กรุงเทพ--21 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
การประชุม Asia Cooperation Dialogue (ACD) ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 21-22 มิถุนายน 2547 ณ เมืองชิงต่าว สาธารณรัฐประชาชนจีน
เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2547 นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยไปร่วมการประชุมความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue - ACD) ครั้งที่ 3 ซึ่งสาธารณรัฐประชาชนจีนจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 21-22 มิถุนายน 2547 ณ เมืองชิงต่าว มณฑลชานตง โดยมีกรอบการหารือดังนี้
1. การสัมมนา ACD High Level Seminar on Asia Cooperation and Developmentการประชุม ACD ครั้งนี้ จะเริ่มต้นด้วยการสัมมนาระหว่างนักวิชาการของประเทศสมาชิก ACD ในลักษณะของเวที Track II ในวันที่ 21 มิถุนายน 2547 ซึ่ง Boao Forum for Asia (เป็นองค์กรที่ไม่ใช่รัฐบาล จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาค โดยการสนับสนุนของรัฐบาลจีน) The Network of East Asia Think-Tanks : NEAT (เครือข่ายคลังสมองของเอเชียตะวันออก) และสถาบันการต่างประเทศสราญรมย์ (Saranrom Institute of Foreign Affairs) ร่วมกันจัดขึ้น การสัมมนาครั้งนี้ถือเป็นกิจกรรมด้านวิชาการครั้งแรกของ ACD และผลที่ได้จะเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการประชุม ACD ครั้งที่ 3
ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้รับเชิญให้ร่วมกล่าวสุนทรพจน์ในพิธีเปิดการสัมมนาเป็นท่านแรก ในฐานะผู้ประสานงาน ACD ร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น อินเดีย คาซัคสถาน และเลขาธิการอาเซียน โดย ดร. สรจักร เกษมสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ จะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ประกอบด้วยนักวิชาการและผู้แทนหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมการสัมมนา ซึ่งมีหัวข้อสำคัญที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน 4 ประเด็น ได้แก่
- การส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของเอเชีย โดยการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน และเป็นความพยายามร่วมกันของทั้งภูมิภาค
- การส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน
- การพัฒนากลไกความร่วมมือด้านความมั่นคงทางพลังงานและยุทธศาสตร์ด้านพลังงานของเอเชีย
- นโยบายร่วมกันด้านการเกษตร
2. การประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ ACD ครั้งที่ 3 จะมีขึ้นในวันที่ 22 มิถุนายน 2547 โดย พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้รับเชิญให้กล่าวสุนทรพจน์ในพิธีเปิดการประชุม ร่วมกับนายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีจีน ในฐานะที่ ACD เป็นความคิดริเริ่มของนายกรัฐมนตรี และไทยเป็นผู้ประสานงานอย่างแข็งขันมาโดยตลอด และโดยที่ ACD เน้นการหารืออย่างไม่เป็นทางการและไม่มีการกำหนดระเบียบวาระการประชุมที่ตายตัว ดังนั้น ในการประชุมครั้งนี้ คาดว่าจะมีการหารือในประเด็นหลักๆ ดังนี้
- สถานการณ์ในภูมิภาคและระหว่างประเทศ ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ที่มีผลกระทบต่อเอเชีย
- ทบทวนความคืบหน้าของมิติโครงการในกรอบความร่วมมือ ACD และเสนอแนะสาขาความร่วมมือใหม่ๆ รวมทั้งแนวทางการส่งเสริมมิติโครงการความร่วมมือของ ACD ในระยะต่อไป
- แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับโครงสร้างและกลไกของ ACD เช่น การรับสมาชิกใหม่ การมีส่วนร่วมของประเทศที่มิใช่ประเทศในเอเชีย วันและสถานที่จัดการประชุม ACD ครั้งที่ 4
- พิจารณาเอกสารที่จะเป็นผลของการประชุม 2 ฉบับ คือ 1) Declaration on Asia Cooperation ซึ่งเป็นกรอบความร่วมมือในภูมิภาคและสาขาหลักที่ประเทศต่างๆ ควรเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างกันในอนาคต และ 2) Qingdao Initiative ซึ่งเป็นความร่วมมือสาขาพลังงานโดยเฉพาะ ในวันเดียวกันนี้ จะมีการประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-จีน (China-ASEAN Foreign Ministers’ Informal Meeting) ด้วย โดยคาดว่าที่ประชุมจะหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเกี่ยวกับสถานการณ์ระหว่างประเทศและในภูมิภาค แนวทางการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันในฐานะหุ้นส่วน แนวทางการพัฒนาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียน-จีน ความร่วมมือในการเจรจาการค้าระดับพหุภาคี และบทบาทของจีนในการส่งเสริมความมั่นคงในภูมิภาค เป็นต้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
การประชุม Asia Cooperation Dialogue (ACD) ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 21-22 มิถุนายน 2547 ณ เมืองชิงต่าว สาธารณรัฐประชาชนจีน
เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2547 นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยไปร่วมการประชุมความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue - ACD) ครั้งที่ 3 ซึ่งสาธารณรัฐประชาชนจีนจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 21-22 มิถุนายน 2547 ณ เมืองชิงต่าว มณฑลชานตง โดยมีกรอบการหารือดังนี้
1. การสัมมนา ACD High Level Seminar on Asia Cooperation and Developmentการประชุม ACD ครั้งนี้ จะเริ่มต้นด้วยการสัมมนาระหว่างนักวิชาการของประเทศสมาชิก ACD ในลักษณะของเวที Track II ในวันที่ 21 มิถุนายน 2547 ซึ่ง Boao Forum for Asia (เป็นองค์กรที่ไม่ใช่รัฐบาล จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาค โดยการสนับสนุนของรัฐบาลจีน) The Network of East Asia Think-Tanks : NEAT (เครือข่ายคลังสมองของเอเชียตะวันออก) และสถาบันการต่างประเทศสราญรมย์ (Saranrom Institute of Foreign Affairs) ร่วมกันจัดขึ้น การสัมมนาครั้งนี้ถือเป็นกิจกรรมด้านวิชาการครั้งแรกของ ACD และผลที่ได้จะเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการประชุม ACD ครั้งที่ 3
ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้รับเชิญให้ร่วมกล่าวสุนทรพจน์ในพิธีเปิดการสัมมนาเป็นท่านแรก ในฐานะผู้ประสานงาน ACD ร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น อินเดีย คาซัคสถาน และเลขาธิการอาเซียน โดย ดร. สรจักร เกษมสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ จะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ประกอบด้วยนักวิชาการและผู้แทนหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมการสัมมนา ซึ่งมีหัวข้อสำคัญที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน 4 ประเด็น ได้แก่
- การส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของเอเชีย โดยการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน และเป็นความพยายามร่วมกันของทั้งภูมิภาค
- การส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน
- การพัฒนากลไกความร่วมมือด้านความมั่นคงทางพลังงานและยุทธศาสตร์ด้านพลังงานของเอเชีย
- นโยบายร่วมกันด้านการเกษตร
2. การประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ ACD ครั้งที่ 3 จะมีขึ้นในวันที่ 22 มิถุนายน 2547 โดย พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้รับเชิญให้กล่าวสุนทรพจน์ในพิธีเปิดการประชุม ร่วมกับนายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีจีน ในฐานะที่ ACD เป็นความคิดริเริ่มของนายกรัฐมนตรี และไทยเป็นผู้ประสานงานอย่างแข็งขันมาโดยตลอด และโดยที่ ACD เน้นการหารืออย่างไม่เป็นทางการและไม่มีการกำหนดระเบียบวาระการประชุมที่ตายตัว ดังนั้น ในการประชุมครั้งนี้ คาดว่าจะมีการหารือในประเด็นหลักๆ ดังนี้
- สถานการณ์ในภูมิภาคและระหว่างประเทศ ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ที่มีผลกระทบต่อเอเชีย
- ทบทวนความคืบหน้าของมิติโครงการในกรอบความร่วมมือ ACD และเสนอแนะสาขาความร่วมมือใหม่ๆ รวมทั้งแนวทางการส่งเสริมมิติโครงการความร่วมมือของ ACD ในระยะต่อไป
- แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับโครงสร้างและกลไกของ ACD เช่น การรับสมาชิกใหม่ การมีส่วนร่วมของประเทศที่มิใช่ประเทศในเอเชีย วันและสถานที่จัดการประชุม ACD ครั้งที่ 4
- พิจารณาเอกสารที่จะเป็นผลของการประชุม 2 ฉบับ คือ 1) Declaration on Asia Cooperation ซึ่งเป็นกรอบความร่วมมือในภูมิภาคและสาขาหลักที่ประเทศต่างๆ ควรเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างกันในอนาคต และ 2) Qingdao Initiative ซึ่งเป็นความร่วมมือสาขาพลังงานโดยเฉพาะ ในวันเดียวกันนี้ จะมีการประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-จีน (China-ASEAN Foreign Ministers’ Informal Meeting) ด้วย โดยคาดว่าที่ประชุมจะหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเกี่ยวกับสถานการณ์ระหว่างประเทศและในภูมิภาค แนวทางการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันในฐานะหุ้นส่วน แนวทางการพัฒนาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียน-จีน ความร่วมมือในการเจรจาการค้าระดับพหุภาคี และบทบาทของจีนในการส่งเสริมความมั่นคงในภูมิภาค เป็นต้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-