นายบัญญัติ บรรทัดฐาน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
กล่าวเปิดการอภิปราย ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2548 (งบสมดุล)
..........................................................................
ท่านประธานที่เคารพ กระผมบัญญัติ บรรทัดฐาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี 2548 ซึ่งท่านนายกรัฐมนตรีได้นำเสนอต่อสภาในวันนี้ นับเป็นงบประมาณฉบับที่ 4 ที่รัฐบาลนี้ได้จัดทำขึ้น เพื่อใช้จ่ายในการบริหารราชการแผ่นดิน และถ้าจะนับเอางบประมาณเพิ่มเติมประจำปี 2547 ซึ่งเพิ่งจะได้รับความเห็นชอบจากสภานี้ไปเมื่อไม่นานมานี้ นับรวมกันแล้วฉบับนี้ก็จะเป็นฉบับที่ 5 ซึ่งเมื่อสักครู่านี้ว่าตามจริงท่านนายกรัฐมนตรีก็ดูจะได้ช่วยลำดับความตั้งแต่ต้นจากฉบับแรกมาถึงฉบับนี้ด้วยแล้ว เพียงแต่ท่านนายกรัฐมนตรี ยังไม่ได้นับรวมเอาวงเงินของทุกฉบับเข้าด้วยกัน ซึ่งกระผมขอกราบเรียนท่านประธานว่า ถ้าจะนับเอาจำนวนวงเงินของทุกฉบับรวมเข้าด้วยกันแล้ว จะมียอดวงเงินสูงถึง 4.5219 ล้านล้านบาท ซึ่งต้องยอมรับความเป็นจริงว่าเป็นจำนวนเงินที่สูงมาก เป็นจำนวนเงินที่มากมายมหาศาลทีเดียว ซึ่งค่าเฉลี่ยออกมาเป็นรายปี ก็จะตกเฉลี่ยปีละประมาณ 1 แสนล้านบาท และนี่คือเงินที่รัฐบาลนี้ได้ใช้จ่ายในการบริหารราชการแผ่นดินในแต่ละปี ซึ่งนี่ก็ยังไม่ได้นับรวมเงินนอกงบประมาณและเงินจากองค์กรอื่นหรือสถาบันการเงินภาครัฐ ซึ่งรัฐบาลได้ใช้ในการสนองนโยบายของรัฐบาลในการบริหารราชการแผ่นดินเช่นเดียวกัน แล้วก็โดยที่เงินเหล่านี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่รัฐบาลได้ใช้จ่ายโดยตรงในการบริหารราชการแผ่นดิน ล้วนแล้วแต่เป็นเงินที่เก็บมาจากภาษีอากรของพี่น้องประชาชนด้วยกันทั้งสิ้น แล้วก็เพราะฉะนั้นคงจะเป็นด้วยเหตุนี้ ทุกปีในเวลาที่รัฐบาลนี้ได้นำเอาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณแผ่นดินประจำปีมาเสนอต่อสภานี้ พวกกระผมซึ่งมีหน้าที่ในการตรวจสอบงบประมาณในการตรวจสอบรัฐบาล ก็มักจะได้อภิปรายเตือนสติ ให้สติรัฐบาลอยู่ตลอดเวลาว่า ต้องใช้งบประมาณด้วยความสุจริต ด้วยความระมัดระวังรอบคอบ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและประชาชนโดยส่วนรวม ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ตนหรือประโยชน์พวกพ้อง ซึ่งในครั้งนี้พวกกระผมก็คงจะได้ทำหน้าที่อย่างเดียวกันนี้
วันนี้ท่านนายกรัฐมนตรีก็ได้แถลงในสภาในทำนองเดียวกันกับที่ได้แถลงมาเมื่อปีที่แล้ว โดยเริ่มจากภาพรวมแนวโน้มเศรษฐกิจไทย ตามมาด้วยนโยบายในการจัดทำงบประมาณ มาถึงยุทธศาสตร์ แล้วที่ขาดไม่ได้ก็คือเรื่องของการบูรณาการ แล้วสุดท้ายคือการสาธยายผลงานของรัฐบาลอย่างยาวเหยียด ในประเด็นภาพรวมแนวโน้มเศรษฐกิจไทย เดิมทีเดียวกระผมคิดว่าวันนี้ท่านนายกรัฐมนตรีอาจจะเสียงอ่อนลงไปสักนิด หลังจากที่เมื่อหลายวันก่อน ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ออกมาแสดงความคิดความเห็นในทำนองว่า น่าจะได้มีการปรับลดตัวเลขความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในปี 2547 ลงเสียบ้าง แล้วล่าสุดสดๆร้อนๆเมื่อวานนี้ ท่านผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ดูจะออกมาแสดงความคิดความเห็นค่อนข้างจะตรงไปตรงมาอย่างชัดเจนทีเดียวว่า ปี 2547 นั้นตัวเลขงบประมาณตัวเลขของความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจน่าจะอยู่ที่ระดับแค่ 6 เท่านั้น คงไม่น่าสูงไปกว่านั้น กระผมก็ไม่ทราบว่าท่านนายกรัฐมนตรีจะมีความรู้สึกอย่างไรต่อการแสดงความคิดความเห็นที่ตรงไปตรงมาของท่านผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ที่กระผมพบวันนี้ก็คือว่าท่านนายกรัฐมนตรีก็ยังคงจะดูเสียงแข็ง ยังยืนยันด้วยความมั่นใจทุกอย่างทุกประการ ตามวิสัยของท่าน ดูท่านจะมีความมั่นใจว่าแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2547 นี้ จะยังคงอยู่ที่ 7 ด้วยอัตราเงินเฟ้อประมาณร้อยละ 2.2 ถึงร้อยละ 2.5 และที่ดูท่านนายกฯจะยืนยันอย่างขันแข็งเป็นพิเศษก็คือตัวเลขอัตราความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในปี 2548 ทีท่าท่านเช้าวันนี้ผมคิดว่าชัดเจนมากว่าหัวเด็ดตีนขาดอย่างไรก็ต้องถึงร้อยละ 7.5 โดยมีอัตราเงินเฟ้อประมาณร้อยละ 2.5 ท่านยืนยันอย่างหนักแน่นว่า ความเจริญเติบโตที่ว่านี้คงจะต้องเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องมาจากปี 2547 อย่างแน่นอน โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญคือ การขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน เนื่องจากมีการเพิ่มกำลังการผลิตจนเกือบเต็มประสิทธิภาพในหลายสาขา ดูในเอกสสารแล้วดูจะยืนยันด้วยซ้ำไปว่ามูลค่าการส่งออกยังขยายตัวในระดับสูง และทั้งรัฐบาลก็ได้ดำเนินการเจรจาการค้า การพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ และการพัฒนาคุณภาพสินค้าในการส่งออกของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุล และดูที่ท่านดูจะมีความภาคภูมิใจเป็นพิเศษก็คือ เงินทุกสำรองเงินตราระหว่างประเทศยังอยู่ในระดับสูง หนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมลดลง ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นถ้อยคำที่ท่านนายกรัฐมนตรีแถลงไว้และก็เป็นถ้อยคำที่ได้เขียนกำหนดไว้อย่างชัดเจนในงบประมาณแผ่นดินฉบับนี้ด้วยกันทั้งสิ้น
กระผมเข้าใจว่าคนที่เป็นรัฐบาลนั้นจำเป็นจะต้องสร้างความมั่นใจ ยิ่งรัฐบาลนี้ด้วยแล้ว ต้องยอมรับความจริงว่า ปัจจัยสำคัญที่สุดที่สนับสนุนรัฐบาลนี้ก็คือ การสร้างความมั่นใจ เราจึงจะได้พบเห็นรัฐบาลออกสร้างความมั่นใจบ่อยเป็นพิเศษ แต่อย่างไรก็ตามกระผมอยากกราบเรียนท่านประธานว่า การสร้างความมั่นใจที่เกินจริงหรือตั้งอยู่บนความความประมาทนั้น พลาดพลั้งขึ้นมาก็อาจจะเป็นปัญหาก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อประเทศชาติ และต่อประชาชนได้เช่นเดียวกัน ท่านนายกรัฐมนตรีจะสร้างความมั่นในอย่างไรก็แล้วแต่ แต่สำหรับตัวผมเองนั้น ผมขอเรียนท่านประธานว่ากระผมไม่เชื่อมั่น กระผมไม่เชื่อมั่นว่าความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องวจนมาถึงเกือบจะถึงตอนกลางปี 2547 จะเติบโตอย่างถาวรและมีเสถียรภาพอย่างแน่นอน อย่างที่ท่านนายกฯกล่าวอ้าง กระผมคิดว่าบางทีลึกๆ รัฐบาลอาจจะยอมรับอยู่ในใจบ้างตามสมควร อย่างการพูดถึงตัวเลข 6.5 เมื่อเช้าวันนี้ในตอนครึ่งปีแรกของปี 2547 เพราะว่าอย่างไรก็ตามผมคิดว่าในเอกสารงบประมาณประกอบของงบประมาณประจำปี 2548 ฉบับนี้ ที่เขียนไว้ว่าเศรษฐกิจในปี 2547 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่สูง โดยมีการใช้จ่ายครัวเรือน การลงทุนเอกชน และการใช้จ่ายของภาครัฐบาลเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ การนำเอาการใช้จ่ายครัวเรือนนำหน้า กระผมคิดว่าควรจะเป็นเพราะว่า รัฐบาลคงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าแรงขับเคลื่อนยังสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจภายใต้การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลนี้ ได้กระตุ้นอย่างสูงขึ้นก็คือการใช้จ่ายจากภาคครัวเรือน แต่ว่าขณะนี้กระผมคิดว่าถ้าเราจะได้เหลียวกลับไปดูภาคครัวเรือน คือครัวเรือนไทยว่าเป็นอย่างไรแล้ว เราก็จะพบความจริงว่า ครัวเรือนไทยในวันนี้เต็มไปด้วยหนี้สินทั้งนั้น หนี้สินครัวเรือนไทยโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมาโดยตลอดในยุคของรัฐบาลนี้ ในเวลาที่มีการพิจารณางบประมาณปี 2547
ในสภานี้กระผมก็ได้พูดถึงเรื่องนี้ ผมเคยบอกกับรัฐบาลนี้ว่าหนี้ครัวเรือนไทยโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นในอัตราที่น่าวิตก นั้นก็คือเพิ่มขึ้นจาก 68,000 บาทต่อครัวเรือนในปี 2543 —2544 เป็น 82,000 บาทต่อปีในปี 2545 เมื่อพรรคปชป.พูดถึงเรื่องหนี้สินประชาชนมากๆ ท่านนายกฯท่านก็จะบอกว่าไม่มีหนี้แล้วจะรวยได้อย่างไร พร้อมกับมักจะยกกรณีตัวอย่างของตัวท่านเองเป็นตัวอย่างประกอบ กระผมจึงอยากจะตั้งเป็นคำถามเช่นเดียวกันว่ามีใครสักกี่คน ในบ้านเมืองนี้ที่มีหนี้ แล้วร่ำรวยโชคดี เหมือนท่านนายกฯ โดยเฉพาะคนที่มีหนี้นั้นเป็นประชาชนธรรมดาทั่วๆไป วันนี้ท่านนายกฯยังคงยืนยันคำพูดเดิมอยู่หรือไม่ก็สุดแล้วแต่ แต่ตัวเลขหนี้ประชาชน คือหนี้ครัวเรือนไทยเฉลี่ยในยุคของท่านนายกฯเพิ่มขึ้นมาอีกแล้ว นั้นก็คือเพิ่มจาก 82,000 บาทต่อครัวเรือน ในปี 2545 เป็น 91,000 บาทต่อครัวเรือนในปี 2546 และที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือว่าในไตรมาสแรก ของปี 2547 คือเมื่อตอนต้นปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 110,143 บาท ต่อครัวเรือนเข้าไปแล้ว ในขณะที่รายได้เพิ่มขึ้นน้อยกว่าเป็นอันมาก โดยหนี้เพิ่มมากกว่าถึง 13 - 14 เท่าตัว เมื่อเช้าวันนี้ดูจะเห็นหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง พาดหัวในทำนองว่า ไม่ใช่ 13 - 14 แล้ว 19 เท่าตัวเข้าไปแล้ว เป็นเรื่องที่น่าวิตกเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้นถ้าจะหวังให้การใช้จ่ายครัวเรือนเป็นแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจต่อไปอีก ก็คงจะหวังได้ยากเสียแล้ว กระผมจึงไม่เชื่อมั่นว่าความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เป็นอยู่แล้วในขณะนี้ถาวรและมีเสถียรภาพอย่างมั่นคง แข็งแรงเพียงพอ ด้วยความรู้สึกว่ามันน่าจะเป็นเพียงภาวะชั่วคราวเสียมากกว่า ผมคิดว่านี่เป็นข้อสังเกตประการแรกในเรื่องเศรษฐกิจของภาพรวม
ข้อสังเกตที่ 2 ก็คือว่า มีตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหลายตัวครับที่ดูจะส่งสัญญาไม่สู้จะดีนัก ดัชนีหลายตัวเริ่มบ่งบอกภาวะการขยายตัวที่อ่อนลงตั้งแต่เดือน มี.ค. ที่ผ่านมา และภายในเดือนเดียวจากมี.ค.-เม.ย. ซึ่งเป็นตัวเลขที่กระผมพอใจหาได้ ดูจะชี้ทิศทางในลักษณะที่เป็นทิศทางขาลงด้วยกันทั้งสิ้น ตัวเลขเดือนเม.ย.ซึ่งเป็นตัวเลขล่าสุดนั้น บอกว่าการใช้กำลังการผลิตที่รัฐบาล กล่าวอ้างในเอกสารว่าดีเหลือเกินครับ ก็ไม่ค่อยจะสู้จะดี เพราะอยู่ที่ร้อยละ 69.8 ซึ่งลดต่ำลงมามาก เมื่อเทียบกับร้อยละ 77.7 ในเดือนมี.ค. ดัชนีการผลิตทางอุตสาหกรรม ดัชนีการบริโภค และดัชนีการลงทุนก็ดูจะชะลอลงเกือบจะทุกตัวครับ ดุลเงินสดก็ดูจะมาขาดดุลอย่างมากอีกครั้งหนึ่ง ในช่วง 7 เดือนแรก ของปีงบประมาณ 2547 ดุลการค้าก็ขาดดุลเป็นเดือนที่ 2 ในขณะที่ดุลบัญชีสะพัดก็กลับมาขาดดุลอีก ผมคิดว่านี้เป็นข้อสังเกตที่น่าพิจารณามาก
ข้อสังเกตประการที่ 3 ก็คือว่า ขณะนี้ดูหลายวงการครับที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ ดูจะได้มีการพูดถึงปัจจัยเสี่ยงอีกเป็นอันมาก ที่รัฐบาลอาจจะยังมองข้าม แม้เมื่อเช้าวันนี้ท่านนายกฯอาจจะพูดถึงอยู่บ้าง แต่กระผมมีความรู้สึกว่ารัฐบาลคงยังไม่ได้นำมาเป็นปัจจัยในการประเมินสถานการณ์ที่เป็นจริงในทางเศรษฐกิจ ท่านนายกฯพูดถึงอัตราดอกเบี้ยในตลาดโลก ซึ่งก็ดูจะเป็นเรื่องที่หลายฝ่ายค่อนข้างจะวิตกเป็นทุกข์เป็นร้อนกันอยู่มาก แต่ผมคิดว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์ของสหรัฐฯ นั้นน่าจะเป็นเรื่องที่รัฐบาลไม่สามารถมองข้ามได้ เปรียบเทียบกับเงินบาท อย่างน้อยที่สุดครั้งหนึ่งสมัยหนึ่งครับ ในเวลาที่รัฐบาลที่กำลังนั่งบริหารบ้านเมืองอยู่ในขณะนั้นได้มองเลยปัญหาเหล่านี้ไปไม่ตัดสินใจปรับค่าเงินบาทในเวลาที่ค่อนข้างจะเหมาะสม ท้ายที่สุดก็นำไปสู่การทุบเงินบ้านในตลาดต่างประเทศ จนรัฐบาลในขณะนั้นซึ่งพูดไปทำไงดีครับ ท่านนายกฯในวันนี้ก็ดูจะนั่งเป็นรองนายกฯอยู่ในขณะนั้นด้วย ต้องนำเอาเงินบาท เงินดอลลาร์ ไปพยุงราคาเงินบาทเอาไว้ จนกระทั่งทุนสำรองเกือบจะหมดสินแล้วท้ายสุด ก็ต้องไปขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
การเติบโตที่อาจจะอ่อนตัวลงของเศรษฐกิจจีน ผมคิดว่าตรงนี้ก็พูดกันมาก แล้วท้ายสุดๆที่สดๆร้อนๆครับก็คือภาวะน้ำมันโลก ที่อาจจะผันผวนต่อไปอีก ซึ่งจะปฏิเสธไม่ได้ว่า ประเทศไทยของเราเป็นประเทศหนึ่งใน 2 ประเทศ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกที่มักจะได้รับผลกระทบจากความผันผวนของราคาน้ำมันมากที่สุด ซึ่งขณะนี้รัฐบาลจะเป็นอย่างไรผมไม่ทราบครับ แต่พี่น้องประชาชนโดยทั่วไปดูจะมีทีท่าว่าจะต้องแบกภาระจากข้าวของที่แพงขึ้น แม้กระทั่งแก็สหุงต้ม ซึ่งเมื่อเช้าวันนี้ดูท่านรมว.พลังงาน ก็มีทีท่าที่จะแสดงออกเองว่า คงไม่สามารถที่จะแบกรับต่อไปไว้อีกแล้ว
สถานการณ์ของความไม่สงบเรียบร้อยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งดูบัดนี้ยังหาจุดจบไม่ค่อยได้ ผมคิดว่าสิ่งเหล่านี้ดูจะส่งผลกระทบต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลคาดหมายไว้ได้ทั้งสิ้น ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นจริงก็ยอมจะหมายความว่าประมาณการรายรับที่รัฐบาลนี้คาดว่าจะจัดเก็บได้ ก็จะไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เมื่อรายรับได้น้อยลงกว่ารายจ่าย กระผมคิดว่าสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอนรัฐบาลต้องเก็บภาษีเพิ่ม ภาษีที่เก็บอยู่แล้วก็อาจจะต้องเก็บสูงขึ้น ภาษีที่ยังไม่เคยเรียกเก็บก็อาจจะต้องเรียกเก็บด้วย หรือมิฉะนั้นก็ต้องเบิกจ่ายให้น้อยลง หรือไม่ก็ตั้งนำเงินคงคลังออกมาใช้ก่อน ซึ่งก็ดูจะมีปัญหาทั้งสิ้น และคงจะนำไปสู่ผลกระทบในเรื่องของความไม่เชื่อมั่นในที่สุด
กระผมคิดว่าจริงๆรัฐบาลนี้ก็อาจจะนึกถึงอยู่เหมือนกัน แต่ว่าด้วยความรู้สึกว่าการจัดตั้งงบประมาณในลักษณะที้สมดุลจะทำให้ดูดีขึ้น จะทำให้มีความรู้สึกว่ารัฐบาลได้กอบกู้ภาวะวิกฤตในทางเศรษฐกิจ จนมีความมั่นคงแข็งแรงมากขึ้นแล้ว เพื่อจะสร้างความเชื่อมั่นต่อไป ซึ่งกระผมกราบเรียนท่านประธานไว้ตั้งแต่ต้นแล้วว่าปัจจัยความเชื่อมั่นดูจะเป็นปัจจัยที่สนับสนุนอย่างสำคัญที่ทำให้รัฐบาลนี้ดูมีความแข็งแรงมากขึ้น จนเกินไปกว่าความเป็นจริงเหล่านี้จะเป็นอย่างไรผมเข้าใจว่าไม่ช้าก็คงจะได้พบได้เห็นกัน แต่ว่าในส่วนตัวของผม กระผมไม่คิดว่าความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลตั้งไว้ค่อนข้างสูงครับ จนเป็นเหตุให้นำมาซึ่งการตั้งงบประมาณรายจ่ายที่มีจำนวนค่อนข้างสูง และในลักษณะสมดุลด้วย ท้ายสุดจะไม่มีปัญหาผมยังคิดว่าน่าจะมีปัญหา
นอกเหนือจากข้อสังเกตที่ทำให้กระผมไม่อาจจะเชื่อมั่นในการคาดหมายของรัฐบาลในความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแล้วครับ กระผมยังมีเรื่องสำคัญๆที่ใคร่จะได้อภิปรายถึงในตอนนี้ซัก 3-4 เรื่องด้วยกันครับ ท่านประธานครับ เรื่องแรกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประมาณการรายรับที่น่าห่วงใยเช่นเดียวกัน เพียงแต่ว่าประมาณการรายรับที่กระผมพูดถึงนี้ คงไม่ใช่เรื่องห่วงใยว่าไม่สามารถที่จะจัดเก็บได้ตามที่ประมาณการกันไว้ และจะต้องไปเก็บภาษีเพิ่ม เพียงแต่มีความรู้สึกว่า เมื่อดูประมาณการรายรับในส่วนเหล่านี้แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อดูที่มาที่ไป หรือรายได้ที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นจากบางรายการแล้ว ชวนให้กระผมมีความรู้สึกว่า สังคมไทยของเราค่อนข้างจะน่าเป็นห่วงเช่นเดียวกันครับ
รายการแรกก็คือ รายการภาษีสุราและแสตมป์สุรา ซึ่งประมาณการรายได้ของรัฐบาลระบุอย่างชัดเจนว่า ในปี 2547 ประมาณการรายได้ที่จะจัดเก็บได้จากภาษีสุราและแสตมป์สุรา อยู่ที่ 15,330 ล้านบาท แต่ในปี 2548 จะจัดเก็บสูงขึ้นเป็น 22,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6,720 ล้านบาท ส่วนประมาณการรายได้จากภาษีเบียร์ก็ทำนองเดียวกัน นั่นก็คือในปี 2547 ประมาณการรายได้ ที่จะจัดเก็บได้อยู่ที่ 32,230 ล้านบาท แตในปี 2548 จะจัดเก็บได้สูงขึ้นเป็น 52,220 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19,990 ล้านบาท 2. รายการภาษียาสูบและแสตมป์ยาสูบ ในปี 2547 ประมาณการรายได้จากภาษียาสูบ คือ 25,200 ล้านบาท แต่ในปี 2548 ประมาณการรายได้สูงขึ้นเป็น 30,550 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5,350 ล้านบาท 3. รายการภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย ในปี 2547 ประมาณการรายได้อยู่ที่ 20,136 ล้านบาท แต่ในปี 2548 ประมาณการรายได้สูงขึ้นเป็น 30,996 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7,860 ล้านบาท และ 4. รายได้จากสำนักงานสลากกินแบ่งฯ ก็ไม่ทราบจะแทงใจดำท่านนายกฯบ้างหรือไม่ ในปี 2547 ประมาณการรายได้กำหนดไว้ที่ 5,629.5 ล้านบาท แต่ในปี 2548 ประมาณการรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 8,877.83 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,248 ล้านบาท
รายได้จากรายการเหล่านี้ ถ้าจะมองในมุมของประมาณการรายรับ ก็คงจะต้องยอมรับครับว่าเป็นตัวเลขรายได้ที่ค่อนข้างสูง เป็นกอบเป็นกำ ทำรายได้ให้เยอะว่างั้นเถอะครับ แต่ถ้าจะมองให้ลึกลงไปในอีกมุมหนึ่ง ก็ย่อมสะท้อนความเป็นจริงให้เห็นว่า สังคมเราทุกวันนี้ดูจะฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย ติดอยู่กับสิ่งเสพติด และการพนันขันต่อมากยิ่งขึ้นทุกทีครับ กระผมเข้าใจว่า ก็ไม่น่าจะเป็นผลสำหรับสังคมของเราอย่างแน่นอน ผมไม่ทราบเหมือนกันว่ารัฐบาลนี้จะมีความรู้สึกห่วงใยต่อปัญหาเหล่านี้บ้างหรือไม่ หรือมองเห็นเป็นเพียงตัวเลขรายได้ ที่น่าจะได้รับเพิ่มเติมมากยิ่งขึ้นต่อไปอีก แทนที่จะหาทางช่วยกัน ละ ลด ให้ลดน้อยถอยลง เพราะดูจากอัตราเพิ่มของประมาณการรายรับแล้ว ผมคิดว่าก็เป็นเรื่องที่น่าห่วงใยเป็นอย่างยิ่งเช่นเดียวกันครับ
เรื่องที่สองก็คือ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบายงบประมาณ ปี 2548 ซึ่งกำหนดเอาไว้ดีครับ มีเหตุผล แต่ถ้าท่านประธานจะได้พิจารณาลึกลงไปในเนื้อหาสาระที่เป็นรายละเอียดจริงๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวงเงินที่จัดสรรเอาไว้ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายงบประมาณที่กำหนดไว้อย่างดูดีนัก ก็จะพบความจริงครับว่า บางรายการกลายเป็นคนละเรื่องไปเลยครับ กรณีที่ชัดเจนที่สุดในเรื่องนี้ก็คือ กรณีที่ได้กำหนดเอาไว้เป็นนโยบาย ข้อ 4 ในนโยบายงบประมาณ คือ การส่งเสริมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามขีดความสามารถที่เพิ่มขึ้น โดยเพิ่มสัดส่วนรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต่อรายได้รัฐบาล
ท่านประธานครับ ผมคิดว่าใครก็ตามครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีแนวความคิดสนับสนุนส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครองไปสู่ท้องถิ่น จะเห็นว่ารัฐบาลได้ให้ความสำคัญค่อนข้างมาก ถือเอาการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหนึ่งในนโยบายงบประมาณประจำปี 2548 ด้วยแล้วครับ คงจะต้องคิดในเบื้องต้นว่า ปีนี้เห็นทีท้องถิ่นคงจะได้รับจัดสรรรายได้ให้เป็นจำนวนมากอย่างแน่นอน ผมเองก็คิดเช่นนั้นครับ คือคิดว่าโดยเหตุที่รัฐบาลนี้ มักจะถูกพวกกระผมต่อว่าต่อขานมาทุกปีครับ ในเรื่องการจัดสรรรายได้ให้ท้องถิ่นน้อยไป และโดยเหตุที่มีกฎหมายว่าด้วยแผนและขั้นตอนในการกระจายอำนาจ ก็ได้กำหนดอย่างชัดเจนแล้วว่า เมื่อถึงปี 2549 รัฐบาลต้องจัดสรรรายได้ให้ท้องถิ่นมีรายได้ไม่น้อยไปกว่า ร้อยละ 35 ของรายได้รับ
เพราะฉะนั้นงบประมาณปี 2548 ฉบับนี้ครับ ก็ในฐานะที่ใกล้ๆปี 49 เข้าไปแล้ว อย่างน้อยที่สุดก็คาดกันไว้ในเบื้องต้น เมื่อเห็นรัฐบาลให้ความสำคัญถึงขนาดกำหนดเอาไว้ในนโยบายรัฐบาล โดยอย่างไรเสียปีนี้ ถ้าไม่ถึงร้อยละ 30 ก็คงจะใกล้ๆร้อยละ 30 เข้าไปมากพอสมควรเท่าที่จะมากได้ แต่ท่านประธานครับที่ไหนได้ครับ พอมาดูวงเงินที่จัดสรรให้กับท้องถิ่นในปีนี้ คือ ปี 2548 นั้น ก็คือจำนวน 282,000 ล้านบาท ซึ่งเทียบได้เท่ากับร้อยละ 23.5 ของรายรับเท่านั้นเอง หลายคนครับ รู้สึกผิดหวังครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผมเข้าใจว่า ถ้ายังจำกันได้ เมื่อประมาณ 5 — 6 ปีที่แล้วมาครับ เมื่อรัฐบาลในขณะนั้นได้เสนอร่างกฎหมายว่าด้วยแผนและขั้นตอนในการกระจายอำนาจมาสู่สภาฯ พวกเราหลายคนซึ่งนั่งอยู่ในสภาฯ ซึ่งก็เป็นสมาชิกของสภาฯอยู่ในขณะนั้น ก็ได้ให้ความร่วมมือสนับสนุนเป็นอย่างดียิ่ง เพราะนอกเหนือจากจะเป็นการสนับสนุนเจตนารมณ์อันสำคัญของรัฐธรรมนูญในเรื่องการปกครองท้องถิ่นแล้ว ยังจะเป็นการกระจายความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น สำหรับโอกาสที่จะได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาท้องถิ่นของเค้าอย่างทั่วถึง และเป็นธรรม คิดกันว่าบางทีเรื่องงบประมาณที่ไปกระจุกตัวอยู่ที่ใดที่หนึ่ง เพราะการจัดสรรตามอำเภอใจของผู้มีอำนาจ ก็จะได้หมดสิ้นกันไปซะที แต่บังเอิญครับท่านประธานครับ อาจจะเป็นเพราะกฎหมายที่เขียนกันไว้ในเวลานั้นมีช่องโหว่ที่สามารถจะหลีกเลี่ยงกันอยู่ได้บ้าง คือเขียนไว้ไม่รัดกุมเท่าที่ควร คือเขียนไว้ว่าต้องจัดสรรให้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ทุกปี ป่านนี้ปี 2548 นั้นก็จะถึง ร้อยละ 32 เข้าไปแล้วครับ พอถึงปี 2549 ก็จะถึงร้อยละ 35 พอดี
เพราะฉะนั้นงบประมาณปี 2548 ฉบับนี้ครับ ก็ในฐานะที่ใกล้ๆปี 49 เข้าไปแล้ว อย่างน้อยที่สุดก็คาดกันไว้ในเบื้องต้น เมื่อเห็นรัฐบาลให้ความสำคัญถึงขนาดกำหนดเอาไว้ในนโยบายรัฐบาล โดยอย่างไรเสียปีนี้ ถ้าไม่ถึงร้อยละ 30 ก็คงจะใกล้ๆร้อยละ 30 เข้าไปมากพอสมควรเท่าที่จะมากได้ แต่ท่านประธานครับที่ไหนได้ครับ พอมาดูวงเงินที่จัดสรรให้กับท้องถิ่นในปีนี้ คือ ปี 2548 นั้น ก็คือจำนวน 282,000 ล้านบาท ซึ่งเทียบได้เท่ากับร้อยละ 23.5 ของรายรับเท่านั้นเอง หลายคนครับ รู้สึกผิดหวังครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผมเข้าใจว่า ถ้ายังจำกันได้ เมื่อประมาณ 5 — 6 ปีที่แล้วมาครับ เมื่อรัฐบาลในขณะนั้นได้เสนอร่างกฎหมายว่าด้วยแผนและขั้นตอนในการกระจายอำนาจมาสู่สภาฯ พวกเราหลายคนซึ่งนั่งอยู่ในสภาฯ ซึ่งก็เป็นสมาชิกของสภาฯอยู่ในขณะนั้น ก็ได้ให้ความร่วมมือสนับสนุนเป็นอย่างดียิ่ง
เพราะนอกเหนือจากจะเป็นการสนับสนุนเจตนารมณ์อันสำคัญของรัฐธรรมนูญในเรื่องการปกครองท้องถิ่นแล้ว ยังจะเป็นการกระจายความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น สำหรับโอกาสที่จะได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาท้องถิ่นของเค้าอย่างทั่วถึง และเป็นธรรม คิดกันว่าบางทีเรื่องงบประมาณที่ไปกระจุกตัวอยู่ที่ใดที่หนึ่ง เพราะการจัดสรรตามอำเภอใจของผู้มีอำนาจ ก็จะได้หมดสิ้นกันไปซะที แต่บังเอิญครับท่านประธานครับ อาจจะเป็นเพราะกฎหมายที่เขียนกันไว้ในเวลานั้นมีช่องโหว่ที่สามารถจะหลีกเลี่ยงกันอยู่ได้บ้าง คือเขียนไว้ไม่รัดกุมเท่าที่ควร คือเขียนไว้ว่าต้องจัดสรรให้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ทุกปี ป่านนี้ปี 2548 นั้นก็จะถึง ร้อยละ 32 เข้าไปแล้วครับ พอถึงปี 2549 ก้จะถึงร้อยละ 35 พอดี แต่ว่าไปเขียนเอาไว้ว่า เมื่อถึงปี 49 จึงจะต้องถึงร้อยละ 35 เพราะฉะนั้นก่อนหน้านั้นจะจัดสรรให้อย่างไรก็ได้ และคงจะเป็นเพราะเหตุนี้ล่ะมังครับ 3 ปีมาแล้ว ที่รัฐบาลนี้มานั่งบริหารราชการแผ่นดินในฐานะรัฐบาล เราก็จะพบความจริงว่าการจัดสรรงบประมาณของรัฐบาลนี้ ท้องถิ่นจะได้รับการจัดสรรเพียงร้อยละ 21.25 ร้อยละ 22.19 ร้อยละ 22.75 และปีนี้ก็แค่ร้อยละ 23.50 เท่านั้น
กระผมเข้าใจครับท่านประธานครับว่า รัฐบาลนี้ท่านไท่ค่อยจะเชื่อมั่นในทฤษฎีการกระจายอำนาจ ท่านเชื่อมั่นในทฤษฎีการรวมศูนย์อำนาจมากกว่า ท่านไม่เชื่อมั่นในท้องถิ่นครับ เพราะฉะนั้นท้องถิ่นวันนี้ ผมเข้าว่าจะต้องไปรอรับทฤษฎีกบกระโดดคราวเดียวในปี 2549 เพราะว่าอย่างไรเสียปีนั้น ผมคิดว่าใครเข้ามาเป็นรัฐบาลก็คงไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงไม่สนับสนุนท้องถิ่นให้มีรายได้ถึงร้อยละ 35 ได้ วันนี้พวกเราได้แต่ขอแสดงความเสียใจแทนผู้บริหารท้องถิ่นครับ ผมเข้าใจว่าผู้บริหารท้องถิ่นที่แข่งขันกันในการเลือกตั้งท้องถิ่นคราวที่แล้ว ก็คงจะรู้สึกว่าท้องถิ่นวันนี้ต้องโตขึ้น ต้องได้รับการจัดสรรรายได้จากรัฐบาลมากขึ้น แล้วก็จะทำอะไรได้มากขึ้น ซึ่งวันนี้คนเหล่านั้นก็คงต้องผิดหวังกันไปอีก รวมทั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น และพี่น้องประชาชนในท้องถิ่นทั่วประเทศในเวลาเดียวกันด้วย
เรื่องที่สาม ท่านประธานครับก็เป็นเรื่องที่ต้องพูดกันทุกปี ซึ่งก็คือเรื่องของการตั้งงบประมาณในงบกลาง ภายใต้ชื่อที่ค่อนข้างจะฟังดูดี แต่ไม่มีรายละเอียด ว่าจะนำไปทำอะไรที่ไหน อย่างไร ให้สภาฯพิจารณาได้ ก็ต้องกราบเรียนว่า ที่ฝ่ายค้านต้องพูดกันทุกปี เพราะรัฐบาลเค้าทำกันมาเช่นนี้ทุกปี หากจะกล่าวหาว่าฝ่ายค้านพูดจาซ้ำซาก ก็ต้องยอมรับความจริงว่า รัฐบาลก็ทำผิดซ้ำซาก ก็คือผิดไปจากหลักการและวิธีการที่ควรจะเป็นเช่นเดียวกัน ซึ่งก็หมายความว่าถ้ารัฐบาลนี้จะตั้งเป็นเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน อย่างนี้ถ้าจะไม่มีรายละเอียดก็ไม่ว่ากันเท่าไหร่ครับ เพราะเรื่องฉุกเฉินเร่งด่วน เรื่องจำเป็นที่ไม่อาจจะคาดหมายได้ ใครเข้ามาเป็นรัฐบาลก็ต้องตั้งไว้ทั้งนั้นครับ เพื่อบรรเทาความเสียหาย เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งเกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วน อย่างเช่นกรณีที่เกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติ เป็นต้น
แต่ถ้าเป็นเรื่องที่คาดหมายได้ล่วงหน้า พอจะทำเป็นแผนงานเป็นโครงการได้ ต้องทำครับ เพราะหลักการสำคัญของการใช้จ่ายงบประมาณ ซึ่งมาจากเงินภาษีอากรของประชาชนนั้น ผมคิดว่าหลักสำคัญที่สุดก็คือว่า ต้องมีรายละเอียดพอสมควร ที่จะทำให้ตัวแทนประชาชน ที่เค้าได้รับมอบหมายมา สามารถที่จะพิจารณาได้ว่า เอาไปใช้ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ถูกต้อง เหมาะสม และมีความเป็นธรรม กับประชาชนเจ้าของภาษีอากรหรือไม่ เพื่อประกอบการพิจารณาว่า จะอนุมัติ หรือไม่อนุมัติ จะเห็นชอบด้วย หรือไม่เห็นชอบด้วย แต่รัฐบาลนี้ท่านไม่ให้ความสำคัญกับหลักการที่ว่านี้แต่ประการใดเลยครับ อาจจะเป็นเพราะท่านคิดว่า อย่างไรเสียงบประมาณของท่านนั้นก็ต้องผ่านความเห็นชอบจากสภาฯอยู่ดี
ปี 2545 ท่านตั้งมา 58,000 ล้านบาท เรียกว่างบกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2546 ท่านตั้งมา 16,000 ล้านบาท เรียกว่างบปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคม ปี 2547 ท่านตั้งไว้ 16,500 ล้านบาท เรียกว่างบเสริมศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืน งบกลางปี 2547 ท่านก็ตั้งมาอีก 59,000 ล้านบาท เรียกชื่อว่า ค่าใช้จ่ายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ รวมเบ็ดเสร็จ 4 ครั้ง ที่ตั้งมาแล้ว รวมเป็นเงิน 150,100 ล้านบาท ซึ่งก็เป็นเงินจำนวนมาก เป็นเงินจำนวนมากมายมหาศาล ครั้งนี้ขอตั้งมาอีก 23,400 ล้านบาท เรียกชื่อเดียวกันกับที่ใช้เมื่อครั้งหลังสุดว่า ค่าใช้จ่ายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ ประเทศจะได้รับอานิสงค์จากงบนี้นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนหรือไม่ กระผมไม่ทราบครับ แต่ว่าการใช้จ่ายงบประมาณโดยท่านนายกฯ โดยผู้มีอำนาจ ดูจะสามารถกระทำได้อย่างยั่งยืนทุกครั้ง ทุกหน ทุกเวลา และก็ทุกสถานที่
เมื่อเป็นงบประมาณที่ไม่มีรายละเอียดโครงการ ไม่มีสถานที่ตั้งโครงการ ก็จะเป็นไปตามทำนองที่กระผมกราบเรียนเมื่อสักครู่ครับว่า จะเอาไปทำที่ไหน อย่างไร สุดแท้แต่ผู้มีอำนาจจะพิจารณา ก็ทำได้ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นสุดท้ายก็เลยกลายเป็นงบการเมือง เป็นงบท่สามารถจะบันดาลผลประโยชน์หรือความพึงพอใจ ให้แก่ใคร ที่ไหน ก็ได้ทั้งสิ้น แล้วก็ด้วยเหตุนี้ล่ะครับ พวกกระผมถึงมีความเห็นยืนยันมาตลอดว่า เป็นวิธีการจัดทำงบประมาณที่ไม่น่าจะถูกต้อง เหมาะสม จึงจำเป็นต้องนำมาพูดกันทุกปี
เรื่องที่สี่ ที่กระผมเห็นว่าจะเป็นเรื่องที่กระผมจะอภิปรายถึงเป็นเรื่องสุดท้าย สำหรับงบประมาณฉบับนี้ ก็คือเรื่องของการจัดทำงบประมาณอย่างมียุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ตามที่ท่านนายกฯ ท่านได้พูดจาถึงในหลายยุทธศาสตร์ เมื่อตอนแถลงงบประมาณก่อนหน้านี้เมื่อสักครู่ เรื่องนี้กระผมขอกราบเรียนท่านประธานว่า ก็คล้ายๆกับเรื่องที่เกี่ยวกับนโยบายงบประมาณของรัฐบาลเช่นเดียวกันครับ คือเขียนไว้ดูดีครับ มีเหตุผล น่าฟัง น่าเชื่อถือ แต่พอพิจารณาลงไปในรายละเอียดก็จะพบความจริงว่า ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้แต่ประการใดครับ ที่ขัดแย้งกันเองก็มีมาก เช่น ในเรื่องยุทธศาสตร์เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ บอกว่ารัฐบาลนี้จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการแข่งขันทางด้านภาคบริการ จะใช้การท่องเที่ยวสร้างรายได้ เน้นการทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและศูนย์การประชุมนานาชาติ จะให้มีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 10% จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ และไม่น้อยกว่า 5% สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย เขียนไว้ดีครับ รมต.ที่กำกับดูแลการท่องเที่ยวคงสบายใจ แต่เมื่อดูไปทางด้านงบประมาณแล้ว ก็จะพบความจริงว่ารัฐบาลปรับลดงบประมาณแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวลงจากปี 2547 ลงไปอีกครับ ในขณะที่ปี 2547 รัฐบาลจัดสรรให้ 11,174.5 ล้านบาท มาถึงปี 2548 ซึ่งกำลังจะพิจารณากันอยู่นี้ ท่านจัดให้ลดลงเหลือเพียง 7,256.7 ล้านบาท ลดลงถึง 3,917.8 ล้านบาท แล้วอย่างนี้จะสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ได้อย่างไร
นอกจากนี้ในขณะที่รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวแก่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเป็นจำนวน 4,065.8 ล้านบาท แต่งานด้านการพัฒนามาตรฐานแหล่งการท่องเที่ยวและบริการ กลับจัดให้เพียง 514 ล้านบาท เท่ากับ 12% ของงบทางด้านการตลาดตรงนั้น ในฐานะที่เคยเป็น รมต.ดูแลกิจการท่องเที่ยวของประเทศมาก่อน กระผมอยากเรียนท่านประธานว่า ปัญหาสำคัญๆของหลายจังหวัดในขณะนี้ ที่พร้อมจะสนับสนุนส่งเสริมการท่องเที่ยวตามนโยบายของรัฐบาลนั้น ไม่ช่การขาดการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว แต่เป็นการขาดมาตรฐานบริการและแหล่งท่องเที่ยว ที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร เพราะฉะนั้นไม่ว่าท่านจะส่งเสริมการตลาดและสร้างภาพลักษณ์อย่างไรก็ตามครับ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไม่อาจก้าวไปข้างหน้าได้ อาจยังขาดการพัฒนาการบริการและแหล่งท่องเที่ยวในสัดส่วนที่สมดุลกัน
เรื่องยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคมและการแก้ไขปัญหาความยากจน ก็เขียนไว้ดีมากเป็นพิเศษ แต่เมื่อพิจารณาลงไปในสาระ ในเนื้อหา ในแผนงานแล้ว ก็จะเห็นว่าเป็นคนละเรื่องเช่นเดียวกัน เช่น แผนงานทางด้านการพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมจากเดิม ซึ่งกำหนดไว้เมื่อปี 2547 จัดสรรให้ 75,000 ล้านบาท มาถึงปี 2548 จัดสรรให้เพียง 23,400 ล้านบาท ลดลงถึง 52,100 ล้านบาท ท่านลดงบประมาณตามแผนการส่งเสริมการผลิตทางด้านการเกษตรจากเดิม ปี 2547 ซึ่งได้จัดสรรให้ 54,662 ล้านบาท มาถึงปี 2548 ซึ่งกำลังพิจารณากันอยู่นี้ ท่านลดลงเหลือเพียง 50,664 ล้านบาท ลดลงเท่ากับ 3,998 ล้านบาท
เรื่องของแผนการส่งเสริมการผลิตทางด้านการเกษตรนี่ กระผมอยากกราบเรียนท่านประธานว่า กระผมคิดว่าควรที่รัฐบาลนี้จะต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษซะแล้วล่ะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรัฐบาลกำลังเร่งรัด เจรจาการเปิดเขตการค้าเสรีกับหลายๆประเทศอยู่ในขณะนี้ เฉพาะที่ทำกับประเทศจีนไปแล้ว กระผมอยากกราบเรียนท่านประธานว่า ขณะนี้ประเทศไทยจะได้ประโยชน์อะไร มากน้อยอย่างไร ก็สุดแท้แต่จะพิจารณากันไปครับ แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรในจังหวัดภาคเหนือ แม้กระทั่งจังหวัดอันเป็นบ้านเกิดของท่านนายกฯเอง ก็ดูจะได้รับผลกระทบเกิดขึ้นแล้ว อย่างมากมายพอสมควรครับ ราคากระเทียมและหอมแดงครับ ที่ว่าตามจริงก็เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญที่นั่น ราคาตกลงเกือบจะร้อยละ 40 ในขณะที่หอมหัวใหญ่ตกลงถึงร้อยละ 70 ในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้จะเป็นเรื่องที่กระผมจะอภิปรายถึงเป็นเรื่องสุดท้ายสำหรับงบประมาณฉบับนี้ ก็คือ เรื่องของการจัดทำงบประมาณอย่างมียุทธศาสตร์ ที่กำหนดไว้ ท่านได้พูดจาถึงในขณะที่หอมหัวใหญ่ตกลงถึงร้อยละ 70 ในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ ซึ่งก็ได้ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรถึง 125000 ครัวเรือน และทำให้เกษตรกรภาคเหนือโดยรวมลดลงร้อยละ 6 ทีเดียว นี่ไม่ใช่เรื่องที่กระผมพูดเอง หรือฝ่ายค้านแต่งตัวเลขขึ้นมาเองนะครับ แต่เป็นตัวเลขข้อมูลจากกรมเศรษฐกิจการเกษตรและจากธนาคารแห่งประเทศไทย
เพราะฉะนั้นที่นายกรัฐมนตรีบอกว่าถ้าแข่งไม่ได้ก้เลิกอาชีพไปทำอย่างอื่นเสีย กระผมเข้าใจว่า วันนี้ คงจะต้องถึงเวลาที่ท่านจะต้องมาคิดใหม่ แล้วทบทวนกันใหม่เสียแล้วกระมั๊งครับ เพราะเขาอาจจะทำไม่ได้อย่างที่ท่านแนะนำก็ได้ แล้วก็ทำให้เขาต้องยากจนหนักไปกว่าเก่าเสียอีก เพราะฉะนั้นก็แสดงว่าแผนงานในการแก้ไขความยากจนก็คงไม่สามารถที่จะสัมฤทธิ์ผลได้ นอกจากการพูดจาให้ฟังดูดีเท่านั้นเอง
เรื่องยุทธศาสตร์ความมั่นคงของชาติ การต่างประเทศ และการอำนวยความยุติธรรม ท่านเน้นเยอะ กระผมคิดว่าไม่ต้องดูอื่นดูไกลครับ ดูที่เดียวเท่านั้นเองครับ นั่นก็คือความมั่นคงและความไม่สงบเรียบร้อยที่กำลังเกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ในขณะนี้ ซึ่งจะจบลงอย่างไร จะออกหัวออกก้อยอย่างไร กระผมคิดว่าก็ยังเป็นเรื่องที่น่าหนักใจกันอยู่ทั้งสิ้น แล้วสำคัญก็คือว่า เมื่อดูงบประมาณประจำปี 2548 ในส่วนที่เกี่ยวกับแผนงานที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยแล้ว ดูอย่างไรก็ยังนึกไม่เห็นคำตอบ
ส่วนยุทธศาสตร์การบริหารการจัดการประเทศ ซึ่งเขียนกำหนดไว้ดีมากเป็นพิเศษ เช้าวันนี้ท่านนายกรัฐมนตรีก็เน้นแล้วเน้นอีก ทั้งในส่วนเสริมสร้างการบริหารการจัดการ ทั้งป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ทั้งจะพัฒนาระบบการเมือง ทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วม แต่เมื่อดูลึกลงไปในแผนงานแล้วก็จะพบว่ามีปัญหาจริงๆ ครับ
ท่านประธานครับ พูดแล้วไม่น่าเชื่อครับ ไม่น่าเชื่อว่าในขณะที่ยุทธศาสตร์ ท่านพุดถึงแนวทางในการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ การพัฒนาและส่งเสริมการตรวจสอบอย่างเอาจริงเอาจังครับ แต่เมื่อดูลงไปในผืนงานก็จะพบความจริงว่า รัฐบาลไม่ได้จัดสรรงบประมาณให้กับแนวทางดังกล่าวนี้ แต่ประการใดทั้งสิ้นและที่น่าจะตั้งเอาไว้เป็นข้อสังเกตได้ด้วยเช่นเดียวกันก็คือว่า แผนงานคุ้มครองสิทธเสรีภาพ ส่งเสริมความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งในปี 2547 จัดสรรให้ 818 ล้านบาท ซึ่งว่าตามจริงก็ต้องถือว่าน้อยกันอยู่แล้วครับ แต่ในปี 2548 กลับน้อยลงไปอีกครับ ลดลงไปอีกเป็น 698 ล้านบาท อย่างนี้จะเรียกว่าคุ้มครองและส่งเสริมได้อย่างไร แล้วก็อย่างนี้กระมังครับ ถึงได้มีการละเมิดสิทธิ มีการละเมิดเสรีภาพ มีการอุ้ม มีการฆ่ากันบ่อยเป็นพิเศษ ในยุคที่รัฐบาลนี้มานั่งบริหารบ้านเมืองเป็นรัฐบาล
ท่านประธานครับอย่างที่ผมได้กราบเรียน ท่านประธานเอาไว้ตั้งแต่ต้นแล้วว่า เรื่องของงบประมาณแผ่นดินนั้น เป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง เพราะเป็นเงินที่มาจากภาษีอากรของพี่น้องประชาชนทั้งสิ้น พรรคฝ่ายค้านของพวกเราจึงให้ความสำคัญในเรื่องนี้เป็นพิเศษ หลังจากผมอภิปรายจบแล้วครับ ก็จะมีเพื่อนสมาชิกเป็นจำนวนมากในพรรคเดียวกับกระผม และแม้กระทั่งต่างพรรคจะได้ลุกขึ้นมาอภิปรายถึงประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต้องขอกราบเรียนท่านประธานตรงนี้ว่า เป็นประเด็นที่น่าสนใจด้วยกันทั้งสิ้น กระผมจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านประธานและสภาฯ นี้ คงจะเปิดโอกาสให้พวกเราสามารถที่จะทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ สำหรับกระผมเองครับ ขอกราบขอบพระคุณท่านประธานเพียงเท่านี้ครับ ขอบพระคุณครับ …..
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 23 มิ.ย. 2547--จบ--
-ดท-
กล่าวเปิดการอภิปราย ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2548 (งบสมดุล)
..........................................................................
ท่านประธานที่เคารพ กระผมบัญญัติ บรรทัดฐาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี 2548 ซึ่งท่านนายกรัฐมนตรีได้นำเสนอต่อสภาในวันนี้ นับเป็นงบประมาณฉบับที่ 4 ที่รัฐบาลนี้ได้จัดทำขึ้น เพื่อใช้จ่ายในการบริหารราชการแผ่นดิน และถ้าจะนับเอางบประมาณเพิ่มเติมประจำปี 2547 ซึ่งเพิ่งจะได้รับความเห็นชอบจากสภานี้ไปเมื่อไม่นานมานี้ นับรวมกันแล้วฉบับนี้ก็จะเป็นฉบับที่ 5 ซึ่งเมื่อสักครู่านี้ว่าตามจริงท่านนายกรัฐมนตรีก็ดูจะได้ช่วยลำดับความตั้งแต่ต้นจากฉบับแรกมาถึงฉบับนี้ด้วยแล้ว เพียงแต่ท่านนายกรัฐมนตรี ยังไม่ได้นับรวมเอาวงเงินของทุกฉบับเข้าด้วยกัน ซึ่งกระผมขอกราบเรียนท่านประธานว่า ถ้าจะนับเอาจำนวนวงเงินของทุกฉบับรวมเข้าด้วยกันแล้ว จะมียอดวงเงินสูงถึง 4.5219 ล้านล้านบาท ซึ่งต้องยอมรับความเป็นจริงว่าเป็นจำนวนเงินที่สูงมาก เป็นจำนวนเงินที่มากมายมหาศาลทีเดียว ซึ่งค่าเฉลี่ยออกมาเป็นรายปี ก็จะตกเฉลี่ยปีละประมาณ 1 แสนล้านบาท และนี่คือเงินที่รัฐบาลนี้ได้ใช้จ่ายในการบริหารราชการแผ่นดินในแต่ละปี ซึ่งนี่ก็ยังไม่ได้นับรวมเงินนอกงบประมาณและเงินจากองค์กรอื่นหรือสถาบันการเงินภาครัฐ ซึ่งรัฐบาลได้ใช้ในการสนองนโยบายของรัฐบาลในการบริหารราชการแผ่นดินเช่นเดียวกัน แล้วก็โดยที่เงินเหล่านี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่รัฐบาลได้ใช้จ่ายโดยตรงในการบริหารราชการแผ่นดิน ล้วนแล้วแต่เป็นเงินที่เก็บมาจากภาษีอากรของพี่น้องประชาชนด้วยกันทั้งสิ้น แล้วก็เพราะฉะนั้นคงจะเป็นด้วยเหตุนี้ ทุกปีในเวลาที่รัฐบาลนี้ได้นำเอาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณแผ่นดินประจำปีมาเสนอต่อสภานี้ พวกกระผมซึ่งมีหน้าที่ในการตรวจสอบงบประมาณในการตรวจสอบรัฐบาล ก็มักจะได้อภิปรายเตือนสติ ให้สติรัฐบาลอยู่ตลอดเวลาว่า ต้องใช้งบประมาณด้วยความสุจริต ด้วยความระมัดระวังรอบคอบ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและประชาชนโดยส่วนรวม ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ตนหรือประโยชน์พวกพ้อง ซึ่งในครั้งนี้พวกกระผมก็คงจะได้ทำหน้าที่อย่างเดียวกันนี้
วันนี้ท่านนายกรัฐมนตรีก็ได้แถลงในสภาในทำนองเดียวกันกับที่ได้แถลงมาเมื่อปีที่แล้ว โดยเริ่มจากภาพรวมแนวโน้มเศรษฐกิจไทย ตามมาด้วยนโยบายในการจัดทำงบประมาณ มาถึงยุทธศาสตร์ แล้วที่ขาดไม่ได้ก็คือเรื่องของการบูรณาการ แล้วสุดท้ายคือการสาธยายผลงานของรัฐบาลอย่างยาวเหยียด ในประเด็นภาพรวมแนวโน้มเศรษฐกิจไทย เดิมทีเดียวกระผมคิดว่าวันนี้ท่านนายกรัฐมนตรีอาจจะเสียงอ่อนลงไปสักนิด หลังจากที่เมื่อหลายวันก่อน ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ออกมาแสดงความคิดความเห็นในทำนองว่า น่าจะได้มีการปรับลดตัวเลขความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในปี 2547 ลงเสียบ้าง แล้วล่าสุดสดๆร้อนๆเมื่อวานนี้ ท่านผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ดูจะออกมาแสดงความคิดความเห็นค่อนข้างจะตรงไปตรงมาอย่างชัดเจนทีเดียวว่า ปี 2547 นั้นตัวเลขงบประมาณตัวเลขของความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจน่าจะอยู่ที่ระดับแค่ 6 เท่านั้น คงไม่น่าสูงไปกว่านั้น กระผมก็ไม่ทราบว่าท่านนายกรัฐมนตรีจะมีความรู้สึกอย่างไรต่อการแสดงความคิดความเห็นที่ตรงไปตรงมาของท่านผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ที่กระผมพบวันนี้ก็คือว่าท่านนายกรัฐมนตรีก็ยังคงจะดูเสียงแข็ง ยังยืนยันด้วยความมั่นใจทุกอย่างทุกประการ ตามวิสัยของท่าน ดูท่านจะมีความมั่นใจว่าแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2547 นี้ จะยังคงอยู่ที่ 7 ด้วยอัตราเงินเฟ้อประมาณร้อยละ 2.2 ถึงร้อยละ 2.5 และที่ดูท่านนายกฯจะยืนยันอย่างขันแข็งเป็นพิเศษก็คือตัวเลขอัตราความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในปี 2548 ทีท่าท่านเช้าวันนี้ผมคิดว่าชัดเจนมากว่าหัวเด็ดตีนขาดอย่างไรก็ต้องถึงร้อยละ 7.5 โดยมีอัตราเงินเฟ้อประมาณร้อยละ 2.5 ท่านยืนยันอย่างหนักแน่นว่า ความเจริญเติบโตที่ว่านี้คงจะต้องเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องมาจากปี 2547 อย่างแน่นอน โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญคือ การขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน เนื่องจากมีการเพิ่มกำลังการผลิตจนเกือบเต็มประสิทธิภาพในหลายสาขา ดูในเอกสสารแล้วดูจะยืนยันด้วยซ้ำไปว่ามูลค่าการส่งออกยังขยายตัวในระดับสูง และทั้งรัฐบาลก็ได้ดำเนินการเจรจาการค้า การพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ และการพัฒนาคุณภาพสินค้าในการส่งออกของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุล และดูที่ท่านดูจะมีความภาคภูมิใจเป็นพิเศษก็คือ เงินทุกสำรองเงินตราระหว่างประเทศยังอยู่ในระดับสูง หนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมลดลง ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นถ้อยคำที่ท่านนายกรัฐมนตรีแถลงไว้และก็เป็นถ้อยคำที่ได้เขียนกำหนดไว้อย่างชัดเจนในงบประมาณแผ่นดินฉบับนี้ด้วยกันทั้งสิ้น
กระผมเข้าใจว่าคนที่เป็นรัฐบาลนั้นจำเป็นจะต้องสร้างความมั่นใจ ยิ่งรัฐบาลนี้ด้วยแล้ว ต้องยอมรับความจริงว่า ปัจจัยสำคัญที่สุดที่สนับสนุนรัฐบาลนี้ก็คือ การสร้างความมั่นใจ เราจึงจะได้พบเห็นรัฐบาลออกสร้างความมั่นใจบ่อยเป็นพิเศษ แต่อย่างไรก็ตามกระผมอยากกราบเรียนท่านประธานว่า การสร้างความมั่นใจที่เกินจริงหรือตั้งอยู่บนความความประมาทนั้น พลาดพลั้งขึ้นมาก็อาจจะเป็นปัญหาก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อประเทศชาติ และต่อประชาชนได้เช่นเดียวกัน ท่านนายกรัฐมนตรีจะสร้างความมั่นในอย่างไรก็แล้วแต่ แต่สำหรับตัวผมเองนั้น ผมขอเรียนท่านประธานว่ากระผมไม่เชื่อมั่น กระผมไม่เชื่อมั่นว่าความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องวจนมาถึงเกือบจะถึงตอนกลางปี 2547 จะเติบโตอย่างถาวรและมีเสถียรภาพอย่างแน่นอน อย่างที่ท่านนายกฯกล่าวอ้าง กระผมคิดว่าบางทีลึกๆ รัฐบาลอาจจะยอมรับอยู่ในใจบ้างตามสมควร อย่างการพูดถึงตัวเลข 6.5 เมื่อเช้าวันนี้ในตอนครึ่งปีแรกของปี 2547 เพราะว่าอย่างไรก็ตามผมคิดว่าในเอกสารงบประมาณประกอบของงบประมาณประจำปี 2548 ฉบับนี้ ที่เขียนไว้ว่าเศรษฐกิจในปี 2547 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่สูง โดยมีการใช้จ่ายครัวเรือน การลงทุนเอกชน และการใช้จ่ายของภาครัฐบาลเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ การนำเอาการใช้จ่ายครัวเรือนนำหน้า กระผมคิดว่าควรจะเป็นเพราะว่า รัฐบาลคงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าแรงขับเคลื่อนยังสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจภายใต้การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลนี้ ได้กระตุ้นอย่างสูงขึ้นก็คือการใช้จ่ายจากภาคครัวเรือน แต่ว่าขณะนี้กระผมคิดว่าถ้าเราจะได้เหลียวกลับไปดูภาคครัวเรือน คือครัวเรือนไทยว่าเป็นอย่างไรแล้ว เราก็จะพบความจริงว่า ครัวเรือนไทยในวันนี้เต็มไปด้วยหนี้สินทั้งนั้น หนี้สินครัวเรือนไทยโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมาโดยตลอดในยุคของรัฐบาลนี้ ในเวลาที่มีการพิจารณางบประมาณปี 2547
ในสภานี้กระผมก็ได้พูดถึงเรื่องนี้ ผมเคยบอกกับรัฐบาลนี้ว่าหนี้ครัวเรือนไทยโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นในอัตราที่น่าวิตก นั้นก็คือเพิ่มขึ้นจาก 68,000 บาทต่อครัวเรือนในปี 2543 —2544 เป็น 82,000 บาทต่อปีในปี 2545 เมื่อพรรคปชป.พูดถึงเรื่องหนี้สินประชาชนมากๆ ท่านนายกฯท่านก็จะบอกว่าไม่มีหนี้แล้วจะรวยได้อย่างไร พร้อมกับมักจะยกกรณีตัวอย่างของตัวท่านเองเป็นตัวอย่างประกอบ กระผมจึงอยากจะตั้งเป็นคำถามเช่นเดียวกันว่ามีใครสักกี่คน ในบ้านเมืองนี้ที่มีหนี้ แล้วร่ำรวยโชคดี เหมือนท่านนายกฯ โดยเฉพาะคนที่มีหนี้นั้นเป็นประชาชนธรรมดาทั่วๆไป วันนี้ท่านนายกฯยังคงยืนยันคำพูดเดิมอยู่หรือไม่ก็สุดแล้วแต่ แต่ตัวเลขหนี้ประชาชน คือหนี้ครัวเรือนไทยเฉลี่ยในยุคของท่านนายกฯเพิ่มขึ้นมาอีกแล้ว นั้นก็คือเพิ่มจาก 82,000 บาทต่อครัวเรือน ในปี 2545 เป็น 91,000 บาทต่อครัวเรือนในปี 2546 และที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือว่าในไตรมาสแรก ของปี 2547 คือเมื่อตอนต้นปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 110,143 บาท ต่อครัวเรือนเข้าไปแล้ว ในขณะที่รายได้เพิ่มขึ้นน้อยกว่าเป็นอันมาก โดยหนี้เพิ่มมากกว่าถึง 13 - 14 เท่าตัว เมื่อเช้าวันนี้ดูจะเห็นหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง พาดหัวในทำนองว่า ไม่ใช่ 13 - 14 แล้ว 19 เท่าตัวเข้าไปแล้ว เป็นเรื่องที่น่าวิตกเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้นถ้าจะหวังให้การใช้จ่ายครัวเรือนเป็นแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจต่อไปอีก ก็คงจะหวังได้ยากเสียแล้ว กระผมจึงไม่เชื่อมั่นว่าความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เป็นอยู่แล้วในขณะนี้ถาวรและมีเสถียรภาพอย่างมั่นคง แข็งแรงเพียงพอ ด้วยความรู้สึกว่ามันน่าจะเป็นเพียงภาวะชั่วคราวเสียมากกว่า ผมคิดว่านี่เป็นข้อสังเกตประการแรกในเรื่องเศรษฐกิจของภาพรวม
ข้อสังเกตที่ 2 ก็คือว่า มีตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหลายตัวครับที่ดูจะส่งสัญญาไม่สู้จะดีนัก ดัชนีหลายตัวเริ่มบ่งบอกภาวะการขยายตัวที่อ่อนลงตั้งแต่เดือน มี.ค. ที่ผ่านมา และภายในเดือนเดียวจากมี.ค.-เม.ย. ซึ่งเป็นตัวเลขที่กระผมพอใจหาได้ ดูจะชี้ทิศทางในลักษณะที่เป็นทิศทางขาลงด้วยกันทั้งสิ้น ตัวเลขเดือนเม.ย.ซึ่งเป็นตัวเลขล่าสุดนั้น บอกว่าการใช้กำลังการผลิตที่รัฐบาล กล่าวอ้างในเอกสารว่าดีเหลือเกินครับ ก็ไม่ค่อยจะสู้จะดี เพราะอยู่ที่ร้อยละ 69.8 ซึ่งลดต่ำลงมามาก เมื่อเทียบกับร้อยละ 77.7 ในเดือนมี.ค. ดัชนีการผลิตทางอุตสาหกรรม ดัชนีการบริโภค และดัชนีการลงทุนก็ดูจะชะลอลงเกือบจะทุกตัวครับ ดุลเงินสดก็ดูจะมาขาดดุลอย่างมากอีกครั้งหนึ่ง ในช่วง 7 เดือนแรก ของปีงบประมาณ 2547 ดุลการค้าก็ขาดดุลเป็นเดือนที่ 2 ในขณะที่ดุลบัญชีสะพัดก็กลับมาขาดดุลอีก ผมคิดว่านี้เป็นข้อสังเกตที่น่าพิจารณามาก
ข้อสังเกตประการที่ 3 ก็คือว่า ขณะนี้ดูหลายวงการครับที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ ดูจะได้มีการพูดถึงปัจจัยเสี่ยงอีกเป็นอันมาก ที่รัฐบาลอาจจะยังมองข้าม แม้เมื่อเช้าวันนี้ท่านนายกฯอาจจะพูดถึงอยู่บ้าง แต่กระผมมีความรู้สึกว่ารัฐบาลคงยังไม่ได้นำมาเป็นปัจจัยในการประเมินสถานการณ์ที่เป็นจริงในทางเศรษฐกิจ ท่านนายกฯพูดถึงอัตราดอกเบี้ยในตลาดโลก ซึ่งก็ดูจะเป็นเรื่องที่หลายฝ่ายค่อนข้างจะวิตกเป็นทุกข์เป็นร้อนกันอยู่มาก แต่ผมคิดว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์ของสหรัฐฯ นั้นน่าจะเป็นเรื่องที่รัฐบาลไม่สามารถมองข้ามได้ เปรียบเทียบกับเงินบาท อย่างน้อยที่สุดครั้งหนึ่งสมัยหนึ่งครับ ในเวลาที่รัฐบาลที่กำลังนั่งบริหารบ้านเมืองอยู่ในขณะนั้นได้มองเลยปัญหาเหล่านี้ไปไม่ตัดสินใจปรับค่าเงินบาทในเวลาที่ค่อนข้างจะเหมาะสม ท้ายที่สุดก็นำไปสู่การทุบเงินบ้านในตลาดต่างประเทศ จนรัฐบาลในขณะนั้นซึ่งพูดไปทำไงดีครับ ท่านนายกฯในวันนี้ก็ดูจะนั่งเป็นรองนายกฯอยู่ในขณะนั้นด้วย ต้องนำเอาเงินบาท เงินดอลลาร์ ไปพยุงราคาเงินบาทเอาไว้ จนกระทั่งทุนสำรองเกือบจะหมดสินแล้วท้ายสุด ก็ต้องไปขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
การเติบโตที่อาจจะอ่อนตัวลงของเศรษฐกิจจีน ผมคิดว่าตรงนี้ก็พูดกันมาก แล้วท้ายสุดๆที่สดๆร้อนๆครับก็คือภาวะน้ำมันโลก ที่อาจจะผันผวนต่อไปอีก ซึ่งจะปฏิเสธไม่ได้ว่า ประเทศไทยของเราเป็นประเทศหนึ่งใน 2 ประเทศ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกที่มักจะได้รับผลกระทบจากความผันผวนของราคาน้ำมันมากที่สุด ซึ่งขณะนี้รัฐบาลจะเป็นอย่างไรผมไม่ทราบครับ แต่พี่น้องประชาชนโดยทั่วไปดูจะมีทีท่าว่าจะต้องแบกภาระจากข้าวของที่แพงขึ้น แม้กระทั่งแก็สหุงต้ม ซึ่งเมื่อเช้าวันนี้ดูท่านรมว.พลังงาน ก็มีทีท่าที่จะแสดงออกเองว่า คงไม่สามารถที่จะแบกรับต่อไปไว้อีกแล้ว
สถานการณ์ของความไม่สงบเรียบร้อยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งดูบัดนี้ยังหาจุดจบไม่ค่อยได้ ผมคิดว่าสิ่งเหล่านี้ดูจะส่งผลกระทบต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลคาดหมายไว้ได้ทั้งสิ้น ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นจริงก็ยอมจะหมายความว่าประมาณการรายรับที่รัฐบาลนี้คาดว่าจะจัดเก็บได้ ก็จะไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เมื่อรายรับได้น้อยลงกว่ารายจ่าย กระผมคิดว่าสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอนรัฐบาลต้องเก็บภาษีเพิ่ม ภาษีที่เก็บอยู่แล้วก็อาจจะต้องเก็บสูงขึ้น ภาษีที่ยังไม่เคยเรียกเก็บก็อาจจะต้องเรียกเก็บด้วย หรือมิฉะนั้นก็ต้องเบิกจ่ายให้น้อยลง หรือไม่ก็ตั้งนำเงินคงคลังออกมาใช้ก่อน ซึ่งก็ดูจะมีปัญหาทั้งสิ้น และคงจะนำไปสู่ผลกระทบในเรื่องของความไม่เชื่อมั่นในที่สุด
กระผมคิดว่าจริงๆรัฐบาลนี้ก็อาจจะนึกถึงอยู่เหมือนกัน แต่ว่าด้วยความรู้สึกว่าการจัดตั้งงบประมาณในลักษณะที้สมดุลจะทำให้ดูดีขึ้น จะทำให้มีความรู้สึกว่ารัฐบาลได้กอบกู้ภาวะวิกฤตในทางเศรษฐกิจ จนมีความมั่นคงแข็งแรงมากขึ้นแล้ว เพื่อจะสร้างความเชื่อมั่นต่อไป ซึ่งกระผมกราบเรียนท่านประธานไว้ตั้งแต่ต้นแล้วว่าปัจจัยความเชื่อมั่นดูจะเป็นปัจจัยที่สนับสนุนอย่างสำคัญที่ทำให้รัฐบาลนี้ดูมีความแข็งแรงมากขึ้น จนเกินไปกว่าความเป็นจริงเหล่านี้จะเป็นอย่างไรผมเข้าใจว่าไม่ช้าก็คงจะได้พบได้เห็นกัน แต่ว่าในส่วนตัวของผม กระผมไม่คิดว่าความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลตั้งไว้ค่อนข้างสูงครับ จนเป็นเหตุให้นำมาซึ่งการตั้งงบประมาณรายจ่ายที่มีจำนวนค่อนข้างสูง และในลักษณะสมดุลด้วย ท้ายสุดจะไม่มีปัญหาผมยังคิดว่าน่าจะมีปัญหา
นอกเหนือจากข้อสังเกตที่ทำให้กระผมไม่อาจจะเชื่อมั่นในการคาดหมายของรัฐบาลในความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแล้วครับ กระผมยังมีเรื่องสำคัญๆที่ใคร่จะได้อภิปรายถึงในตอนนี้ซัก 3-4 เรื่องด้วยกันครับ ท่านประธานครับ เรื่องแรกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประมาณการรายรับที่น่าห่วงใยเช่นเดียวกัน เพียงแต่ว่าประมาณการรายรับที่กระผมพูดถึงนี้ คงไม่ใช่เรื่องห่วงใยว่าไม่สามารถที่จะจัดเก็บได้ตามที่ประมาณการกันไว้ และจะต้องไปเก็บภาษีเพิ่ม เพียงแต่มีความรู้สึกว่า เมื่อดูประมาณการรายรับในส่วนเหล่านี้แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อดูที่มาที่ไป หรือรายได้ที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นจากบางรายการแล้ว ชวนให้กระผมมีความรู้สึกว่า สังคมไทยของเราค่อนข้างจะน่าเป็นห่วงเช่นเดียวกันครับ
รายการแรกก็คือ รายการภาษีสุราและแสตมป์สุรา ซึ่งประมาณการรายได้ของรัฐบาลระบุอย่างชัดเจนว่า ในปี 2547 ประมาณการรายได้ที่จะจัดเก็บได้จากภาษีสุราและแสตมป์สุรา อยู่ที่ 15,330 ล้านบาท แต่ในปี 2548 จะจัดเก็บสูงขึ้นเป็น 22,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6,720 ล้านบาท ส่วนประมาณการรายได้จากภาษีเบียร์ก็ทำนองเดียวกัน นั่นก็คือในปี 2547 ประมาณการรายได้ ที่จะจัดเก็บได้อยู่ที่ 32,230 ล้านบาท แตในปี 2548 จะจัดเก็บได้สูงขึ้นเป็น 52,220 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19,990 ล้านบาท 2. รายการภาษียาสูบและแสตมป์ยาสูบ ในปี 2547 ประมาณการรายได้จากภาษียาสูบ คือ 25,200 ล้านบาท แต่ในปี 2548 ประมาณการรายได้สูงขึ้นเป็น 30,550 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5,350 ล้านบาท 3. รายการภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย ในปี 2547 ประมาณการรายได้อยู่ที่ 20,136 ล้านบาท แต่ในปี 2548 ประมาณการรายได้สูงขึ้นเป็น 30,996 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7,860 ล้านบาท และ 4. รายได้จากสำนักงานสลากกินแบ่งฯ ก็ไม่ทราบจะแทงใจดำท่านนายกฯบ้างหรือไม่ ในปี 2547 ประมาณการรายได้กำหนดไว้ที่ 5,629.5 ล้านบาท แต่ในปี 2548 ประมาณการรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 8,877.83 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,248 ล้านบาท
รายได้จากรายการเหล่านี้ ถ้าจะมองในมุมของประมาณการรายรับ ก็คงจะต้องยอมรับครับว่าเป็นตัวเลขรายได้ที่ค่อนข้างสูง เป็นกอบเป็นกำ ทำรายได้ให้เยอะว่างั้นเถอะครับ แต่ถ้าจะมองให้ลึกลงไปในอีกมุมหนึ่ง ก็ย่อมสะท้อนความเป็นจริงให้เห็นว่า สังคมเราทุกวันนี้ดูจะฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย ติดอยู่กับสิ่งเสพติด และการพนันขันต่อมากยิ่งขึ้นทุกทีครับ กระผมเข้าใจว่า ก็ไม่น่าจะเป็นผลสำหรับสังคมของเราอย่างแน่นอน ผมไม่ทราบเหมือนกันว่ารัฐบาลนี้จะมีความรู้สึกห่วงใยต่อปัญหาเหล่านี้บ้างหรือไม่ หรือมองเห็นเป็นเพียงตัวเลขรายได้ ที่น่าจะได้รับเพิ่มเติมมากยิ่งขึ้นต่อไปอีก แทนที่จะหาทางช่วยกัน ละ ลด ให้ลดน้อยถอยลง เพราะดูจากอัตราเพิ่มของประมาณการรายรับแล้ว ผมคิดว่าก็เป็นเรื่องที่น่าห่วงใยเป็นอย่างยิ่งเช่นเดียวกันครับ
เรื่องที่สองก็คือ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบายงบประมาณ ปี 2548 ซึ่งกำหนดเอาไว้ดีครับ มีเหตุผล แต่ถ้าท่านประธานจะได้พิจารณาลึกลงไปในเนื้อหาสาระที่เป็นรายละเอียดจริงๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวงเงินที่จัดสรรเอาไว้ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายงบประมาณที่กำหนดไว้อย่างดูดีนัก ก็จะพบความจริงครับว่า บางรายการกลายเป็นคนละเรื่องไปเลยครับ กรณีที่ชัดเจนที่สุดในเรื่องนี้ก็คือ กรณีที่ได้กำหนดเอาไว้เป็นนโยบาย ข้อ 4 ในนโยบายงบประมาณ คือ การส่งเสริมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามขีดความสามารถที่เพิ่มขึ้น โดยเพิ่มสัดส่วนรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต่อรายได้รัฐบาล
ท่านประธานครับ ผมคิดว่าใครก็ตามครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีแนวความคิดสนับสนุนส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครองไปสู่ท้องถิ่น จะเห็นว่ารัฐบาลได้ให้ความสำคัญค่อนข้างมาก ถือเอาการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหนึ่งในนโยบายงบประมาณประจำปี 2548 ด้วยแล้วครับ คงจะต้องคิดในเบื้องต้นว่า ปีนี้เห็นทีท้องถิ่นคงจะได้รับจัดสรรรายได้ให้เป็นจำนวนมากอย่างแน่นอน ผมเองก็คิดเช่นนั้นครับ คือคิดว่าโดยเหตุที่รัฐบาลนี้ มักจะถูกพวกกระผมต่อว่าต่อขานมาทุกปีครับ ในเรื่องการจัดสรรรายได้ให้ท้องถิ่นน้อยไป และโดยเหตุที่มีกฎหมายว่าด้วยแผนและขั้นตอนในการกระจายอำนาจ ก็ได้กำหนดอย่างชัดเจนแล้วว่า เมื่อถึงปี 2549 รัฐบาลต้องจัดสรรรายได้ให้ท้องถิ่นมีรายได้ไม่น้อยไปกว่า ร้อยละ 35 ของรายได้รับ
เพราะฉะนั้นงบประมาณปี 2548 ฉบับนี้ครับ ก็ในฐานะที่ใกล้ๆปี 49 เข้าไปแล้ว อย่างน้อยที่สุดก็คาดกันไว้ในเบื้องต้น เมื่อเห็นรัฐบาลให้ความสำคัญถึงขนาดกำหนดเอาไว้ในนโยบายรัฐบาล โดยอย่างไรเสียปีนี้ ถ้าไม่ถึงร้อยละ 30 ก็คงจะใกล้ๆร้อยละ 30 เข้าไปมากพอสมควรเท่าที่จะมากได้ แต่ท่านประธานครับที่ไหนได้ครับ พอมาดูวงเงินที่จัดสรรให้กับท้องถิ่นในปีนี้ คือ ปี 2548 นั้น ก็คือจำนวน 282,000 ล้านบาท ซึ่งเทียบได้เท่ากับร้อยละ 23.5 ของรายรับเท่านั้นเอง หลายคนครับ รู้สึกผิดหวังครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผมเข้าใจว่า ถ้ายังจำกันได้ เมื่อประมาณ 5 — 6 ปีที่แล้วมาครับ เมื่อรัฐบาลในขณะนั้นได้เสนอร่างกฎหมายว่าด้วยแผนและขั้นตอนในการกระจายอำนาจมาสู่สภาฯ พวกเราหลายคนซึ่งนั่งอยู่ในสภาฯ ซึ่งก็เป็นสมาชิกของสภาฯอยู่ในขณะนั้น ก็ได้ให้ความร่วมมือสนับสนุนเป็นอย่างดียิ่ง เพราะนอกเหนือจากจะเป็นการสนับสนุนเจตนารมณ์อันสำคัญของรัฐธรรมนูญในเรื่องการปกครองท้องถิ่นแล้ว ยังจะเป็นการกระจายความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น สำหรับโอกาสที่จะได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาท้องถิ่นของเค้าอย่างทั่วถึง และเป็นธรรม คิดกันว่าบางทีเรื่องงบประมาณที่ไปกระจุกตัวอยู่ที่ใดที่หนึ่ง เพราะการจัดสรรตามอำเภอใจของผู้มีอำนาจ ก็จะได้หมดสิ้นกันไปซะที แต่บังเอิญครับท่านประธานครับ อาจจะเป็นเพราะกฎหมายที่เขียนกันไว้ในเวลานั้นมีช่องโหว่ที่สามารถจะหลีกเลี่ยงกันอยู่ได้บ้าง คือเขียนไว้ไม่รัดกุมเท่าที่ควร คือเขียนไว้ว่าต้องจัดสรรให้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ทุกปี ป่านนี้ปี 2548 นั้นก็จะถึง ร้อยละ 32 เข้าไปแล้วครับ พอถึงปี 2549 ก็จะถึงร้อยละ 35 พอดี
เพราะฉะนั้นงบประมาณปี 2548 ฉบับนี้ครับ ก็ในฐานะที่ใกล้ๆปี 49 เข้าไปแล้ว อย่างน้อยที่สุดก็คาดกันไว้ในเบื้องต้น เมื่อเห็นรัฐบาลให้ความสำคัญถึงขนาดกำหนดเอาไว้ในนโยบายรัฐบาล โดยอย่างไรเสียปีนี้ ถ้าไม่ถึงร้อยละ 30 ก็คงจะใกล้ๆร้อยละ 30 เข้าไปมากพอสมควรเท่าที่จะมากได้ แต่ท่านประธานครับที่ไหนได้ครับ พอมาดูวงเงินที่จัดสรรให้กับท้องถิ่นในปีนี้ คือ ปี 2548 นั้น ก็คือจำนวน 282,000 ล้านบาท ซึ่งเทียบได้เท่ากับร้อยละ 23.5 ของรายรับเท่านั้นเอง หลายคนครับ รู้สึกผิดหวังครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผมเข้าใจว่า ถ้ายังจำกันได้ เมื่อประมาณ 5 — 6 ปีที่แล้วมาครับ เมื่อรัฐบาลในขณะนั้นได้เสนอร่างกฎหมายว่าด้วยแผนและขั้นตอนในการกระจายอำนาจมาสู่สภาฯ พวกเราหลายคนซึ่งนั่งอยู่ในสภาฯ ซึ่งก็เป็นสมาชิกของสภาฯอยู่ในขณะนั้น ก็ได้ให้ความร่วมมือสนับสนุนเป็นอย่างดียิ่ง
เพราะนอกเหนือจากจะเป็นการสนับสนุนเจตนารมณ์อันสำคัญของรัฐธรรมนูญในเรื่องการปกครองท้องถิ่นแล้ว ยังจะเป็นการกระจายความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น สำหรับโอกาสที่จะได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาท้องถิ่นของเค้าอย่างทั่วถึง และเป็นธรรม คิดกันว่าบางทีเรื่องงบประมาณที่ไปกระจุกตัวอยู่ที่ใดที่หนึ่ง เพราะการจัดสรรตามอำเภอใจของผู้มีอำนาจ ก็จะได้หมดสิ้นกันไปซะที แต่บังเอิญครับท่านประธานครับ อาจจะเป็นเพราะกฎหมายที่เขียนกันไว้ในเวลานั้นมีช่องโหว่ที่สามารถจะหลีกเลี่ยงกันอยู่ได้บ้าง คือเขียนไว้ไม่รัดกุมเท่าที่ควร คือเขียนไว้ว่าต้องจัดสรรให้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ทุกปี ป่านนี้ปี 2548 นั้นก็จะถึง ร้อยละ 32 เข้าไปแล้วครับ พอถึงปี 2549 ก้จะถึงร้อยละ 35 พอดี แต่ว่าไปเขียนเอาไว้ว่า เมื่อถึงปี 49 จึงจะต้องถึงร้อยละ 35 เพราะฉะนั้นก่อนหน้านั้นจะจัดสรรให้อย่างไรก็ได้ และคงจะเป็นเพราะเหตุนี้ล่ะมังครับ 3 ปีมาแล้ว ที่รัฐบาลนี้มานั่งบริหารราชการแผ่นดินในฐานะรัฐบาล เราก็จะพบความจริงว่าการจัดสรรงบประมาณของรัฐบาลนี้ ท้องถิ่นจะได้รับการจัดสรรเพียงร้อยละ 21.25 ร้อยละ 22.19 ร้อยละ 22.75 และปีนี้ก็แค่ร้อยละ 23.50 เท่านั้น
กระผมเข้าใจครับท่านประธานครับว่า รัฐบาลนี้ท่านไท่ค่อยจะเชื่อมั่นในทฤษฎีการกระจายอำนาจ ท่านเชื่อมั่นในทฤษฎีการรวมศูนย์อำนาจมากกว่า ท่านไม่เชื่อมั่นในท้องถิ่นครับ เพราะฉะนั้นท้องถิ่นวันนี้ ผมเข้าว่าจะต้องไปรอรับทฤษฎีกบกระโดดคราวเดียวในปี 2549 เพราะว่าอย่างไรเสียปีนั้น ผมคิดว่าใครเข้ามาเป็นรัฐบาลก็คงไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงไม่สนับสนุนท้องถิ่นให้มีรายได้ถึงร้อยละ 35 ได้ วันนี้พวกเราได้แต่ขอแสดงความเสียใจแทนผู้บริหารท้องถิ่นครับ ผมเข้าใจว่าผู้บริหารท้องถิ่นที่แข่งขันกันในการเลือกตั้งท้องถิ่นคราวที่แล้ว ก็คงจะรู้สึกว่าท้องถิ่นวันนี้ต้องโตขึ้น ต้องได้รับการจัดสรรรายได้จากรัฐบาลมากขึ้น แล้วก็จะทำอะไรได้มากขึ้น ซึ่งวันนี้คนเหล่านั้นก็คงต้องผิดหวังกันไปอีก รวมทั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น และพี่น้องประชาชนในท้องถิ่นทั่วประเทศในเวลาเดียวกันด้วย
เรื่องที่สาม ท่านประธานครับก็เป็นเรื่องที่ต้องพูดกันทุกปี ซึ่งก็คือเรื่องของการตั้งงบประมาณในงบกลาง ภายใต้ชื่อที่ค่อนข้างจะฟังดูดี แต่ไม่มีรายละเอียด ว่าจะนำไปทำอะไรที่ไหน อย่างไร ให้สภาฯพิจารณาได้ ก็ต้องกราบเรียนว่า ที่ฝ่ายค้านต้องพูดกันทุกปี เพราะรัฐบาลเค้าทำกันมาเช่นนี้ทุกปี หากจะกล่าวหาว่าฝ่ายค้านพูดจาซ้ำซาก ก็ต้องยอมรับความจริงว่า รัฐบาลก็ทำผิดซ้ำซาก ก็คือผิดไปจากหลักการและวิธีการที่ควรจะเป็นเช่นเดียวกัน ซึ่งก็หมายความว่าถ้ารัฐบาลนี้จะตั้งเป็นเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน อย่างนี้ถ้าจะไม่มีรายละเอียดก็ไม่ว่ากันเท่าไหร่ครับ เพราะเรื่องฉุกเฉินเร่งด่วน เรื่องจำเป็นที่ไม่อาจจะคาดหมายได้ ใครเข้ามาเป็นรัฐบาลก็ต้องตั้งไว้ทั้งนั้นครับ เพื่อบรรเทาความเสียหาย เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งเกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วน อย่างเช่นกรณีที่เกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติ เป็นต้น
แต่ถ้าเป็นเรื่องที่คาดหมายได้ล่วงหน้า พอจะทำเป็นแผนงานเป็นโครงการได้ ต้องทำครับ เพราะหลักการสำคัญของการใช้จ่ายงบประมาณ ซึ่งมาจากเงินภาษีอากรของประชาชนนั้น ผมคิดว่าหลักสำคัญที่สุดก็คือว่า ต้องมีรายละเอียดพอสมควร ที่จะทำให้ตัวแทนประชาชน ที่เค้าได้รับมอบหมายมา สามารถที่จะพิจารณาได้ว่า เอาไปใช้ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ถูกต้อง เหมาะสม และมีความเป็นธรรม กับประชาชนเจ้าของภาษีอากรหรือไม่ เพื่อประกอบการพิจารณาว่า จะอนุมัติ หรือไม่อนุมัติ จะเห็นชอบด้วย หรือไม่เห็นชอบด้วย แต่รัฐบาลนี้ท่านไม่ให้ความสำคัญกับหลักการที่ว่านี้แต่ประการใดเลยครับ อาจจะเป็นเพราะท่านคิดว่า อย่างไรเสียงบประมาณของท่านนั้นก็ต้องผ่านความเห็นชอบจากสภาฯอยู่ดี
ปี 2545 ท่านตั้งมา 58,000 ล้านบาท เรียกว่างบกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2546 ท่านตั้งมา 16,000 ล้านบาท เรียกว่างบปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคม ปี 2547 ท่านตั้งไว้ 16,500 ล้านบาท เรียกว่างบเสริมศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืน งบกลางปี 2547 ท่านก็ตั้งมาอีก 59,000 ล้านบาท เรียกชื่อว่า ค่าใช้จ่ายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ รวมเบ็ดเสร็จ 4 ครั้ง ที่ตั้งมาแล้ว รวมเป็นเงิน 150,100 ล้านบาท ซึ่งก็เป็นเงินจำนวนมาก เป็นเงินจำนวนมากมายมหาศาล ครั้งนี้ขอตั้งมาอีก 23,400 ล้านบาท เรียกชื่อเดียวกันกับที่ใช้เมื่อครั้งหลังสุดว่า ค่าใช้จ่ายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ ประเทศจะได้รับอานิสงค์จากงบนี้นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนหรือไม่ กระผมไม่ทราบครับ แต่ว่าการใช้จ่ายงบประมาณโดยท่านนายกฯ โดยผู้มีอำนาจ ดูจะสามารถกระทำได้อย่างยั่งยืนทุกครั้ง ทุกหน ทุกเวลา และก็ทุกสถานที่
เมื่อเป็นงบประมาณที่ไม่มีรายละเอียดโครงการ ไม่มีสถานที่ตั้งโครงการ ก็จะเป็นไปตามทำนองที่กระผมกราบเรียนเมื่อสักครู่ครับว่า จะเอาไปทำที่ไหน อย่างไร สุดแท้แต่ผู้มีอำนาจจะพิจารณา ก็ทำได้ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นสุดท้ายก็เลยกลายเป็นงบการเมือง เป็นงบท่สามารถจะบันดาลผลประโยชน์หรือความพึงพอใจ ให้แก่ใคร ที่ไหน ก็ได้ทั้งสิ้น แล้วก็ด้วยเหตุนี้ล่ะครับ พวกกระผมถึงมีความเห็นยืนยันมาตลอดว่า เป็นวิธีการจัดทำงบประมาณที่ไม่น่าจะถูกต้อง เหมาะสม จึงจำเป็นต้องนำมาพูดกันทุกปี
เรื่องที่สี่ ที่กระผมเห็นว่าจะเป็นเรื่องที่กระผมจะอภิปรายถึงเป็นเรื่องสุดท้าย สำหรับงบประมาณฉบับนี้ ก็คือเรื่องของการจัดทำงบประมาณอย่างมียุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ตามที่ท่านนายกฯ ท่านได้พูดจาถึงในหลายยุทธศาสตร์ เมื่อตอนแถลงงบประมาณก่อนหน้านี้เมื่อสักครู่ เรื่องนี้กระผมขอกราบเรียนท่านประธานว่า ก็คล้ายๆกับเรื่องที่เกี่ยวกับนโยบายงบประมาณของรัฐบาลเช่นเดียวกันครับ คือเขียนไว้ดูดีครับ มีเหตุผล น่าฟัง น่าเชื่อถือ แต่พอพิจารณาลงไปในรายละเอียดก็จะพบความจริงว่า ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้แต่ประการใดครับ ที่ขัดแย้งกันเองก็มีมาก เช่น ในเรื่องยุทธศาสตร์เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ บอกว่ารัฐบาลนี้จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการแข่งขันทางด้านภาคบริการ จะใช้การท่องเที่ยวสร้างรายได้ เน้นการทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและศูนย์การประชุมนานาชาติ จะให้มีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 10% จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ และไม่น้อยกว่า 5% สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย เขียนไว้ดีครับ รมต.ที่กำกับดูแลการท่องเที่ยวคงสบายใจ แต่เมื่อดูไปทางด้านงบประมาณแล้ว ก็จะพบความจริงว่ารัฐบาลปรับลดงบประมาณแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวลงจากปี 2547 ลงไปอีกครับ ในขณะที่ปี 2547 รัฐบาลจัดสรรให้ 11,174.5 ล้านบาท มาถึงปี 2548 ซึ่งกำลังจะพิจารณากันอยู่นี้ ท่านจัดให้ลดลงเหลือเพียง 7,256.7 ล้านบาท ลดลงถึง 3,917.8 ล้านบาท แล้วอย่างนี้จะสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ได้อย่างไร
นอกจากนี้ในขณะที่รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวแก่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเป็นจำนวน 4,065.8 ล้านบาท แต่งานด้านการพัฒนามาตรฐานแหล่งการท่องเที่ยวและบริการ กลับจัดให้เพียง 514 ล้านบาท เท่ากับ 12% ของงบทางด้านการตลาดตรงนั้น ในฐานะที่เคยเป็น รมต.ดูแลกิจการท่องเที่ยวของประเทศมาก่อน กระผมอยากเรียนท่านประธานว่า ปัญหาสำคัญๆของหลายจังหวัดในขณะนี้ ที่พร้อมจะสนับสนุนส่งเสริมการท่องเที่ยวตามนโยบายของรัฐบาลนั้น ไม่ช่การขาดการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว แต่เป็นการขาดมาตรฐานบริการและแหล่งท่องเที่ยว ที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร เพราะฉะนั้นไม่ว่าท่านจะส่งเสริมการตลาดและสร้างภาพลักษณ์อย่างไรก็ตามครับ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไม่อาจก้าวไปข้างหน้าได้ อาจยังขาดการพัฒนาการบริการและแหล่งท่องเที่ยวในสัดส่วนที่สมดุลกัน
เรื่องยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคมและการแก้ไขปัญหาความยากจน ก็เขียนไว้ดีมากเป็นพิเศษ แต่เมื่อพิจารณาลงไปในสาระ ในเนื้อหา ในแผนงานแล้ว ก็จะเห็นว่าเป็นคนละเรื่องเช่นเดียวกัน เช่น แผนงานทางด้านการพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมจากเดิม ซึ่งกำหนดไว้เมื่อปี 2547 จัดสรรให้ 75,000 ล้านบาท มาถึงปี 2548 จัดสรรให้เพียง 23,400 ล้านบาท ลดลงถึง 52,100 ล้านบาท ท่านลดงบประมาณตามแผนการส่งเสริมการผลิตทางด้านการเกษตรจากเดิม ปี 2547 ซึ่งได้จัดสรรให้ 54,662 ล้านบาท มาถึงปี 2548 ซึ่งกำลังพิจารณากันอยู่นี้ ท่านลดลงเหลือเพียง 50,664 ล้านบาท ลดลงเท่ากับ 3,998 ล้านบาท
เรื่องของแผนการส่งเสริมการผลิตทางด้านการเกษตรนี่ กระผมอยากกราบเรียนท่านประธานว่า กระผมคิดว่าควรที่รัฐบาลนี้จะต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษซะแล้วล่ะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรัฐบาลกำลังเร่งรัด เจรจาการเปิดเขตการค้าเสรีกับหลายๆประเทศอยู่ในขณะนี้ เฉพาะที่ทำกับประเทศจีนไปแล้ว กระผมอยากกราบเรียนท่านประธานว่า ขณะนี้ประเทศไทยจะได้ประโยชน์อะไร มากน้อยอย่างไร ก็สุดแท้แต่จะพิจารณากันไปครับ แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรในจังหวัดภาคเหนือ แม้กระทั่งจังหวัดอันเป็นบ้านเกิดของท่านนายกฯเอง ก็ดูจะได้รับผลกระทบเกิดขึ้นแล้ว อย่างมากมายพอสมควรครับ ราคากระเทียมและหอมแดงครับ ที่ว่าตามจริงก็เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญที่นั่น ราคาตกลงเกือบจะร้อยละ 40 ในขณะที่หอมหัวใหญ่ตกลงถึงร้อยละ 70 ในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้จะเป็นเรื่องที่กระผมจะอภิปรายถึงเป็นเรื่องสุดท้ายสำหรับงบประมาณฉบับนี้ ก็คือ เรื่องของการจัดทำงบประมาณอย่างมียุทธศาสตร์ ที่กำหนดไว้ ท่านได้พูดจาถึงในขณะที่หอมหัวใหญ่ตกลงถึงร้อยละ 70 ในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ ซึ่งก็ได้ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรถึง 125000 ครัวเรือน และทำให้เกษตรกรภาคเหนือโดยรวมลดลงร้อยละ 6 ทีเดียว นี่ไม่ใช่เรื่องที่กระผมพูดเอง หรือฝ่ายค้านแต่งตัวเลขขึ้นมาเองนะครับ แต่เป็นตัวเลขข้อมูลจากกรมเศรษฐกิจการเกษตรและจากธนาคารแห่งประเทศไทย
เพราะฉะนั้นที่นายกรัฐมนตรีบอกว่าถ้าแข่งไม่ได้ก้เลิกอาชีพไปทำอย่างอื่นเสีย กระผมเข้าใจว่า วันนี้ คงจะต้องถึงเวลาที่ท่านจะต้องมาคิดใหม่ แล้วทบทวนกันใหม่เสียแล้วกระมั๊งครับ เพราะเขาอาจจะทำไม่ได้อย่างที่ท่านแนะนำก็ได้ แล้วก็ทำให้เขาต้องยากจนหนักไปกว่าเก่าเสียอีก เพราะฉะนั้นก็แสดงว่าแผนงานในการแก้ไขความยากจนก็คงไม่สามารถที่จะสัมฤทธิ์ผลได้ นอกจากการพูดจาให้ฟังดูดีเท่านั้นเอง
เรื่องยุทธศาสตร์ความมั่นคงของชาติ การต่างประเทศ และการอำนวยความยุติธรรม ท่านเน้นเยอะ กระผมคิดว่าไม่ต้องดูอื่นดูไกลครับ ดูที่เดียวเท่านั้นเองครับ นั่นก็คือความมั่นคงและความไม่สงบเรียบร้อยที่กำลังเกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ในขณะนี้ ซึ่งจะจบลงอย่างไร จะออกหัวออกก้อยอย่างไร กระผมคิดว่าก็ยังเป็นเรื่องที่น่าหนักใจกันอยู่ทั้งสิ้น แล้วสำคัญก็คือว่า เมื่อดูงบประมาณประจำปี 2548 ในส่วนที่เกี่ยวกับแผนงานที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยแล้ว ดูอย่างไรก็ยังนึกไม่เห็นคำตอบ
ส่วนยุทธศาสตร์การบริหารการจัดการประเทศ ซึ่งเขียนกำหนดไว้ดีมากเป็นพิเศษ เช้าวันนี้ท่านนายกรัฐมนตรีก็เน้นแล้วเน้นอีก ทั้งในส่วนเสริมสร้างการบริหารการจัดการ ทั้งป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ทั้งจะพัฒนาระบบการเมือง ทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วม แต่เมื่อดูลึกลงไปในแผนงานแล้วก็จะพบว่ามีปัญหาจริงๆ ครับ
ท่านประธานครับ พูดแล้วไม่น่าเชื่อครับ ไม่น่าเชื่อว่าในขณะที่ยุทธศาสตร์ ท่านพุดถึงแนวทางในการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ การพัฒนาและส่งเสริมการตรวจสอบอย่างเอาจริงเอาจังครับ แต่เมื่อดูลงไปในผืนงานก็จะพบความจริงว่า รัฐบาลไม่ได้จัดสรรงบประมาณให้กับแนวทางดังกล่าวนี้ แต่ประการใดทั้งสิ้นและที่น่าจะตั้งเอาไว้เป็นข้อสังเกตได้ด้วยเช่นเดียวกันก็คือว่า แผนงานคุ้มครองสิทธเสรีภาพ ส่งเสริมความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งในปี 2547 จัดสรรให้ 818 ล้านบาท ซึ่งว่าตามจริงก็ต้องถือว่าน้อยกันอยู่แล้วครับ แต่ในปี 2548 กลับน้อยลงไปอีกครับ ลดลงไปอีกเป็น 698 ล้านบาท อย่างนี้จะเรียกว่าคุ้มครองและส่งเสริมได้อย่างไร แล้วก็อย่างนี้กระมังครับ ถึงได้มีการละเมิดสิทธิ มีการละเมิดเสรีภาพ มีการอุ้ม มีการฆ่ากันบ่อยเป็นพิเศษ ในยุคที่รัฐบาลนี้มานั่งบริหารบ้านเมืองเป็นรัฐบาล
ท่านประธานครับอย่างที่ผมได้กราบเรียน ท่านประธานเอาไว้ตั้งแต่ต้นแล้วว่า เรื่องของงบประมาณแผ่นดินนั้น เป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง เพราะเป็นเงินที่มาจากภาษีอากรของพี่น้องประชาชนทั้งสิ้น พรรคฝ่ายค้านของพวกเราจึงให้ความสำคัญในเรื่องนี้เป็นพิเศษ หลังจากผมอภิปรายจบแล้วครับ ก็จะมีเพื่อนสมาชิกเป็นจำนวนมากในพรรคเดียวกับกระผม และแม้กระทั่งต่างพรรคจะได้ลุกขึ้นมาอภิปรายถึงประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต้องขอกราบเรียนท่านประธานตรงนี้ว่า เป็นประเด็นที่น่าสนใจด้วยกันทั้งสิ้น กระผมจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านประธานและสภาฯ นี้ คงจะเปิดโอกาสให้พวกเราสามารถที่จะทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ สำหรับกระผมเองครับ ขอกราบขอบพระคุณท่านประธานเพียงเท่านี้ครับ ขอบพระคุณครับ …..
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 23 มิ.ย. 2547--จบ--
-ดท-