กรุงเทพ--1 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2547 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ก่อนการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน (AMM) ครั้งที่ 37 เกี่ยวกับประเด็นสำคัญๆ ที่จะมีการหารือกันในการประชุมครั้งนี้ สรุปสาระได้ดังนี้
1. แผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียน ซึ่งเป็นประเด็นการหารือต่อเนื่องจากการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอย่างไม่เป็นทางการที่อ่าวฮาลอง ประเทศเวียดนาม เมื่อต้นเดือนมีนาคม 2547 ซึ่งไทยเห็นว่าควรเป็นแผนปฏิบัติการที่คำนึงถึงความแตกต่างของแต่ละประเทศ และเป็นแนวทางความร่วมมือที่สมาชิกาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศจะรับได้ด้วยความสบายใจ และน่าจะดำเนินการเป็นขั้นตอน และหลีกเลี่ยงประเด็นที่มีความอ่อนไหว อย่างไรก็ดี โดยที่เจ้าหน้าที่อาวุโสของอาเซียนได้ร่วมเจรจาหารือกันมาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2547 จนถึงปัจจุบัน จึงคาดหวังว่าที่ประชุมจะสามารถยอมรับแผนปฏิบัติการนี้และเสนอให้ที่ประชุมผู้นำอาเซียนที่จะจัดขึ้น ณ เวียงจันทน์ ในเดือนพฤศจิกายน 2547 พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไปได้
2. แผนปฏิบัติการประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ซึ่งฟิลิปปินส์เป็นผู้ยกร่าง ซึ่งไทยเห็นด้วย แต่ประสงค์จะให้เพิ่มประเด็นการติดต่อเชื่อมโยงระหว่างประชาชนของประเทศต่างๆ เพื่อสร้างความสำนึกของการเป็นประเทศอาเซียนในระดับประเทศ รวมทั้งประเด็นอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนของอาเซียน อาทิ สาธารณสุขและสุขอนามัยโดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนปฏิบัติการนี้ด้วย
3. การประชุมผู้นำอาเซม ที่เวียดนามจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นในเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งสมาชิกของยุโรปและเอเชียยังมีความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องการรับสมาชิกใหม่ เพราะสหภาพยุโรปต้องการให้สมาชิกใหม่ทั้ง 10 ประเทศเข้าเป็นสมาชิกอาเซม แต่ไม่ยอมรับที่จะให้พม่าเข้าเป็นสมาชิกอาเซ็ม โดยอ้างเรื่องความไม่ก้าวหน้าในกระบวนการประชาธิปไตยในพม่า ในขณะที่อาเซียนยังยืนยันมติของผู้นำที่จะให้ลาว พม่า และกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกอาเซมพร้อมกัน ทั้งนี้ อาเซียนเห็นไม่ว่าฝ่ายใดก็ไม่สมควรจะนำประเด็นใดๆ มาเป็นเงื่อนไขในการรับสมาชิก ซึ่งไทยได้เคยเสนอให้เลื่อนการพิจารณารับสมาชิกใหม่ออกไปก่อน เพื่อให้กระบวนการอาเซมสามารถดำเนินต่อไปได้ แต่ฝ่ายสหภาพยุโรปยังไม่ยอมรับ ดังนั้น ในการประชุมครั้งนี้ อาเซียนจะต้องหารือกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เพื่อหาทางที่จะมิให้ข้อขัดแย้งนี้มีผลกระทบต่อการจัดประชุมผู้นำอาเซม ซึ่งเป็นการประชุมที่สำคัญและประชาชนของทั้งสองภูมิภาคให้ความสนใจว่าเอเชียและยุโรปจะสามารถร่วมมือกันสร้างประโยชน์ให้มากขึ้นได้อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น ความร่วมมือในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือแนวคิดเรื่องการเชื่อมโยงตลาดพันธบัตรเอเชียและยูโรตามข้อเสนอของนายกรัฐมนตรีไทย ตลอดจนการป้องกันการก่อการร้ายรูปแบบใหม่ ๆ และความร่วมมือเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ เป็นต้น
4. แนวคิดเรื่องการประชุมผู้นำประเทศเอเชียตะวันออก (East Asia Summit)ซึ่งไทยเห็นว่ามีหลายประเด็นที่จะต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนก่อนว่าการประชุมดังกล่าวจะซ้ำซ้อนหรือแตกต่างจากการประชุมผู้นำอาเซียน + 3 หรือไม่อย่างไร และมีสาระการประชุมอย่างไร รวมทั้งจะจัดขึ้นเป็นประจำหรือเฉพาะในโอกาสพิเศษ
ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ตอบข้อซักถามเกี่ยวกับการหารือถึงสถานการณ์ในพม่าว่าคงจะมีการหารือเรื่องนี้ในการประชุมอย่างไม่เป็นทางการและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่าคงจะสรุปสถานการณ์ความคืบหน้าในการจัดการประชุมสมัชชาแห่งชาติให้ที่ประชุมทราบ ในส่วนของไทยนั้น ยังยึดมั่นท่าทีเดิมที่ให้มีการปล่อยตัวนางอองซาน ซูจีโดยเร็ว และประสงค์จะให้พรรคสันนิบาตชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมสมัชชาแห่งชาติด้วย โดยในส่วนของอาเซียนจะต้องช่วยสนับสนุนพม่าให้ก้าวไปสู่กระบวนการประชาธิปไตย ซึ่งจนถึงขณะนี้ นับได้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น มีการจัดทำ Roadmap และโดยพม่าได้เข้ามามีส่วนร่วมกับประชาคมโลก เข้าร่วมการประชุมกระบวนการกรุงเทพฯ ด้วยความเต็มใจ ทั้งนี้ ในส่วนการประชุมกระบวนการกรุงเทพฯ ครั้งที่ 2 ก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมของฝ่ายไทยและฝ่ายพม่า ตลอดจนประเทศอื่นๆ ที่เข้าร่วมการประชุมด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2547 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ก่อนการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน (AMM) ครั้งที่ 37 เกี่ยวกับประเด็นสำคัญๆ ที่จะมีการหารือกันในการประชุมครั้งนี้ สรุปสาระได้ดังนี้
1. แผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียน ซึ่งเป็นประเด็นการหารือต่อเนื่องจากการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอย่างไม่เป็นทางการที่อ่าวฮาลอง ประเทศเวียดนาม เมื่อต้นเดือนมีนาคม 2547 ซึ่งไทยเห็นว่าควรเป็นแผนปฏิบัติการที่คำนึงถึงความแตกต่างของแต่ละประเทศ และเป็นแนวทางความร่วมมือที่สมาชิกาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศจะรับได้ด้วยความสบายใจ และน่าจะดำเนินการเป็นขั้นตอน และหลีกเลี่ยงประเด็นที่มีความอ่อนไหว อย่างไรก็ดี โดยที่เจ้าหน้าที่อาวุโสของอาเซียนได้ร่วมเจรจาหารือกันมาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2547 จนถึงปัจจุบัน จึงคาดหวังว่าที่ประชุมจะสามารถยอมรับแผนปฏิบัติการนี้และเสนอให้ที่ประชุมผู้นำอาเซียนที่จะจัดขึ้น ณ เวียงจันทน์ ในเดือนพฤศจิกายน 2547 พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไปได้
2. แผนปฏิบัติการประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ซึ่งฟิลิปปินส์เป็นผู้ยกร่าง ซึ่งไทยเห็นด้วย แต่ประสงค์จะให้เพิ่มประเด็นการติดต่อเชื่อมโยงระหว่างประชาชนของประเทศต่างๆ เพื่อสร้างความสำนึกของการเป็นประเทศอาเซียนในระดับประเทศ รวมทั้งประเด็นอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนของอาเซียน อาทิ สาธารณสุขและสุขอนามัยโดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนปฏิบัติการนี้ด้วย
3. การประชุมผู้นำอาเซม ที่เวียดนามจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นในเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งสมาชิกของยุโรปและเอเชียยังมีความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องการรับสมาชิกใหม่ เพราะสหภาพยุโรปต้องการให้สมาชิกใหม่ทั้ง 10 ประเทศเข้าเป็นสมาชิกอาเซม แต่ไม่ยอมรับที่จะให้พม่าเข้าเป็นสมาชิกอาเซ็ม โดยอ้างเรื่องความไม่ก้าวหน้าในกระบวนการประชาธิปไตยในพม่า ในขณะที่อาเซียนยังยืนยันมติของผู้นำที่จะให้ลาว พม่า และกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกอาเซมพร้อมกัน ทั้งนี้ อาเซียนเห็นไม่ว่าฝ่ายใดก็ไม่สมควรจะนำประเด็นใดๆ มาเป็นเงื่อนไขในการรับสมาชิก ซึ่งไทยได้เคยเสนอให้เลื่อนการพิจารณารับสมาชิกใหม่ออกไปก่อน เพื่อให้กระบวนการอาเซมสามารถดำเนินต่อไปได้ แต่ฝ่ายสหภาพยุโรปยังไม่ยอมรับ ดังนั้น ในการประชุมครั้งนี้ อาเซียนจะต้องหารือกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เพื่อหาทางที่จะมิให้ข้อขัดแย้งนี้มีผลกระทบต่อการจัดประชุมผู้นำอาเซม ซึ่งเป็นการประชุมที่สำคัญและประชาชนของทั้งสองภูมิภาคให้ความสนใจว่าเอเชียและยุโรปจะสามารถร่วมมือกันสร้างประโยชน์ให้มากขึ้นได้อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น ความร่วมมือในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือแนวคิดเรื่องการเชื่อมโยงตลาดพันธบัตรเอเชียและยูโรตามข้อเสนอของนายกรัฐมนตรีไทย ตลอดจนการป้องกันการก่อการร้ายรูปแบบใหม่ ๆ และความร่วมมือเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ เป็นต้น
4. แนวคิดเรื่องการประชุมผู้นำประเทศเอเชียตะวันออก (East Asia Summit)ซึ่งไทยเห็นว่ามีหลายประเด็นที่จะต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนก่อนว่าการประชุมดังกล่าวจะซ้ำซ้อนหรือแตกต่างจากการประชุมผู้นำอาเซียน + 3 หรือไม่อย่างไร และมีสาระการประชุมอย่างไร รวมทั้งจะจัดขึ้นเป็นประจำหรือเฉพาะในโอกาสพิเศษ
ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ตอบข้อซักถามเกี่ยวกับการหารือถึงสถานการณ์ในพม่าว่าคงจะมีการหารือเรื่องนี้ในการประชุมอย่างไม่เป็นทางการและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่าคงจะสรุปสถานการณ์ความคืบหน้าในการจัดการประชุมสมัชชาแห่งชาติให้ที่ประชุมทราบ ในส่วนของไทยนั้น ยังยึดมั่นท่าทีเดิมที่ให้มีการปล่อยตัวนางอองซาน ซูจีโดยเร็ว และประสงค์จะให้พรรคสันนิบาตชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมสมัชชาแห่งชาติด้วย โดยในส่วนของอาเซียนจะต้องช่วยสนับสนุนพม่าให้ก้าวไปสู่กระบวนการประชาธิปไตย ซึ่งจนถึงขณะนี้ นับได้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น มีการจัดทำ Roadmap และโดยพม่าได้เข้ามามีส่วนร่วมกับประชาคมโลก เข้าร่วมการประชุมกระบวนการกรุงเทพฯ ด้วยความเต็มใจ ทั้งนี้ ในส่วนการประชุมกระบวนการกรุงเทพฯ ครั้งที่ 2 ก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมของฝ่ายไทยและฝ่ายพม่า ตลอดจนประเทศอื่นๆ ที่เข้าร่วมการประชุมด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-