สรุปสาระสำคัญการอภิปรายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2548
ของ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ประจำวันที่ 24 มิถุนายน 2547
นายธีระ สลักเพชร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์
-ยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคม และแก้ไขความยากจน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
1. รัฐบาลจะให้ประชาชนสร้างชุมชนเข้มแข็ง ส่งเสริมสังคมการเรียนรู้ แต่ไม่เคยเน้นเรื่องแผนชุมชน ถือเป็นปัญหารัฐบาล
2. 3 ปีที่ผ่านมายังไม่เข้าใจแนวทางการแก้ปัญหาความยากจน ทั้งไม่ประสบความสำเร็จดูจากหนี้ที่เพิ่มขึ้นไตรมาสแรก 110000 ต่อครัวเรือน/ปี เพิ่มขึ้นจากปี 2543 ที่ตัวเลขหนี้ประชาชน 68000 ครัวเรือน/ปี เพิ่มถึง 61%
3. เศรษฐกิจชุมชนบนฐานแห่งการเรียนรู้ ถือว่ารัฐบาลไม่ประสบความสำเร็จ การให้การเรียนรู้แก่ประชาชน ไม่ได้ใช้ประโยชน์จาหน่วยงานของรัฐ
นายยุทธพงษ์ จรัสเสถียร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม พรรคประชาธิปัตย์
-งบประมาณในกองทุนฟื้นฟู
เป็นกองทุนที่ตั้งขึ้นในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งรัฐบาลชุดนี้ก็ได้สานต่อโครงการ เห็นด้วยกับการจัดสรรงบประมาณ เพราะขณะนี้ประชาชนโดยเฉพาะเกษตรกรประสบปัญหาเรื่องหนี้เป็นอย่างมาก แต่อยากจะฝากให้นายจาตุรนต์ ฉายแสง ฐานะประธานกองทุนฟื้นฟูฯ เร่งจัดการปัญหาทุจริตในกองทุนฟื้นฟูให้เรียบร้อย
-งบประมาณของกรุงเทพมหานคร ปี 48 ได้รับงบประมาณ 11,905 ล้านบาท
เห็นด้วยที่กรุงเทพจะมีโครงการจัดซื้อรถดับเพลิงมาเพิ่มหลังจากมีการโอนหน่วยงานดังกล่าวมาอยู่กับกทม. แต่รถดับเพลิงที่โอนมานั้นไร้ประสิทธิภาพ จึงต้องมีการสั่งซื้อมาใหม่ซึ่งตนเห็นด้วยเพราะเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการปฏิบัติงานของเจ้าหหน้าที่ แต่ไม่นานมานี้มีหนังสือจากประเทศออสเตรเลียไปถึงรมว.มหาดไทย โดยแนะนำให้สั่งซื้อรถดับเพลิงของบริษัท สไตเออร์ เด็มเลอร์ เอ็มจีเอทโฮลเคจี โดยบริษัทดังกล่าวจะหาแหล่งเงินกู้ให้โดยเสนอมา 7,847 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นงบประมาณที่สูงมาก ทั้งที่หลายรายการซื้อได้ถูกกว่า
-งบประมาณในกระทรวงพลังงาน (กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานปี 48 ได้รับงบ 1,098 ล้าน)
ฝากให้นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รมว.พลังงาน ยืนยันในสภาฯ ว่าในกรมดังกล่าว ไม่มีการทุจริตในโครงการเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน เพราะการเติมน้ำมันแต่ละครั้งจะมีการหักเงินเข้ากองทุนเพื่อใช้ในการเปลี่ยนอุปกรณ์เพื่ออนุรักษ์พลังงานเพื่อลดค่าใช้จ่ายพลังงาน ทั้งนี้ได้มีการตั้งข้อสังเกตถึงการใช้บาลาดที่ปกติการเปิดแต่ละครั้งจะใช้อุณหภูมิไม่เกิน 30 องศา แต่เมื่อการประมูลจริงกลับยอมรับบาลาดที่อุณหภูมิสูงถึง 50 องศา ทั้งที่เมื่อบาลาดมีอุณหภูมิสูงเป็นการสิ้นเปลืองพลังงาน นอกจากนี้ยังมีการประกวดราคาในกองทุนที่จะมีบริษัท BNB เป็นบริษัทผูกขาดในการประมูลงานแต่ละครั้ง ถือเป็นการล็อกสเปกอยากให้ผู้ที่รับผิดชอบเข้าไปตรวจสอบเรื่องนี้ด้วย
นายวิรัช ร่มเย็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระนอง พรรคประชาธิปัตย์
-งบประมาณในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (งบประมาณปี 47 จำนวน 5 หมื่นกว่าล้านบาท)
ตั้งข้อสังเกตถึงการส่อทุจริตในการตั้งห้องปฏิบัติการกลางเพื่อตรวจสอบผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคและผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศ จำนวน 1,950 ล้านบาท ซึ่งมีทุนจดทะเบียน 250 ล้าน และกำหนดเป็นเงินจ่ายผ่าน อีกก้อนเป็นงบดำเนินการ 1,700 ล้าน
เอกสารจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เมื่อวันที่ 28 เม.ย.47 เรื่องการตรวจการจัดซื้ออุปกรณ์ของห้องปฏิบัติการกลางเพื่อตรวจสอบผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร งบประมาณจำนวน 1,597 ล้านบาท ซึ่งพบสิ่งที่น่าพิรุธหลายเรื่องคือ
1. ระเบียบปฏิบัติการบริหารงาน ที่มีการจ่ายเบี้ยประชุมแบบเหมาจ่ายเดือนละ 1 หมื่นบาทต่อคน และการจ่ายค่าตอบแทนคณะกรรมการบริหารคือ ประธานกรรมการ เดือนละ 2 แสนบาท กรรมการบริหาร เดือนละ 50,000 และกรรมการผู้จัดการ เดือนละ 150,000 บาท ซึ่งทั้งหมดไม่ได้ผ่านการพิจารณาในที่ประชุมของผู้ที่ถือหุ้นในบริษัทดังกล่าว
2. การกำหนดคุณสมบัติเครื่องมือในลักษณะเอื้อประโยชน์กลุ่มผู้ประกวดราคาหรือการฮั๊วกัน
3. การกำหนดราคากลางของเครื่องมือที่จัดซื้อสูงกว่าหน่วยงานอื่น
4. สตง.ให้บริษัทดังกล่าวตั้งกรรมการสอบ ทบทวนเร่งแก้ไขการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพ ทบทวนกำหนดระเบียบวิธีปฏิบัติของวัสดุให้เโปร่งใสตรวจสอบได้เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง ตนไม่แน่ใจว่าเหล่านี้ได้มีการแก้ไจหรือยัง ฝากว่าการบริหารราชการแผ่นดิน ตั้งงบประมาณไว้เท่าไหร่ก็ตามหากมีการทุจริตหรือไม่รอบคอบในการใช้งบประมาณก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้
นายเชน เทือกสุบรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์
งบประมาณรายได้ที่รัฐแถลงว่าจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นนั้น ไม่ได้เป็นไปตามการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่เป็นเพราะมีการใช้จ่ายในสินค้าฟุ่มเฟือยมาก เช่น เหล้า บุหรี่ ภาษีสถานบริการ ภาษีน้ำมัน
ประชาชนไม่ควรเชื่อที่รัฐบาลแถลงว่าเศรษฐกิจดีขึ้น เนื่องจากประเทศยังมีหนี้สาธารณะ เป็นจำนวนมากกว่างบประมาณของประเทศถึง 3 เท่า
นางคมคาย พลบุตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดจันทบุรี พรรคประชาธิปัตย์
-งบประมาณในกระทรวงสาธารณสุข กองทุนหลักประกันสุขภาพ 79,948 ล้านบาท
งบประมาณปี 48 เมื่อเทียบกับเมื่อปี 47 นั้นเพิ่มขึ้นเพียง 4.3 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งเมื่อเฉลี่ยแล้วงบประมาณรายหัวในการรักษาพยาบาลของประชาชนจะเหลือเพียง 1,308 ต่อคนต่อปี ถือว่าน้อยมาก ซึ่งคิดว่างบรายหัวของประชาชนน่าจะอยู่ที่ 1,782 บาทต่อคนต่อปี เพื่อให้การรักษาพยาบาลเพิ่มประสิทธิภาพและการบริการให้มีคุณภาพ นอกจากนี้การที่รัฐบาลจัดงบประมาณไม่เพียงพอจะกระทบไปถึงบุคลลากรในโรงพยาบาล ทำให้คุณภาพ ทั้งคุณภาพการบริการ รวมถึงคุณภาพของยา ไม่มีประสิทธิภาพ เรื่องนี้ต้องถามรัฐมนตรีว่างบประมาณส่วนนี้จะต้องจัดสรรอย่างไรให้เพียงพอ
-งบประมาณเพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากร
เกิดปัญหาทั้งในโรงพยาบาล รวมถึงสถานีอนามัย เพราะไม่มีใครเตรียมพร้อมเรื่องการปฏิบัติตามนโยบาย ซึ่งเป็นนโยบายที่มีแต่นโยบายไม่มีงบประมาณลงมา
นางฮูวัยดิย๊ะ พิศสุวรรณ อุเซ็ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์
-รัฐบาลมุ่งเน้นแต่ตัวเลขทางเศรษฐกิจ ไม่สนใจด้านสังคม ซุกงบไว้ที่งบกลาง โดยอ้างว่าเพื่อยุทธศาสตร์ที่สำคัญ แต่ไม่มีรายละเอียด
-ไม่เพิ่มงบประมาณในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ตามสัดส่วนที่ควรจะเป็น
-กระทรวงศึกษาธิการซึ่งได้รับงบประมาณมากที่สุด มีการจัดสรรงบในส่วนการลงทุนทางการศึกษา เพียง 1.5% แต่งบค่าใช้จ่ายประจำมีถึง 85% ทำให้เด็กไทยไม่ได้รับการพัฒนาทางการศึกษาที่ดีพอ
นายไพศาล จันทวารา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อำนาจเจริญ พรรคประชาธิปัตย์
-โครงการ 30 บาทยังขาดงบประมาณ ค่าใช้จ่ายต่อหัวใน ปี 48 ที่กำหนดไว้ 1,510 บาท/หัว รัฐบาลได้จัดสรรให้อย่างเพียงพอแล้วหรือไม่
-ข้อเสนอเพื่อให้ รบ.พิจารณา ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข
1. จัดสรรอัตราเหมาจ่ายรายหัวโครงการ 30 บาทอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกันอย่างเพียงพอ
2. จัดสรรงบเพิ่มในหมวดส่งเสริมป้องกันสุขภาพให้กับกองทุนสาขา และ อสม.
3. จ่ายค่าตอบแทน อสม. เป็นรายเดือน
4. สนับสนุนขวัญและกำลังใจของเจ้าหน้าที่ เพื่อให้รู้สึกว่าแตกต่างจากเอกชนน้อยลง
-ในส่วนของสำนักนายกฯ และ งบกลาง มีข้อเสนอ ดังนี้
1. ให้ติดตามโครงการต่างๆที่นายกฯเคยรับปากกับประชาชนใน จ.อำนาจเจริญ เมื่อครั้งทัวร์นกขมิ้น
2. เงินกองทุนหมู่บ้านหมดแล้ว ประชาชนไม่มีเงินใช้คืนกองทุนหมู่บ้าน จึงขอจ่าย 3 ปี / ครั้ง ได้หรือไม่
3. จัดสรรเงินชดเชยให้แก่ประชาชนที่มอบปืนแก๊ปให้แก่ รบ.ตามโครงการส่งมอบอาวุธคืน รายละ 3,000 บาท
นายนราพัฒน์ แก้วทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พิจิตร พรรคประชาธิปัตย์
-งบกระทรวงพาณิชย์
รัฐบาลไม่มีความจริงใจในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเอฟทีเอ เนื่องจาก
1. ตั้งงบในการศึกษาและวิเคราะห์ไว้เพียง 11.9 ล้านบาท
2. ตั้งงบประมาณที่จะส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการด้านการวิจัยโครงสร้าง และโอกาสในการลงทุน เพียง 75 ล้านบาท ซึ่งไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ประกอบการขนาดย่อย และขนาดกลางและเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ
3. ตั้งงบเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจทางด้านพันธะกรณีการค้า ไว้เพียง 26 ล้านบาท ซึ่งจะไม่ครอบคลุมจำนวนคนที่ต้องสร้างความเข้าใจ
-รัฐบาลไม่กระจายงบลงสู่ท้องถิ่นอย่างแท้จริง
-ควรตั้งงบที่ใช้เพื่อการดูแลในกรณีฉุกเฉินเร่งด่วน เช่น กรณีการเกิดพายุ น้ำท่วม เป็นต้น ไม่ใช่กองงบประมาณไว้ที่งบกลางแต่เพียงอย่างเดียว
-ที่จังหวัดพิจิตรประสบปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี รัฐบาลควรระดมทุนหางบประมาณเพื่อสร้างแก่งเสือเต้น เพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหาให้กับประชาชน
นางสาวนริศา อดิเทพวรพันธุ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์
-การวางงบประมาณไม่มีความชัดเจน ไม่บอกรายละเอียด
-ให้สิทธิ์ชาวต่างชาติเข้ามาถือครองที่ดินในประเทศมากเกินไป
-ใช้เงินในโครงการต่างๆโดยไม่จำเป็น เช่น โครงการไทยแลนด์ อีลิท การ์ด ที่ไม่ประสบความสำเร็จ
นายประกอบ รัตนพันธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์
-งบกระทรวงเกษตรอาจมีการรั่วไหล ในกรณีงบช่วยเหลือชาวสวนยาง
-การตั้งบริษัทกลางเพื่อจัดการกับชาวสวนยางอาจมีการทุจริตไม่โปร่งใส
-สืบเนื่องจากโครงการนโยบายรักษาเสถียรภาพราคายาง ซึ่งมีการสร้างอาคารอัดยางที่มีเพียงบริษัทเดียวเป็นผู้ดำเนินการ ในขณะดำเนินการเกษตรกรชาวสวนยางไม่รู้เรื่อง แต่ปัจจุบันกลับมีการผลักภาระหนี้สินให้สหกรณ์การเกษตร ถามว่ากระทรวงเกษตรจะดำเนินการอย่างไร
นายวิฑูรย์ นามบุตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อุบลราชธานี พรรคประชาธิปัตย์
-รัฐบาลควรจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาท้องถิ่นและชนบทให้มากขึ้น
-รัฐบาลให้ความสำคัญต่องบที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานน้อย เช่น ไม่มีงบก่อสร้างสถานีอนามัย หรือโครงการสถานีสูบน้ำ เป็นต้น
-งบที่เกี่ยวกับการก่อสร้างถนน และสะพาน โดยเฉพาะในชนบท มีไม่ถึง 100 ล้านบาท
-ในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐบาลกล้ายืนยันได้หรือไม่ว่าจะไม่แก้กฎหมายการกระจายอำนาจ และควรจะให้การสนับสนุนช่วยเหลือมากกว่านี้
-เพิ่มค่าตอบแทนให้ กำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน และทบทวนนโยบายของกระทรวงมหาดไทยที่ตัดผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และ สารวัตรกำนันลงเหลือหมู่บ้านละ 1 คน ให้เพิ่มเป็น 2 คนเท่าเดิมตามกฎหมาย
-ขอให้ รบ.อนุมัติงบกลาง เพื่อสร้างพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ที่ จ.อุบลราชธานี เพราะนายกฯเคยรับปากแล้ว แต่ยังไม่มีงบประมาณ
นายไพบูลย์ พิมพ์พิสิฐถาวร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กาญจนบุรี พรรคประชาธิปัตย์
-ความเดือดร้อนของประชาชนเรื่องปัญหาที่ดินและปัญหาน้ำ
-ปัญหาอัญมณี โครงการเผาพลอย มีปัญหาความขัดแย้งในขั้นตอนแล็ปเพชรพลอย
นายวินัย เสนเนียม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สงขลา พรรคประชาธิปัตย์
-งบประมาณในการช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องของการปลูกยาง ทั้งเกิดความไม่โปร่งใสในการประมูลจัดซื้อจัดจ้างพันธุ์กล้ายางจำนวน 90 ล้านต้น
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 24 มิ.ย. 2547--จบ--
-ดท-
ของ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ประจำวันที่ 24 มิถุนายน 2547
นายธีระ สลักเพชร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์
-ยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคม และแก้ไขความยากจน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
1. รัฐบาลจะให้ประชาชนสร้างชุมชนเข้มแข็ง ส่งเสริมสังคมการเรียนรู้ แต่ไม่เคยเน้นเรื่องแผนชุมชน ถือเป็นปัญหารัฐบาล
2. 3 ปีที่ผ่านมายังไม่เข้าใจแนวทางการแก้ปัญหาความยากจน ทั้งไม่ประสบความสำเร็จดูจากหนี้ที่เพิ่มขึ้นไตรมาสแรก 110000 ต่อครัวเรือน/ปี เพิ่มขึ้นจากปี 2543 ที่ตัวเลขหนี้ประชาชน 68000 ครัวเรือน/ปี เพิ่มถึง 61%
3. เศรษฐกิจชุมชนบนฐานแห่งการเรียนรู้ ถือว่ารัฐบาลไม่ประสบความสำเร็จ การให้การเรียนรู้แก่ประชาชน ไม่ได้ใช้ประโยชน์จาหน่วยงานของรัฐ
นายยุทธพงษ์ จรัสเสถียร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม พรรคประชาธิปัตย์
-งบประมาณในกองทุนฟื้นฟู
เป็นกองทุนที่ตั้งขึ้นในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งรัฐบาลชุดนี้ก็ได้สานต่อโครงการ เห็นด้วยกับการจัดสรรงบประมาณ เพราะขณะนี้ประชาชนโดยเฉพาะเกษตรกรประสบปัญหาเรื่องหนี้เป็นอย่างมาก แต่อยากจะฝากให้นายจาตุรนต์ ฉายแสง ฐานะประธานกองทุนฟื้นฟูฯ เร่งจัดการปัญหาทุจริตในกองทุนฟื้นฟูให้เรียบร้อย
-งบประมาณของกรุงเทพมหานคร ปี 48 ได้รับงบประมาณ 11,905 ล้านบาท
เห็นด้วยที่กรุงเทพจะมีโครงการจัดซื้อรถดับเพลิงมาเพิ่มหลังจากมีการโอนหน่วยงานดังกล่าวมาอยู่กับกทม. แต่รถดับเพลิงที่โอนมานั้นไร้ประสิทธิภาพ จึงต้องมีการสั่งซื้อมาใหม่ซึ่งตนเห็นด้วยเพราะเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการปฏิบัติงานของเจ้าหหน้าที่ แต่ไม่นานมานี้มีหนังสือจากประเทศออสเตรเลียไปถึงรมว.มหาดไทย โดยแนะนำให้สั่งซื้อรถดับเพลิงของบริษัท สไตเออร์ เด็มเลอร์ เอ็มจีเอทโฮลเคจี โดยบริษัทดังกล่าวจะหาแหล่งเงินกู้ให้โดยเสนอมา 7,847 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นงบประมาณที่สูงมาก ทั้งที่หลายรายการซื้อได้ถูกกว่า
-งบประมาณในกระทรวงพลังงาน (กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานปี 48 ได้รับงบ 1,098 ล้าน)
ฝากให้นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รมว.พลังงาน ยืนยันในสภาฯ ว่าในกรมดังกล่าว ไม่มีการทุจริตในโครงการเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน เพราะการเติมน้ำมันแต่ละครั้งจะมีการหักเงินเข้ากองทุนเพื่อใช้ในการเปลี่ยนอุปกรณ์เพื่ออนุรักษ์พลังงานเพื่อลดค่าใช้จ่ายพลังงาน ทั้งนี้ได้มีการตั้งข้อสังเกตถึงการใช้บาลาดที่ปกติการเปิดแต่ละครั้งจะใช้อุณหภูมิไม่เกิน 30 องศา แต่เมื่อการประมูลจริงกลับยอมรับบาลาดที่อุณหภูมิสูงถึง 50 องศา ทั้งที่เมื่อบาลาดมีอุณหภูมิสูงเป็นการสิ้นเปลืองพลังงาน นอกจากนี้ยังมีการประกวดราคาในกองทุนที่จะมีบริษัท BNB เป็นบริษัทผูกขาดในการประมูลงานแต่ละครั้ง ถือเป็นการล็อกสเปกอยากให้ผู้ที่รับผิดชอบเข้าไปตรวจสอบเรื่องนี้ด้วย
นายวิรัช ร่มเย็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระนอง พรรคประชาธิปัตย์
-งบประมาณในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (งบประมาณปี 47 จำนวน 5 หมื่นกว่าล้านบาท)
ตั้งข้อสังเกตถึงการส่อทุจริตในการตั้งห้องปฏิบัติการกลางเพื่อตรวจสอบผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคและผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศ จำนวน 1,950 ล้านบาท ซึ่งมีทุนจดทะเบียน 250 ล้าน และกำหนดเป็นเงินจ่ายผ่าน อีกก้อนเป็นงบดำเนินการ 1,700 ล้าน
เอกสารจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เมื่อวันที่ 28 เม.ย.47 เรื่องการตรวจการจัดซื้ออุปกรณ์ของห้องปฏิบัติการกลางเพื่อตรวจสอบผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร งบประมาณจำนวน 1,597 ล้านบาท ซึ่งพบสิ่งที่น่าพิรุธหลายเรื่องคือ
1. ระเบียบปฏิบัติการบริหารงาน ที่มีการจ่ายเบี้ยประชุมแบบเหมาจ่ายเดือนละ 1 หมื่นบาทต่อคน และการจ่ายค่าตอบแทนคณะกรรมการบริหารคือ ประธานกรรมการ เดือนละ 2 แสนบาท กรรมการบริหาร เดือนละ 50,000 และกรรมการผู้จัดการ เดือนละ 150,000 บาท ซึ่งทั้งหมดไม่ได้ผ่านการพิจารณาในที่ประชุมของผู้ที่ถือหุ้นในบริษัทดังกล่าว
2. การกำหนดคุณสมบัติเครื่องมือในลักษณะเอื้อประโยชน์กลุ่มผู้ประกวดราคาหรือการฮั๊วกัน
3. การกำหนดราคากลางของเครื่องมือที่จัดซื้อสูงกว่าหน่วยงานอื่น
4. สตง.ให้บริษัทดังกล่าวตั้งกรรมการสอบ ทบทวนเร่งแก้ไขการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพ ทบทวนกำหนดระเบียบวิธีปฏิบัติของวัสดุให้เโปร่งใสตรวจสอบได้เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง ตนไม่แน่ใจว่าเหล่านี้ได้มีการแก้ไจหรือยัง ฝากว่าการบริหารราชการแผ่นดิน ตั้งงบประมาณไว้เท่าไหร่ก็ตามหากมีการทุจริตหรือไม่รอบคอบในการใช้งบประมาณก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้
นายเชน เทือกสุบรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์
งบประมาณรายได้ที่รัฐแถลงว่าจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นนั้น ไม่ได้เป็นไปตามการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่เป็นเพราะมีการใช้จ่ายในสินค้าฟุ่มเฟือยมาก เช่น เหล้า บุหรี่ ภาษีสถานบริการ ภาษีน้ำมัน
ประชาชนไม่ควรเชื่อที่รัฐบาลแถลงว่าเศรษฐกิจดีขึ้น เนื่องจากประเทศยังมีหนี้สาธารณะ เป็นจำนวนมากกว่างบประมาณของประเทศถึง 3 เท่า
นางคมคาย พลบุตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดจันทบุรี พรรคประชาธิปัตย์
-งบประมาณในกระทรวงสาธารณสุข กองทุนหลักประกันสุขภาพ 79,948 ล้านบาท
งบประมาณปี 48 เมื่อเทียบกับเมื่อปี 47 นั้นเพิ่มขึ้นเพียง 4.3 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งเมื่อเฉลี่ยแล้วงบประมาณรายหัวในการรักษาพยาบาลของประชาชนจะเหลือเพียง 1,308 ต่อคนต่อปี ถือว่าน้อยมาก ซึ่งคิดว่างบรายหัวของประชาชนน่าจะอยู่ที่ 1,782 บาทต่อคนต่อปี เพื่อให้การรักษาพยาบาลเพิ่มประสิทธิภาพและการบริการให้มีคุณภาพ นอกจากนี้การที่รัฐบาลจัดงบประมาณไม่เพียงพอจะกระทบไปถึงบุคลลากรในโรงพยาบาล ทำให้คุณภาพ ทั้งคุณภาพการบริการ รวมถึงคุณภาพของยา ไม่มีประสิทธิภาพ เรื่องนี้ต้องถามรัฐมนตรีว่างบประมาณส่วนนี้จะต้องจัดสรรอย่างไรให้เพียงพอ
-งบประมาณเพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากร
เกิดปัญหาทั้งในโรงพยาบาล รวมถึงสถานีอนามัย เพราะไม่มีใครเตรียมพร้อมเรื่องการปฏิบัติตามนโยบาย ซึ่งเป็นนโยบายที่มีแต่นโยบายไม่มีงบประมาณลงมา
นางฮูวัยดิย๊ะ พิศสุวรรณ อุเซ็ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์
-รัฐบาลมุ่งเน้นแต่ตัวเลขทางเศรษฐกิจ ไม่สนใจด้านสังคม ซุกงบไว้ที่งบกลาง โดยอ้างว่าเพื่อยุทธศาสตร์ที่สำคัญ แต่ไม่มีรายละเอียด
-ไม่เพิ่มงบประมาณในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ตามสัดส่วนที่ควรจะเป็น
-กระทรวงศึกษาธิการซึ่งได้รับงบประมาณมากที่สุด มีการจัดสรรงบในส่วนการลงทุนทางการศึกษา เพียง 1.5% แต่งบค่าใช้จ่ายประจำมีถึง 85% ทำให้เด็กไทยไม่ได้รับการพัฒนาทางการศึกษาที่ดีพอ
นายไพศาล จันทวารา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อำนาจเจริญ พรรคประชาธิปัตย์
-โครงการ 30 บาทยังขาดงบประมาณ ค่าใช้จ่ายต่อหัวใน ปี 48 ที่กำหนดไว้ 1,510 บาท/หัว รัฐบาลได้จัดสรรให้อย่างเพียงพอแล้วหรือไม่
-ข้อเสนอเพื่อให้ รบ.พิจารณา ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข
1. จัดสรรอัตราเหมาจ่ายรายหัวโครงการ 30 บาทอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกันอย่างเพียงพอ
2. จัดสรรงบเพิ่มในหมวดส่งเสริมป้องกันสุขภาพให้กับกองทุนสาขา และ อสม.
3. จ่ายค่าตอบแทน อสม. เป็นรายเดือน
4. สนับสนุนขวัญและกำลังใจของเจ้าหน้าที่ เพื่อให้รู้สึกว่าแตกต่างจากเอกชนน้อยลง
-ในส่วนของสำนักนายกฯ และ งบกลาง มีข้อเสนอ ดังนี้
1. ให้ติดตามโครงการต่างๆที่นายกฯเคยรับปากกับประชาชนใน จ.อำนาจเจริญ เมื่อครั้งทัวร์นกขมิ้น
2. เงินกองทุนหมู่บ้านหมดแล้ว ประชาชนไม่มีเงินใช้คืนกองทุนหมู่บ้าน จึงขอจ่าย 3 ปี / ครั้ง ได้หรือไม่
3. จัดสรรเงินชดเชยให้แก่ประชาชนที่มอบปืนแก๊ปให้แก่ รบ.ตามโครงการส่งมอบอาวุธคืน รายละ 3,000 บาท
นายนราพัฒน์ แก้วทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พิจิตร พรรคประชาธิปัตย์
-งบกระทรวงพาณิชย์
รัฐบาลไม่มีความจริงใจในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเอฟทีเอ เนื่องจาก
1. ตั้งงบในการศึกษาและวิเคราะห์ไว้เพียง 11.9 ล้านบาท
2. ตั้งงบประมาณที่จะส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการด้านการวิจัยโครงสร้าง และโอกาสในการลงทุน เพียง 75 ล้านบาท ซึ่งไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ประกอบการขนาดย่อย และขนาดกลางและเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ
3. ตั้งงบเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจทางด้านพันธะกรณีการค้า ไว้เพียง 26 ล้านบาท ซึ่งจะไม่ครอบคลุมจำนวนคนที่ต้องสร้างความเข้าใจ
-รัฐบาลไม่กระจายงบลงสู่ท้องถิ่นอย่างแท้จริง
-ควรตั้งงบที่ใช้เพื่อการดูแลในกรณีฉุกเฉินเร่งด่วน เช่น กรณีการเกิดพายุ น้ำท่วม เป็นต้น ไม่ใช่กองงบประมาณไว้ที่งบกลางแต่เพียงอย่างเดียว
-ที่จังหวัดพิจิตรประสบปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี รัฐบาลควรระดมทุนหางบประมาณเพื่อสร้างแก่งเสือเต้น เพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหาให้กับประชาชน
นางสาวนริศา อดิเทพวรพันธุ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์
-การวางงบประมาณไม่มีความชัดเจน ไม่บอกรายละเอียด
-ให้สิทธิ์ชาวต่างชาติเข้ามาถือครองที่ดินในประเทศมากเกินไป
-ใช้เงินในโครงการต่างๆโดยไม่จำเป็น เช่น โครงการไทยแลนด์ อีลิท การ์ด ที่ไม่ประสบความสำเร็จ
นายประกอบ รัตนพันธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์
-งบกระทรวงเกษตรอาจมีการรั่วไหล ในกรณีงบช่วยเหลือชาวสวนยาง
-การตั้งบริษัทกลางเพื่อจัดการกับชาวสวนยางอาจมีการทุจริตไม่โปร่งใส
-สืบเนื่องจากโครงการนโยบายรักษาเสถียรภาพราคายาง ซึ่งมีการสร้างอาคารอัดยางที่มีเพียงบริษัทเดียวเป็นผู้ดำเนินการ ในขณะดำเนินการเกษตรกรชาวสวนยางไม่รู้เรื่อง แต่ปัจจุบันกลับมีการผลักภาระหนี้สินให้สหกรณ์การเกษตร ถามว่ากระทรวงเกษตรจะดำเนินการอย่างไร
นายวิฑูรย์ นามบุตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อุบลราชธานี พรรคประชาธิปัตย์
-รัฐบาลควรจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาท้องถิ่นและชนบทให้มากขึ้น
-รัฐบาลให้ความสำคัญต่องบที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานน้อย เช่น ไม่มีงบก่อสร้างสถานีอนามัย หรือโครงการสถานีสูบน้ำ เป็นต้น
-งบที่เกี่ยวกับการก่อสร้างถนน และสะพาน โดยเฉพาะในชนบท มีไม่ถึง 100 ล้านบาท
-ในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐบาลกล้ายืนยันได้หรือไม่ว่าจะไม่แก้กฎหมายการกระจายอำนาจ และควรจะให้การสนับสนุนช่วยเหลือมากกว่านี้
-เพิ่มค่าตอบแทนให้ กำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน และทบทวนนโยบายของกระทรวงมหาดไทยที่ตัดผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และ สารวัตรกำนันลงเหลือหมู่บ้านละ 1 คน ให้เพิ่มเป็น 2 คนเท่าเดิมตามกฎหมาย
-ขอให้ รบ.อนุมัติงบกลาง เพื่อสร้างพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ที่ จ.อุบลราชธานี เพราะนายกฯเคยรับปากแล้ว แต่ยังไม่มีงบประมาณ
นายไพบูลย์ พิมพ์พิสิฐถาวร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กาญจนบุรี พรรคประชาธิปัตย์
-ความเดือดร้อนของประชาชนเรื่องปัญหาที่ดินและปัญหาน้ำ
-ปัญหาอัญมณี โครงการเผาพลอย มีปัญหาความขัดแย้งในขั้นตอนแล็ปเพชรพลอย
นายวินัย เสนเนียม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สงขลา พรรคประชาธิปัตย์
-งบประมาณในการช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องของการปลูกยาง ทั้งเกิดความไม่โปร่งใสในการประมูลจัดซื้อจัดจ้างพันธุ์กล้ายางจำนวน 90 ล้านต้น
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 24 มิ.ย. 2547--จบ--
-ดท-