สำนักงานเศรษฐกิจการคลังขอรายงานภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือนมิถุนายน พบว่าการจ้างงานโดยรวมอยู่ในระดับในระดับเดียวกันกับเดือนก่อน โดยการจ้างงานนอกภาคเกษตรยังเป็นตัวหลักในการผลักดันการเพิ่มขึ้นของการจ้างงาน โดยเฉพาะการจ้างงานภาคการท่องเที่ยวมีการปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจน สะท้อนแนวโน้มที่ปรับตัวดีขึ้นภายหลังเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขณะที่การค้าต่างประเทศ พบว่าสินค้าส่งออก โดยเฉพาะหมวดเครื่องจักรกล และยานยนต์ขยายตัวสูง ขณะที่การนำเข้ายังคงเร่งตัว โดยเฉพาะในหมวดวัตถุดิบ และสินค้าทุน อย่างไรก็ตาม เสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดีสามารถรองรับความผันผวนจากปัจจัยภายนอกได้
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือนมิถุนายน 2548 ดังนี้
อัตราการว่างงานพบว่าอยู่ในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม โดยอัตราการว่างงานเดือนมิถุนายนอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.9 ลดลงจากร้อยละ 2.0 ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำสุดของปี 48 สำหรับภาคการเกษตรมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูเพาะปลูก โดยในเดือนมิถุนายน การจ้างงานภาคการเกษตรลดลงร้อยละ 5.0 ต่อปี ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นในปีก่อน ที่มีการเร่งเพิ่มผลผลิตเนื่องจากมีแรงจูงใจจากราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นสูง ขณะที่ปัจจุบันแนวโน้มราคาสินค้าเกษตรเริ่มชะลอตัว ประกอบกับเป็นช่วงเริ่มต้นของฤดูเพาะปลูกข้าวนาปี ส่งผลให้ความต้องการแรงงานภาคเกษตรมีไม่สูงมาก ขณะที่การจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวลงเล็กน้อย โดยการจ้างงานภาคอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายนลดลงร้อยละ 1.3 จากลดลงร้อยละ 1.9 ในเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคมขยายตัวร้อยละ 8.0 เป็นผลจากการผลิตของภาคอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกที่ขยายตัวสูง โดยเฉพาะในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะ Hard Drive และแผงวงจรที่มียอดคำสั่งซื้อมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ภาคการโรงแรมปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจน โดยนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ผ่านท่าอากาศยานกรุงเทพในเดือนมิถุนายนมีจำนวน 623,427 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 ซึ่งขยายตัวทุกกลุ่มประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ ASEAN ขยายตัวร้อยละ 10.53 เอเชียใต้ ร้อยละ 17.9 และตะวันออกกลาง ร้อยละ 23.2 โดยคาดว่าในช่วงครึ่งปีหลัง ภาวะการท่องเที่ยวในระยะต่อไปจะปรับตัวดีขึ้นจากนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวของภาครัฐ โดยเฉพาะหลังจากการปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินหยวนในวันที่ 21 กรกฎาคม ที่ผ่านมาทำให้ค่าเงินหยวนแข็งค่าขึ้นร้อยละ 2 จะช่วยให้นักท่องเที่ยวจากจีน ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 6 ของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ มีอำนาจการใช้จ่ายสูงขึ้น คาดว่าประชาชนจีนจะเดินทางท่องเที่ยว และใช้จ่ายในต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งจะสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวแก่ประเทศไทยมากขึ้น
การบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลงจากเดือนก่อน โดยการจัดเก็บรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนมิถุนายนชะลอตัวลงเล็กน้อยอยู่ที่ร้อยละ 18.5 ลดลงจากร้อยละ 19.9 ในเดือนก่อน เนื่องมาจากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศมีราคาสูงขึ้น และมีการปรับขึ้นราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ส่วนมูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคในรูปดอลลาร์สรอ. มีการขยายตัวร้อยละ 21.7 ขยายตัวสูงขึ้นจากร้อยละ 17.1 ในเดือนพฤษภาคม
ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนโดยเฉพาะการลงทุนในเครื่องมือ เครื่องจักรเริ่มชะลอตัวลงแต่ยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี หลังจากมีการนำเข้าในอัตราสูงเพื่อปรับปรุงกำลังการผลิต โดยจะเห็นได้จากมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนในรูปดอลลาร์สรอ. ขยายตัวร้อยละ 20.4 โดยสินค้าเครื่องจักรกลเดือนมิถุนายนที่ขยายตัวร้อยละ 15.3 และเครื่องจักรไฟฟ้าและเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าขยายตัวร้อยละ 10.8 ขณะที่ ธุรกรรมการซื้อขายบ้านและที่ดินมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยภาษีที่จัดเก็บจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 19.9 จากที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 6.9 ในเดือนพฤษภาคม
สำหรับการค้าระหว่างประเทศขยายตัวสูงต่อเนื่อง โดยในเดือนมิถุนายน มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 9,226.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 11.7 โดยสินค้าที่ยังคงมีการขยายตัวสูงได้แก่ กลุ่มยางและผลิตภัณฑ์ กลุ่มยานยนต์ กลุ่มเครื่องจักร และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ปลา สัตว์น้ำ ขณะที่มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 11,147.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 37.2 ต่อปี กลุ่มสินค้าที่มีการขยายตัวสูง ได้แก่ สินค้าเหล็ก และเครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ และน้ำมันเชื้อเพลิง โดยเฉพาะการนำเข้าน้ำมันดิบในเดือนมิถุนายนมีมูลค่าสูงถึง 2,014 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 98.9 ต่อปี ส่งผลให้ดุลการค้าประจำเดือนมิถุนายนขาดดุลทั้งสิ้น 1,881.5 ล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตาม มูลค่าการนำเข้าที่สูงของน้ำมันเชื้อเพลิงเกิดจากการที่กรมศุลกากรกำลังดำเนินการปรับปรุงระบบจัดเก็บข้อมูลการนำเข้าให้เป็นไปตามการนำเข้าจริงที่เกิดขึ้น ในแต่ละช่วงเวลา หากดูจากรายงานของกรมธุรกิจพลังงานแล้วพบว่าปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบในเดือนมิถุนายนปรับลดลง โดยมีการนำเข้าจำนวน 4,099 ล้านลิตร ลดลงร้อยละ 3.2 ต่อปี เพียงแต่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 53,272 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.8 จากปัจจัยเรื่องราคา ทั้งนี้ หลังจากกรมศุลกากรปรับปรุงการจัดเก็บข้อมูลการนำเข้าให้ตรงกับกรมธุรกิจพลังงานแล้ว คาดว่ามูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบในช่วงครึ่งปีหลังจะชะลอตัวลง ตามแนวโน้มการบริโภคที่ชะลอตัวลงจากการลอยตัวราคาน้ำมันดีเซล
เสถียรภาพทางต่างประเทศยังอยู่ระดับที่น่าพอใจ โดยอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยในเดือนมิถุนายนอยู่ที่ 40.9 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงต่อเนื่อง ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนพฤษภาคมขาดดุล1,564.0 ล้านเหรียญสหรัฐตามการขาดดุลการค้าที่สูง ซึ่งลดลงจากขาดดุล 1,609 ล้านเหรียญสหรัฐในเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม ทุนสำรองระหว่างประเทศยังคงอยู่ในระดับสูง โดย ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม ทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ที่ 48.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเท่ากับ 4.5 เดือนของมูลค่าการนำเข้า
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 12/2548 29 กรกฎาคม 2548--
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือนมิถุนายน 2548 ดังนี้
อัตราการว่างงานพบว่าอยู่ในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม โดยอัตราการว่างงานเดือนมิถุนายนอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.9 ลดลงจากร้อยละ 2.0 ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำสุดของปี 48 สำหรับภาคการเกษตรมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูเพาะปลูก โดยในเดือนมิถุนายน การจ้างงานภาคการเกษตรลดลงร้อยละ 5.0 ต่อปี ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นในปีก่อน ที่มีการเร่งเพิ่มผลผลิตเนื่องจากมีแรงจูงใจจากราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นสูง ขณะที่ปัจจุบันแนวโน้มราคาสินค้าเกษตรเริ่มชะลอตัว ประกอบกับเป็นช่วงเริ่มต้นของฤดูเพาะปลูกข้าวนาปี ส่งผลให้ความต้องการแรงงานภาคเกษตรมีไม่สูงมาก ขณะที่การจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวลงเล็กน้อย โดยการจ้างงานภาคอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายนลดลงร้อยละ 1.3 จากลดลงร้อยละ 1.9 ในเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคมขยายตัวร้อยละ 8.0 เป็นผลจากการผลิตของภาคอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกที่ขยายตัวสูง โดยเฉพาะในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะ Hard Drive และแผงวงจรที่มียอดคำสั่งซื้อมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ภาคการโรงแรมปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจน โดยนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ผ่านท่าอากาศยานกรุงเทพในเดือนมิถุนายนมีจำนวน 623,427 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 ซึ่งขยายตัวทุกกลุ่มประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ ASEAN ขยายตัวร้อยละ 10.53 เอเชียใต้ ร้อยละ 17.9 และตะวันออกกลาง ร้อยละ 23.2 โดยคาดว่าในช่วงครึ่งปีหลัง ภาวะการท่องเที่ยวในระยะต่อไปจะปรับตัวดีขึ้นจากนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวของภาครัฐ โดยเฉพาะหลังจากการปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินหยวนในวันที่ 21 กรกฎาคม ที่ผ่านมาทำให้ค่าเงินหยวนแข็งค่าขึ้นร้อยละ 2 จะช่วยให้นักท่องเที่ยวจากจีน ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 6 ของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ มีอำนาจการใช้จ่ายสูงขึ้น คาดว่าประชาชนจีนจะเดินทางท่องเที่ยว และใช้จ่ายในต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งจะสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวแก่ประเทศไทยมากขึ้น
การบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลงจากเดือนก่อน โดยการจัดเก็บรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนมิถุนายนชะลอตัวลงเล็กน้อยอยู่ที่ร้อยละ 18.5 ลดลงจากร้อยละ 19.9 ในเดือนก่อน เนื่องมาจากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศมีราคาสูงขึ้น และมีการปรับขึ้นราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ส่วนมูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคในรูปดอลลาร์สรอ. มีการขยายตัวร้อยละ 21.7 ขยายตัวสูงขึ้นจากร้อยละ 17.1 ในเดือนพฤษภาคม
ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนโดยเฉพาะการลงทุนในเครื่องมือ เครื่องจักรเริ่มชะลอตัวลงแต่ยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี หลังจากมีการนำเข้าในอัตราสูงเพื่อปรับปรุงกำลังการผลิต โดยจะเห็นได้จากมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนในรูปดอลลาร์สรอ. ขยายตัวร้อยละ 20.4 โดยสินค้าเครื่องจักรกลเดือนมิถุนายนที่ขยายตัวร้อยละ 15.3 และเครื่องจักรไฟฟ้าและเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าขยายตัวร้อยละ 10.8 ขณะที่ ธุรกรรมการซื้อขายบ้านและที่ดินมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยภาษีที่จัดเก็บจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 19.9 จากที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 6.9 ในเดือนพฤษภาคม
สำหรับการค้าระหว่างประเทศขยายตัวสูงต่อเนื่อง โดยในเดือนมิถุนายน มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 9,226.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 11.7 โดยสินค้าที่ยังคงมีการขยายตัวสูงได้แก่ กลุ่มยางและผลิตภัณฑ์ กลุ่มยานยนต์ กลุ่มเครื่องจักร และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ปลา สัตว์น้ำ ขณะที่มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 11,147.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 37.2 ต่อปี กลุ่มสินค้าที่มีการขยายตัวสูง ได้แก่ สินค้าเหล็ก และเครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ และน้ำมันเชื้อเพลิง โดยเฉพาะการนำเข้าน้ำมันดิบในเดือนมิถุนายนมีมูลค่าสูงถึง 2,014 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 98.9 ต่อปี ส่งผลให้ดุลการค้าประจำเดือนมิถุนายนขาดดุลทั้งสิ้น 1,881.5 ล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตาม มูลค่าการนำเข้าที่สูงของน้ำมันเชื้อเพลิงเกิดจากการที่กรมศุลกากรกำลังดำเนินการปรับปรุงระบบจัดเก็บข้อมูลการนำเข้าให้เป็นไปตามการนำเข้าจริงที่เกิดขึ้น ในแต่ละช่วงเวลา หากดูจากรายงานของกรมธุรกิจพลังงานแล้วพบว่าปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบในเดือนมิถุนายนปรับลดลง โดยมีการนำเข้าจำนวน 4,099 ล้านลิตร ลดลงร้อยละ 3.2 ต่อปี เพียงแต่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 53,272 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.8 จากปัจจัยเรื่องราคา ทั้งนี้ หลังจากกรมศุลกากรปรับปรุงการจัดเก็บข้อมูลการนำเข้าให้ตรงกับกรมธุรกิจพลังงานแล้ว คาดว่ามูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบในช่วงครึ่งปีหลังจะชะลอตัวลง ตามแนวโน้มการบริโภคที่ชะลอตัวลงจากการลอยตัวราคาน้ำมันดีเซล
เสถียรภาพทางต่างประเทศยังอยู่ระดับที่น่าพอใจ โดยอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยในเดือนมิถุนายนอยู่ที่ 40.9 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงต่อเนื่อง ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนพฤษภาคมขาดดุล1,564.0 ล้านเหรียญสหรัฐตามการขาดดุลการค้าที่สูง ซึ่งลดลงจากขาดดุล 1,609 ล้านเหรียญสหรัฐในเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม ทุนสำรองระหว่างประเทศยังคงอยู่ในระดับสูง โดย ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม ทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ที่ 48.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเท่ากับ 4.5 เดือนของมูลค่าการนำเข้า
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 12/2548 29 กรกฎาคม 2548--