ในการสัมมนาทางวิชาการ ภาษาไทย : "เอกลักษณ์การสืบสานและการสร้างสรรค์"เนื่องในโอกาสสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 70 ปี
สวัสดีอาจารย์นักศึกษาและผู้มีเกียรติที่เคารพ ก่อนอื่นผมต้องขอขอบคุณอาจารย์ที่ให้เกียรติผมมาปาฐกถา กระผมรู้สึกยินดีที่อย่างน้อยได้มีโอกาสมาร่วมในกิจการ ซึ่งเป็นการฉลอง 70 ปีการสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพราะว่าอย่างที่พิธีกรได้แนะนำไปเมื่อสักครู่ ผมได้มีโอกาสมาเป็นอาจารย์สอนหนังสือ แม้ว่าจะเป็นช่วงระยะเวลาอันสั้น เพียงประมาณปี กว่า ซึ่งทุกครั้งที่กลับมาก็ด้วยความเต็มใจด้วยความยินดี และจะพูดเสมอว่ายังเชื่อว่าวันข้างหน้าหวังว่าจะได้มีโอกาสมาทำงานที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นงานวิชาการ ที่พูดแบบนี้เพราะว่าผมได้พูดชัดเจนเหมือนกันว่าไม่คิดว่าจะทำงานการเมือง จนอายุ 60-70 แต่ว่าคิดว่าอายุการใช้งานของนักการเมืองก็มีอยู่อย่างจำกัด และเมื่อหมดอายุการใช้งานเมื่อไหร่ก็อยากที่จะกลับมาทำงานวิชาการและประสบการณ์ที่ได้ทำงานที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็เป็นประสบการณ์ดีที่ประทับใจ ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้มีโอกาสรับใช้มหาวิทยาลัยอีก
ผมเรียนในเบื้องต้นคงจะเป็นการออกตัวอยู่กลายๆเหมือนกันว่า โดยปกติที่จะมาเยี่ยมมหาวิทยาลัยก็มักจะเป็นการมาอภิปราย หรือการบรรยายในเรื่องเศรษฐศาสตร์บ้าง ในเรื่องรัฐศาสตร์บ้าง แล้วก็ครั้งสุดท้ายที่มาก็จะพูดเรื่องปรัชญา แต่วันนี้หนักใจเป็นพิเศษ เพราะต้องมาพูดเรื่องของภาษาไทย แล้วก็หัวข้อก็ตั้งเอาไว้น่ากลัว คือไม่ใช่พูดเรื่องภาษาอย่างเดียว ต้องมาพูดถึงการสร้างชาติด้วย ที่ต้องออกตัวเพราะว่าพูดกันตั้งแต่ต้นคือผมไม่ใช่นักภาษาและไม่ได้เรียนภาษาเป็นวิชาหลัก ซ้ำร้ายกว่านั้นเมื่อพูดถึงภาษาไทย ผมไปศึกษาในต่างประเทศตั้งแต่อายุ 11 เพราะฉะนั้นที่โรงเรียนวิชาภาษาไทยจริงๆ คือเรียนถึงประถม 6 เท่านั้น ก็ยังดีว่าจบการศึกษาภาคบังคับคือ 6 ปี ตอนนี้เขาขยายเป็น 9 ปีแล้วด้วยซ้ำ แล้วก็ไปเรียนอยู่ต่างประเทศ แม้ว่าต่อมาจะได้มาศึกษาที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงในคณะนิติศาสตร์ แต่เมื่อพูดตามความเป็นจริงก็คือ ไม่ได้เรียนวิชาภาษาไทยตั้งแต่อายุ 11 เป็นต้นมา แล้วแน่นอนที่สุดเมื่อไปเรียนต่างประเทศ ก็ต้องไปทุ่มเทกับการเรียนภาษาอื่น โดยเฉพาะที่ประเทศอังกฤษคือนอกจากภาษาอังกฤษแล้วก็ต้องไปเรียนภาษาฝรั่งเศส ซึ่งก็เป็นเหมือนภาษาที่ 2 ที่เปิดโอกาสให้ แต่ว่าที่เรียนสูงสุดในเรื่องของภาษา เป็นภาษาลาติน เพราะว่าเมื่อไปเรียนแล้วก็ชอบ อาจจะเป็นเพราะเป็นภาษาที่ไม่มีใครพูดแล้ว มันเหมือนกับเป็นการไปศึกษาเรื่องของภาษาในลักษณะของโครงสร้าง ในลักษณะของกรอบความคิด มีหลายคนพูดว่าเรียนภาษาลาตินจะคล้ายๆกับเรียนคณิตศาสตร์ เป็นเรื่องของการเรียบเรียง เป็นเรื่องของการจัดระบบความคิด ตามกรอบตามกติกาและความจำเป็น
เพราะฉะนั้นก็ต้องเรียนตรงๆว่าหนักใจที่วันนี้ต้องมาพูดในเรื่องของภาษาไทย แต่ขณะเดียวกัน ก็ขอเรียนด้วยความบริสุทธิ์ใจว่าเรื่องของภาษา เรื่องของภาษาไทย ก็เป็นเรื่องที่ผมให้ความสนใจ ส่วนหนึ่งต้องขอพูดตามตรงคือ ต้องยกความดีให้กับคุณพ่อ ซึ่งเมื่อท่านตัดสินใจว่าจะให้ผมไปเรียนต่อต่างประเทศ สิ่งที่ได้กำชับไว้ชัดเจนตั้งแต่ต้นคือว่า ขออย่าให้ลืมภาษาไทย เพราะท่านก็ทราบดีว่าเมื่อไปเรียนต่างประเทศตั้งแต่อายุ 11 แล้วก็ไปเรียนในโรงเรียนประจำ โอกาสที่จะพบกับคนไทยก็น้อยมาก ก็เกรงว่าจะลืมภาษา แต่ผผมเชื่อว่าคุณพ่อก็ทราบดีว่าผมก็ไม่มีความตั้งใจที่จะไปใช้วิตอยู่ต่างประเทศ ทราบดีว่าวันหนึ่งก็ต้องกลับมาใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทย เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็เป็นสิ่งที่ท่านกำชับไว้อย่างหนักแน่น เพราะว่าที่ท่านส่งผมไปเรียนตอนอาบยุ 11 ผมก็เพิ่งมาทราบว่าในทางวิทยาศาสตร์มีการพบความจริงว่าการเรียนภาษาถ้าเราอยากจะเรียนภาษาใหม่ แล้วสามารถที่จะใช้ภาษานั้นได้ดีเท่ากับเจ้าของภาษา ถ้าไปเรียนหลังอายุ 12 จะยากมาก เพราะฉะนั้นความตั้งใจของคุณพ่อคืออยากจะให้ผมสามารถใช้ได้ทั้ง 2 ภาษา ก็ส่งผมไปเรียนต่างประเทศ เพราะทราบว่าถ้าส่งไปช้ากว่านั้นอีกประมาณเพียง 2-3 ปีก้เห็นจะเป้นเรื่องยากที่จะสามารถใช้ภาษอังกฤษในลักษณะที่จะไปแข่งขันกับเจ้าของภาษาได้ ซึ่งก็เป็นเรื่องจริง ผมคิดว่าหลายท่านในที่นี้ที่สนใจเรื่องของภาษา เรียนรู้ภาษาจะทราบว่ายิ่งอายุมากเท่าไหร่ ยิ่งยากกับการที่จะไปเรียนภาษาอีกภาษาหนึ่งและจะใช้ภาษาให้เหมือนกับเจ้าของภาษานั้นๆ ก็เป็นเรื่องที่ยาก เพราะฉะนั้นเมื่ออยากจะให้ผมได้ภาษาอังกฤษ ก็ส่งไปตั้งแต่เล็ก เมื่อส่งไปตั้งแต่เล็ก ก็กลัวเรื่องของความลืมภาษาของตัวเอง ก็จึงได้พยายามที่จะส่งเสริมให้ผมได้มีโอกาสกลับมาเยี่ยมบ้านบ่อยๆ และขณะเดียวกันคำแนะนำที่สำคัญที่สุดคือว่า เมื่อมีโอกาสพบปะคนไทย หรือไม่ได้มีโอกาสสนทนากับคนไทย อย่างน้อยที่สุด ก็ควรจะพยายามอ่านและพยายามเขียนภาษาไทยให้มาก และเรื่องที่ 2 ที่คุณพ่อพยายามกำชับไว้คือว่า ขอให้มีแฟนเป็นคนไทย แล้วบังเอิญแฟนผมก็อยู่เมืองไทย ก็เลยเอา 2 เรื่องมาผสมกัน บังเอิญเขียนจดหมายหาเขาบ่อยเป็นภาษาไทย ก็ช่วยให้ไม่ลืมภาษาไทย อันนี้ก็เป็นเกร็ดเล็กๆน้อยๆ
แต่ที่เลล่ามาก็เพื่อจะบอกว่าความสำคัญของภาษาของเราเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนและมีความล้ำลึกอยู่ในตัว คือถ้าผมต้องไปอยู่ต่างประเทศในสังคมที่ใช้ภาษาอื่น สิ่งหนึ่งซึ่งผผมเรียนรู้จากความพยายามที่จะเรียนภาษาอังกฤษให้สามารถสื่อสารกับคนอังกฤษได้ กับการไม่ลืมภาษาไทยคือว่า เราไม่สามารถใช้ภาษาได้ดีโดยการเรียนรู้ด้วยการแปล คนจะต้องการแปลตามตัวอักษร คือในความเป็นจริง ใครที่เริ่มเรียนภาษาใหม่เริ่มแรกก็ต้องพกพจนานุกรม และคำไหนไม่รู้จักก็เปิดและแปลตามพจนานุกรม อันนี้ก็เป็นเรื่องเลี่ยงได้ยาก แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งจะทราบว่าถ้าพยายามเรียนภาษาโดยการแปลอีกภาษาหนึ่งจะไปไม่ได้ไกล และเราก็ไม่ทราบไม่เข้าใจภาษานั้นๆจริงๆ ก็ถึงบอกว่าเวลาไปภาษาที่ 2 ภาษาที่ 3 จะดูว่าเราไปได้ไกลแค่ไหน เขาบอกว่าเมื่อไหร่ที่เริ่มฝันเป็นภาษานั้น ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าเราสำรวจได้จริงหรือเปล่าว่าเราฝันเป็นภาษาอะไร แสดงว่าเราไปได้ไกลแล้ว คือเราเริ่มคิดในภาษานั้นเป็นภาษา สิ่งที่บ่งบอกคืออะไร ก็คือมันบ่งบอกว่าภาษานั้นมันสะท้อนความคิด คนแต่ละสังคมแต่ละชาติ มีกรอบความคิดที่แตกต่างกัน และความจริงความสำคัญของภาษาในแง่ของการสะท้อนเอกลักษณ์ของชาติ วัฒนธรรมของชาติ จึงเป็นสิ่งที่มีความชัดเจนมาก และถ้าเราสำรวจเกร็ดเล็กๆน้อยๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษา เราก็จะยิ่งเข้าใจสิ่งเหล่านี้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เวลาเราเริ่มคุ้นเคยกับภาษาอื่นๆ เราก็จะเริ่มมีความเข้าใจ ความเหมือนและความต่างของภาษามากขึ้นด้วย เพราะฉะนั้นสิ่งนี้ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะพูดไว้เลยว่า ถ้าเราคิดถึงการที่จะรักษาภาษาของเราและทำให้คนของเราเข้าใจภาษาไม่ได้หมายความว่า เราจะต้องปฏิเสธการเรียนภาษาอื่น ยังมีแนวคิดอยู่ว่าที่กังวลหรือเกรงกลัวว่า ถ้าเราเริ่มให้เด็กของเราเรียนภาษาต่างประเทศแล้ว จะกระทบกับภาษาไทย ผมไม่คิดอย่างนั้น แต่ผมคิดว่าโดยประสบการณ์อย่างการที่เราเริ่มรู้ภาษาอื่นได้ลึกซึ้งมากขึ้น จะทำให้เราหันมามองภาษาของเราด้วยความเข้าใจที่ลึกซึ้งมากขึ้น แต่การใช้ภาษาอย่างไรก็เป็นประเด็นที่คงต้องพูดกันต่อไปว่าเมื่อภาษาต่างประเทศเข้ามามีบทบาทในสังคม ในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น ควรจะเป็นอย่างไร อันนั้นก็ต้องว่ากันไป
ยิ่งผมได้มีโอกาสมาทำงานการเมือง แล้วโดยเฉพาะการเมืองในยุคปัจจุบันที่การสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญมาก การที่จะต้องให้ความสำคัญกับภาษาก็เป็นสิ่งที่ผมทนึกตระหนักอยู่ตลอดเวลา ผมทราบดีว่าในสถานะนักการเมืองหลายคนในที่นี้ก็คิดเหมือนกันว่าจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ในเรื่องของการใช้ภาษาอภิปรายไม่ไว้วางใจและเป็นนมหกรรมการประท้วงทีไร ก็จะมีคนแสดงความคิดเห็นมามาก ไม่พอใจการใช้ภาษากิริยาของนักการเมือง แต่ว่าจริงๆแล้วก็ต้องเรียนว่างานการเมืองก็เป็นงานที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับการสื่อสาร เพราะฉะนั้นก็เป็นความรับผิดชอบของนักการเมืองด้วยที่จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องของการใช้ภาษา และผมก็ยังคิดว่านักการเมืองจะเป็นนักการเมืองที่ดีได้ ก็ต้องเป็นนักการเมืองที่สืบสานความคิดของตนเองไปยังคนหมู่มาก ไปยังประชาชนได้ด้วย ซึ่งอันนี้ก็กลับมาในเรื่องของทักษะการใช้ภาษาเช่นเดียวกัน
ทีนี้เรากลับมาดูว่าในแง่ของภาษาไทยที่เราบอกว่า พอเราสัมผัสหรือตัวผมเองไปสัมผัสกับภาษาอื่น เห็นชัดเจนว่ามีเอกลักษณ์เป็นสิ่งที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมของเรา ตรงนี้คงจะเป็นความภาคภูมิใจ เพราะว่าคงไม่มีนักวิชาการที่ได้ไปศึกษาแล้วก็พบว่าในโลกของเราในอดีตและมาถึงปัจจุบัน จำนวนภาษาที่ใช้กันอยู่ในโลกเคยมีถึงเป็นหลักหมื่น แต่ก็มีการการคาดคะเนว่า ณ วันหนึ่งจำนวนภาษาที่ใช้กันอยู่ในโลก ยังมีภาษาที่หายไปจากโลกอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาจจะเป็นเงื่อนไขของการเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคมก็สุดแท้แต่ ผมเคยได้เห็นแนวความคิดของนักวิชาการที่คาดคะเนด้วยซ้ำว่า อนาคตข้างหน้าอาจจะเหลือภาษาอีกไม่กี่ภาษาที่นับได้ อาจจะเป็นหลักสิบหรือหลักหมื่น ซึ่งผมก็ไม่แน่ใจว่าจะเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่ แต่สิ่งหนึ่งซึ่งทำให้เราได้คิดอยู่ตลอดเวลาว่า ถ้าเราคิดว่าภาษาของเรามีความสำคัญและเราต้องการรักษาภาษาของเราไว้ เราตายใจและประมาทไม่ได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงทั้งหลายก็จะเป็นปัจจัยที่จะทำลายให้ภาษาของคนกลุ่มหนึ่งหรือของประเทศหนึ่งหรือของสังคมหนึ่งหายไปได้จากโลกในวันข้างหน้า ก็ต้องมาคิดว่าทำอย่างไรเราจะรักษาภาษาของเราไว้ ผมคิดว่าผมไม่จำเป็นต้องย้ำถึงความสำคัญที่ผมคิดว่าการที่เรามีภาษาของเราเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจ ความจริงเวลาเราไปประเทศต่างๆ สิ่งนี้จะทำให้เรามีความรู้สึกภาคภูมิใจมากขึ้น ท่านคิดดูเอาก็แล้วกันว่าในโลกปัจจุบันที่เขาบอกเหลือมหาอำนาจอยู่ประเทศเดียว ประเทศมหาอำนาจนั้นไม่มีภาษาเป็นของตัวเอง ต้องไปยืมภาษาของประเทศในรูปแบบใหม่ แล้วก็สะท้อนให้เห็นถึงสังคมที่รากเขาจะลึกมาก ซึ่งอาจจะเป็นทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนได้ แต่มันก็เป็นตัวหนึ่งที่บ่งบอกว่าแม้แต่ประเทศมหาอำนาจก็ขาดบางสิ่งบางอย่างที่เรามี
ยิ่งไปกว่านั้นเรามีอักขระที่ตัวอักษรของเรา ในขณะที่หลายภาษาจะต้องอิงเกี่ยวกับตัวอักษรที่ต้องแบ่งกันใช้ เช่นถ้าเราจะเดินทางไปในยุโรป แม้จะมีหลายภาษาก็ตาม แต่ก็มีอักษรที่เรียกว่าอักษรโบราณเป็นต้น อันนี้ก็เป็นตัวบ่งบอก และก็เป็นการยืนยันในบางเรื่องคือ การที่เรามีความเป็นอิสระเพราะแม้แต่ในประเทศเพื่อนบ้านของเรา ซึ่งในบางช่วงของประวัติศาสตร์อาจจะตกเป็นเมืองขึ้น ถูกล่าอาณานิคม หลายประเทศเหล่านั้นก็ต้องใช้ภาษาของต่างประเทศ ซึ่งบางคนก็บอกว่าบางทีเรื่องเรานี้ก็ยังเสียเปรียบ เพราะว่าปัจจุบันภาษาอังกฤษเป็นภาษที่ใช้หรือมีความจำเป็นต้องใช้กันมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามผมคิดว่าตรงนี้เป็นความภาคภูมิใจ และเป็นการบ่งบอกถึงความเป็นตัวของตัวเองของเราได้เป็นอย่างดี และเมื่อผมได้ย้ำไปก่อนหน้านี้ว่า ภาษาแต่ละภาษา มันไม่ใช่สิ่งที่จะมาแปลข้ามภาษากันได้ เพราะกรอบความคิดไม่เหมือนกัน มันก็ยิ่งตอกย้ำความเป็นเอกลักษณ์ เวลาผมทำงานที่จะต้องเกี่ยวข้องกับการแปล ตรงนี้ชัดเจน หรือเวลาที่เราอ่านหรือพยายามที่จะฝึกฝนการใช้ภาษาของเราเอง ก็จะเห็นความแตกต่างและความลึกซึ้งหรือความสละสลวยหรือวิธีการเรียบเรียงความคิดที่ไม่เหมือนกัน คำบางคำในภาษาไทยยังไงก็แปลเป็นภาษาอังกฤษไม่ได้ เช่น เกรงใจ คิดไม่ออกว่าจะต้องพูดแปลตรงๆว่าเกรงใจภาษาอังกฤษว่าอะไร หรือคำว่าหมั่นไส้ คิดไม่ออก แต่ว่ามันบ่งบอกอะไรบางอย่างว่า เราสามารถแยกแยะความเกรงใจหรือความหมั่นไส้คนออกจากความรู้สึกอื่นๆ ที่อาจจะใกล้เคียงกัน หรือเราแยกระหว่างบารมีกับอิทธิพล แต่ว่าเวลาเราแปล ผมไม่แน่ใจว่ามันจะไปจบลงแบบที่เป็นรูปธรรมหรือไม่
สิ่งต่างๆเหล่านี้บอกให้เห็นถึงความคิด และเวลาเราแปลภาษาเราเห็นชัดเจนขึ้นว่าการเรียบเรียงหรือการใช้กรอบความคิดไม่เหมือนกัน เอาง่ายๆคือเรามีความยาวของข้อความ ผมคิดว่าหลายท่านคงจะคุ้นเคย และพบว่ากรณีภาษาไทยกับภาษาอังกฤษจะสื่อสารข้อความเดียวกัน ถ้าแปลแล้วภาษาอังกฤษจะสั้นกว่า ซึ่งตรงนี้บ่งบอกในแง่หนึ่ง คนที่ใช้ภาษาอังกฤษก็อาจจะบอกว่าจุดแข็งของเขาก็คือ ความกระชับการสื่อสานอะไรที่ตรงไปตรงมาทำได้ง่าย แต่ในขณะเดียวกันมันก็บ่งบอกว่าคนไทยมีความเป็นอิสระกว่า จะสื่อสารสิ่งเดียวกันตัวภาษาจะสะท้อนได้ละเอียดกว่า ขึ้นอยู่กับค่านิยมหรือความคิดของแต่ละคน หรือความรู้สึกของแต่ละคนก็อาจจะบอกว่า มันมีความสละสลวยกว่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันเป็นตัวที่มีผลต่อค่านิยมในสังคมกับกรอบความคิดของคนในสังคมเช่นเดียวกัน และทำให้เรามองเห็นความสำคัญในการรักษาสิ่งเหล่านี้ เราก็จำเป็นจะต้องมาดูว่า สาระหรือจุดแข็งเหล่านี้เราจะรักษาได้อย่างนี้จะเป็นอย่างไร เพราะประเด็นต่อไปที่ผมอยากจะนำเสนอคือว่า การจะอนุรักษ์ถ้านั่นคือคำที่เราต้องการ หรือการที่เราจะสร้างสรรค์หรือการที่จะรักษาภาษาของเรา เราก็ต้องยอมรับความจริงว่า ภาษาเป็นสิ่งมีชีวิต มีพลวัตร ไม่หยุดอยู่กับที่ ทุกภาษาที่ใช้กันอยู่ในโลกถ้าเป็นภาษาที่มีประวัติย้อนกลับไป มันก็ไม่เหมือนกับภาษาที่ประเทศนั้น สังคมนั้น หรือคนเชื้อชาตินั้น ใช้เมื่อหลายสิบปีก่อนหรือร้อยปีกว่าหรือสองร้อยปีกว่า เพราะฉะนั้นคือเวลาที่เราจะพูดถึงการที่เราจะรักษาหรืออนุรักษ์ภาษาของเราคงไม่ได้หมายความว่าเราจะบอกว่าภาษาของเราไม่มีการปรับไม่มีการเปลี่ยน เพราะที่สุดเป็นอย่างนี้ ยิ่งในสภาวะปัจจุบันที่เราพูดถึงโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วตลอดเวลา โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงที่มีลักษณะไร้พรมแดน เราจะเรียกกระแสโลกาภิวัฒน์ ถ้าเราไม่ยอมรับความจริงตรงฝนี้และยอมรับว่าภาษาก็มีผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงตรงนี้ ผมว่าเราก็จะหลงทางว่าระบบที่ทำให้ภาษาของเราเป็นภาษาที่คนของเราสามารถใช้ได้เป็นภาษาของตัวเองได้
เพราะฉะนั้นวันนี้ผมก็อยากจะนำเสนอเป็นข้อคิดกับคนที่ไม่รู้ ผู้รู้จะเป็นวิทยากรที่ศึกษาหรือทำงานวิจัยด้านนี้โดยตรง แต่ว่าในภาวะของคนที่ใช้ภาษาไทยคนหนึ่งก็ต้องให้ความสำคัญกับการใช้ภาษา คือมองและคิดในบางเรื่องว่ามองไปข้างหน้ามองไปในอนาคต เราควรจะดูแลรักษาภาษาของเราอย่างไร สิ่งที่ผมคิดว่ากำลังกระทบกับการใช้ภาษาของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือความก้าวหน้าของวิทยาการและเทคโนโลยี โดยเฉพาะเมื่อมาในสถาบันการศึกษา ก็ต้องยอมรับความเป็นจริงเลยว่ายิ่งเนียนสูงไปในสาขาใด ศัพท์เทคนิคศัพท์เฉพาะ ศัพท์ที่ถูกกำหนดขึ้นมา โดยเจาะจงไปในความเชี่ยวชาญของแต่ละสาขาวิชา โดยเฉพาะถ้าสิ่งนั้นมันเกิดขึ้นในต่างประเทศ เราพยายามจะสื่อสารเป็นภาษาไทยยาก เพราะฉะนั้นก็ไม่แปลกใจว่าคนที่ต้อองใช้ภาษาอังกฤษในงานการของเขาเช่น ในแวดวงของนักเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือแพทย์ หรือแม้กระทั่งคนในวงการการเงิน ซึ่งต้องเจอกับนวัตกรรมการวิเคราะห์ต่างๆที่เป็นภาษาต่างประเทศ จะเริ่มมีปัญหาที่จะนำสิ่งเหล่านี้มาใช้เป็นภาษาไทย ถามว่าตรงนี้แปลว่าเรากำลังจะสูญเสียภาษาของเราใช่หรือไม่ ผมคิดว่าไม่ใช่แต่อยู่ที่ว่าเราจะรับ เราจะให้สิ่งเหล่านี้มาอยู่ในภาษาของเรา แบบของเราได้ดีมากน้อยแค่ไหน อย่างเช่น กรณีของความก้าวหน้าของเทคโนโลยี กรณีของสิงประดิษฐ์ใหม่ๆ หรือนวัตกรรมที่เกิดขึ้น ส่วนตอนนี้ผมเชื่อว่าใครที่ใช้คอมพิวเตอร์เล่นคอมพิวเตอร์ ก็จะทราบว่าคงจะรอการบัญญัติคำภาษาไทยที่เป็นทางการ ซึ่งก็ไม่แปลกเพาะคำว่าคอมพิวเตอร์เราก็ทราบ ไม่ใช่คำที่เกิดขึ้นจากภาไทยแน่นอน แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง เราก็พยายามที่จะบัญญัติศัพท์ที่เป็นภาษาไทยหรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งผมไม่ทราบ ตั้งแต่สมองกลมาจนถึงอะไรก็แล้วแต่ สุดท้ายถ้าคนไม่ใช้มันก็ไม่เป็นส่วนหนึ่งของภาษา ไม่ถึงกับต้องมาใช้แบบตั้งใจใช้และคนจะเข้าใจได้ต้องแปลกลับไปเป็นภาษาอังกฤษก่อนแล้วถึงเข้าใจ ผมว่าเราควรจะทำให้มันเป็นส่วนหนึ่งของภาษาไทยไม่ยาก อย่างเช่นที่เราก็ชอบพูดกันตลกๆ จนผมก็สับสนไปแล้วว่ามันเป็นจริงหรือไม่จริงว่า ซอฟท์แวร์นี่จะเรียกละมุนภัณฑ์หรือไม่ หรือแม้แต่ตอนหลังเราก็พยายามจะเปลี่ยนว่ามันคือชุดคำสั่ง ผมก็ไม่เข้าใจว่าให้คนที่ใช้คำนี้ได้ดีเท่ากับการใช้คำว่าซอฟท์แวร์หรือไม่ สิ่งนี้คือสิ่งที่มันท้าทายเหมือนกันว่า ถ้าเราสามารถที่จะมีคนที่สามารถกำหนดกรอบ กำหนดการบัญญัติศัพท์ที่ทำให้คนใช้และเข้าใจรวดเร็ว เราก็จะมีศัพท์ที่เป็นแบบแผน
ผมมานั่งนึกดูว่า ในอดีตเราสามารถทำได้ในบางกรณี ผมก็เชื่อว่าตู้เย็นหรือเตาอบก็ไม่ได้เกิดขึ้นในเมืองไทย แต่ว่ามันก็สามารถที่จะมากำหนดเป็นศัพท์เป็นคำที่คนเข้าใจมันก็ใช้ติดกันมา แต่ว่าบางอย่างมันก็อาจจะไม่ติดปาก ผมไม่แน่ใจกรณีของโทรทัศน์ก็ชัดเจนพอสมควร แต่ว่าสุดท้ายแล้วถ้าคนสะดวกที่จะพูดทีวีมากกว่า คำว่าโทรทัศน์ก็อาจจะหายไปได้ นี่ผมก็เป็นห่วงโทรสารอยู่ว่าจะนั่งยืนหรือไม่ ตัวเครื่องด้วย และตัวศัพท์โทรสารเราก็ไม่แน่ใจ เพราะฉะนั้นมันต้องมีวิธีการ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 20 มิ.ย. 2547--จบ--
-ดท-
สวัสดีอาจารย์นักศึกษาและผู้มีเกียรติที่เคารพ ก่อนอื่นผมต้องขอขอบคุณอาจารย์ที่ให้เกียรติผมมาปาฐกถา กระผมรู้สึกยินดีที่อย่างน้อยได้มีโอกาสมาร่วมในกิจการ ซึ่งเป็นการฉลอง 70 ปีการสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพราะว่าอย่างที่พิธีกรได้แนะนำไปเมื่อสักครู่ ผมได้มีโอกาสมาเป็นอาจารย์สอนหนังสือ แม้ว่าจะเป็นช่วงระยะเวลาอันสั้น เพียงประมาณปี กว่า ซึ่งทุกครั้งที่กลับมาก็ด้วยความเต็มใจด้วยความยินดี และจะพูดเสมอว่ายังเชื่อว่าวันข้างหน้าหวังว่าจะได้มีโอกาสมาทำงานที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นงานวิชาการ ที่พูดแบบนี้เพราะว่าผมได้พูดชัดเจนเหมือนกันว่าไม่คิดว่าจะทำงานการเมือง จนอายุ 60-70 แต่ว่าคิดว่าอายุการใช้งานของนักการเมืองก็มีอยู่อย่างจำกัด และเมื่อหมดอายุการใช้งานเมื่อไหร่ก็อยากที่จะกลับมาทำงานวิชาการและประสบการณ์ที่ได้ทำงานที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็เป็นประสบการณ์ดีที่ประทับใจ ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้มีโอกาสรับใช้มหาวิทยาลัยอีก
ผมเรียนในเบื้องต้นคงจะเป็นการออกตัวอยู่กลายๆเหมือนกันว่า โดยปกติที่จะมาเยี่ยมมหาวิทยาลัยก็มักจะเป็นการมาอภิปราย หรือการบรรยายในเรื่องเศรษฐศาสตร์บ้าง ในเรื่องรัฐศาสตร์บ้าง แล้วก็ครั้งสุดท้ายที่มาก็จะพูดเรื่องปรัชญา แต่วันนี้หนักใจเป็นพิเศษ เพราะต้องมาพูดเรื่องของภาษาไทย แล้วก็หัวข้อก็ตั้งเอาไว้น่ากลัว คือไม่ใช่พูดเรื่องภาษาอย่างเดียว ต้องมาพูดถึงการสร้างชาติด้วย ที่ต้องออกตัวเพราะว่าพูดกันตั้งแต่ต้นคือผมไม่ใช่นักภาษาและไม่ได้เรียนภาษาเป็นวิชาหลัก ซ้ำร้ายกว่านั้นเมื่อพูดถึงภาษาไทย ผมไปศึกษาในต่างประเทศตั้งแต่อายุ 11 เพราะฉะนั้นที่โรงเรียนวิชาภาษาไทยจริงๆ คือเรียนถึงประถม 6 เท่านั้น ก็ยังดีว่าจบการศึกษาภาคบังคับคือ 6 ปี ตอนนี้เขาขยายเป็น 9 ปีแล้วด้วยซ้ำ แล้วก็ไปเรียนอยู่ต่างประเทศ แม้ว่าต่อมาจะได้มาศึกษาที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงในคณะนิติศาสตร์ แต่เมื่อพูดตามความเป็นจริงก็คือ ไม่ได้เรียนวิชาภาษาไทยตั้งแต่อายุ 11 เป็นต้นมา แล้วแน่นอนที่สุดเมื่อไปเรียนต่างประเทศ ก็ต้องไปทุ่มเทกับการเรียนภาษาอื่น โดยเฉพาะที่ประเทศอังกฤษคือนอกจากภาษาอังกฤษแล้วก็ต้องไปเรียนภาษาฝรั่งเศส ซึ่งก็เป็นเหมือนภาษาที่ 2 ที่เปิดโอกาสให้ แต่ว่าที่เรียนสูงสุดในเรื่องของภาษา เป็นภาษาลาติน เพราะว่าเมื่อไปเรียนแล้วก็ชอบ อาจจะเป็นเพราะเป็นภาษาที่ไม่มีใครพูดแล้ว มันเหมือนกับเป็นการไปศึกษาเรื่องของภาษาในลักษณะของโครงสร้าง ในลักษณะของกรอบความคิด มีหลายคนพูดว่าเรียนภาษาลาตินจะคล้ายๆกับเรียนคณิตศาสตร์ เป็นเรื่องของการเรียบเรียง เป็นเรื่องของการจัดระบบความคิด ตามกรอบตามกติกาและความจำเป็น
เพราะฉะนั้นก็ต้องเรียนตรงๆว่าหนักใจที่วันนี้ต้องมาพูดในเรื่องของภาษาไทย แต่ขณะเดียวกัน ก็ขอเรียนด้วยความบริสุทธิ์ใจว่าเรื่องของภาษา เรื่องของภาษาไทย ก็เป็นเรื่องที่ผมให้ความสนใจ ส่วนหนึ่งต้องขอพูดตามตรงคือ ต้องยกความดีให้กับคุณพ่อ ซึ่งเมื่อท่านตัดสินใจว่าจะให้ผมไปเรียนต่อต่างประเทศ สิ่งที่ได้กำชับไว้ชัดเจนตั้งแต่ต้นคือว่า ขออย่าให้ลืมภาษาไทย เพราะท่านก็ทราบดีว่าเมื่อไปเรียนต่างประเทศตั้งแต่อายุ 11 แล้วก็ไปเรียนในโรงเรียนประจำ โอกาสที่จะพบกับคนไทยก็น้อยมาก ก็เกรงว่าจะลืมภาษา แต่ผผมเชื่อว่าคุณพ่อก็ทราบดีว่าผมก็ไม่มีความตั้งใจที่จะไปใช้วิตอยู่ต่างประเทศ ทราบดีว่าวันหนึ่งก็ต้องกลับมาใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทย เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็เป็นสิ่งที่ท่านกำชับไว้อย่างหนักแน่น เพราะว่าที่ท่านส่งผมไปเรียนตอนอาบยุ 11 ผมก็เพิ่งมาทราบว่าในทางวิทยาศาสตร์มีการพบความจริงว่าการเรียนภาษาถ้าเราอยากจะเรียนภาษาใหม่ แล้วสามารถที่จะใช้ภาษานั้นได้ดีเท่ากับเจ้าของภาษา ถ้าไปเรียนหลังอายุ 12 จะยากมาก เพราะฉะนั้นความตั้งใจของคุณพ่อคืออยากจะให้ผมสามารถใช้ได้ทั้ง 2 ภาษา ก็ส่งผมไปเรียนต่างประเทศ เพราะทราบว่าถ้าส่งไปช้ากว่านั้นอีกประมาณเพียง 2-3 ปีก้เห็นจะเป้นเรื่องยากที่จะสามารถใช้ภาษอังกฤษในลักษณะที่จะไปแข่งขันกับเจ้าของภาษาได้ ซึ่งก็เป็นเรื่องจริง ผมคิดว่าหลายท่านในที่นี้ที่สนใจเรื่องของภาษา เรียนรู้ภาษาจะทราบว่ายิ่งอายุมากเท่าไหร่ ยิ่งยากกับการที่จะไปเรียนภาษาอีกภาษาหนึ่งและจะใช้ภาษาให้เหมือนกับเจ้าของภาษานั้นๆ ก็เป็นเรื่องที่ยาก เพราะฉะนั้นเมื่ออยากจะให้ผมได้ภาษาอังกฤษ ก็ส่งไปตั้งแต่เล็ก เมื่อส่งไปตั้งแต่เล็ก ก็กลัวเรื่องของความลืมภาษาของตัวเอง ก็จึงได้พยายามที่จะส่งเสริมให้ผมได้มีโอกาสกลับมาเยี่ยมบ้านบ่อยๆ และขณะเดียวกันคำแนะนำที่สำคัญที่สุดคือว่า เมื่อมีโอกาสพบปะคนไทย หรือไม่ได้มีโอกาสสนทนากับคนไทย อย่างน้อยที่สุด ก็ควรจะพยายามอ่านและพยายามเขียนภาษาไทยให้มาก และเรื่องที่ 2 ที่คุณพ่อพยายามกำชับไว้คือว่า ขอให้มีแฟนเป็นคนไทย แล้วบังเอิญแฟนผมก็อยู่เมืองไทย ก็เลยเอา 2 เรื่องมาผสมกัน บังเอิญเขียนจดหมายหาเขาบ่อยเป็นภาษาไทย ก็ช่วยให้ไม่ลืมภาษาไทย อันนี้ก็เป็นเกร็ดเล็กๆน้อยๆ
แต่ที่เลล่ามาก็เพื่อจะบอกว่าความสำคัญของภาษาของเราเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนและมีความล้ำลึกอยู่ในตัว คือถ้าผมต้องไปอยู่ต่างประเทศในสังคมที่ใช้ภาษาอื่น สิ่งหนึ่งซึ่งผผมเรียนรู้จากความพยายามที่จะเรียนภาษาอังกฤษให้สามารถสื่อสารกับคนอังกฤษได้ กับการไม่ลืมภาษาไทยคือว่า เราไม่สามารถใช้ภาษาได้ดีโดยการเรียนรู้ด้วยการแปล คนจะต้องการแปลตามตัวอักษร คือในความเป็นจริง ใครที่เริ่มเรียนภาษาใหม่เริ่มแรกก็ต้องพกพจนานุกรม และคำไหนไม่รู้จักก็เปิดและแปลตามพจนานุกรม อันนี้ก็เป็นเรื่องเลี่ยงได้ยาก แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งจะทราบว่าถ้าพยายามเรียนภาษาโดยการแปลอีกภาษาหนึ่งจะไปไม่ได้ไกล และเราก็ไม่ทราบไม่เข้าใจภาษานั้นๆจริงๆ ก็ถึงบอกว่าเวลาไปภาษาที่ 2 ภาษาที่ 3 จะดูว่าเราไปได้ไกลแค่ไหน เขาบอกว่าเมื่อไหร่ที่เริ่มฝันเป็นภาษานั้น ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าเราสำรวจได้จริงหรือเปล่าว่าเราฝันเป็นภาษาอะไร แสดงว่าเราไปได้ไกลแล้ว คือเราเริ่มคิดในภาษานั้นเป็นภาษา สิ่งที่บ่งบอกคืออะไร ก็คือมันบ่งบอกว่าภาษานั้นมันสะท้อนความคิด คนแต่ละสังคมแต่ละชาติ มีกรอบความคิดที่แตกต่างกัน และความจริงความสำคัญของภาษาในแง่ของการสะท้อนเอกลักษณ์ของชาติ วัฒนธรรมของชาติ จึงเป็นสิ่งที่มีความชัดเจนมาก และถ้าเราสำรวจเกร็ดเล็กๆน้อยๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษา เราก็จะยิ่งเข้าใจสิ่งเหล่านี้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เวลาเราเริ่มคุ้นเคยกับภาษาอื่นๆ เราก็จะเริ่มมีความเข้าใจ ความเหมือนและความต่างของภาษามากขึ้นด้วย เพราะฉะนั้นสิ่งนี้ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะพูดไว้เลยว่า ถ้าเราคิดถึงการที่จะรักษาภาษาของเราและทำให้คนของเราเข้าใจภาษาไม่ได้หมายความว่า เราจะต้องปฏิเสธการเรียนภาษาอื่น ยังมีแนวคิดอยู่ว่าที่กังวลหรือเกรงกลัวว่า ถ้าเราเริ่มให้เด็กของเราเรียนภาษาต่างประเทศแล้ว จะกระทบกับภาษาไทย ผมไม่คิดอย่างนั้น แต่ผมคิดว่าโดยประสบการณ์อย่างการที่เราเริ่มรู้ภาษาอื่นได้ลึกซึ้งมากขึ้น จะทำให้เราหันมามองภาษาของเราด้วยความเข้าใจที่ลึกซึ้งมากขึ้น แต่การใช้ภาษาอย่างไรก็เป็นประเด็นที่คงต้องพูดกันต่อไปว่าเมื่อภาษาต่างประเทศเข้ามามีบทบาทในสังคม ในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น ควรจะเป็นอย่างไร อันนั้นก็ต้องว่ากันไป
ยิ่งผมได้มีโอกาสมาทำงานการเมือง แล้วโดยเฉพาะการเมืองในยุคปัจจุบันที่การสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญมาก การที่จะต้องให้ความสำคัญกับภาษาก็เป็นสิ่งที่ผมทนึกตระหนักอยู่ตลอดเวลา ผมทราบดีว่าในสถานะนักการเมืองหลายคนในที่นี้ก็คิดเหมือนกันว่าจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ในเรื่องของการใช้ภาษาอภิปรายไม่ไว้วางใจและเป็นนมหกรรมการประท้วงทีไร ก็จะมีคนแสดงความคิดเห็นมามาก ไม่พอใจการใช้ภาษากิริยาของนักการเมือง แต่ว่าจริงๆแล้วก็ต้องเรียนว่างานการเมืองก็เป็นงานที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับการสื่อสาร เพราะฉะนั้นก็เป็นความรับผิดชอบของนักการเมืองด้วยที่จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องของการใช้ภาษา และผมก็ยังคิดว่านักการเมืองจะเป็นนักการเมืองที่ดีได้ ก็ต้องเป็นนักการเมืองที่สืบสานความคิดของตนเองไปยังคนหมู่มาก ไปยังประชาชนได้ด้วย ซึ่งอันนี้ก็กลับมาในเรื่องของทักษะการใช้ภาษาเช่นเดียวกัน
ทีนี้เรากลับมาดูว่าในแง่ของภาษาไทยที่เราบอกว่า พอเราสัมผัสหรือตัวผมเองไปสัมผัสกับภาษาอื่น เห็นชัดเจนว่ามีเอกลักษณ์เป็นสิ่งที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมของเรา ตรงนี้คงจะเป็นความภาคภูมิใจ เพราะว่าคงไม่มีนักวิชาการที่ได้ไปศึกษาแล้วก็พบว่าในโลกของเราในอดีตและมาถึงปัจจุบัน จำนวนภาษาที่ใช้กันอยู่ในโลกเคยมีถึงเป็นหลักหมื่น แต่ก็มีการการคาดคะเนว่า ณ วันหนึ่งจำนวนภาษาที่ใช้กันอยู่ในโลก ยังมีภาษาที่หายไปจากโลกอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาจจะเป็นเงื่อนไขของการเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคมก็สุดแท้แต่ ผมเคยได้เห็นแนวความคิดของนักวิชาการที่คาดคะเนด้วยซ้ำว่า อนาคตข้างหน้าอาจจะเหลือภาษาอีกไม่กี่ภาษาที่นับได้ อาจจะเป็นหลักสิบหรือหลักหมื่น ซึ่งผมก็ไม่แน่ใจว่าจะเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่ แต่สิ่งหนึ่งซึ่งทำให้เราได้คิดอยู่ตลอดเวลาว่า ถ้าเราคิดว่าภาษาของเรามีความสำคัญและเราต้องการรักษาภาษาของเราไว้ เราตายใจและประมาทไม่ได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงทั้งหลายก็จะเป็นปัจจัยที่จะทำลายให้ภาษาของคนกลุ่มหนึ่งหรือของประเทศหนึ่งหรือของสังคมหนึ่งหายไปได้จากโลกในวันข้างหน้า ก็ต้องมาคิดว่าทำอย่างไรเราจะรักษาภาษาของเราไว้ ผมคิดว่าผมไม่จำเป็นต้องย้ำถึงความสำคัญที่ผมคิดว่าการที่เรามีภาษาของเราเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจ ความจริงเวลาเราไปประเทศต่างๆ สิ่งนี้จะทำให้เรามีความรู้สึกภาคภูมิใจมากขึ้น ท่านคิดดูเอาก็แล้วกันว่าในโลกปัจจุบันที่เขาบอกเหลือมหาอำนาจอยู่ประเทศเดียว ประเทศมหาอำนาจนั้นไม่มีภาษาเป็นของตัวเอง ต้องไปยืมภาษาของประเทศในรูปแบบใหม่ แล้วก็สะท้อนให้เห็นถึงสังคมที่รากเขาจะลึกมาก ซึ่งอาจจะเป็นทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนได้ แต่มันก็เป็นตัวหนึ่งที่บ่งบอกว่าแม้แต่ประเทศมหาอำนาจก็ขาดบางสิ่งบางอย่างที่เรามี
ยิ่งไปกว่านั้นเรามีอักขระที่ตัวอักษรของเรา ในขณะที่หลายภาษาจะต้องอิงเกี่ยวกับตัวอักษรที่ต้องแบ่งกันใช้ เช่นถ้าเราจะเดินทางไปในยุโรป แม้จะมีหลายภาษาก็ตาม แต่ก็มีอักษรที่เรียกว่าอักษรโบราณเป็นต้น อันนี้ก็เป็นตัวบ่งบอก และก็เป็นการยืนยันในบางเรื่องคือ การที่เรามีความเป็นอิสระเพราะแม้แต่ในประเทศเพื่อนบ้านของเรา ซึ่งในบางช่วงของประวัติศาสตร์อาจจะตกเป็นเมืองขึ้น ถูกล่าอาณานิคม หลายประเทศเหล่านั้นก็ต้องใช้ภาษาของต่างประเทศ ซึ่งบางคนก็บอกว่าบางทีเรื่องเรานี้ก็ยังเสียเปรียบ เพราะว่าปัจจุบันภาษาอังกฤษเป็นภาษที่ใช้หรือมีความจำเป็นต้องใช้กันมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามผมคิดว่าตรงนี้เป็นความภาคภูมิใจ และเป็นการบ่งบอกถึงความเป็นตัวของตัวเองของเราได้เป็นอย่างดี และเมื่อผมได้ย้ำไปก่อนหน้านี้ว่า ภาษาแต่ละภาษา มันไม่ใช่สิ่งที่จะมาแปลข้ามภาษากันได้ เพราะกรอบความคิดไม่เหมือนกัน มันก็ยิ่งตอกย้ำความเป็นเอกลักษณ์ เวลาผมทำงานที่จะต้องเกี่ยวข้องกับการแปล ตรงนี้ชัดเจน หรือเวลาที่เราอ่านหรือพยายามที่จะฝึกฝนการใช้ภาษาของเราเอง ก็จะเห็นความแตกต่างและความลึกซึ้งหรือความสละสลวยหรือวิธีการเรียบเรียงความคิดที่ไม่เหมือนกัน คำบางคำในภาษาไทยยังไงก็แปลเป็นภาษาอังกฤษไม่ได้ เช่น เกรงใจ คิดไม่ออกว่าจะต้องพูดแปลตรงๆว่าเกรงใจภาษาอังกฤษว่าอะไร หรือคำว่าหมั่นไส้ คิดไม่ออก แต่ว่ามันบ่งบอกอะไรบางอย่างว่า เราสามารถแยกแยะความเกรงใจหรือความหมั่นไส้คนออกจากความรู้สึกอื่นๆ ที่อาจจะใกล้เคียงกัน หรือเราแยกระหว่างบารมีกับอิทธิพล แต่ว่าเวลาเราแปล ผมไม่แน่ใจว่ามันจะไปจบลงแบบที่เป็นรูปธรรมหรือไม่
สิ่งต่างๆเหล่านี้บอกให้เห็นถึงความคิด และเวลาเราแปลภาษาเราเห็นชัดเจนขึ้นว่าการเรียบเรียงหรือการใช้กรอบความคิดไม่เหมือนกัน เอาง่ายๆคือเรามีความยาวของข้อความ ผมคิดว่าหลายท่านคงจะคุ้นเคย และพบว่ากรณีภาษาไทยกับภาษาอังกฤษจะสื่อสารข้อความเดียวกัน ถ้าแปลแล้วภาษาอังกฤษจะสั้นกว่า ซึ่งตรงนี้บ่งบอกในแง่หนึ่ง คนที่ใช้ภาษาอังกฤษก็อาจจะบอกว่าจุดแข็งของเขาก็คือ ความกระชับการสื่อสานอะไรที่ตรงไปตรงมาทำได้ง่าย แต่ในขณะเดียวกันมันก็บ่งบอกว่าคนไทยมีความเป็นอิสระกว่า จะสื่อสารสิ่งเดียวกันตัวภาษาจะสะท้อนได้ละเอียดกว่า ขึ้นอยู่กับค่านิยมหรือความคิดของแต่ละคน หรือความรู้สึกของแต่ละคนก็อาจจะบอกว่า มันมีความสละสลวยกว่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันเป็นตัวที่มีผลต่อค่านิยมในสังคมกับกรอบความคิดของคนในสังคมเช่นเดียวกัน และทำให้เรามองเห็นความสำคัญในการรักษาสิ่งเหล่านี้ เราก็จำเป็นจะต้องมาดูว่า สาระหรือจุดแข็งเหล่านี้เราจะรักษาได้อย่างนี้จะเป็นอย่างไร เพราะประเด็นต่อไปที่ผมอยากจะนำเสนอคือว่า การจะอนุรักษ์ถ้านั่นคือคำที่เราต้องการ หรือการที่เราจะสร้างสรรค์หรือการที่จะรักษาภาษาของเรา เราก็ต้องยอมรับความจริงว่า ภาษาเป็นสิ่งมีชีวิต มีพลวัตร ไม่หยุดอยู่กับที่ ทุกภาษาที่ใช้กันอยู่ในโลกถ้าเป็นภาษาที่มีประวัติย้อนกลับไป มันก็ไม่เหมือนกับภาษาที่ประเทศนั้น สังคมนั้น หรือคนเชื้อชาตินั้น ใช้เมื่อหลายสิบปีก่อนหรือร้อยปีกว่าหรือสองร้อยปีกว่า เพราะฉะนั้นคือเวลาที่เราจะพูดถึงการที่เราจะรักษาหรืออนุรักษ์ภาษาของเราคงไม่ได้หมายความว่าเราจะบอกว่าภาษาของเราไม่มีการปรับไม่มีการเปลี่ยน เพราะที่สุดเป็นอย่างนี้ ยิ่งในสภาวะปัจจุบันที่เราพูดถึงโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วตลอดเวลา โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงที่มีลักษณะไร้พรมแดน เราจะเรียกกระแสโลกาภิวัฒน์ ถ้าเราไม่ยอมรับความจริงตรงฝนี้และยอมรับว่าภาษาก็มีผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงตรงนี้ ผมว่าเราก็จะหลงทางว่าระบบที่ทำให้ภาษาของเราเป็นภาษาที่คนของเราสามารถใช้ได้เป็นภาษาของตัวเองได้
เพราะฉะนั้นวันนี้ผมก็อยากจะนำเสนอเป็นข้อคิดกับคนที่ไม่รู้ ผู้รู้จะเป็นวิทยากรที่ศึกษาหรือทำงานวิจัยด้านนี้โดยตรง แต่ว่าในภาวะของคนที่ใช้ภาษาไทยคนหนึ่งก็ต้องให้ความสำคัญกับการใช้ภาษา คือมองและคิดในบางเรื่องว่ามองไปข้างหน้ามองไปในอนาคต เราควรจะดูแลรักษาภาษาของเราอย่างไร สิ่งที่ผมคิดว่ากำลังกระทบกับการใช้ภาษาของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือความก้าวหน้าของวิทยาการและเทคโนโลยี โดยเฉพาะเมื่อมาในสถาบันการศึกษา ก็ต้องยอมรับความเป็นจริงเลยว่ายิ่งเนียนสูงไปในสาขาใด ศัพท์เทคนิคศัพท์เฉพาะ ศัพท์ที่ถูกกำหนดขึ้นมา โดยเจาะจงไปในความเชี่ยวชาญของแต่ละสาขาวิชา โดยเฉพาะถ้าสิ่งนั้นมันเกิดขึ้นในต่างประเทศ เราพยายามจะสื่อสารเป็นภาษาไทยยาก เพราะฉะนั้นก็ไม่แปลกใจว่าคนที่ต้อองใช้ภาษาอังกฤษในงานการของเขาเช่น ในแวดวงของนักเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือแพทย์ หรือแม้กระทั่งคนในวงการการเงิน ซึ่งต้องเจอกับนวัตกรรมการวิเคราะห์ต่างๆที่เป็นภาษาต่างประเทศ จะเริ่มมีปัญหาที่จะนำสิ่งเหล่านี้มาใช้เป็นภาษาไทย ถามว่าตรงนี้แปลว่าเรากำลังจะสูญเสียภาษาของเราใช่หรือไม่ ผมคิดว่าไม่ใช่แต่อยู่ที่ว่าเราจะรับ เราจะให้สิ่งเหล่านี้มาอยู่ในภาษาของเรา แบบของเราได้ดีมากน้อยแค่ไหน อย่างเช่น กรณีของความก้าวหน้าของเทคโนโลยี กรณีของสิงประดิษฐ์ใหม่ๆ หรือนวัตกรรมที่เกิดขึ้น ส่วนตอนนี้ผมเชื่อว่าใครที่ใช้คอมพิวเตอร์เล่นคอมพิวเตอร์ ก็จะทราบว่าคงจะรอการบัญญัติคำภาษาไทยที่เป็นทางการ ซึ่งก็ไม่แปลกเพาะคำว่าคอมพิวเตอร์เราก็ทราบ ไม่ใช่คำที่เกิดขึ้นจากภาไทยแน่นอน แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง เราก็พยายามที่จะบัญญัติศัพท์ที่เป็นภาษาไทยหรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งผมไม่ทราบ ตั้งแต่สมองกลมาจนถึงอะไรก็แล้วแต่ สุดท้ายถ้าคนไม่ใช้มันก็ไม่เป็นส่วนหนึ่งของภาษา ไม่ถึงกับต้องมาใช้แบบตั้งใจใช้และคนจะเข้าใจได้ต้องแปลกลับไปเป็นภาษาอังกฤษก่อนแล้วถึงเข้าใจ ผมว่าเราควรจะทำให้มันเป็นส่วนหนึ่งของภาษาไทยไม่ยาก อย่างเช่นที่เราก็ชอบพูดกันตลกๆ จนผมก็สับสนไปแล้วว่ามันเป็นจริงหรือไม่จริงว่า ซอฟท์แวร์นี่จะเรียกละมุนภัณฑ์หรือไม่ หรือแม้แต่ตอนหลังเราก็พยายามจะเปลี่ยนว่ามันคือชุดคำสั่ง ผมก็ไม่เข้าใจว่าให้คนที่ใช้คำนี้ได้ดีเท่ากับการใช้คำว่าซอฟท์แวร์หรือไม่ สิ่งนี้คือสิ่งที่มันท้าทายเหมือนกันว่า ถ้าเราสามารถที่จะมีคนที่สามารถกำหนดกรอบ กำหนดการบัญญัติศัพท์ที่ทำให้คนใช้และเข้าใจรวดเร็ว เราก็จะมีศัพท์ที่เป็นแบบแผน
ผมมานั่งนึกดูว่า ในอดีตเราสามารถทำได้ในบางกรณี ผมก็เชื่อว่าตู้เย็นหรือเตาอบก็ไม่ได้เกิดขึ้นในเมืองไทย แต่ว่ามันก็สามารถที่จะมากำหนดเป็นศัพท์เป็นคำที่คนเข้าใจมันก็ใช้ติดกันมา แต่ว่าบางอย่างมันก็อาจจะไม่ติดปาก ผมไม่แน่ใจกรณีของโทรทัศน์ก็ชัดเจนพอสมควร แต่ว่าสุดท้ายแล้วถ้าคนสะดวกที่จะพูดทีวีมากกว่า คำว่าโทรทัศน์ก็อาจจะหายไปได้ นี่ผมก็เป็นห่วงโทรสารอยู่ว่าจะนั่งยืนหรือไม่ ตัวเครื่องด้วย และตัวศัพท์โทรสารเราก็ไม่แน่ใจ เพราะฉะนั้นมันต้องมีวิธีการ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 20 มิ.ย. 2547--จบ--
-ดท-