ตลอดเวลาที่รัฐบาลภายใต้การนำของ นายกฯ ทักษิณ เข้ามาบริหารประเทศ นับวันยิ่งมีข้อครหามากขึ้นเรื่อยๆ ในเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนหรือการให้พวกพ้องเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ ดังกรณีสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 5 และกรณีสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 ของกรมประชาสัมพันธ์ ที่รัฐบาลเข้าไปเปลี่ยนแปลงทั้งด้านโครงสร้างการบริหารและการหารายได้ ศูนย์วิจัยฯ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ตรวจสอบข้อมูลและหลักฐานต่างๆ พร้อมตั้งข้อสังเกตในประเด็น ดังต่อไปนี้
กรณีสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่เวลานี้ได้อนุมัติให้บริษัทเอกชนรายหนึ่งเข้ามาผลิตรายการในนามช่อง 11/1 นิวส์วัน ที่สามารถชมผ่านช่องยูบีซี 19 ในระบบ เคเบิ้ลทีวี และผ่านดาวเทียมช่อง 77 และยังมีช่อง 11/2 ที่ให้บริการผ่านเคเบิ้ลท้องถิ่นทั่วประเทศอีกด้วย
ใช้อำนาจโดยมิชอบเอื้อพวกพ้องกับช่อง11:
อย่างไรก็ดีแม้ว่าทุกอย่างได้ดำเนินการไปแล้ว แต่เมื่อปรากฎเป็นข่าวทางสื่อต่างๆ และสังคมเริ่มจับตามองมากขึ้น ทำให้รัฐมนตรีที่กำกับดูแลกรมประชาสัมพันธ์ต้องร้อนรนสั่งการให้ขอคำปรึกษาทางกฎหมายไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งโดยสรุปคือเป็นการขอให้ตีความย้อนหลัง เนื่องจากเวลานี้ทางกรมประชาสัมพันธ์ โดยอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ได้อนุมัติดำเนินการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
กรณีที่เกิดขึ้นถือว่าผิดขั้นตอนการปฏิบัติหน้าที่ราชการ เนื่องจากหากพิจารณาจากการให้สัมภาษณ์ของรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแล ทำให้เข้าใจได้ว่าการอนุมัติในเรื่องดังกล่าวดำเนินการไป โดยที่รองนายกรัฐมนตรีผู้กำกับดูแลกรมประชาสัมพันธ์ไม่ทราบเรื่อง หรือในทางกฎหมายถือว่ายังไม่ได้รับความเห็นชอบเป็นลายลักษณ์อักษร เหมือนกับว่าทางอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ใช้อำนาจตามอำเภอใจโดยมิชอบ
นอกจากนี้ที่น่าแปลกใจคือเมื่อพิจารณาจากคำสั่งกรมประชาสัมพันธ์ เรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารรายการข่าวดาวเทียม 24 ชั่วโมงรายการหนึ่งทางช่องเคเบิ้ลดังกล่าว ปรากฎว่ามีชื่อของนักธุรกิจสื่อท่านหนึ่งที่มีความใกล้ชิดกับรัฐบาลเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการด้วย ทำให้ไม่แปลกใจเลยว่ารายการนี้มันเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มธุรกิจพวกพ้อง ซึ่งมักจะเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในรัฐบาลนายกฯ ทักษิณ
พบพิรุธช่อง 11 มีโฆษณาเปิดทางไอทีวีชนะคดีได้ลดค่าสัมปทาน:
การที่กรมประชาสัมพันธ์ไปทำสัญญากับบริษัทเอกชนเพื่อให้ผลิตรายการข่าวผ่านดาวเทียมในนามของกรมประชาสัมพันธ์ สามารถหาโฆษณาได้คือใน 1 ชั่วโมงสามารถมีโฆษณาได้ 10 นาที โดยกรมประชาสัมพันธ์ได้ 7 นาที เอกชนได้ 3 นาที นั้นนอกจากจะหมิ่นเหม่ในแง่ที่ว่าจะผิดกฎหมาย เพราะตามเจตนารมณ์ของกฎหมายแล้ว ห้ามมิให้ช่อง 11 มีโฆษณาเหมือนกับโทรทัศน์ช่องอื่นๆ
ดังนั้นการเปิดทางให้มีโฆษณาทางช่อง 11/1ได้นั้นเหมือนกับมีเจตนาสร้างเงื่อนไขให้กับไอทีวีที่กำลังเรียกร้องค่าเสียหายจากรัฐ โดยผ่านคณะอนุญาโตตุลาการตัดสินให้ไอทีวีได้ลดค่าสัมปทานจำนวนประมาณ 17,430 ล้านบาท และขณะนี้เรื่องกำลังอยู่ในขั้นตอนของศาลปกครอง ซึ่งกรณีที่เกิดขึ้นในช่อง 11 ในลักษณะของการหาโฆษณาจะทำให้ไอทีวีใช้เป็นข้ออ้าง และมีโอกาสชนะคดีพิพาทกับสำนักนายกรัฐมนตรีค่อนข้างสูง ซึ่งหากพิจารณาอีกด้านหนึ่งดูเหมือนว่าเป็นการวางแผนอย่างเป็นขั้นเป็นตอน นั่นคือ ช่อง 11/1 มีโฆษณา แล้วต่อไปทางไอทีวีจะใช้เป็นข้ออ้างเรียกร้องค่าเสียหาย
ขณะเดียวกันเมื่อดูรายชื่อของคณะกรรมการบริษัทอาร์เอ็นที เทเลวิชั่น จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายการข่าวให้กับช่อง 11/1 นั้น สะท้อนให้เห็นถึงกรณีของผลประโยชน์ทับซ้อนและเอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้องได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นอีก เนื่องจากมีชื่อ นายสมภพ ชินวัตร เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องของนายกฯทักษิณ เพราะเป็นลูกชายของ นายสุรพันธ์ ชินวัตร และมีศักดิ์เป็นอาของ นายกฯทักษิณ นั่นเอง
แปรรูปช่อง 5 เอื้อพวกพ้องหาผลประโยชน์:
การแปรรูปสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 5 อีกหนึ่งกรณีที่สังคมมองว่า เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้องและยังอาจเข้าข่ายผิดกฎหมายอย่างชัดเจนอีกด้วย ทั้งนี้การแปลงสภาพจัดตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่ในนามชื่อ บริษัท อาร์ทีเอ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด(มหาชน) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยบริษัทดังกล่าวนี้ ทาง ททบ. 5 ถือหุ้น 50% แต่ที่สำคัญ คือที่เหลืออีก 50 % มีบริษัทเอกชนอีกหลายบริษัทเข้ามาร่วมถือหุ้น เข้ามาหารายได้จากค่าเช่าเวลา ซึ่งถือว่า แต่ละปีจะมีรายได้จำนวนมหาศาล แทนที่เงินจำนวนนั้นจะเข้าภาครัฐเต็มเม็ดเต็มหน่วยก็ต้องมาแบ่งให้กับภาคเอกชนไป
แต่ที่น่าสังเกตก็คือ ที่มาหรือจุดเริ่มต้นของการตั้งบริษัทอาร์ทีเอฯขึ้นมานั้น เป็นการแปลงสภาพมาจากบริษัท ททบ. 5 ซึ่งในอดีตบริษัทแห่งนี้มีสถานะขาดทุนอย่างหนัก และมีหนี้สินจำนวนมหาศาล แต่ในที่สุดแล้วก็นำมาหักลบกลบหนี้ โดยให้ ททบ. 5 เป็นผู้รับภาระเรื่องหนี้สินเหล่านั้นแทน
กรณีที่เกิดขึ้นอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่ การปลดผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ถึง 2 คนในเวลาติดๆ กัน คือจาก พล.อ.ปรีชา เปรมาสวัสดิ์ และ พล.ท.สหชัย ชวนชัยสิทธิ์ ที่ไม่ยอมลงนามในสัญญา 3 ฉบับกับบริษัท เนื่องจากเกรงว่า จะทำผิดกฎหมาย เพราะเป็นการลงนามในสัญญาที่มีวงเงินลงทุนเกินกว่า 1 พันล้านบาท ซึ่งถือว่าเข้าข่าย พ.ร.บ.ร่วมทุนฯที่ต้องให้คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ
เซ็นสัญญา 3 ฉบับทำให้รัฐ-ช่อง 5 เสียประโยชน์มหาศาล:
สำหรับสาระสำคัญของร่างสัญญา 3 ข้อที่เอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทอาร์ทีเอฯ และกลุ่มบริษัทเอกชนที่เข้ามาถือหุ้นคือ สัญญาข้อที่ 1 ร่างสัญญาเช่าและทำการตลาดเพื่อออกอากาศ ซึ่งจะทำให้บริษัทอาร์ทีเอฯ สามารถผูกขาดในการบริหารเวลาที่ออกอากาศทั้งหมด
ข้อที่ 2 คือร่างสัญญาการจ้างผลิตข่าวกับบริษัทลูกของบริษัทอาร์ทีเอฯ เป็นเวลา 3 ปี โดยททบ. 5 ต้องจ่ายค่าจ้างผลิตข่าวให้แก่บริษัทในปีแรก 100 ล้านบาทหรือร้อยละ 50 ของรายได้จากค่าโฆษณาที่ได้จากช่วงเวลาข่าว จากนั้นต้องจ่ายเพิ่มร้อยละ 5ในปีต่อไป
ส่วนข้อที่ 3 คือ บันทึกหักลบกลบหนี้ระหว่างบริษัทอาร์ทีเอฯกับสถานีททบ.5 ซึ่งเท่ากับว่าทางสถานี ททบ.5 ยกเลิกหนี้ที่บริษัทกู้จากสถานีททบ.5 ทั้งหมด 1,320 ล้านบาทให้แก่บริษัท แต่ขณะเดียวกันสถานีททบ.5 ยังคงเป็นหนี้กับธนาคารทหารไทยจำนวน 1,536 ล้านบาทตามที่เคยให้บริษัทเคยกู้ยืม อยู่เช่นเดิม เพราะไม่สามารถหักกลบลบหนี้กันได้
นอกเหนือจากนี้ หากพิจารณาจากรายชื่อบริษัทและกรรมการของบริษัทที่เข้ามาถือหุ้นในบริษัทอาร์ทีเอฯที่เหลืออีกเกือบ 50% จะพบว่าล้วนเป็นกลุ่มทุนหรือผู้ที่ใกล้ชิดกับกลุ่มทุนในรัฐบาลทั้งสิ้น และถ้ามีการนำหุ้นของบริษัทอาร์ทีเอฯไปขายในตลาดหลักทรัพย์ให้กับเอกชนและพันธมิตรทางธุรกิจแล้วคาดว่าผลประโยชน์ที่จะได้จากการขายเวลาของสถานีททบ. 5 ก็จะตกไปอยู่ในมือของกลุ่มคนเหล่านี้อย่างแน่นอน
สรุป:
ความไม่ชอบมาพากลทั้งหมดที่กำลังเกิดขึ้นดุราวกับว่า รัฐบาลชุดนี้ยังไม่ยอมเข็ดหลาบและท้าทายกับความรู้สึกของสังคมต่อไป แม้ว่าก่อนหน้านี้พรรคประชาธิปัตย์เคยนำหลักฐานในเรื่องการทุจริต การเอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้องรวมทั้งเอื้อให้กับกลุ่มธุรกิจนายทุนในช่วงที่มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลไปแล้วก็ตาม
ดังนั้นเมื่อรัฐบาลยังมีพฤติกรรมส่อไปในทางทุจริตแบบนี้อย่างไม่หยุดหย่อน ทางศูนย์วิจัยฯ พรรคประชาธิปัตย์จะติดตามตรวจสอบ หาหลักฐานเพิ่มเติมอย่างใกล้ชิดเพื่อนำข้อเท็จจริงมาตีแผ่ให้สังคมได้รับทราบต่อไป เพราะสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในเวลานี้ นอกจากเป็นการเข้าไปควบคุมสื่ออย่างเบ็ดเสร็จแล้วยังเป็นการเข้าไปรวมกลุ่มกันหาผลประโยชน์กันอย่างชัดเจน
บทวิเคราะห์จากศูนย์วิจัยฯ พรรคประชาธิปัตย์ 20 มิ.ย. 2547--จบ--
-ดท-
กรณีสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่เวลานี้ได้อนุมัติให้บริษัทเอกชนรายหนึ่งเข้ามาผลิตรายการในนามช่อง 11/1 นิวส์วัน ที่สามารถชมผ่านช่องยูบีซี 19 ในระบบ เคเบิ้ลทีวี และผ่านดาวเทียมช่อง 77 และยังมีช่อง 11/2 ที่ให้บริการผ่านเคเบิ้ลท้องถิ่นทั่วประเทศอีกด้วย
ใช้อำนาจโดยมิชอบเอื้อพวกพ้องกับช่อง11:
อย่างไรก็ดีแม้ว่าทุกอย่างได้ดำเนินการไปแล้ว แต่เมื่อปรากฎเป็นข่าวทางสื่อต่างๆ และสังคมเริ่มจับตามองมากขึ้น ทำให้รัฐมนตรีที่กำกับดูแลกรมประชาสัมพันธ์ต้องร้อนรนสั่งการให้ขอคำปรึกษาทางกฎหมายไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งโดยสรุปคือเป็นการขอให้ตีความย้อนหลัง เนื่องจากเวลานี้ทางกรมประชาสัมพันธ์ โดยอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ได้อนุมัติดำเนินการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
กรณีที่เกิดขึ้นถือว่าผิดขั้นตอนการปฏิบัติหน้าที่ราชการ เนื่องจากหากพิจารณาจากการให้สัมภาษณ์ของรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแล ทำให้เข้าใจได้ว่าการอนุมัติในเรื่องดังกล่าวดำเนินการไป โดยที่รองนายกรัฐมนตรีผู้กำกับดูแลกรมประชาสัมพันธ์ไม่ทราบเรื่อง หรือในทางกฎหมายถือว่ายังไม่ได้รับความเห็นชอบเป็นลายลักษณ์อักษร เหมือนกับว่าทางอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ใช้อำนาจตามอำเภอใจโดยมิชอบ
นอกจากนี้ที่น่าแปลกใจคือเมื่อพิจารณาจากคำสั่งกรมประชาสัมพันธ์ เรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารรายการข่าวดาวเทียม 24 ชั่วโมงรายการหนึ่งทางช่องเคเบิ้ลดังกล่าว ปรากฎว่ามีชื่อของนักธุรกิจสื่อท่านหนึ่งที่มีความใกล้ชิดกับรัฐบาลเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการด้วย ทำให้ไม่แปลกใจเลยว่ารายการนี้มันเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มธุรกิจพวกพ้อง ซึ่งมักจะเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในรัฐบาลนายกฯ ทักษิณ
พบพิรุธช่อง 11 มีโฆษณาเปิดทางไอทีวีชนะคดีได้ลดค่าสัมปทาน:
การที่กรมประชาสัมพันธ์ไปทำสัญญากับบริษัทเอกชนเพื่อให้ผลิตรายการข่าวผ่านดาวเทียมในนามของกรมประชาสัมพันธ์ สามารถหาโฆษณาได้คือใน 1 ชั่วโมงสามารถมีโฆษณาได้ 10 นาที โดยกรมประชาสัมพันธ์ได้ 7 นาที เอกชนได้ 3 นาที นั้นนอกจากจะหมิ่นเหม่ในแง่ที่ว่าจะผิดกฎหมาย เพราะตามเจตนารมณ์ของกฎหมายแล้ว ห้ามมิให้ช่อง 11 มีโฆษณาเหมือนกับโทรทัศน์ช่องอื่นๆ
ดังนั้นการเปิดทางให้มีโฆษณาทางช่อง 11/1ได้นั้นเหมือนกับมีเจตนาสร้างเงื่อนไขให้กับไอทีวีที่กำลังเรียกร้องค่าเสียหายจากรัฐ โดยผ่านคณะอนุญาโตตุลาการตัดสินให้ไอทีวีได้ลดค่าสัมปทานจำนวนประมาณ 17,430 ล้านบาท และขณะนี้เรื่องกำลังอยู่ในขั้นตอนของศาลปกครอง ซึ่งกรณีที่เกิดขึ้นในช่อง 11 ในลักษณะของการหาโฆษณาจะทำให้ไอทีวีใช้เป็นข้ออ้าง และมีโอกาสชนะคดีพิพาทกับสำนักนายกรัฐมนตรีค่อนข้างสูง ซึ่งหากพิจารณาอีกด้านหนึ่งดูเหมือนว่าเป็นการวางแผนอย่างเป็นขั้นเป็นตอน นั่นคือ ช่อง 11/1 มีโฆษณา แล้วต่อไปทางไอทีวีจะใช้เป็นข้ออ้างเรียกร้องค่าเสียหาย
ขณะเดียวกันเมื่อดูรายชื่อของคณะกรรมการบริษัทอาร์เอ็นที เทเลวิชั่น จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายการข่าวให้กับช่อง 11/1 นั้น สะท้อนให้เห็นถึงกรณีของผลประโยชน์ทับซ้อนและเอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้องได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นอีก เนื่องจากมีชื่อ นายสมภพ ชินวัตร เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องของนายกฯทักษิณ เพราะเป็นลูกชายของ นายสุรพันธ์ ชินวัตร และมีศักดิ์เป็นอาของ นายกฯทักษิณ นั่นเอง
แปรรูปช่อง 5 เอื้อพวกพ้องหาผลประโยชน์:
การแปรรูปสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 5 อีกหนึ่งกรณีที่สังคมมองว่า เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้องและยังอาจเข้าข่ายผิดกฎหมายอย่างชัดเจนอีกด้วย ทั้งนี้การแปลงสภาพจัดตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่ในนามชื่อ บริษัท อาร์ทีเอ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด(มหาชน) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยบริษัทดังกล่าวนี้ ทาง ททบ. 5 ถือหุ้น 50% แต่ที่สำคัญ คือที่เหลืออีก 50 % มีบริษัทเอกชนอีกหลายบริษัทเข้ามาร่วมถือหุ้น เข้ามาหารายได้จากค่าเช่าเวลา ซึ่งถือว่า แต่ละปีจะมีรายได้จำนวนมหาศาล แทนที่เงินจำนวนนั้นจะเข้าภาครัฐเต็มเม็ดเต็มหน่วยก็ต้องมาแบ่งให้กับภาคเอกชนไป
แต่ที่น่าสังเกตก็คือ ที่มาหรือจุดเริ่มต้นของการตั้งบริษัทอาร์ทีเอฯขึ้นมานั้น เป็นการแปลงสภาพมาจากบริษัท ททบ. 5 ซึ่งในอดีตบริษัทแห่งนี้มีสถานะขาดทุนอย่างหนัก และมีหนี้สินจำนวนมหาศาล แต่ในที่สุดแล้วก็นำมาหักลบกลบหนี้ โดยให้ ททบ. 5 เป็นผู้รับภาระเรื่องหนี้สินเหล่านั้นแทน
กรณีที่เกิดขึ้นอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่ การปลดผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ถึง 2 คนในเวลาติดๆ กัน คือจาก พล.อ.ปรีชา เปรมาสวัสดิ์ และ พล.ท.สหชัย ชวนชัยสิทธิ์ ที่ไม่ยอมลงนามในสัญญา 3 ฉบับกับบริษัท เนื่องจากเกรงว่า จะทำผิดกฎหมาย เพราะเป็นการลงนามในสัญญาที่มีวงเงินลงทุนเกินกว่า 1 พันล้านบาท ซึ่งถือว่าเข้าข่าย พ.ร.บ.ร่วมทุนฯที่ต้องให้คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ
เซ็นสัญญา 3 ฉบับทำให้รัฐ-ช่อง 5 เสียประโยชน์มหาศาล:
สำหรับสาระสำคัญของร่างสัญญา 3 ข้อที่เอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทอาร์ทีเอฯ และกลุ่มบริษัทเอกชนที่เข้ามาถือหุ้นคือ สัญญาข้อที่ 1 ร่างสัญญาเช่าและทำการตลาดเพื่อออกอากาศ ซึ่งจะทำให้บริษัทอาร์ทีเอฯ สามารถผูกขาดในการบริหารเวลาที่ออกอากาศทั้งหมด
ข้อที่ 2 คือร่างสัญญาการจ้างผลิตข่าวกับบริษัทลูกของบริษัทอาร์ทีเอฯ เป็นเวลา 3 ปี โดยททบ. 5 ต้องจ่ายค่าจ้างผลิตข่าวให้แก่บริษัทในปีแรก 100 ล้านบาทหรือร้อยละ 50 ของรายได้จากค่าโฆษณาที่ได้จากช่วงเวลาข่าว จากนั้นต้องจ่ายเพิ่มร้อยละ 5ในปีต่อไป
ส่วนข้อที่ 3 คือ บันทึกหักลบกลบหนี้ระหว่างบริษัทอาร์ทีเอฯกับสถานีททบ.5 ซึ่งเท่ากับว่าทางสถานี ททบ.5 ยกเลิกหนี้ที่บริษัทกู้จากสถานีททบ.5 ทั้งหมด 1,320 ล้านบาทให้แก่บริษัท แต่ขณะเดียวกันสถานีททบ.5 ยังคงเป็นหนี้กับธนาคารทหารไทยจำนวน 1,536 ล้านบาทตามที่เคยให้บริษัทเคยกู้ยืม อยู่เช่นเดิม เพราะไม่สามารถหักกลบลบหนี้กันได้
นอกเหนือจากนี้ หากพิจารณาจากรายชื่อบริษัทและกรรมการของบริษัทที่เข้ามาถือหุ้นในบริษัทอาร์ทีเอฯที่เหลืออีกเกือบ 50% จะพบว่าล้วนเป็นกลุ่มทุนหรือผู้ที่ใกล้ชิดกับกลุ่มทุนในรัฐบาลทั้งสิ้น และถ้ามีการนำหุ้นของบริษัทอาร์ทีเอฯไปขายในตลาดหลักทรัพย์ให้กับเอกชนและพันธมิตรทางธุรกิจแล้วคาดว่าผลประโยชน์ที่จะได้จากการขายเวลาของสถานีททบ. 5 ก็จะตกไปอยู่ในมือของกลุ่มคนเหล่านี้อย่างแน่นอน
สรุป:
ความไม่ชอบมาพากลทั้งหมดที่กำลังเกิดขึ้นดุราวกับว่า รัฐบาลชุดนี้ยังไม่ยอมเข็ดหลาบและท้าทายกับความรู้สึกของสังคมต่อไป แม้ว่าก่อนหน้านี้พรรคประชาธิปัตย์เคยนำหลักฐานในเรื่องการทุจริต การเอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้องรวมทั้งเอื้อให้กับกลุ่มธุรกิจนายทุนในช่วงที่มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลไปแล้วก็ตาม
ดังนั้นเมื่อรัฐบาลยังมีพฤติกรรมส่อไปในทางทุจริตแบบนี้อย่างไม่หยุดหย่อน ทางศูนย์วิจัยฯ พรรคประชาธิปัตย์จะติดตามตรวจสอบ หาหลักฐานเพิ่มเติมอย่างใกล้ชิดเพื่อนำข้อเท็จจริงมาตีแผ่ให้สังคมได้รับทราบต่อไป เพราะสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในเวลานี้ นอกจากเป็นการเข้าไปควบคุมสื่ออย่างเบ็ดเสร็จแล้วยังเป็นการเข้าไปรวมกลุ่มกันหาผลประโยชน์กันอย่างชัดเจน
บทวิเคราะห์จากศูนย์วิจัยฯ พรรคประชาธิปัตย์ 20 มิ.ย. 2547--จบ--
-ดท-