ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กระผมขออภิปรายงบประมาณปี พ.ศ.2548 และขอกราบเรียนท่านประธานว่าในบางเรื่องผมอาจจะต้องลงไปในรายละเอียด เพราะประเด็นที่ผมอภิปรายนั้น ส.ส.ไม่สามารถแปรญัตติได้ครับ ส.ส.แปรได้แต่เพียงตังค์ แต่ว่าส่วนที่จะอภิปรายในเป็นงบประมาณที่ยุทธศาสตร์ทั้ง 5 จะไม่บรรลุถ้าท่านจัดขาดไป หรือท่านไม่จัดเลย แล้วกรณีเช่นนี้ผู้ที่จะแปรญัตติได้คือรัฐบาล ผมจะได้ขอฝากเรื่องนี้ฝากท่านประธานไปยังฝากรัฐบาล แล้วก็ถ้าสมาชิกที่เข้าไปเป็นกรรมาธิการ ก็อาจจะใช้ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์ ผมได้ยินมาตั้งแต่ตอนประเมินแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตอนที่สิ้นแผน 7 จะขึ้นแผน 8 ว่ามีเรื่องที่การพัฒนาต้องการจะทำให้บรรลุอยู่ 3 เรื่อง คือต้องการให้เศรษฐกิจดี ต้องการให้สังคมไม่มีปัญหา ต้องการเห็นการพัฒนาที่ยั่งยืน สภาพัฒน์ตอนนั้นประเมิน แผน 7 ซึ่งฟองสบู่ยังไม่แตก ก็สรุปบอกว่า มาถึงแผน 7 แล้ว เศรษฐกิจดี แต่สังคมมีปัญหา และก็การพัฒนาก็ไม่ยั่งยืน เพราะฉะนั้นพอขึ้นแผน 8 เขาก็เลยหันมาจับเรื่องการพัฒนาคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา แต่ก็ไม่ละทิ้งเรื่องความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่มาให้ค่าน้ำหนักในการพัฒนาคน ตั้งแต่นั้นมาจนบัดนี้ ผมก็เข้าใจว่าไม่ว่าจะใช้กี่ยุทธศาสตร์ ในการที่จะพัฒนาประเทศ ก็คงจะมุ่งไปสู่สิ่งที่พึ่งปรารถนา คือให้เศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา และก็พัฒนายั่งยืน
เมื่อฟองสบู่แตกเราพบว่าทั้ง 3 เรื่อง นั้น เศรษฐกิจก็ไม่ดีตอนนี้แม้จะดีขึ้นบ้าง แต่ก็ยังไม่ดีอย่างที่เรามุ่งมั่นปรารถนา สังคมมีปัญหาแน่นอน และปัญหามากขึ้นด้วย การพัฒนาไม่ยั่งยืน เพราะถ้ายั่งยืนฟองสบู่คงไม่แตก ก็ต้องถามว่า 5 ยุทธศาสตร์ของรัฐบาลจะนำไปสู่เรื่องเศรษฐกิจที่ดี เรื่องสังคมที่ไม่มีปัญหา และก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
ผมก็มาดูงบประมาณที่เรากำลังจะรับหลักการ ก็พบว่าในส่วนที่ดีแล้วผมจะไม่พูด ในส่วนที่จะตัดผมก็ไม่พูด เพราะเหตุว่าผมมีสิทธิ์จะแปรญัตติตัด แต่ในส่วนที่ควรจะเพิ่ม หรือไม่ตั้งเลยแล้วควรจะตั้งเนี่ย ผมจะเสนอเป็นข้อสังเกต เพราะผมไม่มีสิทธิ์ที่จะแปรญัตติเพิ่มงบประมาณ ผมพบแนวจัดสรรงบประมาณที่ชัดในสมุดงบประมาณครับ ว่ามันมีแนวๆหนึ่งที่รัฐบาลใช้แล้วดี คือแนวการจัดสรรงบประมาณเพื่อภารกิจตามกฎหมาย ก็หมายความว่า 20 กระทรวง มีภารกิจที่กฎหมายกำหนดต้องจัดงบให้ ผมเองจะพูดเฉพาะเจาะจงไปในเรื่องของการศึกษา เพื่อให้พอเหมาะกับเวลา ก็พบว่ามันมีภารกิจตามกฎหมาย บางเรื่องอยู่ในรัฐธรรมนูญ บางเรื่องก็อยู่ในพรบ.การศึกษาแห่งชาติครับ
ที่การจัดสรรงบประมาณปี 2548 เนี่ยครับ จะไม่ช่วยให้การปฏิรูปบรรลุ และก็ไม่ได้แก้ปัญหาในสิ่งที่พบมาตั้งแต่ปี 46 หรือ 47 ขอยกตัวอย่างประการแรกครับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 43 ที่เราทราบกันดี ที่กำหนดว่าบุคคลยอมมีสิทธ์ เสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย องค์ประกอบของมาตรานี้ คือทั่วถึงก็หมายความว่าทุกคน มีคุณภาพก็คือต้องได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพใกล้เคียงกัน แล้วต้องไม่เก็บค่าใช้จ่าย กฎหมายมีสภาพบังคับตั้งแต่ปี 2545 เมื่อรัฐธรรมนูญบังคับใช้ 5 ปีก็มีการจัดสรรเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัวการศึกษาขั้นพื้นฐาน เดิมเนี่ย 12 ปีครับ ตั้งแต่ ป.1 จนถึง ม.ปลาย แล้วก็เพิ่ง 7 เม.ย.ปีนี้ครับ รัฐบาลก็ไปมีมติว่าให้ 14 ปีเอื้อมลงไปให้อนุบาลอีก 2 ปี การจัดในปีแรกก็ให้เป็นรายหัว เป็นตัวอย่างนะครับ ผมไม่เอามาทั้งหมด เพื่อประหยัดเวลา ระดับประถมหัวละ1,100 บาท ระดับมัธยมต้นหัวละ1,800 บาท ระดับมัธยมปลาย 2,700บาท แล้วก็มติครม.เมื่อ 7 เม.ย.ขยายไปอีก2 ปี รวม 14 ปี ก็เลยไปให้ในระดับอนุบาลด้วย แต่อนุบาลเพิ่งมาให้ปีนี้ครับไม่ใช่ปีที่แล้ว
มีการติดตามดูครับเนื่องจากการจัดปีแรกแน่นอนครับอาจจะผิดพลาดได้ อาจจะยังไม่ได้ผลใน 3 องค์ประกอบคือได้ทุกคน มีคุณภาพ และก็ไม่เสียค่าใช้จ่ายจริงก็พบว่า การจัดสรรเงินอุดหนุนรายหัวเนี่ย มีปัญหาหลัก 2 ประการคือ ประการแรกคือ จัดในอัตราเดิม ปี48ก็ยังอย่างเดิม ปี47 ก็ยังอัตราเดิม แล้วก็ยังจัดไม่ครบ ที่พบยว่าไม่ครบผมวิเคราะห์งบประมาณแล้วก็ถามหน่วยงานที่เกี่ยวจข้องก็คื้อในระดบอนุบาล ระดับการศึกษานอกโรงเรียน และระดับมัธยปลายในสังกัดอาชีวะศึกษา รวมกันทั้งหมด ขาดไป3,270 ล้านครับ ถ้าจัดอย่างนี้แล้วขาดไปอย่างนี้ก็แน่นอนครับ ผลกระทบมีต่อเด็กและก็ผลกระทบก็จะมีต่อสถานศึกษานั้นด้วย การจัดในอัตราที่ว่าเนี่ยมันพอดีหรือยัง ก็ปรากฏว่ากระทรวงศึกษาะการไปออกระเบียบครับว่าแม้จะจัดรายหัวให้แล้ว โรงเรียนอาจจะต้องระดมเงิน หรือทรัพยากรโดยการบริจาคด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อเอามาจัดกิจกรรมเสริมนอกเหนือจากในหลักสูตรปกติ ก็ปรากฏว่าหลังจากที่มีการใช้เงินอุดหนุนเนี่ย ผู้ปกครองในบางโรงเรียน บอกว่าเสียเงินมากกว่าเดิมอีก ก็มีการะดมทุนในรูปแบบแปลก โรงเรียนที่เสียเปรียบระดมไม่ได้ โรงเรียนนอกเมืองครับ โรงเรียนขนาดเล็กครับ โรงเรียนที่อยู่ในชนบทครับ มันก็เลยมามีผลกระทบต่อคุณภาพทางโรงเรียน แทนที่โรงเรียน ซึ่งในเมืองกับในชนบทขั้นพื้นฐานมีความเลื่อมล้ำในด้านคุณภาพอยู่แล้ว ก็เลื่อมล้ำมากขึ้น อันเนื่องมาจากโรงเรียนในเมือง อาจจะระดมทรัพยากรได้ดีกว่าโรงเรียนที่อยู่นอกเมือง เพราะฉะนั้นถ้าหากทำแล้วมันกับทำให้คุณภาพของสถานศึกษาเลื่อมล้ำ ลักลั่น แตกต่างกันมากขึ้น ทำให้ภาระการไประดมทุนหาทรัพยากรเป็นภาระอาจจะเกินกำลังสถานศึกษา กรณีนี้มันก็ต้องส่วนทางกับเจตนารมย์ เพราะมาตรา 43 มี 3 องค์ประกอบ ทั่วถึง มีคุณภาพ ไม่เก็บค่าใช่จ่าย แต่ตอนนี้ไม่เก็บโดยตรงแต่ต้องไประดมทางอ้อม
ผมชื่นชมกระทรวงศึกษาธิการครับที่เขาเตรียมการไว้ตั้งแต่ปี 2545 ครับ โดยเขาหาผู้ทรงคุณวุฒิขออนุญาตเอ่ยนามครับ มี ศจ.ดร.เทียนฉาย กีระนันทน์ จากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ และก็รวมผู้ทรงคุณวุฒิมาเป็นคณะทำงาน เขาทำการศึกษาเรื่องนี้ในปี 45 เพื่อหวังว่าถ้าได้อัตราที่เหมาะสมจากการวิจัยจะได้ใช้ปี 47 เขาทำเสร็จปี 46 ครับ หวังว่าจะได้ใช้ปี 47 รายงานรูปร่างหน้าตาอย่างนี้ครับ เป็นสมุดปกขาว ซึ่งเป็นการวิจัยในเรื่องการศึกษาค่าใช้จ่ายต่อหัวในการจัดการศึกษขั้นพื้นฐานจำนวน 12 ปี ก็ปรากฏว่าจัดให้ในอัตราเดิม และ48 ก็ยังจัดอัตรานี้ครับ ต่ำไปกว่าที่ควรจะเป็น แล้วแต่ระดับนะครับ 400-500 บาท ต่อหัวครับ เพราะฉะนั้นถ้าปี 48 ถ้าจะจัดแล้วทำให้โรงเรียนเขาไม่ต้องไประดมทุนมากมายก่ายกอง จนกลายเป็นภาระเกินกำลัง เพื่อให้คุณภาพการศึกษาดี และใกล้เคียงกันเลย ก็ควรจะต้องเพิ่มขึ้น 400-500 บาทต่อหัว คำนวณแล้วครับปี48 ต้องจัดเพิ่มให้ 5,400 ล้านบาท สำหรับคนประมาณ 12 ล้าน ซึ่งในกรณีนี้ 5,400 ล้านไม่ใช่เงินมาก ถ้าไปดูที่ท่านจัดยุทธศาสตร์ ที่เป็นงบกลางเอาไปกองไว้เป็นหมื่นๆ แสนๆล้าน ตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญมากในแง่การศึกษา เพราะถ้าการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่ดี ผลพวงก็มาถึงอุดมครับก็ดีไม่ได้ และตอนนี้ไม่ว่าใครประเมินก็บอกว่าคุณภาพการศึกษาไทยแย่ และต้องหาทางแก้ ซึ่งถ้าปล่อยอย่างนี้ก็จะไม่มีทางแก้ครับ เพราะฉะนั้นที่มาตรา 43 คล้ายๆ อยากจะให้เรียนฟรีและมีคุณภาพ เรียนก็ไม่ฟรีนะครับตอนนี้ แล้วคุณภาพก็ยังไม่มีในระดับที่น่าพอใจ
ประเด็นที่ 2 ครับ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการศึกษาต่างๆ 6 กองทุนนะครับอยู่ในพรบ.นี้ กำหนดชัดเจนในพรบ.ก็มีกองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา ตามมาตรรา 52 กองทุนส่งเสริมครู คณาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา ตามมาตรา 55 ทุนการศึกษาในรูปกองทุนกู้ยืมให้แก่ผู้เรียนที่มาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อยมาตรา 60 จัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการศึกษาของรัฐเอกชนมาตรา 60 เช่นเดียวกัน จัดตั้งกองทุนเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาตามาตรา 68 ระบุชัดเจนครับ และนี้เป็นภารกิจตามกฎหมายนะครับ รัฐบาลนี้ไม่ได้ดำเนินการแม้แต่กองทุนเดียว กองทุนที่มีอยู่เดิมก็ไม่จัดเติมให้มาหลายปีแล้วครับ เช่นผมท้วงอยู่ทุกปี กองทุนแก้ปัญหาหนี้สินครู มีอยู่แล้วครับปีที่แล้วก็ไม่จัดให้ ปีนี้ก็ไม่จัด กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 2ปีแล้วครับไม่จัดให้แล้วปีนี้ก็ไม่จัด กองทุนมีอยู่ครับ กองทุนเงินยืมเพื่อพัฒนาอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาเอกชน กองทุนมีก็ไม่ได้จัดเติม รวมทั้งมีการปรับเปลี่ยนระบบการกู้ยืมเงินของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ซึ่งกองทุนนี้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี2539 ครับ มีคนกู้ยืมไปแล้ว 2 ล้านกว่า เป็นความหวังของคนจนครับ คือถ้าเขาจะเรียนระดับ ม.ปลาย หรือเรียนระดับอุดมเขาสามารถยืมโดยเสียดอกเบี้ยร้อยละ 1 แล้วก็ผ่อนชำระ 5 ปี ปรากฏว่ารัฐบาลได้ปรับเปลี่ยน แล้วก็เพิ่งผ่านครม.มาได้เดือนกว่าๆ หรือ 2 เดือนครับ เมื่อออกข่าวมาก็ฮือฮากันทั้งประเทศ ว่าการที่ไปเปลี่ยนว่ากองทุนเนี่ยไม่ให้แล้วระดับ ม.ปลาย ๆจะให้เป็นทุนให้เปล่า จะให้ยืมแต่เฉพาะระดับปริญญา และปริญญาก็จะให้ยืมเฉพาะส่วน ที่เป็นค่าเล่าเรียนที่จะต้องจ่ายให้สถาบัน ค่าใช้จ่ายส่วนตัวนั้นอาจจะเป็นทุนให้เปล่า หรืออาจจะเป็นเรื่องที่ต้องช่วยตัวเองก็แล้วแต่ การที่ไปตัดคือให้โอกาสทั้งผู้มีรายได้น้อย และคนที่มีฐานกู้ยืมได้เนี่ย ฟังดูในหลักก็แลดูดีเสมอภาคกัน แต่ถามว่ามีเงินจัดหรือครับ ขณะนี้เพียงแต่ให้กับผู้ที่มีรายได้น้อยก็จัดเงินให้ไม่เพียงพออยู่แล้ว แล้วผมจะชี้ให้เห็นว่าไม่เพียงพออย่างไร
แต่ว่าผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอาจจะเป็นเรื่องอ่อนประชาสัมพันธ์ก็เป็นได้ พอประกาศออกไปว่าจะมีการปรับเปลี่ยนกองทุนเป็นรูปนี้นะครับ นักเรียม.ปลายเกิดความสับสน เกิดผลกระทบครับ เพราะเขาเข้าใจว่าระบบใหม่เริ่มใช้แล้ว กู้ยืมไม่ได้แล้ว ส่วนทุนให้เปล่าก็ยังไม่ได้จัด ผมก็ตรวจสอบไปที่สำนักงานกองทุน ก็มันจะเข้าสุ่ระบบใหม่ได้อย่างไรครับ ในเมื่อระบบเดิมเป็นพรบ.คุ้มครองอยู่ ก็ต้องมาแก้พรบ.ก่อน และบัดนี้พรบ.ก็ยังไม่มาตรงนี้ไม่มีความชัดเจน แต่นี้ผลกระทบคืออะไร ผู้จบม.ปลายที่เคยกู้ยืมเรียม.ปลายเนี่ย เข้าใจว่าหมดสิทธิ์ที่จะกู้ยืมต่อเนื่อง เดิมเขาเข้าใจว่าเขามีสิทธิ์ต่อเนื่อง เช่นม.ปลายคือ ม. 6 ยืม มาเข้าปี1 มหาวิทยาลัยก็กู้ต่อเนื่อง เขาเข้าใจว่าไม่มีแล้ว เนื่องจากกองทุนก็ไปกำหนดวงเงินให้กับสถาบันช้าด้วย เปิดเทอมแล้วก็ยังไม่ทราบว่าจะได้เท่าไหร่ ทำให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเอกชนเกือบทุกแห่งเลยลดลงครับ บางแห่งลด30%- 40%
ผมก็ทราบถามเขาครับว่าทราบไหมสาเหตุอะไรถึงลด ก็เด็กบอกเขาว่าไม่มีเงินกู้ยืม เพราะฉะนั้นเขาก็จึงไม่มา นี่คือผลกระทบที่ทั่งๆที่การเปลี่ยนแปลง เนี่ยเพิ่งผ่านมติครม. และจริงๆก็ยังไม่มีผลบังคับใช้แต่ไปสื่อความกันอย่างไรไม่ทราบครับ เกิดความเข้าใจผิดก็จะต้องรีบดำเนินการแก้ไข แต่นี้ ส่วนที่ผมบอกว่ามันขาดไปแล้วกราบเรียนท่านประธานผ่านไปยังรัฐบาลผมไม่สามารถแปลญัตติเติมให้ได้ครับ คือการจัดสรรงบประมาณเพื่อกองทุน ปี 48 เนี่ยจัดตามระบบเดิมยังไม่ได้จัดตามระบบใหม่ เกือบจะไม่ได้เพิ่มเลยครับ ปี 47 จัดให้ 27,160 ปี48ก็จัดให้ 27,383 แต่ว่าไปเพิ่มค่าบริหาร ค่าไอที ก็ถือว่าไม่เพิ่มครับ ก็ไปดูเรื่องความต้องการของผู้ยืมที่สำนักงานกองทุนให้กู้ยืมเขาประมาณการณ์ เขาประมาณการณ์ว่าจะต้องใช้เงิน 35,067 ล้านครับ เมื่อเป็นเช่นนี้มันก็จัดสรรขาดไป 7,600 กว่าล้านครับ แต่นี้ถามว่าผลกระทบจะเป็นอย่างไรถ้าประมาณการณ์นี้ถูก ผู้กู้ยืมสำนักงานประมาณไว้ว่า ล้านเจ็ด โดยประมาณนะครับ ได้รับจัดสรรมาเพียงล้านห้า โดยประมาณ เพราะฉะนั้นก็จะขาดไปประมาณเกือบ สองแสนคนนะครับ แล้วผู้กู้รายใหม่เขาประมาณการณ์มาแสนห้า ทางนี้จัดให้แสนเดียว ถ้าจะยังเป็นกองทุนแบบเดิมก็น่าจะทบทวนครับ ผมไม่มีสิทธิ์แปลญัตติเพิ่มให้ก็ขอกราบเรียน เพื่อที่จะได้ช่วยกันดูแลแก้ไข
อีกประเด็นหนึ่งนะครับ เรื่องพรบ.เจ้าปัญหา คือการที่พรบ.การศึกษาแห่งชาติกำหนดให้มีพรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และตกไปและขณะนี้กลับมาใหม่อยู่ที่คณะกรรมาธิการ และก็มีปัญหาว่าควรจะแนบบัญชีเงินเดือนหรือไม่แนบ ในที่สุดตอนนี้ไม่มีปัญหาแล้ว เพราะบัญชีเงินเดือนกับไอ้ตัว พรบ.หลักมาเป็น 2 ฉบับก็จริงแต่เข้าสภาพร้อมกัน และไปสู่กรรมาธิการพร้อมกัน เราก็เร่งครับ เพราะพรบ.เจ้าปัญหาอันนี้ถ้าไม่ออกการบริหารงานตามโครงสร้างใหม่ก็จะมีปัญหาเหนี่ยวรั้งกันหมด เพราะใช้พรบ.เก่าก็ไม่ได้ พรบ.ใหม่ก็ยังไม่ออก ถึงกับฟ้องร้องกันนะครับเรื่องนี้ ถึงกับแต่งดำก็เพราะเรื่องนี้ เราก็อยากให้ออกเร็วครับ ผมก็มาดูว่ารัฐบาลได้เตรียมงบประมาณสำหรับเงินเดือนใหม่ตามบัญชีที่รัฐบาลเสนอ ซึ่งก็คำนวณกันแล้ว ว่าคงจะต้องมีงบประมาณเพิ่มขึ้น 5,000-7,000 ล้าน แล้วแต่ว่าเมื่อกรรมาธิการดูแล้ว จะปรับตรงไหนลดจะปรับตรงไหนเพิ่มก็แล้วแต่นะครับ ปัญหาก็คือว่าถ้าไม่เตรียมงบประมาณส่วนนี้ สมมุติพรบ.ออกมาในการเปิดสมัยประชุมมีผลบังคับใช้ไม่มีเงินครับ รัฐบาลอาจจะบอกว่าไม่เป็นไรหรอก เพราะว่าเอาเงินไปกองไว้ในงบกลางอื่นๆเยอะแยะเลย แต่ในแง่ครูครับ หกแสนคนเขาดูอันนี้อยู่ ถ้ามันมีรายการของเขาอยู่ขวัญกำลังใจก็จะดี
ประเด็นสุดท้ายครับ คือเรื่องการจัดสรรงบประมาณตามยุทธศาสตร์ที่ผมเห็นด้วยมาก และผมว่ามาถึงจุดนี้เนี่ยเป็นยุทธศาสตร์ที่ต้องให้ความสำคัญสูงสุดเป็นยุทธศาสตร์หนึ่ง ในกมทรเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในการเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ และที่สำคัญที่สุดรัฐบาลก็ย้ำอยู่ตลอด ว่าจะต้องเสริมสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมฐานความรู้ เศรษฐกิจก็ฐานความรู้ สังคมก็ฐานความรู้ เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้เนี่ยถามว่าต้องทำอะไร ไม่ใช่อยู่ๆมันเป็นไปได้เอง ก็บอกว่าสิ่งที่ต้องทำเนี่ยอันที่ 1 วิจัยพัฒนาการสร้างนวัตกรรม เพื่อสร้างองค์ความรู้ อันที่2 ต้องพัฒนาคนโดยเฉพาะคนที่จะเป็นกำลังหลักในการพัฒนา ผมก็มาดูงบประมาณครับ ว่าายุทธศาสตร์นี้จะดงบประมาณเพื่อนวัตกรรมและการวิจัยเท่าไหร่ไม่ได้เพิ่มขึ้นหรอกครับ บางเรื่องลดลงด้วย รวมแล้วประมาณ หมื่นล้าน คิดเป็นร้อยละ0.18 นะครับ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ถ้าเทียบกับประเทศในระดับพัฒนาอย่างนี้ เช่นมาเลเซียและเพื่อนบ้านเนี่ยเขาไปกัน 2% และ 3%กันแล้ว ของจีดีพี เราก็ยังจัด0.18 แล้วก็บอกว่าเราจะต้องมีศักยภานในการแข่งขัน เราจะต้องสามารถพัฒนาที่ยั่งยืนได้ ผมวิงวอนครับว่าเรื่องนี้บทเรียนของเกาหลีเมื่อ 30 ปีที่แล้วชัดเจนเลย ว่าเพราะเขาทุ่มเททั้งวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เขาทุ่มเทการพัฒนากำลังพล เขาทุ่มวิจัยและพัฒนามาบัดนี้ เขายืนบนขาตัวเองได้ เขาแข็งแรงในเรื่องนี้พอสมควร พราะฉะนั้นผมก็อยากจะกราบเรียนท่านประธานไปยังรัฐบาลว่าประเด็นเหล่านี้ ขอฝากกรรมาธิการ ประเด็นเหล่านี้รัฐบาลเท่านั้นจะเป็นผู้เพิ่มให้ได้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 23 มิ.ย. 2547--จบ--
-ดท-
เมื่อฟองสบู่แตกเราพบว่าทั้ง 3 เรื่อง นั้น เศรษฐกิจก็ไม่ดีตอนนี้แม้จะดีขึ้นบ้าง แต่ก็ยังไม่ดีอย่างที่เรามุ่งมั่นปรารถนา สังคมมีปัญหาแน่นอน และปัญหามากขึ้นด้วย การพัฒนาไม่ยั่งยืน เพราะถ้ายั่งยืนฟองสบู่คงไม่แตก ก็ต้องถามว่า 5 ยุทธศาสตร์ของรัฐบาลจะนำไปสู่เรื่องเศรษฐกิจที่ดี เรื่องสังคมที่ไม่มีปัญหา และก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
ผมก็มาดูงบประมาณที่เรากำลังจะรับหลักการ ก็พบว่าในส่วนที่ดีแล้วผมจะไม่พูด ในส่วนที่จะตัดผมก็ไม่พูด เพราะเหตุว่าผมมีสิทธิ์จะแปรญัตติตัด แต่ในส่วนที่ควรจะเพิ่ม หรือไม่ตั้งเลยแล้วควรจะตั้งเนี่ย ผมจะเสนอเป็นข้อสังเกต เพราะผมไม่มีสิทธิ์ที่จะแปรญัตติเพิ่มงบประมาณ ผมพบแนวจัดสรรงบประมาณที่ชัดในสมุดงบประมาณครับ ว่ามันมีแนวๆหนึ่งที่รัฐบาลใช้แล้วดี คือแนวการจัดสรรงบประมาณเพื่อภารกิจตามกฎหมาย ก็หมายความว่า 20 กระทรวง มีภารกิจที่กฎหมายกำหนดต้องจัดงบให้ ผมเองจะพูดเฉพาะเจาะจงไปในเรื่องของการศึกษา เพื่อให้พอเหมาะกับเวลา ก็พบว่ามันมีภารกิจตามกฎหมาย บางเรื่องอยู่ในรัฐธรรมนูญ บางเรื่องก็อยู่ในพรบ.การศึกษาแห่งชาติครับ
ที่การจัดสรรงบประมาณปี 2548 เนี่ยครับ จะไม่ช่วยให้การปฏิรูปบรรลุ และก็ไม่ได้แก้ปัญหาในสิ่งที่พบมาตั้งแต่ปี 46 หรือ 47 ขอยกตัวอย่างประการแรกครับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 43 ที่เราทราบกันดี ที่กำหนดว่าบุคคลยอมมีสิทธ์ เสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย องค์ประกอบของมาตรานี้ คือทั่วถึงก็หมายความว่าทุกคน มีคุณภาพก็คือต้องได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพใกล้เคียงกัน แล้วต้องไม่เก็บค่าใช้จ่าย กฎหมายมีสภาพบังคับตั้งแต่ปี 2545 เมื่อรัฐธรรมนูญบังคับใช้ 5 ปีก็มีการจัดสรรเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัวการศึกษาขั้นพื้นฐาน เดิมเนี่ย 12 ปีครับ ตั้งแต่ ป.1 จนถึง ม.ปลาย แล้วก็เพิ่ง 7 เม.ย.ปีนี้ครับ รัฐบาลก็ไปมีมติว่าให้ 14 ปีเอื้อมลงไปให้อนุบาลอีก 2 ปี การจัดในปีแรกก็ให้เป็นรายหัว เป็นตัวอย่างนะครับ ผมไม่เอามาทั้งหมด เพื่อประหยัดเวลา ระดับประถมหัวละ1,100 บาท ระดับมัธยมต้นหัวละ1,800 บาท ระดับมัธยมปลาย 2,700บาท แล้วก็มติครม.เมื่อ 7 เม.ย.ขยายไปอีก2 ปี รวม 14 ปี ก็เลยไปให้ในระดับอนุบาลด้วย แต่อนุบาลเพิ่งมาให้ปีนี้ครับไม่ใช่ปีที่แล้ว
มีการติดตามดูครับเนื่องจากการจัดปีแรกแน่นอนครับอาจจะผิดพลาดได้ อาจจะยังไม่ได้ผลใน 3 องค์ประกอบคือได้ทุกคน มีคุณภาพ และก็ไม่เสียค่าใช้จ่ายจริงก็พบว่า การจัดสรรเงินอุดหนุนรายหัวเนี่ย มีปัญหาหลัก 2 ประการคือ ประการแรกคือ จัดในอัตราเดิม ปี48ก็ยังอย่างเดิม ปี47 ก็ยังอัตราเดิม แล้วก็ยังจัดไม่ครบ ที่พบยว่าไม่ครบผมวิเคราะห์งบประมาณแล้วก็ถามหน่วยงานที่เกี่ยวจข้องก็คื้อในระดบอนุบาล ระดับการศึกษานอกโรงเรียน และระดับมัธยปลายในสังกัดอาชีวะศึกษา รวมกันทั้งหมด ขาดไป3,270 ล้านครับ ถ้าจัดอย่างนี้แล้วขาดไปอย่างนี้ก็แน่นอนครับ ผลกระทบมีต่อเด็กและก็ผลกระทบก็จะมีต่อสถานศึกษานั้นด้วย การจัดในอัตราที่ว่าเนี่ยมันพอดีหรือยัง ก็ปรากฏว่ากระทรวงศึกษาะการไปออกระเบียบครับว่าแม้จะจัดรายหัวให้แล้ว โรงเรียนอาจจะต้องระดมเงิน หรือทรัพยากรโดยการบริจาคด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อเอามาจัดกิจกรรมเสริมนอกเหนือจากในหลักสูตรปกติ ก็ปรากฏว่าหลังจากที่มีการใช้เงินอุดหนุนเนี่ย ผู้ปกครองในบางโรงเรียน บอกว่าเสียเงินมากกว่าเดิมอีก ก็มีการะดมทุนในรูปแบบแปลก โรงเรียนที่เสียเปรียบระดมไม่ได้ โรงเรียนนอกเมืองครับ โรงเรียนขนาดเล็กครับ โรงเรียนที่อยู่ในชนบทครับ มันก็เลยมามีผลกระทบต่อคุณภาพทางโรงเรียน แทนที่โรงเรียน ซึ่งในเมืองกับในชนบทขั้นพื้นฐานมีความเลื่อมล้ำในด้านคุณภาพอยู่แล้ว ก็เลื่อมล้ำมากขึ้น อันเนื่องมาจากโรงเรียนในเมือง อาจจะระดมทรัพยากรได้ดีกว่าโรงเรียนที่อยู่นอกเมือง เพราะฉะนั้นถ้าหากทำแล้วมันกับทำให้คุณภาพของสถานศึกษาเลื่อมล้ำ ลักลั่น แตกต่างกันมากขึ้น ทำให้ภาระการไประดมทุนหาทรัพยากรเป็นภาระอาจจะเกินกำลังสถานศึกษา กรณีนี้มันก็ต้องส่วนทางกับเจตนารมย์ เพราะมาตรา 43 มี 3 องค์ประกอบ ทั่วถึง มีคุณภาพ ไม่เก็บค่าใช่จ่าย แต่ตอนนี้ไม่เก็บโดยตรงแต่ต้องไประดมทางอ้อม
ผมชื่นชมกระทรวงศึกษาธิการครับที่เขาเตรียมการไว้ตั้งแต่ปี 2545 ครับ โดยเขาหาผู้ทรงคุณวุฒิขออนุญาตเอ่ยนามครับ มี ศจ.ดร.เทียนฉาย กีระนันทน์ จากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ และก็รวมผู้ทรงคุณวุฒิมาเป็นคณะทำงาน เขาทำการศึกษาเรื่องนี้ในปี 45 เพื่อหวังว่าถ้าได้อัตราที่เหมาะสมจากการวิจัยจะได้ใช้ปี 47 เขาทำเสร็จปี 46 ครับ หวังว่าจะได้ใช้ปี 47 รายงานรูปร่างหน้าตาอย่างนี้ครับ เป็นสมุดปกขาว ซึ่งเป็นการวิจัยในเรื่องการศึกษาค่าใช้จ่ายต่อหัวในการจัดการศึกษขั้นพื้นฐานจำนวน 12 ปี ก็ปรากฏว่าจัดให้ในอัตราเดิม และ48 ก็ยังจัดอัตรานี้ครับ ต่ำไปกว่าที่ควรจะเป็น แล้วแต่ระดับนะครับ 400-500 บาท ต่อหัวครับ เพราะฉะนั้นถ้าปี 48 ถ้าจะจัดแล้วทำให้โรงเรียนเขาไม่ต้องไประดมทุนมากมายก่ายกอง จนกลายเป็นภาระเกินกำลัง เพื่อให้คุณภาพการศึกษาดี และใกล้เคียงกันเลย ก็ควรจะต้องเพิ่มขึ้น 400-500 บาทต่อหัว คำนวณแล้วครับปี48 ต้องจัดเพิ่มให้ 5,400 ล้านบาท สำหรับคนประมาณ 12 ล้าน ซึ่งในกรณีนี้ 5,400 ล้านไม่ใช่เงินมาก ถ้าไปดูที่ท่านจัดยุทธศาสตร์ ที่เป็นงบกลางเอาไปกองไว้เป็นหมื่นๆ แสนๆล้าน ตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญมากในแง่การศึกษา เพราะถ้าการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่ดี ผลพวงก็มาถึงอุดมครับก็ดีไม่ได้ และตอนนี้ไม่ว่าใครประเมินก็บอกว่าคุณภาพการศึกษาไทยแย่ และต้องหาทางแก้ ซึ่งถ้าปล่อยอย่างนี้ก็จะไม่มีทางแก้ครับ เพราะฉะนั้นที่มาตรา 43 คล้ายๆ อยากจะให้เรียนฟรีและมีคุณภาพ เรียนก็ไม่ฟรีนะครับตอนนี้ แล้วคุณภาพก็ยังไม่มีในระดับที่น่าพอใจ
ประเด็นที่ 2 ครับ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการศึกษาต่างๆ 6 กองทุนนะครับอยู่ในพรบ.นี้ กำหนดชัดเจนในพรบ.ก็มีกองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา ตามมาตรรา 52 กองทุนส่งเสริมครู คณาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา ตามมาตรา 55 ทุนการศึกษาในรูปกองทุนกู้ยืมให้แก่ผู้เรียนที่มาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อยมาตรา 60 จัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการศึกษาของรัฐเอกชนมาตรา 60 เช่นเดียวกัน จัดตั้งกองทุนเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาตามาตรา 68 ระบุชัดเจนครับ และนี้เป็นภารกิจตามกฎหมายนะครับ รัฐบาลนี้ไม่ได้ดำเนินการแม้แต่กองทุนเดียว กองทุนที่มีอยู่เดิมก็ไม่จัดเติมให้มาหลายปีแล้วครับ เช่นผมท้วงอยู่ทุกปี กองทุนแก้ปัญหาหนี้สินครู มีอยู่แล้วครับปีที่แล้วก็ไม่จัดให้ ปีนี้ก็ไม่จัด กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 2ปีแล้วครับไม่จัดให้แล้วปีนี้ก็ไม่จัด กองทุนมีอยู่ครับ กองทุนเงินยืมเพื่อพัฒนาอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาเอกชน กองทุนมีก็ไม่ได้จัดเติม รวมทั้งมีการปรับเปลี่ยนระบบการกู้ยืมเงินของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ซึ่งกองทุนนี้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี2539 ครับ มีคนกู้ยืมไปแล้ว 2 ล้านกว่า เป็นความหวังของคนจนครับ คือถ้าเขาจะเรียนระดับ ม.ปลาย หรือเรียนระดับอุดมเขาสามารถยืมโดยเสียดอกเบี้ยร้อยละ 1 แล้วก็ผ่อนชำระ 5 ปี ปรากฏว่ารัฐบาลได้ปรับเปลี่ยน แล้วก็เพิ่งผ่านครม.มาได้เดือนกว่าๆ หรือ 2 เดือนครับ เมื่อออกข่าวมาก็ฮือฮากันทั้งประเทศ ว่าการที่ไปเปลี่ยนว่ากองทุนเนี่ยไม่ให้แล้วระดับ ม.ปลาย ๆจะให้เป็นทุนให้เปล่า จะให้ยืมแต่เฉพาะระดับปริญญา และปริญญาก็จะให้ยืมเฉพาะส่วน ที่เป็นค่าเล่าเรียนที่จะต้องจ่ายให้สถาบัน ค่าใช้จ่ายส่วนตัวนั้นอาจจะเป็นทุนให้เปล่า หรืออาจจะเป็นเรื่องที่ต้องช่วยตัวเองก็แล้วแต่ การที่ไปตัดคือให้โอกาสทั้งผู้มีรายได้น้อย และคนที่มีฐานกู้ยืมได้เนี่ย ฟังดูในหลักก็แลดูดีเสมอภาคกัน แต่ถามว่ามีเงินจัดหรือครับ ขณะนี้เพียงแต่ให้กับผู้ที่มีรายได้น้อยก็จัดเงินให้ไม่เพียงพออยู่แล้ว แล้วผมจะชี้ให้เห็นว่าไม่เพียงพออย่างไร
แต่ว่าผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอาจจะเป็นเรื่องอ่อนประชาสัมพันธ์ก็เป็นได้ พอประกาศออกไปว่าจะมีการปรับเปลี่ยนกองทุนเป็นรูปนี้นะครับ นักเรียม.ปลายเกิดความสับสน เกิดผลกระทบครับ เพราะเขาเข้าใจว่าระบบใหม่เริ่มใช้แล้ว กู้ยืมไม่ได้แล้ว ส่วนทุนให้เปล่าก็ยังไม่ได้จัด ผมก็ตรวจสอบไปที่สำนักงานกองทุน ก็มันจะเข้าสุ่ระบบใหม่ได้อย่างไรครับ ในเมื่อระบบเดิมเป็นพรบ.คุ้มครองอยู่ ก็ต้องมาแก้พรบ.ก่อน และบัดนี้พรบ.ก็ยังไม่มาตรงนี้ไม่มีความชัดเจน แต่นี้ผลกระทบคืออะไร ผู้จบม.ปลายที่เคยกู้ยืมเรียม.ปลายเนี่ย เข้าใจว่าหมดสิทธิ์ที่จะกู้ยืมต่อเนื่อง เดิมเขาเข้าใจว่าเขามีสิทธิ์ต่อเนื่อง เช่นม.ปลายคือ ม. 6 ยืม มาเข้าปี1 มหาวิทยาลัยก็กู้ต่อเนื่อง เขาเข้าใจว่าไม่มีแล้ว เนื่องจากกองทุนก็ไปกำหนดวงเงินให้กับสถาบันช้าด้วย เปิดเทอมแล้วก็ยังไม่ทราบว่าจะได้เท่าไหร่ ทำให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเอกชนเกือบทุกแห่งเลยลดลงครับ บางแห่งลด30%- 40%
ผมก็ทราบถามเขาครับว่าทราบไหมสาเหตุอะไรถึงลด ก็เด็กบอกเขาว่าไม่มีเงินกู้ยืม เพราะฉะนั้นเขาก็จึงไม่มา นี่คือผลกระทบที่ทั่งๆที่การเปลี่ยนแปลง เนี่ยเพิ่งผ่านมติครม. และจริงๆก็ยังไม่มีผลบังคับใช้แต่ไปสื่อความกันอย่างไรไม่ทราบครับ เกิดความเข้าใจผิดก็จะต้องรีบดำเนินการแก้ไข แต่นี้ ส่วนที่ผมบอกว่ามันขาดไปแล้วกราบเรียนท่านประธานผ่านไปยังรัฐบาลผมไม่สามารถแปลญัตติเติมให้ได้ครับ คือการจัดสรรงบประมาณเพื่อกองทุน ปี 48 เนี่ยจัดตามระบบเดิมยังไม่ได้จัดตามระบบใหม่ เกือบจะไม่ได้เพิ่มเลยครับ ปี 47 จัดให้ 27,160 ปี48ก็จัดให้ 27,383 แต่ว่าไปเพิ่มค่าบริหาร ค่าไอที ก็ถือว่าไม่เพิ่มครับ ก็ไปดูเรื่องความต้องการของผู้ยืมที่สำนักงานกองทุนให้กู้ยืมเขาประมาณการณ์ เขาประมาณการณ์ว่าจะต้องใช้เงิน 35,067 ล้านครับ เมื่อเป็นเช่นนี้มันก็จัดสรรขาดไป 7,600 กว่าล้านครับ แต่นี้ถามว่าผลกระทบจะเป็นอย่างไรถ้าประมาณการณ์นี้ถูก ผู้กู้ยืมสำนักงานประมาณไว้ว่า ล้านเจ็ด โดยประมาณนะครับ ได้รับจัดสรรมาเพียงล้านห้า โดยประมาณ เพราะฉะนั้นก็จะขาดไปประมาณเกือบ สองแสนคนนะครับ แล้วผู้กู้รายใหม่เขาประมาณการณ์มาแสนห้า ทางนี้จัดให้แสนเดียว ถ้าจะยังเป็นกองทุนแบบเดิมก็น่าจะทบทวนครับ ผมไม่มีสิทธิ์แปลญัตติเพิ่มให้ก็ขอกราบเรียน เพื่อที่จะได้ช่วยกันดูแลแก้ไข
อีกประเด็นหนึ่งนะครับ เรื่องพรบ.เจ้าปัญหา คือการที่พรบ.การศึกษาแห่งชาติกำหนดให้มีพรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และตกไปและขณะนี้กลับมาใหม่อยู่ที่คณะกรรมาธิการ และก็มีปัญหาว่าควรจะแนบบัญชีเงินเดือนหรือไม่แนบ ในที่สุดตอนนี้ไม่มีปัญหาแล้ว เพราะบัญชีเงินเดือนกับไอ้ตัว พรบ.หลักมาเป็น 2 ฉบับก็จริงแต่เข้าสภาพร้อมกัน และไปสู่กรรมาธิการพร้อมกัน เราก็เร่งครับ เพราะพรบ.เจ้าปัญหาอันนี้ถ้าไม่ออกการบริหารงานตามโครงสร้างใหม่ก็จะมีปัญหาเหนี่ยวรั้งกันหมด เพราะใช้พรบ.เก่าก็ไม่ได้ พรบ.ใหม่ก็ยังไม่ออก ถึงกับฟ้องร้องกันนะครับเรื่องนี้ ถึงกับแต่งดำก็เพราะเรื่องนี้ เราก็อยากให้ออกเร็วครับ ผมก็มาดูว่ารัฐบาลได้เตรียมงบประมาณสำหรับเงินเดือนใหม่ตามบัญชีที่รัฐบาลเสนอ ซึ่งก็คำนวณกันแล้ว ว่าคงจะต้องมีงบประมาณเพิ่มขึ้น 5,000-7,000 ล้าน แล้วแต่ว่าเมื่อกรรมาธิการดูแล้ว จะปรับตรงไหนลดจะปรับตรงไหนเพิ่มก็แล้วแต่นะครับ ปัญหาก็คือว่าถ้าไม่เตรียมงบประมาณส่วนนี้ สมมุติพรบ.ออกมาในการเปิดสมัยประชุมมีผลบังคับใช้ไม่มีเงินครับ รัฐบาลอาจจะบอกว่าไม่เป็นไรหรอก เพราะว่าเอาเงินไปกองไว้ในงบกลางอื่นๆเยอะแยะเลย แต่ในแง่ครูครับ หกแสนคนเขาดูอันนี้อยู่ ถ้ามันมีรายการของเขาอยู่ขวัญกำลังใจก็จะดี
ประเด็นสุดท้ายครับ คือเรื่องการจัดสรรงบประมาณตามยุทธศาสตร์ที่ผมเห็นด้วยมาก และผมว่ามาถึงจุดนี้เนี่ยเป็นยุทธศาสตร์ที่ต้องให้ความสำคัญสูงสุดเป็นยุทธศาสตร์หนึ่ง ในกมทรเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในการเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ และที่สำคัญที่สุดรัฐบาลก็ย้ำอยู่ตลอด ว่าจะต้องเสริมสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมฐานความรู้ เศรษฐกิจก็ฐานความรู้ สังคมก็ฐานความรู้ เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้เนี่ยถามว่าต้องทำอะไร ไม่ใช่อยู่ๆมันเป็นไปได้เอง ก็บอกว่าสิ่งที่ต้องทำเนี่ยอันที่ 1 วิจัยพัฒนาการสร้างนวัตกรรม เพื่อสร้างองค์ความรู้ อันที่2 ต้องพัฒนาคนโดยเฉพาะคนที่จะเป็นกำลังหลักในการพัฒนา ผมก็มาดูงบประมาณครับ ว่าายุทธศาสตร์นี้จะดงบประมาณเพื่อนวัตกรรมและการวิจัยเท่าไหร่ไม่ได้เพิ่มขึ้นหรอกครับ บางเรื่องลดลงด้วย รวมแล้วประมาณ หมื่นล้าน คิดเป็นร้อยละ0.18 นะครับ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ถ้าเทียบกับประเทศในระดับพัฒนาอย่างนี้ เช่นมาเลเซียและเพื่อนบ้านเนี่ยเขาไปกัน 2% และ 3%กันแล้ว ของจีดีพี เราก็ยังจัด0.18 แล้วก็บอกว่าเราจะต้องมีศักยภานในการแข่งขัน เราจะต้องสามารถพัฒนาที่ยั่งยืนได้ ผมวิงวอนครับว่าเรื่องนี้บทเรียนของเกาหลีเมื่อ 30 ปีที่แล้วชัดเจนเลย ว่าเพราะเขาทุ่มเททั้งวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เขาทุ่มเทการพัฒนากำลังพล เขาทุ่มวิจัยและพัฒนามาบัดนี้ เขายืนบนขาตัวเองได้ เขาแข็งแรงในเรื่องนี้พอสมควร พราะฉะนั้นผมก็อยากจะกราบเรียนท่านประธานไปยังรัฐบาลว่าประเด็นเหล่านี้ ขอฝากกรรมาธิการ ประเด็นเหล่านี้รัฐบาลเท่านั้นจะเป็นผู้เพิ่มให้ได้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 23 มิ.ย. 2547--จบ--
-ดท-