แท็ก
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
ธนาคารอาคารสงเคราะห์
กระทรวงการคลัง
ออมสิน ธนาคาร
ธนาคารออมสิน
นายกฤษฎา อุทยานิน ผู้อำนวยการสำนักนโยบายระบบการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2547 (4 เดือนแรก) ทั้ง 8 แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (บตท.) ดังนี้
1. สินเชื่อ
การดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ใน 4 เดือนแรกของปี 2547 มีการปล่อยสินเชื่อเป็นเม็ดเงินสู่ระบบรวมทั้งสิ้น 189,467.41 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันในปี 2546 ร้อยละ 22.09 โดย ธ.ก.ส. มีการปล่อยสินเชื่อรวมสูงที่สุด คือ 79,366.85 ล้านบาท รองลงมาได้แก่ ธนาคารออมสิน 39,315.57 ล้านบาท และ ธอส. 28,547.24 ล้านบาท
สถาบันการเงินเฉพาะกิจมียอดสินเชื่อคงค้างสุทธิ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2547 ประมาณ 966,518.79 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.71 จากช่วงเดียวกันในปี 2546 และเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2546 ร้อยละ 3.13 โดย ธอส. มียอดสินเชื่อคงค้างสุทธิ 341,627.81 ล้านบาท ธนาคารออมสิน 292,815.76 ล้านบาท และ ธ.ก.ส. มียอดสินเชื่อคงค้างเท่ากับ 270,988.07 ล้านบาท
เมื่อเปรียบเทียบกับระบบธนาคารพาณิชย์พบว่า สถาบันการเงินเฉพาะกิจมียอดสินเชื่อคงค้างต่อสินเชื่อคงค้างของระบบธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2547 เท่ากับร้อยละ 21.7 ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับเดือนก่อนหน้า และ ณ สิ้นไตรมาสที่ 4 ปี 2546 อย่างไรก็ตามปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 จากไตรมาสที่ 4 ปี 2545
2. หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้มีจำนวนทั้งหมด 106,266.27 ล้านบาท ซึ่งทำให้อัตราส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อคงค้างทั้งหมดปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 10.13 ในสิ้นไตรมาสที่ 4 ปี 2546 เป็นร้อยละ 10.20 แต่ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันในปี 2546 ร้อยละ 0.65
เมื่อเปรียบเทียบหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ระหว่างสถาบันการเงินเฉพาะกิจกับระบบสถาบันการเงินทั้งหมด สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้คิดเป็นร้อยละ 17.2 ของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสถาบันการเงินทั้งระบบ
3. ฐานะทางการเงิน
สินทรัพย์รวมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2547 เท่ากับ 1,496,574.63 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปี 2546 ร้อยละ 9.09 และเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2546 ร้อยละ 1.79 สำหรับเงินฝาก ณ สิ้นเดือนเมษายน 2547 รวมทั้งสิ้น 1,164,169.99 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปี 2546 ร้อยละ 8.82 และอยู่ในระดับใกล้เคียงกับสิ้นปี 2546
สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีกำไรสุทธิใน 4 เดือนแรก ทั้งสิ้น 5,891.76 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยจากช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว 802.11 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 11.98 เนื่องจากใน 4 เดือนแรกของปี 2547 มีการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ ธนาคารออมสินมีกำไรสูงสุดประมาณ 3,881.29 ล้านบาท ธอส. มีกำไร 1,424.28 ล้านบาท และ ธ.ก.ส. มีกำไร 383.44 ล้านบาท
4. การดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจในการส่งเสริมภาคเศรษฐกิจ ที่สำคัญ
การดำเนินการกองทุนหมู่บ้านผ่าน ธ.ก.ส. และธนาคารออมสิน จากจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด 75,547 หมู่บ้าน ณ สิ้นเดือนเมษายน 2547 มีจำนวนสมาชิกที่ได้รับเงินกู้ 13,902,380 ราย
โครงการธนาคารประชาชน ณ สิ้นเดือนเมษายน 2547 มียอดสินเชื่อคงค้างจำนวน 6,022.57 ล้านบาท มีการปล่อยสินเชื่อรวมตั้งแต่เริ่มโครงการจำนวน 17,007.83 ล้านบาท โดยมีหนี้ค้างชำระ 3 เดือนคิดเป็นร้อยละ 3.71 ของยอดปล่อยสินเชื่อรวม
โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนดำเนินการโดย ธ.ก.ส. ธพว. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารออมสิน (ระหว่างเดือนมกราคม - เมษายน 2547) มีการอนุมัติสินเชื่อรวมทั้งสิ้น 382.64 ล้านบาท มีผู้ได้รับอนุมัติสินเชื่อจำนวน 2,940 ราย
โครงการบ้าน ธอส. - กบข. (รอบที่ 2) ตั้งแต่เริ่มโครงการเดือนพฤษภาคม 2546 - เมษายน 2547 มีการอนุมัติสินเชื่อจำนวน 44,382 ราย คิดเป็นวงเงิน 28,661 ล้านบาท และโครงการบ้าน ธอส. เพื่อคนไทยตั้งแต่เริ่มโครงการเดือนเมษายน 2546 - เมษายน 2547 มีการอนุมัติสินเชื่อจำนวน 17,600 ราย คิดเป็นวงเงิน 10,616 ล้านบาท
จากการติดตามผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจพบว่า สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีการขยายตัวของสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง ในขณะที่มีการบริหารจัดการความเสี่ยงทางการเงินที่ดี โดยมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในสัดส่วนที่ต่ำ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจโดยรวมมีเป้าหมายในการลดระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกระทรวงการคลัง จะได้มีการเร่งรัดและติดตามอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ แม้ว่ากำไรของสถาบันการเงินเฉพาะกิจจะปรับตัวลงบ้างเล็กน้อยจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า แต่มีสาเหตุหลักจากการกันสำรองเพื่อสร้างความแข็งแกร่งของฐานะการเงินมากขึ้น สำหรับผลการดำเนินโครงการเพื่อสนองนโยบายรัฐบาลที่สำคัญ มีความคืบหน้าการในการให้สินเชื่ออย่างต่อเนื่อง
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 51/2547 30 มิถุนายน 2547--
1. สินเชื่อ
การดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ใน 4 เดือนแรกของปี 2547 มีการปล่อยสินเชื่อเป็นเม็ดเงินสู่ระบบรวมทั้งสิ้น 189,467.41 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันในปี 2546 ร้อยละ 22.09 โดย ธ.ก.ส. มีการปล่อยสินเชื่อรวมสูงที่สุด คือ 79,366.85 ล้านบาท รองลงมาได้แก่ ธนาคารออมสิน 39,315.57 ล้านบาท และ ธอส. 28,547.24 ล้านบาท
สถาบันการเงินเฉพาะกิจมียอดสินเชื่อคงค้างสุทธิ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2547 ประมาณ 966,518.79 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.71 จากช่วงเดียวกันในปี 2546 และเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2546 ร้อยละ 3.13 โดย ธอส. มียอดสินเชื่อคงค้างสุทธิ 341,627.81 ล้านบาท ธนาคารออมสิน 292,815.76 ล้านบาท และ ธ.ก.ส. มียอดสินเชื่อคงค้างเท่ากับ 270,988.07 ล้านบาท
เมื่อเปรียบเทียบกับระบบธนาคารพาณิชย์พบว่า สถาบันการเงินเฉพาะกิจมียอดสินเชื่อคงค้างต่อสินเชื่อคงค้างของระบบธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2547 เท่ากับร้อยละ 21.7 ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับเดือนก่อนหน้า และ ณ สิ้นไตรมาสที่ 4 ปี 2546 อย่างไรก็ตามปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 จากไตรมาสที่ 4 ปี 2545
2. หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้มีจำนวนทั้งหมด 106,266.27 ล้านบาท ซึ่งทำให้อัตราส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อคงค้างทั้งหมดปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 10.13 ในสิ้นไตรมาสที่ 4 ปี 2546 เป็นร้อยละ 10.20 แต่ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันในปี 2546 ร้อยละ 0.65
เมื่อเปรียบเทียบหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ระหว่างสถาบันการเงินเฉพาะกิจกับระบบสถาบันการเงินทั้งหมด สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้คิดเป็นร้อยละ 17.2 ของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสถาบันการเงินทั้งระบบ
3. ฐานะทางการเงิน
สินทรัพย์รวมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2547 เท่ากับ 1,496,574.63 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปี 2546 ร้อยละ 9.09 และเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2546 ร้อยละ 1.79 สำหรับเงินฝาก ณ สิ้นเดือนเมษายน 2547 รวมทั้งสิ้น 1,164,169.99 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปี 2546 ร้อยละ 8.82 และอยู่ในระดับใกล้เคียงกับสิ้นปี 2546
สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีกำไรสุทธิใน 4 เดือนแรก ทั้งสิ้น 5,891.76 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยจากช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว 802.11 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 11.98 เนื่องจากใน 4 เดือนแรกของปี 2547 มีการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ ธนาคารออมสินมีกำไรสูงสุดประมาณ 3,881.29 ล้านบาท ธอส. มีกำไร 1,424.28 ล้านบาท และ ธ.ก.ส. มีกำไร 383.44 ล้านบาท
4. การดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจในการส่งเสริมภาคเศรษฐกิจ ที่สำคัญ
การดำเนินการกองทุนหมู่บ้านผ่าน ธ.ก.ส. และธนาคารออมสิน จากจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด 75,547 หมู่บ้าน ณ สิ้นเดือนเมษายน 2547 มีจำนวนสมาชิกที่ได้รับเงินกู้ 13,902,380 ราย
โครงการธนาคารประชาชน ณ สิ้นเดือนเมษายน 2547 มียอดสินเชื่อคงค้างจำนวน 6,022.57 ล้านบาท มีการปล่อยสินเชื่อรวมตั้งแต่เริ่มโครงการจำนวน 17,007.83 ล้านบาท โดยมีหนี้ค้างชำระ 3 เดือนคิดเป็นร้อยละ 3.71 ของยอดปล่อยสินเชื่อรวม
โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนดำเนินการโดย ธ.ก.ส. ธพว. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารออมสิน (ระหว่างเดือนมกราคม - เมษายน 2547) มีการอนุมัติสินเชื่อรวมทั้งสิ้น 382.64 ล้านบาท มีผู้ได้รับอนุมัติสินเชื่อจำนวน 2,940 ราย
โครงการบ้าน ธอส. - กบข. (รอบที่ 2) ตั้งแต่เริ่มโครงการเดือนพฤษภาคม 2546 - เมษายน 2547 มีการอนุมัติสินเชื่อจำนวน 44,382 ราย คิดเป็นวงเงิน 28,661 ล้านบาท และโครงการบ้าน ธอส. เพื่อคนไทยตั้งแต่เริ่มโครงการเดือนเมษายน 2546 - เมษายน 2547 มีการอนุมัติสินเชื่อจำนวน 17,600 ราย คิดเป็นวงเงิน 10,616 ล้านบาท
จากการติดตามผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจพบว่า สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีการขยายตัวของสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง ในขณะที่มีการบริหารจัดการความเสี่ยงทางการเงินที่ดี โดยมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในสัดส่วนที่ต่ำ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจโดยรวมมีเป้าหมายในการลดระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกระทรวงการคลัง จะได้มีการเร่งรัดและติดตามอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ แม้ว่ากำไรของสถาบันการเงินเฉพาะกิจจะปรับตัวลงบ้างเล็กน้อยจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า แต่มีสาเหตุหลักจากการกันสำรองเพื่อสร้างความแข็งแกร่งของฐานะการเงินมากขึ้น สำหรับผลการดำเนินโครงการเพื่อสนองนโยบายรัฐบาลที่สำคัญ มีความคืบหน้าการในการให้สินเชื่ออย่างต่อเนื่อง
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 51/2547 30 มิถุนายน 2547--