คำต่อคำ : ไตรรงค์ สุวรรณคีรี อภิปรายงบประมาณปี 48

ข่าวการเมือง Friday June 25, 2004 08:48 —พรรคประชาธิปัตย์

 นายไตรรงค์  สุวรรณคีรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์
อภิปรายพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2548
........................................
ประเด็นแรกผมตั้งใจว่าจะมาติงรัฐบาลว่าการตั้งงบประมาณแผ่นดินครั้งนี้ ที่ตั้งไว้สมดุลมันเป็นการคาดการณ์ แต่ว่าจริงๆแล้วเมื่อถึงเวลากันจริงๆ มันมีปัจจัยเสี่ยงอีกหลายตัวที่อาจจะทำให้งบปรระมาณที่คิดว่าจะสมดุลไม่สมดุลได้ มีการขาดดุลได้ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้นก็มีกาพูดกันไปหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการลดความร้อนแรงของประเทศจีน ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นราคาน้ำมัน ความไม่สงบในภาคใต้หรืออะไรต่อมิอะไรที่อาจจะเกิดขึ้นในโลก เราก็ได้ยินรัฐมนตรีว่าการยุติธรรมของสหรัฐอเมริกาก็บอก แต่ว่ารัฐบาลยืนยันไปเมื่อวานว่าอย่างไรรัฐบาลก็มั่นใจใจว่าอัตราความเจริญในชาติก็จะอยู่ตามที่คาดการณ์ไว้ 7-8 เปอร์เซ็นต์ และมั่นใจว่ารายรับของรัฐบาลจะต้องเป็น 9.9 เมื่อรัฐบาลยืนยันอย่างนั้นผมก็ไม่เสียเวลามาพูดถึง เพราะว่าเวลาพูดส่วนตัวรัฐบาลต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ท่านพูดเอาไว้
ผมจะพูดต่อไปคือว่า ผมอยากจะติงเรื่องที่เกี่ยวกับยุทธศาสตร์เพิ่มศักยภาพของประเทศให้มีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น เพราะว่าเท่าที่ผ่านมา 3 ปีกว่าของรัฐบาลนี้ ยุทธศาสตร์นี้มีมาตลอด ผมอภิปรายงบประมาณแผ่นดินทุกครั้งบอกว่ายังไม่มีตัวชี้วัดใดๆที่ชี้ให้เห็นว่าประเทศมีศักยภาพสูงที่จะแข่งขันในตลาดโลกใน 3 ปีที่ผ่านมา ที่ผมมี 7 ประการพูดจะต้องใช้เวลาหลายนาที
ประการแรกคือว่า ดูโครงสร้างการส่งออก โครงสร้างการส่งออกเป็นมาอย่างไร 10 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันนี้ก้เป็นอย่างนั้น การส่งออกของประเทศไทยก็ยังเป็นสินค้าส่วนตัว ยังเป็นสินค้าที่ส่งออกไม่ว่าจะมองในชนืดของสินค้าหรือจำนวนเปอร์เซนต์ว่าเป้นกี่เปอร์เซนต์ของการส่งออกทั้งหมด ก็ยังอยู่ใน 6 ตัวนี้ มีสินค้าคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ยางพารา ข้าว แผงวงจรไฟฟ้าและยานพาหนะเป็นส่วนประกอบ ทีนี้ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงขึ้นมา ก็ดูโฆษณาก็ว่าเราจะใช้ภูมิปัญญา เราจะใช้เทคโนโลยีอะไรเรียกนวัตกรรรมต่างๆ เพิ่มมูลค่าเพื่อให้ไทยแบรนด์ ตราของประเทศไทยนั้นออกไปแย่งตลาดในตลาดโลกนั้น ผมก็ยังไม่เห็นว่ามีผลอะไรที่เด่นชัดขึ้นมา อาจจะได้ผลอยู่บ้างผมไม่ทราบ แต่เมื่อเอาตัวเลขมาดู ผมทำวิจัยเวลาที่ผมมาพูด ก็เห็นว่าโครงสร้างไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ถ้าโครงสร้างการส่งออกไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง โครงสร้างในการผลิตในประเทศก็ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะเอสเอ็มอีระดับกลางระดับย่อม ส่วนใหญ่ก็เป็นการผลิตเพื่อป้องการผลิตขาดใหญ่เพื่อการส่งออก เพราะฉะนั้นเวลามีความเจริญเศรษฐกิจที่เจริญขึ้นมาเพราะเราส่งออกได้มากขึ้นเพราะมีกาารส่งออกอยู่กลุ่มเดียวคือการส่งออก และคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม 5-6 ประการเหล่านี้ ถึงรวยขึ้น ผมอยากจะพูดเท้าความไปว่า เราอย่าเพิ่งไปดีใจกับตัวเลขการทำการศึกษา และปีต่อมาเมื่อครบรอบ 1 ปีของการแถลงผลงานของรัฐบาล รัฐบาลได้แถลงผลงานและมีตัวเลขซึ่งเป็นตัวเลขวัดการกระจายรายได้ของประชาชนว่าดีขึ้นหรือเลวลง เรียกตัวสัมประสิทธิตัวนี้ ถ้าใกล้เลขหนึ่งถือว่าการกระจายรายได้ดีขึ้น ถ้าห่างจากเลขหนึ่งหรือต่ำกว่าเลขหนึ่งมากๆ มันก็ไม่ดีขึ้น นั่นคือวิธีหนึ่งในการวัด เหมือนกับวัดเป็นเปอร์เซนต์เทรดก็ได้ ว่าคนที่ 20% ของประชากรที่รวยที่สุดเป็นเจ้าของรายได้ประชาชาติกี่เปอร์เซนต์ คนที่ 20% ข้างล่างเป็นเจ้าของรายได้ประชาชาติกี่เปอร์เซนต์ ก็มาวัดดูแต่ละปีว่ามันดีขึ้นหรือเลวลง นั่นคือตัววัดการกระจายรายได้ รัฐบาลเห็นนักวิชาการคำนวณมากแล้วพิมพ์เป็นเล่มแจกอยู่ในหน้าแรกๆ
กระผมไม่ได้เตรียมตัวพูดในตอนนั้น อยากให้น้องๆพูดกันก็ยากจะขอติงในวันนี้ว่า ในการคำนวณพวกนี้ในทางเศรษฐศาสตร์ เราต้องใช้ตัวเลขรายได้ประชาชาติในการคำนวณ รายได้ประชาชาติคือผลผลิตและบริการที่ประชาชนคนบริโภคใน 1 ปี สมมติว่าในประเทศไทย ประชาชนพื้นล่าง ท่านไปคำนวณดูจะเห็นว่าเขามีการบริโภคเพิ่มขึ้นในปีที่ผ่านมา ท่านก็นึกว่าประชาชนเหล่านี้ดีขึ้น ไม่ใช่ในทางเศรษฐศาสตร์ ถ้าหากว่าประชาชนได้บริโภคเพิ่มขึ้นได้ใช้บริการเพิ่มขึ้น ส่วนนั้นก็มีความสุขเพิ่มขึ้น แต่หากว่าเขาได้บริการและบริโภคเพิ่มขึ้น เพราะเขาเป็นหนี้เพิ่มขึ้น ส่วนที่เป็นหนี้เป็นความทุกข์ที่เพิ่มขึ้น ท่านจะต้องเอาความสุขตั้งลบด้วยความทุกข์ ที่เหลือก็เรียกว่าเป้าหมายสูงสุดของนักเศรษฐศาสตร์ถ้านักธุรกิจต้องการสร้างกำไรให้สูงที่สุด นักเศรษฐศาสตร์ต้องการสร้างความสุขให้เกิดสูงสุดแก่ประชาชน ไม่เหมือนกัน นักธุรกิจกับนักเศรษฐศาสตร์ ต้องเอาความสุข ลบด้วยความทุกข์ออก ถึงจะรู้ว่าประชาชนดีขึ้นหรือไม่ ถ้าทำอย่างนี้คนทั้งประเทศก็จะเห็นว่ากระจายแล้ว ความสุขของประเทศผมไม่เรียกว่าการกระจายรายได้ห่างขึ้น คนกลุ่มหนึ่งมีความสุขเพิ่มขึ้น แต่คนพื้นล่างมีความสุขน้อยลงอันนี้เป็นสิ่งที่ผมขอติงไว้ในทางทฤษฎี และเมื่อโครงสร้างการผลิตการส่งออกไม่เปลี่ยนแปลง ผมไม่เชื่อว่าการกระจายความสุขดีขึ้นของประชาชน
มาดูทางด้านการนำเข้า โครงสร้างก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลง 10 ปีที่ผ่านมา เดี๋ยวนี้ก็เป็นอย่างนั้นคือยังพึ่งสินค้าอยู่ 6-7 ตัว เมื่อ 10 ปีที่แล้ว 6 ตัวปัจจุบันเพิ่มมา 7 ตัว ที่นำเข้าหลักๆ แม้ว่าจะมองปริมาณหรือมองมูลค่า คิดว่าเป็นกี่เปอร์เซนต์ของปริมาณนำเข้าทั้งหมด ก็เหมือนกันก็มีเครื่องจักรที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม ใช้น้ำมัน ใช้ไฟฟ้า สารเคมีทุกชนิด เมืองไทยสารเคมีนำเข้ามา แม้ที่อยู่เขาห้ามนำเข้าเราก็นำเข้า ยาฆ่าหอยเชอรี่ของชาวนาที่ไหลไปตามลำคลองและปลาตายกันหมดทั้งคลอง ยังใช้อยู่ในเมืองไทย มีผลประโยชน์ขัดกัน ข้าวขายได้ดีแต่ปลาไม่มีจะกิน น้ำทำประปาก็ไม่ได้ ขอฝาก ส.ส.ฉะเชิงเทราว่าปลาตายหมดแล้ว น้ำมันและก๊าซ มือถือด้วย โครงสร้างพวกนี้ก็ไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งหมดนี้ขอกราบเรียนให้ทราบ ที่เราบอกว่าเราต้องการจะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ มันไม่ให้กู้เงิน เพราะโครงสร้างการนำเข้าส่งออกไม่มีการเปลี่ยนแปลง ผมอยากให้มีการเปลี่ยนแปลง รัฐบาลประกาศหลายหน หลายคนพูดว่าต้องการให้ประเทศนี้ยืนบนขาตัวเลข โครงการที่ต้องพึ่งต่างประเทศน้อยลง ผมเห็นด้วยไม่ใช่ไม่เห็นด้วย เพราะนั่นคือปรัชญาเศรษฐศาสตร์สายต่างๆไม่ใช่ปรัชญาเศรษฐศาสตร์สุดโต่งแบบสายหลัก คือต้องการให้ยืนบนขาตัวเองได้ ทำไมเมื่อเราก็ทำมาหากินกันตามหลักวิชาเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก ก็ขึ้นอยู่กับขีดความสามารถแข่งขันในตลาดโลก แต่เวลาเกิดวิกฤตเราสามารถจะยึดได้โดยที่ประชาชนไม่จำเป็นจะต้องลำบาก ประชาชนไม่จำเป็นต้องหารากไม้กิน เพราะเรามียารักษาโรคของเราเพียงพอ อาหารเพียงพอ ที่อยู่อาศัยเพียงพอ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำสิครับสนับสนุน แต่ที่พูดมาทั้งหมดผมเป็นอาจารย์ผมไม่อยากไปตำหนิรัฐบาล แต่รัฐบาล 3-4 ปีผมต้องการเห็นโครงสร้างมันเปลี่ยนไปทั้งหมดก็คงจะทำไม่ได้ ผมไม่ตำหนิท่านในเรื่องนี้เต็มๆ เมื่อกี้บอกว่าติงไม่ได้ตำหนิ แต่ที่อยากจะตำหนิตรงนี้ ตรงที่ว่าท่านไม่ได้ตคั้งใจวางรากฐานอย่างจริงจังเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างการผลิตเพื่อให้ประเทศสามารถแข่งขันได้ในอีก 10-15 ปี ถ้าปล่อย 4 ปี ไปเสียเฉยๆ ทั้งที่ท่านมีความพร้อมที่จะทำ รัฐบาลอื่นไม่พร้อมเหมือนรัฐบาลนี้
เรื่องถัดไปอยากจะขอบ่นอีก 2-3 เรื่อง เรื่องแรกคือ การตั้งงบประมาณเพื่อชำระหนี้เงินกู้ของรัฐบาลใน 2548 งบประมาณนี้แม้ว่ามันจะตั้งงบประมาณไว้สูงเกินปี2547 ก็ตาม แต่ผมเกรงว่าพอเอาเข้าจริงงบที่ตั้งมันจะไม่พอ เพราะผมค่อนข้างจะมั่นใจร่วมกับนักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกว่าอัตราดอกเบี้ยมันต้องเพิ่มแน่ ตั้งแต่กรีนสแปน ส่งสัญญาณแล้ว ท่านรองนายกฯก็รู้เรื่องนี้ดี กรีนแสปนของสหรัฐฯส่งสัญญาณมา พูดออกมาคำเดียวมันก็โรมรันพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวอัตราดอกเบี้ยเพิ่มไปแล้วนะครับ ทั่วโลกเพิ่มไปหมดแล้ว ระยะสั้นก็มักจะตามมา คิดว่าคงจะเพิ่มประมาณ 2 | 4 ในปี 48 คือระหว่างนี้ เพราะฉะนั้นที่ตั้งมาคงจะไม่พอนะครับ ถ้าไม่พอท่านก็ไปแก้ปัญหากันเองว่าจะทำอย่างไร หรืออาจปรับภาระไปจ่ายไปเป็นภาระของปี 49 ของพอประมาณ หรือท่านจะทำอย่างไรก็แล้วแต่ แต่ผมอยากจะกราบเรียนว่าจะเกิดปัญหา
ที่ผมจะพูดในเรื่องนี้ ก็เพียงแต่บอกว่าไหนๆรัฐบาลนี้ ผมดูแล้วก็มีคนทันสมัยอยู่หลายคน มีวิชาการหลายคนผมคิดว่าถึงเวลาที่จะต้องทำ ท่านจะมาย้อนว่าสมัยผมทำไมถึงไม่ทำ ทำไมผมไม่พร้อม ที่ผมว่ารัฐบาลนี้พร้อมที่จะทำก็เพราะว่า ในเมื่อท่านอยากจะทำอะไรใหม่ๆ เอามันใหม่จริงเลยครับ เพื่อความรอบคอบของประเทศ เศรษฐศาสตร์ปัจจุบันนี้เขาใช้คณิตศาสตร์ เขาเรียนกันด้วย พูดเป็นตัว X ตัว Y กันแล้ว ไม่เหมือนสมัยผมเรียน รุ่นนี้รุ่นลูกของผมเรียน เขาเรียนเป็นตัว X ตัว Y และในต่างประเทศเขาก็ใช้เยอะมาก คือเขาจำลองประเทศของเขาขึ้นมา ปัจจัยการผลิตมีอะไรกี่อย่าง ปัจจัยสังคม ปัจจัยการเมือง ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ทุกชนิดเป็นร้อยๆตัว นำปัจจัยเหล่านี้ฟื้นฟูสภาพความเป็นจริงให้มากที่สุด แล้วเขาก็เอามามีกรรมวิธี ในที่สุดก็สามารถจะทำนายว่าในอนาคตประเทศของเราจะเป็นอย่างไร แม่นถึงขนาดที่ตรงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอนาคตได้ เพราะในประเทศที่เขาเจริญแล้วในอเมริกา ในอังกฤษ ในประเทศอื่นที่ผมศึกษามาเขาใช้ ประเทศไทยเราก็มีไม่ใช่ไม่มี หน่วยราชการเราก็มี รู้สึกว่าที่สำนักงบประมาณก็ทำ แต่ที่ผมพูดหมายถึงว่าผมอยากจะให้เหมือนที่ประเทศอังกฤษๆ รัฐบาลเข้าสนับสนุนให้ภาคเอกชนและวงการมหาลัยทำ ก็มีโมเด็มเป็นของพวกเขา แล้วคนมีสมมุติฐานที่ไม่เหมือนกัน ตัวแปรต่างๆก็ไม่เหมือนกัน ผลการทำนายจึงออกมาอาจจะไม่เหมือนกัน ก่อนจะจัดทำงบประมาณแผ่นดินรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เข้าจะเชิญประมาณ 6 กลุ่ม ทั่วราชอาณาจักร ทั้งกลุ่มมหาวิทยาลัย กลุ่มสภาหอการค้า กลุ่มสภาอุตสาหกรรม แต่ละคนมีโมเด็มเป็นของตัวเอง แล้วก็มานั่งประชุมโดยนำผลของการทำนายมาดูกัน แล้วก็มีมติร่วมกันว่ามันควรจะเป็นแบบนี้ เสร็จแล้วเขาก็ประกาศให้ประชาชนทราบว่า อีก 10 ปีขางหน้าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร อีก 3 ปีข้างหน้าเป้นอย่างไร อีก 5 ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร เขาถึงจะตั้งงบประมาณแผ่นดิน และตั้งล่วงหน้า 3 ปี
สเปนทำล่วงหน้า 4 ปี แคนนาดาทำล่วงหน้า 5 ปี ถ้าพื่อทำอย่างนี้จะไม่มีปัญหาที่ต้องให้มานั่งเสียเวลาพูดกันว่าเนี่ย ตั้งงบประมาณชำระหนี้มันจะพอไม่พอปีหน้าเดือนต่างนะครับ แต่ถ้าทำอย่างนี้นะครับมันรู้หมดว่าควรจะตั้งเท่ากับเท่าไหร่ อย่างน้อยใกล้ความเป็นจริงมาก เราอย่าไปตระหวาดเขาเวลาพวกเขาเสดงความคิดเห็น เขารันโมเด็มมาแล้วเขาแสดง มันอาจจะไม่ตรงกับที่รัฐบาลตั้งเป้า อย่าไปด่าเขา เรียกเขามาพูด เชิญประชุมเขา ช่วยกัน เขาก็เป็นเจ้าของประเทศทุกคนมีความรู้มาช่วยกัน ฟังแล้วดูแล้วก็อย่ามีทิฐิมานะ รัชกาลที่ 5 เป็นราชาธิปไตยสมัยนั้น เสนาบดีของท่าน เจ้าพระยาทั้งหลายที่ท่านบอกว่ามีทิฐิมานะ เวลาคนอื่นติงจะต้องฟังไม่ใช้ยึดตามหลักของตนเองเท่านั้นถูกต้อง ที่ตัวเองคิดต้องถูกเสมอ นั้นสมัยที่ยังไม่มีประชาธิปไตย พระองค์ท่านก็จะมีความคิดเป็นประชาธิปไตยขนาดนั้น เพราะฉะนั้น ผมถึงอย่างให้รัฐบาลนี้ทำอย่างนั้น ก็ฝากเอาไว้นะครับ ฝากเอาไว้ว่า เพราะว่ายังมีหนุ่มๆกว่าผมเยอะแยะที่อยู่ตรงนี้ อาจจะพัฒนาขึ้นไปเป็นรัฐมนตรี ยุคนี้ทำไม่ได้ ยุคหน้าต้องทำ หรือพวกท่านอาจจะกลับมาเป็นรัฐบาลอีก ก็ขอฝากไว้ด้วย อันนี้ฝากด้วยความเป็นห่วงใย เพราะอยากเห็นว่าประเทศเรามีความรอบคอบในการจัดตั้งงบประมาณแล้วก็ มีความแม่นยำมากขึ้น ไม่ทำแบบสุ่มสี่สุ่มห้า
เรื่องถัดไปครับ มีคนมามากแล้วเรื่องเงิน การใช้เงินนอกงบประมาณ จริงๆ ผมก็ไม่อยากพูดอีก เพราะว่า เพียงแต่อยากจะติงว่า การใช้งบประมาณ งบกลางโอเค แล้วครับ มีทุกยุคทุกสมัยแต่บางอย่างมันมากเกินไป เพราะการใช้งบประมาณที่ดีมันต้องวินัยทางด้านการคลัง และที่สำคัญคือว่า ท่านต้องมาขอฉันทานุมัติว่าท่านจะเอามาทำอะไร จากสภาฯ แห่งนี้ เพราะเขาเป็นเจ้าของเงิน เพราะเราเป็นตัวแทนของประชาชนงบอะไรก็ตามที่คลุมเครือแสดงรายการไม่ได้ ใช้ดุลพินิจเอาเองของผู้มีอำนาจ แม้จะบอกว่างบกลางก่อนใช้ตามกฎหมายก็ต้องผู้อำนวยการสำนักงบประมาณก็ต้องเป็นผู้เห็นชอบมันก็หนีไม่พ้นหรอกครับ แล้วแต่ท่านรัฐมนตรีจะสั่งการเอา ผมรู้ผมนั่งกับท่านรัฐมนตรีตั้งหลายคนแล้ว ตั้งแต่พลเอกเปรม จนถึงท่านชวน ผมรู้การใช้งบกลางเป็นอย่างไร จึงต้องระมัดระวังมาก งบพวกนี้ผมอยากจะกราบเรียนตัวอย่างผมเป็นคนอื่นเยอะ แต่ไม่ได้อ่านอย่างเดียว ผมไปดูมาด้วย ในละตินอเมริกาก็ใช้อย่างนี้ครับ มันก็เจ๊งหมด ในละตินอเมริกางบประมาณเพิ่งมาเป็นระบบเมื่อปี 1991 นะครับ ก่อนหน้านั้นไม่มีหรอกครับนักเศรษฐศาสตร์เขาพูดกันตลกๆ ในตำราเศรษฐศาสตร์เขาเรียกว่า โอเพ่น เอ็นเด็ก บัดเจ็ท ท่านรู้ไหมแปลว่าอะไร เป็นงบประมาณที่ใช้จ่ายตามอำเภอใจของผู้มีอำนาจ โอเพ่น เอ็นเด็ก บัดเจ็ท ก็คืองบประมารแบบว่า หอยก้นรั่วหรือว่าถุงไม่มีหูรูด ไม่มีหลักเกณฑ์ ไม่มีหลักทาง ไม่มีกรอบส่วนมากก็หวังผลประโยชน์ทางการเมืองละตินอเมริกาถึงย่อยยับในปัจจุบัน ประเทศแรกที่พ้นมาได้ก็คือชิลีและเป็นตัวอย่างในปัจจุบันของละตินอเมริกาเพราะว่าประเทศชิลีจึงเป็นตัวอย่างเจริญที่สุดในปัจจุบันนี้ และเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของละตินอเมริกา
เพราะฉะนั้นผมถึงไม่อยากที่จะให้ทำอย่างนั้น เพราะว่า มันนอกจากว่า งบกลางที่ท่านตั้งมามันมากเกินกว่าเหตุครับ ท่านหัวหน้าพรรคผมก็ได้พูดไปแล้ว แต่ว่ามันยังมีตรงอื่นอีกนะครับ เช่น ที่ในงบอื่นๆ ก็เยอะมากเลย แสนกว่าล้านงบอื่นๆ หน้า 71 เล่มนี้นะครับแสนกว่าล้าน งบอื่นๆผมเข้าใจว่าเป็นงบจุกจิกครับ ไม่อย่างแสดงรายการ ภาระมากมาย ผมเปิดดูในเขียวคาดแดงมันมีเยอะแยะมันมารวมๆ แต่ว่า 2 แสนล้านมันมากกว่าปีที่แล้วตั้ง 3-4 พันล้าน ผมว่ามันก็มากเกินไป ที่จริงถ้าเกิดตั้งใจ ข้าราชการตั้งใจจะทำกันจริงๆ มากกว่าปีที่แล้ว 3 หมื่นกว่าล้าน ไม่ใช่ 3 พันล้าน ถ้าตั้งใจกันจริงๆก็ดำเนินการได้ แต่ว่าขี้เกียจทำกันข้าราชการ ก็เลยเอาเป็นงบอื่นบานกะโล่โท่ อย่างนี้ตรวจสอบไม่ได้ครับ งบอื่นๆ อย่างนี้เป็นต้น หรืองบประมาณผูกพันข้ามปี แสนกว่าล้านก็มีคนพูดกันแล้ว ส่วนใหญ่ก็ของกระทรวงคมนาคม 6 หมื่นกว่าล้าน คืออันนี้ก็ขออภัยถ้าตรวจสอบไม่ได้นะครับ เพราะงบประมาณผูกพันอย่างนี้ผมก็ไม่อยากให้เกิดขึ้น ผมก็ขอเตือนรัฐบาลเอาไว้ว่าที่หลังอย่าทำ เพราะว่าทำแล้วมันน้อยลง
ข้อต่อไปในปี 2547 รัฐบาลได้เขียนไว้ดีนะครับ ในเรื่องการจัดการบริหารประเทศ แต่ว่ามันหายไปในปี 48 มันมีอยู่ 2 ข้อที่หายไปผมเสียดาย ในงบประมาณปี 47 ท่านเขียนไว้ว่าจะเพิ่มขีดความสามารถในการจัดเก็บรายได้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปีนี้ไม่มี ทั้งที่ท้องถิ่นยังมีปัญหาในการหารายได้ ผมบังเอิญเป็นประธานในเรื่องนี้การกระจายอำนาจทางการปกครองส่วนท้องถิ่นสมัยที่เป็นรัฐบาล เขาจะมีปัญหาแต่ว่าท่านก็ไม่เอาแล้วท่านไม่สนใจมันแล้ว อันที่สองปีที่แล้วในงบประมาณท่านบอกว่าการกระจายอำนาจไม่ว่าทั้งคน ทั้งเงิน ทั้งงาน จะต้องโอนไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเรื่องความโปร่งใสทั้ง 2 ข้อนี้ไม่มีท่านไม่ได้พูด ปีนี้ท่านก็ไม่พูดในเรื่องความโปร่งใสในการโอนเงิน และบังเอิญว่าผมจะร้องทุกข์ท่านประธานว่ามีพรายกระซิบบอกผมว่า ในงบอุดหนุนเปิดดูหน้าเขียวคาแดง หน้า151 เล่ม 6 มีพรายมากระซิบบอกว่า เงินอุดหนุน 9 หมื่นกว่าล้าน เงินอุดหนุนองค์กรปกครองสู่ท้องถิ่นมีการล็อบบี้กันให้กับ ส.ส.ทางฝ่ายรัฐบาลเสนอผ่านไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และพอเข้ามาส่วนกลางไม่มีการพิจารณางบนี้ เรียกว่าเป็นงบที่แจกกันประมาณ รวมกันแล้วประมาณ 3 พันล้านจริงเท็จก็ไม่ทราบ เขามากระซิบเขาฟ้องมาว่าให้ผมช่วยพูดด้วย เพราะเขารู้เขาเห็น ถ้าอย่างนี้ไม่ยุติธรรมไม่ยุติธรรม เพราะมันได้ไม่ทั่วฟ้า และไม่ยุติธรรม ไม่ทั่วฟ้าและมันผิดหลักงบประมาณแผ่นดิน ไหนเราก็อุตส่าห์ทำงบประมาณ มีตัวชี้วัด หมายความจะทำให้เขาสู่ระบบใหม่แล้ว มีวิธีวัดผล เสนอเป็นโปรแกรม เสนอในรายการ เสนอเป็นแผนงาน แล้วใช้วิธีวัดผลทางการประกอบการ แต่ถ้าเสนอกันแล้วไม่มีการวัดผลกันอย่างนี้ ถ้าเรียกว่าทำตามอำเภอใจกันอย่างนี้ ผมต้องติงให้คณะกรรมาธิการงบประมาณไปตรวจดูว่าเท็จจริงแค่ไหน และเข้าไปแก้ไข มันก็จะมีปัญหาเหมือนปีก่อนๆ ซึ่งมันไม่ควรทำ มันก็ไม่ดี อยู่ด้วยกันก็ให้มันยุติธรรมสำหรับพี่น้องประชาชน เพราะถ้าทำอะไรต้องทำให้เหมือนกัน เพราะว่าคนทั้งประเทศไม่ชอบภาษี ทำอะไรทำให้เหมือนกัน แต่ถ้าไม่จริงก็แล้วไปนะครับ แต่ถ้าจริงจะต้องเปลี่ยนแปลง
มีการพูดกันบ้างแล้วนะครับในหัวข้อต่อไป คือเรื่องการแบ่งงบประมาณให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน.พรรคผมพูดชัด ว่าปีนี้เราบอกว่าเราจะจ่าย 23.5% ของรายได้ของรัฐให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในขณะที่กฎหมายกำหนดไว้จะต้องจ่าย 35 %ในปี 2549 ที่ผมนำมาพูดเพราะผมมีความรู้สึกคาใจอยู่ 2 ประเด็น คือประเด็นแรก ก็คือว่าถ้าปีนี้เราจ่าย 23.5 ผมไม่คิดว่าปีหน้าจะจ่าย 35% มันเป็นก้าวกระโดดที่รุนแรงมากนะครับ เป็นก้าวกระโดดที่รุนแรง และจะกระทบกับการจัดงบประมาณปีหน้า เพราะเหตุนี้ผมก็เลยมีความรู้สึกว่า รัฐบาลอาจจะมีความในใจอยู่ในเรื่องนี้ รัฐบาลอาจจะมีแผลอยู่ในใจที่จะขอแก้ไขกฎหมายเพื่อลดจำนวนเปอร์เซนต์ลงมาสำหรับปีหน้า หรือไม่ก็แก้กฎหมายเพื่อเลื่อนการจ่ายเงินให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะผมรู้สึกว่ารัฐบาลนี้ ไม่ค่อยสนับสนุนการกระจายอำนาจ ดูได้จากความล้มเหลวในการกระจายอำนาจทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ จนป่านนี้ข้อกฎหมายเจ้าปัญหา อย่างที่ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน พูดเมื่อวานนี้ก็ยังใช้ไม่ได้ การกระจายอำนาจก็ยังไม่ได้ ตั้งผอ.เขตก็ยังไม่ได้ปัจจุบันนี้ยังเลอะเทอะอยู่ ยังไม่รู้อะไรเป็นอะไร รวมทั้งความคิดที่จะตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อันเป้นความคิดที่สวนทางกับการกระจายอำนาจ ผมก็เลยมีความรู้สึกคาใจ ว่ารัฐบาลจะทำอย่างไร
และที่สำคัญอีกเรื่องที่ผมจะพูด คือระบบการจัดสรรงบประมาณปีนี้ เรามีตัวชี้วัด ปีที่แล้วมีการกระเตื้องขึ้นหน่อย แล้วผมก็เปิดอ่านดูเขียวคาดแดงมันก็ตลกดี ตลกดีก็คือว่าตัสวชี้วัดที่ตามกัน มันไม่ได้มาตราฐานหรอครับ ไม่มีมาตราฐานผมไม่ทราบว่าใครเป็นคนคิด เป็นความหลากหลายแล้วก็ดูตลก เพราะว่าผมไปดูของประเทศอื่นๆ มาเยอะไม่ยากนะครับที่บ้านผมมีอินเตอร์เน็ต ท่านอยากรู้ว่าความจริงเขาจัดอย่างไรเปิดดูเลยครับเว็บไซต์ของอังกฤษ เขามีเยอะแยะไป แต่ตัวชี้วัดนี่ครับ มันตลกนะครับ ตัวชี้วัดของรัฐบาลในเรื่องของการตัดถนนอย่างนี้ ท่านบอกว่า การตัดถนน ใช้งบประมาณเท่านี้ล้าน ตัวชี้วัดในเชิงปริมาณด้านถนน 10 กม. ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพถนนก็ได้มาตราฐานตามที่ต้องการ พูดแค่นี้ ไปดูได้ผมไม่ได้โกหก แล้วมันชี้วัดอย่างไรเรีกยว่าตัวชี้วัดในเชิงคุณภาพว่าจะได้มาตราฐานตามที่หน่วยงานราชการกำหนด เท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน หน่วยราชการเขากำหนดทั้งนั้นมาตราฐานถนน ปี 1 พัง 2 ปีพัง ทำไมตรงโค้งนั้นมันได้มาตราฐานหรือเปล่า เพราะว่ามันโกงกันตามระดับชั้น เงินมา 100 ล้านอยู่ในถนน 50 ล้าน แล้วอีก 50 ล้านอยู่ไหน อยู่ในพงคน เวลาผมปราศรับผมเรียกว่าอยู่ในพงหมา แต่นี้ในสภาผมไม่พูดว่าพงหมา ผมไม่พูดว่า พงคน แต่ว่าผมพูดไปแล้วแหละ ก็เพราะว่ามาตรฐานของหน่วยราชการ แต่เอามาเป็นตัวชี้วัดได้อย่างไร มันไม่ใช่ ตัวชี้วัดไม่ใช่ตัวนั้น ท่านต้องทำความเข้าใจกับข้าราชการปีหน้าต้องทำให้ดีกว่านี้ ต้องเข้าใจว่าตัวชี้วัด ทำไมเขาถึงคิดระบบนี้ขึ้นมา ที่คิดระบบนี้ขึ้นมาก็เพราะว่าวัตถุประสงค์ของเขาเพื่อต้องการให้ผูกมัดรัฐบาล และหน่วยราชการให้กับประชาชนที่เป็นเจ้าของเงิน ว่าท่านเอาเงินไปทำโครงการต่างๆท่านต้องบอกมาว่า ท่านคาดหมายว่าท่านจะได้อะไร ที่ประชาชนจะได้รับมันคืออะไร ต้องตอบออกมาเลยครับเป็นตัวเลขได้ยิ่งดี บางอย่างบอกความเป็นตัวเลขไม่ได้ก็ออกมาเป็นคำพูด
ยกตัวอย่างว่าถ้าจะสร้างเขื่อนท่านใช้เงินทั้งหมดเท่าไหร่ เรื่องสร้างเขื่อนผมเคยพูดในสภานี้แล้ว และได้น้ำเท่าไหร่ น้ำที่อยู่ในเขื่อนเขาเรียกว่าผลผลิตที่ได้ ไม่ใช่ผลรับนะครับ ผลรับก็คือว่า เราต้องต่อไส่ไก่ไปในท้องไร่ท้องนาแล้วดูว่าประชาชนสามารถทำการผลิตเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ การได้เพิ่มขึ้นเท่านั้น จับหลาได้เท่าไหร่บวกไป ถ้าผลิตกระแสไฟฟ้าได้ด้วย ได้เท่าไหร่โปะเข้าไปลบด้วยค่าเสียหายที่น้ำท่วมออกมาอันนั้นเขาเรียกว่าผลรับ ต้องออกมาเป็นตัวเลขเพื่อวัดได้ กว่ามันจะพังผลตอบแทนมันคุ้มกับอัตราดอกเบี้ยที่ลงทุนหรือไม่ ผมเปิดดูของตร.ทางหลวงมี อันนี้เข้าท่าอยู่ ของตร.ทางหลวงผมเปิดดูในนี้ ขี้เกียจพูดไปหากกันเอง
คือต้องทำความเข้าใจข้าราชการ 3ตัว input output outcome อีกหนึ่งก็คือการประหยัด ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล 6 ตัวนี้ต้องทำความเข้าใจ ไม่นั้นเขียนตัวชี้วัดไม่ถูกหรอครับและตรวจสอบไม่ได้ด้วย เขียนมาเลอะเทอะ ทำถนนเขียนมา ทำถนนเท่ากับเท่านี้ ใช้เงินเท่ากับเท่านี้ ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพประชาชนจะพอใจ ในปริมณฑลเท่านั้นตารางกิโลเมตรประชาชนจะพอใจไม่ได้หรอกครับ เจ้ากระทรวงจะต้องบอกมาว่าถนนมันหลายสาย จะต้องตัด เจ้ากระทรวงจะต้องช่วยสำนักงบประมาณ ต้องกำชับให้หน่วยงานราชการไปเลือกมาถนนนั้นก็มีเยอะแยะที่ต้องตัด แต่ต้องไปคำนวณดูว่าถนนเส้นนั้นมันมีความจำเป็นเพื่ออะไร ถ้าเพื่อทางเศรษฐกิจไปคำนวณมาว่ามันจะทำให้นำผลิตผลออกไปขายประชาชนให้มีรายได้เพิ่มขึ้น เท่าไหร่ๆ มันคุ้มไหม เมื่อลงทุนในสายนันั้นเปรียบเทียบกับสายอื่นสายไหนให้เอ้าท์คัม มากกว่าเราเอาสายนั้น และของบประมาณมาและให้ทยอยทำไปเรื่อยๆ เพราะทำพร้อมกันทุกสายทั้งประเทศไม่มีเงินให้ทำ มันต้องทำอย่างนี้ครับ ต้องช่วยกันเลือกไม่ใช่บอกว่า สายนี้ประชาชนพอใจก็ตัด มีตรงไหนบ้างไม่พอใจ ก็มันวัดไม่ได้จัดเอาเข้าความสำคัญไม่ได้
แต่ว่าเรื่องนี้เป็นปีแรกๆผมอภัย ข้าราชการจะต้องศึกษาเพิ่มเติมขึ้น คือวัตถุประสงค์ระบบนี้เขาต้องการให้ประหยัด เมื่อประหยัดแล้วก็ใช้เงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ พูดถึงตร.ทางหลวง เหมือนที่นิวซีแลนด์ ก็ให้งบประมาณตร.ไป ผมพูดอยู่ตรงนี้เพื่อข้าราชการที่ได้ฟังจะทำถูกในปีหน้า อินพุดของตร.ทางหลวงมีอะไร เขาก็มีรถ ตัวคุณก็เป็นอินพุดอยู่แล้ว มีเครื่องมือ เงินเดือนคุณก็คือเครื่องมือ ค่าเบี้ยเลี้ยงคุณก็คือเครื่องมือ เขามีป้ายจราจรต่างๆ อันนี้เป็นอินพุดทั้งหมด ห้ามเลี้ยวซ้าย ห้ามเลี้ยวขวา ห้ามขับเร็วเกินเท่านั้นเท่านี้ มีเครื่องมือให้คุณตรวจใครเมาแล้วห้ามขับ ถ้ามีแอลกอฮอล์เกินนี้ห้ามขับ พวกง่วงแล้วขับก็สำคัญประเทศไม่ทำฝากคุณจาตุรนต์ ฉายแสง และนายนิกร จำนงค์ ทางเลี้ยวโค้งมันควรมีถนนที่เป็นลูกคลื่น คนเวลาง่วงๆวิ่งมาพอเจอลูกคลื่นก็จะตื่น ตอนเลี้ยวโค้ง ตรงวังน้อยที่เข้ากรุงเทพฯตายกันไม่รู้กี่ร้อยศพแล้ว เพราะเราไม่มีถนนลูกคลื่นกันพวกง่วงแล้วขับ ยิ่งหน้าฟุตบอลอย่างนี้ คนขับก็ง่วง และถ้ารัฐมนตรีออกตรวจราชการหมู่นี้ โดยเฉพาะนายกฯนี้ห้ามนะ เพราะคนขับอาจจะดูและอาจขับรถตกถนนได้เพราะง่วง นายกฯเป็นทรัพยากรสำคัญเราต้องหวงเอาไว้ อันนี้เป็น input ทั้งนั้น เราต้องทำ เอ้าท์พุดคืออะไรครับ ก็คือว่าตร.จะต้องทำงานร่วมกับเครื่องมือเหล่านี้ คือจะต้องออกไปตรวจบ่อยๆ ต้องตรวจจับบ่อยๆ ต้องไปตั้งด่านตรวจบ่อยๆ นี้คือเอ้าท์พุด ว่าตรวจกี่ครั้ง จับได้กี่ครั้ง พวกขี่มอเตอร์ไซต์ไม่สวมหมวกมีจับได้กี่ครั้ง พวกขับผิดกฏจราจรกี่ครั้ง นี่คือเอ้าท์พุด จำนวนครั้งในการออกตรวจ ในการดูแล เอาคัมมันคืออะไรครับ ก็คือจำนวนเปอร์เซนต์ที่ตั้งเอาไว้ถ้าทำแบบนี้แล้ว จะทำให้อัตราการเกิดอุบัติเหตุลดลงมา 20% อย่างนั้นคือเป้าหมายที่ตั้งไว้ แล้วก็ตรวจสอบได้ ปีงบประมาณปีหน้าเราตรวจขสอบได้เลย ว่าที่ให้งบประมาณในการไปซื้อของพวกนี้ และจ้างตร.เหล่านี้ ค่าเอาคัมได้ 20% ถ้ามันต่ำกว่าต้องมาพิจารณากันว่ามันบกพร่องตรงไหน หรือว่าเข้าเป้า
ต้องมาพิจารณาว่ามันบกพร่องตรงไหน หรือว่าเข้าเป้า นี่เห็นไหมว่าระบบเขาทำดี แต่ว่าเราไม่เข้าใจ เราเลยทำเละ แต่เป็นการเริ่มต้น อย่าไปว่ากันมาก เดี๋ยวจะเสียกำลังใจกัน แต่ผมเพียงแต่บอกว่ารัฐบาลต้องช่วย หาทางให้ข้าราชการได้เข้าใจ ผมดูแล้วรู้สึกว่าข้าราชหลายกรม หลายกระทรวง ไม่เข้าใจ สิ่งที่ผมกำลังพูด ยังต้องอบรมกันอีกเยอะ และเขียนไม่ถูก ตัวชี้วัด เขาเขียนเอาไว้เพื่อให้มีการตรวจสอบ เพราะมาถึงตรงนี้จึงต้องมีการพูดถึงการตรวจสอบ และการประเมินผล เขาเขียนขึ้นมาเพื่อให้มีการตรวจสอบและการประเมินผล เพราะถ้าไม่มีตัวชี้วัดที่มีคุณภาพ เราก็ประเมินผลไม่ได้ แต่รัฐบาลนี้ไม่ได้ทำเลย ไม่มี ใครเป็นคนประเมินผล ตัวชี้วัดใครเป็นคนทำ ต้องให้ต่างประเทศมาทำละครับ หากให้เจ้ากระทรวงทำเอง หากให้อธิบดีกรมทำเอง มันก็เขียนตัวชี้วัดเข้าข้างตัวมันเองหมด ตัวประเมินผลก็เหมือนกัน ต้องมีหน่วยงานอิสระในการประเมินผลว่าเป็นไปตามเป้าหรือไม่ หากประเมินเองก็เข้าข้างกันเอง ทุกโครงการก็ดีหมด ปีหน้าก็ขอเพิ่มได้หมด ทั้งๆที่อาจะไม่ดีก็ได้ แต่นี่ไม่มี ท่านรองนายกฯ สุชาติทราบดี หากตรวจสอบไม่ได้ ประเมินไม่ได้ แล้วชี้ขาดไม่ได้ ว่าโครงการนี้ควรทำต่อไป หรือควรจะยกเลิก เมื่อมีการให้รางวัลก็ต้องมีการลงโทษ เพราะเป็นสัญญากับประชาชนไว้ เมื่อทำงานสำเร็จมีรางวัล เมื่อไม่สำเร็จก็ต้องลงโทษ ในนิวซีแลนด์ หากบริหารไม่ได้เป้า เขาปลดอธิบดี แม้ผู้ว่าธนาคารชาติ อัตราเงินเฟ้อเกิน 10 % เขาปลดครับ (ต่อหน้า 2)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ