นายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอภิปรายงบประมาณประจำปี 2548 ในประเด็นการจัดสรรงบประมาณตามยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2548 โดยกล่าวถึง ยุทธศาสตร์ที่ 5 คือ ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการประเทศ ซึ่งได้รับงบประมาณจัดสรรสูงสุดเป็นสัดส่วน 35.8% เป็นเงิน 430,212 ล้านบาท การบริหารจัดการหนี้ภาครัฐมีอยู่ 144,278 ล้านบาท เป็นเรื่องของงบชำระหนี้ ซึ่งเป็นหนี้สาธารณะ จึงอยากทราบว่าเมื่อมีงบชำระหนี้ทุกปี ตั้งแต่ปี 2545- 2548 รวมแล้ว 400,000 กว่าล้านบาท แต่ทำไมยอดรวมหนี้สาธารณะมันลดลงเหลือเพียงแค่ 84,000 จึงอยากให้รัฐบาลได้ชี้แจงให้ประชาชนทราบว่าจริงๆ แล้วหนี้เพิ่มขึ้นหรือลดลง
‘นอกจากนั้นก็มีความเป็นห่วงในเรื่องของงบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 19,548 ล้าน(งบไม่คงที่) คาดว่าคงเป็นงบตามอารมณ์ของรัฐบาลมากกว่า ปีไหนอยากให้มีกิจการบ้านเมืองที่ดี เริ่มต้นปีแรกปี 2546 ปี 2547 ลดลงมาเหลือ 9,000 ล้าน งบปี 2548 อยากจะทำให้โปร่งใสก็เพิ่มเป็น 19,548 ล้านบาท หมายความว่า มากขึ้นตามปัญหาคอรัปชั่นที่รัฐบาลรับมือไม่ไหวใช่หรือไม่ เพราะจุดอ่อนของรัฐบาลชุดนี้ ท่านประกาศสงคราม 3 สงคราม 1. สงครามยาเสพติด 2. สงครามความยากจน 3.สงครามกับคอรัปชั่น ขณะนี้สงครามปราบปรามคอรัปชั่นนั้นรัฐบาลสอบตก ซึ่งจะเห็นได้ว่า โครงการต่างๆ ที่ได้มีการพูดถึงกันทั้งโครงการใหญ่ 12% โครงการเล็ก 10% ถามว่าตรงนี้ใครจะเป็นผู้ตรวจสอบ’ นายจุติกล่าว
นายจุติ กล่าวต่อว่า สิ่งที่ฝ่ายตรวจสอบทำนั้น จะช่วยรัฐบาล ช่วยชี้ให้เห็นจุดอ่อนและให้รัฐบาลนั้นนำไปแก้ไข แต่สิ่งที่ได้ดูมาการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีต้องมีหลักนิติธรรม คุณธรรม จริยธรรม มีความโปร่งใส และมีความคุ้มค่า ถามว่าในส่วนนี้ทำได้มากน้อยแค่ไหน
ส่วนงบบูรณาการ นายจุติ กล่าวว่า มีงบหลายตัวที่ไม่บูรณาการ และเมื่อการบริการนั้นล้มเหลว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการ CIO ของแต่ละกรม ของแต่ละกระทรวง ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ซึ่งเคยตรวจสอบไปทางกรรมาธิการงบประมาณ กรรมาธิการสามัญ กรรมาธิการวิสามัญ คำตอบที่ได้ส่วนใหญ่ที่ได้คือ ไม่รู้ ยังไม่มีข้อมูล ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ ที่รัฐบาลประกาศว่า จะพัฒนาขีดความสามารถ จะพัฒนาคน ซึ่งผลของดัชนีชี้วัดก็ออกมาแล้วว่าเมืองไทยนั้นมีความด้อยในเรื่องคุณภาพของบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์ ด้านเทคโนโลยี
ส.ส.พิษณุโลก กล่าวว่า งบประมาณกระทรวงศึกษาธิการ งบประมาณองค์กรอิสระหรือรัฐวิสาหกิจ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตกำลังคน ปีนี้กระทรวงศึกษาธิการของบประมาณ 6,000 ล้านบาท ในเรื่องการจัดการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ ไม่ให้เขาสักบาท ถามว่าแล้วเมื่อไรเมืองไทยจะเจริญ เมื่อไรจะไล่ทันเขา ถ้าเปรียบเทียบอัตราส่วนกับประเทศสิงคโปร์ อัตราส่วนคอมพิวเตอร์กับนักเรียนคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง นักเรียน 2 คน ประเทศมาเลเซียคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง นักเรียน 3 คน ประเทศไทยคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง นักเรียน 48 คน นี่คือความไม่บูรณาการของงบประมาณ
‘สิ่งที่ห่วงก็คือ งบทั้งหลายที่ทำไปตามหลักการบริหารจัดการที่ดีใช้งบประมาณ 19,000 ล้านบาท จะต้องมีการตรวจสอบให้มีความโปร่งใส และมีความคุ้มค่าและมีหลักนิติธรรม วันนี้สำนักงบประมาณเปลี๊ยนไป ไม่เหมือนเดิม โครงการทั้งหลายที่มีการจัดทำงบประมาณ สำนักงบประมาณมีฝ่ายติดตามประเมินผล มีพนักงานและข้าราชการ 80 ท่าน ไม่พอครับ สำหรับการติดตามประเมินผล โครงการ 12 แสนล้าน ต้องให้เข้าประเมินการความคุ้มค่าของโครงการมากขึ้น และในหลายๆ โครงการไม่มีการประเมินความคุ้มค่าเลย ถามว่าทำไม 1. ทำไม่ทัน 2. เจ้าหน้าที่ไม่พอ 3.ใช้วธีสุ่มเอา ฉะนั้นสิ่งที่เราต้องการเห็น คือ เงิน คือภาษีของประชาชน เอามาแล้วต้องคืนให้เขาในแง่ของการบริการหรือในแง่ของความสุข ความทุกข์ ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ผมบอกได้ว่า วันนี้สำนักงบประมาณเปลี่ยนไป แล้วความโปร่งใสก็ลดน้อยลง ข้าราชการสำนักงบประมาณนั้นดี ให้ความร่วมมือกับฝ่ายนิติบัญญัติดี สิ่งที่ผมผิดหวัง คือ ผิดหวังในตัวผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ที่ผิดหวังเพราะว่า ผมเชื่อว่า ท่านนั้นเกรงกลัวการเมืองมากไป ขณะนี้การบริหารงานของสำนักงบประมาณก็ขาดความโปร่งใส ขาดการตรวจสอบ ผมเชื่อว่าสำนักงบประมาณนั้นยังรับงบประมาณจากภาษีประชาชนอยู่ ต้องให้ตรวจสอบได้ขณะนี้ยังตรวจสอบไม่ได้และก็หลีกเลี่ยงการตรวจสอบด้วย ถ้าสำนักงบประมาณไม่เป็นที่พึ่งของฝ่ายนิติบัญญัติแล้วใครจะเป็นที่พึ่งได้ เพราะสำนักงบประมาณเป็นที่รวบรวมแหล่งข้อมูลของการจัดสรรงบประมาณของประเทศ สำนักงบประมาณต้องตอบประชาชนได้โดยผ่านตัวแทนประชาชนว่า ทำไมเด็กไทยอีก 13,000 โรงเรียนยังไม่มีคอมพิวเตอร์เรียนหนังสือ จะต้องตอบได้ว่า ทำไมจังหวัดนี้ได้ก่อนอีกจังหวัดหนึ่ง ทั้งที่ประชากรมากกว่า และรวยกว่า ทำไมจังหวัดที่ยากจนกว่ายังต่อแถวไม่ได้รับงบประมาณ สิ่งต่างๆ เหลล่านี้สำนักงบประมาณต้องตอบให้ได้เพราะต้องเป็นคนประเมินความคุ้มค่าของโครงการ’ นายจุติ กล่าว
ส.ส.พิษณุโลก กล่าวว่า งบประมาณปีนี้มีการลงทุนอภิมหาโปรเจ็ค เพราะว่ารัฐบาลตั้งเป้าการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงมากถึง 8% สาเหตุที่ตั้งเป้าไว้สูงขนาดนี้เป็นเพราะมีวาระซ่อนเร้นเรื่องหาทุนเลือกตั้งหรือไม่ แต่สิ่งที่ต้องจับตาดูคือ งบลงทุนรัฐวิสาหกิจ 49 แห่ง 303,183 ล้านบาท ซึ่งจะต้องช่วยกันตรวจสอบแล้วยังมีงบประมาณด้านรัฐบาลอีก 302,326 ล้านบาท รวมแล้วปีนี้จะมีเงิน 600,000 กว่าล้านบาท และปีนี้เป็นปีที่ผิดปกติสำหรับกระทรวงคมนาคม ซึ่งมีงบลงทุนของรัฐมากที่สุด ของรัฐวิสาหกิจมากที่สุด และซุกงบผูกพันมากที่สุด สูงถึง 95,000 ล้านบาท จึงอยากให้รมต.กระทรวงการคลังเข้าไปตรวจสอบ
‘ถ้าสภาฯ นี้ไม่สามารถตรวจสอบได้ทั่วถึง สำนักงบประมาณยังไม่ยอม ยังเป็นตัวที่กีดกันไม่ให้ข้อมูลกับฝ่ายนิติบัญญัติ ไม่ให้ความร่วมมือกับความโปร่งใส ไม่ให้ตรวจสอบได้นั้น ผมบอกได้ว่า งบประมาณ 600,000 ล้านจะรั่วไหลเป็นอันมาก สิ่งต่างๆ เหล่านี้รัฐบาลต้องไปปรับปรุง ไปอุดช่องโหว่ ทำทุกอย่างให้มีประสิทธิภาพ ให้มีความโปร่งใสมากขึ้น เพราะที่ผ่านมานั้น ต้องบอกว่าในส่วนของความโปร่งใส ในส่วนการบริหารกิจการที่ดีนั้น สำนักงบประมาณสอบตกในเรื่องนี้’ นายจุติกล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 23 มิ.ย. 2547--จบ--
-ดท-
‘นอกจากนั้นก็มีความเป็นห่วงในเรื่องของงบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 19,548 ล้าน(งบไม่คงที่) คาดว่าคงเป็นงบตามอารมณ์ของรัฐบาลมากกว่า ปีไหนอยากให้มีกิจการบ้านเมืองที่ดี เริ่มต้นปีแรกปี 2546 ปี 2547 ลดลงมาเหลือ 9,000 ล้าน งบปี 2548 อยากจะทำให้โปร่งใสก็เพิ่มเป็น 19,548 ล้านบาท หมายความว่า มากขึ้นตามปัญหาคอรัปชั่นที่รัฐบาลรับมือไม่ไหวใช่หรือไม่ เพราะจุดอ่อนของรัฐบาลชุดนี้ ท่านประกาศสงคราม 3 สงคราม 1. สงครามยาเสพติด 2. สงครามความยากจน 3.สงครามกับคอรัปชั่น ขณะนี้สงครามปราบปรามคอรัปชั่นนั้นรัฐบาลสอบตก ซึ่งจะเห็นได้ว่า โครงการต่างๆ ที่ได้มีการพูดถึงกันทั้งโครงการใหญ่ 12% โครงการเล็ก 10% ถามว่าตรงนี้ใครจะเป็นผู้ตรวจสอบ’ นายจุติกล่าว
นายจุติ กล่าวต่อว่า สิ่งที่ฝ่ายตรวจสอบทำนั้น จะช่วยรัฐบาล ช่วยชี้ให้เห็นจุดอ่อนและให้รัฐบาลนั้นนำไปแก้ไข แต่สิ่งที่ได้ดูมาการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีต้องมีหลักนิติธรรม คุณธรรม จริยธรรม มีความโปร่งใส และมีความคุ้มค่า ถามว่าในส่วนนี้ทำได้มากน้อยแค่ไหน
ส่วนงบบูรณาการ นายจุติ กล่าวว่า มีงบหลายตัวที่ไม่บูรณาการ และเมื่อการบริการนั้นล้มเหลว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการ CIO ของแต่ละกรม ของแต่ละกระทรวง ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ซึ่งเคยตรวจสอบไปทางกรรมาธิการงบประมาณ กรรมาธิการสามัญ กรรมาธิการวิสามัญ คำตอบที่ได้ส่วนใหญ่ที่ได้คือ ไม่รู้ ยังไม่มีข้อมูล ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ ที่รัฐบาลประกาศว่า จะพัฒนาขีดความสามารถ จะพัฒนาคน ซึ่งผลของดัชนีชี้วัดก็ออกมาแล้วว่าเมืองไทยนั้นมีความด้อยในเรื่องคุณภาพของบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์ ด้านเทคโนโลยี
ส.ส.พิษณุโลก กล่าวว่า งบประมาณกระทรวงศึกษาธิการ งบประมาณองค์กรอิสระหรือรัฐวิสาหกิจ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตกำลังคน ปีนี้กระทรวงศึกษาธิการของบประมาณ 6,000 ล้านบาท ในเรื่องการจัดการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ ไม่ให้เขาสักบาท ถามว่าแล้วเมื่อไรเมืองไทยจะเจริญ เมื่อไรจะไล่ทันเขา ถ้าเปรียบเทียบอัตราส่วนกับประเทศสิงคโปร์ อัตราส่วนคอมพิวเตอร์กับนักเรียนคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง นักเรียน 2 คน ประเทศมาเลเซียคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง นักเรียน 3 คน ประเทศไทยคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง นักเรียน 48 คน นี่คือความไม่บูรณาการของงบประมาณ
‘สิ่งที่ห่วงก็คือ งบทั้งหลายที่ทำไปตามหลักการบริหารจัดการที่ดีใช้งบประมาณ 19,000 ล้านบาท จะต้องมีการตรวจสอบให้มีความโปร่งใส และมีความคุ้มค่าและมีหลักนิติธรรม วันนี้สำนักงบประมาณเปลี๊ยนไป ไม่เหมือนเดิม โครงการทั้งหลายที่มีการจัดทำงบประมาณ สำนักงบประมาณมีฝ่ายติดตามประเมินผล มีพนักงานและข้าราชการ 80 ท่าน ไม่พอครับ สำหรับการติดตามประเมินผล โครงการ 12 แสนล้าน ต้องให้เข้าประเมินการความคุ้มค่าของโครงการมากขึ้น และในหลายๆ โครงการไม่มีการประเมินความคุ้มค่าเลย ถามว่าทำไม 1. ทำไม่ทัน 2. เจ้าหน้าที่ไม่พอ 3.ใช้วธีสุ่มเอา ฉะนั้นสิ่งที่เราต้องการเห็น คือ เงิน คือภาษีของประชาชน เอามาแล้วต้องคืนให้เขาในแง่ของการบริการหรือในแง่ของความสุข ความทุกข์ ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ผมบอกได้ว่า วันนี้สำนักงบประมาณเปลี่ยนไป แล้วความโปร่งใสก็ลดน้อยลง ข้าราชการสำนักงบประมาณนั้นดี ให้ความร่วมมือกับฝ่ายนิติบัญญัติดี สิ่งที่ผมผิดหวัง คือ ผิดหวังในตัวผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ที่ผิดหวังเพราะว่า ผมเชื่อว่า ท่านนั้นเกรงกลัวการเมืองมากไป ขณะนี้การบริหารงานของสำนักงบประมาณก็ขาดความโปร่งใส ขาดการตรวจสอบ ผมเชื่อว่าสำนักงบประมาณนั้นยังรับงบประมาณจากภาษีประชาชนอยู่ ต้องให้ตรวจสอบได้ขณะนี้ยังตรวจสอบไม่ได้และก็หลีกเลี่ยงการตรวจสอบด้วย ถ้าสำนักงบประมาณไม่เป็นที่พึ่งของฝ่ายนิติบัญญัติแล้วใครจะเป็นที่พึ่งได้ เพราะสำนักงบประมาณเป็นที่รวบรวมแหล่งข้อมูลของการจัดสรรงบประมาณของประเทศ สำนักงบประมาณต้องตอบประชาชนได้โดยผ่านตัวแทนประชาชนว่า ทำไมเด็กไทยอีก 13,000 โรงเรียนยังไม่มีคอมพิวเตอร์เรียนหนังสือ จะต้องตอบได้ว่า ทำไมจังหวัดนี้ได้ก่อนอีกจังหวัดหนึ่ง ทั้งที่ประชากรมากกว่า และรวยกว่า ทำไมจังหวัดที่ยากจนกว่ายังต่อแถวไม่ได้รับงบประมาณ สิ่งต่างๆ เหลล่านี้สำนักงบประมาณต้องตอบให้ได้เพราะต้องเป็นคนประเมินความคุ้มค่าของโครงการ’ นายจุติ กล่าว
ส.ส.พิษณุโลก กล่าวว่า งบประมาณปีนี้มีการลงทุนอภิมหาโปรเจ็ค เพราะว่ารัฐบาลตั้งเป้าการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงมากถึง 8% สาเหตุที่ตั้งเป้าไว้สูงขนาดนี้เป็นเพราะมีวาระซ่อนเร้นเรื่องหาทุนเลือกตั้งหรือไม่ แต่สิ่งที่ต้องจับตาดูคือ งบลงทุนรัฐวิสาหกิจ 49 แห่ง 303,183 ล้านบาท ซึ่งจะต้องช่วยกันตรวจสอบแล้วยังมีงบประมาณด้านรัฐบาลอีก 302,326 ล้านบาท รวมแล้วปีนี้จะมีเงิน 600,000 กว่าล้านบาท และปีนี้เป็นปีที่ผิดปกติสำหรับกระทรวงคมนาคม ซึ่งมีงบลงทุนของรัฐมากที่สุด ของรัฐวิสาหกิจมากที่สุด และซุกงบผูกพันมากที่สุด สูงถึง 95,000 ล้านบาท จึงอยากให้รมต.กระทรวงการคลังเข้าไปตรวจสอบ
‘ถ้าสภาฯ นี้ไม่สามารถตรวจสอบได้ทั่วถึง สำนักงบประมาณยังไม่ยอม ยังเป็นตัวที่กีดกันไม่ให้ข้อมูลกับฝ่ายนิติบัญญัติ ไม่ให้ความร่วมมือกับความโปร่งใส ไม่ให้ตรวจสอบได้นั้น ผมบอกได้ว่า งบประมาณ 600,000 ล้านจะรั่วไหลเป็นอันมาก สิ่งต่างๆ เหล่านี้รัฐบาลต้องไปปรับปรุง ไปอุดช่องโหว่ ทำทุกอย่างให้มีประสิทธิภาพ ให้มีความโปร่งใสมากขึ้น เพราะที่ผ่านมานั้น ต้องบอกว่าในส่วนของความโปร่งใส ในส่วนการบริหารกิจการที่ดีนั้น สำนักงบประมาณสอบตกในเรื่องนี้’ นายจุติกล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 23 มิ.ย. 2547--จบ--
-ดท-