นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงภายหลังการประชุมคณะผู้บริหารพรรคประชาธิปัตย์ว่า คณะผู้บริหารได้พิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2548 ที่จะมีการพิจารณาในวันที่ 23 —24 มิ.ย. นี้ โดยรัฐบาลตั้งเป็นงบสมดุล วงเงิน 1,200,000 ล้านบาท ซึ่งคณะผู้บริหารพรรคฯได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตว่ามีเรื่องที่น่าติดตามโดยสรุปดังนี้
1. ภาระผูกพันงบประมาณ ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าการตั้งงบประมาณ ปี 48 มีภาระผูกพันงบประมาณค่อนข้าง มาก จากเดิม 60,000 กว่าล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 90,000 ล้านบาท และภาระผูกพันยังมีต่อเนื่องไปอีกหลายปี
2. เศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2548 ไม่น่าจะขยายตัวตามที่รัฐบาลคาดการณ์ไว้ แต่รัฐบาลก็ไม่ปรับลดประมาณการรายได้ให้ต่ำลง ตามสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป เพราะฉะนั้นสัดส่วนของประมาณการรายได้จึงน่าจะสูงกว่าประมาณการงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้
3. รัฐบาลจัดสรรงบให้แก่ท้องถิ่นเพียง ร้อยละ 23.5 ทั้งที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้จัดสรรงบลงท้องถิ่นร้อยละ 35
4. เรื่องของยุทธศาสตร์การบริหารจัดการประเทศ เช่น การปราบปรามการทุจริต การพัฒนาเสริมสร้างกลไกการตรวจสอบขีดความสามารถในการบริหารจัดการแบบบูรณาการ เป็นต้น ที่รัฐบาลไม่จัดสรรงบประมาณในส่วนนี้ไว้เลย ทั้งที่รัฐบาลพยายามบอกมาตลอดว่าจะปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น
5. ด้านการผลิตและการสร้างรายได้ รัฐบาลลดงบประมาณลง ร้อยละ 36 จากปี 47 สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลไม่ให้ความสำคัญกับการผลิตและการสร้างรายได้ แต่กลับเน้นและกระตุ้นการบริโภค ซึ่งเมื่อเน้นการบริโภคปัญหาหนี้สินก็จะตามมา
6. ด้านการท่องเที่ยว รัฐบาลใช้งบประมาณในการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวถึง 4,000 กว่าล้านบาท แต่งานด้านการพัฒนามาตรฐานการท่องเที่ยวและบริการกลับได้งบเพียง 514 ล้านบาท ซึ่งจะเห็นว่างบประมาณไม่สัมพันธ์กัน เพราะเราประชาสัมพันธ์ให้คนมาท่องเที่ยวแต่กลับละเลยการพัฒนามาตรฐานการท่องเที่ยวและบริการ
7. งบของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับงบเพิ่มขึ้นจาก 60,000 กว่าล้านบาท เป็น เกือบแสนล้านบาทในปีนี้ คิดเป็นร้อยละ 42.9 ซึ่งรัฐบาลไม่ได้ระบุรายละเอียดว่าจะจัดสรรลงพื้นที่อย่างไร ทำให้เชื่อว่ารัฐบาลอาจจะนำเงินในส่วนนี้ไปใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ของ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล
8. รัฐบาลมีเป้าหมายจะลดจำนวนคนจนลง 1.2 ล้านคนลงในปี 2548 แต่จากการพิจารณางบประมาณ ยังไม่ระบุชัดเจนว่ามีการจัดสรรงบเพื่อเรื่องนี้
9. แผนงานส่งเสริมการผลิตการเกษตร งบประมาณลดลงร้อยละ 7.3
10. แผนงานส่งเสริมการพาณิชย์ในประเทศ งบประมาณลดลงร้อยละ 7
11. แผนงานปรับปรุงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม งบประมาณลดลงร้อยละ 69
12. แผนงานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ งบประมาณลดลงร้อยละ 16
ส่วนเรื่องของการประมาณการรายได้ รัฐบาลตั้งเป้าว่าจะเก็บรายได้เพิ่มขึ้น จึงได้จัดตั้งงบประมาณแบบสมดุล ซึ่งพรรคฯเห็นว่าน่าจะมีปัญหา ยกตัวอย่างเช่น รัฐบาลคาดว่าจะเก็บภาษีรายได้นิติบุคคล เพิ่มขึ้น ร้อยละ 47.5 ซึ่งขัดแย้งกับนโยบายของรัฐบาลที่เคยประกาศไว้ว่า จะลดภาษีรายได้นิติบุคคลลงเหลือ ร้อยละ 28 — 30 เพราะฉะนั้นการตั้งงบประมาณของรัฐบาลในครั้งนี้ขัดกับนโยบายที่เคยประกาศไว้ ‘ การตั้งงบประมาณครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่ารัฐบาล ตั้งงบประมาณอย่างหนึ่ง และตอนประกาศนโยบายก็ประกาศอีกอย่างหนึ่ง นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของการประกาศนโยบายให้ประชาชนเคลิบเคลิ้ม แต่เอาเข้าจริงกลับไม่ปฏิบัติตามนั้น งบประมาณมันฟ้อง’ นายองอาจกล่าว
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์กล่าวด้วยว่า ในส่วนของภาษีน้ำมันปิโตรเลียม รัฐบาลจะเก็บเพิ่มขึ้น ร้อยละ 61.2 แต่ในขณะนี้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ไม่แน่ใจว่ารัฐบาลจะเก็บภาษีได้เหมือนเดิมหรือไม่ เพราะประชาชนจะประหยัดการใช้น้ำมันตามมาตรการที่รัฐบาลกำลังรณรงค์ ซึ่งจะส่งผลให้การใช้น้ำมันในประเทศลดลง ภาษีที่จะเก็บได้ก็ต้องลดลงตามไปด้วย
ส่วนประมาณการรายได้ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลตั้งเป้าว่าจะเก็บเพิ่มขึ้นอีก ร้อยละ 57.6 นั้น พรรคฯเห็นว่าเป็นการมอมเมาประชาชน ‘รัฐบาลจะระดมออกหวยบนดิน ใต้ดิน อีกสารพัดรูปแบบ คือให้ซื้อกันให้สนั่นหวั่นไหวไปเลย ชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลเตรียมมอมเมาประชาชนเพิ่มขึ้น ซึ่งขัดกับแนวทางการสร้างเสริมจริยธรรมที่ดีในสังคมเป็นอย่างยิ่ง ’ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 22 มิ.ย. 2547--จบ--
-ดท-
1. ภาระผูกพันงบประมาณ ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าการตั้งงบประมาณ ปี 48 มีภาระผูกพันงบประมาณค่อนข้าง มาก จากเดิม 60,000 กว่าล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 90,000 ล้านบาท และภาระผูกพันยังมีต่อเนื่องไปอีกหลายปี
2. เศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2548 ไม่น่าจะขยายตัวตามที่รัฐบาลคาดการณ์ไว้ แต่รัฐบาลก็ไม่ปรับลดประมาณการรายได้ให้ต่ำลง ตามสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป เพราะฉะนั้นสัดส่วนของประมาณการรายได้จึงน่าจะสูงกว่าประมาณการงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้
3. รัฐบาลจัดสรรงบให้แก่ท้องถิ่นเพียง ร้อยละ 23.5 ทั้งที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้จัดสรรงบลงท้องถิ่นร้อยละ 35
4. เรื่องของยุทธศาสตร์การบริหารจัดการประเทศ เช่น การปราบปรามการทุจริต การพัฒนาเสริมสร้างกลไกการตรวจสอบขีดความสามารถในการบริหารจัดการแบบบูรณาการ เป็นต้น ที่รัฐบาลไม่จัดสรรงบประมาณในส่วนนี้ไว้เลย ทั้งที่รัฐบาลพยายามบอกมาตลอดว่าจะปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น
5. ด้านการผลิตและการสร้างรายได้ รัฐบาลลดงบประมาณลง ร้อยละ 36 จากปี 47 สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลไม่ให้ความสำคัญกับการผลิตและการสร้างรายได้ แต่กลับเน้นและกระตุ้นการบริโภค ซึ่งเมื่อเน้นการบริโภคปัญหาหนี้สินก็จะตามมา
6. ด้านการท่องเที่ยว รัฐบาลใช้งบประมาณในการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวถึง 4,000 กว่าล้านบาท แต่งานด้านการพัฒนามาตรฐานการท่องเที่ยวและบริการกลับได้งบเพียง 514 ล้านบาท ซึ่งจะเห็นว่างบประมาณไม่สัมพันธ์กัน เพราะเราประชาสัมพันธ์ให้คนมาท่องเที่ยวแต่กลับละเลยการพัฒนามาตรฐานการท่องเที่ยวและบริการ
7. งบของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับงบเพิ่มขึ้นจาก 60,000 กว่าล้านบาท เป็น เกือบแสนล้านบาทในปีนี้ คิดเป็นร้อยละ 42.9 ซึ่งรัฐบาลไม่ได้ระบุรายละเอียดว่าจะจัดสรรลงพื้นที่อย่างไร ทำให้เชื่อว่ารัฐบาลอาจจะนำเงินในส่วนนี้ไปใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ของ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล
8. รัฐบาลมีเป้าหมายจะลดจำนวนคนจนลง 1.2 ล้านคนลงในปี 2548 แต่จากการพิจารณางบประมาณ ยังไม่ระบุชัดเจนว่ามีการจัดสรรงบเพื่อเรื่องนี้
9. แผนงานส่งเสริมการผลิตการเกษตร งบประมาณลดลงร้อยละ 7.3
10. แผนงานส่งเสริมการพาณิชย์ในประเทศ งบประมาณลดลงร้อยละ 7
11. แผนงานปรับปรุงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม งบประมาณลดลงร้อยละ 69
12. แผนงานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ งบประมาณลดลงร้อยละ 16
ส่วนเรื่องของการประมาณการรายได้ รัฐบาลตั้งเป้าว่าจะเก็บรายได้เพิ่มขึ้น จึงได้จัดตั้งงบประมาณแบบสมดุล ซึ่งพรรคฯเห็นว่าน่าจะมีปัญหา ยกตัวอย่างเช่น รัฐบาลคาดว่าจะเก็บภาษีรายได้นิติบุคคล เพิ่มขึ้น ร้อยละ 47.5 ซึ่งขัดแย้งกับนโยบายของรัฐบาลที่เคยประกาศไว้ว่า จะลดภาษีรายได้นิติบุคคลลงเหลือ ร้อยละ 28 — 30 เพราะฉะนั้นการตั้งงบประมาณของรัฐบาลในครั้งนี้ขัดกับนโยบายที่เคยประกาศไว้ ‘ การตั้งงบประมาณครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่ารัฐบาล ตั้งงบประมาณอย่างหนึ่ง และตอนประกาศนโยบายก็ประกาศอีกอย่างหนึ่ง นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของการประกาศนโยบายให้ประชาชนเคลิบเคลิ้ม แต่เอาเข้าจริงกลับไม่ปฏิบัติตามนั้น งบประมาณมันฟ้อง’ นายองอาจกล่าว
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์กล่าวด้วยว่า ในส่วนของภาษีน้ำมันปิโตรเลียม รัฐบาลจะเก็บเพิ่มขึ้น ร้อยละ 61.2 แต่ในขณะนี้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ไม่แน่ใจว่ารัฐบาลจะเก็บภาษีได้เหมือนเดิมหรือไม่ เพราะประชาชนจะประหยัดการใช้น้ำมันตามมาตรการที่รัฐบาลกำลังรณรงค์ ซึ่งจะส่งผลให้การใช้น้ำมันในประเทศลดลง ภาษีที่จะเก็บได้ก็ต้องลดลงตามไปด้วย
ส่วนประมาณการรายได้ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลตั้งเป้าว่าจะเก็บเพิ่มขึ้นอีก ร้อยละ 57.6 นั้น พรรคฯเห็นว่าเป็นการมอมเมาประชาชน ‘รัฐบาลจะระดมออกหวยบนดิน ใต้ดิน อีกสารพัดรูปแบบ คือให้ซื้อกันให้สนั่นหวั่นไหวไปเลย ชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลเตรียมมอมเมาประชาชนเพิ่มขึ้น ซึ่งขัดกับแนวทางการสร้างเสริมจริยธรรมที่ดีในสังคมเป็นอย่างยิ่ง ’ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 22 มิ.ย. 2547--จบ--
-ดท-