กัมพูชาเป็นประเทศเล็กๆ ที่มีพื้นที่ทั้งสิ้น 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย โดยมีเขตแดนด้านทิศเหนือติดต่อกับไทยเป็นแนวยาว 798 กิโลเมตร ใน 4 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์และบุรีรัมย์ (บริษัท ซี เอ อินเตอร์เนชั่นแนล อินฟอร์เมชั่น จำกัด, ภาพรวมด้านการค้า การลงทุน และการอำนวยความสะดวกในการขนส่งของอาเซียน, 2543)
กัมพูชาปกครองโดยมีกษัตริย์เป็นประมุข และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล ชาวกัมพูชาส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรมและนับถือศาสนาพุทธ กัมพูชาเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ได้รับอิทธิพลจากไทยค่อนข้างมาก ภาษาไทยจึงเป็นภาษาที่ใช้ทั่วไปในกัมพูชา
หลังจากการเสร็จสิ้นของการสู้รบอันยาวนานภายในประเทศ กัมพูชาได้กำหนดนโยบายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยเปิดประตูต้อนรับการลงทุนจากต่างประเทศ รวมทั้งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการปรับปรุงความสามารถและความชำนาญของแรงงานให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อเร่งพัฒนาประเทศให้มีเสถียรภาพและความมั่นคง ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และการอยู่ดีกินดีของชาวกัมพูชา อันจะนำประเทศไปสู่ความเป็นส่วนหนึ่งของเวทีเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ทั้งนี้ในปี พ.ศ. 2541 กัมพูชาได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของอาเซียน (ASEAN)
ลู่ทางการลงทุนและการค้า
กัมพูชาเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการลงทุนสูง เนื่องจากมีความอุดมสมบูรณ์ในทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งเป็นประเทศที่ยากจนและมีการพัฒนาน้อย จึงได้รับความช่วยเหลือจากนานาประเทศ เช่น สถานะการปฏิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับการอนุเคราะห์ยิ่ง (Most-Favore Nation Treatment) และได้รับสิทธิพิเศษด้านการค้าและสิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากร (GSP) กัมพูชาจึงเป็นประเทศที่น่าลงทุนในด้านต่าง ๆ กล่าวคือ การประมง การทำเหมืองแร่ อาทิ แร่ธาตุต่างๆ อัญมณี และทองคำ การทำอุตสาหกรรมแปรรูปใช้เพื่อการส่งออก ซึ่งปัจจุบันกัมพูชามีพื้นที่ป่าไม้ประมาณร้อยละ 70 ของพื้นที่ทั้งหมด การลงทุนด้านการท่องเที่ยวและโรงแรม เนื่องจากกัมพูชาเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ มีโบราณสถาน โบราณวัตถุ และสถานที่สำคัญๆ ที่น่าศึกษาเรียนรู้ และธุรกิจด้านก่อสร้างและวัสดุก่อสร้าง เพื่อใช้ในการดำเนินการบูรณะและก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานภายในประเทศ และรองรับการขยายตัวด้านการค้าและการลงทุนในอนาคต นอกจากนั้น กัมพูชายังเป็นประเทศที่มีศักยภาพในด้านการค้า เนื่องจากความต้องการของตลาดกัมพูชาทั้งสินค้าบริโภคและสินค้าอุปโภคมีสูงมาก และกัมพูชายังไม่สามารถเพิ่มผลผลิตได้เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ ปัจจุบันกัมพูชามีประเทศคู่ค้ามากกว่า 23 ประเทศ คู่ค้ารายใหญ่ของกัมพูชา ได้แก่ สิงคโปร์ รองลงมาคือ ไทย ญี่ปุ่น ไต้หวัน จีน และฝรั่งเศส ตามลำดับ สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยและมีโอกาสขยายทางการค้า ได้แก่ สินค้าอุปโภค-บริโภค อุปกรณ์และเครื่องจักรการเกษตร ยานพาหนะ และวัสดุก่อสร้าง
สภาวะการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา
มูลค่าการค้าไทย-กัมพูชา ระหว่างปี พ.ศ. 2544-2546 มีมูลค่ารวมจำนวน 21,316.4 ล้านบาท, 22,622.3 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นเป็น 29,186.1 ล้านบาท โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า
ส่วนมูลค่าการค้าชายแดนไทย-กัมพูชาระหว่างปี พ.ศ. 2544-2546 มีมูลค่ารวมจำนวน 15,743.0 ล้านบาท, 18,850.0 ล้านบาท และลดลงเล็กน้อยในปีถัดมา จำนวน 17,782.0 ล้านบาท ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกของการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา ระหว่างปี พ.ศ. 2544-2546 มีมูลค่าจำนวน 15,358.9 ล้านบาท, 18,383.8 ล้านบาท และ 16,792.2 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนมูลค่าการนำเข้าสินค้าชายแดนระหว่างปี พ.ศ. 2544-2546 มีจำนวนทั้งสิ้น 384.1 ล้านบาท, 466.2 ล้านบาท และ 989.8 ล้านบาท ตามลำดับ (ศูนย์ข้อมูลและประสานงานกลุ่ม สำนักมาตรการพิเศษทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์, 2547)
ข้อได้เปรียบ-เสียเปรียบของไทย
ไทยเป็นคู่ค้าที่สำคัญอันดับสองรองจากสิงคโปร์ เนื่องจากมีข้อได้เปรียบอยู่หลายประการ กล่าวคือ สินค้าไทยมีคุณภาพดี รูปแบบสวยงามตรงกับรสนิยมและความต้องการของตลาดกัมพูชา และมีการจัดการในการกระจายสินค้าสู่ตลาดกัมพูชาที่มีประสิทธิภาพ จึงสามารถกระจายสินค้าได้กว้างขวางอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการมีตัวแทนและ/หรือบริษัทสาขาจำหน่ายสินค้าในกรุงพนมเปญ ซึ่งช่วยให้ผู้ค้าส่ง-ปลีกชาวกัมพูชา สามารถเลือกซื้อสินค้าไทยเพื่อการจำหน่ายได้ทุกวัน
อย่างไรก็ตาม จากมูลค่าการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา พบว่า การส่งออกสินค้าชายแดนของไทยมีแนวโน้มการเติบโตที่ลดลง ทั้งนี้ เนื่องจากไทยมีข้อเสียเปรียบหลายประการ กล่าวคือ ผู้ผลิตและผู้ส่งออกของไทยยังไม่ได้ให้ความสนใจตลาดกัมพูชาอย่างจริงจัง เนื่องจากเห็นว่าศักยภาพในการบริโภคของชาวกัมพูชายังมีน้อย นอกจากนั้น ต้นทุนการผลิตและการขนส่งของไทยมีต้นทุนสูง เนื่องจากรัฐบาลไทยเก็บภาษีนำเข้าวัตถุดิบจากกัมพูชาในอัตราสูง รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลไทย-กัมพูชายังมีพบปะติดต่อกันค่อนข้างน้อยและขาดความต่อเนื่อง ดังนั้น จึงทำให้ความร่วมมือและความเชื่อใจซึ่งกันและกันไม่ดีเท่าที่ควร
อุปสรรคที่ต้องแก้ไขเพื่อสร้างโอกาสเติบโตของ SME ไทย
แม้ว่าสินค้าไทยจะสามารถครองตลาดกัมพูชาได้ค่อนข้างมาก นักลงทุนและผู้ส่งออกไทยยังต้องประสบปัญหาในด้านต่างๆ อันเป็นอุปสรรคในการลงทุนและส่งสินค้าเข้ากัมพูชา กล่าวคือ กัมพูชายังขาดความมั่นคงทางการเมือง ปัจจุบันยังมีการสู้รบเพื่อแย่งชิงอำนาจการปกครองภายในประเทศ ส่งผลให้กฎเกณฑ์ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการค้ามีการเปลี่ยนแปลงบ่อย มีขั้นตอนมาก ค่าขนส่งและค่าธรรมเนียมไม่แน่นอน บางครั้งมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ทำให้ต้นทุนสินค้าสูงขึ้นตาม นอกจากนั้น สัญญาระหว่างผู้ค้าไทย-กัมพูชาอาจไม่ได้รับการปฏิบัติตาม เพราะขาดความไว้วางใจกัน จึงเกิดกรณีพิพาทและการคดโกงกันบ่อยครั้ง รวมทั้งทรัพยากรบุคคลของกัมพูชายังขาดประสิทธิภาพ เป็นแรงงานด้อยฝีมือ และค่าเงินเรียวซึ่งเป็นสกุลเงินหลักของกัมพูชาขาดเสถียรภาพ ส่งผลให้บางครั้งการซื้อขายสินค้าไม่สามารถชำระค่าสินค้าเป็นเงินสกุลดังกล่าวได้
ดังนั้น บทบาทของภาครัฐบาลในการแก้ไขอุปสรรคดังกล่าวจึงมีความสำคัญยิ่ง โดยการเจรจาหาความร่วมมือในการปรับปรุงกฎเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรคเพื่อความเป็นธรรมและความคล่องตัวในการค้า และการหามาตรการป้องกันการคดโกงของผู้นำเข้ากัมพูชา รวมทั้งหาลู่ทางลดต้นทุนการผลิตจากการต้องชำระค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่สูงเกินความจำเป็น และการจัดหาแหล่งเงินทุนระยะยาวและดอกเบี้ยต่ำให้ผู้ส่งออกขนาดเล็ก-ขนาดกลางของไทยที่มีสภาพคล่องต่ำ หากอุปสรรคดังกล่าวได้รับการแก้ไขและคลี่คลายไปในทางที่ดีโอกาสเติบโตของการค้าและการลงทุนระหว่างไทย-กัมพูชาจะพัฒนาและเพิ่มมูลค่าการค้า จนไทยสามารถเป็นผู้นำส่วนครองตลาดสินค้าในกัมพูชาได้อย่างไม่ยากเย็นนัก
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
กัมพูชาปกครองโดยมีกษัตริย์เป็นประมุข และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล ชาวกัมพูชาส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรมและนับถือศาสนาพุทธ กัมพูชาเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ได้รับอิทธิพลจากไทยค่อนข้างมาก ภาษาไทยจึงเป็นภาษาที่ใช้ทั่วไปในกัมพูชา
หลังจากการเสร็จสิ้นของการสู้รบอันยาวนานภายในประเทศ กัมพูชาได้กำหนดนโยบายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยเปิดประตูต้อนรับการลงทุนจากต่างประเทศ รวมทั้งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการปรับปรุงความสามารถและความชำนาญของแรงงานให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อเร่งพัฒนาประเทศให้มีเสถียรภาพและความมั่นคง ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และการอยู่ดีกินดีของชาวกัมพูชา อันจะนำประเทศไปสู่ความเป็นส่วนหนึ่งของเวทีเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ทั้งนี้ในปี พ.ศ. 2541 กัมพูชาได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของอาเซียน (ASEAN)
ลู่ทางการลงทุนและการค้า
กัมพูชาเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการลงทุนสูง เนื่องจากมีความอุดมสมบูรณ์ในทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งเป็นประเทศที่ยากจนและมีการพัฒนาน้อย จึงได้รับความช่วยเหลือจากนานาประเทศ เช่น สถานะการปฏิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับการอนุเคราะห์ยิ่ง (Most-Favore Nation Treatment) และได้รับสิทธิพิเศษด้านการค้าและสิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากร (GSP) กัมพูชาจึงเป็นประเทศที่น่าลงทุนในด้านต่าง ๆ กล่าวคือ การประมง การทำเหมืองแร่ อาทิ แร่ธาตุต่างๆ อัญมณี และทองคำ การทำอุตสาหกรรมแปรรูปใช้เพื่อการส่งออก ซึ่งปัจจุบันกัมพูชามีพื้นที่ป่าไม้ประมาณร้อยละ 70 ของพื้นที่ทั้งหมด การลงทุนด้านการท่องเที่ยวและโรงแรม เนื่องจากกัมพูชาเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ มีโบราณสถาน โบราณวัตถุ และสถานที่สำคัญๆ ที่น่าศึกษาเรียนรู้ และธุรกิจด้านก่อสร้างและวัสดุก่อสร้าง เพื่อใช้ในการดำเนินการบูรณะและก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานภายในประเทศ และรองรับการขยายตัวด้านการค้าและการลงทุนในอนาคต นอกจากนั้น กัมพูชายังเป็นประเทศที่มีศักยภาพในด้านการค้า เนื่องจากความต้องการของตลาดกัมพูชาทั้งสินค้าบริโภคและสินค้าอุปโภคมีสูงมาก และกัมพูชายังไม่สามารถเพิ่มผลผลิตได้เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ ปัจจุบันกัมพูชามีประเทศคู่ค้ามากกว่า 23 ประเทศ คู่ค้ารายใหญ่ของกัมพูชา ได้แก่ สิงคโปร์ รองลงมาคือ ไทย ญี่ปุ่น ไต้หวัน จีน และฝรั่งเศส ตามลำดับ สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยและมีโอกาสขยายทางการค้า ได้แก่ สินค้าอุปโภค-บริโภค อุปกรณ์และเครื่องจักรการเกษตร ยานพาหนะ และวัสดุก่อสร้าง
สภาวะการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา
มูลค่าการค้าไทย-กัมพูชา ระหว่างปี พ.ศ. 2544-2546 มีมูลค่ารวมจำนวน 21,316.4 ล้านบาท, 22,622.3 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นเป็น 29,186.1 ล้านบาท โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า
ส่วนมูลค่าการค้าชายแดนไทย-กัมพูชาระหว่างปี พ.ศ. 2544-2546 มีมูลค่ารวมจำนวน 15,743.0 ล้านบาท, 18,850.0 ล้านบาท และลดลงเล็กน้อยในปีถัดมา จำนวน 17,782.0 ล้านบาท ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกของการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา ระหว่างปี พ.ศ. 2544-2546 มีมูลค่าจำนวน 15,358.9 ล้านบาท, 18,383.8 ล้านบาท และ 16,792.2 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนมูลค่าการนำเข้าสินค้าชายแดนระหว่างปี พ.ศ. 2544-2546 มีจำนวนทั้งสิ้น 384.1 ล้านบาท, 466.2 ล้านบาท และ 989.8 ล้านบาท ตามลำดับ (ศูนย์ข้อมูลและประสานงานกลุ่ม สำนักมาตรการพิเศษทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์, 2547)
ข้อได้เปรียบ-เสียเปรียบของไทย
ไทยเป็นคู่ค้าที่สำคัญอันดับสองรองจากสิงคโปร์ เนื่องจากมีข้อได้เปรียบอยู่หลายประการ กล่าวคือ สินค้าไทยมีคุณภาพดี รูปแบบสวยงามตรงกับรสนิยมและความต้องการของตลาดกัมพูชา และมีการจัดการในการกระจายสินค้าสู่ตลาดกัมพูชาที่มีประสิทธิภาพ จึงสามารถกระจายสินค้าได้กว้างขวางอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการมีตัวแทนและ/หรือบริษัทสาขาจำหน่ายสินค้าในกรุงพนมเปญ ซึ่งช่วยให้ผู้ค้าส่ง-ปลีกชาวกัมพูชา สามารถเลือกซื้อสินค้าไทยเพื่อการจำหน่ายได้ทุกวัน
อย่างไรก็ตาม จากมูลค่าการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา พบว่า การส่งออกสินค้าชายแดนของไทยมีแนวโน้มการเติบโตที่ลดลง ทั้งนี้ เนื่องจากไทยมีข้อเสียเปรียบหลายประการ กล่าวคือ ผู้ผลิตและผู้ส่งออกของไทยยังไม่ได้ให้ความสนใจตลาดกัมพูชาอย่างจริงจัง เนื่องจากเห็นว่าศักยภาพในการบริโภคของชาวกัมพูชายังมีน้อย นอกจากนั้น ต้นทุนการผลิตและการขนส่งของไทยมีต้นทุนสูง เนื่องจากรัฐบาลไทยเก็บภาษีนำเข้าวัตถุดิบจากกัมพูชาในอัตราสูง รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลไทย-กัมพูชายังมีพบปะติดต่อกันค่อนข้างน้อยและขาดความต่อเนื่อง ดังนั้น จึงทำให้ความร่วมมือและความเชื่อใจซึ่งกันและกันไม่ดีเท่าที่ควร
อุปสรรคที่ต้องแก้ไขเพื่อสร้างโอกาสเติบโตของ SME ไทย
แม้ว่าสินค้าไทยจะสามารถครองตลาดกัมพูชาได้ค่อนข้างมาก นักลงทุนและผู้ส่งออกไทยยังต้องประสบปัญหาในด้านต่างๆ อันเป็นอุปสรรคในการลงทุนและส่งสินค้าเข้ากัมพูชา กล่าวคือ กัมพูชายังขาดความมั่นคงทางการเมือง ปัจจุบันยังมีการสู้รบเพื่อแย่งชิงอำนาจการปกครองภายในประเทศ ส่งผลให้กฎเกณฑ์ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการค้ามีการเปลี่ยนแปลงบ่อย มีขั้นตอนมาก ค่าขนส่งและค่าธรรมเนียมไม่แน่นอน บางครั้งมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ทำให้ต้นทุนสินค้าสูงขึ้นตาม นอกจากนั้น สัญญาระหว่างผู้ค้าไทย-กัมพูชาอาจไม่ได้รับการปฏิบัติตาม เพราะขาดความไว้วางใจกัน จึงเกิดกรณีพิพาทและการคดโกงกันบ่อยครั้ง รวมทั้งทรัพยากรบุคคลของกัมพูชายังขาดประสิทธิภาพ เป็นแรงงานด้อยฝีมือ และค่าเงินเรียวซึ่งเป็นสกุลเงินหลักของกัมพูชาขาดเสถียรภาพ ส่งผลให้บางครั้งการซื้อขายสินค้าไม่สามารถชำระค่าสินค้าเป็นเงินสกุลดังกล่าวได้
ดังนั้น บทบาทของภาครัฐบาลในการแก้ไขอุปสรรคดังกล่าวจึงมีความสำคัญยิ่ง โดยการเจรจาหาความร่วมมือในการปรับปรุงกฎเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรคเพื่อความเป็นธรรมและความคล่องตัวในการค้า และการหามาตรการป้องกันการคดโกงของผู้นำเข้ากัมพูชา รวมทั้งหาลู่ทางลดต้นทุนการผลิตจากการต้องชำระค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่สูงเกินความจำเป็น และการจัดหาแหล่งเงินทุนระยะยาวและดอกเบี้ยต่ำให้ผู้ส่งออกขนาดเล็ก-ขนาดกลางของไทยที่มีสภาพคล่องต่ำ หากอุปสรรคดังกล่าวได้รับการแก้ไขและคลี่คลายไปในทางที่ดีโอกาสเติบโตของการค้าและการลงทุนระหว่างไทย-กัมพูชาจะพัฒนาและเพิ่มมูลค่าการค้า จนไทยสามารถเป็นผู้นำส่วนครองตลาดสินค้าในกัมพูชาได้อย่างไม่ยากเย็นนัก
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-