นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์
อภิปรายพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2548
***************************************************
ท่านประธานที่เคารพ กระผม สาทิตย์ วงศ์หนองเตย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะของฝ่ายค้านที่เป็นตัวแทนของพี่น้องประชาชน ซึ่งต้องทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้จ่ายเม็ดเงินงบประมาณที่มาจากภาษีและหยาดเหงื่อของพี่น้องประชาชน ผมอยากเรียนท่านประธานว่าเราทำหน้าที่ตรวจสอบเงินงบประมาณทุกอย่างอย่างเที่ยงตรงและตรงไปตรงมา งบประมาณปี 2548 รัฐบาลพยายามที่จะบอกกับประชาชนว่า เป็นงบประมาณที่จัดตามแผนงานซึ่งเป็นไปตามกรอบยุทธศาสตร์ ผมเองก็ให้ความสนใจ ติดตามไปดูกรอบยุทธศาสตร์ของรัฐบาลและการใช้จ่ายเงินตามแผนงาน ผมพบว่ามีปัญหาบางประการที่จะหยิบยกขึ้นมาเป็นตัวอย่างของการใช้จ่ายงบประมาณ และคิดว่าตัวอย่างนี้เป็นไปทุกส่วน หรือเกือบจะทุกส่วนของงบประมาณ จะนำมาซึ่งความสูญเสียเม็ดเงินงบประมาณอย่างมหาศาล
ผมให้ความสนใจในเรื่องกรอบยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ข้อที่รัฐบาลเสนอ ตัวอย่างที่ผมจะยกให้ท่านประธานเห็นก็คือ กรอบยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งใช้เงินงบประมาณกว่าแสนกว่าล้านบาท ในส่วนนั้นมีการพูดถึงเรื่องการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งรวมถึงวิสาหกิจชุมชนด้วย รัฐบาลนี้เขียนเอาไว้ในงบประมาณโดยสังเขปว่า งบประมาณทั้งหลายจะต้องโปร่งใส มีคุณธรรม มีการมีส่วนร่วม และคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากร ผมเรียนท่านประธานว่าหลังจากอ่านไปแล้ว ผมดูงบประมาณปี 2548 ในส่วนมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของงบสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ความจริงพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม เป็นกฎหมายซึ่งเกิดขึ้นในรัฐบาลที่แล้วเมื่อปี 2543 และได้กำหนนดให้มีสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเกิดขึ้น ซึ่งรัฐบาลชุดนี้ก็ต้องดำเนินงานโดยใช้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมนี้ หรือเรียกว่า สสว. เป็นกลไกหลักในการดำเนินงาน ท่านรองนายกฯสมคิดเอง ก็เคยกล่าวยอมรับว่าหน่วยงานนี้เป็นหน่วยงานสำคัญทที่จะผลักดันงบประมาณเกี่ยวกับเอสเอ็มอี
งบปี 48 เท่าที่ตรวจสอบดูท่านประธาน ต้องยอมรับว่างบนั้นตรวจสอบยากมากว่าอยู่ที่ไหนบ้าง เพราะท่านใช้ทั้งงบกลางและงบประจำและงบในส่วนกระทรวง ส่วนใหญ่จะอยู่ที่กระทรวงอุตสาหกรรม ตั้งงบไว้ 3,718 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากกว่าปีที่แล้ว ผมเรียนท่านประธานว่าพอไปดูงบเกี่ยวกับเอสเอ็มอีในกระทรวงอุตสาหกรรมแล้ว ผมตรวจสอบพบปัญหา 2 ข้อ ซึ่งผมคิดว่าปัญหา 2 ข้อนี้เป็นตัวอย่างของการตรวจสอบเงินงบประมาณของรัฐบาลชุดนี้ ที่น่ากังวลเป็นอย่างยิ่ง ปัญหา 2 ข้อที่ผมตรวจพบคือว่า 1.มีการใช้งบประมาณแบบเลี่ยงกฎหมาย ตามใจผู้มีอำนาจ ปราศจากการกลั่นกรองให้รอบคอบ ฟุ่มเฟือย และหวังแค่การประชาสัมพันธ์โดยขาดประสิทธิภาพไม่โปร่งใส และบางโครงการยังส่อทุจริตอีกด้วย ผมยกตัวอย่างให้ท่านประธานเห็น 3-4 เรื่อง อันดับแรกคือโครงการถนนคนเมา ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายส่งเสริมเอสเอ็มอีของท่าน รัฐบาลใช้งบกลางครับ เป็นงบกลางของปี 2546 จำนวน 12,400,000 กว่าบาทครับ โครงการนี้ความจริงผมดูโครงการแหล่ะครับ ต้องทำ 2 ปี แต่โครงการนี้ 12 ล้านละลายเพียงแค่คืนเดียวครับ แล้วหลังจากนั้นร้านค้าก็เริ่มหายครับ จนบัดนี้โครงการถนนคนมองเงียบหายไป ผมถามว่าเงิน 10 กว่าล้านบาทที่ใช้ไปใครรับผิดชอบครับ
ประการที่ 2 ที่เป็นตัวอย่างการใช้จ่ายเงินงบประมาณเกี่ยวกับเอสเอ็มอีที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งในส่วนที่เรียกว่า สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายที่รัฐมนตรีอุตสาหกรรมต้องรักษาการก็คือว่า ผมคิดว่าท่านเลี่ยงกฎหมายครับ คือ ท่านใช้เงินหลวง เงินงบประมาณ ไปตั้งเป็นบริษัทขึ้นครับ แล้วบริษัทที่ตั้งขึ้นแต่ละบริษัทครับ 1.บริษัทขนมไทยอุตสาหกรรม จำกัด 2.บริษัทรวมค้าปลีกเข้มแข็งจำกัด 3.บริษัทส่งเสริมการค้าเอสเอ็มอี จำกัด 4.บริษัทกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น จำกัด 5.บริษัทห้องปฏิบัติการกลางตรวจสอบผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร และ 6. บริษัทอุตสาหกรรมการบินครับ ผมยกตัวอย่างเป็นเพียงแค่บางบริษัทว่า ผลประกอบการที่ท่านใช้จ่ายเงินเป็นอย่างไรครับ อันดับแรกเพื่อนสมาชิกอภิปรายไปแล้ว บริษัทห้องปฏิบัติการกลางตรวจสอบผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร ใช้ทุนจดทะเบียนไป 250 ล้านบาท ครับ ใช้เงินงบส่วนนี้ไปแล้ว ตอนนี้เป็นอย่างไรครับ มีข่าวฉาวโฉ่ เรื่องของแล็บฉาวเกษตร จน สตง.ต้องส่งจดหมายมาให้ดำเนินการยกเลิกการประกวดราคาจัดซื้อ จนบัดนี้ยังหาคนรับผิดชอบไม่ได้ เพราะ ถ้าเป็นกระทรวงเกษตรหรือกระทรวงอุตสาหกรรม นี่แหละครับวิธีการเลี่ยงกฎหมายแล้วไปตั้งบริษัท ใช้เงินงบประมาณของหลวงไปทำ แล้วสุดท้ายพอเกิดทุจริต บัดนี้ยังไม่มีการตั้งกรรมการสอบอะไรกันเลย นี่คือตัวอย่างแรกของความล้มเหลวของกวารใช้จ่ายเงินงบประมาณครับ โครงการเหล่านี้เกิดขึ้นมาเพราะ ผู้มีอำนาจทางการเมืองเข้าไปสั่งการ แล้วแทรกแซงการใช้จ่ายเม็ดเงินงบประมาณครับ
อันดับ 2 คือ บริษัทที่เรียกว่า บริษัทรวมค้าปลีกเข้มแข็ง เดิมทีสนุกครับ ประกาศว่า จะใช้บริษัทรวมค้าปลีกเข้มแข็ง เพื่อที่จะไปแข่งกับเทสโกโลตัส อะไรบ้าง ใช้จ่ายเงินงบประมาณไป 300 กว่าล้านบาทครับ เมื่อปี 2546 ผลปรากฏว่า 300 กว่าล้านบาทนั้นไปทำอะไรครับ บริษัทรวมค้าปลีกเข้มแข็งเมื่อปีที่แล้ว 2546 ครับ มีเอกสารออกมาบอกว่า เงินงบที่ได้ไป 300 กว่าล้านนั้น 1 ล้านใช้ในการตกแต่งออฟฟิศครับ 102 ล้านไปซื้อคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ 130 ล้านครับไปซื้ออุปกรณ์สำนักงาน และอีก 900,000 ไปซื้อเฟอร์นิเจอร์ ตรงนี้รวม 200 กว่าล้านบาท 300 กว่าล้านบาท ไปใช้จ่ายเงินพวกนี้ครับ บัดนี้รวมค้าปลีกเข้มแข็งไปถึงไหนครับ นี่เงินงบประมาณ เงินคนยากคนจนครับ ท่านใช้กันอย่างนี้ครับ
บริษัทอุตสาหกรรมการบิน ยังเป็นประเด็นที่ต้องตาม แต่ประเด็นที่ใหญ่ที่สุดคือ เรื่องของบริษัทกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่นครับ บริษัทนี้สับสนที่สุด เพราะเมื่อวานเพื่อนสมาชิกของผม จากจังหวัดระยองอภิปราย บอกว่า ใช้จ่ายเงิน 1,800 กว่าล้าน รัฐมนตรีออกมาโต้บอกว่าไม่ใช่ 40 กว่าล้าน ผมไปดูงบประมาณมาหมดแล้วครับ ท่านของงงบประมาณไว้ในเริ่มต้น 1,800 กว่าล้านจริง มีเวลาดำเนินการทั้งสิ้น 18 เดือน ความจริงท่านใช้เงินงบประมาณในเบื้องต้นแล้วครับ 50 กว่าล้านบาท แต่ 1,800 กว่าล้านบาทใช้ไปใช้มาผมก็สงสัย ครับ เพราะท่านบอกว่า ใช้ไปเพียงแค่ 44 ล้านเท่านั้นเอง แต่มีการอนุมัติเงินผูกพันเอาไว้ถึง 1,800 กว่าล้านบาท ยังเบิกจ่ายไม่ได้ คำถามก็คือว่า มีเอกสารจากสำนักงบประมาณออกมาบอกว่า ของบ กลางอีก 1,000 ล้านบาทครับ
สุดท้ายทั้งหมดเนี่ย ผมไม่ทราบว่าโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น ท่านใช้เท่าไร แต่ประเด็นที่ผมจะถาม ฝากท่านประธานไปถึงรัฐบาลก็คือว่า โตรงการนี้ประชาสัมพันธ์ยิ่งใหญ่ๆโตมากครับ แต่ประเด็นก็คือ 1,000 กว่าล้านบาทนรี้สุดท้ายแล้วคนไทยได้อะไรครับ รัฐมนตรีออกมาบอกว่ามีแบรนด์เนมมาสนใจประเทศไทยบ้าง ไปเดินแฟชั่น คนชอบบ้าง การประเมินเม็ดเงินงบประมาณ 1,000 กว่าล้านบาท ถ้าจะใช้ประเมินตรงนั้นไม่พอครับ
อุตสาหกรรมต้นน้ำเราเป็นอย่างไรครับ ความแข็งแกร่งของแฟชั่น การสนับสนุนโครงการนี้ของคนไทย ของผู้ประกอบการไทย เป็นอย่างไรครับ ไม่ใช่ได้ประโยชน์แค่ดีไซเนอร์บางคนแค่นั้น แต่ว่าต้องได้ประโยชน์กับคนอื่นๆ ที่จะเติบโตมาในอุตสาหกรรมนี้ด้วย อันนี้ครับต้องติดตามไปตรวจสอบกันในกรรมาธิการกันอย่างแน่นอนว่า 1000 กว่าล้านบนาทนี้สุดท้ายท่านเอาไปใช้ทำอะไร และตัวเลขที่แท้จริงของโครงการนี้คืออะไรครับ นี่คืออันดับแรกที่ผมมีการพูดถึงไปว่า เป็นตัวอย่างของการใช้เงินงบประมาณที่เป็นปัญหา
ประการที่ 2 ที่ผมพบครับ ผมคิดว่าเป็นเรื่องใหญ่กว่าก็คือ ตัวประสิทธิภาพของหน่วยงานที่ใช้เงินครับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม นั้น ตกเป็นข่าวฉาวโฉ่ในหนังสือพิมพ์มาตั้งแต่ปลายปี 2546 ต่อ ปี 2547 ว่ามีการแต่งตั้งคนของนักการเมืองเข้าไปทำหน้าที่เป็นผู้บริหารครับ แถมไปมีประโยชน์ทับซ้อน มีการรีรอไม่ยอมแต่งตั้งให้ผ่านอภิปรายไม่ไว้วางใจ ให้ผ่านอภิปรายเรื่องของนโยบายไปก่อน แล้งวสุดท้ายแต่งตั้งมาเมื่อสัปดาห์สองสัปดาห์ที่ผ่านมาครับ แต่งตั้งมาท่ามกลางการน้องเรียนว่า ผู้บริหารคนดังกล่าวนั้น ขาดความโปร่งใส และมีการร้องเรียนไปยังคณะกรรมาธิการวุฒิสภาครับ ส่งหนังสือกลับไปยังกระทรวงอุตสาหกรรมบอกว่า ฟังเรื่องร้องเรียนแล้วดูท่าว่าจะมีมูล เพราะหนังสือพิมพ์ไปลงข่าวครับว่า ผู้ประกอบการโอท็อปร้องเรียนว่า บิ๊กของสำนักงานส่งเสนริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม มีการเรียกค่าหัวคิวโอท็อป เพื่อที่จะส่งเข้าไปเป็นสินค้าที่สนับสนุนส่งเสริมครับ ทำกันอย่างนี้เหรอครับ
นอกจากนั้นท่านประธานครับ มีข่าวกระเซ็นกระสายมาจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อมว่า มีกระทั่ง ส.ส.ในซีกรัฐบาลครับ ไม่มีตำแหน่งอะไรไปตั้งออฟฟิศที่นั่นครับ อ้างตัวเป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี แถมเวลาไปประชุมบอร์ดเข้าไปประชุมด้วย ทั้งที่ตนไม่มีตำแหน่งที่อะไรไปนั่งที่นั่น แล้วส่อแววกันครับว่าจะมีการไปฮั้วกับบิ๊กที่นั่นกระทำการบางสิ่งบางอย่าง ซึ่งอาจนำไปสู่การทุจริตได้ นโยบายโอท็อปที่จะส่งเสริมเอสเอ็มอี จึงคิดว่าเป็นเรื่องที่จะเป็นปัญหาเพราะ หน่วยงานและการกำกับดูแลไม่โปร่งใส แต่แปลกครับ ร้องเรียนอย่างไรกระทรวงอุตสาหกรรมไม่เคยที่จะตั้งกรรมการสอบเลย หนังสือพิมพ์ลงข่าวกันเยอะครับ รัฐบาลก็ทำเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ เพราะว่า แว่วว่าเป็นคนซึ่ง เบื้องบนของรัฐบาลเป็นคนส่งมา
สุดท้ายที่ผมเป็นห่วงที่สุดก็คือว่า มันมีข่าวปรากฏชัดเจนก็คือว่า สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม มีโอกาสที่จะดูแลงบประมาณตามแผนส่งเสนริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม ถึง 15000 กว่าล้านบาท ตั้งแต่ปี 2547 ถึง ปี 2549 แล้วก็แว่วข่าวออกมาอีกครับว่าจะมีวิธีการบริหารโดยการจัดตั้งองค์กรแบบใหม่ ในเชิงบริษัทขึ้นมา เหมือนกับที่ตั้งบริษัทแล้วเป็นปัญหาไปใช้จ่ายเงินสุรุ่ยสุร่าย ขาดประสิทธิภาพ และหลายโครงการฝ่ายการเมืองเป็นคนชี้นำ ถ้าเป็นไปในลักษณะเช่นนี้ท่านประธานครับ เราจะอนุมัติการใช้จ่ายเงินงบประมาณก้อนนี้ไปได้อย่างไร ตัวอย่างที่ผมชี้ให้ท่านประธานเห็น 2 ประการ มันเกิดจากการชี้นำทางการเมือง และอำนาจที่ชี้นำทางการเมืองนี้ครับ หาเสียงท่านทำได้ แต่ใช้เม็ดเงินคนจนไปสนับสนุนหาเสียงเฉพาะตน แล้วก็ทำลายเม็ดเงินงบประมาณโดยไม่ได้ส่งเสริมเอสเอ็มอีจริงจัง บาปครับ อย่าทำครับ งบประมาณลักษณะนี้ครับ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 24 มิ.ย. 2547--จบ--
-ดท-
อภิปรายพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2548
***************************************************
ท่านประธานที่เคารพ กระผม สาทิตย์ วงศ์หนองเตย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะของฝ่ายค้านที่เป็นตัวแทนของพี่น้องประชาชน ซึ่งต้องทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้จ่ายเม็ดเงินงบประมาณที่มาจากภาษีและหยาดเหงื่อของพี่น้องประชาชน ผมอยากเรียนท่านประธานว่าเราทำหน้าที่ตรวจสอบเงินงบประมาณทุกอย่างอย่างเที่ยงตรงและตรงไปตรงมา งบประมาณปี 2548 รัฐบาลพยายามที่จะบอกกับประชาชนว่า เป็นงบประมาณที่จัดตามแผนงานซึ่งเป็นไปตามกรอบยุทธศาสตร์ ผมเองก็ให้ความสนใจ ติดตามไปดูกรอบยุทธศาสตร์ของรัฐบาลและการใช้จ่ายเงินตามแผนงาน ผมพบว่ามีปัญหาบางประการที่จะหยิบยกขึ้นมาเป็นตัวอย่างของการใช้จ่ายงบประมาณ และคิดว่าตัวอย่างนี้เป็นไปทุกส่วน หรือเกือบจะทุกส่วนของงบประมาณ จะนำมาซึ่งความสูญเสียเม็ดเงินงบประมาณอย่างมหาศาล
ผมให้ความสนใจในเรื่องกรอบยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ข้อที่รัฐบาลเสนอ ตัวอย่างที่ผมจะยกให้ท่านประธานเห็นก็คือ กรอบยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งใช้เงินงบประมาณกว่าแสนกว่าล้านบาท ในส่วนนั้นมีการพูดถึงเรื่องการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งรวมถึงวิสาหกิจชุมชนด้วย รัฐบาลนี้เขียนเอาไว้ในงบประมาณโดยสังเขปว่า งบประมาณทั้งหลายจะต้องโปร่งใส มีคุณธรรม มีการมีส่วนร่วม และคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากร ผมเรียนท่านประธานว่าหลังจากอ่านไปแล้ว ผมดูงบประมาณปี 2548 ในส่วนมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของงบสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ความจริงพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม เป็นกฎหมายซึ่งเกิดขึ้นในรัฐบาลที่แล้วเมื่อปี 2543 และได้กำหนนดให้มีสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเกิดขึ้น ซึ่งรัฐบาลชุดนี้ก็ต้องดำเนินงานโดยใช้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมนี้ หรือเรียกว่า สสว. เป็นกลไกหลักในการดำเนินงาน ท่านรองนายกฯสมคิดเอง ก็เคยกล่าวยอมรับว่าหน่วยงานนี้เป็นหน่วยงานสำคัญทที่จะผลักดันงบประมาณเกี่ยวกับเอสเอ็มอี
งบปี 48 เท่าที่ตรวจสอบดูท่านประธาน ต้องยอมรับว่างบนั้นตรวจสอบยากมากว่าอยู่ที่ไหนบ้าง เพราะท่านใช้ทั้งงบกลางและงบประจำและงบในส่วนกระทรวง ส่วนใหญ่จะอยู่ที่กระทรวงอุตสาหกรรม ตั้งงบไว้ 3,718 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากกว่าปีที่แล้ว ผมเรียนท่านประธานว่าพอไปดูงบเกี่ยวกับเอสเอ็มอีในกระทรวงอุตสาหกรรมแล้ว ผมตรวจสอบพบปัญหา 2 ข้อ ซึ่งผมคิดว่าปัญหา 2 ข้อนี้เป็นตัวอย่างของการตรวจสอบเงินงบประมาณของรัฐบาลชุดนี้ ที่น่ากังวลเป็นอย่างยิ่ง ปัญหา 2 ข้อที่ผมตรวจพบคือว่า 1.มีการใช้งบประมาณแบบเลี่ยงกฎหมาย ตามใจผู้มีอำนาจ ปราศจากการกลั่นกรองให้รอบคอบ ฟุ่มเฟือย และหวังแค่การประชาสัมพันธ์โดยขาดประสิทธิภาพไม่โปร่งใส และบางโครงการยังส่อทุจริตอีกด้วย ผมยกตัวอย่างให้ท่านประธานเห็น 3-4 เรื่อง อันดับแรกคือโครงการถนนคนเมา ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายส่งเสริมเอสเอ็มอีของท่าน รัฐบาลใช้งบกลางครับ เป็นงบกลางของปี 2546 จำนวน 12,400,000 กว่าบาทครับ โครงการนี้ความจริงผมดูโครงการแหล่ะครับ ต้องทำ 2 ปี แต่โครงการนี้ 12 ล้านละลายเพียงแค่คืนเดียวครับ แล้วหลังจากนั้นร้านค้าก็เริ่มหายครับ จนบัดนี้โครงการถนนคนมองเงียบหายไป ผมถามว่าเงิน 10 กว่าล้านบาทที่ใช้ไปใครรับผิดชอบครับ
ประการที่ 2 ที่เป็นตัวอย่างการใช้จ่ายเงินงบประมาณเกี่ยวกับเอสเอ็มอีที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งในส่วนที่เรียกว่า สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายที่รัฐมนตรีอุตสาหกรรมต้องรักษาการก็คือว่า ผมคิดว่าท่านเลี่ยงกฎหมายครับ คือ ท่านใช้เงินหลวง เงินงบประมาณ ไปตั้งเป็นบริษัทขึ้นครับ แล้วบริษัทที่ตั้งขึ้นแต่ละบริษัทครับ 1.บริษัทขนมไทยอุตสาหกรรม จำกัด 2.บริษัทรวมค้าปลีกเข้มแข็งจำกัด 3.บริษัทส่งเสริมการค้าเอสเอ็มอี จำกัด 4.บริษัทกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น จำกัด 5.บริษัทห้องปฏิบัติการกลางตรวจสอบผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร และ 6. บริษัทอุตสาหกรรมการบินครับ ผมยกตัวอย่างเป็นเพียงแค่บางบริษัทว่า ผลประกอบการที่ท่านใช้จ่ายเงินเป็นอย่างไรครับ อันดับแรกเพื่อนสมาชิกอภิปรายไปแล้ว บริษัทห้องปฏิบัติการกลางตรวจสอบผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร ใช้ทุนจดทะเบียนไป 250 ล้านบาท ครับ ใช้เงินงบส่วนนี้ไปแล้ว ตอนนี้เป็นอย่างไรครับ มีข่าวฉาวโฉ่ เรื่องของแล็บฉาวเกษตร จน สตง.ต้องส่งจดหมายมาให้ดำเนินการยกเลิกการประกวดราคาจัดซื้อ จนบัดนี้ยังหาคนรับผิดชอบไม่ได้ เพราะ ถ้าเป็นกระทรวงเกษตรหรือกระทรวงอุตสาหกรรม นี่แหละครับวิธีการเลี่ยงกฎหมายแล้วไปตั้งบริษัท ใช้เงินงบประมาณของหลวงไปทำ แล้วสุดท้ายพอเกิดทุจริต บัดนี้ยังไม่มีการตั้งกรรมการสอบอะไรกันเลย นี่คือตัวอย่างแรกของความล้มเหลวของกวารใช้จ่ายเงินงบประมาณครับ โครงการเหล่านี้เกิดขึ้นมาเพราะ ผู้มีอำนาจทางการเมืองเข้าไปสั่งการ แล้วแทรกแซงการใช้จ่ายเม็ดเงินงบประมาณครับ
อันดับ 2 คือ บริษัทที่เรียกว่า บริษัทรวมค้าปลีกเข้มแข็ง เดิมทีสนุกครับ ประกาศว่า จะใช้บริษัทรวมค้าปลีกเข้มแข็ง เพื่อที่จะไปแข่งกับเทสโกโลตัส อะไรบ้าง ใช้จ่ายเงินงบประมาณไป 300 กว่าล้านบาทครับ เมื่อปี 2546 ผลปรากฏว่า 300 กว่าล้านบาทนั้นไปทำอะไรครับ บริษัทรวมค้าปลีกเข้มแข็งเมื่อปีที่แล้ว 2546 ครับ มีเอกสารออกมาบอกว่า เงินงบที่ได้ไป 300 กว่าล้านนั้น 1 ล้านใช้ในการตกแต่งออฟฟิศครับ 102 ล้านไปซื้อคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ 130 ล้านครับไปซื้ออุปกรณ์สำนักงาน และอีก 900,000 ไปซื้อเฟอร์นิเจอร์ ตรงนี้รวม 200 กว่าล้านบาท 300 กว่าล้านบาท ไปใช้จ่ายเงินพวกนี้ครับ บัดนี้รวมค้าปลีกเข้มแข็งไปถึงไหนครับ นี่เงินงบประมาณ เงินคนยากคนจนครับ ท่านใช้กันอย่างนี้ครับ
บริษัทอุตสาหกรรมการบิน ยังเป็นประเด็นที่ต้องตาม แต่ประเด็นที่ใหญ่ที่สุดคือ เรื่องของบริษัทกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่นครับ บริษัทนี้สับสนที่สุด เพราะเมื่อวานเพื่อนสมาชิกของผม จากจังหวัดระยองอภิปราย บอกว่า ใช้จ่ายเงิน 1,800 กว่าล้าน รัฐมนตรีออกมาโต้บอกว่าไม่ใช่ 40 กว่าล้าน ผมไปดูงบประมาณมาหมดแล้วครับ ท่านของงงบประมาณไว้ในเริ่มต้น 1,800 กว่าล้านจริง มีเวลาดำเนินการทั้งสิ้น 18 เดือน ความจริงท่านใช้เงินงบประมาณในเบื้องต้นแล้วครับ 50 กว่าล้านบาท แต่ 1,800 กว่าล้านบาทใช้ไปใช้มาผมก็สงสัย ครับ เพราะท่านบอกว่า ใช้ไปเพียงแค่ 44 ล้านเท่านั้นเอง แต่มีการอนุมัติเงินผูกพันเอาไว้ถึง 1,800 กว่าล้านบาท ยังเบิกจ่ายไม่ได้ คำถามก็คือว่า มีเอกสารจากสำนักงบประมาณออกมาบอกว่า ของบ กลางอีก 1,000 ล้านบาทครับ
สุดท้ายทั้งหมดเนี่ย ผมไม่ทราบว่าโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น ท่านใช้เท่าไร แต่ประเด็นที่ผมจะถาม ฝากท่านประธานไปถึงรัฐบาลก็คือว่า โตรงการนี้ประชาสัมพันธ์ยิ่งใหญ่ๆโตมากครับ แต่ประเด็นก็คือ 1,000 กว่าล้านบาทนรี้สุดท้ายแล้วคนไทยได้อะไรครับ รัฐมนตรีออกมาบอกว่ามีแบรนด์เนมมาสนใจประเทศไทยบ้าง ไปเดินแฟชั่น คนชอบบ้าง การประเมินเม็ดเงินงบประมาณ 1,000 กว่าล้านบาท ถ้าจะใช้ประเมินตรงนั้นไม่พอครับ
อุตสาหกรรมต้นน้ำเราเป็นอย่างไรครับ ความแข็งแกร่งของแฟชั่น การสนับสนุนโครงการนี้ของคนไทย ของผู้ประกอบการไทย เป็นอย่างไรครับ ไม่ใช่ได้ประโยชน์แค่ดีไซเนอร์บางคนแค่นั้น แต่ว่าต้องได้ประโยชน์กับคนอื่นๆ ที่จะเติบโตมาในอุตสาหกรรมนี้ด้วย อันนี้ครับต้องติดตามไปตรวจสอบกันในกรรมาธิการกันอย่างแน่นอนว่า 1000 กว่าล้านบนาทนี้สุดท้ายท่านเอาไปใช้ทำอะไร และตัวเลขที่แท้จริงของโครงการนี้คืออะไรครับ นี่คืออันดับแรกที่ผมมีการพูดถึงไปว่า เป็นตัวอย่างของการใช้เงินงบประมาณที่เป็นปัญหา
ประการที่ 2 ที่ผมพบครับ ผมคิดว่าเป็นเรื่องใหญ่กว่าก็คือ ตัวประสิทธิภาพของหน่วยงานที่ใช้เงินครับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม นั้น ตกเป็นข่าวฉาวโฉ่ในหนังสือพิมพ์มาตั้งแต่ปลายปี 2546 ต่อ ปี 2547 ว่ามีการแต่งตั้งคนของนักการเมืองเข้าไปทำหน้าที่เป็นผู้บริหารครับ แถมไปมีประโยชน์ทับซ้อน มีการรีรอไม่ยอมแต่งตั้งให้ผ่านอภิปรายไม่ไว้วางใจ ให้ผ่านอภิปรายเรื่องของนโยบายไปก่อน แล้งวสุดท้ายแต่งตั้งมาเมื่อสัปดาห์สองสัปดาห์ที่ผ่านมาครับ แต่งตั้งมาท่ามกลางการน้องเรียนว่า ผู้บริหารคนดังกล่าวนั้น ขาดความโปร่งใส และมีการร้องเรียนไปยังคณะกรรมาธิการวุฒิสภาครับ ส่งหนังสือกลับไปยังกระทรวงอุตสาหกรรมบอกว่า ฟังเรื่องร้องเรียนแล้วดูท่าว่าจะมีมูล เพราะหนังสือพิมพ์ไปลงข่าวครับว่า ผู้ประกอบการโอท็อปร้องเรียนว่า บิ๊กของสำนักงานส่งเสนริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม มีการเรียกค่าหัวคิวโอท็อป เพื่อที่จะส่งเข้าไปเป็นสินค้าที่สนับสนุนส่งเสริมครับ ทำกันอย่างนี้เหรอครับ
นอกจากนั้นท่านประธานครับ มีข่าวกระเซ็นกระสายมาจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อมว่า มีกระทั่ง ส.ส.ในซีกรัฐบาลครับ ไม่มีตำแหน่งอะไรไปตั้งออฟฟิศที่นั่นครับ อ้างตัวเป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี แถมเวลาไปประชุมบอร์ดเข้าไปประชุมด้วย ทั้งที่ตนไม่มีตำแหน่งที่อะไรไปนั่งที่นั่น แล้วส่อแววกันครับว่าจะมีการไปฮั้วกับบิ๊กที่นั่นกระทำการบางสิ่งบางอย่าง ซึ่งอาจนำไปสู่การทุจริตได้ นโยบายโอท็อปที่จะส่งเสริมเอสเอ็มอี จึงคิดว่าเป็นเรื่องที่จะเป็นปัญหาเพราะ หน่วยงานและการกำกับดูแลไม่โปร่งใส แต่แปลกครับ ร้องเรียนอย่างไรกระทรวงอุตสาหกรรมไม่เคยที่จะตั้งกรรมการสอบเลย หนังสือพิมพ์ลงข่าวกันเยอะครับ รัฐบาลก็ทำเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ เพราะว่า แว่วว่าเป็นคนซึ่ง เบื้องบนของรัฐบาลเป็นคนส่งมา
สุดท้ายที่ผมเป็นห่วงที่สุดก็คือว่า มันมีข่าวปรากฏชัดเจนก็คือว่า สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม มีโอกาสที่จะดูแลงบประมาณตามแผนส่งเสนริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม ถึง 15000 กว่าล้านบาท ตั้งแต่ปี 2547 ถึง ปี 2549 แล้วก็แว่วข่าวออกมาอีกครับว่าจะมีวิธีการบริหารโดยการจัดตั้งองค์กรแบบใหม่ ในเชิงบริษัทขึ้นมา เหมือนกับที่ตั้งบริษัทแล้วเป็นปัญหาไปใช้จ่ายเงินสุรุ่ยสุร่าย ขาดประสิทธิภาพ และหลายโครงการฝ่ายการเมืองเป็นคนชี้นำ ถ้าเป็นไปในลักษณะเช่นนี้ท่านประธานครับ เราจะอนุมัติการใช้จ่ายเงินงบประมาณก้อนนี้ไปได้อย่างไร ตัวอย่างที่ผมชี้ให้ท่านประธานเห็น 2 ประการ มันเกิดจากการชี้นำทางการเมือง และอำนาจที่ชี้นำทางการเมืองนี้ครับ หาเสียงท่านทำได้ แต่ใช้เม็ดเงินคนจนไปสนับสนุนหาเสียงเฉพาะตน แล้วก็ทำลายเม็ดเงินงบประมาณโดยไม่ได้ส่งเสริมเอสเอ็มอีจริงจัง บาปครับ อย่าทำครับ งบประมาณลักษณะนี้ครับ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 24 มิ.ย. 2547--จบ--
-ดท-