ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. กองทุนฟื้นฟูมีแผนจะขายหุ้น ธพ.ที่ถืออยู่ทั้งหมดให้เสร็จสิ้นภายในปี 50 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า
กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินมีแผนจะขายหุ้น ธพ.ที่ถืออยู่ทั้งหมด ทั้งในช่วงก่อนวิกฤติสถาบันการเงินปี 40 และหุ้นที่ได้มาจาก
การช่วยเหลือพยุงฐานะทางการเงินของ ธพ.ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ โดยจะขายให้เสร็จสิ้นทั้งหมดในปี 50 ซึ่งจะเป็นปีที่ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะยุบ
การดำเนินการของกองทุนฟื้นฟูเป็นการถาวร โดยจะทยอยขายหุ้น ธ.ไทยธนาคาร และ ธ.นครหลวงไทยให้เสร็จสิ้นภายในปี 49 ส่วนหุ้นของ
ธ.กรุงไทย ซึ่งมีจำนวนมากนั้นจะเริ่มขายในปี 49 และคาดว่าจะเสร็จสิ้นในปี 50 สำหรับหุ้นของ บง.ที่เคยแทรกแซงมาในช่วงก่อนวิกฤตินั้นจะทยอย
ขายตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 47-50 ส่วน บล. 56 ไฟแนนซ์นั้นอยู่ระหว่างการทยอยขายลูกหนี้ 56 ไฟแนนซ์ เพื่อนำเงินกลับมาชดเชยความเสียหาย
ของกองทุนฟื้นฟู คาดว่าจะเสร็จสิ้นทั้งหมดภายในปี 48 ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่กองทุนฟื้นฟูได้มาในช่วงวิกฤติ และให้บริษัทบริหารสินทรัพย์
สถาบันการเงินสุขุมวิท (แซม) และบริษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงินกรุงเทพพาณิชย์ (แบม) บริหารอยู่นั้น ธปท.จะพยายามแก้ไขหนี้ให้เสร็จสิ้น
ภายในปี 50 (โลกวันนี้)
2. อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากในเดือน เม.ย.47 อยู่ที่ระดับร้อยละ 86.88 ธปท.เห็นว่าเป็นระดับที่เหมาะสม ดร.ธาริษา วัฒนเกส
รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า กรณีที่ระดับสินเชื่อต่อเงินฝากในเดือน เม.ย.47 ที่ผ่านมานั้น มีอัตราส่วนอยู่ที่ระดับ
ร้อยละ 86.88 โดยเป็นเงินให้สินเชื่อ 4,988,177 ล้านบาท และเงินฝาก 5,741,378 ล้านบาทนั้น เป็นอัตราส่วนในระดับที่ไม่ต่ำเกินไป
ซึ่งลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 89.19 โดยระดับสินเชื่อต่อเงินฝากที่เหมาะสมนั้นไม่ควรเกินระดับ 100 แต่ก็ควรต่ำ
ในระดับพอประมาณ ไม่ใช่ต่ำจนเกินไป ส่วนในช่วงก่อนวิกฤติเศรษฐกิจอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ในระดับเกินร้อยละ 100 นั้นเป็นอัตราส่วนที่
มากเกินไป แสดงถึงความไม่ยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจ (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
3. สศค.รายงานฐานะการคลัง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษก ก.คลัง
เปิดเผยว่า ฐานะการคลังตามระบบ สศค. (GFS Basis) ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ (ต.ค.46-พ.ค.47) มีรายได้รวม 873,176
ล้านบาท เมื่อหักรายการนับซ้ำออกแล้ว รัฐบาลมีรายได้สุทธิจำนวน 811,866 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 23.2 ขณะที่
รายจ่ายมีทั้งสิ้น 873,679 ล้านบาท และหลังจากหักรายการนับซ้ำแล้วมีรายจ่ายสุทธิจำนวน 812,369 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.23
ทำให้ดุลการคลังขาดดุลทั้งสิ้น 22,259 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.8 สะท้อนว่านโยบายด้านการคลังยังมีบทบาทกระตุ้น
เศรษฐกิจ แต่เริ่มลดบทบาทเป็นผู้รักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจและรักษาฐานะการคลังให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น และหากพิจารณาฐานะ
การคลังตามระบบกระแสเงินสด (Cash Basis) ในช่วงเวลาเดียวกัน รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 663,853 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียว
กันของปีก่อนร้อยละ 13.7 ด้านการเบิกจ่ายมีจำนวน 740,723 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 17.2 ส่งผลให้ดุลงบประมาณ
ขาดดุล 76,930 ล้านบาท ขาดดุลเพิ่มจากปีก่อน 28,510 ล้านบาท เนื่องจากการขยายตัวของรายจ่ายในอัตราที่สูง (ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
4. ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าไตรมาส 2 ปี 47 ปริมาณบัตรเครดิตทั้งระบบจะขยายตัวประมาณร้อยละ 27.37 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า
ในไตรมาส 2 ปี 47 ปริมาณบัตรเครดิตทั้งระบบจะยังคงเติบโตเพิ่มขึ้นจาก 7,359,936 บัตร จากไตรมาสก่อนที่อยู่ที่จำนวน 7,743,000 บัตร
ขยายตัวประมาณร้อยละ 27.37 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มากกว่าไตรมาสที่ 1 ปี 47 และไตรมาส 4 ปี 46 ที่ขยายตัวร้อยละ 19.55 และ
9.28 ตามลำดับ ส่วนปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในไตรมาส 2 ปี 47 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 100,590 ล้านบาท จากจำนวน 98,293
ล้านบาทในไตรมาสก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 20.57 ส่วนยอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิต คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ประมาณ 98,578 ล้านบาท จาก
ไตรมาสก่อนที่มีจำนวน 97,120 ล้านบาท ขยายตัวประมาณร้อยละ 23.44 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และชะลอลงจากร้อยละ 32.17 ใน
ไตรมาสก่อน (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของ สรอ. เดือน พ.ค.47 เพิ่มขึ้น ในขณะที่ภาวะเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย รายงานจากวอชิงตัน
ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.47 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของ สรอ. ในเดือน พ.ค.47 เพิ่มขึ้น
ในขณะที่ภาวะเงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยสนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่า ธ.กลาง สรอ. จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี
ในสัปดาห์นี้ โดยการใช้จ่ายส่วนบุคคลในเดือน พ.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 มากกว่าที่วอลล์สตรีทคาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 และเป็น
การเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค.44 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ส่วนตัวเลขการใช้จ่ายฯ เดือน เม.ย.47 ที่มีการปรับแล้วลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ
0.2 จากเดิมที่เคยรายงานไว้ร้อยละ 0.3 แต่โดยภาพรวมแล้วผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นที่ดีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งตัวเลขหลายอย่างแสดง
ให้เห็นว่าเศรษฐกิจกำลังเติบโตไปด้วยดี ในขณะที่ภาวะเงินเฟ้อก็ค่อย ๆ ดำเนินไปอย่างช้า ๆ ทั้งนี้ ก.คลัง สรอ. รู้สึกกังวลต่อข้อมูลที่ผู้ค้าเงิน
จับตามองว่าอัตราเงินเฟ้อจะสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งอาจจะกระตุ้นให้ ธ.กลางส่งสัญญาณว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ในการประชุม
เชิงนโยบายในวันที่ 28-29 มิ.ย.47 รวมถึงข่าวที่การเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาหลักสำหรับการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคในช่วงไตรมาสแรกของปี 47
และการปรับลดจีดีพีในไตรมาสแรกของปีนี้เหลือร้อยละ 3.9 จากร้อยละ 4.4 (รอยเตอร์)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรม การใช้จ่ายภาคครัวเรือนของญี่ปุ่น ในเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น ขณะที่การว่างงาน ลดลง รายงานจากญี่ปุ่น เมื่อ
วันที่ 29 มิ.ย. 47 รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่าในเดือนพ.ค. ผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวเพียงร้อยละ 0.5 ต่ำกว่าค่ากลางที่คาดการณ์กันไว้ว่าผลผลิต
ดังกล่าวจะขยายตัวร้อยละ 2.5 ตามผลการสำรวจของรอยเตอร์ นอกจากนั้นทางการญี่ปุ่นยังได้เปิดเผยตัวเลขการใช้จ่ายของครัวเรือนที่มีรายได้
จากค่าจ้างซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดที่สำคัญสำหรับการบริโภคส่วนบุคคล และการว่างงานในเดือนเดียวกันนี้ โดยภาคครัวเรือนที่มีรายได้จากค่าจ้างมีการ
ใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.6 แต่กลับลดลงร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบจากเดือนก่อน โดยมีการใช้จ่ายครัวเรือนละ 322,716 เยน
(2,987 ดอลลาร์สรอ.) รวมทั้งดัชนี Propensity to consume ซึ่งแสดงแนวโน้มการบริโภคที่เพิ่มขึ้นในเดือนพ.ค. ลดลงอยู่ที่ระดับ 72.8
จากระดับ 76.9 ในเดือนเม.ย. สำหรับอัตราการว่างงานในเดือนพ.ค.ลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.6 จากระดับร้อยละ 4.7 ในเดือนที่แล้ว
(ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) และต่ำกว่าผลการสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ของรอยเตอร์คาดว่าการว่างงานจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.7 ทั้งนี้
อัตราการว่างงานเคยมีสถิติสูงสุดเมื่อเดือนม.ค. 46ที่ระดับร้อยละ 5.5 (รอยเตอร์)
3. จีนเตรียมปรับโครงสร้างภาคการธนาคาร รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 28 มิ.ย.47 จีนเตรียมปรับโครงสร้างภาคการธนาคาร โดย
เฉพาะ 4 ธนาคารขนาดใหญ่ของรัฐซึ่งประกอบด้วย Bank of China, China Construction Bank, Industrial and Commercial
Bank of China และ Agricultural Bank of China โดยจะให้คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมดูแลภาคการเงินทั้ง 3 คณะ คือ
คณะกรรมการควบคุมการธนาคาร หลักทรัพย์ และ การประกันภัย ร่วมมือกันควบคุมดูแลภาคการเงินและลดความซ้ำซ้อนของหน้าที่ความรับผิดชอบ
โดยกำหนดให้มีการประชุมระหว่างกันเป็นรายไตรมาสจากที่เคยต่างคนต่างทำ รัฐบาลจีนต้องการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ธนาคารของรัฐเพื่อ
ให้ช่วยสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวซึ่งปัจจุบันขยายตัวเกือบร้อยละ 10 ต่อปีและพร้อมที่จะแข่งขันกับธนาคารต่างชาติก่อนที่จะเปิด
เสรีให้ชาวต่างชาติตั้งธนาคารได้ในปี 49 โดยการให้ธนาคารของรัฐทั้งสี่แห่งลดหนี้เสียซึ่งปัจจุบันมีถึงร้อยละ 40 ของเงินให้สินเชื่อ เพิ่มทุนและ
ปรับปรุงธรรมาภิบาลในองค์กร ทั้ง Bank of China และ China Construction Bank มีแผนจะขายหุ้นและดึงนักลงทุนชาวต่างชาติเข้ามา
ช่วยบริหารซึ่งจะทำให้ธนาคารของรัฐดังกล่าวมีผู้อำนวยการและผู้จัดการอาวุโสเป็นชาวต่างชาติ (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ในเดือน พ.ค.47 เพิ่มขึ้นเหนือความคาดหมายร้อยละ 1.9 รายงานจากโซลเมื่อ 29 มิ.ย.47
สำนักงานสถิติ เปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรม (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ของเกาหลีใต้ในเดือน พ.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เทียบกับที่เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 1.0 ในเดือน เม.ย.47 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 และเมื่อเทียบ
กับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยไม่มีการปรับตัวเลขตามฤดูกาล ผลผลิตอุตสาหกรรมจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 13.5 ทั้งนี้ ผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้
มีแนวโน้มการเติบโตอย่างรวดเร็วมาตั้งแต่เดือน ก.ค.46 โดย ได้รับแรงขับเคลื่อนที่สำคัญจากความต้องการจากประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดส่งออก
ที่มีสัดส่วน 1 ใน 5 ของการส่งออกโดยรวมของเกาหลีใต้ แต่การใช้จ่ายภายในประเทศและการลงทุนที่ซบเซา ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ขัดขวางการ
ฟื้นตัวของเศรษฐกิจเกาหลีใต้ อย่างไรก็ตาม ทางการเกาหลีใต้ยังคงคาดหวังในแง่ดีว่าการส่งออกที่แข็งแกร่งจะช่วยรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจ
ได้ อย่างน้อยจนกว่าการใช้จ่ายภายในประเทศจะเริ่มปรับตัวดีขึ้น อนึ่ง ธ.กลางเกาหลีใต้คาดหมายว่า เศรษฐกิจเกาหลีใต้จะสามารถเติบโตที่
ระดับร้อยละ 5 ในปี 47 นี้ แม้ว่าจะประสบปัญหาความต้องการภายในประเทศที่ยังคงชะลอตัวอยู่ รวมถึงความเสี่ยงจากการเพิ่มขึ้นของราคา
น้ำมันก็ตาม (รอยเตอร์)
5. ปริมาณเงินตามความหมายกว้าง | M3 ของมาเลเซียในเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน รายงานจาก
กัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 47 ธ.กลางมาเลเซียเปิดเผยว่า ในเดือนพ.ค. ปริมาณเงิน M3 ของมาเลเซียเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 จาก
ช่วงเดียวกันปีที่แล้ว แต่กลับลดลงจากร้อยละ 10.9 ในเดือนก่อน ส่วนสินเชื่อในเดือนเดียวกันนี้เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 6.3 จากช่วงเดียวกันปีที่
แล้วและเพิ่มจากร้อยละ 5.6 เมื่อเดือนเม.ย. สำหรับสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ | NPL ณ สิ้นสุดเดือนพ.ค. อยู่ที่ระดับร้อยละ 6.5 ลดลง
จากระดับร้อยละ 6.6 ณ สิ้นสุดเดือนเม.ย. (เทียบในช่วง 6 เดือน) (รอยเตอร์)
6. ผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน พ.ค.47 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 28 มิ.ย.47 ทางการ
สิงคโปร์เปิดเผยว่า ผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน พ.ค.47 ลดลงร้อยละ 0.1 ต่ำกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะ
ลดลงร้อยละ 4.5 และเป็นการลดลงเล็กน้อยหลังจากที่เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งเหนือความคาดหมายร้อยละ 20 ในเดือน เม.ย.47 ซึ่งเป็นการ
เพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่ปี 43 และเป็นการเพิ่มขึ้นหลังจากที่ลดลงต่อเนื่องในเดือน ก.พ.และ มี.ค.47 ขณะที่เมื่อเทียบต่อปีผลผลิตโรงงานเพิ่มขึ้น
เช่นกันร้อยละ 21 สูงกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.5 ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์มองว่า แม้ผลผลิตโรงงาน
ในเดือน พ.ค.จะลดลง แต่จากตัวเลขที่แข็งแกร่งในเดือน เม.ย. ประกอบกับเดือน เม.ย.และ พ.ค.เป็นเพียงช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาส
ทำให้คาดหมายว่าตัวเลขผลผลิตโรงงานโดยรวมในไตรมาสที่ 2 ของปีจะยังคงแข็งแกร่ง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 29/6/47 28/6/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.916 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.7082/40.9932 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250-1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 651.86/23.15 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,600/7,700 7,600/7,700 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 31.37 33.58 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์เมื่อ 18 มิ.ย.47 18.79*/14.59 18.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. กองทุนฟื้นฟูมีแผนจะขายหุ้น ธพ.ที่ถืออยู่ทั้งหมดให้เสร็จสิ้นภายในปี 50 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า
กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินมีแผนจะขายหุ้น ธพ.ที่ถืออยู่ทั้งหมด ทั้งในช่วงก่อนวิกฤติสถาบันการเงินปี 40 และหุ้นที่ได้มาจาก
การช่วยเหลือพยุงฐานะทางการเงินของ ธพ.ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ โดยจะขายให้เสร็จสิ้นทั้งหมดในปี 50 ซึ่งจะเป็นปีที่ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะยุบ
การดำเนินการของกองทุนฟื้นฟูเป็นการถาวร โดยจะทยอยขายหุ้น ธ.ไทยธนาคาร และ ธ.นครหลวงไทยให้เสร็จสิ้นภายในปี 49 ส่วนหุ้นของ
ธ.กรุงไทย ซึ่งมีจำนวนมากนั้นจะเริ่มขายในปี 49 และคาดว่าจะเสร็จสิ้นในปี 50 สำหรับหุ้นของ บง.ที่เคยแทรกแซงมาในช่วงก่อนวิกฤตินั้นจะทยอย
ขายตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 47-50 ส่วน บล. 56 ไฟแนนซ์นั้นอยู่ระหว่างการทยอยขายลูกหนี้ 56 ไฟแนนซ์ เพื่อนำเงินกลับมาชดเชยความเสียหาย
ของกองทุนฟื้นฟู คาดว่าจะเสร็จสิ้นทั้งหมดภายในปี 48 ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่กองทุนฟื้นฟูได้มาในช่วงวิกฤติ และให้บริษัทบริหารสินทรัพย์
สถาบันการเงินสุขุมวิท (แซม) และบริษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงินกรุงเทพพาณิชย์ (แบม) บริหารอยู่นั้น ธปท.จะพยายามแก้ไขหนี้ให้เสร็จสิ้น
ภายในปี 50 (โลกวันนี้)
2. อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากในเดือน เม.ย.47 อยู่ที่ระดับร้อยละ 86.88 ธปท.เห็นว่าเป็นระดับที่เหมาะสม ดร.ธาริษา วัฒนเกส
รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า กรณีที่ระดับสินเชื่อต่อเงินฝากในเดือน เม.ย.47 ที่ผ่านมานั้น มีอัตราส่วนอยู่ที่ระดับ
ร้อยละ 86.88 โดยเป็นเงินให้สินเชื่อ 4,988,177 ล้านบาท และเงินฝาก 5,741,378 ล้านบาทนั้น เป็นอัตราส่วนในระดับที่ไม่ต่ำเกินไป
ซึ่งลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 89.19 โดยระดับสินเชื่อต่อเงินฝากที่เหมาะสมนั้นไม่ควรเกินระดับ 100 แต่ก็ควรต่ำ
ในระดับพอประมาณ ไม่ใช่ต่ำจนเกินไป ส่วนในช่วงก่อนวิกฤติเศรษฐกิจอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ในระดับเกินร้อยละ 100 นั้นเป็นอัตราส่วนที่
มากเกินไป แสดงถึงความไม่ยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจ (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
3. สศค.รายงานฐานะการคลัง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษก ก.คลัง
เปิดเผยว่า ฐานะการคลังตามระบบ สศค. (GFS Basis) ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ (ต.ค.46-พ.ค.47) มีรายได้รวม 873,176
ล้านบาท เมื่อหักรายการนับซ้ำออกแล้ว รัฐบาลมีรายได้สุทธิจำนวน 811,866 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 23.2 ขณะที่
รายจ่ายมีทั้งสิ้น 873,679 ล้านบาท และหลังจากหักรายการนับซ้ำแล้วมีรายจ่ายสุทธิจำนวน 812,369 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.23
ทำให้ดุลการคลังขาดดุลทั้งสิ้น 22,259 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.8 สะท้อนว่านโยบายด้านการคลังยังมีบทบาทกระตุ้น
เศรษฐกิจ แต่เริ่มลดบทบาทเป็นผู้รักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจและรักษาฐานะการคลังให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น และหากพิจารณาฐานะ
การคลังตามระบบกระแสเงินสด (Cash Basis) ในช่วงเวลาเดียวกัน รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 663,853 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียว
กันของปีก่อนร้อยละ 13.7 ด้านการเบิกจ่ายมีจำนวน 740,723 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 17.2 ส่งผลให้ดุลงบประมาณ
ขาดดุล 76,930 ล้านบาท ขาดดุลเพิ่มจากปีก่อน 28,510 ล้านบาท เนื่องจากการขยายตัวของรายจ่ายในอัตราที่สูง (ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
4. ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าไตรมาส 2 ปี 47 ปริมาณบัตรเครดิตทั้งระบบจะขยายตัวประมาณร้อยละ 27.37 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า
ในไตรมาส 2 ปี 47 ปริมาณบัตรเครดิตทั้งระบบจะยังคงเติบโตเพิ่มขึ้นจาก 7,359,936 บัตร จากไตรมาสก่อนที่อยู่ที่จำนวน 7,743,000 บัตร
ขยายตัวประมาณร้อยละ 27.37 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มากกว่าไตรมาสที่ 1 ปี 47 และไตรมาส 4 ปี 46 ที่ขยายตัวร้อยละ 19.55 และ
9.28 ตามลำดับ ส่วนปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในไตรมาส 2 ปี 47 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 100,590 ล้านบาท จากจำนวน 98,293
ล้านบาทในไตรมาสก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 20.57 ส่วนยอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิต คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ประมาณ 98,578 ล้านบาท จาก
ไตรมาสก่อนที่มีจำนวน 97,120 ล้านบาท ขยายตัวประมาณร้อยละ 23.44 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และชะลอลงจากร้อยละ 32.17 ใน
ไตรมาสก่อน (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของ สรอ. เดือน พ.ค.47 เพิ่มขึ้น ในขณะที่ภาวะเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย รายงานจากวอชิงตัน
ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.47 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของ สรอ. ในเดือน พ.ค.47 เพิ่มขึ้น
ในขณะที่ภาวะเงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยสนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่า ธ.กลาง สรอ. จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี
ในสัปดาห์นี้ โดยการใช้จ่ายส่วนบุคคลในเดือน พ.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 มากกว่าที่วอลล์สตรีทคาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 และเป็น
การเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค.44 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ส่วนตัวเลขการใช้จ่ายฯ เดือน เม.ย.47 ที่มีการปรับแล้วลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ
0.2 จากเดิมที่เคยรายงานไว้ร้อยละ 0.3 แต่โดยภาพรวมแล้วผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นที่ดีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งตัวเลขหลายอย่างแสดง
ให้เห็นว่าเศรษฐกิจกำลังเติบโตไปด้วยดี ในขณะที่ภาวะเงินเฟ้อก็ค่อย ๆ ดำเนินไปอย่างช้า ๆ ทั้งนี้ ก.คลัง สรอ. รู้สึกกังวลต่อข้อมูลที่ผู้ค้าเงิน
จับตามองว่าอัตราเงินเฟ้อจะสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งอาจจะกระตุ้นให้ ธ.กลางส่งสัญญาณว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ในการประชุม
เชิงนโยบายในวันที่ 28-29 มิ.ย.47 รวมถึงข่าวที่การเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาหลักสำหรับการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคในช่วงไตรมาสแรกของปี 47
และการปรับลดจีดีพีในไตรมาสแรกของปีนี้เหลือร้อยละ 3.9 จากร้อยละ 4.4 (รอยเตอร์)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรม การใช้จ่ายภาคครัวเรือนของญี่ปุ่น ในเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น ขณะที่การว่างงาน ลดลง รายงานจากญี่ปุ่น เมื่อ
วันที่ 29 มิ.ย. 47 รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่าในเดือนพ.ค. ผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวเพียงร้อยละ 0.5 ต่ำกว่าค่ากลางที่คาดการณ์กันไว้ว่าผลผลิต
ดังกล่าวจะขยายตัวร้อยละ 2.5 ตามผลการสำรวจของรอยเตอร์ นอกจากนั้นทางการญี่ปุ่นยังได้เปิดเผยตัวเลขการใช้จ่ายของครัวเรือนที่มีรายได้
จากค่าจ้างซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดที่สำคัญสำหรับการบริโภคส่วนบุคคล และการว่างงานในเดือนเดียวกันนี้ โดยภาคครัวเรือนที่มีรายได้จากค่าจ้างมีการ
ใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.6 แต่กลับลดลงร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบจากเดือนก่อน โดยมีการใช้จ่ายครัวเรือนละ 322,716 เยน
(2,987 ดอลลาร์สรอ.) รวมทั้งดัชนี Propensity to consume ซึ่งแสดงแนวโน้มการบริโภคที่เพิ่มขึ้นในเดือนพ.ค. ลดลงอยู่ที่ระดับ 72.8
จากระดับ 76.9 ในเดือนเม.ย. สำหรับอัตราการว่างงานในเดือนพ.ค.ลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.6 จากระดับร้อยละ 4.7 ในเดือนที่แล้ว
(ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) และต่ำกว่าผลการสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ของรอยเตอร์คาดว่าการว่างงานจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.7 ทั้งนี้
อัตราการว่างงานเคยมีสถิติสูงสุดเมื่อเดือนม.ค. 46ที่ระดับร้อยละ 5.5 (รอยเตอร์)
3. จีนเตรียมปรับโครงสร้างภาคการธนาคาร รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 28 มิ.ย.47 จีนเตรียมปรับโครงสร้างภาคการธนาคาร โดย
เฉพาะ 4 ธนาคารขนาดใหญ่ของรัฐซึ่งประกอบด้วย Bank of China, China Construction Bank, Industrial and Commercial
Bank of China และ Agricultural Bank of China โดยจะให้คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมดูแลภาคการเงินทั้ง 3 คณะ คือ
คณะกรรมการควบคุมการธนาคาร หลักทรัพย์ และ การประกันภัย ร่วมมือกันควบคุมดูแลภาคการเงินและลดความซ้ำซ้อนของหน้าที่ความรับผิดชอบ
โดยกำหนดให้มีการประชุมระหว่างกันเป็นรายไตรมาสจากที่เคยต่างคนต่างทำ รัฐบาลจีนต้องการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ธนาคารของรัฐเพื่อ
ให้ช่วยสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวซึ่งปัจจุบันขยายตัวเกือบร้อยละ 10 ต่อปีและพร้อมที่จะแข่งขันกับธนาคารต่างชาติก่อนที่จะเปิด
เสรีให้ชาวต่างชาติตั้งธนาคารได้ในปี 49 โดยการให้ธนาคารของรัฐทั้งสี่แห่งลดหนี้เสียซึ่งปัจจุบันมีถึงร้อยละ 40 ของเงินให้สินเชื่อ เพิ่มทุนและ
ปรับปรุงธรรมาภิบาลในองค์กร ทั้ง Bank of China และ China Construction Bank มีแผนจะขายหุ้นและดึงนักลงทุนชาวต่างชาติเข้ามา
ช่วยบริหารซึ่งจะทำให้ธนาคารของรัฐดังกล่าวมีผู้อำนวยการและผู้จัดการอาวุโสเป็นชาวต่างชาติ (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ในเดือน พ.ค.47 เพิ่มขึ้นเหนือความคาดหมายร้อยละ 1.9 รายงานจากโซลเมื่อ 29 มิ.ย.47
สำนักงานสถิติ เปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรม (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ของเกาหลีใต้ในเดือน พ.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เทียบกับที่เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 1.0 ในเดือน เม.ย.47 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 และเมื่อเทียบ
กับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยไม่มีการปรับตัวเลขตามฤดูกาล ผลผลิตอุตสาหกรรมจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 13.5 ทั้งนี้ ผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้
มีแนวโน้มการเติบโตอย่างรวดเร็วมาตั้งแต่เดือน ก.ค.46 โดย ได้รับแรงขับเคลื่อนที่สำคัญจากความต้องการจากประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดส่งออก
ที่มีสัดส่วน 1 ใน 5 ของการส่งออกโดยรวมของเกาหลีใต้ แต่การใช้จ่ายภายในประเทศและการลงทุนที่ซบเซา ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ขัดขวางการ
ฟื้นตัวของเศรษฐกิจเกาหลีใต้ อย่างไรก็ตาม ทางการเกาหลีใต้ยังคงคาดหวังในแง่ดีว่าการส่งออกที่แข็งแกร่งจะช่วยรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจ
ได้ อย่างน้อยจนกว่าการใช้จ่ายภายในประเทศจะเริ่มปรับตัวดีขึ้น อนึ่ง ธ.กลางเกาหลีใต้คาดหมายว่า เศรษฐกิจเกาหลีใต้จะสามารถเติบโตที่
ระดับร้อยละ 5 ในปี 47 นี้ แม้ว่าจะประสบปัญหาความต้องการภายในประเทศที่ยังคงชะลอตัวอยู่ รวมถึงความเสี่ยงจากการเพิ่มขึ้นของราคา
น้ำมันก็ตาม (รอยเตอร์)
5. ปริมาณเงินตามความหมายกว้าง | M3 ของมาเลเซียในเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน รายงานจาก
กัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 47 ธ.กลางมาเลเซียเปิดเผยว่า ในเดือนพ.ค. ปริมาณเงิน M3 ของมาเลเซียเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 จาก
ช่วงเดียวกันปีที่แล้ว แต่กลับลดลงจากร้อยละ 10.9 ในเดือนก่อน ส่วนสินเชื่อในเดือนเดียวกันนี้เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 6.3 จากช่วงเดียวกันปีที่
แล้วและเพิ่มจากร้อยละ 5.6 เมื่อเดือนเม.ย. สำหรับสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ | NPL ณ สิ้นสุดเดือนพ.ค. อยู่ที่ระดับร้อยละ 6.5 ลดลง
จากระดับร้อยละ 6.6 ณ สิ้นสุดเดือนเม.ย. (เทียบในช่วง 6 เดือน) (รอยเตอร์)
6. ผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน พ.ค.47 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 28 มิ.ย.47 ทางการ
สิงคโปร์เปิดเผยว่า ผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน พ.ค.47 ลดลงร้อยละ 0.1 ต่ำกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะ
ลดลงร้อยละ 4.5 และเป็นการลดลงเล็กน้อยหลังจากที่เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งเหนือความคาดหมายร้อยละ 20 ในเดือน เม.ย.47 ซึ่งเป็นการ
เพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่ปี 43 และเป็นการเพิ่มขึ้นหลังจากที่ลดลงต่อเนื่องในเดือน ก.พ.และ มี.ค.47 ขณะที่เมื่อเทียบต่อปีผลผลิตโรงงานเพิ่มขึ้น
เช่นกันร้อยละ 21 สูงกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.5 ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์มองว่า แม้ผลผลิตโรงงาน
ในเดือน พ.ค.จะลดลง แต่จากตัวเลขที่แข็งแกร่งในเดือน เม.ย. ประกอบกับเดือน เม.ย.และ พ.ค.เป็นเพียงช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาส
ทำให้คาดหมายว่าตัวเลขผลผลิตโรงงานโดยรวมในไตรมาสที่ 2 ของปีจะยังคงแข็งแกร่ง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 29/6/47 28/6/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.916 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.7082/40.9932 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250-1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 651.86/23.15 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,600/7,700 7,600/7,700 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 31.37 33.58 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์เมื่อ 18 มิ.ย.47 18.79*/14.59 18.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-