‘ดร.สรรเสริญ สมะลาภา’ ชี้ งบค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน รัฐบาลตั้งไว้สูงเกินจริง พร้อมเสนอตัดงบส่วนดังกล่าวออก เหตุเป็นเงินนอกงบประมาณที่ไม่มีรายละเอียดและไม่สามารถตรวจสอบผ่านระบบสภาฯได้
เมื่อเวลา 12.20น. ที่ห้องประชุมอาคารรัฐสภา ในการประชุมเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2548 (งบสมดุล) ดร.สรรเสริญ สมะลาภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ ได้อภิปรายถึงพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวว่า การที่รัฐบาลตั้งเป็นงบสมดุล เพราะรัฐบาลพยายามจะบอกกับประชาชนว่า รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้ได้มาก และ รัฐบาลสามารถควบคุมรายจ่ายให้น้อยได้ จึงทำให้รายได้เท่ากับรายจ่ายหรือไม่มีการกู้เงินนั่นเอง
แต่ในส่วนตนกลับมองว่าสิ่งที่รัฐบาลพยายามจะบอกกับประชาชนนั้น นำไปสู่ความกังวล 2 เรื่องคือ 1.เกิดคำถามว่ารัฐบาลจะสามารถจัดเก็บรายได้ได้ตามเป้าหมายไม่ เนื่องจากการประมาณการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจที่รัฐบาลได้ตั้งเป้าไว้สูงถึง 7.5% เป็นการประมาณการณ์บนความประมาท เพราะขณะนี้มีเหตุการณ์หลายอย่างที่เกิดขึ้น เช่น สถานการณ์น้ำมัน อัตราดอกเบี้ยที่พุ่งสูงขึ้น สถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดภาคใต้ หรือการที่ประเทศจีนชะลอตัวด้านเศรษฐกิจ ซึ่งแทนที่เมื่อเกิดสถานการณ์ต่างๆเหล่านี้แล้ว แทนที่รัฐบาลจะปรับประมาณการณ์ตัวเลขให้ลดลง แต่รัฐบาลกลับนิ่งเฉย ในขณะที่สถาบันวิจัยหลายแห่งระบุว่าในปี 2548 เศรษฐกิจจะขยายตัวเพียง 5% เท่านั้น และหากเศรษฐกิจขยายตัวไม่ตรงตามเป้าหมายที่รัฐบาลวางไว้ ก็ต้องนำไปสู่การจัดเก็บรายได้ที่ไม่ตรงตามเป้าเช่นเดียวกัน
ข้อกังวลที่ 2 แม้ว่างบประมาณฉบับนี้จะเป็นงบแบบสมดุล ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นเรื่องดีเสมอไป เพราะงบประมาณที่สมดุลมาจากการประมาณการณ์รายได้ที่เพิ่มขึ้นแต่ไม่ได้มาจากวินัยการใช้เงินของรัฐบาล เนื่องจากรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และแม้ว่างบประมาณฉบับดังกล่าวจะสร้างภาพว่าไม่มีการกู้เงิน แต่รัฐบาลก็ใช้เงินในอนาคตในรูปแบบอื่น คือการอนุมัติงบผูกพันข้ามปีที่จะมีผลในปีต่อไปมูลค่าถึง 130,000 ล้าน ในขณะที่การอนุมัติงบปีที่ผ่านมาใช้เพียง 40,000 — 60,000 ล้านบาทต่อปีเท่านั้น
‘เนื่องจากงบประมาณฉบับนี้กู้ไม่ได้ คำถามที่ตามมาคือว่า หากรายได้น้อยกว่ารายจ่ายแล้วรัฐบาลจะทำอย่างไร ผมคิดว่ารัฐบาลคงจะมีคำตอบเตรียมไว้หลายเรื่อง แต่ผมก็ขอเรียนว่าสิ่งที่รัฐบาลพยายามจะบอกนั้น ประชาชนเดือดร้อนแทบจะทั้งสิ้น ข้อแรกคือการที่รัฐบาลพยายามผลักดันเศรษฐกิจให้ขยายตัวถึง 7.5% แต่เนื่องจากงบประมาณนี้จำกัดว่าไม่ให้กู้ ช่องทางเดียวที่ทำได้และรัฐบาลถนัดคือการใช้เงินนอกงบประมาณ ซึ่ง 2 เดือนแรกของปีนี้ธนาคารรัฐปล่อยสินเชื่อไปกว่าแสนล้าน คิดเป็น 6% ของจีดีพี ซึ่งผมไม่แปลกใจว่าทำไมไตรมาสแรกขยายตัว 6.5% อย่างที่นายกฯพูด แต่ที่ผมกังวลเพราะโครงการเอื้ออาทรต่างๆที่รัฐบาลนำมาผลักดันเศรษฐกิจเป็นไปในลักษณะของการให้กู้ทั้งสิ้น ซึ่งทำให้ประชาชนเป็นหนี้เพิ่มขึ้นไปอีก’ ดร.สรรเสริญกล่าว
ทั้งนี้ดร.สรรเสริญกล่าวว่า สิ่งที่รัฐบาลควรจะทำที่สุดในงบประมาณปี 2548 คือการตัดงบประมาณออก และงบที่ควรจะตัดออกมากที่สุดคือ ค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันที่ยังไม่มีรายละเอียดของการนำไปใช้ถึง 23,400 ล้านบาท ซึ่งเมื่อย้อนกลับไปดูการตั้งงบประมาณในปี 2547 ก็มีการตั้งงบประมาณเช่นเดียวกันนี้ไว้สูงถึง 75,500 ล้านบาท แต่มีการเบิกจ่ายไปเพียง 4,000 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งตนไม่เข้าใจว่าในเมื่อมีการเบิกจ่ายไปน้อยกว่างบประมาณที่ตั้งไว้ แล้วเหตุใดในปีนี้จึงต้องตั้งไว้สูงอีก
‘การใช้เงินของรัฐบาลชุดนี้ สาระสำคัญไม่ได้อยู่ที่งบประมาณแต่อย่างใด แต่อยู่ที่การใช้เงินนอกงบประมาณ ที่ต้องพูดเรื่องนี้ เพราะปกติสภาฯจะมีโอกาสน้อยมากในการตรวจสอบการใช้เงินนอกงบประมาณน้อยมาก เนื่องจากรัฐบาลอนุมัติโดยไม่ต้องผ่านสภาฯ โครงการที่ผมสงสัยมากที่สุดคือ โครงการโครงสร้างพื้นฐานที่มีมูลค่าสูงถึง 1.5 ล้านล้านบาท ที่รัฐบาลประกาศว่าจะทำในปีที่แล้วโดยมีระยะเวลา 5 ปี ซึ่งคำถามที่เกิดขึ้นคือแล้วรัฐบาลจะใช้งบประมาณฉบับนี้ลงทุนในโครงการนี้หรือไม่ ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่างบผูกพัน 5 ปีของรัฐบาลมี 1.3 แสนล้าน คือมีมูลค่าน้อยเมื่อเทียบกับ 1.5 ล้านล้านบาท ดังนั้นผมถือว่าไม่มีสัญญาณที่รัฐบาลจะนำเงินก้อนนี้ไปลงทุนในโครงการดังกล่าว’ ดร.สรรเสริญกล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 23 มิ.ย. 2547--จบ--
-ดท-
เมื่อเวลา 12.20น. ที่ห้องประชุมอาคารรัฐสภา ในการประชุมเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2548 (งบสมดุล) ดร.สรรเสริญ สมะลาภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ ได้อภิปรายถึงพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวว่า การที่รัฐบาลตั้งเป็นงบสมดุล เพราะรัฐบาลพยายามจะบอกกับประชาชนว่า รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้ได้มาก และ รัฐบาลสามารถควบคุมรายจ่ายให้น้อยได้ จึงทำให้รายได้เท่ากับรายจ่ายหรือไม่มีการกู้เงินนั่นเอง
แต่ในส่วนตนกลับมองว่าสิ่งที่รัฐบาลพยายามจะบอกกับประชาชนนั้น นำไปสู่ความกังวล 2 เรื่องคือ 1.เกิดคำถามว่ารัฐบาลจะสามารถจัดเก็บรายได้ได้ตามเป้าหมายไม่ เนื่องจากการประมาณการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจที่รัฐบาลได้ตั้งเป้าไว้สูงถึง 7.5% เป็นการประมาณการณ์บนความประมาท เพราะขณะนี้มีเหตุการณ์หลายอย่างที่เกิดขึ้น เช่น สถานการณ์น้ำมัน อัตราดอกเบี้ยที่พุ่งสูงขึ้น สถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดภาคใต้ หรือการที่ประเทศจีนชะลอตัวด้านเศรษฐกิจ ซึ่งแทนที่เมื่อเกิดสถานการณ์ต่างๆเหล่านี้แล้ว แทนที่รัฐบาลจะปรับประมาณการณ์ตัวเลขให้ลดลง แต่รัฐบาลกลับนิ่งเฉย ในขณะที่สถาบันวิจัยหลายแห่งระบุว่าในปี 2548 เศรษฐกิจจะขยายตัวเพียง 5% เท่านั้น และหากเศรษฐกิจขยายตัวไม่ตรงตามเป้าหมายที่รัฐบาลวางไว้ ก็ต้องนำไปสู่การจัดเก็บรายได้ที่ไม่ตรงตามเป้าเช่นเดียวกัน
ข้อกังวลที่ 2 แม้ว่างบประมาณฉบับนี้จะเป็นงบแบบสมดุล ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นเรื่องดีเสมอไป เพราะงบประมาณที่สมดุลมาจากการประมาณการณ์รายได้ที่เพิ่มขึ้นแต่ไม่ได้มาจากวินัยการใช้เงินของรัฐบาล เนื่องจากรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และแม้ว่างบประมาณฉบับดังกล่าวจะสร้างภาพว่าไม่มีการกู้เงิน แต่รัฐบาลก็ใช้เงินในอนาคตในรูปแบบอื่น คือการอนุมัติงบผูกพันข้ามปีที่จะมีผลในปีต่อไปมูลค่าถึง 130,000 ล้าน ในขณะที่การอนุมัติงบปีที่ผ่านมาใช้เพียง 40,000 — 60,000 ล้านบาทต่อปีเท่านั้น
‘เนื่องจากงบประมาณฉบับนี้กู้ไม่ได้ คำถามที่ตามมาคือว่า หากรายได้น้อยกว่ารายจ่ายแล้วรัฐบาลจะทำอย่างไร ผมคิดว่ารัฐบาลคงจะมีคำตอบเตรียมไว้หลายเรื่อง แต่ผมก็ขอเรียนว่าสิ่งที่รัฐบาลพยายามจะบอกนั้น ประชาชนเดือดร้อนแทบจะทั้งสิ้น ข้อแรกคือการที่รัฐบาลพยายามผลักดันเศรษฐกิจให้ขยายตัวถึง 7.5% แต่เนื่องจากงบประมาณนี้จำกัดว่าไม่ให้กู้ ช่องทางเดียวที่ทำได้และรัฐบาลถนัดคือการใช้เงินนอกงบประมาณ ซึ่ง 2 เดือนแรกของปีนี้ธนาคารรัฐปล่อยสินเชื่อไปกว่าแสนล้าน คิดเป็น 6% ของจีดีพี ซึ่งผมไม่แปลกใจว่าทำไมไตรมาสแรกขยายตัว 6.5% อย่างที่นายกฯพูด แต่ที่ผมกังวลเพราะโครงการเอื้ออาทรต่างๆที่รัฐบาลนำมาผลักดันเศรษฐกิจเป็นไปในลักษณะของการให้กู้ทั้งสิ้น ซึ่งทำให้ประชาชนเป็นหนี้เพิ่มขึ้นไปอีก’ ดร.สรรเสริญกล่าว
ทั้งนี้ดร.สรรเสริญกล่าวว่า สิ่งที่รัฐบาลควรจะทำที่สุดในงบประมาณปี 2548 คือการตัดงบประมาณออก และงบที่ควรจะตัดออกมากที่สุดคือ ค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันที่ยังไม่มีรายละเอียดของการนำไปใช้ถึง 23,400 ล้านบาท ซึ่งเมื่อย้อนกลับไปดูการตั้งงบประมาณในปี 2547 ก็มีการตั้งงบประมาณเช่นเดียวกันนี้ไว้สูงถึง 75,500 ล้านบาท แต่มีการเบิกจ่ายไปเพียง 4,000 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งตนไม่เข้าใจว่าในเมื่อมีการเบิกจ่ายไปน้อยกว่างบประมาณที่ตั้งไว้ แล้วเหตุใดในปีนี้จึงต้องตั้งไว้สูงอีก
‘การใช้เงินของรัฐบาลชุดนี้ สาระสำคัญไม่ได้อยู่ที่งบประมาณแต่อย่างใด แต่อยู่ที่การใช้เงินนอกงบประมาณ ที่ต้องพูดเรื่องนี้ เพราะปกติสภาฯจะมีโอกาสน้อยมากในการตรวจสอบการใช้เงินนอกงบประมาณน้อยมาก เนื่องจากรัฐบาลอนุมัติโดยไม่ต้องผ่านสภาฯ โครงการที่ผมสงสัยมากที่สุดคือ โครงการโครงสร้างพื้นฐานที่มีมูลค่าสูงถึง 1.5 ล้านล้านบาท ที่รัฐบาลประกาศว่าจะทำในปีที่แล้วโดยมีระยะเวลา 5 ปี ซึ่งคำถามที่เกิดขึ้นคือแล้วรัฐบาลจะใช้งบประมาณฉบับนี้ลงทุนในโครงการนี้หรือไม่ ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่างบผูกพัน 5 ปีของรัฐบาลมี 1.3 แสนล้าน คือมีมูลค่าน้อยเมื่อเทียบกับ 1.5 ล้านล้านบาท ดังนั้นผมถือว่าไม่มีสัญญาณที่รัฐบาลจะนำเงินก้อนนี้ไปลงทุนในโครงการดังกล่าว’ ดร.สรรเสริญกล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 23 มิ.ย. 2547--จบ--
-ดท-