นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอภิปรายว่าการพิจารณางบประมาณนั้นดูได้จากที่รัฐบาลตั้งงบประมาณไว้ 1.2 ล้านล้านบาท ซึ่งรัฐบาลบอกว่าเก็บเงินภาษีจากประชาชนมาได้เท่าไหร่ ก็ใช้เท่านั้นจะไม่มีการกู้ยืมเงินเหมือนใน 3 ปีที่ผ่านมา จึงมีคำถามว่า งบประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท จะเก็บตามเป้าหมายที่วางไวได้หรือไม่ และการเก็บภาษีดังกล่าวจะทำให้ประชาชนที่ทำมาหากินโดยสุจริตได้รับความเดือดร้อนหรือไม่
นายกอร์ปศักดิ์ กล่าวว่า พิจารณาจากการจัดเก็บภาษีในปีที่ผ่านมา ดูจากตัวเลขถือว่าสูง จนเชื่อได้ว่าจะไม่เกิดปัญหาในปีต่อไป เพราะการประมาณการจะดูจากการจัดเก็บจริงของปีที่ผ่านมา ซึ่งจัดเก็บได้ถึง 1,120,000กว่าล้านบาท ซึ่งเมื่อดูงบ 1.2 ล้านล้าน จึงไม่น่าจะมีปัญหา
การดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาล ที่ผ่าน มา 3 ปี แต่ที่น่ากังวลคือปีที่ 4 เพราะปัญหาที่น่าเป็นห่วงหลายเรื่อง แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือราคาน้ำมัน เพราะจะเป็นปัญหาใหญ่ เพราะเวลาราคาน้ำมันสูงขึ้น ปัญหาที่ตามมาคือปัญหาเงินเฟ้อ ดังนั้นรัฐบาลจะใช้นโยบายบริหารเศรษฐกิจแบบเดิมไม่ได้ จึงมีคำถามว่ารัฐบาลจะกลกับตัวทันหรือไม่
ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อว่า ปัญหาที่น่ากังวลมากที่สุด คือปัญหาอัตราดอกเบี้ย ในเรื่องนี้ต้องยอมรับว่าสหรัฐฯ เป็นผู้กำหนดในเรื่องเศรษฐกิจ และตัวเลขสำคัญก็คืออัตราดอกเบี้ย จากการติดตามอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ก็เป็นปัญหา แต่สิ่งที่รัฐบาลกลางของสหรัฐฯทำ คือการลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งตรงกับ นโยบายทักษินอมิค คือระบบเศรษฐกิจที่อยู่บนพื้นฐานดอกเบี้ยต่ำ โครงการทุกการเกิดขึ้นจากพื้นฐานดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งต่อไปนี้จะไม่ใช่ จึงไม่ควรประมาท เพราะเรื่องอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศเห็นได้ชัดเจน ว่าในอนาคตมีความเป็นไปได้ว่าอัตราดอกเบี้ยอาจจะขึ้นถึง ร้อยละ 4 จึงมีคำถามว่าในประเทศจะดำเนินการอย่างไร
เมื่อระบบทักษินอร์มิค คือระบบเศรษฐกิจที่อยู่บนพื้นฐานดอกเบี้ยต่ำ ตนจึงมีความกังวลว่ารัฐบาลจะใช้เครื่องมือทางการเมือง ไม่ปล่อยหะนาคารแห่งประเทศไทยทำงานอย่างอิสระ ซึ่งหมายความว่าอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐฯ เพิ่ม แต่นายกฯ ก็จะออกมาบอกว่าไทยไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่ม เพราะเงินในระบบยังมีอยู่เพียงพอ
เมื่อประมาณ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมารับมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ของประเทศฝรั่งเศษ แลนายกรัฐมนตรี ของประเทศอิตาลี่ ได้ประกาศเข้ามาแทรกแซงตลาดยูโรอย่างเป็นทารงการ ด้วยเหตุผลว่าอัตราดอกเบี้ยจะลดลง ซึ่งสร้างความกังวลให้กับทั่วโลก ซึ่งตนอยากจะเตือนนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ควรคิดอย่างรอบคอบ เพราะนโยบายทักษินอร์มิก รวมทั้งโครงการเอื้ออาทรทั้งหลาย ที่จะมีปัญหาอย่างมากกับผู้บริโภค เพราะผู้บริโภค ไปกู้เงินดอกเบี้ยต่ำไว้ ไม่ว่าสร้างบ้าน กับธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน รวมทั้งธกส.ควรมีการวางแผนว่าจะทำอย่างไร มิฉะนั้นเศรษฐกิจล่มสลายแน่นอน
ซึ่งในเรื่องทักษินอร์มิค มีการวิจารณ์กันมากในต่างประเทศ จนมีคนไปแปลงเป็นท็อคซินอมิค คือเศรษฐกิจเป็นพิษ ซึ่งเป็นคำวิจารณ์ฟาร์อิสเทรินอิคอนอมิค แต่มีคำวิจารณ์เพิ่มขึ้นมาอีก จากอาจารย์มหาวิทยาลัย ที่นิวยอร์ก บทวิจารณ์สั้นๆว่า ‘ไปกังวลทำไมกับประเทศไทย มีที่ไหนในโลกนี้ ว่าสามารถบริหารเศรษฐกิจได้โตถึง ร้อยละ6 และร้อยละ 7’ และมีคำวิจารณ์ตอนหนึ่งที่น่าคิดมาก คือคำพูดว่า ‘ ตอนนี้มีปรากฏที่อาจจะล่มสลาย เพราะประชาชนในชนบทมีหนี้สินมากขึ้น และบอกว่าการบริหารประเทศในลักษณะที่ไม่สนับสนุนสิทธิมนุษยชน ในลักษณะเข้าไปแทรกแซงสื่อ และที่น่ากังวลอีกประการหนึ่งคือทำให้ประทศเพื่อนบ้านบางประเทศกระทำตามประเทศไทย’ ซึ่งบทวิจารณ์ของนักวิชาการก็เป็นที่น่าสนใจ โดยเฉพาะคำเรียกนายรัฐมนตรีของไทยว่า ‘ไทยสตรองรแมน’ และเรื่องที่น่ากังวลมากคือความสามารถของรัฐบาลในการบริหารเศรษฐกิจ ว่าจะทำได้ตามที่พูดไว้หรือไม่
อีกประเด็นหนึ่งคือเรื่องรายจ่าย กล่าวคือจะพูดถึงเรื่องทุจริต เพราะเป็นที่น่าเบื่อหน่ายมากกรณีโยกงบเพื่อมาใช้จ่ายอย่างไม่มีระเบียบ ซึ่งงบผูกพันเป็นส่วนที่สำคัญมาก เพราะว่าเคยมีปัญหามาให้เห็นหลายครั้ง เป็นเหตุให้รัฐบาลเปลี่ยนจากซื้อผูกพัน เป็นเช่าผูกพัน เมื่อเป็นการเช่า หากกำหนดไว้ในแผนโครงการจะตรวจสอบง่าย แต่การเช่า โดยมีแอบไว้ในหมวดค่าใช้จ่าย แต่ละกระทรวงใช้จ่ายมียอดรวมถึงหมื่นล้าน โดยจะมีการแยกอย่างระเบียบ
และนอกจากนั้นยังมีงบลงทุน งบเงินอุดหนุน และงบรายจ่ายอื่นๆ ซึ่งงบดำเนินงานมีการการหมกเม็ดไว้ว่าเป็นงบสาธารณูปโภค ซึ่งรวมทั้งการเช่าเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม เช่นของกระทรวงมหาดไทย มีงบดำเนินงาน เกือบ 100 ล้าน เป็นงบสาธารณูปโภค 297 ล้านบาท เมื่อเข้าไปดูในรายละเอียดเป็นการเช่าสัญญาณดาวเทียม และคอมพิวเตอร์ ซึ่งปกติทำไม่ได้ แต่สำนักงบประมาณได้มีการแก้ระเบียบ โดยบอกว่าค่าสาธารณูปโภค ให้รวมค่าสัญญาณดาวเทียม และคอมพิวเตอร์ไปด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวลมาก
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 23 มิ.ย. 2547--จบ--
-ดท-
นายกอร์ปศักดิ์ กล่าวว่า พิจารณาจากการจัดเก็บภาษีในปีที่ผ่านมา ดูจากตัวเลขถือว่าสูง จนเชื่อได้ว่าจะไม่เกิดปัญหาในปีต่อไป เพราะการประมาณการจะดูจากการจัดเก็บจริงของปีที่ผ่านมา ซึ่งจัดเก็บได้ถึง 1,120,000กว่าล้านบาท ซึ่งเมื่อดูงบ 1.2 ล้านล้าน จึงไม่น่าจะมีปัญหา
การดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาล ที่ผ่าน มา 3 ปี แต่ที่น่ากังวลคือปีที่ 4 เพราะปัญหาที่น่าเป็นห่วงหลายเรื่อง แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือราคาน้ำมัน เพราะจะเป็นปัญหาใหญ่ เพราะเวลาราคาน้ำมันสูงขึ้น ปัญหาที่ตามมาคือปัญหาเงินเฟ้อ ดังนั้นรัฐบาลจะใช้นโยบายบริหารเศรษฐกิจแบบเดิมไม่ได้ จึงมีคำถามว่ารัฐบาลจะกลกับตัวทันหรือไม่
ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อว่า ปัญหาที่น่ากังวลมากที่สุด คือปัญหาอัตราดอกเบี้ย ในเรื่องนี้ต้องยอมรับว่าสหรัฐฯ เป็นผู้กำหนดในเรื่องเศรษฐกิจ และตัวเลขสำคัญก็คืออัตราดอกเบี้ย จากการติดตามอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ก็เป็นปัญหา แต่สิ่งที่รัฐบาลกลางของสหรัฐฯทำ คือการลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งตรงกับ นโยบายทักษินอมิค คือระบบเศรษฐกิจที่อยู่บนพื้นฐานดอกเบี้ยต่ำ โครงการทุกการเกิดขึ้นจากพื้นฐานดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งต่อไปนี้จะไม่ใช่ จึงไม่ควรประมาท เพราะเรื่องอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศเห็นได้ชัดเจน ว่าในอนาคตมีความเป็นไปได้ว่าอัตราดอกเบี้ยอาจจะขึ้นถึง ร้อยละ 4 จึงมีคำถามว่าในประเทศจะดำเนินการอย่างไร
เมื่อระบบทักษินอร์มิค คือระบบเศรษฐกิจที่อยู่บนพื้นฐานดอกเบี้ยต่ำ ตนจึงมีความกังวลว่ารัฐบาลจะใช้เครื่องมือทางการเมือง ไม่ปล่อยหะนาคารแห่งประเทศไทยทำงานอย่างอิสระ ซึ่งหมายความว่าอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐฯ เพิ่ม แต่นายกฯ ก็จะออกมาบอกว่าไทยไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่ม เพราะเงินในระบบยังมีอยู่เพียงพอ
เมื่อประมาณ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมารับมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ของประเทศฝรั่งเศษ แลนายกรัฐมนตรี ของประเทศอิตาลี่ ได้ประกาศเข้ามาแทรกแซงตลาดยูโรอย่างเป็นทารงการ ด้วยเหตุผลว่าอัตราดอกเบี้ยจะลดลง ซึ่งสร้างความกังวลให้กับทั่วโลก ซึ่งตนอยากจะเตือนนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ควรคิดอย่างรอบคอบ เพราะนโยบายทักษินอร์มิก รวมทั้งโครงการเอื้ออาทรทั้งหลาย ที่จะมีปัญหาอย่างมากกับผู้บริโภค เพราะผู้บริโภค ไปกู้เงินดอกเบี้ยต่ำไว้ ไม่ว่าสร้างบ้าน กับธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน รวมทั้งธกส.ควรมีการวางแผนว่าจะทำอย่างไร มิฉะนั้นเศรษฐกิจล่มสลายแน่นอน
ซึ่งในเรื่องทักษินอร์มิค มีการวิจารณ์กันมากในต่างประเทศ จนมีคนไปแปลงเป็นท็อคซินอมิค คือเศรษฐกิจเป็นพิษ ซึ่งเป็นคำวิจารณ์ฟาร์อิสเทรินอิคอนอมิค แต่มีคำวิจารณ์เพิ่มขึ้นมาอีก จากอาจารย์มหาวิทยาลัย ที่นิวยอร์ก บทวิจารณ์สั้นๆว่า ‘ไปกังวลทำไมกับประเทศไทย มีที่ไหนในโลกนี้ ว่าสามารถบริหารเศรษฐกิจได้โตถึง ร้อยละ6 และร้อยละ 7’ และมีคำวิจารณ์ตอนหนึ่งที่น่าคิดมาก คือคำพูดว่า ‘ ตอนนี้มีปรากฏที่อาจจะล่มสลาย เพราะประชาชนในชนบทมีหนี้สินมากขึ้น และบอกว่าการบริหารประเทศในลักษณะที่ไม่สนับสนุนสิทธิมนุษยชน ในลักษณะเข้าไปแทรกแซงสื่อ และที่น่ากังวลอีกประการหนึ่งคือทำให้ประทศเพื่อนบ้านบางประเทศกระทำตามประเทศไทย’ ซึ่งบทวิจารณ์ของนักวิชาการก็เป็นที่น่าสนใจ โดยเฉพาะคำเรียกนายรัฐมนตรีของไทยว่า ‘ไทยสตรองรแมน’ และเรื่องที่น่ากังวลมากคือความสามารถของรัฐบาลในการบริหารเศรษฐกิจ ว่าจะทำได้ตามที่พูดไว้หรือไม่
อีกประเด็นหนึ่งคือเรื่องรายจ่าย กล่าวคือจะพูดถึงเรื่องทุจริต เพราะเป็นที่น่าเบื่อหน่ายมากกรณีโยกงบเพื่อมาใช้จ่ายอย่างไม่มีระเบียบ ซึ่งงบผูกพันเป็นส่วนที่สำคัญมาก เพราะว่าเคยมีปัญหามาให้เห็นหลายครั้ง เป็นเหตุให้รัฐบาลเปลี่ยนจากซื้อผูกพัน เป็นเช่าผูกพัน เมื่อเป็นการเช่า หากกำหนดไว้ในแผนโครงการจะตรวจสอบง่าย แต่การเช่า โดยมีแอบไว้ในหมวดค่าใช้จ่าย แต่ละกระทรวงใช้จ่ายมียอดรวมถึงหมื่นล้าน โดยจะมีการแยกอย่างระเบียบ
และนอกจากนั้นยังมีงบลงทุน งบเงินอุดหนุน และงบรายจ่ายอื่นๆ ซึ่งงบดำเนินงานมีการการหมกเม็ดไว้ว่าเป็นงบสาธารณูปโภค ซึ่งรวมทั้งการเช่าเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม เช่นของกระทรวงมหาดไทย มีงบดำเนินงาน เกือบ 100 ล้าน เป็นงบสาธารณูปโภค 297 ล้านบาท เมื่อเข้าไปดูในรายละเอียดเป็นการเช่าสัญญาณดาวเทียม และคอมพิวเตอร์ ซึ่งปกติทำไม่ได้ แต่สำนักงบประมาณได้มีการแก้ระเบียบ โดยบอกว่าค่าสาธารณูปโภค ให้รวมค่าสัญญาณดาวเทียม และคอมพิวเตอร์ไปด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวลมาก
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 23 มิ.ย. 2547--จบ--
-ดท-