1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
การจัดตั้งโครงการธนาคารไข่กุ้งก้ามกราม
กรมประมงได้จัดตั้งโครงการธนาคารไข่กุ้งก้ามกรามตั้งแต่เดือนกันยายน 2546 ดำเนินการใน 4 จังหวัดที่กุ้งก้ามกรามธรรมชาติเดินทางไปวางไข่ ได้แก่ แม่น้ำตราด จังหวัดตราด แม่น้ำแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม แม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา และแม่น้ำตาปี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขณะนี้ลูกกุ้งก้ามกรามของโครงการได้เจริญเติบโต ทำให้ราษฎรในบริเวณใกล้เคียงมีอาชีพตกกุ้งก้ามกรามขาย จนสามารถเลี้ยง ครอบครัวอย่างผาสุกแบบเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากชาวบ้านหลายร้อยครอบครัวมีรายได้ มีอาชีพแล้ว ยังเป็นการทำประมงแบบอนุรักษ์ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม แต่กลับเสริมธรรมชาติให้อุดมสมบูรณ์ด้วยกุ้งก้ามกราม ซึ่งเป็นทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีค่าทั้งในด้านโภชนาการและเศรษฐกิจ
แม่น้ำทั้ง 4 สาย ที่โครงการตั้งอยู่ได้รับความร่วมมือจากชุมชนท้องถิ่นอย่างมาก เช่น ชาวประมงกลุ่มอาสาสมัครอนุรักษ์ สมาคมอนุรักษ์ต่างๆ และพ่อค้าที่รับซื้อกุ้งก้ามกราม จึงทำให้โครงการทั้งหมดสัมฤทธิ์ผล เกิดประโยชน์แก่ราษฎรในเวลาอันรวดเร็ว และนับวันโครงการจะได้รับความร่วมมือจากราษฎรมากยิ่งขึ้น เพราะทุกคนเห็นคุณค่าของโครงการ ความสำเร็จของโครงการธนาคารไข่กุ้งก้ามกรามได้บ่งบอกสิ่งดีๆ หลายประการ เช่น คนไทยมีความสามัคคี แหล่งน้ำธรรมชาติของไทยยังมีความอุดมสมบูรณ์ ขอเพียงให้เรามีการบริหารจัดการที่ถูกต้องและมีความเสียสละ เพื่อประโยชน์ที่คุ้มค่ากว่าในภายหน้าอย่างยั่งยืน ดังนั้น ธนาคารไข่กุ้งก้ามกรามจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดไป ราษฎรที่โครงการตั้งอยู่จะมีอาชีพตกกุ้งก้ามกรามตลอดไป ประชาชนมีโอกาสบริโภคกุ้งก้ามกรามมากขึ้น กรมประมงจะขยายโครงการธนาคารไข่กุ้งก้ามกรามไปทั่วประเทศในพื้นที่ ซึ่งมีความเหมาะสมที่กุ้งก้ามกรามสามารถวางไข่ได้ และลูกกุ้งก้ามกรามสามารถเจริญเติบโตได้อย่างปลอดภัย
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 8 - 14 มิ.ย. 47) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,354.92 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 686.86 ตัน สัตว์น้ำจืด 668.06 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.37 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.72 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 90.53 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 156.90 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 35.44 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.71 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.35 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.36 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.36 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 60.27 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.09 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 84.29 บาทของสัปดาห์ก่อน 3.58 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 208.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 215.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 7.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร เฉลี่ยกิโลกรัมละ 192.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 201.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 9.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.42 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.69 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.73 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.71 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.71 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.71 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.46 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.45 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.01 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 21 — 25 มิ.ย. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.60 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 24.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.10 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 24 ประจำวันที่ 21-27 มิถุนายน 2547--
-พห-
การผลิต
การจัดตั้งโครงการธนาคารไข่กุ้งก้ามกราม
กรมประมงได้จัดตั้งโครงการธนาคารไข่กุ้งก้ามกรามตั้งแต่เดือนกันยายน 2546 ดำเนินการใน 4 จังหวัดที่กุ้งก้ามกรามธรรมชาติเดินทางไปวางไข่ ได้แก่ แม่น้ำตราด จังหวัดตราด แม่น้ำแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม แม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา และแม่น้ำตาปี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขณะนี้ลูกกุ้งก้ามกรามของโครงการได้เจริญเติบโต ทำให้ราษฎรในบริเวณใกล้เคียงมีอาชีพตกกุ้งก้ามกรามขาย จนสามารถเลี้ยง ครอบครัวอย่างผาสุกแบบเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากชาวบ้านหลายร้อยครอบครัวมีรายได้ มีอาชีพแล้ว ยังเป็นการทำประมงแบบอนุรักษ์ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม แต่กลับเสริมธรรมชาติให้อุดมสมบูรณ์ด้วยกุ้งก้ามกราม ซึ่งเป็นทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีค่าทั้งในด้านโภชนาการและเศรษฐกิจ
แม่น้ำทั้ง 4 สาย ที่โครงการตั้งอยู่ได้รับความร่วมมือจากชุมชนท้องถิ่นอย่างมาก เช่น ชาวประมงกลุ่มอาสาสมัครอนุรักษ์ สมาคมอนุรักษ์ต่างๆ และพ่อค้าที่รับซื้อกุ้งก้ามกราม จึงทำให้โครงการทั้งหมดสัมฤทธิ์ผล เกิดประโยชน์แก่ราษฎรในเวลาอันรวดเร็ว และนับวันโครงการจะได้รับความร่วมมือจากราษฎรมากยิ่งขึ้น เพราะทุกคนเห็นคุณค่าของโครงการ ความสำเร็จของโครงการธนาคารไข่กุ้งก้ามกรามได้บ่งบอกสิ่งดีๆ หลายประการ เช่น คนไทยมีความสามัคคี แหล่งน้ำธรรมชาติของไทยยังมีความอุดมสมบูรณ์ ขอเพียงให้เรามีการบริหารจัดการที่ถูกต้องและมีความเสียสละ เพื่อประโยชน์ที่คุ้มค่ากว่าในภายหน้าอย่างยั่งยืน ดังนั้น ธนาคารไข่กุ้งก้ามกรามจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดไป ราษฎรที่โครงการตั้งอยู่จะมีอาชีพตกกุ้งก้ามกรามตลอดไป ประชาชนมีโอกาสบริโภคกุ้งก้ามกรามมากขึ้น กรมประมงจะขยายโครงการธนาคารไข่กุ้งก้ามกรามไปทั่วประเทศในพื้นที่ ซึ่งมีความเหมาะสมที่กุ้งก้ามกรามสามารถวางไข่ได้ และลูกกุ้งก้ามกรามสามารถเจริญเติบโตได้อย่างปลอดภัย
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 8 - 14 มิ.ย. 47) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,354.92 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 686.86 ตัน สัตว์น้ำจืด 668.06 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.37 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.72 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 90.53 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 156.90 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 35.44 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.71 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.35 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.36 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.36 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 60.27 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.09 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 84.29 บาทของสัปดาห์ก่อน 3.58 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 208.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 215.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 7.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร เฉลี่ยกิโลกรัมละ 192.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 201.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 9.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.42 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.69 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.73 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.71 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.71 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.71 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.46 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.45 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.01 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 21 — 25 มิ.ย. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.60 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 24.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.10 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 24 ประจำวันที่ 21-27 มิถุนายน 2547--
-พห-