กรุงเทพ--22 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 15-16 มิถุนายน 2547 นาย Abdou Diouf อดีตประธานาธิบดีเซเนกัล ในฐานะเลขาธิการกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส (Francophonie) และภริยา ได้เดินทางมาเยือนประเทศไทย โดยเป็นแขกของกระทรวงการต่างประเทศ ในการนี้ โดยที่ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ร่วมคณะในการเดินทางเยือนประเทศบราซิลอย่างเป็นทางการ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จึงได้ขอให้นางสิริกร มณีรินทร์ รัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันเพื่อเป็นเกียรติแก่นาย Abdou Diouf เลขาธิการกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส และคณะเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2547 ที่ กระทรวงการต่างประเทศ เกี่ยวกับกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส Francophonie มีภูมิหลังและการดำเนินการโดยสรุปดังนี้
ความเป็นมา
ความคิดในเรื่องการรวมกลุ่มของผู้ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส มีมาตั้งแต่ปี 2423 (ค.ศ.1880) โดยนาย Onsime Reclus นักภูมิศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ซึ่งได้กำหนดจัดทำแผนที่ประเทศและเขตต่างๆ ที่มีการรวมตัวกันของชุมชนหรือกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษากลางในการสื่อสารโดยให้ประเทศฝรั่งเศสเป็นแกนนำในการหาทางเสริมสร้างความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม กับประเทศหรือเขตเหล่านั้น
ความคิดในเรื่องการจัดตั้งกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสบังเกิดผลจริงจังเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2513 (ค.ศ.1970) ที่เมือง Niamey ประเทศ Niger เมื่อผู้แทนจากประเทศอดีตเมืองขึ้น ฝรั่งเศสได้ตกลงให้มีการจัดตั้งองค์กรเพื่อความร่วมมือทางด้านวัฒนธรรมและวิชาการ (Agency for Cultural and Technical Cooperation-ACCT) เพื่อทำหน้าที่เป็นเวทีความร่วมมือระหว่างประเทศของประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและประสานนโยบายความร่วมมือต่างๆ ดังนั้น กลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสจึงได้ถือเอาวันที่ 20 มีนาคมของทุกปีเป็นวันภาษาฝรั่งเศส ปัจจุบัน กลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเพิ่มขึ้นจาก 22 ประเทศเป็น 53 ประเทศ และ 3 รัฐ คือ Canada New Brunswick, Canada Quebec และ French Community of Belgium กระจายอยู่ ทั่วโลก มีประชากรรวมกันกว่า 170 ล้านคน
กลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเป็นเวทีความร่วมมือระหว่างประเทศของประเทศที่มีความแตกต่างทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและระดับการพัฒนาและมีความประสงค์ร่วมกันที่จะใช้ภาษาฝรั่งเศสในการสื่อสารเพื่อความร่วมมือระหว่างกันบนหลักการของ ภราดรภาพ (fraternity) ความอดทน (tolerance) และความเป็นสากล (universality) โดยเน้นการเสริมสร้างความเป็นประชาธิปไตยและเน้นการส่งเสริมนโยบายความหลากหลายทางวัฒนธรรมและภาษา ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกของกลุ่มฯ ไม่จำเป็นต้องเคยเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสหรือต้องใช้ภาษา ฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการกลุ่มประเทศผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสมีเป้าหมายในการดำเนินงานของกลุ่มฯ โดยเน้น ความร่วมมือระหว่างกันใน 5 สาขา ประกอบด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางประชาธิปไตย การส่งเสริมความร่วมมือด้านวัฒนธรรม การศึกษา การพัฒนาเศรษฐกิจและการเผยแพร่ภาษา ฝรั่งเศส
ประวัตินาย Abdou Diouf
นาย Abdou Diouf ปัจจุบันอายุ 69 ปี จบการศึกษาปริญญาตรีนิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย Dakar เซเนกัลและมหาวิทยาลัยปารีส ฝรั่งเศส เคยดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในเซเนกัล อาทิ รัฐมนตรีกระทรวงการวางแผนและอุตสาหกรรม นายกรัฐมนตรี และได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเซเนกัลถึง 4 สมัย (ค.ศ. 1981-1998) ก่อนดำรงตำแหน่ง เลขาธิการกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส (Francophonie) เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2003 ต่อจากนาย Boutros Boutros-Ghali อดีตเลขาธิการ องค์การสหประชาชาติ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 15-16 มิถุนายน 2547 นาย Abdou Diouf อดีตประธานาธิบดีเซเนกัล ในฐานะเลขาธิการกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส (Francophonie) และภริยา ได้เดินทางมาเยือนประเทศไทย โดยเป็นแขกของกระทรวงการต่างประเทศ ในการนี้ โดยที่ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ร่วมคณะในการเดินทางเยือนประเทศบราซิลอย่างเป็นทางการ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จึงได้ขอให้นางสิริกร มณีรินทร์ รัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันเพื่อเป็นเกียรติแก่นาย Abdou Diouf เลขาธิการกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส และคณะเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2547 ที่ กระทรวงการต่างประเทศ เกี่ยวกับกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส Francophonie มีภูมิหลังและการดำเนินการโดยสรุปดังนี้
ความเป็นมา
ความคิดในเรื่องการรวมกลุ่มของผู้ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส มีมาตั้งแต่ปี 2423 (ค.ศ.1880) โดยนาย Onsime Reclus นักภูมิศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ซึ่งได้กำหนดจัดทำแผนที่ประเทศและเขตต่างๆ ที่มีการรวมตัวกันของชุมชนหรือกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษากลางในการสื่อสารโดยให้ประเทศฝรั่งเศสเป็นแกนนำในการหาทางเสริมสร้างความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม กับประเทศหรือเขตเหล่านั้น
ความคิดในเรื่องการจัดตั้งกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสบังเกิดผลจริงจังเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2513 (ค.ศ.1970) ที่เมือง Niamey ประเทศ Niger เมื่อผู้แทนจากประเทศอดีตเมืองขึ้น ฝรั่งเศสได้ตกลงให้มีการจัดตั้งองค์กรเพื่อความร่วมมือทางด้านวัฒนธรรมและวิชาการ (Agency for Cultural and Technical Cooperation-ACCT) เพื่อทำหน้าที่เป็นเวทีความร่วมมือระหว่างประเทศของประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและประสานนโยบายความร่วมมือต่างๆ ดังนั้น กลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสจึงได้ถือเอาวันที่ 20 มีนาคมของทุกปีเป็นวันภาษาฝรั่งเศส ปัจจุบัน กลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเพิ่มขึ้นจาก 22 ประเทศเป็น 53 ประเทศ และ 3 รัฐ คือ Canada New Brunswick, Canada Quebec และ French Community of Belgium กระจายอยู่ ทั่วโลก มีประชากรรวมกันกว่า 170 ล้านคน
กลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเป็นเวทีความร่วมมือระหว่างประเทศของประเทศที่มีความแตกต่างทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและระดับการพัฒนาและมีความประสงค์ร่วมกันที่จะใช้ภาษาฝรั่งเศสในการสื่อสารเพื่อความร่วมมือระหว่างกันบนหลักการของ ภราดรภาพ (fraternity) ความอดทน (tolerance) และความเป็นสากล (universality) โดยเน้นการเสริมสร้างความเป็นประชาธิปไตยและเน้นการส่งเสริมนโยบายความหลากหลายทางวัฒนธรรมและภาษา ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกของกลุ่มฯ ไม่จำเป็นต้องเคยเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสหรือต้องใช้ภาษา ฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการกลุ่มประเทศผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสมีเป้าหมายในการดำเนินงานของกลุ่มฯ โดยเน้น ความร่วมมือระหว่างกันใน 5 สาขา ประกอบด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางประชาธิปไตย การส่งเสริมความร่วมมือด้านวัฒนธรรม การศึกษา การพัฒนาเศรษฐกิจและการเผยแพร่ภาษา ฝรั่งเศส
ประวัตินาย Abdou Diouf
นาย Abdou Diouf ปัจจุบันอายุ 69 ปี จบการศึกษาปริญญาตรีนิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย Dakar เซเนกัลและมหาวิทยาลัยปารีส ฝรั่งเศส เคยดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในเซเนกัล อาทิ รัฐมนตรีกระทรวงการวางแผนและอุตสาหกรรม นายกรัฐมนตรี และได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเซเนกัลถึง 4 สมัย (ค.ศ. 1981-1998) ก่อนดำรงตำแหน่ง เลขาธิการกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส (Francophonie) เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2003 ต่อจากนาย Boutros Boutros-Ghali อดีตเลขาธิการ องค์การสหประชาชาติ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-