นายอภิชาต การิกาญจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอภิปรายงบประมาณรายจ่าย ประจำปี 2548 ถึงแผนงบประมาณการเพิ่มศักยภาพในโอกาสของคนยากจนว่า การที่รัฐบาลได้ทุ่มเทงบประมาณลงไปเป็นจำนวนมากในแต่ละปี เพื่อแก้ปัญหาตามนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนของรัฐบาลนั้น ตนเห็นว่าการดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวของรัฐบาลไม่ประสบความสำเร็จ เพราะขณะนี้ปัญหาความยากจนและคนจนยังคงมีอยู่
นายอภิชาตกล่าวว่า รัฐบาลกำหนดเป้าหมายว่าในปี พ.ศ.2548 จำนวนคนจนจะต้องลดลง 1.2 ล้านคน พร้อมทั้งกำหนดพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 16,735 หมู่บ้าน โดยตั้งงบประมาณ ปี พ.ศ.2548 ไว้ที่ 12,416.7 ล้านบาท รวมถึงตั้งงบในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการการแก้ไขปัญหาการฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก จำนวน 20,826 ล้านบาท นอกจากนี้รัฐบาลยังวางนโยบายแก้ปัญหาต่อเนื่องไปจนถึงช่วง พ.ศ. 2549 — 2551 ในวงเงินที่กำหนดไว้ 100,000 ล้านบาท ซึ่งตนเห็นว่าการที่รัฐบาลทุ่มเทงบประมาณจำนวนมหาศาล แล้วยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ทำให้เกิดเป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ‘หายนะภัยจากการพัฒนา’ ซึ่งไม่ว่ารัฐบาลจะพยายามแก้ปัญหาอย่างไร ปัญหาความยากจนก็จะยังมีอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง
‘วันนี้ผมคิดว่าความยากจนกลายเป็นวัฒนธรรมของความยากจน เป็นวัฎจักรที่ต่อเนื่องจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง เป็นคนจนต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ว่าจะใส่เม็ดเงินลงไปจำนวนเท่าไหร่ก็ตาม แต่ปัญหาความยากจนก็ยังปรากฏอยู่อย่างไม่เปลี่ยนแปลง และกลายเป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ‘หายนะภัยจากการพัฒนา’ หายนะภัยจากการพัฒนาที่มีการใช้ระบบสินเชื่อนำหน้าการพัฒนา การใช้ระบบสินเชื่อแก้ปัญหาความยากจน การให้เงินกู้ยืมจากหลายแห่ง ถ้าเราให้เงินกู้ยืมไปแล้วหากมีการผลิตเพิ่มขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น เกิดมูลค่าเพิ่มจากการขยายการผลิต ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเราให้กู้แล้ว กลับมีภาระเพิ่มของความยากจน ชาวบ้านยังมีหนี้สินมากขึ้น การเพิ่มขึ้นของความยากจนกลายเป็นความยากจนที่สมบูรณ์’ นายอภิชาตกล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 23 มิ.ย. 2547--จบ--
-ดท-
นายอภิชาตกล่าวว่า รัฐบาลกำหนดเป้าหมายว่าในปี พ.ศ.2548 จำนวนคนจนจะต้องลดลง 1.2 ล้านคน พร้อมทั้งกำหนดพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 16,735 หมู่บ้าน โดยตั้งงบประมาณ ปี พ.ศ.2548 ไว้ที่ 12,416.7 ล้านบาท รวมถึงตั้งงบในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการการแก้ไขปัญหาการฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก จำนวน 20,826 ล้านบาท นอกจากนี้รัฐบาลยังวางนโยบายแก้ปัญหาต่อเนื่องไปจนถึงช่วง พ.ศ. 2549 — 2551 ในวงเงินที่กำหนดไว้ 100,000 ล้านบาท ซึ่งตนเห็นว่าการที่รัฐบาลทุ่มเทงบประมาณจำนวนมหาศาล แล้วยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ทำให้เกิดเป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ‘หายนะภัยจากการพัฒนา’ ซึ่งไม่ว่ารัฐบาลจะพยายามแก้ปัญหาอย่างไร ปัญหาความยากจนก็จะยังมีอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง
‘วันนี้ผมคิดว่าความยากจนกลายเป็นวัฒนธรรมของความยากจน เป็นวัฎจักรที่ต่อเนื่องจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง เป็นคนจนต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ว่าจะใส่เม็ดเงินลงไปจำนวนเท่าไหร่ก็ตาม แต่ปัญหาความยากจนก็ยังปรากฏอยู่อย่างไม่เปลี่ยนแปลง และกลายเป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ‘หายนะภัยจากการพัฒนา’ หายนะภัยจากการพัฒนาที่มีการใช้ระบบสินเชื่อนำหน้าการพัฒนา การใช้ระบบสินเชื่อแก้ปัญหาความยากจน การให้เงินกู้ยืมจากหลายแห่ง ถ้าเราให้เงินกู้ยืมไปแล้วหากมีการผลิตเพิ่มขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น เกิดมูลค่าเพิ่มจากการขยายการผลิต ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเราให้กู้แล้ว กลับมีภาระเพิ่มของความยากจน ชาวบ้านยังมีหนี้สินมากขึ้น การเพิ่มขึ้นของความยากจนกลายเป็นความยากจนที่สมบูรณ์’ นายอภิชาตกล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 23 มิ.ย. 2547--จบ--
-ดท-