นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยผลการจัดเก็บรายได้รวมของรัฐบาลประจำเดือนพฤษภาคม 2547 และในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 ซึ่งขยายตัวในอัตราที่สูง พร้อมทั้งแนวโน้มการจัดเก็บรายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2547 ดังนี้
1. เดือนพฤษภาคม 2547 รัฐบาลจัดเก็บรายได้รวม 192,397 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 48,249 ล้านบาท หรือร้อยละ 33.5 (สูงกว่าเดือนกันปีที่แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.5) และคิดเป็นรายได้สุทธิ 165,826 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 42,610 ล้านบาท หรือร้อยละ 34.6 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 33.8) โดยในเดือนนี้ได้มีการจัดสรรจากภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ จำนวน 15,090 ล้านบาท
สาเหตุที่การจัดเก็บรายได้รัฐบาลในเดือนนี้ขยายตัวในอัตราที่สูงมาก เนื่องจากกรมสรรพากร และกรมสรรพสามิตจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการถึงร้อยละ 35.2 และร้อยละ 14.4 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับเดือนกันปีที่แล้วจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.2 และ 8.3 ตามลำดับ นอกจากนี้ หน่วยงานอื่นนำส่งคลังสูงกว่าที่ประมาณการไว้ถึงร้อยละ 94.1 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 47.8) เนื่องจากรัฐวิสาหกิจมีการนำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการร้อยละ 137.4 และสูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 69.7
ภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่
1) ภาษีเงินได้นิติบุคคล จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 18,943 ล้านบาท หรือร้อยละ 32.1 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 29.8) เนื่องจากเดือนนี้เป็นเดือนสุดท้ายของการยื่นชำระภาษีจากกำไรสุทธิของนิติบุคคลรอบสิ้นปีบัญชี 2546 และนิติบุคคลส่วนใหญ่มีกำไรเพิ่มขึ้น ตลอดจนจำนวน ผู้เสียภาษีเพิ่มขึ้น ทำให้การจัดเก็บภาษีดังกล่าวสูงกว่าที่ประมาณการไว้มาก
2) ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 11,959 ล้านบาท หรือร้อยละ 94.7 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 1,016.8) เนื่องจากผู้ประกอบการชำระภาษีก่อนกำหนด (ปีที่แล้วชำระเดือนมิถุนายน)
2. ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 2546 - พฤษภาคม 2547)
รัฐบาลจัดเก็บรายได้รวม 856,120 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 153,552 ล้านบาท หรือร้อยละ 21.9 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 20.3) โดยเป็นรายได้สุทธิทั้งสิ้น 751,789 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 132,996 ล้านบาท หรือร้อยละ 21.5 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 19.0) และได้มีการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้ อปท. ตาม พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจฯ 22,138 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการและสูงกว่าปีที่แล้ว จำนวน 3,078 ล้านบาท และ 3,240 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.1 และร้อยละ 17.1 ตามลำดับ
การจัดเก็บรายได้รัฐบาลที่สูงกว่าประมาณการในอัตราที่สูงดังกล่าวนอกจากจะเป็นผลจากการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากร และกรมสรรพสามิตที่เพิ่มขึ้นแล้ว การนำส่งรายได้ของส่วนราชการอื่นยังเพิ่มขึ้น เนื่องจากได้รับรายได้พิเศษจากการขายหุ้นให้กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง จำนวน 25,075 ล้านบาท อย่างไรก็ดี หากไม่รวมรายได้จากการขายหุ้นให้กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ดังกล่าว รัฐบาลยังคงจัดเก็บรายได้สุทธิได้สูงกว่าประมาณการในอัตราที่สูงถึงร้อยละ 17.3
ผลการจัดเก็บรายได้สรุปตามหน่วยงานจัดเก็บได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 498,010 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 105,998 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 27.0 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 27.5) เนื่องจากภาษีทุกประเภทจัดเก็บได้สูงกว่าที่คาดไว้ ที่สำคัญได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 38,132 36,657 14,650 12,200 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.7 32.0 106.9 และ 14.7 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 20.4 25.1 564.7 และ 16.0 ตามลำดับ)
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 187,143 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 29,254 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.5 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 14.0) เนื่องจากภาษีทุกประเภทเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษีรถยนต์ ภาษีเบียร์ ภาษีสุรา และภาษีน้ำมันจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 10,812 5,460 3,416 และ 3,407 ล้านบาท หรือร้อยละ 32.7 22.9 21.3 และ 7.1 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 17.8 15.3 6.3 และ 6.3 ตามลำดับ)
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 68,424 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 6,598 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.8 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.9) โดยอากรขาเข้า ซึ่งเป็นรายได้หลักจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 6,795 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.2 และต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.8 ทั้งนี้ เป็นผลจากการปรับโครงสร้างภาษีศุลกากร และการปรับลดอัตราอากรขาเข้าจากการเปิดเขตการค้าเสรี (FTA)
2.4 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 102,543 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 24,898 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 32.1 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 22.5 หากไม่รวมรายได้จากการขายหุ้นฯ ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณร้อยละ 0.2
รายได้ของหน่วยงานอื่นประกอบด้วย
ส่วนราชการอื่น 32,366 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 672 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.1 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 3.4)
รายได้จากการขายหุ้นให้กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง 25,075 ล้านบาท
กรมธนารักษ์ 1,846 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 288 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 13.5 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 42.1) เนื่องจากปีที่แล้วมีการโอนเงินทุนหมุนเวียนการผลิตเหรียญและจากเงินทุนหมุนเวียนการทำของเพื่อสนับสนุนรายได้ของรัฐ จำนวน 1,450 ล้านบาท
รัฐวิสาหกิจ 43,256 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 7,639 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 21.4 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 8.0) รัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญสรุปได้ดังนี้
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยนำส่งรายได้จำนวน 8,541 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1,541 ล้านบาท
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นำส่งรายได้จำนวน 5,871 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 348 ล้านบาท
บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นำส่งรายได้จำนวน 4,500 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1,284 ล้านบาท
สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลนำส่งรายได้จำนวน 6,019 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 3,838 ล้านบาท
3. สาเหตุสำคัญที่ทำให้การจัดเก็บรายได้ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 สูงกว่าประมาณการในอัตราที่สูง
การขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง แม้จะชะลอตัวลงจากร้อยละ 7.8 ในไตรมาส 4/2546 เป็นร้อยละ 6.5 ในไตรมาส 1/2547 ซึ่งเป็นผลกระทบจากการระบาดของไข้หวัดนกก็ตาม ได้ส่งผลให้การจัดเก็บภาษีจากฐานรายได้และฐานการบริโภคขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทิศทางเดียวกัน โดยจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการถึงร้อยละ 30.1 และ 20.7 ตามลำดับ
4. การคาดการณ์แนวโน้มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลปีงบประมาณ 2547
กระทรวงการคลังมั่นใจว่ารัฐบาลจะสามารถจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในปีงบประมาณ 2547 ได้สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ (928,100 ล้านบาท) และประมาณการปรับปรุง (1,063,600 ล้านบาท) อย่างแน่นอน แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น การสูญเสียรายได้จากการปรับโครงสร้างอัตราภาษีศุลกากร และรายได้รัฐวิสาหกิจที่ต่ำกว่าเป้าหมาย (ชะลอการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) ก็ตาม โดยมีเหตุผลสนับสนุน ดังนี้
4.1 การขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีปัจจัยลบทั้งโรคระบาดไข้หวัดนก เหตุการณ์ไม่สงบในภาคใต้ และราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง กระทรวงการคลังคาดว่าภาวะเศรษฐกิจในปีงบประมาณ 2547 จะขยายตัวอยู่ในระดับที่ร้อยละ 7.1
4.2 ผลการจัดเก็บรายได้ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 สูงกว่าประมาณการร้อยละ 21.5 และสูงกว่าประมาณการปรับปรุงร้อยละ 3.4 คาดว่าในช่วง 4 เดือนหลังของปีงบประมาณ2547 จะยังคงจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการปรับปรุง เนื่องจากการขยายตัวของภาษีจากฐานการบริโภคและฐานรายได้ โดยเฉพาะภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี 2547 ที่จะยื่นชำระในเดือนสิงหาคมนี้ จะขยายตัวสูงในอัตราที่สูงเป็นสาเหตุสำคัญ
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 48/2547 21 มิถุนายน 2547--
1. เดือนพฤษภาคม 2547 รัฐบาลจัดเก็บรายได้รวม 192,397 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 48,249 ล้านบาท หรือร้อยละ 33.5 (สูงกว่าเดือนกันปีที่แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.5) และคิดเป็นรายได้สุทธิ 165,826 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 42,610 ล้านบาท หรือร้อยละ 34.6 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 33.8) โดยในเดือนนี้ได้มีการจัดสรรจากภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ จำนวน 15,090 ล้านบาท
สาเหตุที่การจัดเก็บรายได้รัฐบาลในเดือนนี้ขยายตัวในอัตราที่สูงมาก เนื่องจากกรมสรรพากร และกรมสรรพสามิตจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการถึงร้อยละ 35.2 และร้อยละ 14.4 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับเดือนกันปีที่แล้วจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.2 และ 8.3 ตามลำดับ นอกจากนี้ หน่วยงานอื่นนำส่งคลังสูงกว่าที่ประมาณการไว้ถึงร้อยละ 94.1 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 47.8) เนื่องจากรัฐวิสาหกิจมีการนำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการร้อยละ 137.4 และสูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 69.7
ภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่
1) ภาษีเงินได้นิติบุคคล จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 18,943 ล้านบาท หรือร้อยละ 32.1 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 29.8) เนื่องจากเดือนนี้เป็นเดือนสุดท้ายของการยื่นชำระภาษีจากกำไรสุทธิของนิติบุคคลรอบสิ้นปีบัญชี 2546 และนิติบุคคลส่วนใหญ่มีกำไรเพิ่มขึ้น ตลอดจนจำนวน ผู้เสียภาษีเพิ่มขึ้น ทำให้การจัดเก็บภาษีดังกล่าวสูงกว่าที่ประมาณการไว้มาก
2) ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 11,959 ล้านบาท หรือร้อยละ 94.7 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 1,016.8) เนื่องจากผู้ประกอบการชำระภาษีก่อนกำหนด (ปีที่แล้วชำระเดือนมิถุนายน)
2. ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 2546 - พฤษภาคม 2547)
รัฐบาลจัดเก็บรายได้รวม 856,120 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 153,552 ล้านบาท หรือร้อยละ 21.9 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 20.3) โดยเป็นรายได้สุทธิทั้งสิ้น 751,789 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 132,996 ล้านบาท หรือร้อยละ 21.5 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 19.0) และได้มีการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้ อปท. ตาม พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจฯ 22,138 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการและสูงกว่าปีที่แล้ว จำนวน 3,078 ล้านบาท และ 3,240 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.1 และร้อยละ 17.1 ตามลำดับ
การจัดเก็บรายได้รัฐบาลที่สูงกว่าประมาณการในอัตราที่สูงดังกล่าวนอกจากจะเป็นผลจากการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากร และกรมสรรพสามิตที่เพิ่มขึ้นแล้ว การนำส่งรายได้ของส่วนราชการอื่นยังเพิ่มขึ้น เนื่องจากได้รับรายได้พิเศษจากการขายหุ้นให้กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง จำนวน 25,075 ล้านบาท อย่างไรก็ดี หากไม่รวมรายได้จากการขายหุ้นให้กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง ดังกล่าว รัฐบาลยังคงจัดเก็บรายได้สุทธิได้สูงกว่าประมาณการในอัตราที่สูงถึงร้อยละ 17.3
ผลการจัดเก็บรายได้สรุปตามหน่วยงานจัดเก็บได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 498,010 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 105,998 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 27.0 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 27.5) เนื่องจากภาษีทุกประเภทจัดเก็บได้สูงกว่าที่คาดไว้ ที่สำคัญได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 38,132 36,657 14,650 12,200 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.7 32.0 106.9 และ 14.7 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 20.4 25.1 564.7 และ 16.0 ตามลำดับ)
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 187,143 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 29,254 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.5 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 14.0) เนื่องจากภาษีทุกประเภทเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษีรถยนต์ ภาษีเบียร์ ภาษีสุรา และภาษีน้ำมันจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 10,812 5,460 3,416 และ 3,407 ล้านบาท หรือร้อยละ 32.7 22.9 21.3 และ 7.1 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 17.8 15.3 6.3 และ 6.3 ตามลำดับ)
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 68,424 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 6,598 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.8 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.9) โดยอากรขาเข้า ซึ่งเป็นรายได้หลักจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 6,795 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.2 และต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.8 ทั้งนี้ เป็นผลจากการปรับโครงสร้างภาษีศุลกากร และการปรับลดอัตราอากรขาเข้าจากการเปิดเขตการค้าเสรี (FTA)
2.4 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 102,543 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 24,898 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 32.1 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 22.5 หากไม่รวมรายได้จากการขายหุ้นฯ ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณร้อยละ 0.2
รายได้ของหน่วยงานอื่นประกอบด้วย
ส่วนราชการอื่น 32,366 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 672 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.1 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 3.4)
รายได้จากการขายหุ้นให้กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง 25,075 ล้านบาท
กรมธนารักษ์ 1,846 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 288 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 13.5 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 42.1) เนื่องจากปีที่แล้วมีการโอนเงินทุนหมุนเวียนการผลิตเหรียญและจากเงินทุนหมุนเวียนการทำของเพื่อสนับสนุนรายได้ของรัฐ จำนวน 1,450 ล้านบาท
รัฐวิสาหกิจ 43,256 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 7,639 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 21.4 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 8.0) รัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญสรุปได้ดังนี้
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยนำส่งรายได้จำนวน 8,541 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1,541 ล้านบาท
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นำส่งรายได้จำนวน 5,871 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 348 ล้านบาท
บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นำส่งรายได้จำนวน 4,500 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1,284 ล้านบาท
สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลนำส่งรายได้จำนวน 6,019 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 3,838 ล้านบาท
3. สาเหตุสำคัญที่ทำให้การจัดเก็บรายได้ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 สูงกว่าประมาณการในอัตราที่สูง
การขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง แม้จะชะลอตัวลงจากร้อยละ 7.8 ในไตรมาส 4/2546 เป็นร้อยละ 6.5 ในไตรมาส 1/2547 ซึ่งเป็นผลกระทบจากการระบาดของไข้หวัดนกก็ตาม ได้ส่งผลให้การจัดเก็บภาษีจากฐานรายได้และฐานการบริโภคขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทิศทางเดียวกัน โดยจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการถึงร้อยละ 30.1 และ 20.7 ตามลำดับ
4. การคาดการณ์แนวโน้มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลปีงบประมาณ 2547
กระทรวงการคลังมั่นใจว่ารัฐบาลจะสามารถจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในปีงบประมาณ 2547 ได้สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ (928,100 ล้านบาท) และประมาณการปรับปรุง (1,063,600 ล้านบาท) อย่างแน่นอน แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น การสูญเสียรายได้จากการปรับโครงสร้างอัตราภาษีศุลกากร และรายได้รัฐวิสาหกิจที่ต่ำกว่าเป้าหมาย (ชะลอการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) ก็ตาม โดยมีเหตุผลสนับสนุน ดังนี้
4.1 การขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีปัจจัยลบทั้งโรคระบาดไข้หวัดนก เหตุการณ์ไม่สงบในภาคใต้ และราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง กระทรวงการคลังคาดว่าภาวะเศรษฐกิจในปีงบประมาณ 2547 จะขยายตัวอยู่ในระดับที่ร้อยละ 7.1
4.2 ผลการจัดเก็บรายได้ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 สูงกว่าประมาณการร้อยละ 21.5 และสูงกว่าประมาณการปรับปรุงร้อยละ 3.4 คาดว่าในช่วง 4 เดือนหลังของปีงบประมาณ2547 จะยังคงจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการปรับปรุง เนื่องจากการขยายตัวของภาษีจากฐานการบริโภคและฐานรายได้ โดยเฉพาะภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี 2547 ที่จะยื่นชำระในเดือนสิงหาคมนี้ จะขยายตัวสูงในอัตราที่สูงเป็นสาเหตุสำคัญ
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 48/2547 21 มิถุนายน 2547--