แท็ก
ธปท.
1. ฐานเงินและปริมาณเงิน
- ปริมาณเงินขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนมกราคม 2548 อยู่ที่ระดับ 777.4 พันล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อน 23.4 พันล้านบาท แต่ขยายตัวร้อยละ 15.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของฐานเงินจากเดือนก่อน ได้แก่ (1) สินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิของทางการเพิ่มขึ้น (2) สินเชื่อสุทธิที่ ธปท. ให้แก่รัฐบาลเพิ่มขึ้นจากการลดลงของเงินฝากภาครัฐที่ ธปท. และ (3) สินเชื่อสุทธิที่ ธปท. ให้แก่สถาบันการเงินลดลงเนื่องจากสถาบันการเงินลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตรและพันธบัตร ธปท.เพิ่มขึ้น
ปริมาณเงิน M2 M2a และ M3 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 4.9 5.2 และ 5.9 ตามลำดับ ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อน โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากการชะลอตัวของสินเชื่อที่ให้แก่ภาคเอกชน
2. อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ยและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล
- เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นจาก Sentiment ของเงินดอลลาร์ สรอ. ที่อ่อนลงและเงินทุนไหลเข้า
- อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดการเงินปรับสูงขึ้นโดยเฉลี่ยตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือนก่อน
- เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลยังคงปรับลาดลง
อัตราแลกเปลี่ยนในเดือนมกราคม 2548 เฉลี่ยอยู่ที่ 38.75 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. โน้มแข็งค่าขึ้นจากเดือนก่อนอย่างต่อเนื่อง ในภาวะที่ความเชื่อมั่นต่อค่าเงินดอลลาร์ สรอ.ยังคงอ่อนลงจากปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐฯ กอปรกับมีกระแสข่าวการปรับค่าเงินหยวนของจีน ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนให้นักลงทุนต่างชาติต้องการถือหลักทรัพย์ในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้น อาทิ นำเงินมาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยอย่างไรก็ดี การแข็งค่าของเงินบาทก็สอดคล้องกับการแข็งค่าของค่าเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค
สำหรับอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงวันที่ 1-21 กุมภาพันธ์ 2548 เคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 38.21-38.61 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และเฉลี่ยปรับแข็งขึ้นจากเดือนก่อนโดยมีเงินทุนไหลเข้าจากนักลงทุนต่างชาติที่มาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ปัจจัยสนับสนุนเพิ่มเติม ได้แก่ การที่สถาบัน Morgan Stanley ปรับน้ำหนักการลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น และนักลงทุนมีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจไทยหลังการเลือกตั้ง
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน แม้ว่าสภาพคล่องโดยรวมในเดือนมกราคม 2548 มีค่อนข้างมากเนื่องจากมีเม็ดเงินไหลกับเข้าสู่ระบบหลังผ่านพ้นช่วงเทศกาลปีใหม่ แต่อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วัน ก็ปรับสูงขึ้นจากเดือนธันวาคม เฉลี่ยมาอยู่ที่ร้อยละ 1.85 และ 1.89 ต่อปี ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือนก่อน
สำหรับในช่วงวันที่ 1-21 กุมภาพันธ์ 2548 อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินทรงตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อน โดยอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันเฉลี่ยเท่าเดิมที่ร้อยละ 1.89 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.88 ต่อปีตามสภาพคล่องที่ตึงตัวขึ้นในช่วงปลายปักษ์ของการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง เนื่องจากธนาคารพาณิชย์บางแห่งที่ดำรงเงินสดต่ำกว่าเกณฑ์มีความต้องการสภาพคล่อง
เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ในเดือนมกราคม 2548 ปรับลาดลง โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนตามการคาดการณ์ว่า ธปท. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือนนี้ กอปรกับความต้องการลงทุนในพันธบัตรระยะสั้นมีน้อยลงหลังจากปัจจัยการย้ายเงินฝากเพื่อเลี่ยงการถูกคิดค่าธรรมเนียมของกองทุนฟื้นฟูฯ ได้หมดไป ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางและระยะยาวปรับลดลง เนื่องจากยังมีความต้องการลงทุนจากบริษัทประกันชีวิต กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพและกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
ในช่วงวันที่ 1-21 กุมภาพันธ์ 2548 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับลดลงตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่ลดลง เนื่องจากตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ไม่ดีเท่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ นอกจากนี้นักลงทุนบางส่วนชะลอการลงทุนเพื่อรอผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินในครั้งต่อไป
3. เงินฝากและสินเชื่อภาคเอกชนของระบบธนาคารพาณิชย์
- เงินฝากขยายตัวในอัตราที่ใกล้เคียงกับเดือนก่อน ขณะที่สินเชื่อขยายตัวชะลอลง
- อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ไม่เปลี่ยนแปลง
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ในเดือนมกาคม 2548 ขยายตัวร้อยละ 3.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน และเพิ่มขึ้น 105.0 พันล้านบาทจากเดือนธันวาคมโดยส่วนใหญ่เป็นเงินฝากของภาคธุรกิจที่กลับเข้ามาหลังผ่านช่วงการนำส่งค่าธรรมเนียมของกองทุนฟื้นฟูฯ
สินเชื่อภาคเอกชน (รวมการถือหลักทรัพย์ของเอกชน) ของธนาคารพาณิชย์ในเดือนมกราคม 2548ขยายตัวร้อยละ 6.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อน เนื่องจากมีการไถ่ถอนตั่วสัญญาใช้เงินของบริษัทบริหารสินทรัพย์บางแห่ง
สำหรับสินเชื่อภาคเอกชน (รวมการถือหลักทรัพย์ของเอกชน) ของธนาคารพาณิชย์ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2548 มียอดคงค้าง 6,339.3 พันล้านบาทหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน
อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่งในเดือนมกราคม 2548 คงอยู่ระดับเดิมทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.00 และ 5.69 ต่อปี ตามลำดับ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
- ปริมาณเงินขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนมกราคม 2548 อยู่ที่ระดับ 777.4 พันล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อน 23.4 พันล้านบาท แต่ขยายตัวร้อยละ 15.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของฐานเงินจากเดือนก่อน ได้แก่ (1) สินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิของทางการเพิ่มขึ้น (2) สินเชื่อสุทธิที่ ธปท. ให้แก่รัฐบาลเพิ่มขึ้นจากการลดลงของเงินฝากภาครัฐที่ ธปท. และ (3) สินเชื่อสุทธิที่ ธปท. ให้แก่สถาบันการเงินลดลงเนื่องจากสถาบันการเงินลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตรและพันธบัตร ธปท.เพิ่มขึ้น
ปริมาณเงิน M2 M2a และ M3 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 4.9 5.2 และ 5.9 ตามลำดับ ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อน โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากการชะลอตัวของสินเชื่อที่ให้แก่ภาคเอกชน
2. อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ยและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล
- เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นจาก Sentiment ของเงินดอลลาร์ สรอ. ที่อ่อนลงและเงินทุนไหลเข้า
- อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดการเงินปรับสูงขึ้นโดยเฉลี่ยตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือนก่อน
- เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลยังคงปรับลาดลง
อัตราแลกเปลี่ยนในเดือนมกราคม 2548 เฉลี่ยอยู่ที่ 38.75 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. โน้มแข็งค่าขึ้นจากเดือนก่อนอย่างต่อเนื่อง ในภาวะที่ความเชื่อมั่นต่อค่าเงินดอลลาร์ สรอ.ยังคงอ่อนลงจากปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐฯ กอปรกับมีกระแสข่าวการปรับค่าเงินหยวนของจีน ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนให้นักลงทุนต่างชาติต้องการถือหลักทรัพย์ในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้น อาทิ นำเงินมาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยอย่างไรก็ดี การแข็งค่าของเงินบาทก็สอดคล้องกับการแข็งค่าของค่าเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค
สำหรับอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงวันที่ 1-21 กุมภาพันธ์ 2548 เคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 38.21-38.61 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และเฉลี่ยปรับแข็งขึ้นจากเดือนก่อนโดยมีเงินทุนไหลเข้าจากนักลงทุนต่างชาติที่มาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ปัจจัยสนับสนุนเพิ่มเติม ได้แก่ การที่สถาบัน Morgan Stanley ปรับน้ำหนักการลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น และนักลงทุนมีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจไทยหลังการเลือกตั้ง
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน แม้ว่าสภาพคล่องโดยรวมในเดือนมกราคม 2548 มีค่อนข้างมากเนื่องจากมีเม็ดเงินไหลกับเข้าสู่ระบบหลังผ่านพ้นช่วงเทศกาลปีใหม่ แต่อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วัน ก็ปรับสูงขึ้นจากเดือนธันวาคม เฉลี่ยมาอยู่ที่ร้อยละ 1.85 และ 1.89 ต่อปี ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือนก่อน
สำหรับในช่วงวันที่ 1-21 กุมภาพันธ์ 2548 อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินทรงตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อน โดยอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันเฉลี่ยเท่าเดิมที่ร้อยละ 1.89 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.88 ต่อปีตามสภาพคล่องที่ตึงตัวขึ้นในช่วงปลายปักษ์ของการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง เนื่องจากธนาคารพาณิชย์บางแห่งที่ดำรงเงินสดต่ำกว่าเกณฑ์มีความต้องการสภาพคล่อง
เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ในเดือนมกราคม 2548 ปรับลาดลง โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนตามการคาดการณ์ว่า ธปท. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือนนี้ กอปรกับความต้องการลงทุนในพันธบัตรระยะสั้นมีน้อยลงหลังจากปัจจัยการย้ายเงินฝากเพื่อเลี่ยงการถูกคิดค่าธรรมเนียมของกองทุนฟื้นฟูฯ ได้หมดไป ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางและระยะยาวปรับลดลง เนื่องจากยังมีความต้องการลงทุนจากบริษัทประกันชีวิต กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพและกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
ในช่วงวันที่ 1-21 กุมภาพันธ์ 2548 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับลดลงตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่ลดลง เนื่องจากตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ไม่ดีเท่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ นอกจากนี้นักลงทุนบางส่วนชะลอการลงทุนเพื่อรอผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินในครั้งต่อไป
3. เงินฝากและสินเชื่อภาคเอกชนของระบบธนาคารพาณิชย์
- เงินฝากขยายตัวในอัตราที่ใกล้เคียงกับเดือนก่อน ขณะที่สินเชื่อขยายตัวชะลอลง
- อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ไม่เปลี่ยนแปลง
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ในเดือนมกาคม 2548 ขยายตัวร้อยละ 3.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน และเพิ่มขึ้น 105.0 พันล้านบาทจากเดือนธันวาคมโดยส่วนใหญ่เป็นเงินฝากของภาคธุรกิจที่กลับเข้ามาหลังผ่านช่วงการนำส่งค่าธรรมเนียมของกองทุนฟื้นฟูฯ
สินเชื่อภาคเอกชน (รวมการถือหลักทรัพย์ของเอกชน) ของธนาคารพาณิชย์ในเดือนมกราคม 2548ขยายตัวร้อยละ 6.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อน เนื่องจากมีการไถ่ถอนตั่วสัญญาใช้เงินของบริษัทบริหารสินทรัพย์บางแห่ง
สำหรับสินเชื่อภาคเอกชน (รวมการถือหลักทรัพย์ของเอกชน) ของธนาคารพาณิชย์ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2548 มียอดคงค้าง 6,339.3 พันล้านบาทหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน
อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่งในเดือนมกราคม 2548 คงอยู่ระดับเดิมทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.00 และ 5.69 ต่อปี ตามลำดับ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--