในเมืองและชนบทด้วยความวิริยะอุตสาหะ จนทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล Habitat Scroll of Honour (Special Citation) จากองค์การสหประชาชาติ โดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี สาธารณรัฐ เคนยาร่วมกับโครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Settlements Pregramme: UN-Habitat) จัดงานเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขึ้นที่สำนักงาน สหประชาชาติ กรุงไนโรบี ในรูปแบบทั้งนิทรรศการประมวลพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาชีวิต และโครงการตามพระราชดำริ การบรรยายทางวิชาการและงานเลี้ยงรับรอง โดยมีผู้แทนสำนักงาน สหประชาชาติประจำกรุงไนโรบี คณะทูตานุทูตต่างประเทศ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลเคนยา และภาคเอกชนเข้าร่วมงานถึง 390 คน ในการนี้ ได้รับเกียรติจากรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลชุดปัจจุบันของเคนยา อาทิ นาย Najib M. Balala รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกีฬา วัฒนธรรม และสังคม และ นาย Petkay S.M. Miriti รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของเคนยาเข้าร่วมงาน ในครั้งนี้ด้วย รวมทั้ง ได้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของเคนยาเข้าร่วมงานด้วยอีกจำนวนหนึ่ง
กระทรวงการต่างประเทศได้เชิญ ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เดินทางมาบรรยายพิเศษพระราชกรณียกิจและโครงการพระราชดำริที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการพัฒนาทรัพยากรน้ำหัวข้อ "His Majesty King Bhumibol Adulyadej of Thailand and Sustainable Water Resource Management" ให้ผู้เข้าร่วมงานเป็นกรณีพิเศษด้วย โดยมีนางแอนนา คาจูมูโล ทิไบจูคา ของเลขาธิการใหญ่สหประชาชาติและผู้อำนวยการบริหาร UN-Habitat ชาวแทนซาเนีย นาย Shafqat Kakakhel รองผู้อำนวยการบริหารโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme - UNEP) และเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี ร่วมบรรยายเทิดพระเกียรติ โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ได้กล่าวบรรยายเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจและโครงการพระราชดำริ
การพัฒนาทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน การกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในการเพาะปลูกรวมทั้งเพื่อการอุปโภคและบริโภค โครงการบำบัดน้ำเสีย โดยวิธีธรรมชาติ ซึ่งมีความเหมาะสมอย่างมากที่จะนำมาใช้กับประเทศกำลังพัฒนาเพราะเป็นวิธีธรรมชาติและมีค่าใช้จ่ายที่ถูกมาก นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงทฤษฎีใหม่ (New Theory) เพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมทั้งได้กล่าวถึงการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (Royal Development Study Centre) เพื่อเป็นศูนย์บริการแบบ ครบวงจรสำหรับเกษตรกรและผู้ที่สนใจโดยทั่วไป รวมทั้งชาวต่างประเทศที่สนใจจะเดินทางไปศึกษา ดูงานที่ศูนย์เหล่านี้ และภายหลังจากการบรรยายได้มีผู้สนใจขอรับแผ่น CD ที่ใช้ในการบรรยายของ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล หลายราย รวมทั้งขอรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการพระราชดำริ อาทิ กระทรวงทรัพยากรน้ำของเคนยา Japan International Cooperation Agency (JICA) สถานเอกอัคร- ราชทูตเบลเยียม สถานเอกอัครราชทูตเยอรมนี African Institute for Capacity Development (AICAD) กงสุลกิตติมศักดิ์คอโมโรสประจำเคนยา Geonomics Research and Analytical Serviced Ltd. รวมทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเคนยาบางคน เป็นต้น
องค์การสหประชาชาติได้ประกาศทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล Habitat Scroll of Honour (Special Citation) แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสวันตั้งถิ่นฐานโลก (World Habitat Day) เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2546 ซึ่งเป็นรางวัลเกียรติยศสูงสุดที่องค์การสหประชาชาติมอบเป็นเกียรติแก่บุคคลที่มีผลงานดีเด่นด้านการตั้งถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏบัติพระราชกรณียกิจในการจัดการปรับปรุงทรัพยากรน้ำในประเทศไททยได้อย่างโดดเด่น อาทิ การควบคุมมลพิษในลำคลองในกรุงเทพฯ การบำบัดน้ำเสียในบึงมักกะสัน โครงการพัฒนาลุ่มน้ำ ป่าสัก และโครงการป้องกันอุทกภัยในภาคใต้ สอดคล้องกับการที่ UN - Habitat ได้กำหนดให้ปี 2546 เป็นปีแห่งน้ำและสุขอนามัยสำหรับเมือง (Water and Sanitation for Cities) นางแอนนา คาจูมูโล ทิไบจูคา ได้รับพระราชทานพระบรมราชวโรกาสเดินทางไปเข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล หัวหิน เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2547 ทรงนับเป็นบุคคลที่ 5 ของโลกที่องค์การสหประชาชาติได้เคยมอบรางวัลให้
ด้านนางแอนนา คาจูมูโล ทิไบจูคา ผู้อำนวยการบริหาร UN-Habitat ยอมรับว่าพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรื่องการพัฒนาจัดการทรัพยากรน้ำในประเทศไทยสามารถเป็นแบบอย่างให้กับการพัฒนาในภารกิจของ UN-Habitat ที่ดำเนินการอยู่ในหลายประเทศได้ โดยเฉพาะในเคนยาและแอริฟา ที่มีลักษณะปัญหาคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะการพัฒนาแหล่งน้ำสะอาดเพื่อการบริโภคและการเพาะปลูก นอกจากนี้ยังได้แสดงความสนใจร่วมมือกับประเทศไทยดำเนิน โครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัยให้กับประชาชน และจะศึกษารูปแบบโครงการพระราชดำริเพื่อนำไป ปรับใช้กับโครงการพัฒนาทะเลสาบวิคตอเรียของแอฟริกา นอกจากนี้ยังคาดหวังให้ไทยเป็นหุ้นส่วน ในการพัฒนาและขอให้นโยบายที่ไทยประกาศให้ปีนี้เป็นปีแห่งแอฟริกาประสบความสำเร็จและมี ความร่วมมือระหว่างกันมากยิ่งขึ้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-