รัฐบาลภายใต้การนำโดยนายกฯ ทักษิณ มักมีเรื่องอื้อฉาวในเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อน และเอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้องมาตลอด และยิ่งเวลาผ่านไปข้อกล่าวหาหรือความไม่ชอบมาพากลเหล่านั้นก็ยิ่งมากปรากฏขึ้นตามลำดับ
กรณีอื้อฉาวที่กำลังเกิดขึ้นในสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 5 (ททบ.5)หรือที่สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ เวลานี้ หากพิจารณารายละเอียดจะรู้เท่าทันและเข้าใจได้ทันทีว่าเป็นแผนของเอกชนบางกลุ่มที่สมคบกับคนในรัฐบาลเข้าไปฮุบสื่อโทรทัศน์ของรัฐ เพื่อเข้าไปหาผลประโยชน์ และทุกอย่างเป็นการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอนและมีลักษณะสอดคล้องเชื่อมโยงถึงกัน
ศูนย์วิจัยฯ พรรคประชาธิปัตย์ นำเสนอข้อสังเกตดังประเด็นต่อไปนี้
ตั้งคณะกรรมการสอบสวนแค่แผนซื้อเวลา-เบี่ยงเบนกระแส
จากที่ นายกฯทักษิณ ได้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง จำนวน 5 คน โดยมี พล.อ.วัฒนชัย วุฒิศิริ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธาน ซึ่งหากพิจารณาโดยผิวเผินจะดูเหมือนว่า เป็นความเอาจริงเอาจังของรัฐบาลที่พยายามจะเข้ามาจัดการกับปัญหาใน ททบ.5 ที่มีลูกพี่ลูกน้องของตัวเองในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารสถานี ททบ.5 กระทำเรื่องไว้
นั่นคือ กรณีมีความพยายามรวบรัดแปลงสภาพ ททบ.5 เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยจัดตั้งบริษัทอาร์ ที เอ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด(มหาชน) ขึ้นมาเป็นบริษัทลูก โดยมีกลุ่มทุนใกล้ชิดกับคนในรัฐบาลเข้ามาถือหุ้นถึง 50 % รวมทั้งกรณีการทำสัญญาหักลบกลบหนี้ ทำให้กองทัพบกต้องสูญเสียประโยชน์ไปถึงกว่า 3,000 ล้านบาท หรือกรณีการปลดผู้อำนวยการททบ.5 ถึง 2 คนภายใน 1 สัปดาห์ เป็นต้น
อย่างไรก็ดี สิ่งที่หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตคือ การสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้นเป็นเพียงแค่การซื้อเวลาเบี่ยงเบนกระแสเท่านั้น หลังจากที่สังคมจับได้ไล่ทันและเริ่มมีเสียงคัดค้านดังขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งรัฐบาลมักจะนำวิธีการแบบนี้มาใช้เสมอ ดังที่เคยเกิดขึ้นกับกรณีการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ที่ปัจจุบันต้องมีการชะลอแผนนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ออกไป หรือกรณีจะเข้าไปซื้อหุ้นของสโมสรลิเวอร์พูล ที่เมื่อถูกต่อต้านและมีข้อสังเกตเรื่องของผลทับซ้อน นายกฯทักษิณ ก็ต้องถอยชั่วขณะ
เปิดทางกลุ่มคนใกล้ชิดเข้าไปแสวงหาประโยชน์ในช่อง 5
จากข่าวหลังบ้านของผู้มีอำนาจคนหนึ่ง และลูกชายของนักการเมืองอีกคนหนึ่งเข้าไปมีบทบาทสำคัญในการปรับผังรายการใหม่ของ ททบ.5 ที่จะเริ่มในวันที่ 1 กรกฎาคม 2547 นี้ เมื่อมีกระแสต่อต้านในเรื่องของการจัดผังรายการใหม่ที่ไม่เป็นธรรมกับบางบริษัท หรือบางรายการที่มีคุณภาพต้องหลุดผังรายการ ปรากฏว่า นายกฯทักษิณ ก็สั่งยกเลิกเช่นเคย
ส่วนกรณีของสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ที่กำลังพยายามอาศัยช่องโหว่ของกฎหมาย กันให้บริษัทเอกชนบางกลุ่มเข้ามาหาผลประโยชน์ โดยเข้ามาผลิตรายการในนามช่อง 11/1 นิวส์วัน และช่อง 11/2 และสามารถหาโฆษณาได้ ซึ่งหลายฝ่ายคัดค้านเนื่องจากเห็นว่า เข้าข่ายกระทำผิดรัฐธรรมนูญมาตรา 40 ที่ห้ามสื่อของรัฐให้สัมปทานเอกชนในช่วงก่อนที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) จะเข้ามาดำเนินการในเรื่องของการจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่
ช่อง 11 รัฐบาลแค่ทำขึงขังแต่ยังเปิดทางเอกชนฮุบสื่อรัฐ
กรณีช่อง 11 ก็เช่นเดียวกัน ในเบื้องต้นเมื่อมีกระแสสังคมคัดค้านมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ต้องดำเนินการในลักษณะของการลดกระแสเช่นเคย สังเกตได้จากท่าทีของรัฐมนตรีที่รับผิดชอบกำกับดูแลกรมประชาสัมพันธ์ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีได้ออกมาแสดงท่าทีว่า จะต้องจัดการขั้นเด็ดขาดถึงกับกล่าวว่าจะตั้งคณะกรรมการสอบสวนเอาผิดกับเจ้าหน้าที่ของกรมประชาสัมพันธ์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้
ท่าทีดังกล่าวทำให้สังคมเข้าใจว่า นี่เป็นความพยายามรักษาผลประโยชน์ของรัฐอย่างเต็มที่ แต่ผลสุดท้ายก็ยังไม่มีการดำเนินการอะไรให้เป็นรูปธรรม เพราะล่าสุดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2547 หลังจากที่ นายวิษณุบอกว่าจะมีแถลงการณ์ในเรื่องดังกล่าวออกมา แต่ในที่สุดแล้วก็ดำเนินการเพียงแค่ทำหนังสือถึงกรมประชาสัมพันธ์ให้ชี้แจงรายละเอียดของการอนุมัติให้มีช่อง 11/1และ 11/2 เท่านั้น ยังให้เอกชนดำเนินการต่อไปได้จนกว่าจะมี กสช.เกิดขึ้น
สิ่งที่น่าจับตามองยิ่งไปกว่านั้นคือ ผลจากการที่กรมประชาสัมพันธ์อนุญาตให้มีการแตกออกมาเป็นช่อง 11/1 และช่อง 11/2 เหล่านี้ เพราะล่าสุดสิ่งที่หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตและตั้งข้อสงสัยเอาไว้อีกประเด็นหนึ่งว่า กำลังจะเกิดขึ้นตามมาคือ จะเป็นสาเหตุที่ไอทีวีนำไปเรียกร้องค่าเสียหายจากรัฐ โดยเฉพาะในเรื่องของการลดค่าสัมปทานหากช่อง 11 ปล่อยให้มีโฆษณาได้ ซึ่งเวลานี้คดีกำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของศาลปกครอง หลังจากที่ผ่านมาคณะอนุญาโตตุลาการได้ชี้ขาดให้ไอทีวีได้ลดค่าสัมปทานเป็นจำนวนถึงกว่า 17,000 ล้านบาทนั้นมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นจริง
ความจริงเริ่มปรากฏไอทีวีเอาอย่างช่อง 11 ใช้เป็นข้ออ้างขยายธุรกิจ
นั่นคือกรณีที่ นายไตรภพ ลิมปพัทธ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัทไอทีวี จำกัด(มหาชน) ออกมาเปิดเผยเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2547 ว่า ไอทีวีมีแผนที่จะขยายช่องรายการเพิ่มเป็นไอทีวี1,2,3,4 เนื่องจากมีความพร้อมมากที่สุดในบรรดาสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวีทั้งหลาย ทั้งนี้ในแผนการดังกล่าว นายไตรภพ ได้อ้างเหตุผลว่า สามารถดำเนินการได้ทันทีโดยไม่ต้องรอ กสช. เนื่องจากใช้ช่องความถี่เดิมเหมือนกรณีที่ช่อง 11 มีช่อง 11/1 และช่อง 11/2
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่น่าจับตามองก็คือ การแสดงท่าทีประนีประนอมของสำนักงานปลัดนายกรัฐมนตรีกับไอทีวีหลังจากที่ก่อนหน้านี้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี(สปน.) ได้ยื่นเรื่องต่อศาลปกครองกรณีที่ไอทีวีปรับผังรายการใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 ที่ผ่านมา ซึ่งเห็นว่าเป็นการกระทำผิดสัญญาข้อ 11(3) เรื่องสัดส่วนรายการข่าวและบันเทิงโดยนำรายการบันเทิงแทรกอยู่ในช่วงเวลาไพร์มไทม์
แต่จากการให้สัมภาษณ์ล่าสุดของ พ.ต.ต.ยงยุทธ สาระสมบัติ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีแสดงให้เห็นว่า ทาง สปน.ได้เตรียมที่จะถอนฟ้องในประเด็นการเรียกค่าเสียหายจากการจงใจฝ่าฝืนสัญญาเรื่องการปรับผังรายการใหม่แล้ว โดยให้เหตุผลว่า เกรงจะกระทบต่อคดีที่ทาง สปน.ยื่นเรื่องต่อศาลปกครองให้เพิกถอนคำสั่งอนุญาโตตุลาการให้ไอทีวีลดค่าสัมปทาน
สรุป
หากพิจารณาถึงสิ่งที่รัฐบาลกำลังดำเนินการกรณีรวบรัดนำ ททบ.5 เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อย่างไม่โปร่งใส หรือการที่กรมประชาสัมพันธ์อาศัยช่องโหว่ของกฎหมายเปิดทางให้เอกชนเข้ามาผลิตรายการในนามช่อง 11/1 และช่อง 11/2 จนในที่สุดอาจจะเป็นสาเหตุให้ไอทีวีใช้เป็นเงื่อนไขหรือข้ออ้างในการเรียกร้องค่าเสียหายและขอลดค่าสัมปทานจากการที่ช่อง 11 มีโฆษณา หรือใช้เป็นข้ออ้างในการเพิ่มช่องไอทีวีขึ้นมาอีกจำนวนมากโดยใช้ข้ออ้างเดียวกับที่กรมประชาสัมพันธ์กำลังอ้างอยู่ในเวลานี้ ซึ่งทุกประเด็นข้อสงสัยเหล่านี้กำลังเกิดขึ้นจริงแล้ว
ดังนั้น การที่รัฐบาลมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนข้อเท็จจริงในกรณีของ ททบ.5 หรือการออกมาแสดงท่าทีของรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลกรมประชาสัมพันธ์ว่าจะเอาผิดกับข้าราชการกรมประชาสัมพันธ์ที่ดำเนินการโดยพลการนั้น มาถึงวันนี้คงเป็นเพียงการเล่นละครตบตาประชาชน เพื่อลดกระแสเท่านั้นไม่ได้มีความจริงใจที่จะบริหารจัดการสื่อสาธารณะของประเทศแต่อย่างใด
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 27 มิ.ย. 2547--จบ--
-ดท-
กรณีอื้อฉาวที่กำลังเกิดขึ้นในสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 5 (ททบ.5)หรือที่สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ เวลานี้ หากพิจารณารายละเอียดจะรู้เท่าทันและเข้าใจได้ทันทีว่าเป็นแผนของเอกชนบางกลุ่มที่สมคบกับคนในรัฐบาลเข้าไปฮุบสื่อโทรทัศน์ของรัฐ เพื่อเข้าไปหาผลประโยชน์ และทุกอย่างเป็นการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอนและมีลักษณะสอดคล้องเชื่อมโยงถึงกัน
ศูนย์วิจัยฯ พรรคประชาธิปัตย์ นำเสนอข้อสังเกตดังประเด็นต่อไปนี้
ตั้งคณะกรรมการสอบสวนแค่แผนซื้อเวลา-เบี่ยงเบนกระแส
จากที่ นายกฯทักษิณ ได้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง จำนวน 5 คน โดยมี พล.อ.วัฒนชัย วุฒิศิริ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธาน ซึ่งหากพิจารณาโดยผิวเผินจะดูเหมือนว่า เป็นความเอาจริงเอาจังของรัฐบาลที่พยายามจะเข้ามาจัดการกับปัญหาใน ททบ.5 ที่มีลูกพี่ลูกน้องของตัวเองในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารสถานี ททบ.5 กระทำเรื่องไว้
นั่นคือ กรณีมีความพยายามรวบรัดแปลงสภาพ ททบ.5 เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยจัดตั้งบริษัทอาร์ ที เอ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด(มหาชน) ขึ้นมาเป็นบริษัทลูก โดยมีกลุ่มทุนใกล้ชิดกับคนในรัฐบาลเข้ามาถือหุ้นถึง 50 % รวมทั้งกรณีการทำสัญญาหักลบกลบหนี้ ทำให้กองทัพบกต้องสูญเสียประโยชน์ไปถึงกว่า 3,000 ล้านบาท หรือกรณีการปลดผู้อำนวยการททบ.5 ถึง 2 คนภายใน 1 สัปดาห์ เป็นต้น
อย่างไรก็ดี สิ่งที่หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตคือ การสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้นเป็นเพียงแค่การซื้อเวลาเบี่ยงเบนกระแสเท่านั้น หลังจากที่สังคมจับได้ไล่ทันและเริ่มมีเสียงคัดค้านดังขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งรัฐบาลมักจะนำวิธีการแบบนี้มาใช้เสมอ ดังที่เคยเกิดขึ้นกับกรณีการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ที่ปัจจุบันต้องมีการชะลอแผนนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ออกไป หรือกรณีจะเข้าไปซื้อหุ้นของสโมสรลิเวอร์พูล ที่เมื่อถูกต่อต้านและมีข้อสังเกตเรื่องของผลทับซ้อน นายกฯทักษิณ ก็ต้องถอยชั่วขณะ
เปิดทางกลุ่มคนใกล้ชิดเข้าไปแสวงหาประโยชน์ในช่อง 5
จากข่าวหลังบ้านของผู้มีอำนาจคนหนึ่ง และลูกชายของนักการเมืองอีกคนหนึ่งเข้าไปมีบทบาทสำคัญในการปรับผังรายการใหม่ของ ททบ.5 ที่จะเริ่มในวันที่ 1 กรกฎาคม 2547 นี้ เมื่อมีกระแสต่อต้านในเรื่องของการจัดผังรายการใหม่ที่ไม่เป็นธรรมกับบางบริษัท หรือบางรายการที่มีคุณภาพต้องหลุดผังรายการ ปรากฏว่า นายกฯทักษิณ ก็สั่งยกเลิกเช่นเคย
ส่วนกรณีของสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ที่กำลังพยายามอาศัยช่องโหว่ของกฎหมาย กันให้บริษัทเอกชนบางกลุ่มเข้ามาหาผลประโยชน์ โดยเข้ามาผลิตรายการในนามช่อง 11/1 นิวส์วัน และช่อง 11/2 และสามารถหาโฆษณาได้ ซึ่งหลายฝ่ายคัดค้านเนื่องจากเห็นว่า เข้าข่ายกระทำผิดรัฐธรรมนูญมาตรา 40 ที่ห้ามสื่อของรัฐให้สัมปทานเอกชนในช่วงก่อนที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) จะเข้ามาดำเนินการในเรื่องของการจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่
ช่อง 11 รัฐบาลแค่ทำขึงขังแต่ยังเปิดทางเอกชนฮุบสื่อรัฐ
กรณีช่อง 11 ก็เช่นเดียวกัน ในเบื้องต้นเมื่อมีกระแสสังคมคัดค้านมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ต้องดำเนินการในลักษณะของการลดกระแสเช่นเคย สังเกตได้จากท่าทีของรัฐมนตรีที่รับผิดชอบกำกับดูแลกรมประชาสัมพันธ์ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีได้ออกมาแสดงท่าทีว่า จะต้องจัดการขั้นเด็ดขาดถึงกับกล่าวว่าจะตั้งคณะกรรมการสอบสวนเอาผิดกับเจ้าหน้าที่ของกรมประชาสัมพันธ์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้
ท่าทีดังกล่าวทำให้สังคมเข้าใจว่า นี่เป็นความพยายามรักษาผลประโยชน์ของรัฐอย่างเต็มที่ แต่ผลสุดท้ายก็ยังไม่มีการดำเนินการอะไรให้เป็นรูปธรรม เพราะล่าสุดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2547 หลังจากที่ นายวิษณุบอกว่าจะมีแถลงการณ์ในเรื่องดังกล่าวออกมา แต่ในที่สุดแล้วก็ดำเนินการเพียงแค่ทำหนังสือถึงกรมประชาสัมพันธ์ให้ชี้แจงรายละเอียดของการอนุมัติให้มีช่อง 11/1และ 11/2 เท่านั้น ยังให้เอกชนดำเนินการต่อไปได้จนกว่าจะมี กสช.เกิดขึ้น
สิ่งที่น่าจับตามองยิ่งไปกว่านั้นคือ ผลจากการที่กรมประชาสัมพันธ์อนุญาตให้มีการแตกออกมาเป็นช่อง 11/1 และช่อง 11/2 เหล่านี้ เพราะล่าสุดสิ่งที่หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตและตั้งข้อสงสัยเอาไว้อีกประเด็นหนึ่งว่า กำลังจะเกิดขึ้นตามมาคือ จะเป็นสาเหตุที่ไอทีวีนำไปเรียกร้องค่าเสียหายจากรัฐ โดยเฉพาะในเรื่องของการลดค่าสัมปทานหากช่อง 11 ปล่อยให้มีโฆษณาได้ ซึ่งเวลานี้คดีกำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของศาลปกครอง หลังจากที่ผ่านมาคณะอนุญาโตตุลาการได้ชี้ขาดให้ไอทีวีได้ลดค่าสัมปทานเป็นจำนวนถึงกว่า 17,000 ล้านบาทนั้นมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นจริง
ความจริงเริ่มปรากฏไอทีวีเอาอย่างช่อง 11 ใช้เป็นข้ออ้างขยายธุรกิจ
นั่นคือกรณีที่ นายไตรภพ ลิมปพัทธ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัทไอทีวี จำกัด(มหาชน) ออกมาเปิดเผยเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2547 ว่า ไอทีวีมีแผนที่จะขยายช่องรายการเพิ่มเป็นไอทีวี1,2,3,4 เนื่องจากมีความพร้อมมากที่สุดในบรรดาสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวีทั้งหลาย ทั้งนี้ในแผนการดังกล่าว นายไตรภพ ได้อ้างเหตุผลว่า สามารถดำเนินการได้ทันทีโดยไม่ต้องรอ กสช. เนื่องจากใช้ช่องความถี่เดิมเหมือนกรณีที่ช่อง 11 มีช่อง 11/1 และช่อง 11/2
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่น่าจับตามองก็คือ การแสดงท่าทีประนีประนอมของสำนักงานปลัดนายกรัฐมนตรีกับไอทีวีหลังจากที่ก่อนหน้านี้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี(สปน.) ได้ยื่นเรื่องต่อศาลปกครองกรณีที่ไอทีวีปรับผังรายการใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 ที่ผ่านมา ซึ่งเห็นว่าเป็นการกระทำผิดสัญญาข้อ 11(3) เรื่องสัดส่วนรายการข่าวและบันเทิงโดยนำรายการบันเทิงแทรกอยู่ในช่วงเวลาไพร์มไทม์
แต่จากการให้สัมภาษณ์ล่าสุดของ พ.ต.ต.ยงยุทธ สาระสมบัติ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีแสดงให้เห็นว่า ทาง สปน.ได้เตรียมที่จะถอนฟ้องในประเด็นการเรียกค่าเสียหายจากการจงใจฝ่าฝืนสัญญาเรื่องการปรับผังรายการใหม่แล้ว โดยให้เหตุผลว่า เกรงจะกระทบต่อคดีที่ทาง สปน.ยื่นเรื่องต่อศาลปกครองให้เพิกถอนคำสั่งอนุญาโตตุลาการให้ไอทีวีลดค่าสัมปทาน
สรุป
หากพิจารณาถึงสิ่งที่รัฐบาลกำลังดำเนินการกรณีรวบรัดนำ ททบ.5 เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อย่างไม่โปร่งใส หรือการที่กรมประชาสัมพันธ์อาศัยช่องโหว่ของกฎหมายเปิดทางให้เอกชนเข้ามาผลิตรายการในนามช่อง 11/1 และช่อง 11/2 จนในที่สุดอาจจะเป็นสาเหตุให้ไอทีวีใช้เป็นเงื่อนไขหรือข้ออ้างในการเรียกร้องค่าเสียหายและขอลดค่าสัมปทานจากการที่ช่อง 11 มีโฆษณา หรือใช้เป็นข้ออ้างในการเพิ่มช่องไอทีวีขึ้นมาอีกจำนวนมากโดยใช้ข้ออ้างเดียวกับที่กรมประชาสัมพันธ์กำลังอ้างอยู่ในเวลานี้ ซึ่งทุกประเด็นข้อสงสัยเหล่านี้กำลังเกิดขึ้นจริงแล้ว
ดังนั้น การที่รัฐบาลมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนข้อเท็จจริงในกรณีของ ททบ.5 หรือการออกมาแสดงท่าทีของรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลกรมประชาสัมพันธ์ว่าจะเอาผิดกับข้าราชการกรมประชาสัมพันธ์ที่ดำเนินการโดยพลการนั้น มาถึงวันนี้คงเป็นเพียงการเล่นละครตบตาประชาชน เพื่อลดกระแสเท่านั้นไม่ได้มีความจริงใจที่จะบริหารจัดการสื่อสาธารณะของประเทศแต่อย่างใด
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 27 มิ.ย. 2547--จบ--
-ดท-