สรุปประเด็นสำคัญ
ดัชนีอุตสาหกรรม
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนเมษายน 2547 = 123.35 ลดลงจากเดือนมีนาคม 2547 (141.89) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (115.78) ทั้งนี้ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนเมษายนทุกปีจะลดลงจากเดือนมีนาคมเนื่องจากจำนวนวันทำงานลดลง
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2547 ได้แก่ ยานยนต์ การผลิตน้ำตาล การจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยเสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ การผลิตผลิคภัณฑ์ยางอื่นๆ การผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน
- อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในเดือนเมษายน 2547 = 56.88 ลดลงจากเดือนมีนาคม 2547 (64.75) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (53.19)
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม2547
- อุตสาหกรรมอาหาร ภาวะการผลิตในประเทศมีการฟื้นตัวเกือบเป็นปกติ สำหรับตลาดต่างประเทศ นั้น ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปมีการปรับตัวดีขึ้น
- การผลิตและการส่งออกของอุตสาหกรรมสิ่งทอมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน
- ราคาเหล็กยังคงอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากนโยบายการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศจีน
- ยอดการผลิตรถยนต์ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนเมษายน
- แนวทางการปรับโครงสร้างภาษีขาเข้าของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จะส่งผลดีต่อความสามารถทางการแข่งขันและการส่งออกของอุตสาหกรรม ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
หมายเหตุ : การจัดทำดัชนีอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม จัดทำจากการสำรวจ สัมภาษณ์จากผู้ประกอบการโดยตรง จำนวนประมาณ 2,000 ราย 50 กลุ่มอุตสาหกรรม ครอบคลุมสัดส่วน GDP การผลิตภาคอุตสาหกรรมประมาณ ร้อยละ 70
รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม
1. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2547 มีค่า 123.35 ลดลงจากเดือนมีนาคม 2547 (141.89) ร้อยละ 13.07 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (115.78) ร้อยละ 6.5
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนมีนาคม 2547 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขึ้นมูลฐาน เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์และปูนปลาสเตอร์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์รวมทั้งน้ำดื่มบรรจุขวด เป็นต้น
2. อัตราการใช้กําลังการผลิตในเดือนเมษายน 2547 มีค่า 56.88 ลดลงจากเดือนมีนาคม 2547 (64.75) ร้อยละ 12.2 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (53.19) ร้อยละ 6.9
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กําลังการผลิตลดลงจากเดือนมีนาคม 2547 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กําลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และ ส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ อุตสาหกรรมการผลิตคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งน้ำดื่มบรรจุขวด เป็นต้น
3. อุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2547 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2547 ได้แก่
- อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์
ภาพรวมของการผลิตรถยนต์ในเดือนเมษายนลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนซึ่งเป็นผลมาจากทาง ตัวแทนจำหน่ายมีคำสั่งซื้อเข้ามาลดลง เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลมีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน จึงส่งผลให้ยอดการผลิตรถยนต์ลดลง
ภาวะการจำหน่ายลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนเป็นผลเนื่องมาจากในเดือนก่อนมียอดการจำหน่ายสูงมาก ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนนี้ที่มีวันหยุดหลายวัน คำสั่งซื้อจากตัวแทนจำหน่ายมีน้อยลง ประกอบกับความต้องการของลูกค้าเริ่มลดลงเพราะได้มีการซื้อไปก่อนหน้านี้แล้ว จึงได้ส่งผลให้ยอดการจำหน่ายลดลง
ส่วนสินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากในเดือนก่อนได้มีการเร่งการผลิตจึงทำให้มีสต็อกอยู่ในระดับที่สูง ประกอบกับในเดือนนี้มียอดจำหน่ายลดลง จึงส่งผลให้สต็อกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน
-อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล
ภาวะการผลิตน้ำตาลในเดือนเมษายนมีปริมาณลดลงจากเดือนก่อนมาก เนื่องจากในเดือนนี้มี วัตถุดิบสำหรับการผลิตเพียงเล็กน้อย จึงมีการผลิตเพียงบางแห่งเท่านั้น เพราะการผลิตน้ำตาลจะต้องเร่งผลิตให้ทันก่อนฤดูฝน โรงงานต่างๆ จึงได้เร่งทำการผลิตในช่วงที่ผ่านมา และในเดือนมีนาคมได้ทยอย ปิดหีบไปบ้างแล้วในบางพื้นที่ ซึ่งโรงงานส่วนมากก็ได้ปิดหีบในเดือนเมษายนนี้ การผลิตน้ำตาลในเดือนนี้นั้นส่วนมากจะเป็นการนำน้ำตาลทรายดิบมาผลิตเป็นน้ำตาลทรายขาวมากกว่า สำหรับภาวะการจำหน่ายที่ลดลงนั้นเนื่องจากในเดือนนี้มีสัญญาที่ต้องส่งมอบสินค้าไม่มาก เพราะส่วนใหญ่ได้ส่งไปในเดือนที่ผ่านมาเป็นจำนวนมากแล้ว ซึ่งการจำหน่ายที่ลดลงนั้นเกิดจากยอดการส่งออกที่ลดลง
- อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ รวมถึงการทอสิ่งทอ
ภาวะการผลิตในเดือนเมษายนลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากในเดือนเมษายนมีวันหยุดทำงานตามเทศกาลสงกรานต์หลายวัน ทำให้ระดับการผลิตลดลง นอกจากนี้ผู้ผลิตบางรายมีการผลิตสินค้าใหม่ ซึ่งมีขั้นตอนการผลิตที่ซับซ้อนขึ้น ทำให้ปริมาณการผลิตลดลงภาวะการจำหน่ายลดลงจากเดือนก่อนเช่นเดียวกัน เนื่องจากในเดือนมีนาคมลูกค้าบางส่วนได้ ทำการสั่งสินค้าไว้ล่วงหน้าแล้ว และลูกค้าเองก็มีการหยุดทำงานเช่นเดียวกัน
ภาวะสินค้าคงคลังลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากผู้ผลิตไม่อยากเก็บสต๊อกสินค้าไว้มาก จึงมีการนำสินค้าในสต๊อกออกมาจำหน่าย
- อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ
ภาวะการผลิตในเดือนเมษายนลดลงจากเดือนก่อน เป็นผลจากวัตถุดิบหายากโดยเป็นช่วงที่ยางผลัดใบ-หน้าแล้ง น้ำยางหาไม่ได้ ทำให้การผลิตลดลงไม่คุ้มต้นทุนที่จะทำการผลิตมากๆ
สำหรับภาวะการจำหน่ายที่ลดลง เกิดจากสาเหตุเกี่ยวกับเรื่องการขาดวัตถุดิบ จึงทำให้ราคายางสูงขึ้นและไม่มีสินค้าที่จะจำหน่าย โดยการเริ่มกรีดยางจะเริ่มอีกครั้งในช่วงเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนมิถุนายน นอกจากนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ โรงงานหยุดทำการผลิตและจำหน่ายหลายวัน
- อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน
ภาวะการผลิตและการจำหน่ายปรับตัวลดลง โดยปัจจัยหลักมาจากเดือนเมษายนเป็นช่วงเทศกาลมีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน ส่งผลให้การผลิตทำได้ไม่เต็มที่นัก ประกอบกับในช่วงเดือนที่ผ่านมาผู้ผลิต ได้ทำการผลิตทดแทนไว้บางส่วนแล้ว ในส่วนของกลุ่มลูกค้าต่างก็งดคำสั่งซื้อในช่วงวันหยุดเทศกาลเช่นกัน ในส่วนของปัจจัยอื่นๆ ก็เป็นในเรื่องของราคาวัตถุดิบซึ่งทั้งบิลเลตและเศษเหล็กต่างก็เริ่มที่จะปรับลดราคาลงบ้างแล้ว ทำให้ผู้ผลิตและกลุ่มผู้ซื้อต่างชะลอการผลิตและคำสั่งซื้อลงเพื่อรอให้ราคาเหล็กลดลงอีกครั้ง และปัจจัยในด้านคุณภาพของสินค้าก็มีผลให้กลุ่มลูกค้าลดการสั่งซื้อลงด้วย คาดว่าเดือนหน้าในส่วนของการผลิตและจำหน่ายจะปรับลดลงอีก เนื่องจากจะเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน ภาคธุรกิจก่อสร้างจะชะลอตัวลง ซึ่งผู้ผลิตจะทำการปรับลดยอดการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการต่อไป
4. อุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบด้านบวกต่อดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2547 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2547 ได้แก่
- อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
ภาวะอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน ในส่วนของการผลิตน้ำมันสำเร็จรูปมีปริมาณเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม เนื่องจากมีโรงกลั่น 1 โรง กลับมามีการกลั่นน้ำมันตามปกติ หลังจากหยุดผลิตเพื่อการซ่อมบำรุงไประยะหนึ่ง ในขณะที่โรงกลั่นอื่นๆยังคงปริมาณการผลิตในระดับสูง
ภาวะการจำหน่ายปริมาณการจำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูปในเดือนนี้มีปริมาณใกล้เคียงกับเดือนมีนาคมที่ผ่านมา แม้ว่าบางโรงกลั่นจะมีการผลิตที่เพิ่มขึ้น แต่เป็นเพื่อทดแทนการนำเข้าในช่วงที่หยุดการผลิตเพื่อซ่อมบำรุงโรงกลั่น และปริมาณการจำหน่ายยังคงสูงอย่างต่อเนื่องตามความต้องการใช้น้ำมันในช่วงเทศกาลวันหยุดสงกรานต์
ภาวะการส่งออกมีปริมาณเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยการเพิ่มขึ้นมาจากการส่งออกแนฟทาและก๊าซ หุงต้ม ของบางบริษัทระดับสินค้าคงคลังของผู้ผลิตยังคงมีระดับลดลงจากเดือนมีนาคมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
- อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ
การผลิต เพิ่มขึ้นเนื่องจากในเดือนนี้กลับมาผลิตตามปกติ หลังจากในเดือนที่แล้วมีวันหยุดพิเศษ ในช่วงบำรุงรักษาเครื่องจักรประจำปี
การจำหน่าย ลดลงเล็กน้อยจากเดือนที่แล้ว แต่ยังคงอยู่ในระดับสูงเนื่องจากในเดือนนี้มีวันหยุดช่วงยาว ในระหว่างเทศการสงกรานต์ ที่มีงานเลี้ยงสังสรรค์มากสินค้าคงคลัง ลดลงเล็กน้อย แต่ปกติ เนื่องจากโดยทั่งไปจะมีสต๊อกไว้ 10 วัน ของจำนานที่ขายตามแผนในแต่ละเดือน
- อุตสาหกรรมการฟอกและตกแต่งหนังฟอก
ในเดือนเมษายน ภาวะการผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่ภาวะการจำหน่ายมีทิศทางที่ ลดลงจากเดือนก่อน ทำให้ระดับสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น โดยในส่วนของหนังวัว ยังขาดแคลนวัตถุดิบอยู่อย่างต่อเนื่อง เพราะส่วนมากวัตถุดิบจะนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งในปัจจุบันยังเกิดปัญหาวัวบ้าในต่างประเทศ จึงยังไม่สารมารถนำเข้าได้ ดังนั้นถ้าวัตถุดิบเข้ามาน้อยก็ไม่สามารถผลิตให้ตามคำสั่งซื้อที่เข้ามาได้ ทำให้จำหน่ายลดลงตามไปด้วย และส่วนหนึ่งเกิดจากหนังมีราคาแพงทำให้ลูกค้าไม่สู้ราคา โรงงานจึงไม่มีนโยบายสต๊อกสินค้าไว้เช่นกันเพราะจะทำให้เกิดต้นทุนค่าใช้จ่ายกับโรงงาน
หนังควาย ภาวะตลาดยังไม่ค่อยจะดีเท่าไรเพราะราคาวัตถุดิบที่แพงขึ้นลูกค้าจึงลดคำสั่งซื้อมีผลให้ยอดการจำหน่ายลดลง การผลิตลดลงส่วนหนึ่งเกิดจากจำนวนวันทำงานที่ลดลง โรงงานจะผลิตเฉพาะ สินค้าตามคำสั่งซื้อ เพราะราคาวัตถุดิบแพงโรงงานจึงไม่สต๊อกสินค้าไว้
-อุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอสำเร็จรูป ยกเว้นเครื่องแต่งกาย
ภาวะการผลิตสินค้าและจำหน่ายสินค้าในเดือนเมษายนสูงขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจากมีการจัดรายการขายสินค้า และมีคำสั่งซื้อจากลูกค้าด่วนเข้ามา ทำให้การผลิตและจำหน่ายสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ส่วนระดับสต๊อกสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นผลมาจากทางโรงงานผู้ผลิตแห่งหนึ่ง มีการผลิตสินค้าทุกเดือน แต่ยังไม่มีจำหน่ายสินค้า ทำให้สต๊อกสินค้าสูงขึ้น
- อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากนม
ภาวะการผลิตและการจำหน่ายในเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยเฉพาะในสินค้าไอศครีมมีความต้องการบริโภคสูงในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี ส่วนสินค้านมพร้อมดื่มและนมข้นหวานอยู่ในระดับทรงตัวระดับสินค้าคงคลังในเดือนนี้ลดลงจากเดือนมีนาคม ซึ่งมาจากสินค้าไอศครีมที่ผู้ผลิตมีการนำ สต๊อกสินค้าออกมาจำหน่าย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดัชนีอุตสาหกรรม
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนเมษายน 2547 = 123.35 ลดลงจากเดือนมีนาคม 2547 (141.89) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (115.78) ทั้งนี้ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนเมษายนทุกปีจะลดลงจากเดือนมีนาคมเนื่องจากจำนวนวันทำงานลดลง
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2547 ได้แก่ ยานยนต์ การผลิตน้ำตาล การจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยเสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ การผลิตผลิคภัณฑ์ยางอื่นๆ การผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน
- อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในเดือนเมษายน 2547 = 56.88 ลดลงจากเดือนมีนาคม 2547 (64.75) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (53.19)
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม2547
- อุตสาหกรรมอาหาร ภาวะการผลิตในประเทศมีการฟื้นตัวเกือบเป็นปกติ สำหรับตลาดต่างประเทศ นั้น ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปมีการปรับตัวดีขึ้น
- การผลิตและการส่งออกของอุตสาหกรรมสิ่งทอมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน
- ราคาเหล็กยังคงอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากนโยบายการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศจีน
- ยอดการผลิตรถยนต์ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนเมษายน
- แนวทางการปรับโครงสร้างภาษีขาเข้าของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จะส่งผลดีต่อความสามารถทางการแข่งขันและการส่งออกของอุตสาหกรรม ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
หมายเหตุ : การจัดทำดัชนีอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม จัดทำจากการสำรวจ สัมภาษณ์จากผู้ประกอบการโดยตรง จำนวนประมาณ 2,000 ราย 50 กลุ่มอุตสาหกรรม ครอบคลุมสัดส่วน GDP การผลิตภาคอุตสาหกรรมประมาณ ร้อยละ 70
รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม
1. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2547 มีค่า 123.35 ลดลงจากเดือนมีนาคม 2547 (141.89) ร้อยละ 13.07 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (115.78) ร้อยละ 6.5
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนมีนาคม 2547 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขึ้นมูลฐาน เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์และปูนปลาสเตอร์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์รวมทั้งน้ำดื่มบรรจุขวด เป็นต้น
2. อัตราการใช้กําลังการผลิตในเดือนเมษายน 2547 มีค่า 56.88 ลดลงจากเดือนมีนาคม 2547 (64.75) ร้อยละ 12.2 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (53.19) ร้อยละ 6.9
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กําลังการผลิตลดลงจากเดือนมีนาคม 2547 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กําลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และ ส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ อุตสาหกรรมการผลิตคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งน้ำดื่มบรรจุขวด เป็นต้น
3. อุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2547 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2547 ได้แก่
- อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์
ภาพรวมของการผลิตรถยนต์ในเดือนเมษายนลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนซึ่งเป็นผลมาจากทาง ตัวแทนจำหน่ายมีคำสั่งซื้อเข้ามาลดลง เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลมีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน จึงส่งผลให้ยอดการผลิตรถยนต์ลดลง
ภาวะการจำหน่ายลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนเป็นผลเนื่องมาจากในเดือนก่อนมียอดการจำหน่ายสูงมาก ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนนี้ที่มีวันหยุดหลายวัน คำสั่งซื้อจากตัวแทนจำหน่ายมีน้อยลง ประกอบกับความต้องการของลูกค้าเริ่มลดลงเพราะได้มีการซื้อไปก่อนหน้านี้แล้ว จึงได้ส่งผลให้ยอดการจำหน่ายลดลง
ส่วนสินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากในเดือนก่อนได้มีการเร่งการผลิตจึงทำให้มีสต็อกอยู่ในระดับที่สูง ประกอบกับในเดือนนี้มียอดจำหน่ายลดลง จึงส่งผลให้สต็อกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน
-อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล
ภาวะการผลิตน้ำตาลในเดือนเมษายนมีปริมาณลดลงจากเดือนก่อนมาก เนื่องจากในเดือนนี้มี วัตถุดิบสำหรับการผลิตเพียงเล็กน้อย จึงมีการผลิตเพียงบางแห่งเท่านั้น เพราะการผลิตน้ำตาลจะต้องเร่งผลิตให้ทันก่อนฤดูฝน โรงงานต่างๆ จึงได้เร่งทำการผลิตในช่วงที่ผ่านมา และในเดือนมีนาคมได้ทยอย ปิดหีบไปบ้างแล้วในบางพื้นที่ ซึ่งโรงงานส่วนมากก็ได้ปิดหีบในเดือนเมษายนนี้ การผลิตน้ำตาลในเดือนนี้นั้นส่วนมากจะเป็นการนำน้ำตาลทรายดิบมาผลิตเป็นน้ำตาลทรายขาวมากกว่า สำหรับภาวะการจำหน่ายที่ลดลงนั้นเนื่องจากในเดือนนี้มีสัญญาที่ต้องส่งมอบสินค้าไม่มาก เพราะส่วนใหญ่ได้ส่งไปในเดือนที่ผ่านมาเป็นจำนวนมากแล้ว ซึ่งการจำหน่ายที่ลดลงนั้นเกิดจากยอดการส่งออกที่ลดลง
- อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ รวมถึงการทอสิ่งทอ
ภาวะการผลิตในเดือนเมษายนลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากในเดือนเมษายนมีวันหยุดทำงานตามเทศกาลสงกรานต์หลายวัน ทำให้ระดับการผลิตลดลง นอกจากนี้ผู้ผลิตบางรายมีการผลิตสินค้าใหม่ ซึ่งมีขั้นตอนการผลิตที่ซับซ้อนขึ้น ทำให้ปริมาณการผลิตลดลงภาวะการจำหน่ายลดลงจากเดือนก่อนเช่นเดียวกัน เนื่องจากในเดือนมีนาคมลูกค้าบางส่วนได้ ทำการสั่งสินค้าไว้ล่วงหน้าแล้ว และลูกค้าเองก็มีการหยุดทำงานเช่นเดียวกัน
ภาวะสินค้าคงคลังลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากผู้ผลิตไม่อยากเก็บสต๊อกสินค้าไว้มาก จึงมีการนำสินค้าในสต๊อกออกมาจำหน่าย
- อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ
ภาวะการผลิตในเดือนเมษายนลดลงจากเดือนก่อน เป็นผลจากวัตถุดิบหายากโดยเป็นช่วงที่ยางผลัดใบ-หน้าแล้ง น้ำยางหาไม่ได้ ทำให้การผลิตลดลงไม่คุ้มต้นทุนที่จะทำการผลิตมากๆ
สำหรับภาวะการจำหน่ายที่ลดลง เกิดจากสาเหตุเกี่ยวกับเรื่องการขาดวัตถุดิบ จึงทำให้ราคายางสูงขึ้นและไม่มีสินค้าที่จะจำหน่าย โดยการเริ่มกรีดยางจะเริ่มอีกครั้งในช่วงเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนมิถุนายน นอกจากนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ โรงงานหยุดทำการผลิตและจำหน่ายหลายวัน
- อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน
ภาวะการผลิตและการจำหน่ายปรับตัวลดลง โดยปัจจัยหลักมาจากเดือนเมษายนเป็นช่วงเทศกาลมีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน ส่งผลให้การผลิตทำได้ไม่เต็มที่นัก ประกอบกับในช่วงเดือนที่ผ่านมาผู้ผลิต ได้ทำการผลิตทดแทนไว้บางส่วนแล้ว ในส่วนของกลุ่มลูกค้าต่างก็งดคำสั่งซื้อในช่วงวันหยุดเทศกาลเช่นกัน ในส่วนของปัจจัยอื่นๆ ก็เป็นในเรื่องของราคาวัตถุดิบซึ่งทั้งบิลเลตและเศษเหล็กต่างก็เริ่มที่จะปรับลดราคาลงบ้างแล้ว ทำให้ผู้ผลิตและกลุ่มผู้ซื้อต่างชะลอการผลิตและคำสั่งซื้อลงเพื่อรอให้ราคาเหล็กลดลงอีกครั้ง และปัจจัยในด้านคุณภาพของสินค้าก็มีผลให้กลุ่มลูกค้าลดการสั่งซื้อลงด้วย คาดว่าเดือนหน้าในส่วนของการผลิตและจำหน่ายจะปรับลดลงอีก เนื่องจากจะเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน ภาคธุรกิจก่อสร้างจะชะลอตัวลง ซึ่งผู้ผลิตจะทำการปรับลดยอดการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการต่อไป
4. อุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบด้านบวกต่อดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2547 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2547 ได้แก่
- อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
ภาวะอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน ในส่วนของการผลิตน้ำมันสำเร็จรูปมีปริมาณเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม เนื่องจากมีโรงกลั่น 1 โรง กลับมามีการกลั่นน้ำมันตามปกติ หลังจากหยุดผลิตเพื่อการซ่อมบำรุงไประยะหนึ่ง ในขณะที่โรงกลั่นอื่นๆยังคงปริมาณการผลิตในระดับสูง
ภาวะการจำหน่ายปริมาณการจำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูปในเดือนนี้มีปริมาณใกล้เคียงกับเดือนมีนาคมที่ผ่านมา แม้ว่าบางโรงกลั่นจะมีการผลิตที่เพิ่มขึ้น แต่เป็นเพื่อทดแทนการนำเข้าในช่วงที่หยุดการผลิตเพื่อซ่อมบำรุงโรงกลั่น และปริมาณการจำหน่ายยังคงสูงอย่างต่อเนื่องตามความต้องการใช้น้ำมันในช่วงเทศกาลวันหยุดสงกรานต์
ภาวะการส่งออกมีปริมาณเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยการเพิ่มขึ้นมาจากการส่งออกแนฟทาและก๊าซ หุงต้ม ของบางบริษัทระดับสินค้าคงคลังของผู้ผลิตยังคงมีระดับลดลงจากเดือนมีนาคมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
- อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ
การผลิต เพิ่มขึ้นเนื่องจากในเดือนนี้กลับมาผลิตตามปกติ หลังจากในเดือนที่แล้วมีวันหยุดพิเศษ ในช่วงบำรุงรักษาเครื่องจักรประจำปี
การจำหน่าย ลดลงเล็กน้อยจากเดือนที่แล้ว แต่ยังคงอยู่ในระดับสูงเนื่องจากในเดือนนี้มีวันหยุดช่วงยาว ในระหว่างเทศการสงกรานต์ ที่มีงานเลี้ยงสังสรรค์มากสินค้าคงคลัง ลดลงเล็กน้อย แต่ปกติ เนื่องจากโดยทั่งไปจะมีสต๊อกไว้ 10 วัน ของจำนานที่ขายตามแผนในแต่ละเดือน
- อุตสาหกรรมการฟอกและตกแต่งหนังฟอก
ในเดือนเมษายน ภาวะการผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่ภาวะการจำหน่ายมีทิศทางที่ ลดลงจากเดือนก่อน ทำให้ระดับสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น โดยในส่วนของหนังวัว ยังขาดแคลนวัตถุดิบอยู่อย่างต่อเนื่อง เพราะส่วนมากวัตถุดิบจะนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งในปัจจุบันยังเกิดปัญหาวัวบ้าในต่างประเทศ จึงยังไม่สารมารถนำเข้าได้ ดังนั้นถ้าวัตถุดิบเข้ามาน้อยก็ไม่สามารถผลิตให้ตามคำสั่งซื้อที่เข้ามาได้ ทำให้จำหน่ายลดลงตามไปด้วย และส่วนหนึ่งเกิดจากหนังมีราคาแพงทำให้ลูกค้าไม่สู้ราคา โรงงานจึงไม่มีนโยบายสต๊อกสินค้าไว้เช่นกันเพราะจะทำให้เกิดต้นทุนค่าใช้จ่ายกับโรงงาน
หนังควาย ภาวะตลาดยังไม่ค่อยจะดีเท่าไรเพราะราคาวัตถุดิบที่แพงขึ้นลูกค้าจึงลดคำสั่งซื้อมีผลให้ยอดการจำหน่ายลดลง การผลิตลดลงส่วนหนึ่งเกิดจากจำนวนวันทำงานที่ลดลง โรงงานจะผลิตเฉพาะ สินค้าตามคำสั่งซื้อ เพราะราคาวัตถุดิบแพงโรงงานจึงไม่สต๊อกสินค้าไว้
-อุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอสำเร็จรูป ยกเว้นเครื่องแต่งกาย
ภาวะการผลิตสินค้าและจำหน่ายสินค้าในเดือนเมษายนสูงขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจากมีการจัดรายการขายสินค้า และมีคำสั่งซื้อจากลูกค้าด่วนเข้ามา ทำให้การผลิตและจำหน่ายสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ส่วนระดับสต๊อกสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นผลมาจากทางโรงงานผู้ผลิตแห่งหนึ่ง มีการผลิตสินค้าทุกเดือน แต่ยังไม่มีจำหน่ายสินค้า ทำให้สต๊อกสินค้าสูงขึ้น
- อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากนม
ภาวะการผลิตและการจำหน่ายในเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยเฉพาะในสินค้าไอศครีมมีความต้องการบริโภคสูงในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี ส่วนสินค้านมพร้อมดื่มและนมข้นหวานอยู่ในระดับทรงตัวระดับสินค้าคงคลังในเดือนนี้ลดลงจากเดือนมีนาคม ซึ่งมาจากสินค้าไอศครีมที่ผู้ผลิตมีการนำ สต๊อกสินค้าออกมาจำหน่าย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-