นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่าในในปี 2547 มูลค่าการส่งออกภายใต้สิทธิพิเศษฯ GSP ไปยังประเทศผู้ให้สิทธิพิเศษฯ (ยกเว้นออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ที่ไม่ได้ออก ฟอร์ม เอ) มีมูลค่ารวม 9,866 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 22 ของการส่งออกโดยรวมไปยังประเทศดังกล่าว ซึ่งมีมูลค่ารวม 44,924 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเพิ่มขึ้นจากปี 2546 ซึ่งมีมูลค่า 9,181 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 7
ตลาดหลักที่ใช้สิทธิพิเศษฯ สูง ได้แ ก่ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ตามลำดับ และสินค้าที่ไทยใช้ สิทธิพิเศษฯ สูง ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรม ได้แก่ ยานยนต์สำหรับขนส่ง อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องรับโทรทัศน์สี เลนส์แว่นตา โดยการใช้สิทธิพิเศษฯ GSP แต่ละระบบ ปี 2547 เป็นดังนี้
สหภาพยุโรป ไทยมีการใช้สิทธิพิเศษฯ สูงเป็นลำดับแรกด้วยมูลค่า 4,309 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จากปี 2546 ซึ่งมีมูลค่า 3,907 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าที่ใช้สิทธิพิเศษฯ สูง ได้แก่ สินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ สิ่งทอ
สหรัฐอเมริกา ไทยใช้สิทธิพิเศษฯ สูงเป็นอันดับสองรองจากสหภาพยุโรป โดยไทยมีการใช้สิทธิพิเศษฯ มูลค่า 3,143 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 จากปี 2546 ซึ่งมีมูลค่า 2,702 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าที่ใช้สิทธิพิเศษฯ ได้แก่ สินค้าประเภทอัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องรับโทรทัศน์ เม็ดพลาสติก และส่วนประกอบยานยนต์
ญี่ปุ่น ไทยมีการใช้สิทธิพิเศษฯ มูลค่า 1,768 ล้านเหรียญสหรัฐฯลดลงร้อยละ 5 จากปี 2546 ซึ่งมีมูลค่า 1,857 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าที่ใช้สิทธิพิเศษฯ สูงได้แก่ สินค้าประเภทพลาสติก สัตว์ น้ำปรุงแต่ง ผลิตภัณฑ์ทำจากแก้ว
สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป แคนาดา และตุรกี ประเทศไทยมีการใช้สิทธิพิเศษฯ ในกลุ่มประเทศดังกล่าว รวมมูลค่า 475 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 จากปีที่ผ่านมาซึ่งมีมูลค่า 434 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
กลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก ประเทศไทยมีการใช้สิทธิพิเศษฯ มูลค่า 171 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 39 จากปีที่ผ่านมาซึ่งมีมูลค่า 281 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สาเหตุที่มีทำให้การใช้สิทธิพิเศษฯ ปี 2547 มีมูลค่าต่ำกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปี 2546 เนื่องจาก ในปี 2547 ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม สมาชิกของกลุ่มยุโรปตะวันออกได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป 4 ประเทศ คือ สาธารณรัฐเชค ฮังการี โปแลนด์ และสโลวาเกีย
นายราเชนทร์ พจนสุนทร กล่าวเพิ่มเติมว่าการให้สิทธิพิเศษฯ GSP ของประเทศต่าง ๆ ทั้ง 7 ระบบ ( 33 ประเทศ) เป็นการให้สิทธิพิเศษที่มีความหลากหลายด้านรายการสินค้า ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสให้ผู้ส่งออกไทยสามารถส่งสินค้าไปแข่งขันในตลาดต่าง ๆ ที่ให้สิทธิพิเศษฯ ได้อย่างกว้างขวางปัจจุบันสหภาพยุโรปได้เพิ่มจำนวนสมาชิกมากขึ้น และกำลังพิจารณาต่ออายุโครงการ ซึ่งคาดว่าประเทศไทยจะได้รับสิทธิประโยชน์มากขึ้น จึงเป็นโอกาสในการใช้สิทธิประโยชน์ดังกล่าว เพื่อการขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้น
รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อที่กองสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศโทร. สายด่วน 1385 โทร. 0 2457 4872 โทรสาร 0 2547 4816 www.dft.moc.go.th , e-mail : tpdft.@moc.go.th
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-
ตลาดหลักที่ใช้สิทธิพิเศษฯ สูง ได้แ ก่ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ตามลำดับ และสินค้าที่ไทยใช้ สิทธิพิเศษฯ สูง ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรม ได้แก่ ยานยนต์สำหรับขนส่ง อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องรับโทรทัศน์สี เลนส์แว่นตา โดยการใช้สิทธิพิเศษฯ GSP แต่ละระบบ ปี 2547 เป็นดังนี้
สหภาพยุโรป ไทยมีการใช้สิทธิพิเศษฯ สูงเป็นลำดับแรกด้วยมูลค่า 4,309 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จากปี 2546 ซึ่งมีมูลค่า 3,907 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าที่ใช้สิทธิพิเศษฯ สูง ได้แก่ สินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ สิ่งทอ
สหรัฐอเมริกา ไทยใช้สิทธิพิเศษฯ สูงเป็นอันดับสองรองจากสหภาพยุโรป โดยไทยมีการใช้สิทธิพิเศษฯ มูลค่า 3,143 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 จากปี 2546 ซึ่งมีมูลค่า 2,702 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าที่ใช้สิทธิพิเศษฯ ได้แก่ สินค้าประเภทอัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องรับโทรทัศน์ เม็ดพลาสติก และส่วนประกอบยานยนต์
ญี่ปุ่น ไทยมีการใช้สิทธิพิเศษฯ มูลค่า 1,768 ล้านเหรียญสหรัฐฯลดลงร้อยละ 5 จากปี 2546 ซึ่งมีมูลค่า 1,857 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าที่ใช้สิทธิพิเศษฯ สูงได้แก่ สินค้าประเภทพลาสติก สัตว์ น้ำปรุงแต่ง ผลิตภัณฑ์ทำจากแก้ว
สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป แคนาดา และตุรกี ประเทศไทยมีการใช้สิทธิพิเศษฯ ในกลุ่มประเทศดังกล่าว รวมมูลค่า 475 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 จากปีที่ผ่านมาซึ่งมีมูลค่า 434 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
กลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก ประเทศไทยมีการใช้สิทธิพิเศษฯ มูลค่า 171 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 39 จากปีที่ผ่านมาซึ่งมีมูลค่า 281 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สาเหตุที่มีทำให้การใช้สิทธิพิเศษฯ ปี 2547 มีมูลค่าต่ำกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปี 2546 เนื่องจาก ในปี 2547 ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม สมาชิกของกลุ่มยุโรปตะวันออกได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป 4 ประเทศ คือ สาธารณรัฐเชค ฮังการี โปแลนด์ และสโลวาเกีย
นายราเชนทร์ พจนสุนทร กล่าวเพิ่มเติมว่าการให้สิทธิพิเศษฯ GSP ของประเทศต่าง ๆ ทั้ง 7 ระบบ ( 33 ประเทศ) เป็นการให้สิทธิพิเศษที่มีความหลากหลายด้านรายการสินค้า ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสให้ผู้ส่งออกไทยสามารถส่งสินค้าไปแข่งขันในตลาดต่าง ๆ ที่ให้สิทธิพิเศษฯ ได้อย่างกว้างขวางปัจจุบันสหภาพยุโรปได้เพิ่มจำนวนสมาชิกมากขึ้น และกำลังพิจารณาต่ออายุโครงการ ซึ่งคาดว่าประเทศไทยจะได้รับสิทธิประโยชน์มากขึ้น จึงเป็นโอกาสในการใช้สิทธิประโยชน์ดังกล่าว เพื่อการขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้น
รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อที่กองสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศโทร. สายด่วน 1385 โทร. 0 2457 4872 โทรสาร 0 2547 4816 www.dft.moc.go.th , e-mail : tpdft.@moc.go.th
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-