นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า สำนักงานพาณิชย์ ณ กรุงบรัสเซลส์ ได้รายงานว่าคณะมนตรียุโรปได้ให้ความเห็นชอบ Common Position เพื่อขยายขอบเขตการห้ามใช้สาร phthalates ประเภท DNIP, DIDP และ DNOP ในสินค้าของเด็กเล่นที่เด็กใส่เข้าปาก ที่ผลิตจาก PVC จากเดิมสำหรับเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 3 ปี เป็นของเด็กเล่นสำหรับเด็กทุกอายุที่สามารถใส่เข้าปากได้ โดยเป็นการปฏิบัติที่สอดคล้องกับหลักมาตรการป้องกันล่วงหน้า (Precautionary Principles) และคาดว่าจะออกประกาศเป็นกฎหมายอย่างเป็นทางการภายในสิ้นปี 2548 ซึ่งเดิมที ผลการประชุม Competitiveness Council เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2547 ได้เห็นชอบการห้ามใช้สาร DNIP, DIDP และ DNOP ใน PVC ที่ผลิตเป็นของเด็กเล่นสำหรับเด็กใส่เข้าปาก มีอายุต่ำกว่า 3 ปี และห้ามใช้สาร DEHP, BBP และ DBP ใน PVC ที่ผลิตเป็นสินค้าของเด็กเล่นทุกชนิด
การขยายข้อจำกัดนี้จะครอบคลุมสินค้าของเด็กเล่นหลากหลายรายการมากขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์ดูแลเด็ก (Children articles) ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการยุโรป จะจัดทำแนวทางเพื่อกำหนดความหมายของ “which can be placed in the mouth by children” ให้ชัดเจน ในขณะเดียวกันก็มีแนวโน้มที่จะพิจารณาประเด็นเกี่ยวกับสารให้กลิ่นในสินค้าของเด็กเล่น เมื่อมีการทบทวนคำสั่งเกี่ยวกับความปลอดภัยของสินค้าของเด็กเล่นด้วย
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่า ตัวแทนผู้ประกอบการอุตสาหกรรมของเด็กเล่น เช่น Europe’s toy industry association (TIE) ได้แสดงความกังวลว่าการจำกัดความเสี่ยงจากสาร phthalates ให้อยู่ในวงแคบ จะผลักดันให้ผู้ประกอบการหันมาใช้สารทดแทนที่ยังไม่มีการประเมินความเสี่ยงที่อาจส่งผลร้ายยิ่งขึ้นต่อผู้บริโภค ในขณะเดียวกันก็จะส่งผลต่อการร่างระเบียบควบคุมเคมีภัณฑ์ (REACH) ให้เคร่งครัดยิ่งขึ้น
อนึ่ง ในปี 2547 ไทยส่งออกของเล่นไปสหภาพยุโรปคิดเป็นมูลค่า 2,499.6 ล้านบาท ลดลงจากปี 2546 ร้อยละ 5.52 และ ช่วงมกราคม - มิถุนายน 2548 คิดเป็นมูลค่า 935.2 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.20
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-
การขยายข้อจำกัดนี้จะครอบคลุมสินค้าของเด็กเล่นหลากหลายรายการมากขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์ดูแลเด็ก (Children articles) ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการยุโรป จะจัดทำแนวทางเพื่อกำหนดความหมายของ “which can be placed in the mouth by children” ให้ชัดเจน ในขณะเดียวกันก็มีแนวโน้มที่จะพิจารณาประเด็นเกี่ยวกับสารให้กลิ่นในสินค้าของเด็กเล่น เมื่อมีการทบทวนคำสั่งเกี่ยวกับความปลอดภัยของสินค้าของเด็กเล่นด้วย
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่า ตัวแทนผู้ประกอบการอุตสาหกรรมของเด็กเล่น เช่น Europe’s toy industry association (TIE) ได้แสดงความกังวลว่าการจำกัดความเสี่ยงจากสาร phthalates ให้อยู่ในวงแคบ จะผลักดันให้ผู้ประกอบการหันมาใช้สารทดแทนที่ยังไม่มีการประเมินความเสี่ยงที่อาจส่งผลร้ายยิ่งขึ้นต่อผู้บริโภค ในขณะเดียวกันก็จะส่งผลต่อการร่างระเบียบควบคุมเคมีภัณฑ์ (REACH) ให้เคร่งครัดยิ่งขึ้น
อนึ่ง ในปี 2547 ไทยส่งออกของเล่นไปสหภาพยุโรปคิดเป็นมูลค่า 2,499.6 ล้านบาท ลดลงจากปี 2546 ร้อยละ 5.52 และ ช่วงมกราคม - มิถุนายน 2548 คิดเป็นมูลค่า 935.2 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.20
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-