= ให้การรับรองรองประธานสภาประชาชนแห่งชาติสาธารณรัฐประชาชนจีนและคณะ
วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๗ เวลา ๑๔.๓๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร
พร้อมด้วยนายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ให้การรับรอง นายหลี่ เถี่ยยิ่ง (H.E. Mr. Li Tieying)
รองประธานสภาประชาชน แห่งชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน และคณะ ในโอกาสที่เดินทางเดยือนประเทศไทยในฐานะแขกของสภาผู้แทนราษฎร
ณ ห้องรับรอง ๑ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๑
= ให้การรับรองทูตอิหร่าน
วันจันทร์ที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๗ เวลา ๑๑.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องรับรอง ๑ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๑ นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา
และประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้การรับรอง นายราซูล อิสลามี เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านประจำประเทศไทยที่ได้เข้าเยี่ยมคารวะ
เพื่ออำลาในโอกาสครบวาระการปฏิบัติหน้าที่
= ให้การรับรองทูตจีน
วันพุธที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๔๗ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้การรับรอง
นายจาง จิ่วหวน เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ในโอกาสเข้ารับหน้าที่ใหม่ ณ ห้องรับรอง ๑ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๑
= รับมอบวีซีดีฟุตบอลยูโร ๒๐๐๔
วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๗ เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง พร้อมด้วย
นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รับมอบวีซีดีฟุตบอลยูโร ๒๐๐๔ จากนายสมยศ เชื้อเพชรโสภณ ผู้บริหารบริษัทยูเรก้า
เอนเตอร์เทนเมนต์ เพื่อนำไปมอบให้แก่โรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ จำนวน ๑,๐๐๐ ชุด เพื่อเป็นการ
ส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกทักษะในกีฬาฟุตบอล ณ ห้องประชุมรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๓
= เลี้ยงรับรองอาหารค่ำ
วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๗ เวลา ๑๙.๐๐ นาฬิกา นายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง
เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำ เพื่อเป็นเกียรติแก่นายหลี่ เถี่ยยิ่ง รองประธานสภาประชาชนแห่งชาติสาธารณรัฐประชาชนจีน และคณะ
ในฐานะแขกของสภาผู้แทนราษฎร ณ ห้องบอลรูม ๓ โรงแรมแชงกรี - ลา
= กรรมาธิการการพลังงานจัดสัมมนา
วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๗ เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา คณะกรรมาธิการการพลังงานสภาผู้แทนราษฎร จัดสัมมนาเรื่อง
"กรรมาธิการพลังงานพบประชาชน โครงการพลังงานทดแทนชุมชน" ณ ห้องโถง ชั้นล่าง อาคารรัฐสภา ๑
= อบรมโครงการ กบข.
วันจันทร์ที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๗ เวลา ๐๘.๔๕ นาฬิกา นางอุมาสีว์ สะอาดเอี่ยม รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ กบข. อบรมสมาชิก ประจำปี ๒๕๔๗ และมีการบรรยายโดยวิทยากรจากสำนักงาน
คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ของ กบข.
ต่อสมาชิก ทั้งในเรื่องของเหตุและสิทธิ การบริหารเงิน การลงทุน โครงการสวัสดิการต่าง ๆ ณ ห้องสารนิเทศ
อาคารรัฐสภา ๑
พระราชกฤษฎีกา
เรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๔๗
-----------------------
(พระปรมาภิไธย) ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗
เป็นปีที่ ๕๙ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่ทรงพระราชดำริว่า มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ สมควรที่จะเรียกประชุมรัฐสภาเป็นการประชุมสมัยวิสามัญ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖๒ มาตรา ๑๖๔ และมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๔๗ ในวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
= พิจารณางบประมาณแผ่นดิน ปี ๒๕๔๘
ในวันที่ ๒๓-๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๗ สภาผู้แทนราษฎรจะมีการประชุมสภาสมัยวิสามัญ เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๘ ตามที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนองบประมาณ ยอดรวมทั้งประเทศจำนวนหนึ่งล้านสองแสนล้านบาท
ซึ่งได้จัดทำยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณเป็น ๕ ด้านดังนี้
๑. ยุทธศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ
๒. ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ
๓. ยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคม การแก้ไขปัญหาความยากจน และยกระดับคุณภาพชีวิต
๔. ยุทธศาสตร์ความมั่นคงของชาติ การต่างประเทศ และการอำนวยความยุติธรรม
๕. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการประเทศ
ทั้งนี้ได้กำหนดแผนงบประมาณในเชิงบูรณาการ ปีงบประมาณ ๒๕๔๘ ดังนี้คือ
๑. แผนงบประมาณการเพิ่มศักยภาพและโอกาสของคนยากจน
๒. แผนงบประมาณการพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงในเชิงบูรณาการ
๓. แผนงบประมาณเพื่อการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
๔. แผนงบประมาณการพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิ
๕. แผนงบประมาณการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
๖. แผนงบประมาณการสร้างศักยภาพเพื่อเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในภูมิภาค
๗. แผนงบประมาณการปฏิรูปการศึกษาและการเติมปัญญาให้สังคม
๘. แผนงบประมาณทรัพยากรน้ำในเชิงบูรณาการ
๙. แผนงบประมาณการป้องกันและแก้ปัญหาอุบัติเหตุทางถนน
๑๐. แผนงบประมาณการประกันสุขภาพถ้วนหน้า
๑๑. แผนงบประมาณการวิจัยเชิงบูรณาการของประเทศ
๑๒. แผนงบประมาณการสร้างความเป็นเลิศของกลุ่มสินค้าและบริการทั้งในประเทศ
และตลาดโลก
๑๓. แผนงบประมาณการจัดการภารกิจในต่างประเทศ
สภาผู้แทนราษฎรจะเริ่มประชุมตั้งแต่เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกาเป็นต้นไป
= เสวนาประชาธิปไตย เรื่อง "ความเคลื่อนไหวทางการเมืองก่อนการเลือกตั้งครั้งหน้า"
ปัจจุบันสภาผู้แทนราษฎรกำลังจะครบวาระ ๔ ปี ในเดือนมกราคม ๒๕๔๘ นี้ ทำให้แนวโน้มความเคลื่อนไหวและ
การตื่นตัวทางการเมืองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะมีขึ้นในอนาคต อันใกล้นี้มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็น
การย้ายพรรคของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การยุบรวมของพรรคการเมือง และกระแสการตั้งพรรคทางเลือกที่ ๓ ซึ่งอาจเป็น
ทางเลือกใหม่ให้กับประชาชนหรือแม้กระทั่งต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเองก็ตาม
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้ร่วมกันจัดการเสวนาประชาธิปไตย ครั้งที่ ๒
ประจำปี ๒๕๔๗ ขึ้น เพื่อให้ประชาชนตื่นตัวทางการเมืองในการ เลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นในต้นปี ๒๕๔๘ นี้ และเปิดโอกาส
ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจเข้ารับฟังและแสดงความคิดเห็น ตลอดจนเป็นสื่อกลางในการจุดประกายให้เกิดการมีส่วนร่วมทางการเมือง
ของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยในครั้งนี้จะเสวนาในหัวข้อ เรื่อง "ความเคลื่อนไหวทางการเมืองก่อนการเลือกตั้งครั้งหน้า" สำหรับ
ผู้เข้าร่วมการเสวนาได้แก่ นายเสนาะ เทียนทอง ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน รศ.สุขุม เฉลยทรัพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และ
รศ.ใจลส์ ใจ อึ้งภากรณ์ ผู้แทนจากภาคประชาชน ร่วมเสวนา ดำเนินการเสวนาโดย นายสุวิช สุทธิประภา บรรณาธิการข่าว
การเมือง ช่อง ๙ อ.ส.ม.ท.
ทั้งนี้การเสวนาประชาธิปไตยฯ จะจัดขึ้นในวันจันทร์ที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๔๗ ณ ห้องประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏสวนดุสิต เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ นาฬิกา และผู้สนใจสามารถรับฟังการถ่ายทอดเสียงได้ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา
เอฟ.เอ็ม. ๘๗.๕ เมกกะเฮิร์ตซ
= คณะกรรมาธิการการต่างประเทศจัดสัมมนา
รัฐบาลได้มีนโยบายด้านการต่างประเทศ โดยเน้นการทูตเชิงรุกด้านเศรษฐกิจและแสวงหาความร่วมมือและ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น โดยกระทรวงพาณิชย์ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาและส่งเสริมการส่งออกสินค้าและ
ธุรกิจบริการ ทั้งกลยุทธ์การส่งเสริมการส่งออกไปสู่ตลาดใหม่ให้ได้ร้อยละ ๔๐ ในปี ๒๕๔๘ ซึ่งคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ
ได้พิจารณาแล้วเห็นสมควร ให้มีการสัมมนาเรื่อง "ทิศทางการเสริมสร้างความสัมพันธ์การต่างประเทศด้านธุรกิจการค้าและ
การลงทุนในประเทศแถบตะวันออกกลางและทวีปแอฟริกา" ขึ้น ในวันจันทร์ที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๐๐-๑๔.๐๐ นาฬิกา
ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ เพื่อรวบรวมข้อมูล ข้อคิดเห็น และประสบการณ์ระหว่างภาครัฐและเอกชน ในการกำหนดทิศทางการ
เสริมสร้างความสัมพันธ์ในด้านการค้าและการลงทุน ตลอดจนนำผลการสัมมนาไปเป็นข้อมูล เพื่อวางแผนการปฏิบัติร่วมกันระหว่าง
ภาครัฐและเอกชนแบบบูรณาการต่อไป โดยมีนายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ให้เกียรติมาเป็นประธาน
ในพิธีเปิดการสัมมนาและบรรยายพิเศษ เรื่อง "นโยบายการค้าและการลงทุนในประเทศแอฟริกาและตะวันออกกลาง" ด้วย
= "โครงการพลังงานทดแทนชุมชน"
นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ ประธานคณะกรรมาธิการการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร เปิดการสัมมนา
"โครงการพลังงานทดแทนชุมชน" เมื่อวันพุธที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๔๗ ณ ห้องโถง ชั้นล่าง อาคารรัฐสภา ๑ โดยมีผู้แทนภาครัฐ
ผู้แทนเอกชน นักเรียน สื่อมวลชน และผู้สนใจทั่วไป เข้าร่วมฟังการสัมมนาจำนวนมาก
การระดมความคิดจากนักวิชาการและผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศ และแก้ไขภาวะวิกฤตปัญหาพลังงาน
โดยเฉพาะเรื่องน้ำมันที่กำลังมีราคาสูงขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกสูงขึ้น จึงมีความจำเป็นที่ทุกหน่วยงานและองค์การต่าง ๆ
ต้องหันมาร่วมกันแก้ปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งสถาบันนิติบัญญัติโดยคณะกรมาธิการการพลังงาน ได้มีความห่วงในภาวะของ
ประเทศเช่นกัน จึงผลักดันแนวคิดไปยังรัฐบาลเพื่อพัฒนาพลังงานทดแทน ซึ่งได้ดำเนินการสัมมนาศึกษาดูงาน และนำข้อเสนอจากการ
สัมมนามาตั้งแต่เปิดสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้ในหลายโครงการ อาทิ โครงการ เอทานอล โครงการไบโอดีเซล โครงการไปโอก๊าซ
โครงการส่งเสริมพลังงานชีวมวล และพลังงานทดแทนรูปแบบอื่น ๆ ทั้งนี้เพื่อให้ฝ่ายบริหารได้มีแนวทางการผลักดันนโยบายการสร้าง
พลังงานทดแทนเพื่อการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น
สำหรับการสัมมนาครั้งนี้มีเป้าหมายหลัก คือ เผยแพร่และผลักดันให้มีการตั้งโรงงานผลิตเอทานอลหรือก๊าซโซฮอล
ในชุมชนมากขึ้น ซึ่งหากรอการผลิตระดับมหภาคอาจไม่ทันต่อภาวะวิกฤตของประเทศ นอกจากนี้ยังมีแนวคิดการผลิตไบโอดีเซลจาก
น้ำมันปาล์มที่เหลือใช้จากการประกอบอาหาร โดยเฉพาะการใช้น้ำมันทอดสิ่งต่าง ๆ ในครัวเรือนมาผลิตเป็นไบโอดีเซล ซึ่งขณะนี้
คณะกรรมาธิการมอบหมายให้คณะทำงานไปทำการเก็บรวบรวมน้ำมันที่ใช้ในโรงแรมที่ตั้งริมแม่น้ำเจ้าพระยา โดยความร่วมมือของ
สมาคมโรงแรมให้ส่งน้ำมันที่ใช้แล้วมาให้เพื่อส่งต่อไปยังกรมอู่ทหารเรือรับไปผลิตไบโอดีเซล จากนั้นจะมอบให้กับชมรมเรือล่องเจ้าพระยาใช้ต่อไป
นอกจากนี้แล้วคณะกรรมาธิการฯ จะจัดการแข่งขันดัดแปลงเครื่องจักรยานยนต์ให้สามารถใช้น้ำมันไบโอดีเซล
เพื่อเป็นโครงการนำร่องสำหรับภาคประชาชนให้หันมาใช้จักรยานยนต์ที่ใช้น้ำมันชนิดนี้ ซึ่งสามารถลดภาวะมลพิษทางสิ่งแวดล้อมและ
ประหยัดน้ำมันได้มากขึ้นด้วย โดยมีบริษัทเอกชนแจ้งความจำนงร่วมบริจาคจักรยานยนต์ เพื่อใช้ในการแข่งขันกว่า ๔๐ คันแล้ว
ทั้งนี้คาดว่าจะเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมแข่งขันในกิจกรรมดังกล่าวอย่างเป็นทางการประมาณต้นเดือนกรกฎาคม ๒๕๔๗ นี้
= ซ้อมรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลา
เนื่องในวันสถาปนารัฐสภา ครบรอบ ๗๒ ปี วันจันทร์ที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๔๗ จะมี
การจัดพิธีมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลาให้แก่ข้าราชการรัฐสภาและลูกจ้างประจำผู้ได้รับพระราชทาน
ประจำปี ๒๕๔๖ โดยขอให้ผู้ที่ประสงค์จะเข้ารับเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลาในพิธีมาร่วมซ้อมรับใน
จันทร์ที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๔๗ เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องโถงชั้นล่าง อาคารรัฐสภา ๑ พร้อมกับลงลายมือชื่อเพื่อลงทะเบียน
รายงานตัวเข้าร่วมพิธี ในวันจันทร์ที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๔๗ ระหว่างเวลา ๐๘.๓๐-๐๙.๓๐ นาฬิกา ด้วย
= การปรับปรุงระบบ "โอเปอร์เรเตอร์" ของสภาผู้แทนราษฎร
วันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๔๗ นายบุญเรือง บูรภักดิ์ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยที่ปรึกษา
(ร้อยเอกหญิง สุวัฒนา เหลืองไตรรัตน์) ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์ และ ผู้อำนวยการสำนักสารสนเทศ ร่วมนำคณะข้าราชการ
และเจ้าหน้าที่ของสำนักประชาสัมพันธ์ และสำนักสารสนเทศ ผู้ปฏิบัติงานการบริการโทรศัพท์ส่วนกลางหรือโอเปอร์เรเตอร์ของสำนักงานเลขาธิการ
สภาผู้แทนราษฎร ศึกษาดูงานการจัดระบบโทรศัพท์ ณ บริษัท เทเลคอมเอเซีย จำกัด เพื่อนำข้อมูล และวิธีการมาพัฒนาปรับปรุงระบบ
การบริการโทรศัพท์ให้สามารถบริการสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ข้าราชการ ลูกจ้าง และประชาชนทั่วไป ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง
และประทับใจในการรับบริการ
ขอเชิญรับฟัง
ข่าวความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของวงงานสภาผู้แทนราษฎร และสำนักงาน ตลอดจนสาระความรู้ต่าง ๆ ได้ในรายการ
"ข่าวสารจากสำนักประชาสัมพันธ์"
ทุกวันอังคาร-วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา ๑๙.๓๐ - ๒๐.๐๐ นาฬิกา
ทางสถานีวิทยุรัฐสภา F.M. ๘๗.๕ เมกกะเฮิร์ตซ
= มหาวิทยาลัยราชภัฏ
ภายหลังจากรัฐสภาผ่านการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ซึ่งใช้เวลากว่า ๒ ปี นับแต่เริ่มต้นพิจารณาตั้งแต่วาระแรกของสภาผู้แทนราษฎร กระทั่งผ่านกระบวนการพิจารณาของวุฒิสภา
ซึ่งทั้งสองสภาได้ตั้งคณะกรรมาธิการจำนวนหลายคณะพิจารณา และในที่สุดกฎหมายฉบับนี้ได้มีผลบังคับใช้หลังจากได้ประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑ ตอนพิเศษ ๒๓ ก. ส่งผลให้ประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยใหม่พร้อมกันถึง ๔๑ แห่ง ทั่วประเทศ
ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยมีความอิสระและเป็นนิติบุคคล ทำให้สามารถบริหารจัดการองค์กรเพื่อแสวงหาความรู้และเป็นที่พึ่งของ
ท้องถิ่นภูมิภาค เสริมสร้างคุณภาพของคนในครอบครัว สร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศอย่างยั่งยืน และเพิ่มขีดความสามารถ
ในการแข่งขันของประเทศได้
พัฒนาการการเติบโตของ "มหาวิทยาลัยราชภัฏ" เริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๓๕
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) เพื่อเป็นสถาบันผลิตครู โดยตั้งเป็นโรงเรียนฝึกหัด
ครูอาจารย์แห่งแรก ณ โรงเลี้ยงเด็ก ถนนบำรุงเมือง กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๔๓๕ จากนั้น
วันที่ ๒๙ กันยายน ๒๔๙๗ จัดตั้งกรมฝึกหัดครู เพื่อทำหน้าที่ ผลิตครูใช้วุฒิทางครู กระทั่งวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘
มีพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. ๒๕๑๘ ขึ้น พุทธศักราช ๒๕๒๗ รัฐสภาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติครู (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๒๗ แก้ไข เพิ่มเติมพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. ๒๕๑๘ กำหนดให้วิทยาลัยครูเป็นสถาบันการศึกษาและวิจัย
มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาวิชาการในสาขาวิชาต่าง ๆ สามารถผลิตบัณฑิตเพิ่มจากสายศึกษาศาสตร์ (ค.บ.) อีก ๒ สาย
คือ สายวิทยาศาสตร์ (วท.บ.) และสายศิลปศาสตร์ (ศศ.บ.) รวม ๓ สายหลายโปรแกรมวิชา ตามความต้องการของท้องถิ่น
ได้อย่างกว้างขวาง แต่คนทั่วไปยังคิดว่า วิทยาลัยครูผลิตบัณฑิตเฉพาะสายครูเท่านั้น
ต่อมากระทรวงศึกษาธิการได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๓๕
และส่งเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๓๕คณะรัฐมนตรีส่งให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
พิจารณา เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๓๕ ใช้เวลาพิจารณา ๘ เดือน จึงส่งกลับให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๖
วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๓๘ พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏได้มีผลบังคับใช้ ส่งผลให้สถาบันราชภัฏมีศักดิ์และสิทธิ์สมบูรณ์ตามกฎหมายทุกประการ
โดยมีภารกิจของสถาบันราชภัฏ คือ ๑. ให้การศึกษาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ๒. ทำการวิจัย ๓. ทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
๔. ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู ๕. ปรับปรุง ถ่ายทอด และพัฒนาเทคโนโลยี ๖. ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม
และในที่สุดวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๗ เป็นวันที่มีความหมายต่อคนราชภัฏจำนวนมาก เพราะวันนี้คือวันก่อกำเนิดของมหาวิทยาลัยราชภัฏใหม่
เพิ่มขึ้นถึง ๔๑ แห่ง ที่ต่างต้องทำหน้าที่เป็นสถาบันการศึกษาเพื่อคนของท้องถิ่นโดยแท้
สถาบันราชภัฏและปีที่ก่อตั้ง
สถาบันราชภัฏ ปีที่ก่อตั้ง
สถาบันราชภัฏเชียงราย ๒๕๑๖
สถาบันราชภัฏเชียงใหม่ ๒๔๖๗
สถาบันราชภัฏลำปาง ๒๕๑๕
สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์ ๒๔๗๙
สถาบันราชภัฏกำแพงเพชร ๒๕๑๖
สถาบันราชภัฏนครสวรรค์ ๒๔๖๕
สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม ๒๔๗๖
สถาบันราชภัฏเพชรบูรณ์ ๒๕๑๖
สถาบันราชภัฏมหาสารคาม ๒๔๗๓
สถาบันราชภัฏเลย ๒๕๑๖
สถาบันราชภัฏสกลนคร ๒๕๐๗
สถาบันราชภัฏอุดรธานี ๒๔๖๖
สถาบันราชภัฏนครราชสีมา ๒๔๕๗
สถาบันราชภัฏบุรีรัมย์ ๒๕๑๕
สถาบันราชภัฏสุรินทร์ ๒๕๑๖
สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี ๒๔๙๑
สถาบันราชภัฏกาฬสินธุ์ ๒๕๔๔
สถาบันราชภัฏนครพนม ๒๕๔๔
สถาบันราชภัฏชัยภูมิ ๒๕๔๔
สถาบันราชภัฏร้อยเอ็ด ๒๕๔๔
สถาบันราชภัฏศรีสะเกษ ๒๕๔๔
สถาบันราชภัฏฉะเชิงเทรา ๒๔๘๓
สถาบันราชภัฏเทพสตรี ๒๔๗๙
สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ๒๔๗๙
สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ๒๔๗๕
สถาบันราชภัฏรำไพพรรณี ๒๕๑๕
สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี ๒๕๑๖
สถาบันราชภัฏนครปฐม ๒๔๗๙
สถาบันราชภัฏเพชรบุรี ๒๔๖๙
สถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ๒๔๙๗
สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช ๒๕๐๐
สถาบันราชภัฏภูเก็ต ๒๕๑๕
สถาบันราชภัฏยะลา ๒๔๗๗
สถาบันราชภัฏสงขลา ๒๔๖๒
สถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี ๒๕๑๖
สถาบันราชภัฏจันทรเกษม ๒๔๘๒
สถาบันราชภัฏธนบุรี ๒๔๙๖
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ๒๔๙๗
สถาบันราชภัฏพระนคร ๒๔๗๕
สถาบันราชภัฏสวนดุสิต ๒๔๗๗
สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา ๒๔๘๐
วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๗ เวลา ๑๔.๓๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร
พร้อมด้วยนายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ให้การรับรอง นายหลี่ เถี่ยยิ่ง (H.E. Mr. Li Tieying)
รองประธานสภาประชาชน แห่งชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน และคณะ ในโอกาสที่เดินทางเดยือนประเทศไทยในฐานะแขกของสภาผู้แทนราษฎร
ณ ห้องรับรอง ๑ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๑
= ให้การรับรองทูตอิหร่าน
วันจันทร์ที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๗ เวลา ๑๑.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องรับรอง ๑ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๑ นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา
และประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้การรับรอง นายราซูล อิสลามี เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านประจำประเทศไทยที่ได้เข้าเยี่ยมคารวะ
เพื่ออำลาในโอกาสครบวาระการปฏิบัติหน้าที่
= ให้การรับรองทูตจีน
วันพุธที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๔๗ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้การรับรอง
นายจาง จิ่วหวน เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ในโอกาสเข้ารับหน้าที่ใหม่ ณ ห้องรับรอง ๑ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๑
= รับมอบวีซีดีฟุตบอลยูโร ๒๐๐๔
วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๗ เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง พร้อมด้วย
นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รับมอบวีซีดีฟุตบอลยูโร ๒๐๐๔ จากนายสมยศ เชื้อเพชรโสภณ ผู้บริหารบริษัทยูเรก้า
เอนเตอร์เทนเมนต์ เพื่อนำไปมอบให้แก่โรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ จำนวน ๑,๐๐๐ ชุด เพื่อเป็นการ
ส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกทักษะในกีฬาฟุตบอล ณ ห้องประชุมรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๓
= เลี้ยงรับรองอาหารค่ำ
วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๗ เวลา ๑๙.๐๐ นาฬิกา นายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง
เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำ เพื่อเป็นเกียรติแก่นายหลี่ เถี่ยยิ่ง รองประธานสภาประชาชนแห่งชาติสาธารณรัฐประชาชนจีน และคณะ
ในฐานะแขกของสภาผู้แทนราษฎร ณ ห้องบอลรูม ๓ โรงแรมแชงกรี - ลา
= กรรมาธิการการพลังงานจัดสัมมนา
วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๗ เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา คณะกรรมาธิการการพลังงานสภาผู้แทนราษฎร จัดสัมมนาเรื่อง
"กรรมาธิการพลังงานพบประชาชน โครงการพลังงานทดแทนชุมชน" ณ ห้องโถง ชั้นล่าง อาคารรัฐสภา ๑
= อบรมโครงการ กบข.
วันจันทร์ที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๗ เวลา ๐๘.๔๕ นาฬิกา นางอุมาสีว์ สะอาดเอี่ยม รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ กบข. อบรมสมาชิก ประจำปี ๒๕๔๗ และมีการบรรยายโดยวิทยากรจากสำนักงาน
คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ของ กบข.
ต่อสมาชิก ทั้งในเรื่องของเหตุและสิทธิ การบริหารเงิน การลงทุน โครงการสวัสดิการต่าง ๆ ณ ห้องสารนิเทศ
อาคารรัฐสภา ๑
พระราชกฤษฎีกา
เรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๔๗
-----------------------
(พระปรมาภิไธย) ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗
เป็นปีที่ ๕๙ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่ทรงพระราชดำริว่า มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ สมควรที่จะเรียกประชุมรัฐสภาเป็นการประชุมสมัยวิสามัญ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖๒ มาตรา ๑๖๔ และมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๔๗ ในวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
= พิจารณางบประมาณแผ่นดิน ปี ๒๕๔๘
ในวันที่ ๒๓-๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๗ สภาผู้แทนราษฎรจะมีการประชุมสภาสมัยวิสามัญ เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๘ ตามที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนองบประมาณ ยอดรวมทั้งประเทศจำนวนหนึ่งล้านสองแสนล้านบาท
ซึ่งได้จัดทำยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณเป็น ๕ ด้านดังนี้
๑. ยุทธศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ
๒. ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ
๓. ยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคม การแก้ไขปัญหาความยากจน และยกระดับคุณภาพชีวิต
๔. ยุทธศาสตร์ความมั่นคงของชาติ การต่างประเทศ และการอำนวยความยุติธรรม
๕. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการประเทศ
ทั้งนี้ได้กำหนดแผนงบประมาณในเชิงบูรณาการ ปีงบประมาณ ๒๕๔๘ ดังนี้คือ
๑. แผนงบประมาณการเพิ่มศักยภาพและโอกาสของคนยากจน
๒. แผนงบประมาณการพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงในเชิงบูรณาการ
๓. แผนงบประมาณเพื่อการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
๔. แผนงบประมาณการพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิ
๕. แผนงบประมาณการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
๖. แผนงบประมาณการสร้างศักยภาพเพื่อเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในภูมิภาค
๗. แผนงบประมาณการปฏิรูปการศึกษาและการเติมปัญญาให้สังคม
๘. แผนงบประมาณทรัพยากรน้ำในเชิงบูรณาการ
๙. แผนงบประมาณการป้องกันและแก้ปัญหาอุบัติเหตุทางถนน
๑๐. แผนงบประมาณการประกันสุขภาพถ้วนหน้า
๑๑. แผนงบประมาณการวิจัยเชิงบูรณาการของประเทศ
๑๒. แผนงบประมาณการสร้างความเป็นเลิศของกลุ่มสินค้าและบริการทั้งในประเทศ
และตลาดโลก
๑๓. แผนงบประมาณการจัดการภารกิจในต่างประเทศ
สภาผู้แทนราษฎรจะเริ่มประชุมตั้งแต่เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกาเป็นต้นไป
= เสวนาประชาธิปไตย เรื่อง "ความเคลื่อนไหวทางการเมืองก่อนการเลือกตั้งครั้งหน้า"
ปัจจุบันสภาผู้แทนราษฎรกำลังจะครบวาระ ๔ ปี ในเดือนมกราคม ๒๕๔๘ นี้ ทำให้แนวโน้มความเคลื่อนไหวและ
การตื่นตัวทางการเมืองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะมีขึ้นในอนาคต อันใกล้นี้มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็น
การย้ายพรรคของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การยุบรวมของพรรคการเมือง และกระแสการตั้งพรรคทางเลือกที่ ๓ ซึ่งอาจเป็น
ทางเลือกใหม่ให้กับประชาชนหรือแม้กระทั่งต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเองก็ตาม
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้ร่วมกันจัดการเสวนาประชาธิปไตย ครั้งที่ ๒
ประจำปี ๒๕๔๗ ขึ้น เพื่อให้ประชาชนตื่นตัวทางการเมืองในการ เลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นในต้นปี ๒๕๔๘ นี้ และเปิดโอกาส
ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจเข้ารับฟังและแสดงความคิดเห็น ตลอดจนเป็นสื่อกลางในการจุดประกายให้เกิดการมีส่วนร่วมทางการเมือง
ของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยในครั้งนี้จะเสวนาในหัวข้อ เรื่อง "ความเคลื่อนไหวทางการเมืองก่อนการเลือกตั้งครั้งหน้า" สำหรับ
ผู้เข้าร่วมการเสวนาได้แก่ นายเสนาะ เทียนทอง ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน รศ.สุขุม เฉลยทรัพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และ
รศ.ใจลส์ ใจ อึ้งภากรณ์ ผู้แทนจากภาคประชาชน ร่วมเสวนา ดำเนินการเสวนาโดย นายสุวิช สุทธิประภา บรรณาธิการข่าว
การเมือง ช่อง ๙ อ.ส.ม.ท.
ทั้งนี้การเสวนาประชาธิปไตยฯ จะจัดขึ้นในวันจันทร์ที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๔๗ ณ ห้องประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏสวนดุสิต เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ นาฬิกา และผู้สนใจสามารถรับฟังการถ่ายทอดเสียงได้ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา
เอฟ.เอ็ม. ๘๗.๕ เมกกะเฮิร์ตซ
= คณะกรรมาธิการการต่างประเทศจัดสัมมนา
รัฐบาลได้มีนโยบายด้านการต่างประเทศ โดยเน้นการทูตเชิงรุกด้านเศรษฐกิจและแสวงหาความร่วมมือและ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น โดยกระทรวงพาณิชย์ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาและส่งเสริมการส่งออกสินค้าและ
ธุรกิจบริการ ทั้งกลยุทธ์การส่งเสริมการส่งออกไปสู่ตลาดใหม่ให้ได้ร้อยละ ๔๐ ในปี ๒๕๔๘ ซึ่งคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ
ได้พิจารณาแล้วเห็นสมควร ให้มีการสัมมนาเรื่อง "ทิศทางการเสริมสร้างความสัมพันธ์การต่างประเทศด้านธุรกิจการค้าและ
การลงทุนในประเทศแถบตะวันออกกลางและทวีปแอฟริกา" ขึ้น ในวันจันทร์ที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๐๐-๑๔.๐๐ นาฬิกา
ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ เพื่อรวบรวมข้อมูล ข้อคิดเห็น และประสบการณ์ระหว่างภาครัฐและเอกชน ในการกำหนดทิศทางการ
เสริมสร้างความสัมพันธ์ในด้านการค้าและการลงทุน ตลอดจนนำผลการสัมมนาไปเป็นข้อมูล เพื่อวางแผนการปฏิบัติร่วมกันระหว่าง
ภาครัฐและเอกชนแบบบูรณาการต่อไป โดยมีนายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ให้เกียรติมาเป็นประธาน
ในพิธีเปิดการสัมมนาและบรรยายพิเศษ เรื่อง "นโยบายการค้าและการลงทุนในประเทศแอฟริกาและตะวันออกกลาง" ด้วย
= "โครงการพลังงานทดแทนชุมชน"
นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ ประธานคณะกรรมาธิการการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร เปิดการสัมมนา
"โครงการพลังงานทดแทนชุมชน" เมื่อวันพุธที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๔๗ ณ ห้องโถง ชั้นล่าง อาคารรัฐสภา ๑ โดยมีผู้แทนภาครัฐ
ผู้แทนเอกชน นักเรียน สื่อมวลชน และผู้สนใจทั่วไป เข้าร่วมฟังการสัมมนาจำนวนมาก
การระดมความคิดจากนักวิชาการและผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศ และแก้ไขภาวะวิกฤตปัญหาพลังงาน
โดยเฉพาะเรื่องน้ำมันที่กำลังมีราคาสูงขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกสูงขึ้น จึงมีความจำเป็นที่ทุกหน่วยงานและองค์การต่าง ๆ
ต้องหันมาร่วมกันแก้ปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งสถาบันนิติบัญญัติโดยคณะกรมาธิการการพลังงาน ได้มีความห่วงในภาวะของ
ประเทศเช่นกัน จึงผลักดันแนวคิดไปยังรัฐบาลเพื่อพัฒนาพลังงานทดแทน ซึ่งได้ดำเนินการสัมมนาศึกษาดูงาน และนำข้อเสนอจากการ
สัมมนามาตั้งแต่เปิดสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้ในหลายโครงการ อาทิ โครงการ เอทานอล โครงการไบโอดีเซล โครงการไปโอก๊าซ
โครงการส่งเสริมพลังงานชีวมวล และพลังงานทดแทนรูปแบบอื่น ๆ ทั้งนี้เพื่อให้ฝ่ายบริหารได้มีแนวทางการผลักดันนโยบายการสร้าง
พลังงานทดแทนเพื่อการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น
สำหรับการสัมมนาครั้งนี้มีเป้าหมายหลัก คือ เผยแพร่และผลักดันให้มีการตั้งโรงงานผลิตเอทานอลหรือก๊าซโซฮอล
ในชุมชนมากขึ้น ซึ่งหากรอการผลิตระดับมหภาคอาจไม่ทันต่อภาวะวิกฤตของประเทศ นอกจากนี้ยังมีแนวคิดการผลิตไบโอดีเซลจาก
น้ำมันปาล์มที่เหลือใช้จากการประกอบอาหาร โดยเฉพาะการใช้น้ำมันทอดสิ่งต่าง ๆ ในครัวเรือนมาผลิตเป็นไบโอดีเซล ซึ่งขณะนี้
คณะกรรมาธิการมอบหมายให้คณะทำงานไปทำการเก็บรวบรวมน้ำมันที่ใช้ในโรงแรมที่ตั้งริมแม่น้ำเจ้าพระยา โดยความร่วมมือของ
สมาคมโรงแรมให้ส่งน้ำมันที่ใช้แล้วมาให้เพื่อส่งต่อไปยังกรมอู่ทหารเรือรับไปผลิตไบโอดีเซล จากนั้นจะมอบให้กับชมรมเรือล่องเจ้าพระยาใช้ต่อไป
นอกจากนี้แล้วคณะกรรมาธิการฯ จะจัดการแข่งขันดัดแปลงเครื่องจักรยานยนต์ให้สามารถใช้น้ำมันไบโอดีเซล
เพื่อเป็นโครงการนำร่องสำหรับภาคประชาชนให้หันมาใช้จักรยานยนต์ที่ใช้น้ำมันชนิดนี้ ซึ่งสามารถลดภาวะมลพิษทางสิ่งแวดล้อมและ
ประหยัดน้ำมันได้มากขึ้นด้วย โดยมีบริษัทเอกชนแจ้งความจำนงร่วมบริจาคจักรยานยนต์ เพื่อใช้ในการแข่งขันกว่า ๔๐ คันแล้ว
ทั้งนี้คาดว่าจะเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมแข่งขันในกิจกรรมดังกล่าวอย่างเป็นทางการประมาณต้นเดือนกรกฎาคม ๒๕๔๗ นี้
= ซ้อมรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลา
เนื่องในวันสถาปนารัฐสภา ครบรอบ ๗๒ ปี วันจันทร์ที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๔๗ จะมี
การจัดพิธีมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลาให้แก่ข้าราชการรัฐสภาและลูกจ้างประจำผู้ได้รับพระราชทาน
ประจำปี ๒๕๔๖ โดยขอให้ผู้ที่ประสงค์จะเข้ารับเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลาในพิธีมาร่วมซ้อมรับใน
จันทร์ที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๔๗ เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องโถงชั้นล่าง อาคารรัฐสภา ๑ พร้อมกับลงลายมือชื่อเพื่อลงทะเบียน
รายงานตัวเข้าร่วมพิธี ในวันจันทร์ที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๔๗ ระหว่างเวลา ๐๘.๓๐-๐๙.๓๐ นาฬิกา ด้วย
= การปรับปรุงระบบ "โอเปอร์เรเตอร์" ของสภาผู้แทนราษฎร
วันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๔๗ นายบุญเรือง บูรภักดิ์ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยที่ปรึกษา
(ร้อยเอกหญิง สุวัฒนา เหลืองไตรรัตน์) ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์ และ ผู้อำนวยการสำนักสารสนเทศ ร่วมนำคณะข้าราชการ
และเจ้าหน้าที่ของสำนักประชาสัมพันธ์ และสำนักสารสนเทศ ผู้ปฏิบัติงานการบริการโทรศัพท์ส่วนกลางหรือโอเปอร์เรเตอร์ของสำนักงานเลขาธิการ
สภาผู้แทนราษฎร ศึกษาดูงานการจัดระบบโทรศัพท์ ณ บริษัท เทเลคอมเอเซีย จำกัด เพื่อนำข้อมูล และวิธีการมาพัฒนาปรับปรุงระบบ
การบริการโทรศัพท์ให้สามารถบริการสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ข้าราชการ ลูกจ้าง และประชาชนทั่วไป ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง
และประทับใจในการรับบริการ
ขอเชิญรับฟัง
ข่าวความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของวงงานสภาผู้แทนราษฎร และสำนักงาน ตลอดจนสาระความรู้ต่าง ๆ ได้ในรายการ
"ข่าวสารจากสำนักประชาสัมพันธ์"
ทุกวันอังคาร-วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา ๑๙.๓๐ - ๒๐.๐๐ นาฬิกา
ทางสถานีวิทยุรัฐสภา F.M. ๘๗.๕ เมกกะเฮิร์ตซ
= มหาวิทยาลัยราชภัฏ
ภายหลังจากรัฐสภาผ่านการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ซึ่งใช้เวลากว่า ๒ ปี นับแต่เริ่มต้นพิจารณาตั้งแต่วาระแรกของสภาผู้แทนราษฎร กระทั่งผ่านกระบวนการพิจารณาของวุฒิสภา
ซึ่งทั้งสองสภาได้ตั้งคณะกรรมาธิการจำนวนหลายคณะพิจารณา และในที่สุดกฎหมายฉบับนี้ได้มีผลบังคับใช้หลังจากได้ประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑ ตอนพิเศษ ๒๓ ก. ส่งผลให้ประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยใหม่พร้อมกันถึง ๔๑ แห่ง ทั่วประเทศ
ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยมีความอิสระและเป็นนิติบุคคล ทำให้สามารถบริหารจัดการองค์กรเพื่อแสวงหาความรู้และเป็นที่พึ่งของ
ท้องถิ่นภูมิภาค เสริมสร้างคุณภาพของคนในครอบครัว สร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศอย่างยั่งยืน และเพิ่มขีดความสามารถ
ในการแข่งขันของประเทศได้
พัฒนาการการเติบโตของ "มหาวิทยาลัยราชภัฏ" เริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๓๕
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) เพื่อเป็นสถาบันผลิตครู โดยตั้งเป็นโรงเรียนฝึกหัด
ครูอาจารย์แห่งแรก ณ โรงเลี้ยงเด็ก ถนนบำรุงเมือง กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๔๓๕ จากนั้น
วันที่ ๒๙ กันยายน ๒๔๙๗ จัดตั้งกรมฝึกหัดครู เพื่อทำหน้าที่ ผลิตครูใช้วุฒิทางครู กระทั่งวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘
มีพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. ๒๕๑๘ ขึ้น พุทธศักราช ๒๕๒๗ รัฐสภาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติครู (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๒๗ แก้ไข เพิ่มเติมพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. ๒๕๑๘ กำหนดให้วิทยาลัยครูเป็นสถาบันการศึกษาและวิจัย
มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาวิชาการในสาขาวิชาต่าง ๆ สามารถผลิตบัณฑิตเพิ่มจากสายศึกษาศาสตร์ (ค.บ.) อีก ๒ สาย
คือ สายวิทยาศาสตร์ (วท.บ.) และสายศิลปศาสตร์ (ศศ.บ.) รวม ๓ สายหลายโปรแกรมวิชา ตามความต้องการของท้องถิ่น
ได้อย่างกว้างขวาง แต่คนทั่วไปยังคิดว่า วิทยาลัยครูผลิตบัณฑิตเฉพาะสายครูเท่านั้น
ต่อมากระทรวงศึกษาธิการได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๓๕
และส่งเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๓๕คณะรัฐมนตรีส่งให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
พิจารณา เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๓๕ ใช้เวลาพิจารณา ๘ เดือน จึงส่งกลับให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๖
วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๓๘ พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏได้มีผลบังคับใช้ ส่งผลให้สถาบันราชภัฏมีศักดิ์และสิทธิ์สมบูรณ์ตามกฎหมายทุกประการ
โดยมีภารกิจของสถาบันราชภัฏ คือ ๑. ให้การศึกษาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ๒. ทำการวิจัย ๓. ทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
๔. ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู ๕. ปรับปรุง ถ่ายทอด และพัฒนาเทคโนโลยี ๖. ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม
และในที่สุดวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๗ เป็นวันที่มีความหมายต่อคนราชภัฏจำนวนมาก เพราะวันนี้คือวันก่อกำเนิดของมหาวิทยาลัยราชภัฏใหม่
เพิ่มขึ้นถึง ๔๑ แห่ง ที่ต่างต้องทำหน้าที่เป็นสถาบันการศึกษาเพื่อคนของท้องถิ่นโดยแท้
สถาบันราชภัฏและปีที่ก่อตั้ง
สถาบันราชภัฏ ปีที่ก่อตั้ง
สถาบันราชภัฏเชียงราย ๒๕๑๖
สถาบันราชภัฏเชียงใหม่ ๒๔๖๗
สถาบันราชภัฏลำปาง ๒๕๑๕
สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์ ๒๔๗๙
สถาบันราชภัฏกำแพงเพชร ๒๕๑๖
สถาบันราชภัฏนครสวรรค์ ๒๔๖๕
สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม ๒๔๗๖
สถาบันราชภัฏเพชรบูรณ์ ๒๕๑๖
สถาบันราชภัฏมหาสารคาม ๒๔๗๓
สถาบันราชภัฏเลย ๒๕๑๖
สถาบันราชภัฏสกลนคร ๒๕๐๗
สถาบันราชภัฏอุดรธานี ๒๔๖๖
สถาบันราชภัฏนครราชสีมา ๒๔๕๗
สถาบันราชภัฏบุรีรัมย์ ๒๕๑๕
สถาบันราชภัฏสุรินทร์ ๒๕๑๖
สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี ๒๔๙๑
สถาบันราชภัฏกาฬสินธุ์ ๒๕๔๔
สถาบันราชภัฏนครพนม ๒๕๔๔
สถาบันราชภัฏชัยภูมิ ๒๕๔๔
สถาบันราชภัฏร้อยเอ็ด ๒๕๔๔
สถาบันราชภัฏศรีสะเกษ ๒๕๔๔
สถาบันราชภัฏฉะเชิงเทรา ๒๔๘๓
สถาบันราชภัฏเทพสตรี ๒๔๗๙
สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ๒๔๗๙
สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ๒๔๗๕
สถาบันราชภัฏรำไพพรรณี ๒๕๑๕
สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี ๒๕๑๖
สถาบันราชภัฏนครปฐม ๒๔๗๙
สถาบันราชภัฏเพชรบุรี ๒๔๖๙
สถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ๒๔๙๗
สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช ๒๕๐๐
สถาบันราชภัฏภูเก็ต ๒๕๑๕
สถาบันราชภัฏยะลา ๒๔๗๗
สถาบันราชภัฏสงขลา ๒๔๖๒
สถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี ๒๕๑๖
สถาบันราชภัฏจันทรเกษม ๒๔๘๒
สถาบันราชภัฏธนบุรี ๒๔๙๖
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ๒๔๙๗
สถาบันราชภัฏพระนคร ๒๔๗๕
สถาบันราชภัฏสวนดุสิต ๒๔๗๗
สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา ๒๔๘๐