การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมภาคบริการที่มีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย เพราะนอกจากจะสร้างรายได้โดยมีมูลค่าเป็นอันดับหนึ่งของการค้าบริการรวมของประเทศแล้ว ยังเป็นอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดธุรกิจต่อเนื่อง อาทิ โรงแรมและที่พัก ภัตตาคารร้านอาหาร ร้านจำหน่ายของที่ระลึกและสินค้าพื้นเมือง ซึ่งก่อให้เกิดการลงทุน การจ้างงาน และการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น รวมทั้งสามารถสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศในรูปเงินตราต่างประเทศปีละหลายแสนล้านบาท และนอกจากนั้นอุตสาห-กรรมการท่องเที่ยวยังสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมโดยมีสัดส่วนร้อยละ 4.8 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยในปี 2544-2546 เท่ากับ 10.06 ล้านคน, 10.80 ล้านคน และ 9.95 ล้านคน ตามลำดับ และในปี 2546 มีรายได้จากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวรวมประมาณ 297,000 ล้านบาท หรือลดลงจากปี 2545 ร้อยละ 8.2 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลงในปี 2546 เนื่องจากสถานการณ์สงครามระหว่างสหรัฐฯ — อิรัก ในช่วงไตรมาสแรกของปี รวมทั้งการแพร่ระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลัน (SARS) ในภูมิภาคเอเชียในช่วงกลางปี ซึ่งส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของไทยเป็นอย่างมาก ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงมากที่สุดถึงร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคเดียวกันแล้วถือได้ว่าสถานการณ์การท่องเที่ยวของไทยมีการชะลอตัวลดลงน้อยกว่าประเทศอื่นๆ ซึ่งภายหลังจากที่ประเทศต่างๆ ในเอเชียได้ให้ความร่วมมือในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค SARS อย่างจริงจัง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว รวมทั้งภาครัฐได้ให้การส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างจริงจัง โดยได้มีนโยบาย และโครงการต่างๆ มากมายสำหรับการส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น โครงการ “Unseen in Thailand”, โครงการ”เที่ยววันธรรมดาที่ไม่ธรรมดา”, โครงการ “Unseen Paradise”และ โครงการท่องเที่ยวหมู่บ้านโอท็อป เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยให้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมากขึ้น รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้คนไทยเที่ยวในประเทศให้มากขึ้นตลอดจนการเปิดเส้นทางการบินราคาถูก ส่งผลทำให้สถานการณ์การท่องเที่ยวของไทยดีขึ้น
ในปี 2546 สัดส่วนของกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติส่วนใหญ่เป็นกลุ่มภูมิภาคเอเชียตะวันออกมากที่สุดถึงร้อยละ 61.34 รองลงมาคือยุโรป อเมริกา เอเชียใต้ โอเชียเนีย (ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์) ตะวันออกกลาง และแอฟริกา คิดเป็นร้อยละ 22.32, ร้อยละ 5.88, ร้อยละ 4.02, ร้อยละ 3.58, ร้อยละ 2.17 และร้อยละ 0.69 ตามลำดับ
ส่วนนักท่องเที่ยวชาวไทยนั้น ในปี 2546 มีนักท่องเที่ยวจำนวน 65.10 ล้านคน มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 5.3 และมีรายได้จากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเท่ากับ 301,900 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นจากปี 2545 ถึงร้อยละ 28.28 ซึ่งเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโรค SARS ทำให้นักท่องเที่ยวชาวไทยหันมาเที่ยวภายในประเทศกันมากขึ้น และภาครัฐได้มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยเพื่อกระตุ้นให้มีการท่องเที่ยวภายในประเทศมากขึ้น โดยในปี 2546 ได้มีโครงการ Unseen in Thailand ซึ่งเป็นโครงการส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวชาวไทยไปเที่ยวในสถานที่ที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในแต่ละจังหวัด ทั่วประเทศไทย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้มีการคาดการณ์ว่าสถานการณ์การท่องเที่ยวของไทยในปี 2547 จะมีแนวโน้มเติบโตขึ้น โดยวางเป้าหมายรายได้รวมทั้งหมดกว่า 7.4 แสนล้านบาท โดยคาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทยประมาณ 12 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นจากปี 2546 ประมาณร้อยละ 20.60 และมีรายได้จากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวประมาณ 380,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.94 จากปี 2546 ส่วนแนวโน้มการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวชาวไทย คาดว่าจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยประมาณ 67.12 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 4.78 จากปี 2546 คิดเป็นรายได้จากการใช้จ่ายประมาณ 362,500 ล้านบาท
จากสถานการณ์และแนวโน้มการท่องเที่ยวของไทย รวมทั้งการส่งเสริมในโครงการต่างๆ ของภาครัฐเป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้เศรษฐกิจไทยด้านการท่องเที่ยวไทยปรับตัวดีขึ้นนั้น ถือได้ว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ทั้งธุรกิจทัวร์ ธุรกิจโรงแรมและที่พัก ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจสปาหรือนวดแผนโบราณ และธุรกิจการค้าของที่ระลึกและสินค้าพื้นเมือง โดยเฉพาะสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศมีโอกาสเติบโตมากขึ้น
ดังนั้น ผู้ประกอบการ SMEs ไทยที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จึงควรใช้ปัจจัยเกื้อหนุนดังกล่าวข้างต้นในการปรับตัวเพื่อสร้างเสริมโอกาสทางธุรกิจและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลก โดยเริ่มจากการปรับลดขนาดโครงสร้างขององค์กร มีการกระจายอำนาจและการตัดสินใจและลดสายการบังคับบัญชาให้เป็นแนวราบมากกว่าแนวดิ่ง ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างรวดเร็วและทันเหตุการณ์
นอกจากนั้น ผู้ประกอบการต้องไม่ละเลยในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยสนับสนุนให้บุคลากรในองค์กรมีความรู้ ความสามารถ และสามารถแสดงออกซึ่งศักยภาพในการปฏิบัติงาน ตลอดจนมีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ อาทิ ระบบคอมพิวเตอร์ และ Software ที่จะช่วยส่งเสริมให้การดำเนินงานและการให้บริการแก่ลูกค้าได้สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งมีการนำเอาการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) มาช่วยในการดำเนินธุรกิจเพื่อให้องค์กรมีสารสนเทศด้านสถานการณ์ แนวโน้ม คู่แข่ง ตลอดจนความต้องการของลูกค้าและอื่นๆ ที่ถูกต้องและทันสมัย การปรับตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้บริการเพื่อให้ธุรกิจนำสารสนเทศดังกล่าวไปใช้ประกอบ และเสนอสินค้าที่สามารถสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้า อันจะนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าของธุรกิจ SMEs อย่างยั่งยืนต่อไป
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยในปี 2544-2546 เท่ากับ 10.06 ล้านคน, 10.80 ล้านคน และ 9.95 ล้านคน ตามลำดับ และในปี 2546 มีรายได้จากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวรวมประมาณ 297,000 ล้านบาท หรือลดลงจากปี 2545 ร้อยละ 8.2 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลงในปี 2546 เนื่องจากสถานการณ์สงครามระหว่างสหรัฐฯ — อิรัก ในช่วงไตรมาสแรกของปี รวมทั้งการแพร่ระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลัน (SARS) ในภูมิภาคเอเชียในช่วงกลางปี ซึ่งส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของไทยเป็นอย่างมาก ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงมากที่สุดถึงร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคเดียวกันแล้วถือได้ว่าสถานการณ์การท่องเที่ยวของไทยมีการชะลอตัวลดลงน้อยกว่าประเทศอื่นๆ ซึ่งภายหลังจากที่ประเทศต่างๆ ในเอเชียได้ให้ความร่วมมือในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค SARS อย่างจริงจัง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว รวมทั้งภาครัฐได้ให้การส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างจริงจัง โดยได้มีนโยบาย และโครงการต่างๆ มากมายสำหรับการส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น โครงการ “Unseen in Thailand”, โครงการ”เที่ยววันธรรมดาที่ไม่ธรรมดา”, โครงการ “Unseen Paradise”และ โครงการท่องเที่ยวหมู่บ้านโอท็อป เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยให้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมากขึ้น รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้คนไทยเที่ยวในประเทศให้มากขึ้นตลอดจนการเปิดเส้นทางการบินราคาถูก ส่งผลทำให้สถานการณ์การท่องเที่ยวของไทยดีขึ้น
ในปี 2546 สัดส่วนของกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติส่วนใหญ่เป็นกลุ่มภูมิภาคเอเชียตะวันออกมากที่สุดถึงร้อยละ 61.34 รองลงมาคือยุโรป อเมริกา เอเชียใต้ โอเชียเนีย (ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์) ตะวันออกกลาง และแอฟริกา คิดเป็นร้อยละ 22.32, ร้อยละ 5.88, ร้อยละ 4.02, ร้อยละ 3.58, ร้อยละ 2.17 และร้อยละ 0.69 ตามลำดับ
ส่วนนักท่องเที่ยวชาวไทยนั้น ในปี 2546 มีนักท่องเที่ยวจำนวน 65.10 ล้านคน มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 5.3 และมีรายได้จากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเท่ากับ 301,900 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นจากปี 2545 ถึงร้อยละ 28.28 ซึ่งเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโรค SARS ทำให้นักท่องเที่ยวชาวไทยหันมาเที่ยวภายในประเทศกันมากขึ้น และภาครัฐได้มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยเพื่อกระตุ้นให้มีการท่องเที่ยวภายในประเทศมากขึ้น โดยในปี 2546 ได้มีโครงการ Unseen in Thailand ซึ่งเป็นโครงการส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวชาวไทยไปเที่ยวในสถานที่ที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในแต่ละจังหวัด ทั่วประเทศไทย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้มีการคาดการณ์ว่าสถานการณ์การท่องเที่ยวของไทยในปี 2547 จะมีแนวโน้มเติบโตขึ้น โดยวางเป้าหมายรายได้รวมทั้งหมดกว่า 7.4 แสนล้านบาท โดยคาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทยประมาณ 12 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นจากปี 2546 ประมาณร้อยละ 20.60 และมีรายได้จากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวประมาณ 380,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.94 จากปี 2546 ส่วนแนวโน้มการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวชาวไทย คาดว่าจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยประมาณ 67.12 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 4.78 จากปี 2546 คิดเป็นรายได้จากการใช้จ่ายประมาณ 362,500 ล้านบาท
จากสถานการณ์และแนวโน้มการท่องเที่ยวของไทย รวมทั้งการส่งเสริมในโครงการต่างๆ ของภาครัฐเป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้เศรษฐกิจไทยด้านการท่องเที่ยวไทยปรับตัวดีขึ้นนั้น ถือได้ว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ทั้งธุรกิจทัวร์ ธุรกิจโรงแรมและที่พัก ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจสปาหรือนวดแผนโบราณ และธุรกิจการค้าของที่ระลึกและสินค้าพื้นเมือง โดยเฉพาะสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศมีโอกาสเติบโตมากขึ้น
ดังนั้น ผู้ประกอบการ SMEs ไทยที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จึงควรใช้ปัจจัยเกื้อหนุนดังกล่าวข้างต้นในการปรับตัวเพื่อสร้างเสริมโอกาสทางธุรกิจและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลก โดยเริ่มจากการปรับลดขนาดโครงสร้างขององค์กร มีการกระจายอำนาจและการตัดสินใจและลดสายการบังคับบัญชาให้เป็นแนวราบมากกว่าแนวดิ่ง ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างรวดเร็วและทันเหตุการณ์
นอกจากนั้น ผู้ประกอบการต้องไม่ละเลยในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยสนับสนุนให้บุคลากรในองค์กรมีความรู้ ความสามารถ และสามารถแสดงออกซึ่งศักยภาพในการปฏิบัติงาน ตลอดจนมีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ อาทิ ระบบคอมพิวเตอร์ และ Software ที่จะช่วยส่งเสริมให้การดำเนินงานและการให้บริการแก่ลูกค้าได้สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งมีการนำเอาการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) มาช่วยในการดำเนินธุรกิจเพื่อให้องค์กรมีสารสนเทศด้านสถานการณ์ แนวโน้ม คู่แข่ง ตลอดจนความต้องการของลูกค้าและอื่นๆ ที่ถูกต้องและทันสมัย การปรับตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้บริการเพื่อให้ธุรกิจนำสารสนเทศดังกล่าวไปใช้ประกอบ และเสนอสินค้าที่สามารถสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้า อันจะนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าของธุรกิจ SMEs อย่างยั่งยืนต่อไป
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-