กรุงเทพ--2 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2547 นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ถึงผลการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ (อาเซียน+3) และการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ (อาเซียน+1) สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. การประชุมอาเซียน+3 ที่ประชุมได้ได้ทบทวนความคืบหน้าของการดำเนินการต่างๆ ในรอบปีที่ผ่านมาซึ่งมีความคืบหน้าด้วยดี และได้หารือถึงแนวทางความร่วมมือในอนาคตในกรอบอาเซียน+ 3 และเห็นควรให้มีการกระชับความสัมพันธ์ให้เข้มแข็งมากขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อนำไปสู่ประชาคมเอเชียตะวันออก (East Asia Community) ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการให้จัดการประชุมผู้นำประเทศเอเชียตะวันออก และได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโสไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเป้าหมาย รูปแบบ เนื้อหา เวลาและขอบเขตของการประชุม และให้เสนอผลการศึกษาพร้อมทั้งข้อเสนอแนะให้ที่ประชุมพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นพ้องกันที่จะให้อาเซียนทำหน้าที่เป็นแกนนำของกระบวนการดังกล่าว ในโอกาสนี้ มาเลเซียได้เสนอจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำประเทศเอเชียตะวันออกครั้งแรกในปี 2548 และจีนได้แสดงความพร้อมที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งต่อไปในปี 2550
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับสถานการณ์ในภูมิภาคและสถานการณ์ระหว่างประเทศ อาทิ สถานการณ์บนคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งที่ประชุมแสดงความยินดีที่การหารือ 6 ฝ่ายที่มีขึ้นที่กรุงปักกิ่งมีความคืบหน้าที่ดีและเป็นรูปธรรมมากขึ้น สำหรับประเด็นเรื่องอิรักนั้น ที่ประชุมแสดงความยินดีที่มีการถ่ายโอนอำนาจให้แก่รัฐบาลชั่วคราวของอิรัก และหวังว่าจะนำไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปในอิรักต่อไป และเป็นเรื่องน่ายินดีที่สมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีท่าทีที่ตรงกันเกี่ยวกับความร่วมมือเพื่อฟื้นฟูอิรัก ทั้งนี้ ที่ประชุมได้แสดงความห่วงกังวลต่อสถานการณ์ความวุ่นวายในอิรัก โดยทุกประเทศได้แสดงความเสียใจต่อการเสียชีวิตของชาวเกาหลีใต้ พร้อมกับประณามการก่อการร้ายที่มุ่งเป้าหมายไปยังพลเรือนด้วย
2. การประชุมอาเซียน+1 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานการประชุมร่วมกับนายคอลลิน พาวเวลล์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ โดย ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้กล่าวเปิดการประชุมแสดงความชื่นชมต่อบทบาทของสหรัฐฯ ในการดำเนินความสัมพันธ์กับอาเซียน ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ช่วงสงครามเย็น โดยอดีตประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน เป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่ทำให้สงครามเย็นสิ้นสุดลง และได้แสดงความเสียใจต่อการเสียชีวิตของอดีตประธานาธิบดีเรแกน นอกจากนี้ ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้เน้นถึงความสำคัญของบทบาทของสหรัฐฯ ในการเสริมสร้างความร่วมมือในกรอบพหุภาคีด้วย
นายพาวเวลล์ฯ ได้ย้ำว่าสหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับความร่วมมือในกรอบพหุภาคีมาโดยตลอด และสหรัฐฯ จะยังคงมีบทบาทที่สำคัญในภูมิภาคนี้เพื่อช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าในภูมิภาค โดยเฉพาะอาเซียน ซึ่งสหรัฐฯ ถือว่าเป็นพันธมิตรสำคัญในภูมิภาคและพร้อมจะให้การสนับสนุนในทุกทางเท่าที่จะทำได้ นอกจากนี้ สหรัฐฯ พร้อมจะให้การสนับสนุนนโยบายการขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน รวมทั้งได้ย้ำถึงความสำคัญเรื่องความมั่นคงทางทะเล และพร้อมจะให้ความร่วมมือในด้านการฝึกอบรมและการให้คำปรึกษากับอาเซียนเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางทะเลด้วย
ในประเด็นเรื่องพม่านั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้แสดงความกังวลที่แนวโน้มสถานการณ์ในพม่าไม่ได้พัฒนาไปตามที่คาดหวังไว้ แม้ว่าอาเซียนจะออกแถลงการณ์ร่วมเรื่องพม่าในปีที่แล้ว และพม่าได้ประกาศแผน Roadmap ที่จะนำไปสู่กระบวนการปรองดองแห่งชาติและการเป็นประชาธิปไตย จึงขอให้อาเซียนให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เพราะอาจส่งผลกระทบกับความร่วมมือระหว่างอาเซียนและสหรัฐฯ รวมถึงประเทศตะวันตกอื่นๆ และอาจจะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์และมาตรฐานของอาเซียนที่ได้รับความชื่นชมมาโดยตลอด เกี่ยวกับเรื่องนี้ ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้ย้ำว่าการที่อาเซียนได้หารือเรื่องพม่าตั้งแต่การประชุม AMM ในปีที่ผ่านมาก็เป็นการแสดงให้เห็นว่าอาเซียนมีความห่วงใยในเรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ดี อาเซียนมีแนวทางและทิศทางที่สร้างสรรค์ตามแบบของตนเอง จึงขอให้สหรัฐฯ มั่นใจว่าอาเซียนจะยังดำรงมาตรฐานของตนเองไว้ พร้อมทั้งขอให้สหรัฐฯ เข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องพม่าด้วย ในโอกาสนี้
นายวิน อ่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่าได้บรรยายสรุปความคืบหน้าในการปราบปรามยาเสพติดให้ที่ประชุมทราบ พร้อมทั้งยืนยันว่าพม่ามีความตั้งใจจริงที่จะดำเนินการตามแผนการ Roadmap เพื่อนำไปสู่กระบวนการปรองดองแห่งชาติและการเป็นประชาธิปไตยในพม่า
ในวันเดียวกันนี้ ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้หารือกับนายราซาลี อิสมาอิล ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติเรื่องพม่า เกี่ยวกับสถานการณ์ล่าสุดในพม่า โดยนายราซาลีฯ เห็นว่า
การประชุมกระบวนการกรุงเทพ (Bangkok Process) เป็นการหารือที่มีประโยชน์และเกื้อกูลต่อพัฒนาการในทางที่ดีขึ้นของสถานการณ์ในพม่า จึงอยากให้ไทยจัดการประชุมครั้งต่อไปเมื่อพม่ามีความพร้อมมากขึ้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2547 นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ถึงผลการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ (อาเซียน+3) และการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ (อาเซียน+1) สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. การประชุมอาเซียน+3 ที่ประชุมได้ได้ทบทวนความคืบหน้าของการดำเนินการต่างๆ ในรอบปีที่ผ่านมาซึ่งมีความคืบหน้าด้วยดี และได้หารือถึงแนวทางความร่วมมือในอนาคตในกรอบอาเซียน+ 3 และเห็นควรให้มีการกระชับความสัมพันธ์ให้เข้มแข็งมากขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อนำไปสู่ประชาคมเอเชียตะวันออก (East Asia Community) ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการให้จัดการประชุมผู้นำประเทศเอเชียตะวันออก และได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโสไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเป้าหมาย รูปแบบ เนื้อหา เวลาและขอบเขตของการประชุม และให้เสนอผลการศึกษาพร้อมทั้งข้อเสนอแนะให้ที่ประชุมพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นพ้องกันที่จะให้อาเซียนทำหน้าที่เป็นแกนนำของกระบวนการดังกล่าว ในโอกาสนี้ มาเลเซียได้เสนอจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำประเทศเอเชียตะวันออกครั้งแรกในปี 2548 และจีนได้แสดงความพร้อมที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งต่อไปในปี 2550
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับสถานการณ์ในภูมิภาคและสถานการณ์ระหว่างประเทศ อาทิ สถานการณ์บนคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งที่ประชุมแสดงความยินดีที่การหารือ 6 ฝ่ายที่มีขึ้นที่กรุงปักกิ่งมีความคืบหน้าที่ดีและเป็นรูปธรรมมากขึ้น สำหรับประเด็นเรื่องอิรักนั้น ที่ประชุมแสดงความยินดีที่มีการถ่ายโอนอำนาจให้แก่รัฐบาลชั่วคราวของอิรัก และหวังว่าจะนำไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปในอิรักต่อไป และเป็นเรื่องน่ายินดีที่สมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีท่าทีที่ตรงกันเกี่ยวกับความร่วมมือเพื่อฟื้นฟูอิรัก ทั้งนี้ ที่ประชุมได้แสดงความห่วงกังวลต่อสถานการณ์ความวุ่นวายในอิรัก โดยทุกประเทศได้แสดงความเสียใจต่อการเสียชีวิตของชาวเกาหลีใต้ พร้อมกับประณามการก่อการร้ายที่มุ่งเป้าหมายไปยังพลเรือนด้วย
2. การประชุมอาเซียน+1 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานการประชุมร่วมกับนายคอลลิน พาวเวลล์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ โดย ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้กล่าวเปิดการประชุมแสดงความชื่นชมต่อบทบาทของสหรัฐฯ ในการดำเนินความสัมพันธ์กับอาเซียน ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ช่วงสงครามเย็น โดยอดีตประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน เป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่ทำให้สงครามเย็นสิ้นสุดลง และได้แสดงความเสียใจต่อการเสียชีวิตของอดีตประธานาธิบดีเรแกน นอกจากนี้ ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้เน้นถึงความสำคัญของบทบาทของสหรัฐฯ ในการเสริมสร้างความร่วมมือในกรอบพหุภาคีด้วย
นายพาวเวลล์ฯ ได้ย้ำว่าสหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับความร่วมมือในกรอบพหุภาคีมาโดยตลอด และสหรัฐฯ จะยังคงมีบทบาทที่สำคัญในภูมิภาคนี้เพื่อช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าในภูมิภาค โดยเฉพาะอาเซียน ซึ่งสหรัฐฯ ถือว่าเป็นพันธมิตรสำคัญในภูมิภาคและพร้อมจะให้การสนับสนุนในทุกทางเท่าที่จะทำได้ นอกจากนี้ สหรัฐฯ พร้อมจะให้การสนับสนุนนโยบายการขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน รวมทั้งได้ย้ำถึงความสำคัญเรื่องความมั่นคงทางทะเล และพร้อมจะให้ความร่วมมือในด้านการฝึกอบรมและการให้คำปรึกษากับอาเซียนเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางทะเลด้วย
ในประเด็นเรื่องพม่านั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้แสดงความกังวลที่แนวโน้มสถานการณ์ในพม่าไม่ได้พัฒนาไปตามที่คาดหวังไว้ แม้ว่าอาเซียนจะออกแถลงการณ์ร่วมเรื่องพม่าในปีที่แล้ว และพม่าได้ประกาศแผน Roadmap ที่จะนำไปสู่กระบวนการปรองดองแห่งชาติและการเป็นประชาธิปไตย จึงขอให้อาเซียนให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เพราะอาจส่งผลกระทบกับความร่วมมือระหว่างอาเซียนและสหรัฐฯ รวมถึงประเทศตะวันตกอื่นๆ และอาจจะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์และมาตรฐานของอาเซียนที่ได้รับความชื่นชมมาโดยตลอด เกี่ยวกับเรื่องนี้ ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้ย้ำว่าการที่อาเซียนได้หารือเรื่องพม่าตั้งแต่การประชุม AMM ในปีที่ผ่านมาก็เป็นการแสดงให้เห็นว่าอาเซียนมีความห่วงใยในเรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ดี อาเซียนมีแนวทางและทิศทางที่สร้างสรรค์ตามแบบของตนเอง จึงขอให้สหรัฐฯ มั่นใจว่าอาเซียนจะยังดำรงมาตรฐานของตนเองไว้ พร้อมทั้งขอให้สหรัฐฯ เข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องพม่าด้วย ในโอกาสนี้
นายวิน อ่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่าได้บรรยายสรุปความคืบหน้าในการปราบปรามยาเสพติดให้ที่ประชุมทราบ พร้อมทั้งยืนยันว่าพม่ามีความตั้งใจจริงที่จะดำเนินการตามแผนการ Roadmap เพื่อนำไปสู่กระบวนการปรองดองแห่งชาติและการเป็นประชาธิปไตยในพม่า
ในวันเดียวกันนี้ ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้หารือกับนายราซาลี อิสมาอิล ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติเรื่องพม่า เกี่ยวกับสถานการณ์ล่าสุดในพม่า โดยนายราซาลีฯ เห็นว่า
การประชุมกระบวนการกรุงเทพ (Bangkok Process) เป็นการหารือที่มีประโยชน์และเกื้อกูลต่อพัฒนาการในทางที่ดีขึ้นของสถานการณ์ในพม่า จึงอยากให้ไทยจัดการประชุมครั้งต่อไปเมื่อพม่ามีความพร้อมมากขึ้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-